ปัญจกนิบาตชาดก

๑. มณิกุณฑลวรรค

๑. มณิกุณฑลชาดก ผู้ไม่หวั่นไหวในโลกธรรม


[๗๐๒] พระองค์ละแว่นแคว้น ม้า กุณฑล และแก้วมณี อนึ่ง ยังทรงละ พระราชบุตร และเหล่าพระสนมเสียได้ เมื่อโภคสมบัติทั้งสิ้นของ พระองค์ ไม่มีเหลือเลย เหตุไฉน พระองค์จึงไม่ทรงเดือดร้อน ใน คราวที่มหาชนพากันเศร้าโศกอยู่เล่า?.
[๗๐๓] โภคสมบัติย่อมละทิ้งสัตว์ไปเสียก่อนก็มี บางทีสัตว์ย่อมละทิ้งโภค สมบัติเหล่านั้นไปก่อนก็มี ดูกรพระองค์ผู้ใคร่ในกามารมณ์ โภคสมบัติ ที่บริโภคกันอยู่ เป็นของไม่แน่นอน เพราะฉะนั้น หม่อมฉันจึงไม่ เดือดร้อน ในคราวที่มหาชนพากันเศร้าโศกอยู่.
[๗๐๔] พระจันทร์อุทัยขึ้นเต็มดวง ก็จะกลับหายสิ้นไป พระอาทิตย์กำจัด ความมืด ทำโลกให้เร่าร้อนแล้วอัสดงคตไป ดูกรพระองค์ผู้เป็นศัตรู โลกธรรมทั้งหลาย หม่อมฉันชนะได้แล้ว เพราะฉะนั้น หม่อมฉันจึงไม่ เดือดร้อน ในคราวที่มหาชนพากันเศร้าโศกอยู่.
[๗๐๕] คฤหัสถ์ผู้บริโภคกามคุณ เกียจคร้านก็ไม่ดี บรรพชิตไม่สำรวมก็ไม่ดี พระเจ้าแผ่นดินไม่ทรงใคร่ครวญเสียก่อนแล้วทรงทำก็ไม่ดี บัณฑิตมี ความโกรธเป็นเจ้าเรือนก็ไม่ดี.
[๗๐๖] ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นเจ้าทิศ กษัตริย์ใคร่ครวญเสียก่อนแล้วจึงทำ ไม่ใคร่ ครวญเสียก่อนแล้วไม่ควรทำ อิสริยยศ บริวารยศ และเกียรติคุณของ พระราชาผู้ทรงใคร่ครวญก่อนแล้วจึงทำ ย่อมเจริญขึ้น.

จบ มณิกุณฑลชาดกที่ ๑.

๒. สุชาตชาดก ว่าด้วยคำคมของคนฉลาด


[๗๐๗] เหตุไรหนอ เจ้าจึงเป็นเหมือนรีบด่วนเกี่ยวเอาหญ้าอันเขียวสดมาแล้ว บ่นเพ้อถึงวัวแก่ผู้ปราศจากชีวิตแล้วว่า จงเคี้ยวกินเสีย วัวที่ตายแล้วจะ พึงลุกขึ้นได้เพราะหญ้า และน้ำเป็นไม่มีแน่ เจ้าบ่นเพ้อไปเปล่าๆ เหมือน คนผู้ไร้ความคิด ฉะนั้น.
[๗๐๘] ศีรษะ เท้าหน้า เท้าหลัง หาง และหู ของวัว ก็ตั้งอยู่ตามที่อย่าง นั้น ผมเข้าใจว่า วัวตัวนี้จะพึงลุกขึ้นได้ ศีรษะหรือมือเท้าของคุณปู่ มิได้ ปรากฏเลย คุณพ่อนั่นเองมาร้องไห้อยู่ที่สถูปดิน เป็นคนไร้ความคิดมิใช่ หรือ?
[๗๐๙] เจ้ารดพ่อผู้เดือดร้อนยิ่งนักให้หายร้อน ยังความกระวนกระวายของ พ่อให้ดับได้สิ้น เหมือนบุคคลเอาน้ำรดไฟติดเปรียงให้ดับไป ฉะนั้น เจ้ามาถอนลูกศรคือ ความโศกที่เสียบแน่นอยู่ในฤทัยของพ่อออกได้แล้ว หนอ เมื่อพ่อถูกความโศกครอบงำ เจ้าได้บรรเทาความโศกถึงบิดา เสียได้.
[๗๑๐] พ่อเป็นผู้ถอนลูกศรคือความโศกออกได้แล้ว ปราศจากความเศร้าโศก หมดความมัวหมอง ลูกรัก พ่อจะไม่เศร้าโศก จะไม่ร้องไห้ เพราะได้ ฟังถ้อยคำของเจ้า.
[๗๑๑] คนผู้มีปัญญา มีใจอนุเคาะห์ ย่อมทำบุคคลให้หลุดพ้นจากความเศร้า โศกได้ เหมือนกับพ่อสุชาตบุตรของพ่อ ทำบิดาให้ล่วงพ้นจากความเศร้า โศก ฉะนั้น.

