พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร ทรง ปรารภภิกษุรูปหนึ่ง ตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำเริ่มต้นว่า อุจฺเจ วิฏภิมารุยฺห ดังนี้.
            มีเรื่องได้ยินว่าวันหนึ่ง เมื่อพระอัครสาวกสองรูป นั่ง สนทนาปรารภการถามและการแก้ปัญหากัน พระแก่รูปหนึ่ง ไปหาท่านนั่งเป็นรูปที่สาม กล่าวว่า นี่ท่าน ผมจะถามปัญหา กะท่าน แม้ท่านก็จงถามข้อสงสัยของตนกะผมบ้าง. พระเถระ รังเกียจพระแก่นั้น ลุกหลีกไป. พวกบริษัทที่นั่งเพื่อจะฟังธรรม ของพระเถระ จึงพากันไปเฝ้าพระศาสดา ในเวลาที่การประชุม ล้มเลิกไป เมื่อพระองค์ตรัสถามว่า ทำไมพวกเธอมาผิดเวลา จึงกราบทูลเหตุนั้นให้ทรงทราบ. พระศาสดาตรัสว่า ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย สารีบุตรและโมคคัลลานะรังเกียจพระแก่นั้น ใช่ พูดจาด้วยแล้วหลีกไป มิใช่ในบัดนี้เท่านั้น แม้แต่ก่อนก็พากัน หลีกไป แล้วทรงนำเรื่องในอดีตมาตรัสเล่า.
            ในอดีตกาลครั้งพระเจ้าพรหมทัตเสวยราชสมบัติอยู่ใน กรุงพาราณสี พระโพธิสัตว์ได้ถือกำเนิดเป็นรุกขเทวดา อยู่ใน ราวป่า. ครั้งนั้นลูกหงส์สองตัวออกจากภูเขาคิชฌกูฏ จับที่ ต้นไม้นั้นแล้วไปหาอาหาร เมื่อบินกลับก็พักอยู่ที่ต้นไม้นั้นเอง แล้วกลับไปภูเขาคิชฌกูฏ. เมื่อเวลาผ่านไป หงส์สองตัวก็มีความ คุ้นเคยกับพระโพธิสัตว์. เมื่อบินผ่านไปมาต่างก็ชื่นชมสนทนา ธรรมกันและกันแล้วก็หลีกไป. อยู่มาวันหนึ่ง เมื่อหงส์ทั้งสอง จับอยู่บนยอดไม้สนทนากับพระโพธิสัตว์. สุนัขจิ้งจอกตัวหนึ่ง ยืนอยู่ใต้ต้นไม้นั้น เมื่อจะสนทนากับลูกหงส์เหล่านั้นจึงกล่าว คาถาแรกว่า :-
            ท่านทั้งสองพากันขึ้นไปบนค่าคบไม้อัน สูง อยู่ในที่ลับแล้วปรึกษากัน เชิญท่านลงมา ปรึกษากันในที่ต่ำเถิด พญาเนื้อจักได้ฟังบ้าง. ในบทเหล่านั้น บทว่า อุจฺเจ วิฏภิมารุยฺห ความว่า พากัน ขึ้นไปบนค่าคบไม้อันสูงตามปกติ คือ สูงกว่าบนต้นไม้นี้. บทว่า มนฺตยวฺโห ได้แก่ ปรึกษากัน คือคุยกัน. บทว่า นีเจ โอรุยฺห ได้แก่ เชิญลงมายืนปรึกษากันในที่ต่ำเถิด. บทว่า มิคราชาปิ โสสฺสติ ได้แก่ สุนัขจิ้งจอกพูดยกตนเป็น พญาเนื้อ.
            ลูกหงส์ทั้งสองรังเกียจ จึงพากันบินไปภูเขาคิชฌกูฏ. ในเวลาที่หงส์สองตัวกลับไป พระโพธิสัตว์จึงกล่าวคาถาที่ ๒ แก่สุนัขจิ้งจอกว่า :-
            ครุฑกับครุฑเขาปรึกษากัน เทวดากับ เทวดาเขาพูดกันในเรื่องนี้ จะมีประโยชน์อะไร แก่สุนัขจิ้งจอก ผู้เลวทราม ๔ อย่าง (สรีระ ๑ ชาติ ๑ เสียง ๑ คุณ ๑) เล่า แน่ะสุนัขจิ้งจอกผู้ ชาติชั่ว เจ้าจงเข้าโพลงไปเถิด.
            ในบทเหล่านั้น บทว่า สุปณฺโณ แปลว่า สัตว์ผู้มีปีกงาม. บทว่า สุปณฺเณน ได้แก่ ลูกหงส์ตัวที่สอง. บทว่า เทโว เทเวน ได้แก่ สมมติลูกหงส์ทั้งสองนั้นเป็นเทวดาปรึกษากัน. บทว่า จตุมุฏฺฐสฺส อธิบายตามตัวอักษรว่า สุนัขจิ้งจอกผู้เลวทราม คือ บริสุทธิ์ด้วยเหตุ ๔ อย่าง คือ สรีระ ๑ ชาติ ๑ เสียง ๑ คุณ ๑. พระโพธิสัตว์เมื่อจะติเตียนความไม่บริสุทธิ์ด้วยคำสรรเสริญ จึงกล่าวอย่างนี้. ในบทนี้มีอธิบายดังนี้ว่า สุนัขจิ้งจอกชั่วช้า คือ ลามกด้วยเหตุ ๔ ประการคืออะไร. บทว่า วิลํ ปวิส คือ พระโพธิสัตว์แสดงอารมณ์อันน่ากลัวนี้ เมื่อจะไล่สุนัขจิ้งจอก ให้หนีไปจึงกล่าว.
            พระศาสดาทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ทรงประชุม ชาดก. ภิกษุแก่ในครั้งนั้นได้เป็นสุนัขจิ้งจอกในครั้งนี้ ลูกหงส์ สองตัวได้เป็นสารีบุตรและโมคคัลลานะ ส่วนรุกขเทวดา คือเรา ตถาคตนี้แล.
            จบ อรรถกถาจตุมัฏฐชาดกที่ ๗