ทุกนิบาตชาดก

๑. ทัฬหวรรค

๑. ราโชวาทชาดก ว่าด้วยวิธีชนะ

[๑๕๑] พระเจ้าพัลลิกราชทรงแข็งต่อผู้ที่แข็ง ทรงชำนะคนอ่อนด้วยความอ่อน ทรงชำนะคนดีด้วยความดี ทรงชำนะคนไม่ดีด้วยความไม่ดี พระราชา พระองค์นี้ เป็นเช่นนี้ ดูกรนายสารถี ท่านจงหลีกทางถวายพระราชาของ เราเถิด. [๑๕๒] พระเจ้าพาราณสีทรงชำนะคนโกรธด้วยความไม่โกรธ ทรงชำนะคน ไม่ดีด้วยความดี ทรงชำนะคนตระหนี่ด้วยการให้ ทรงชำนะคนพูดเหลาะ แหละด้วยคำสัตย์ พระราชาพระองค์นี้ เป็นเช่นนี้ ดูกรนายสารถี ท่านจงหลีกทางถวายพระราชาของเราเถิด.

จบ ราโชวาทชาดกที่ ๑.

๒. สิคาลชาดก ว่าด้วยการทำโดยไม่พิจารณา

[๑๕๓] การงานเหล่านั้น ย่อมเผาบุคคลผู้มีการงานอันไม่ได้พิจารณาแล้ว รีบร้อน จะทำให้สำเร็จ เหมือนกับของร้อนที่บุคคลไม่พิจารณาก่อนแล้ว ใส่เข้า ไปในปาก ฉะนั้น. [๑๕๔] อนึ่ง ราชสีห์ได้แผดสีหนาทที่ภูเขาเงิน สุนัขจิ้งจอกอยู่ในภูเขาเงิน ได้ฟังราชสีห์แผดเสียงก็กลัวตาย หวาดกลัว หัวใจแตกตาย.

จบ สิคาลชาดกที่ ๒.

๓. สูกรชาดก ว่าด้วยหมูท้าราชสีห

[๑๕๕] ดูกรสหาย เราก็มี ๔ เท้า แม้ท่านก็มี ๔ เท้า จงกลับมาสู้กันก่อนเถิด สหาย ท่านกลัวหรือ จึงหนีไป? [๑๕๖] ดูกรหมู ท่านเป็นสัตว์สกปรก มีขนเหม็นเน่า มีกลิ่นเหม็นฟุ้งไป ดูกรสหาย ถ้าท่านประสงค์จะสู้รบกับเรา เราก็จะให้ชัยชนะแก่ท่าน.

จบ สูกรชาดกที่ ๓.

๔. อุรคชาดก ว่าด้วยงูผู้มีคุณธรรมสูง

[๑๕๗] ในที่นี้ พระยานาคประเสริฐกว่างูทั้งหลาย พระยานาคต้องการจะพ้น ไปจากสำนักของข้าพเจ้าแปลงเพศเป็นดุจท่อนแก้วมณี เข้าไปอยู่ภายใน ผ้าเปลือกไม้นี้ ข้าพเจ้าเคารพยำเกรงเพศของพระคุณเจ้า ซึ่งเป็นเพศ ประเสริฐนัก แม้จะหิวก็ไม่อาจจะจับนาค ซึ่งเข้าไปอยู่ภายในผ้าเปลือก ไม้นั้นออกมากินได้.

[๑๕๘] ท่านนั้น เคารพยำเกรงผู้มีเพศประเสริฐ แม้จะหิวก็ไม่อาจจะจับนาคซึ่ง เข้าไปอยู่ภายในผ้าเปลือกไม้นั้นออกมากินได้ ขอท่านนั้น จงเป็นผู้อัน พรหมคุ้มครอง ดำรงชีพอยู่สิ้นกาลนานเถิด อนึ่ง ขอภักษาหารอัน เป็นทิพย์จงปรากฏแก่ท่านเถิด.

จบ อุรคชาดกที่ ๓.

๕. ภัคคชาดก ว่าด้วยอายุ

[๑๕๙] ข้าแต่ท่านบิดา ขอท่านจงเป็นอยู่ ๑๒๐ ปี ขอปีศาจจงอย่ากินฉันเลย ท่านจงเป็นอยู่ ๑๒๐ ปี เถิด. [๑๖๐] แม้ท่านก็จงเป็นอยู่ ๑๒๐ ปี พวกปีศาจจงกินยาพิษ ท่านจงเป็นอยู่ ๑๒๐ ปี.

จบ ภัคคชาดกที่ ๕.

๖. อลีนจิตตชาดก ว่าด้วยกัลยาณมิตร [๑๖๑] เสนาหมู่ใหญ่อาศัยเจ้าอลีนจิต มีใจรื่นเริง ได้จับเป็นพระเจ้าโกศล ผู้ไม่ทรงอิ่มพระทัยด้วยราชสมบัติของพระองค์ ฉันใด. [๑๖๒] ภิกษุผู้สมบูรณ์ด้วยกัลยาณมิตรเป็นที่พึ่งอาศัย ปรารภความเพียร เจริญ กุศลธรรม เพื่อบรรลุนิพพานอันเกษมจากโยคะ พึงบรรลุธรรมเป็นที่สิ้น ไปแห่งสังโยชน์ทั้งปวงโดยลำดับ ก็ฉันนั้น.

จบ อลีนจิตตชาดกที่ ๖.

๗. คุณชาดก ว่าด้วยมิตรธรรม

[๑๖๓] ผู้เป็นใหญ่ย่อมขับไล่ผู้น้อยได้ตามความต้องการของตน นี่เป็นธรรมดา ของผู้มีกำลัง นางมฤคีผู้มีฟันคมแหลมของท่าน ได้คุกคามบุตรและภรรยา ของเรา ขอท่านจงทราบเถิด ภัยเกิดแต่ที่พึ่งแล้ว. [๑๖๔] ถ้าผู้ใด เป็นมิตรแม้จะมีกำลังน้อย แต่ตั้งอยู่ในมิตรธรรม ผู้นั้นชื่อว่า เป็นญาติ เป็นเผ่าพันธุ์ เป็นมิตร และเป็นสหายของเรา แน่ะนางมฤคี ท่านอย่าดูหมิ่นสหายของเราอีกนะ เพราะว่า สุนัขจิ้งจอกตัวนี้ให้ชีวิต เราไว้.