จบ สุชาตชาดกที่ ๒.

๓. เวนสาขชาดก ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว


[๗๑๒] ดูกรพรหมทัตตกุมาร ความเกษมสำราญ ภิกษาหารหาได้ง่าย และ ความเป็นผู้สำราญกายนี้ ไม่พึงมีตลอดกาลเป็นนิตย์ เมื่อประโยชน์ของ ตนสิ้นไป ท่านอย่าเป็นผู้ล่มจมเสียเลย เหมือนเรือแตก คนไม่ได้ ที่พึ่งอาศัย ต้องจมอยู่ในท่ามกลางทะเล ฉะนั้น.
[๗๑๓] บุคคลทำกรรมใด ย่อมมองเห็นกรรมนั้นในตน ผู้ทำกรรมดี ย่อมได้ ผลดี ผู้ทำกรรมชั่ว ย่อมได้ผลชั่ว บุคคลหว่านพืชเช่นใด ย่อมได้ผล เช่นนั้น.
[๗๑๔] ปาจารย์ในปางก่อนได้กล่าวคำใดไว้ว่า ท่านอย่าได้ทำบาปกรรมที่ทำ แล้วจะทำให้เดือดร้อนในภายหลังเลย คำนั้น เป็นคำสอนของอาจารย์เรา
[๗๑๕] ปิงคิยปุโรหิตนั้น ย่อมบ่นเพ้อแสดงต้นไทรว่า มีกิ่งแผ่ไพศาล (สามารถ ให้ความชนะได้) เราได้ให้ฆ่ากษัตริย์ผู้ประดับด้วยราชาลังการ ลูบไล้ ด้วยแก่นจันทน์แดงทั้งพันพระองค์เสีย ที่ต้นไม้ใด ต้นไม้นั้น บัดนี้ ไม่อาจทำการป้องกันอะไรแก่เราได้ ความทุกข์อันนั้นแหละกลับมาสนอง เราแล้ว.
[๗๑๖] พระนางอุพพรีอัครมเหสีของเรา มีพระฉวีวรรณงามดังทองคำ ลูบไล้ ตัวด้วยแก่นจันทน์แดง ย่อมงามเจริญตา เหมือนกับกิ่งไม้สิงคุอันขึ้น ตรงไป ไหวสะเทือนอยู่ ฉะนั้น เรามิได้เห็นพระนางอุพพรีแล้ว คงจัก ต้องตายเป็นแน่ การที่เราไม่ได้เห็นพระนางอุพพรีนั้น จักเป็นทุกข์ยิ่ง กว่ามรณทุกข์นี้อีก.

จบ เวนสาขชาดกที่ ๓.

