พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร ทรง ปรารภอุบาสกผู้มีศรัทธาคนหนึ่ง ตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำ เริ่มต้นว่า นสฺส สทฺธาย สีลสฺส ดังนี้.
            ได้ยินว่า อุบาสกนั้นเป็นอริยสาวกผู้มีศรัทธา เลื่อมใส วันหนึ่งเดินไปยังพระวิหารเชตวัน ถึงฝั่งแม่น้ำอจิรวดีในตอนเย็น เมื่อคนเรือจอดเรือไว้ที่ฝั่งไปฟังธรรม ไม่พายเรือที่ท่าน้ำ จึงยึด ปีติมีพระพุทธเจ้าเป็นอารมณ์ให้มั่นลงสู่แม่น้ำ. เท้าของเขา หาจมน้ำไม่. เขาเห็นคลื่นเวลาเดินไปกลางน้ำ คล้ายกับเดิน เหนือพื้นดิน. ครั้นปีติมีพระพุทธเจ้าเป็นอารมณ์ของเขาอ่อนลง. เท้าของเขาก็เริ่มจะจม. เขาจึงประคองปีติมีพระพุทธเจ้าเป็น อารมณ์ให้มั่น เดินไปหลังน้ำ ถึงพระเชตวัน ถวายบังคมพระ- ศาสดา นั่ง ณ ส่วนหนึ่ง. พระศาสดาทรงทำปฏิสันถารกับเขา ตรัสถามว่า ดูก่อนอุบาสก ท่านเดินทางมาถึงโดยเหน็ดเหนื่อย น้อยกระมัง เมื่อเขากราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ข้าพระองค์ ยึดเอาปีติมีพระพุทธเจ้าเป็นอารมณ์ จึงได้ที่พึ่งเหนือหลังน้ำ คล้ายกับเหยียบแผ่นดินมา จึงรับสั่งว่าอุบาสก มิใช่ท่านเท่านั้น ที่ระลึกถึงพระพุทธคุณแล้วได้ที่พึ่ง แม้แต่ก่อนอุบาสกทั้งหลาย ก็ระลึกถึงพระพุทธคุณได้ที่พึ่ง เมื่อเรืออับปางกลางสมุทร เมื่อ เขาทูลอาราธนาจึงทรงนำเรื่องอดีตมาตรัสเล่า.
            ในอดีตกาล ครั้งศาสนาพระกัสสปสัมมาสัมพุทธเจ้า พระอริยสาวกผู้เป็นโสดาบัน โดยสารเรือไปกับกุฎุมพีช่างกัลบก คนหนึ่ง. ภรรยาของช่างกัลบกนั้นมอบหมายช่างกัลบกแก่เขา ว่า นาย สุขทุกข์ของสามีของดิฉัน ขอมอบให้เป็นภาระของท่าน. ครั้นถึงวันที่เจ็ดเรือของกุฎุมพีช่างกัลบกอับปางลงในกลางสมุทร. ชนทั้งสองเกาะแผ่นกระดานแผ่นหนึ่ง ลอยมาถึงเกาะแห่งหนึ่ง. ช่างกัลบกนั้นจึงฆ่านกปิ้งกินแล้วให้อุบาสก. อุบาสกไม่ยอม บริโภค โดยกล่าวว่า อย่าเลยสำหรับเรา. อุบาสกคิดว่า ในที่นี้ นอกจากพระรัตนตรัยแล้ว ไม่มีที่พึ่งอื่นสำหรับเรา. เขาจึง ระลึกคุณของพระรัตนตรัย. ลำดับนั้น เมื่อเขากำลังระลึกถึง พญานาคซึ่งเกิดในเกาะนั้น จึงเนรมิตร่างของตนเป็นเรือลำใหญ่ มีเทวดาประจำสมุทรเป็นมาณพต้นหนเรือ. เรือเต็มไปด้วย รตนะเจ็ดประการ. เสากระโดงทั้งสาม สำเร็จด้วยแก้วมณีสี อินทนิล ใบเรือสำเร็จด้วยทอง เชือกสำเร็จด้วยเงิน คันใบสำเร็จ ด้วยทอง. เทวดาประจำสมุทรยืนอยู่บนเรือประกาศว่า ผู้จะไป ชมพูทวีปมีไหม. อุบาสกตอบว่า เราจะไป. ถ้าเช่นนั้นจงมาขึ้น เรือเถิด. อุบาสกขึ้นเรือแล้วเรียกช่างกัลบกขึ้นด้วย. เทวดา ประจำสมุทรกล่าวว่า ได้แต่ท่านเท่านั้น