จบ คุณชาดกที่ ๗.

๘. สุหนุชาดก ว่าด้วยการเปรียบเทียบม้า ๒ ม้า

[๑๖๕] การที่ม้าโกงสุหนุกระทำความรักกับม้าโสณะนี้ ย่อมมีด้วยปกติที่ไม่ เสมอกันก็หามิได้ ม้าโสณะ เป็นเช่นใด แม้ม้าสุหนุก็เป็นเช่นนั้น ม้าโสณะมีความประพฤติเช่นใด ม้าสุหนุก็มีความประพฤติเช่นนั้น. [๑๖๖] ม้าทั้งสองนั้น ย่อมเสมอกันด้วยการวิ่งไปด้วยความคะนอง และ ด้วยกัดเชือกที่ล่ามอยู่เป็นนิจ ความชั่วย่อมสมกับความชั่ว ความไม่ดี ย่อมสมกับความไม่ดี.

จบ สุหนุชาดกที่ ๘.

๙. โมรชาดก ว่าด้วยนกยูงเจริญพระปริตต์

[๑๖๗] พระอาทิตย์นี้ เป็นดวงตาของโลก เป็นเจ้าแห่งแสงสว่างอย่างเอก กำลังอุทัยขึ้นมาทอแสงอร่ามสว่างไปทั่วปฐพี เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าขอ นอบน้อมพระอาทิตย์นั้น ซึ่งทอแสงอร่ามสว่างไปทั่วปฐพี ข้าพเจ้าอัน ท่านช่วยคุ้มกันแล้วในวันนี้ พึงอยู่เป็นสุขตลอดวัน พราหมณ์เหล่าใด ผู้ถึงฝั่งแห่งเวทในธรรมทั้งปวง ขอพรามหณ์เหล่านั้น จงรับความนอบ น้อมของข้าพเจ้า และขอจงคุ้มครองข้าพเจ้าด้วย ข้าพเจ้าขอนอบน้อม แด่พระพุทธเจ้าทั้งหลาย ข้าพเจ้าขอนอบน้อมแด่พระโพธิญาณ ข้าพเจ้า ขอนอบน้อมแด่ท่านผู้หลุดพ้นแล้ว ข้าพเจ้าขอนอบน้อมแด่วิมุตติธรรม ของท่านผู้หลุดพ้นแล้ว นกยูงนั้น เจริญพระปริตต์นี้แล้วจึงเที่ยวไปแสวง หาอาหาร.

[๑๖๘] พระอาทิตย์นี้ เป็นดวงตาของโลก เป็นเจ้าแห่งแสงสว่างอย่างเอก ส่องแสงสว่างไปทั่วปฐพีแล้วอัสดงคตไป เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าขอ นอบน้อมพระอาทิตย์นั้น ซึ่งส่องสว่างไปทั่วปฐพี ข้าพเจ้าอันท่านช่วย คุ้มครองแล้วในวันนี้ พึงอยู่เป็นสุขตลอดคืน พราหมณ์เหล่าใด ผู้ถึง ฝั่งแห่งเวทในธรรมทั้งปวง ขอพราหมณ์เหล่านั้น จงรับความนอบน้อม ของข้าพเจ้า และขอจงคุ้มครองข้าพเจ้าด้วย ข้าพเจ้าขอนอบน้อมแด่ พระพุทธเจ้าทั้งหลาย ข้าพเจ้าขอนอบน้อมแด่พระโพธิญาณ ข้าพเจ้าขอ นอบน้อมแด่ท่านผู้หลุดพ้นแล้ว ข้าพเจ้าขอนอบน้อมแด่วิมุตติธรรมของ ท่านผู้หลุดพ้นแล้ว นกยูงนั้นเจริญพระปริตต์นี้แล้วจึงสำเร็จการอยู่.

จบ โมรชาดกที่ ๙.

๑๐. วินีลกชาดก ว่าด้วยการเลือกทำเลผิด

[๑๖๙] หงส์ ๒ ตัว พาเราผู้ชื่อว่าวินีลกะไป ฉันใด ม้าอาชาไนยก็พาพระเจ้า วิเทหราชผู้ครองเมืองมิถิลาให้เสด็จไป ฉันนั้นเหมือนกัน. [๑๗๐] แน่ะเจ้าวินีลกะ เจ้ามาคบ มาเสพ ภูเขาอันมิใช่ภูมิภาคทำเลของเจ้า เจ้าจงไปเสพอาศัยสถานที่ใกล้บ้านเถิด นั่นเป็นที่อยู่อาศัยของเจ้าและ มารดาของเจ้า.

จบ วินีลกชาดกที่ ๑๐.

จบ ทัฬหวรรคที่ ๑. _________________ รวมชาดกที่มีในวรรคนี้ ๑. ราโชวาทชาดก ๒. สิคาลชาดก ๓. สูกรชาดก ๔. อุรคชาดก ๕. ภัคคชาดก ๖. อลีนจิตตชาดก ๗. คุณชาดก ๘. สุหนุชาดก ๙. โมรชาดก ๑๐. วินีลกชาดก. _________________

๒. สันถวรรค

๑. อินทสมานโคตตชาดก ว่าด้วยการสมาคมกับสัตบุรุษ

[๑๗๑] บุคคลไม่พึงทำความสนิทสนมกับบุรุษชั่วช้า ท่านผู้เป็นอริยะ รู้ประโยชน์ อยู่ ไม่พึงทำความสนิทสนมกับอนารยชน เพราะอนารยชนนั้น แม้อยู่ ร่วมกันเป็นเวลานาน ก็ย่อมทำบาปกรรม ดุจช้างผู้ทำลายล้างดาบสชื่อ อินทสมานโคตร ฉะนั้น. [๑๗๒] บุคคลพึงรู้บุคคลใดว่า ผู้นี้เช่นเดียวกับเรา โดยศีล ปัญญา และสุตะ พึงทำไมตรีกับบุคคลนั้นนั่นแล เพราะการสมาคมกับสัตบุรุษนำมาซึ่ง ความสุขแท้.