๔. อุรคชาดก เปรียบคนตายเหมือนงูลอกคราบ


[๗๑๗] บุตรของข้าพเจ้า ละทิ้งร่างกายของตนไป ดุจงูละทิ้งคราบเก่าไป ฉะนั้น เมื่อร่างกายแห่งบุตรของข้าพเจ้าใช้อะไรไม่ได้ เมื่อบุตรของข้าพเจ้ากระทำ กาละไปแล้วอย่างนี้ บุตรของข้าพเจ้าถูกเผาอยู่ ย่อมไม่รู้สึกถึงความร่ำไห้ ของพวกญาติ เพราะฉะนั้น ข้าพเจ้าจึงไม่เศร้าโศกถึงเขา คติของตน มีอย่างใด เขาก็ย่อมไปสู่คติของตนอย่างนั้น.
[๗๑๘] บุตรของดิฉันนี้ ดิฉันมิได้เชื้อเชิญให้เขามาจากปรโลก เขาก็มาเอง แม้เมื่อจะไปจากมนุษยโลกนี้ ดิฉันก็มิได้อนุญาตให้เขาไป เขามา อย่างใด เขาก็ไปอย่างนั้น การปริเทวนาถึงในการที่บุตรของดิฉันไปจาก มนุษยโลกนั้น จะเกิดประโยชน์อะไร บุตรของดิฉันถูกเผาอยู่ ก็ไม่รู้สึก ถึงความร่ำไห้ของพวกญาติ เพราะฉะนั้น ดิฉันจึงไม่เศร้าโศกถึงเขา คติของตนมีอย่างใด เขาก็ไปสู่คติของตนอย่างนั้น.
[๗๑๙] เมื่อพี่ชายตายแล้ว หากว่า ดิฉันจะพึงร้องไห้ ดิฉันก็จะผ่ายผอม เมื่อ ดิฉันร้องไห้อยู่ จะมีผลอะไร ความไม่ยินดีจะพึงมีแก่ญาติ มิตร และ สหายของดิฉันยิ่งขึ้น พี่ชายของดิฉันถูกเผาอยู่ ก็ไม่รู้สึกถึงความร่ำไห้ ของพวกญาติ เพราะฉะนั้น ดิฉันจึงไม่เศร้าโศกถึงพี่ชายนั้น คติของ ตนมีอย่างใด เขาก็ไปสู่คติของตนอย่างนั้น.
[๗๒๐] เด็กร้องไห้ขอพระจันทร์อันโคจรอยู่ในอากาศ ฉันใด การที่บุคคลมา เศร้าโศกถึงผู้ที่ละไปสู่ปรโลกแล้วนี้ ก็มีอุปไมย ฉันนั้น สามีของดิฉัน ถูกเผาอยู่ ย่อมไม่รู้สึกถึงความร่ำไห้ของพวกญาติ เพราะฉะนั้น ดิฉัน จึงไม่เศร้าโศกถึงสามีนั้น คติของตนมีอย่างใด เขาก็ไปสู่คติของตน อย่างนั้น.
[๗๒๑] หม้อน้ำที่แตกแล้ว เชื่อมให้สนิทอีกไม่ได้ ฉันใด การที่บุคคลมาเศร้า โศกถึงผู้ที่ละไปสู่ปรโลกแล้วนี้ ก็มีอุปไมย ฉันนั้น นายของดิฉันถูกเผา อยู่ ย่อมไม่รู้สึกถึงความร่ำไห้ของพวกญาติ เพราะฉะนั้น ดิฉันจึงไม่ เศร้าโศกถึงนายนั้น คติของตนมีอย่างใด นายของดิฉันก็ไปสู่คติของ ตนอย่างนั้น.

จบ อุรคชาดกที่ ๔.

๕. ธังกชาดก ว่าด้วยการร้องไห้ไม่มีประโยชน์


[๗๒๒] ชนเหล่าอื่น เศร้าโศกอยู่ ร้องไห้อยู่ ชนเหล่าอื่น มีชุ่มไปด้วยน้ำตา พระองค์เป็นผู้มีผิวพระพักตร์ผ่องใส ดูกรฆตราชา เพราะเหตุไร พระองค์ จึงไม่เศร้าโศก?
[๗๒๓] ความเศร้าโศกหาได้นำสิ่งที่ล่วงไปแล้วมาได้ไม่ หาได้นำความสุขใน อนาคตมาได้ไม่ ดูกรธังกราชา เพราะฉะนั้น หม่อมฉันจึงไม่เศร้าโศก ความเป็นสหายในความโศก ย่อมไม่มี.
[๗๒๔] บุคคลเศร้าโศกอยู่ ย่อมเป็นผู้ผอมเหลือง และไม่พอใจบริโภค อาหาร เมื่อเขาถูกลูกศรคือความเศร้าโศกเสียบแทงแล้ว เร่าร้อนอยู่ ศัตรูทั้งหลาย ย่อมดีใจ.
[๗๒๕] ความฉิบหายอันความเศร้าโศกเป็นมูล จักไม่มาถึงหม่อมฉันผู้อยู่ใน บ้านหรือในป่า ในที่ลุ่มหรือในที่ดอน หม่อมฉันเห็นบทฌานแล้ว อย่างนี้.
[๗๒๖] ตนผู้เดียวเท่านั้น สามารถจะนำกามรสทั้งปวงมาให้ได้ สหายของพระ ราชาพระองค์ใด ไม่สามารถจะนำมาให้ได้ ถึงสมาบัติในแผ่นดินทั้งสิ้น ก็จักนำความสุขมาให้แก่พระราชาพระองค์นั้นไม่ได้.

