๖. อาสิงสวรรค

๑. มหาสีลวชาดก ความสำเร็จเกิดจากความพยายาม

[๕๑] บุรุษผู้เป็นบัณฑิตควรมุ่งหมายไปกว่าจะสำเร็จผล ไม่ควรจะท้อถอย ดูเราเป็นตัวอย่าง เราปรารถนาอย่างใดได้อย่างนั้น.

จบ มหาสีลวชาดกที่ ๑.

๒. จูฬชนกชาดก เป็นคนควรพยายามร่ำไป

[๕๒] บุรุษผู้เป็นบัณฑิตพึงพยายามไปกว่าประโยชน์จะสำเร็จ ไม่ควรท้อถอย ดูเราขึ้นจากน้ำสู่บกได้เป็นตัวอย่างเถิด.

จบ จูฬชนกชาดกที่ ๒.(มหาชนก)

๓. ปุณณปาติชาดก การกล่าวถ้อยคำไม่จริง

[๕๓] ไหสุราทั้งหลาย ยังเต็มอยู่อย่างเดิม ถ้อยคำที่ท่านกล่าวนี้ไม่เป็นจริง เราจึงรู้ได้ด้วยเหตุนี้ว่า สุรานี้เป็นสุราไม่ดีแน่.

จบ ปุณณปาติชาดกที่ ๓.

๔. ผลชาดก การรู้จักผลไม้

[๕๔] ต้นไม้นี้ขึ้นก็ไม่ยาก ทั้งอยู่ไม่ไกลบ้าน เราจึงรู้ได้ด้วยเหตุนี้ว่า ต้นไม้นี้ ไม่ใช่ต้นไม้มีผลอร่อย.

จบ ผลชาดกที่ ๔.

๕. ปัญจาวุธชาดก ว่าด้วยการบรรลุธรรมอันเกษม

[๕๕] นรชนใดมีจิตไม่ท้อถอย มีใจไม่หดหู่ เจริญกุศลธรรมเพื่อบรรลุธรรม อันเป็นแดนเกษมจากโยคะ นรชนนั้นพึงบรรลุธรรมเป็นที่สิ้นสังโยชน์ ทั้งปวงโดยลำดับ.

จบ ปัญจาวุธชาดกที่ ๕.

๖. กัญจนขันธชาดก ว่าด้วยการบรรลุธรรมอันเกษม

[๕๖] นรชนใดมีจิตร่าเริง มีใจเบิกบาน เจริญกุศลธรรมเพื่อบรรลุธรรมอัน เป็นแดนเกษมจากโยคะ นรชนนั้นพึงบรรลุธรรม เป็นที่สิ้นสังโยชน์ ทั้งปวงได้โดยลำดับ.

จบ กัญจนขันธชาดกที่ ๖.

๗. วานรินทชาดก ธรรมของผู้ล่วงพ้นศัตรู

[๕๗] ดูกรพระยาวานร ผู้ใดมีธรรม ๔ ประการนี้ คือ สัจจะ ธรรมคือวิจารณ ปัญญา ธิติคือความเพียร จาคะ เหมือนท่าน ผู้นั้นย่อมล่วงพ้นศัตรูได้.

จบ วานรินทชาดกที่ ๗.

๘. ตโยธรรมชาดก ธรรมของผู้ล่วงพ้นศัตรู

[๕๘] ดูกรพระยาวานร ผู้ใดมีธรรม ๓ ประการนี้ คือ ความขยัน ความแกล้ว กล้า ปัญญาเหมือนท่าน ผู้นั้นย่อมล่วงพ้นศัตรูได้.

จบ ตโยธรรมชาดกที่ ๘.

๙. เภริวาทชาดก ว่าด้วยการทำเกินประมาณ

[๕๙] ท่านจะตีก็พึงตีเถิด แต่อย่าตีให้เกินประมาณ เพราะการตีเกินประมาณ เป็นการชั่วช้าของเรา ทรัพย์ที่เราได้มาตั้งร้อยเพราะตีกลอง ได้ฉิบหาย ไป เพราะท่านตีกลองเกินประมาณ.