จบ อินทสมานโคตตชาดกที่ ๑.

๒. สันถวชาดก ว่าด้วยความสนิทสนม

[๑๗๓] สิ่งอื่นที่จะชั่วช้ายิ่งขึ้นไปกว่าความสนิทสนมเป็นไม่มี ความสนิทสนม กับบุรุษเลวทราม เป็นความชั่วช้า เพราะไฟนี้เราให้อิ่มหนำแล้วด้วย สัปปิและข้าวปายาส ยังไหม้บรรณศาลาที่เราทำได้ยากให้พินาศ. [๑๗๔] สิ่งอื่นที่จะประเสริฐยิ่งไปกว่าความสนิทสนมเป็นไม่มี ความสนิทสนม กับสัตบุรุษ เป็นความประเสริฐ สามามฤคีเลียปากราชสีห์ เสือโคร่ง และเสือเหลืองได้ ก็เพราะความรักใคร่สนิทสนมกัน.

จบ สันถวชาดกที่ ๒.

๓. สุสีมชาดก ว่าด้วยพระเจ้าสุสีมะ

[๑๗๕] ข้าแต่พระองค์ผู้ทรงพระนามว่าสุสีมะ ช้างประมาณ ๑๐๐ เชือกเศษนี้ ประดับด้วยข่ายทอง เป็นของพระองค์ พระองค์ทรงระลึกถึงการกระทำ แห่งพระบิดา และพระอัยยกาของพระองค์อยู่เนืองๆ ตรัสว่า เราจะให้ ช้างเหล่านั้นแก่พราหมณ์เหล่าอื่น ดังนี้ เป็นความจริงหรือ พระเจ้าข้า? [๑๗๖] ดูกรพ่อมาณพ ช้างประมาณ ๑๐๐ เชือกเศษนี้ประดับด้วยข่ายทอง ซึ่ง เป็นของเรา เราระลึกถึงการกระทำแห่งพระบิดา และพระอัยยกาอยู่ เนืองๆ พูดว่า เราจะให้ช้างเหล่านั้นแก่พราหมณ์เหล่าอื่น ดังนี้ เป็น ความจริง.

จบ สุสีมชาดกที่ ๓.

๔. คิชฌชาดก ว่าด้วยสายตาแร้ง

[๑๗๗] เออก็ (เขากล่าวกันว่า) แร้งย่อมเห็นซากศพทั้งหลายได้ถึงร้อยโยชน์ เหตุไร ท่านมาถึงข่ายและบ่วงจึงไม่รู้เล่า? [๑๗๘] ความเสื่อมจะมีในเวลาใด สัตว์ใกล้จะสิ้นชีวิตในเวลาใด ในเวลานั้น ถึงจะมาใกล้ข่าย และบ่วงก็รู้ไม่ได้ ฯ

จบ คิชฌชาดกที่ ๔.

๕. นกุลชาดก ว่าด้วยอย่าวางใจมิตร

[๑๗๙] ดูกรพังพอน ท่านได้ทำมิตรภาพกับงูผู้เป็นศัตรูแล้ว ไฉนจึงยังนอน แยกเขี้ยวอยู่อีกเล่า ภัยที่ไหนจะมาถึงแก่ท่านอีก? [๑๘๐] บุคคลพึงระแวงในศัตรูไว้ แม้ในมิตรก็ไม่ควรวางใจ ภัยเกิดขึ้นแล้ว จากมิตร ย่อมตัดมูลรากทั้งหลายเสีย.

จบ นกุลชาดกที่ ๕.

๖. อุปสาฬหกชาดก ว่าด้วยคุณธรรมที่ไม่ตายไปจากโลก

[๑๘๑] พราหมณ์ชื่อว่าอุปสาฬหกทั้งหลาย ถูกญาติทั้งหลายเผาเสียในประเทศนี้ ประมาณหมื่นสี่พันชาติแล้ว สถานที่อันใครๆ ไม่เคยตายแล้ว ย่อม ไม่มีในโลก. [๑๘๒] สัจจะ ๑ ธรรม ๑ อหิงสา ๑ สัญญมะ ๑ ทมะ ๑ มีอยู่ในบุคคลใด พระอริยะทั้งหลายย่อมคบหาบุคคลนั้น คุณชาตินี้แลชื่อว่า ไม่ตายในโลก.

จบ อุปสาฬหกชาดกที่ ๖.

๗. สมิทธิชาดก ว่าด้วยการไม่รู้เวลาตาย

[๑๘๓] ดูกรภิกษุ ท่านยังไม่ทันได้บริโภคกามเลย มาเที่ยวภิกษาเสีย ท่าน จะบริโภคกามเสียก่อนแล้วจึงเที่ยวภิกษาไม่ดีหรือ ดูกรภิกษุ ท่านจง บริโภคกามเสียก่อนแล้วจึงเที่ยวภิกษาเถิด เวลาบริโภคกามอย่าล่วงเลย ท่านไปเสียเลย. [๑๘๔] เรารู้เวลาตายไม่ได้โดยแท้ เวลาตายยังปกปิดอยู่ หาปรากฏไม่ เพราะ เหตุนั้น เราจึงไม่บริโภคกามแล้วเที่ยวภิกษา เวลากระทำสมณธรรมอย่า ล่วงเลยเราไปเสีย.

จบ สมิทธิชาดกที่ ๗.