จบ ธังกชาดกที่ ๕.

๖. การันทิยชาดก ว่าด้วยการทำที่เหลือวิสัย


[๗๒๗] ท่านผู้เดียวรีบร้อน ยกเอาก้อนหินใหญ่กลิ้งลงไปในซอกภูเขาในป่า ดูกรการันทิยะ จะเป็นประโยชน์อะไรแก่ท่านด้วยการทิ้งก้อนหินลงใน ซอกเขานี้เล่าหนอ?
[๗๒๘] ข้าพเจ้าเกลี่ยหินก้อนเล็กก้อนใหญ่ลง จักกระทำแผ่นดินใหญ่นี้ซึ่งมี มหาสมุทรสี่เป็นขอบเขต ให้ราบเรียบเพียงดังฝ่ามือ เพราะฉะนั้น ข้าพเจ้าจึงได้ทิ้งหินลงในซอกเขา.
[๗๒๙] ดูกรการันทิยะ เราสำคัญว่า มนุษย์คนเดียว ย่อมไม่สามารถจะทำ แผ่นดินให้ราบเรียบดังฝ่ามือได้ ท่านพยายามจะทำซอกเขานี้ให้เต็มขึ้น ท่านก็จักละชีวโลกนี้ไปเสียเปล่าเป็นแน่.
[๗๓๐] ข้าแต่ท่านพราหมณ์ หากว่า มนุษย์คนเดียวไม่สามารถจะทำแผ่นดินใหญ่ นี้ให้ราบเรียบได้ ฉันใด ท่านก็จักนำมนุษย์เหล่านี้ผู้มีทิฏฐิต่างๆ กันมา ไม่ได้ ฉันนั้นเหมือนกัน.
[๗๓๑] ดูกรการันทิยะ ท่านได้บอกความจริงโดยย่อแก่เรา ข้อนั้น เป็น อย่างนี้ แผ่นดินนี้มนุษย์ไม่สามารถจะทำให้ราบเรียบได้ ฉันใด เราก็ไม่ อาจจะทำให้มนุษย์ทั้งหลายมาอยู่ในอำนาจของเราได้ ฉันนั้น.

จบ การันทิยชาดกที่ ๖.