จบ เภริวาทชาดกที่ ๙.

๑๐. สังขธมนชาดก ว่าด้วยการทำเกินประมาณ [๖๐] ท่านจะเป่าก็จงเป่าเถิด แต่อย่าเป่าให้เกินประมาณ เพราะการเป่าเกิน ประมาณเป็นการชั่วช้าของเรา โภคะที่เราได้มาเพราะการเป่าสังข์ได้ ฉิบหายไป เพราะท่านเป่าสังข์เกินประมาณ.

จบ สังขธมนชาดกที่ ๑๐.

จบ อาสิงสวรรคที่ ๖. รวมชาดกที่มีในวรรคนี้ คือ ๑. มหาสีลวชาดก ๒. จุฬชนกชาดก ๓. ปุณณปาติชาดก ๔. ผลชาดก ๕. ปัญจาวุธชาดก ๖. กัญจนขันธชาดก ๗. วารินทชาดก๘. ตโยธรรมชาดก ๙. เภริวาทชาดก ๑๐. สังขธมนชาดก. _________________

๗. อิตถีวรรค

๑. อาสาตมันตชาดก ว่าด้วยหญิงเลวทราม

[๖๑] ขึ้นชื่อว่าหญิงในโลกนี้เลวทราม เพราะหญิงเหล่านั้นไม่มีเขตแดน มีแต่ ความกำหนัดยินดี คึกคะนองไม่มีเลือก เหมือนกับไฟที่ไหม้ไม่เลือก ฉะนั้น เราจักละทิ้งหญิงเหล่านั้นไปบวช พอกพูนวิเวก.

จบ อาสาตมันตชาดกที่ ๑.

๒. อัณฑภูตชาดก ว่าด้วยการวางใจภรรยา

[๖๒] พราหมณ์ถูกภรรยาผูกหน้าให้ดีดพิณ ก็รู้ไม่ทันภรรยา ที่ท่านนำมาเลี้ยง ไว้แต่ยังไม่คลอด ใครจะวางใจในภรรยาเหล่านั้นได้.

จบ อัณฑภูตชาดกที่ ๒.

๓. ตักกชาดก ว่าด้วยธรรมดาหญิง

[๖๓] ธรรมดาว่าหญิงเป็นคนมักโกรธ ไม่รู้จักคุณ ชอบส่อเสียด ชอบยุยงให้ แตกกัน ดูกรภิกษุ ท่านจงประพฤติพรหมจรรย์เถิด ท่านจะไม่เสื่อม จากสุข.

จบ ตักกชาดกที่ ๓.

๔. ทุราชานชาดก ภาวะของหญิงรู้ยาก

[๖๔] ท่านอย่าดีใจว่าหญิงปรารถนาเรา อย่าเศร้าโศก ว่าหญิงนี้ไม่ปรารถนา เรา ภาวะของหญิงทั้งหลายเป็นของรู้ได้ยาก เหมือนทางไปของปลาใน น้ำ ฉะนั้น.

จบ ทุราชานชาดกที่ ๔.

๕. อนภิรติชาดก เปรียบหญิงเหมือนของ ๕ อย่าง

[๖๕] แม่น้ำ หนทาง โรงสุรา สภา และบ่อน้ำ ฉันใด ขึ้นชื่อว่าหญิง ในโลก ก็ฉันนั้น บัณฑิตทั้งหลายย่อมไม่โกรธหญิงเหล่านั้น.

จบ อนภิรติชาดกที่ ๕.