๘. สกุณัคฆิชาดก ว่าด้วยเหยี่ยวนกเขา

[๑๘๕] เหยี่ยวนกเขาบินโผลงด้วยกำลัง หมายใจว่า จะเฉี่ยวเอานกมูลไถ ซึ่ง จับอยู่ที่ชายดงเพื่อหาเหยื่อ โดยฉับพลัน เพราะเหตุนั้น จึงถึงความตาย. [๑๘๖] เรานั้น เป็นผู้สมบูรณ์ด้วยอุบาย ยินดีแล้วในโคจรอันเนื่องมาแต่บิดา เห็นอยู่ซึ่งประโยชน์ของตน จึงหลีกพ้นไปจากศัตรู ย่อมเบิกบานใจ.

จบ สกุณัคฆิชาดกที่ ๘.

๙. อรกชาดก ว่าด้วยการแผ่เมตตา

[๑๘๗] ผู้ใดแล ย่อมอนุเคราะห์สัตว์โลกทั้งปวง ด้วยจิตเมตตาหาประมาณ มิได้ ทั้งเบื้องบน เบื้องต่ำ และเบื้องขวาง โดยประการทั้งปวง. [๑๘๘] จิตเกื้อกูลหาประมาณมิได้ เป็นจิตบริบูรณ์อัน ผู้นั้นอบรมดีแล้ว กรรมใด ที่เขาทำแล้วพอประมาณ กรรมนั้น จักไม่เหลืออยู่ในจิตนั้น.

จบ อรกชาดกที่ ๙.

๑๐. กกัณฏกชาดก ว่าด้วยกิ้งก่าได้ทรัพย์

[๑๘๙] กิ้งก่าบนปลายเสาระเนียดนี้ ย่อมไม่อ่อนน้อมเหมือนเมื่อวันก่อน ดูกร มโหสถ ท่านจงรู้ว่า กิ้งก่ากระด้างเพราะเหตุไร? [๑๙๐] กิ้งก่ามันได้ทรัพย์กึ่งมาสกซึ่งมันไม่เคยได้ จึงได้ดูหมิ่นพระเจ้าวิเทหราช ผู้ครองเมืองมิถิลา.

จบ กกัณฏกชาดกที่ ๑๐.

จบ สันถวรรคที่ ๒. _________________ รวมชาดกที่มีในวรรคนี้ คือ ๑. อินทสมานโคตตชาดก ๒. สันถวชาดก ๓. สุสีมชาดก ๔. คิชฌชาดก ๕. นกุลชาดก ๖. อุปสาฬหกชาดก ๗. สมิทธิชาดก ๘. สกุณัคฆิชาดก ๙. อรกชาดก ๑๐. กกัณฏกชาดก _______________

๓. กัลยาณธรรมวรรค

๑. กัลยาณธรรมชาดก ผู้มีกัลยาณธรรม

[๑๙๑] ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นจอมแห่งชน กาลใด บุคคลได้ธรรมสมยาในโลกว่า ผู้มีกัลยาณธรรม กาลนั้น นรชนผู้มีปัญญา ไม่พึงทำตนให้เสื่อมจาก สมยานั้นเสีย สัตบุรุษทั้งหลายย่อมถือไว้ซึ่งธุระด้วยหิริและโอตตัปปะ. [๑๙๒] ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นจอมแห่งชน สมยาว่า ผู้มีกัลยาณธรรมในโลกนี้ มาถึงข้าพระพุทธเจ้าแล้วในวันนี้ ข้าพระพุทธเจ้าพิจารณาเห็นสมยาอัน นั้น จึงได้บวชเสียในคราวนี้ ความพอใจในการบริโภคกามในโลกนี้ มิได้มีแก่ข้าพระพุทธเจ้าเลย.

จบ กัลยาณธรรมชาดกที่ ๑.

๒. ทัททรชาดก ราชสีห์กับสุนัขจิ้งจอก

[๑๙๓] ข้าแต่คุณพ่อผู้ครอบงำมฤคชาติทั้งหลาย ใครหนอมีเสียงใหญ่โตจริง ย่อมทำทัททรบรรพตให้บรรลือสนั่นยิ่งนัก ราชสีห์ทั้งหลาย ย่อมไม่อาจ บันลือโต้ตอบมันได้ นั่นเรียกว่า สัตว์อะไร? [๑๙๔] ลูกเอ๋ย นั่นคือสุนัขจิ้งจอก เป็นสัตว์เลวทรามต่ำช้ากว่ามฤคชาติทั้งหลาย มันหอนอยู่ ราชสีห์ทั้งหลายรังเกียจชาติของมัน จึงได้พากันนิ่งเฉยเสีย.

จบ ทัททรชาดกที่ ๒.

๓. มักกฏชาดก ว่าด้วยลิง

[๑๙๕] คุณพ่อครับ มาณพนั่นมายืนพิงต้นตาลอยู่ อนึ่ง เรือนของเรานี้ก็มีอยู่ ถ้ากระไร เราจะให้เรือนแก่มาณพนั้น. [๑๙๖] ลูกเอ๋ย เจ้าอย่าเรียกมันมาเลย มันเข้ามาแล้ว จะพึงประทุษร้ายเรือน ของเรา หน้าของพราหมณ์ผู้มีศีลบริสุทธิ์ หาเป็นเช่นนี้ไม่.

จบ มักกฏชาดกที่ ๓.

๔. ทุพภิยมักกฏชาดก ว่าด้วยการคบคนชั่ว

[๑๙๗] เราได้ให้น้ำเป็นอันมากแก่เจ้า ผู้ถูกความร้อนแผดเผา หิวกระหายอยู่ บัดนี้ เจ้าได้ดื่มน้ำแล้ว ยังหลอกล้อเปล่งเสียงว่า กิกิ อยู่ได้ การคบหา กับคนชั่ว ไม่ประเสริฐเลย. [๑๙๘] ท่านได้ยิน หรือได้เห็นมาบ้างหรือว่า ลิงตัวไหนชื่อว่า เป็นสัตว์มีศีล เราจะถ่ายอุจจาระรดศีรษะท่านเดี๋ยวนี้แล้วจึงจะไป นี่เป็นธรรมดาของ พวกเรา.

จบ ทุพภิยมักกฏชาดกที่ ๔.