คนนั้นไม่ได้. อุบาสก ถามว่า เพราะเหตุไรเล่า. เทวดาประจำสมุทรตอบว่า เขา ไม่มีคุณ คือศีลและอาจาระ เหตุเป็นดังนั้น ข้าพเจ้านำเรือมา เพื่อท่าน มิใช่ผู้นี้. เอาละเราให้ส่วนแก่คนนี้ด้วยทานที่ตนให้ ด้วยศีลที่ตนรักษา ด้วยภาวนาที่ตนอบรม. ช่างกัลบกตอบว่า ข้าพเจ้าขออนุโมทนา. เทวดากล่าวว่า ข้าพเจ้าจักพาไปเดี๋ยวนี้ แล้วอุ้มเขาพาไปทั้งสองคน ออกจากสมุทรไปถึงกรุงพาราณสี ทางแม่น้ำ บันดาลให้ทรัพย์อยู่ในเรือนของเขาทั้งสอง ด้วย อานุภาพของตน เมื่อจะกล่าวถึงคุณของการสังสรรค์กับบัณฑิต ว่า ควรทำความสังสรรค์กับบัณฑิตทั้งหลาย หากว่าช่างกัลบก คนนี้ไม่ได้สังสรรค์กับอุบาสกนี้ จักพินาศในท่ามกลางสมุทร นั้นเอง จึงกล่าวคาถาเหล่านี้ว่า :-
            จงดูผลของศรัทธา ศีล จาคะ นี้เถิด พญานาคเนรมิตเพศเป็นเรือ พาอุบาสกผู้มี ศรัทธาไป.
            บุคคลพึงสมาคมกับสัตบุรุษเถิด พึงทำ ความสนิทสนมกับสัตบุรษเถิด ด้วยช่างกัลบก ถึงความสวัสดีได้ก็เพราะการอยู่ร่วมกับสัตบุรุษ ทั้งหลาย.
            ในบทเหล่านั้นบทว่า ปสฺส ได้แก่ เรียกว่า จงดูเถิด ไม่กำหนดใคร ๆ. บทว่า สทธาย คือด้วยโลกิยศรัทธา และ โลกุตตรศรัทธา. แม้ในศีลก็มีนัยนี้เหมือนกัน. บทว่า จาคสฺส ได้แก่ บริจาคไทยธรรมและบริจาคกิเลส. บทว่า อยํ ผลํ ได้แก่ นี้เป็นผล คือเป็นคุณ เป็นอานิสงส์. อีกอย่างหนึ่งพึงเห็นความ อธิบายในบทนี้อย่างนี้ว่า จงดูผลของการบริจาคเถิด พญานาค นี้แปลงเพศเป็นเรือ. บทว่า นาวาย วณฺเณน คือด้วยสัณฐานเรือ. บทว่า สทฺธํ คือ มีศรัทธาตั้งอยู่ในพระรัตนตรัย. บทว่า สพฺภิเรว คือ พวกบัณฑิตนั่นเอง. บทว่า สมาเสถ ได้แก่ พึงกระทำ. บทว่า สนฺถวํ ได้แก่ สนิทสนมฐานมิตร. แต่ไม่ควรทำความ สนิทสนมด้วยตัณหากับใคร ๆ. บทว่า นหาปิโต ได้แก่ กุฎุมพี ช่างกัลบก. บาลีว่า นฺหาปิโต ก็มี.
            เทวดาประจำสมุทร ยืนอยู่บนอากาศ แสดงธรรมกล่าว สอนอย่างนี้แล้ว จึงพาพญานาคกลับไปวิมานของตน.
            พระศาสดาทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ทรงประกาศ สัจธรรม แล้วทรงประชุมชาดก. ในเวลาจบสัจธรรมอุบาสก ตั้งอยู่ในสกทาคามิผล. อุบาสกโสดาบันในกาลนั้น ครั้นเจริญ มรรคให้ยิ่ง ๆ ขึ้นไปก็นิพพาน. พญานาคได้เป็นสาริบุตร ส่วน เทวดาประจำสมุทร คือเราตถาคตนี้แล.
            จบ อรรถกถาสีลานิสังสชาดกที่ ๑๐
            รวมชาดกที่มีในวรรคนี้ คือ ๑. อสทิสชาดก ๒. สังคามาวจรชาดก ๓. วาโลทกชาดก ๔. คิริทัตตชาดก ๕. อนภิรติชาดก ๖. ทธิวาหนชาดก ๗. จตุ- มัฏฐชาดก ๘. สีหโกฏฐุกชาดก ๙. สีหจัมมชาดก ๑๐. สีลา- นิสังสชาดก.
            จบ อสทิสวรรคที่ ๔