๖. มุทุลักขณชาดก ว่าด้วยความต้องการไม่มีสิ้นสุด

[๖๖] ครั้งยังไม่ได้นางมุทุลักขณาเทวี เกิดความปรารถนาเพียงอย่างเดียว แต่ เมื่อได้นางลักขณาเทวีผู้มีดวงตางามแล้ว ได้เกิดความปรารถนาสิ่งต่างๆ ขึ้นอีก.

จบ มุทุลักขณชาดกที่ ๖.

๗. อุจฉังคชาดก หญิงหาลูกหาผัวได้ง่าย

[๖๗] ข้าแต่พระองค์ผู้ประเสริฐ บุตรของหม่อมฉันหาได้ง่ายเหมือนกับเมี่ยง ในพก เมื่อหม่อมฉันเดินไปตามทาง สามีก็หาได้ง่าย หม่อมฉันไม่เห็น ประเทศที่จะนำพี่ชายผู้ร่วมอุทรมาได้.

จบ อุจฉังคชาดกที่ ๗.

๘. สาเกตชาดก ว่าด้วยวางใจคนที่ชอบใจ

[๖๘] ใจฝังอยู่ในผู้ใด แม้จิตก็เลื่อมใสในผู้ใด เป็นคนที่ไม่เคยเห็นกันเลย ก็วางใจในผู้นั้นได้โดยแท้.

จบ สาเกตชาดกที่ ๘.

๙. วิสวันตชาดก ตายเสียดีกว่าดูดพิษที่คายออกแล้ว

[๖๙] เราจักดูดพิษที่คายออกแล้ว เพราะเหตุแห่งชีวิตอันใด พิษที่คายออก แล้วนั้นน่าติเตียน เราตายเสียประเสริฐกว่าความเป็นอยู่.

จบ วิสวันตชาดกที่ ๙.

๑๐. กุททาลชาดก ว่าด้วยความชนะที่ดี

[๗๐] ความชนะใดกลับแพ้ได้ ความชนะนั้นเป็นความชนะไม่ดี ความชนะใด ไม่กลับแพ้ ความชนะนั้นแลเป็นความชนะที่ดี.

จบ กุททาลชาดกที่ ๑๐.

จบ อิตถีวรรคที่ ๗. รวมชาดกที่มีในวรรคนี้ คือ ๑. อาสาตมันตชาดก ๒. อัณฑภูตชาดก ๓. ตักกชาดก ๔. ทุราชานชาดก ๕. อนภิรติชาดก ๖. มุทุลักขณชาดก ๗. อุจฉังคชาดก ๘. สาเกตชาดก ๙. วิสวันตชาดก ๑๐. กุททาลชาดก. _________________

๘. วรุณวรรค

๑. วรุณชาดก ว่าด้วยการทำไม่ถูกขั้นตอน

[๗๑] ผู้ใดปรารถนาจะทำกิจที่ควรทำก่อน ในภายหลัง ผู้นั้นย่อมเดือดร้อน ในภายหลัง เหมือนมาณพหักไม้กุ่ม ฉะนั้น.

จบ วรุณชาดกที่ ๑.

๒. สีลวนาคชาดก คนอกตัญญูมองคนในแง่ร้าย

[๗๒] ถ้าใครๆ จะพึงให้สมบัติในแผ่นดินทั้งหมดแก่คนอกตัญญู ผู้มีปกติมอง หาโทษอยู่เป็นนิตย์ ก็ให้เขาพอใจไม่ได้.

จบ สีลวนาคชาดกที่ ๒.

๓. สัจจังกิรชาดก ไม้ลอยน้ำดีกว่าคนอกตัญญู

[๗๓] ได้ยินว่า นรชนบางพวกในโลกนี้ ได้กล่าวความจริงไว้อย่างนี้ว่า การ เก็บไม้ที่ลอยน้ำขึ้นมายังดีกว่า ช่วยคนอกตัญญูบางคนขึ้นจากน้ำ ฯ

จบ สัจจังกิรชาดกที่ ๓.

