พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวันทรงปรารภ พราหมณ์ผู้ถือความบริสุทธิ์ของป่าช้า ชื่ออุปสาฬหกะ.
            มีเรื่องได้ยินมาว่า พราหมณ์นั้นเป็นผู้มั่งคั่งมีทรัพย์มาก แต่เพราะค่าที่ตนเป็นคนเจ้าทิฏฐิ จึงมิได้ทำการสงเคราะห์ พระพุทธเจ้าทั้งหลาย แม้ประทับอยู่ ณ พระวิหารใกล้ ๆ. แต่ บุตรของเขาเป็นคนฉลาด มีความรู้. พราหมณ์บอกบุตรเมื่อ ตัวแก่เฒ่าว่า นี่แน่ลูก เจ้าอย่าเผาพ่อในป่าช้าที่เผาคนเฉาโฉด แต่ควรเผาพ่อในป่าช้าที่ไม่ปะปนกับใคร ๆ แห่งหนึ่ง. บุตรกล่าว ว่า พ่อจ๋าลูกไม่รู้จักที่ที่ควรเผาพ่อ ทางที่ดีพ่อพาลูกไปแล้ว บอกว่าให้เผาตรงนี้. พราหมณ์พูดว่า ดีละลูกแล้วพาบุตรออก จากเมืองขึ้นไปยังยอดเขาคิชฌกูฏ กล่าวว่าลูกตรงนี้แหละเป็น ที่ที่ไม่เคยเผาคนเฉาโฉดอื่น. ลูกควรเผาพ่อตรงนี้แล้วก็เริ่ม ลงจากภูเขาพร้อมกับลูก.
            ในวันนั้นเวลาใกล้รุ่งพระศาสดาทรงตรวจดูเผ่าพันธุ์ผู้ ืัที่ควรโปรดได้ทอดพระเนตรเห็นอุปนิสัยโสดาปัตติมรรคของ พ่อลูกนั้น เพราะฉะนั้น จึงทรงถือเอาทางนั้นเสด็จไปยังเชิงภูเขา ดุจพรานชำนาญทาง ประทับนั่งรอพ่อลูกลงจากยอดเขา. พ่อลูก ลงจากภูเขาได้เห็นพระศาสดา. พระศาสดาทรงกระทำปฏิสันถาร ตรัสถามว่า จะไปไหนกันพราหมณ์. มาณพกราบทูลเนื้อความ ให้ทรงทราบ. พระศาสดาตรัสว่า ถ้าเช่นนั้นมาเถิด เราจะไป ยังที่ที่บิดาของเจ้าบอกทรงพาพ่อลูกทั้งสองขึ้นสู่ยอดเขาตรัส ถามว่า ที่ตรงไหนเล่า. มาณพกราบทูลว่า บิดาของข้าพระองค์ บอกว่า ระหว่างภูเขาสามลูกนี่แหละพระเจ้าข้า. พระศาสดา ตรัสว่า ดูก่อนมาณพบิดาของเจ้ามิใช่ถือความบริสุทธิ์แห่งป่าช้า ในบัดนี้เท่านั้น แม้เมื่อก่อนบิดาของเจ้าก็ถือความบริสุทธิ์แห่ง ป่าช้า อนึ่งบิดาคนนี้บอกเจ้าว่าจงเผาเราตรงนี้แหละมิใช่เวลานี้ เท่านั้น แม้เมื่อก่อนก็บอกที่สำหรับเผาตนในที่นี้เหมือนกัน เมื่อ เขากราบทูลอาราธนาจึงทรงนำเรื่องในอดีตมาตรัสเล่า.