๕. อาทิจจุปัฏฐานชาดก ว่าด้วยลิงไหว้พระอาทิตย์

[๑๙๙] ได้ยินว่า ในบรรดาสัตว์ทั้งปวง สัตว์ผู้ตั้งมั่นอยู่ในศีลมีอยู่ ท่านจง ดูลิงผู้ลามก ยืนไหว้พระอาทิตย์อยู่เถิด. [๒๐๐] ท่านทั้งหลาย ไม่รู้จักปกติของมัน เพราะเหตุไม่รู้จึงได้พากันสรรเสริญ ลิงตัวนี้มันเผาโรงไฟเสีย และทุบต่อยคณโฑน้ำเสียสองใบ.

จบ อาทิจจุปัฏฐานชาดกที่ ๕.

๖. กฬายมุฏฐิชาดก ว่าด้วยโลภมาก

[๒๐๑] ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นจอมแห่งชน ลิงผู้เที่ยวหาอาหารตามกิ่งไม้นี้ โง่ เขลายิ่งนัก ปัญญาของมันก็ไม่มี มันสาดถั่วทั้งกำเสียหมดสิ้น แล้ว เที่ยวค้นหาถั่วเมล็ดเดียวที่ตกลงยังพื้นดิน. [๒๐๒] ข้าแต่พระราชา พวกเราก็ดี ชนเหล่าอื่นที่โลภจัดก็ดี จะต้องละทิ้ง ของมากเพราะของน้อย เปรียบเหมือนวานรเสื่อมจากถั่วทั้งหมด เพราะ ถั่วเมล็ดเดียว ฉะนั้น.

จบ กฬายมุฏฐิชาดกที่ 6

๗. ตินทุกชาดก ว่าด้วยอุบาย

[๒๐๓] มนุษย์ทั้งหลายมีมือถือแล่งธนู ถือดาบอันคมแล้ว พากันมาแวดล้อม พวกเราไว้โดยรอบ ด้วยอุบายอย่างไร พวกเราจึงจะรอดพ้นไปได้. [๒๐๔] ประโยชน์อย่างใดอย่างหนึ่ง จะพึงเกิดมีแก่มนุษย์ทั้งหลายผู้มีกิจมาก เป็นแน่ ยังมีเวลาพอที่จะเก็บเอาผลไม้มากินได้ ท่านทั้งหลาย จง พากันกินผลมะพลับเถิด.

จบ ตินทุกชาดกที่ ๗.

๘. กัจฉปชาดก ว่าด้วยเต่า

[๒๐๕] เราเกิดที่นี่ เติบโตที่นี่ เพราะเหตุนี้ เราจึงได้อาศัยอยู่ที่เปือกตม เปือกตมกลับทับถมเราให้ทุรพล ดูกรท่านภัคควะ เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าจะขอกล่าวกะท่าน ขอท่านจงฟังคำของข้าพเจ้าเถิด. [๒๐๖] บุคคลได้รับความสุขในที่ใด จะเป็นในบ้าน หรือในป่าก็ตาม ที่นั้นเป็น ที่เกิด เป็นที่เติบโตของบุรุษผู้รู้จักเหตุผล บุคคลพึงเป็นอยู่ได้ในที่ใด ก็พึงไปที่นั้น ไม่พึงให้ที่อยู่ฆ่าตนเสีย.

จบ กัจฉปชาดกที่ ๘.

๙. สตธรรมชาดก ว่าด้วยสตธรรมมาณพ

[๒๐๗] อาหารที่เราบริโภค น้อยด้วย เป็นเดนด้วย อนึ่ง เขาให้แก่เราโดย ยากเย็นเต็มที เราเป็นชาติพราหมณ์บริสุทธิ์ เพราะเหตุนั้น อาหารที่ เราบริโภคเข้าไปแล้วจึงกลับออกมาอีก. [๒๐๘] ภิกษุใด ละทิ้งธรรมเสีย หาเลี้ยงชีพโดยไม่ชอบธรรม ภิกษุนั้น ก็ย่อม ไม่เพลินด้วยลาภ แม้ที่ได้มาแล้ว เปรียบเหมือนสตธรรมมาณพ ฉะนั้น.

จบ สตธรรมชาดกที่ ๙.

๑๐. ทุทททชาดก ว่าด้วยคติของคนดีคนชั่ว

[๒๐๙] เมื่อสัตบุรุษทั้งหลาย ให้สิ่งของที่ให้ยาก ทำกรรมที่ทำได้ยาก อสัตบุรุษ ทั้งหลาย ย่อมทำตามไม่ได้ ธรรมของสัตบุรุษรู้ได้ยาก. [๒๑๐] เพราะเหตุนั้น คติจากโลกนี้ของสัตบุรุษและอสัตบุรุษจึงต่างกัน อสัตบุรุษย่อมไปสู่นรก สัตบุรุษย่อมมีสวรรค์เป็นที่ไป ณ เบื้องหน้า.

จบ ทุทททชาดกที่ ๑๐.

จบ กัลยาณธรรมวรรคที่ ๓. _________________ รวมชาดกที่มีในวรรคนี้ คือ ๑. กัลยาณธรรมชาดก ๒. ทัททรชาดก ๓. มักกฏชาดก ๔. ทุพภิยมักกฏชาดก ๕. อาทิจจุปัฏฐานชาดก ๖. กฬายมุฏฐิชาดก ๗. ตินทุกชาดก ๘. กัจฉปชาดก ๙. สตธรรมชาดก ๑๐. ทุทททชาดก. _________________

๔. อสทิสวรรค

๑. อสทิสชาดก ว่าด้วยอสทิสกุมาร

[๒๑๑] เจ้าชายพระนามว่าอสทิสกุมาร เป็นนักธนู มีกำลังมาก ยิงธนูให้ไป ตกในที่ไกลๆ ได้ ยิงไม่ค่อยพลาด สามารถทำลายของกองใหญ่ๆ ได้. [๒๑๒] พระองค์ทรงทำการรบให้ข้าศึกทั้งปวงหนีไป แต่มิได้เบียดเบียนใครๆ เลย ทรงทำพระกนิฏฐภาดาให้มีความสวัสดีแล้ว ก็เข้าถึงความสำรวม.