๗. ลูฏุกิกชาดก คติของคนมีเวร


[๗๓๒] ดิฉันขอไหว้พญาช้างผู้มีกำลังเสื่อมในกาลที่มีอายุได้หกสิบปีแล้ว ผู้อยู่ ในป่า เป็นเจ้าโขลง เพรียบพร้อมด้วยบริวารยศนั้น ดิฉันขอทำอัญชลี ท่านด้วยปีกทั้งสอง ขอท่านอย่าได้ฆ่าลูกน้อยๆ ของฉันผู้มีกำลังทุรพล เสียเลย.
[๗๓๓] ดิฉันขอไหว้พญาช้างผู้เที่ยวไปเชือกเดียว ผู้อยู่ในป่า เที่ยวหาอาหาร กินตามเชิงภูเขา ดิฉันขอทำอัญชลีท่านด้วยปีกทั้งสอง ขอท่านอย่าได้ ฆ่าลูกน้อยๆ ของดิฉันผู้มีกำลังทุรพลเสียเลย.
[๗๓๔] แน่ะนางนกไส้ เราจะฆ่าลูกน้อยของเจ้าเสีย เจ้ามีกำลังน้อยจักทำ อะไรเราได้ เราจะขยี้นกไส้อย่างเจ้าตั้งแสนตัวให้ละเอียดไปด้วยเท้า ข้างซ้าย.
[๗๓๕] กิจที่จะพึงทำด้วยกำลังกาย ย่อมสำเร็จในที่ทั้งปวง เพราะกำลังกายของ คนพาล ย่อมมีเพื่อฆ่าคนอื่น แน่ะพญาช้าง ผู้ใด ฆ่าลูกน้อยๆ ของเรา ผู้มีกำลังทุรพล เราจักทำสิ่งที่ไม่ใช่ความเจริญให้แก่ผู้นั้น.
[๗๓๖] ท่านจงดูกา นางนกไส้ กบ และแมลงวันหัวเขียว สัตว์ทั้งสี่เหล่านี้ ได้ร่วมใจกันฆ่าช้างเสียได้ ท่านจงเห็นคติของคนมีเวรแก่คนมีเวร ทั้งหลาย เพราะฉะนั้นแล ท่านทั้งหลาย อย่าได้กระทำเวรกับใครๆ ถึง จะไม่เป็นที่รักใคร่กันเลย.

จบ ลฏุกิกชาดกที่ ๗.

๘. จุลลธรรมปาลชาดก ความรักของแม่ที่มีต่อลูก


[๗๓๗] หม่อมฉันผู้เดียวที่ตัดความเจริญ กระทำความผิดต่อพระเจ้ามหาปตาปะ ข้าแต่สมมติเทพ ขอพระองค์ได้ทรงพระกรุณาโปรดปล่อยธรรมปาล กุมารนี้เสียเถิด โปรดรับสั่งให้ตัดมือของหม่อมฉันเถิด.
[๗๓๘] หม่อมฉันผู้เดียวที่ตัดความเจริญ กระทำความผิดต่อพระเจ้ามหาปตาปะ ข้าแต่สมมติเทพ ขอพระองค์ได้ทรงพระกรุณาโปรดปล่อยธรรมปาลกุมาร นี้เสียเถิด โปรดรับสั่งให้ตัดเท้าของหม่อมฉันเถิด.
[๗๓๙] หม่อมฉันผู้เดียวที่ตัดความเจริญ กระทำความผิดต่อพระเจ้ามหาปตาปะ ข้าแต่สมมติเทพ ขอพระองค์ได้ทรงพระกรุณาโปรดปล่อยธรรมปาลกุมาร นี้เสียเถิด โปรดรับสั่งให้ตัดศีรษะของหม่อมฉันเถิด.
[๗๔๐] ใครๆ ผู้เป็นมิตร และอำมาตย์ของพระราชานี้ ที่มีใจดี คงจะไม่มีแน่ นอน ผู้ที่จะทูลห้ามพระราชาว่า อย่าทรงปลงพระชนม์พระราชบุตรซึ่ง เกิดแต่พระอุระเสียเลย ก็ไม่มี.
[๗๔๑] ใครๆ ผู้เป็นมิตรและพระญาติของพระราชานี้ ที่มีใจดี คงจะไม่มีแน่ นอน ผู้ที่จะทูลห้ามพระราชาว่า อย่าทรงปลงพระชนม์พระราชบุตรที่ เกิดจากพระองค์เสียเลย ก็ไม่มี.
[๗๔๒] แขนของธรรมปาลกุมารผู้เป็นทายาทแห่งแผ่นดิน อันลูบไล้ด้วยแก่น จันทน์แดง มาขาดไปเสีย ข้าแต่สมมติเทพ ชีวิตของหม่อมฉันก็คงจะ ดับไป

จบ จุลลธรรมปาลชาดกที่ ๘.