๔. รุกขธรรมชาดก ต้นไม้โดดเดี่ยวย่อมแพ้ลม

[๗๔] มีญาติมากเป็นความดี อนึ่ง ต้นไม้ที่เกิดขึ้นในป่าหลายต้นเป็นการดี ต้นไม้ที่ขึ้นอยู่โดดเดี่ยว ถึงจะเป็นต้นไม้งอกงามใหญ่โตสักเท่าใด ลมก็ ย่อมพัดให้ล้มลงได้.

จบ รุกขธรรมชาดกที่ ๔.

๕. มัจฉชาดก ว่าด้วยปลาขอฝน

[๗๕] ข้าแต่ฝน ขอท่านจงตกลงมาเถิด ขอจงทำลายขุมทรัพย์ของกาเสีย จงทำกาให้เศร้าโศก จงช่วยเปลื้องเราและพวกญาติๆ ให้พ้นจากความ เศร้าโศกด้วยเถิด.

จบ มัจฉชาดกที่ ๕.

๖. อสังกิยชาดก เมตตากรุณาทำให้ปลอดภัย

[๗๖] เราไม่มีความระแวงในบ้าน ไม่มีภัยในป่า เราได้ขึ้นเดินทางตรงด้วย เมตตา และกรุณาแล้ว.

จบ อสังกิยชาดกที่ ๖.

๗. มหาสุบินชาดก ว่าด้วยมหาสุบิน

[๗๗] หม่อมฉันได้ฝันเห็นโคอุสุภราช ๑ ต้นไม้ ๑ แม่โค ๑ โคสามัญ ๑ ม้า ๑ ถาดทองคำ ๑ สุนัขจิ้งจอก ๑ หม้อน้ำ ๑ สระโบกขรณี ๑ ข้าวสารที่หุง ไม่สุก ๑ แก่นจันทน์ ๑ น้ำเต้าจมน้ำ ๑ หินลอยน้ำ ๑ นางเขียดกลืนกิน งูเห่า ๑ หงส์ทองแวดล้อมกา ๑ เสือกลัวแพะ ๑ ดังนี้ ปริยายอันผิดจะ เป็นไปในยุคนี้ ยังไม่สำเร็จ.

จบ มหาสุบินชาดกที่ ๗.

๘. อิลลีสชาดก ว่าด้วยคนมีรูปร่างเหมือนกัน

[๗๘] คนทั้ง ๒ คน เป็นคนกระจอก, คนค่อม ตาเหล่ เกิดต่อมที่ศีรษะ ข้าพระบาทไม่รู้ว่าคนไหนเป็นอิลลีสเศรษฐี?

จบ อิลลีสชาดกที่ ๘.

๙. ขรัสสรชาดก ว่าด้วยบุตรที่มารดาละทิ้ง

[๗๙] เมื่อใดพวกโจรปล้น และฆ่าวัวกิน เผาบ้าน และจับคนไปเป็นเชลย เมื่อนั้น บุตรที่มารดาละทิ้งแล้ว จึงมาตีกลองเสียงดัง.

จบ ขรัสสรชาดกที่ ๙.

๑๐. ภีมเสนชาดก ว่าด้วยคำแรกกับคำหลังไม่สมกัน

[๘๐] เมื่อก่อนนี้ ท่านพูดอวดเรา แต่ภายหลังเหตุไรท่านจึงถ่ายอุจจาระออกเล่า ดูกรภีมเสน คำทั้ง ๒ ย่อมไม่สมกัน คือ คำที่พูดถึงการรบและบัดนี้ ท่านเดือดร้อนใจอยู่.

จบ ภีมเสนชาดกที่ ๑๐.