            ในอดีตกาล ที่กรุงราชคฤห์นี้แหละ ได้มีพราหมณ์ชื่อ อุปสาฬหกะคนเดียวกันนี้แหละ และบุตรของเขาก็คนเดียวกันนี้. ในครั้งนั้นพระโพธิสัตว์บังเกิดในตระกูลพราหมณ์ แคว้นมคธ ครั้นจบศิลปศาสตร์แล้ว จึงออกบวชเป็นฤๅษี ทำอภิญญาและ สมาบัติให้เกิด เพลิดเพลินอยู่ด้วยฌานกรีฑา อาศัยอยู่ในหิมวันต- ประเทศเป็นเวลาช้านาน แล้วจึงไปพักอยู่ ณ บรรณศาลาใกล้ ภูเขาคิชฌกูฏ เพื่อเสพของเค็มของเปรี้ยว. ในครั้งนั้น พราหมณ์ นั้นได้บอกกะบุตรทำนองเดียวกันนี้แหละ เมื่อบุตรกล่าวว่า พ่อจงบอกที่เช่นนั้นแก่ลูกเถิด. แล้วบอกที่นี้แหละ แล้วลงไปพบ พระโพธิสัตว์พร้อมกับบุตร ได้เข้าไปหาพระโพธิสัตว์. พระโพธิ- สัตว์ถามทำนองเดียวกันนี้แหละ ครั้นฟังคำของมาณพแล้ว จึงกล่าวว่า มาเถิดเราจะรู้ว่าที่ที่บิดาเจ้าบอกปะปนหรือไม่ปะปน แล้วพาบิดาและบุตรขึ้นไปยอดภูเขา เมื่อมาณพกล่าวว่า ระหว่าง ภูเขาสามลูกนี้แหละ เป็นที่ไม่ปะปน จึงตอบว่า ดูก่อนมาณพใน ที่นี้แหละไม่มีปริมาณของผู้ที่ถูกเผา บิดาของเจ้านั่นเองเกิดใน ตระกูลพราหมณ์เมืองราชคฤห์นี้แหละ ชื่ออุปสาฬหกะอย่าง เดียวกัน ถูกเผาในระหว่างภูเขานี้มาแล้วถึงหมื่นสี่พันชาติ. อันที่จริง สถานที่ที่ไม่ถูกเผาก็ดี สถานที่ที่ไม่ใช่ป่าช้าก็ดี สถานที่ ที่ศีรษะไม่ทอดลงก็ดี ไม่อาจหาได้ในแผ่นดิน แล้วกำหนดด้วย ญาณอันรู้ถึงภพของสัตว์ที่อยู่อาศัยในชาติก่อน (บุพเพนิวาสญาณ) จึงกล่าวสองคาถาว่า :-
            พราหมณ์ชื่อว่า อุปสาฬหกะทั้งหลาย ถูกญาติทั้งหลายเผาเสียในประเทศนี้ ประมาณ หมื่นสี่พันชาติแล้ว สถานที่อันใคร ๆ ไม่เคย ตายแล้วย่อมไม่มีในโลก. สัจจะ ธรรม อหิงสา สัญญมะ และทมะมีอยู่ในบุคคลใด พระอริยะ ทั้งหลายย่อมคบหาบุคคลนั้น คุณชาตินี้แลชื่อว่า ไม่ตายในโลก.
            บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อนามตํ ได้แก่ จริงอยู่สถานที่ อันไม่ตายท่านเรียกว่า อมตะด้วยการเปรียบเทียบ. เมื่อจะปฏิเสธ ข้อนั้น จึงกล่าวว่า อนามตํ (ที่ที่ไม่เคยตาย). บาลี เป็น อมตํ ก็มี อธิบายว่า ชื่อว่าที่อันไม่ใช่สุสาน อันเป็นที่ที่ใคร ๆ ไม่เคย ตายไม่มีในโลก. บทว่า ยมฺหิ สจฺจญฺจ ธมฺโมจ ได้แก่ ญาณ คือสัจธรรมอันเป็นส่วนเบื้องต้น มีอริยสัจสี่เป็นพื้นฐาน และ โลกุตตรธรรม มีอยู่ในบุคคลใด. บทว่า อหึสา ได้แก่ การไม่ เบียดเบียน กิริยาที่ไม่เบียดเบียนต่อผู้อื่น. บทว่า สญฺญโม ได้แก่ การสำรวมด้วยศีล. บทว่า ทโม ได้แก่การฝึกอินทรีย์. คุณชาติ นี้แลมีอยู่ในบุคคลใด. บทว่า เอตทริยา เสวนฺติ ความว่า พระ- อริยะทั้งหลาย ได้แก่ พระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า และ สาวกของพระพุทธเจ้า ย่อมเสพฐานะนี้คือ ย่อมเข้าไปหา ย่อม คบบุคคลชนิดนี้. บทว่า เอตํ โลเกอนามตํ ได้แก่ คุณชาตินั้นชื่อว่า อมตะ เพราะให้สำเร็จถึงความไม่ตาย.
            พระโพธิสัตว์แสดงธรรมแก่สองพ่อลูกอย่างนี้แล้ว เจริญ พรหมวิหารสี่มุ่งต่อพรหมโลก. พระศาสดาทรงนำพระธรรม- เทศนานี้มาแล้ว ทรงประกาศสัจธรรม ทรงประชุมชาดก.
            เมื่อจบสัจธรรม พ่อลูกทั้งสองตั้งอยู่ในโสดาปัตติผล. พ่อลูกในครั้งนั้นได้เป็นพ่อลูกในบัดนี้. ส่วนดาบสคือเราตถาคต นี้แล.
            จบ อรรถกถาอุปสาฬหกชาดกที่ ๖