๙. สุวรรณมิคชาดก ว่าด้วยเนื้อติดบ่วงนายพราน


[๗๔๓] ข้าแต่เนื้อผู้มีกำลังมาก ท่านจงพยายามดึงบ่วงออก ข้าแต่ท่านผู้มี เท้าดุจทองคำ ท่านจงพยายามดึงบ่วงที่ติดแน่นให้ขาดเถิด ฉันผู้เดียวจะ ไม่พึงยินดีอยู่ในป่า.
[๗๔๔] ฉันพยายามดึงอยู่ แต่ไม่สามารถจะทำบ่วงให้ขาดได้ ฉันเอาเท้าตะกุย แผ่นดินด้วยกำลังแรง บ่วงติดแน่นเหลือเกิน จึงครูดเอาเท้าของฉันเข้า.
[๗๔๕] ข้าแต่นายพราน ท่านจงปูใบไม้ลง จงชักดาบออก จงฆ่าฉันเสียก่อน แล้วจึงฆ่าพญาเนื้อต่อภายหลัง.
[๗๔๖] เราไม่เคยได้ยินได้ฟัง หรือได้เห็นเนื้อที่พูดภาษามนุษย์ได้ แนะนางผู้มี หน้าอันเจริญ ตัวท่าน และพญาเนื้อนี้จงเป็นสุขเถิด.
[๗๔๗] ข้าแต่นายพราน วันนี้ ฉันเห็นพญาเนื้อหลุดพ้นมาได้แล้ว ย่อมชื่นชม ยินดี ฉันใด ขอให้ท่านพร้อมด้วยญาติทั้งมวลของท่าน จงชื่นชม ยินดี ฉันนั้น.

จบ สุวรรณมิคชาดกที่ ๙.

๑๐. สุสันธีชาดก ว่าด้วยนางผิวหอม


[๗๔๘] กลิ่นดอกไม้มิติระหอมฟุ้งไป น้ำทะเลคะนองใหญ่ พระนางสุสันธี อยู่ห่างไกลจากนครนี้ ข้าแต่พระเจ้าตัมพราช กามทั้งหลายเสียบแทงหัว ใจข้าพระบาทอยู่.
[๗๔๙] ท่านข้ามทะเลไปได้อย่างไร ท่านได้เห็นเกาะเสรุมได้อย่างไร ดูกรนาย อัคคะ ความสมาคมของนาง และท่าน ได้มีขึ้นอย่างไร?
[๗๕๐] เมื่อพวกพ่อค้าผู้แสวงหาทรัพย์ ออกไปจากท่าชื่อภรุกัจฉะ พวกมังกร ทำให้เรือแตกแล้ว เราได้ลอยไปกับแผ่นกระดาน.
[๗๕๑] พระนางสุสันธีมีกลิ่นพระกายหอมดุจแก่นจันทน์อยู่เป็นนิตย์ น่าดูน่าชม ทรงเห็นข้าพระบาทเข้าแล้ว ปลอบโยนด้วยวาจาอันอ่อนหวาน ได้ทรง อุ้มข้าพระบาทด้วยแขนทั้งสองเหมือนกับมารดา อุ้มบุตรผู้เกิดจากอก ฉะนั้น.
[๗๕๒] พระนางผู้มีพระเนตรอ่อนหวาน ทรงบำรุงบำเรอข้าพระบาทด้วยข้าว น้ำ ผ้า ที่นอน และแม้ด้วยพระองค์ ข้าแต่พระเจ้าตัมพราช ขอพระ องค์โปรดทรงทราบอย่างนี้เถิด.

จบ สุสันธีชาดกที่ ๑๐.

จบ มณิกุณฑลวรรคที่ ๑. __________________ รวมชาดกที่มีในวรรคนี้ คือ ๑. มณิกุณฑลชาดก ๒. สุชาตชาดก ๓. เวนสาขชาดก ๔. อุรคชาดก ๕. ธังกชาดก ๖. การันทิยชาดก ๗. ลฏุกิกชาดก ๘. จุลลธรรมปาลชาดก ๙. สุวรรณมิคชาดก ๑๐. สุสันธีชาดก.