จบ อสทิสชาดกที่ ๑

๒. สังคามาวจรชาดก ว่าด้วยช้างเข้าสงคราม

[๒๑๓] ดูกรกุญชร ท่านปรากฏว่า เป็นผู้เคยเข้าสู่สงคราม มีความแกล้วกล้า มีกำลังมาก เข้ามาใกล้เขื่อนประตูแล้ว เหตุไรจึงถอยกลับเสียเล่า? [๒๑๔] ดูกรกุญชร ท่านจงหักล้างลิ่มกลอน ถอนเสาระเนียด และทำลาย เขื่อนทั้งหลายแล้ว เข้าประตูให้ได้โดยเร็วเถิด.

จบ สังคามาวจรชาดกที่ ๒.

๓. วาโลทกชาดก ว่าด้วยน้ำหาง

[๒๑๕] (พระราชาตรัสถามว่า) ความเมาย่อมเกิดแก่ลาทั้งหลาย เพราะดื่มกิน น้ำหาง มีรสน้อย เป็นน้ำเลว แต่ความเมาย่อมไม่เกิดแก่ม้าสินธพ เพราะดื่มกินน้ำมีรสอร่อย ประณีต. [๒๑๖] (พระโพธิสัตว์กราบทูลว่า) ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นจอมแห่งชน สัตว์ผู้มี ชาติอันเลวทราม ดื่มกินน้ำมีรสน้อย อันรสนั้นถูกต้องแล้ว ย่อมเมา ส่วนสัตว์ผู้มีปกติทำธุระให้สำเร็จได้ เกิดในตระกูลสูง ดื่มกินรสอันเลิศ แล้ว ก็ไม่เมา.

จบ วาโลทกชาดกที่ ๓.

๔. คิริทัตตชาดก ว่าด้วยการเอาอย่าง

[๒๑๗] (พระโพธิสัตว์กราบทูลพระราชาว่า) ม้าชื่อปัณฑวะของพระเจ้าสามะ ถูกนายควาญม้าชื่อคิริทัตต์ประทุษร้าย จึงละปกติเดิมของตน ศึกษา เอาอย่างนายควาญม้านั่นเอง. [๒๑๘] ถ้าบุรุษผู้บริบูรณ์ด้วยอาการอันงดงาม สมควรแก่ม้านั้น ตบแต่งร่าง กายงดงาม จับจูงม้านั้นที่บังเหียนพาเวียนไปรอบๆ สนามม้าไซร้ ไม่ช้า เท่าไร ม้านี้ก็จะละความเป็นกระจอกเสีย ศึกษาเอาอย่างบุรุษนั้นเทียว.

จบ คิริทัตตชาดกที่ ๔.

๕. อนภิรติชาดก ว่าด้วยจิตขุ่นมัว-ไม่ขุ่นมัว

[๒๑๙] เมื่อน้ำขุ่นมัว ไม่ใส บุคคลย่อมไม่แลเห็นหอยกาบ หอยโข่ง กรวด ทราย และฝูงปลา ฉันใด เมื่อจิตขุ่นมัว บุคคลก็ย่อมไม่เห็นประโยชน์ ตน และประโยชน์ผู้อื่น ฉันนั้น. [๒๒๐] เมื่อน้ำไม่ขุ่นมัว ใสบริสุทธิ์ บุคคลย่อมแลเห็นหอยกาบ หอยโข่ง กรวด ทราย และฝูงปลา ฉันใด เมื่อจิตไม่ขุ่นมัว บุคคลก็ย่อมเห็น ประโยชน์ตน และประโยชน์ผู้อื่น ฉันนั้น.

จบ อนภิรติชาดกที่ ๕.

๖. ทธิวาหนชาดก ว่าด้วยพระเจ้าทธิวาหนะ

[๒๒๑] (พระเจ้าทธิวาหนะตรัสถามว่า) แต่ก่อนมา มะม่วงต้นนี้บริบูรณ์ด้วยสี กลิ่น และรส ได้รับการบำรุงอยู่เช่นเดิม เหตุไรจึงมีผลขื่นขมไปเล่า? [๒๒๒] (พระโพธิสัตว์ทูลว่า) ข้าแต่พระเจ้าทธิวาหนะ มะม่วงของพระองค์ มีต้นสะเดาแวดล้อมอยู่ รากต่อรากเกี่ยวพันกัน กิ่งต่อกิ่งเกี่ยวประสาน กัน เหตุที่อยู่ร่วมกันกับต้นสะเดาที่มีรสขม มะม่วงจึงมีผลขมไปด้วย.

จบ ทธิวาหนชาดกที่ ๖.

๗. จตุมัฏฐชาดก ผู้เลวทราม ๔ อย่าง

[๒๒๓] ท่านทั้งสองพากันขึ้นไปบนค่าคบไม้อันสูง อยู่ในที่ลับแล้วปรึกษากัน เชิญท่านลงมาปรึกษากันในที่ต่ำเถิด พระยาเนื้อจักได้ฟังบ้าง. [๒๒๔] สุบรรณกับสุบรรณเขาปรึกษากัน เทวดากับเทวดาเขาพูดกันในเรื่องนี้ จะมีประโยชน์อะไรแก่สุนัขจิ้งจอกเลวทราม ๔ อย่าง (สรีระ ๑ ชาติ ๑ เสียง ๑ คุณ ๑) เล่า แน่ะสุนัขจิ้งจอกตัวชาติชั่ว เจ้าจงเข้าไปสู่ปล่องเถิด.

จบ จตุมัฏฐชาดกที่ ๗.