จบ วรุณวรรคที่ ๘. _________________ รวมชาดกที่มีวรรคนี้ คือ ๑. วรุณชาดก๒. สีลวนาคชาดก ๓. สัจจังกิรชาดก ๔. รุกขธรรมชาดก ๕. มัจฉชาดก๖. อสังกิยชาดก ๗. มหาสุบินชาดก ๘. อิลลีสชาดก ๙. ขรัสสรชาดก ๑๐. ภีมเสนชาดก. _________________

๙. อปายิมหวรรค

๑. สุราปานชาดก โทษของการดื่มสุรา

[๘๑] พวกผมได้ดื่มสุราแล้ว พากันฟ้อนรำขับร้อง และร้องไห้ พวกผมดื่มสุรา อันกระทำให้เสียสติแล้ว ท่านอาจารย์ไม่ได้เห็น กลายเป็นเหมือนวานร ไป.

จบ สุราปานชาดกที่ ๑.

๒. มิตตวินทชาดก ว่าด้วยจักรบดศีรษะ

[๘๒] ท่านเลยปราสาทแก้วผลึก ปราสาทเงิน และปราสาทแก้วมณีมาแล้ว ท่านนั้นเป็นผู้ถูกจักรกรดบนศีรษะแล้ว บาปยังไม่สิ้นตราบใด ท่านยังมี ชีวิตอยู่ ก็จักไม่พ้นจากจักรกรดตราบนั้น.

จบ มิตตวินทชาดกที่ ๒.

๓. กาฬกัณณิชาดก ว่าด้วยมิตร

[๘๓] บุคคลชื่อว่า เป็นมิตรด้วยการเดินร่วมกัน ๗ ก้าว ชื่อว่าเป็นสหายด้วย การเดินร่วมกัน ๑๒ ก้าว และชื่อว่าเป็นญาติด้วยการอยู่ร่วมกันเดือนหนึ่ง หรือกึ่งเดือน ส่วนผู้ชื่อว่ามีตนเสมอกันก็ด้วยการอยู่รวมกันยิ่งกว่านั้น เราจะละทิ้งมิตร ชื่อว่ากาฬกัณณี ผู้ชอบกันมานาน เพราะความสุข ส่วนตัวได้อย่างไร?

จบ กาฬกัณณิชาดกที่ ๓.

๔. อัตถัสสทวารชาดก ว่าด้วยคุณธรรม ๖ ประการ

[๘๔] บุคคลควรปรารถนาลาภอย่างเยี่ยม คือ ความไม่มีโรค ๑ ศีล ๑ ความรู้ ของท่านผู้รู้ทั้งหลาย ๑ การสดับฟัง ๑ ความประพฤติตามธรรม ๑ ความ ไม่ท้อถอย ๑ คุณธรรม ๖ ประการนี้ เป็นประตู เป็นประธานแห่งประ โยชน์.

จบ อัตถัสสทวารชาดกที่ ๔.

๕. กิมปักกชาดก ว่าด้วยโทษของกาม

[๘๕] ผู้ใดไม่รู้โทษในอนาคต มัวเสพกามอยู่ กามเหล่านั้นจะต้องล้างผลาญ ผู้นั้นในเวลาให้ผล เหมือนผลแห่งต้นกิมปักกพฤกษ์ ทำให้คนผู้ที่บริโภค ตายฉะนั้น.

จบ กิมปักกชาดกที่ ๕.

๖. สีลวีมังสนชาดก ว่าด้วยผู้มีศีล

[๘๖] ได้ยินว่าศีลเป็นคุณชาติงามเป็นเยี่ยมในโลก เชิดดูงูใหญ่มีพิษร้ายแรง เป็นสัตว์มีศีล เหตุนั้น จึงไม่เบียดเบียนใคร.

จบ สีลวีมังสนชาดกที่ ๖.

๗. มังคลชาดก ว่าด้วยถือมงคลตื่นข่าว

[๘๗] ผู้ใดไม่ถือมงคลตื่นข่าว ไม่ถืออุกกาบาต ไม่ถือความฝัน ไม่ถือลักษณะดี หรือชั่ว ผู้นั้นชื่อว่าล่วงพ้นโทษแห่งการถือมงคลตื่นข่าว ครอบงำกิเลส เครื่องประกอบสัตว์ไว้ในภพที่เป็นคูกั้น ย่อมไม่กลับมาเกิดอีก.