๘. สีหโกตถุกชาดก ตัวเหมือนราชสีห์แต่เสียงไม่เหมือน

[๒๒๕] ราชสีห์ตัวนั้น นิ้วก็นิ้วราชสีห์ เล็บก็เล็บราชสีห์ ยืนก็ยืนด้วยเท้าราชสีห์ มีอยู่ตัวเดียวในหมู่ราชสีห์ ย่อมบรรลือด้วยเสียงอีกอย่างหนึ่ง. [๒๒๖] ดูกรเจ้าเป็นบุตรแห่งราชสีห์ เจ้าอย่าบรรลือเสียงอีกเลย จงมีเสียง เบาๆ อยู่ในป่า เขาทั้งหลายพึงรู้จักเจ้าด้วยเสียงนั่นแหละ เพราะเสียง ของเจ้า ไม่เหมือนกับเสียงราชสีห์ผู้เป็นบิดา.

จบ สีหโกตถุกชาดกที่ ๘.

๙. สีหจัมมชาดก ลาปลอมเป็นราชสีห์

[๒๒๗] นี่ไม่ใช่เสียงบรรลือของราชสีห์ ไม่ใช่เสียงบรรลือของเสือโคร่ง ไม่ ใช่เสียงบรรลือของเสือเหลือง ลาผู้ลามกคลุมตัวด้วยหนังราชสีห์บรร ลือเสียง. [๒๒๘] ลาเอาหนังราชสีห์คลุมตัว เที่ยวกินข้าวกล้านานมาแล้ว ร้องให้เขารู้ ว่า เป็นตัวลา ได้ประทุษร้ายตนเองแล้ว.

จบ สีหจัมมชาดกที่ ๙.

๑๐. สีลานิสังสชาดก ว่าด้วยอานิสงส์ศีล

[๒๒๙] จงดูผลของศรัทธา ศีล และจาคะ นี้เถิด พระยานาคนิรมิตเพศเป็น เรือ พาอุบาสกผู้มีศรัทธาไป. [๒๓๐] บุคคลพึงสมาคมกับสัตบุรุษทั้งหลายเถิด พึงทำความสนิทสนมกับ สัตบุรุษทั้งหลายเถิด ด้วยว่าช่างกัลบกถึงความสวัสดีได้ ก็เพราะการ อยู่ร่วมกับสัตบุรุษทั้งหลาย.

จบ สีลานิสังสชาดกที่ ๑๐.

จบ อสทิสวรรคที่ ๔. _________________ รวมชาดกที่มีในวรรคนี้ คือ ๑. อสทิสชาดก ๒. สังคามาวจรชาดก ๓. วาโลทกชาดก ๔. คิริทัตตชาดก ๕. อนภิรติชาดก ๖. ทธิวาหนชาดก ๗. จตุมัฏฐชาดก ๘. สีหโกตถุกชาดก ๙. สีหจัมมชาดก ๑๐. สีลานิสังสชาดก. _________________

๕. รุหกวรรค

๑. รุหกชาดก

[๒๓๑] ดูกรพ่อรุหกะ สายธนูถึงขาดแล้วก็ยังต่อกันได้อีก ท่านจงคืนดีกันเสีย กับภรรยาเก่าเถิด อย่าลุอำนาจแก่ความโกรธเลย. [๒๓๒] เมื่อป่านยังมีอยู่ ช่างทำก็ยังมีอยู่ ข้าพระบาทจักกระทำสายอื่นใหม่ พอ กันทีสำหรับสายเก่า.

จบ รุหกชาดกที่ ๑.

๒. สิริกาฬกัณณิชาดก ว่าด้วยสิริกับกาฬกรรณี

[๒๓๓] หญิงที่มีรูปงาม ทั้งมีศีลาจารวัตร บุรุษไม่พึงปรารถนาหญิงนั้น ท่านเชื่อ ไหม มโหสถ? [๒๓๔] ข้าแต่มหาราชะ ข้าพระบาทเชื่อ บุรุษคงเป็นคนต่ำต้อย สิริกับกาฬกรรณี ย่อมไม่สมกันเลยไม่ว่าในกาลไหนๆ.

จบ สิริกาฬกัณณิชาดกที่ ๒.

๓. จุลลปทุมชาดก ว่าด้วยการลงโทษหญิงชายทำชู้กัน

[๒๓๕] หญิงคนนี้แหละ คือหญิงคนนั้น ถึงเราก็คือบุรุษคนนั้น ไม่ใช่คนอื่น บุรุษคนนี้แหละที่หญิงคนนี้อ้างว่า เป็นผัวของเรามาตั้งแต่เป็นเด็ก ก็คือ บุรุษที่ถูกตัดมือ หาใช่คนอื่นไม่ ขึ้นชื่อว่า หญิงทั้งหลายควรฆ่าเสียให้ หมดเลย ความสัตย์ไม่มีในหญิงทั้งหลาย. [๒๓๖] ท่านทั้งหลายจงฆ่าบุรุษผู้ชั่วช้าลามกราวกับซากผี มักทำชู้กับภรรยาผู้อื่น คนนี้ เสียด้วยสาก จงตัดหู ตัดจมูก ของหญิงผู้ทำร้ายผัวชั่วช้าลามกคนนี้ เสียทั้งเป็นๆ เถิด.

จบ จุลลปทุมชาดกที่ ๓.

๔. มณิโจรชาดก ว่าด้วยพระเจ้าอธรรมิกราช

[๒๓๗] เทวดาทั้งหลาย (ผู้ดูแลรักษาชนผู้มีศีลและคอยกีดกันคนชั่ว) ย่อมไม่มี อยู่ในโลกเป็นแน่ หรือเมื่อกิจเห็นปานนี้เกิดขึ้น ย่อมพากันไปค้างแรม เสียเป็นแน่ อนึ่ง สมณพราหมณ์ทั้งหลายอันเขาสมมติว่า เป็นผู้รักษา โลก ไม่มีอยู่ในโลกนี้เป็นแน่ เมื่อชนทุศีลทั้งหลายกระทำกรรมอันสาหัส บุคคลผู้ห้ามปรามไม่มีอยู่เป็นแน่? [๒๓๘] ในรัชสมัยของพระเจ้าอธรรมิกราช ฝนย่อมตกในเวลาอันไม่ควรจะตก ในเวลาที่ควรจะตกก็ไม่ตก พระราชาผู้ไม่ตั้งอยู่ในธรรม ย่อมจุติจาก ฐานะคือสวรรค์ พระราชาผู้ไม่ตั้งอยู่ในธรรมนั้น ใช่ว่าจะได้รับความ ยากเข็ญด้วยเหตุมีประมาณเท่านั้นก็ไม่.