จบ มังคลชาดกที่ ๗.

๘. สรัมภชาดก ว่าด้วยการพูดดี-พูดชั่ว

[๘๘] บุคคลพึงเปล่งวาจางามเท่านั้น ไม่พึงเปล่งวาจาชั่วเลย การเปล่งวาจางาม ยังประโยชน์ให้สำเร็จ ผู้เปล่งวาจาชั่วย่อมเดือดร้อน.

จบ สารัมภชาดกที่ ๘.

๙. กุหกชาดก พูดดีได้เงินได้ทอง

[๘๙] ได้ยินว่า วาจาของท่านผู้พูดคำอ่อนหวานเป็นวาจาไพเราะ ท่านข้องอยู่ เพราะหญ้าเพียงเส้นเดียว แต่นำเอาทอง ๑๐๐ ลิ่มไปไม่ขัดข้อง.

จบ กุหกชาดกที่ ๙.

๑๐. อกตัญญูชาดก ว่าด้วยคนอกตัญญู

[๙๐] ผู้ใดอันคนอื่นทำความดี ทำประโยชน์ให้ในกาลก่อน แต่ไม่รู้สึกคุณ เมื่อมี กิจเกิดขึ้นในภายหลัง ย่อมไม่ได้ผู้ช่วยเหลือ.

จบ อกตัญญูชาดกที่ ๑๐.

จบ อปายิมหวรรคที่ ๙. _________________ รวมชาดกที่มีในวรรคนี้ คือ ๑. สุราปานชาดก ๒. มิตตวินทชาดก ๓. กาฬกัณณิชาดก ๔. อัตถัสสทวารชาดก ๕. กิมปักกชาดก ๖. สีลวีมังสนชาดก ๗. มังคลชาดก ๘. สารัมภชาดก ๙. กุหกชาดก ๑๐. อกตัญญูชาดก. _________________

๑๐. ลิตตวรรค

๑. ลิตตชาดก ว่าด้วยลูกสกาอาบยาพิษ

[๙๑] บุรุษกลืนกินลูกสกา อันย้อมด้วยยาพิษอย่างแรงกล้า ย่อมไม่รู้สึก ดูกร เจ้าคนร้าย เจ้านักเลงชั่วช้า จงกลืนกินเถิด จงกลืนกินเถิด เมื่อท่าน กลืนกินลูกสกาแล้ว ภายหลังยาพิษนี้จักแรงจัดขึ้น.

จบ ลิตตชาดกที่ ๑.

๒. มหาสารชาดก ต้องการคนที่เหมาะกับเหตุการณ์ [๙๒] เมื่อสงครามเกิดขึ้น ย่อมต้องการคนกล้าหาญ เมื่อเกิดข่าวตื่นเต้นขึ้น ย่อมต้องการคนหนักแน่น เมื่อข้าวและน้ำมีบริบูรณ์ ย่อมต้องการคนที่รัก เมื่อข้อความลึกซึ้งเกิดขึ้น ย่อมต้องการบัณฑิต.

จบ มหาสารชาดกที่ ๒.

๓. วิสสาสโภชนชาดก ว่าด้วยการไว้วางใจ

[๙๓] บุคคลไม่ควรไว้วางใจในผู้ที่ยังไม่คุ้นเคยกัน แม้ผู้ที่คุ้นเคยกันแล้วก็ไม่ ควรไว้วางใจ ภัยย่อมมาจากผู้ที่คุ้นเคยกัน เหมือนภัยของราชสีห์ เกิดจาก แม่เนื้อฉะนั้น.

จบ วิสสาสโภชนชาดกที่ ๓.

๔. โลมหังสชาดก ว่าด้วยการแสวงหาอย่างประเสริฐ

[๙๔] เราเป็นคนเร่าร้อน มีตัวอันเปียกชุ่ม อยู่แต่ผู้เดียวในป่าที่น่ากลัว เป็น คนเปลือยกาย ถึงแม้ความหนาวเบียดเบียนก็ไม่ผิงไฟ มุนีขวนขวาย ด้วยการแสวงหาอย่างประเสริฐ.

จบ โลมหังสชาดกที่ ๔.

๕. มหาสุทัสสนชาดก ว่าด้วยสังขาร

[๙๕] สังขารทั้งหลายไม่เที่ยงหนอ มีความเกิดขึ้น และเสื่อมไปเป็นธรรมดา เกิดขึ้นแล้วย่อมดับไป ความที่สังขารเหล่านั้นสงบระงับเป็นสุข.

จบ มหาสุทัสสนชาดกที่ ๕.

๖. เตลปัตตชาดก ว่าด้วยการรักษาจิต

[๙๖] บุคคลพึงประคองภาชนะอันเต็มเปี่ยมด้วยน้ำมัน ฉันใด บัณฑิตผู้ปรารถนา จะไปสู่ทิศที่ยังไม่เคยไป ก็พึงตามรักษาจิตของตนไว้ด้วยสติ ฉันนั้น.

จบ เตลปัตตชาดกที่ ๖.

๗. นามสิทธิชาดก ว่าด้วยชื่อไม่เป็นของสำคัญ

[๙๗] มาณพตนหนึ่งชื่อว่าปาปกะ ได้เห็นคนชื่อว่านายเป็นตายลง เห็นนางทาสี ชื่อว่านางรวยทรัพย์จน เห็นคนชื่อว่านางทางหลงทาง แล้วก็กลับมา.

จบ นามสิทธิชาดกที่ ๗.

๘. กูฏวาณิชชาดก ว่าด้วยคนผู้เป็นบัณฑิต

[๙๘] ธรรมดาคนที่เป็นบัณฑิตเป็นคนดี คนที่เป็นบัณฑิตเกินไปเป็นคนไม่ดี เราถูกไฟลวกเพราะบุตรที่เป็นบัณฑิตเกินไป.

จบ กูฏวาณิชชาดกที่ ๘.

๙. ปโรสหัสสชาดก ว่าด้วยคนผู้มีปัญญา

[๙๙] คนโง่เขลาประชุมกัน แม้ตั้งพันคนขึ้นไป พวกเขาไม่มีปัญญาพึงคร่ำ ครวญอยู่ตลอดร้อยปี ผู้ใดรู้แจ้งเนื้อความแห่งภาษิต ผู้นั้นเป็นบุรุษมี ปัญญา คนเดียวเท่านั้น ประเสริฐ.

จบ ปโรสหัสสชาดก.

๑๐. อสาตรูปชาดก สิ่งที่ครอบงำคนประมาท

[๑๐๐] สิ่งที่ไม่เป็นที่พอใจ สิ่งที่ไม่เป็นที่รัก สิ่งที่เป็นทุกข์ ย่อมครอบงำ ผู้ประมาทด้วยสิ่งเป็นที่พอใจ สิ่งเป็นที่รัก และสิ่งที่เป็นสุข.

จบ อสาตรูปชาดก.

จบ ลิตตวรรคที่ ๑๐.จบ มัชฌิมปัณณาสก์. _________________ รวมชาดกที่มีในวรรคนี้ คือ ๑. ลิตตชาดก ๒. มหาสารชาดก ๓. วิสสาสโภชนชาดก ๔. โลมหังสชาดก ๕. มหาสุทัสสนชาดก ๖. เตลปัตตชาดก ๗. นามสิทธิชาดก ๘. กูฏวาณิชชาดก ๙. ปโรสหัสสชาดก ๑๐. อสาถูปชาดก. _________________

กลับที่เดิม