จบ มณิโจรชาดกที่ ๔.

๕. ปัพพตูปัตถรชาดก ว่าด้วยสระที่เชิงเขาลาด

[๒๓๙] สระโบกขรณีอันเกษม เกิดอยู่ที่เชิงเขาลาด น่ารื่นรมย์ สุนัขจิ้งจอกรู้ว่า สระนั้นอันราชสีห์รักษาอยู่ กล้าลงไปดื่มน้ำได้. [๒๔๐] ข้าแต่มหาราชะ ถ้าสัตว์ทั้งหลายที่มีเท้า ย่อมพากันดื่มน้ำในแม่น้ำใหญ่ ไซร้ แม่น้ำจะกลายเป็นไม่ใช่แม่น้ำเพราะเหตุนั้นก็หาไม่ ถ้าบุคคลทั้ง สองนั้น เป็นที่รักของพระองค์ไซร้ พระองค์ก็ทรงงดโทษเสีย.

จบ ปัพพตูปัตถรชาดกที่ ๕.

๖. วลาหกัสสชาดก ว่าด้วยความสวัสดี

[๒๔๑] นรชนเหล่าใด ไม่ทำตามโอวาทอันพระพุทธเจ้าทรงแสดงแล้ว นรชน เหล่านั้นจักต้องถึงความพินาศ เปรียบเหมือนพ่อค้าทั้งหลายถูกนางผีเสื้อ หลอกลวงให้อยู่ในอำนาจ ฉะนั้น. [๒๔๒] นรชนเหล่าใด ทำตามโอวาทอันพระพุทธเจ้าทรงแสดงแล้ว นรชน เหล่านั้น จักถึงฝั่งสวัสดี ดุจพ่อค้าทั้งหลายทำตามถ้อยคำอันม้าวลาหก กล่าวแล้ว ฉะนั้น.

จบ วลาหกัสสชาดกที่ ๖.

๗. มิตตามิตตชาดก อาการของผู้เป็นมิตรและมิใช่มิตร

[๒๔๓] ศัตรูเห็นเข้าแล้วไม่ยิ้มแย้ม ไม่แสดงความยินดีตอบ สบตากันแล้ว เบือนหน้าหนี ไม่แลดู ประพฤติตรงกันข้ามเสมอ. [๒๔๔] อาการเหล่านี้ มีปรากฏอยู่ในศัตรู เป็นเครื่องให้บัณฑิตเห็น และได้ฟัง แล้ว พึงรู้ได้ว่า เป็นศัตรู.

จบ มิตตามิตตชาดกที่ ๗.

๘. ราธชาดก ว่าด้วยเรื่องจริงเก่าไม่ดีไม่ควรพูด

[๒๔๕] ลูกรัก พ่อกลับมาจากที่ค้างแรม กลับมาเดี๋ยวนี้เอง ไม่นานเท่าไรนัก แม่ของเจ้าไม่ไปคบหาบุรุษอื่นดอกหรือ? [๒๔๖] ธรรมดาบัณฑิต ไม่พูดวาจาที่ประกอบด้วยความจริง แต่ไม่ดี ขืนพูดไปจะ ต้องนอนอยู่ ดุจนกแขกเต้าชื่อว่าโปฏฐปาทะถูกเผานอนจมอยู่ในเตาไฟ ฉะนั้น.

จบ ราธชาดกที่ ๘.

๙. คหปติชาดก ว่าด้วยการทวงในเวลายังไม่ถึงกำหนด

[๒๔๗] กรรมทั้งสองไม่ควรแก่เรา เราไม่ชอบใจ ก็หญิงคนนี้ลงไปในฉางข้าว แล้วพูดว่า เรายังใช้หนี้ให้ไม่ได้. [๒๔๘] ดูกรนายบ้าน เพราะเหตุนั้น เราจึงพูดกะท่าน ท่านมาทวงค่าเนื้อวัวแก่ ซูบผอม ซึ่งเราได้ทำสัญญาผลัดไว้ถึงสองเดือน ในคราวเมื่อชีวิตของ เราน้อย ลำบากยากเข็ญ ในกาลยังไม่ทันถึงกำหนดสัญญา กรรมทั้งสอง นั้น ไม่ถูกใจเราเสียเลย.

จบ คหปติชาดกที่ ๙.

๑๐. สาธุสีลชาดก ว่าด้วยเลือกเอาผู้มีศีล

[๒๔๙] เราขอถามท่านพราหมณ์ว่า ๑. คนมีรูปงาม ๒. คนอายุมาก ๓. คน มีชาติสูง ๔. คนมีศีลดี ๔ คนนั้น ท่านจะเลือกเอาคนไหน? [๒๕๐] ประโยชน์ในร่างกายก็มีอยู่ ข้าพเจ้าขอทำความนอบน้อมแก่ท่านผู้เจริญวัย ประโยชน์ในบุรุษผู้มีชีวิตดีก็มีอยู่ ศีลแล พวกเราชอบใจ.

จบ สาธุสีลชาดกที่ ๑๐.

จบ รุหกวรรคที่ ๕. _________________ รวมชาดกที่มีในวรรคนี้ คือ ๑. รุหกชาดก ๒. สิริกาฬกัณณิชาดก ๓. จุลลปทุมชาดก ๔. มณิโจรชาดก ๕. ปัพพตูปัตถรชาดก ๖. วลาหกัสสชาดก ๗. มิตตามิตตชาดก ๘. ราธชาดก ๙. คหปติชาดก ๑๐. สาธุสีลชาดก. _________________

กลับที่เดิม