๒. วรรณาโรหวรรค

๑. วรรณาโรหชาดก ว่าด้วยผู้มีใจคอหนักแน่น


[๗๕๓] ท่านผู้มีเขี้ยวงามกล่าวว่า เสือโคร่งชื่อสุพาหุนี้ มีลักษณะ วรรณะ ชาติ กำลังกาย และกำลังความเพียร ไม่ประเสริฐไปกว่าเรา.
[๗๕๔] เสือโคร่งชื่อสุพาหุกล่าวว่า ราชสีห์ผู้มีเขี้ยวงาม มีลักษณะ วรรณะ ชาติ กำลังกาย และกำลังความเพียร ไม่ประเสริฐไปกว่าเรา.
[๗๕๕] แนะเพื่อนสุพาหุ ถ้าท่านจะประทุษร้ายเราผู้อยู่กับท่านอย่างนี้ บัดนี้ เราก็ไม่พึงยินดีอยู่ร่วมกับท่านต่อไป.
[๗๕๖] ผู้ใดเชื่อฟังคำของคนอื่นตามที่เป็นจริง ผู้นั้นต้องพลันแตกจากมิตร และต้องประสบเวรเป็นอันมาก.
[๗๕๗] ผู้ใดไม่ประมาททุกขณะ มุ่งความแตกร้าว คอยแต่จับความผิด ผู้นั้น ไม่ชื่อว่าเป็นมิตร ส่วนผู้ใดอันคนอื่นยุให้แตกกันไม่ได้ ไม่มีความรังเกียจ มิตร นอนอยู่อย่างปลอดภัย เหมือนบุตรนอนแอบอกมารดา ฉะนั้น ผู้นั้นนับว่าเป็นมิตรแท้.

จบ วรรณาโรหชาดกที่ ๑.

๒. สีลวีมังสชาดก ผู้ประพฤติธรรมย่อมเป็นผู้เสมอกัน


[๗๕๘] ข้าพระองค์มีความสงสัยว่า ศีลประเสริฐ หรือสุตะประเสริฐ ศีลนี่แหละ ประเสริฐกว่าสุตะ ข้าพระองค์ไม่มีความสงสัยแล้ว.
[๗๕๙] ชาติและวรรณะเป็นของเปล่า ได้สดับมาว่า ศีลเท่านั้นประเสริฐที่สุด บุคคลผู้ไม่ประกอบด้วยศีล ย่อมไม่ได้ประโยชน์เพราะสุตะ.
[๗๖๐] กษัตริย์และแพศย์ผู้ไม่ตั้งอยู่ในธรรม ไม่อาศัยธรรม ชนทั้งสองนั้นละ โลกนี้ไปแล้ว ย่อมเข้าถึงทุคติ.
[๗๖๑] กษัตริย์ พราหมณ์ แพศย์ ศูทร คนจัณฑาล และคนเทหยากเยื่อ ประพฤติธรรมในธรรมวินัยนี้แล้ว ย่อมเป็นผู้เสมอกันในไตรทิพย์.
[๗๖๒] เวท ชาติ แม้พวกพ้อง ก็ไม่สามารถจะให้อิสริยยศหรือความสุขใน ภพหน้าได้ ส่วนศีลของตนเองที่บริสุทธิ์ดีแล้ว ย่อมนำความสุขใน ภพหน้ามาให้ได้.

จบ สีลวีมังสชาดกที่ ๒.

๓. หิริชาดก การกระทำที่ส่อให้รู้ว่ามิตรหรือมิใช่มิตร


[๗๖๓] ผู้ใดหมดความอาย เกลียดชังความมีเมตตา กล่าวอยู่ว่า เราเป็นมิตร สหายของท่าน ไม่ได้เอื้อเฟื้อทำการงานที่ดีกว่า บัณฑิตรู้จักผู้นั้นได้ดี ว่า ผู้นี้มิใช่มิตรสหายของเรา.
[๗๖๔] เพราะว่า บุคคลชอบทำอย่างไร ก็พึงกล่าวอย่างนั้น ไม่ชอบทำอย่างไร ก็ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น บัณฑิตทั้งหลายรู้จักบุคคลนั้นว่า ผู้ไม่ทำให้สม กับพูด เป็นแต่กล่าวอยู่ว่า เราเป็นมิตรสหายของท่าน.
[๗๖๕] ผู้ใดไม่ประมาทอยู่ทุกขณะ มุ่งความแตกร้าว คอยแต่จับความผิด ผู้ นั้นไม่ชื่อว่าเป็นมิตร ส่วนผู้ใดอันคนอื่นยุให้แตกกันไม่ได้ ไม่มีความ รังเกียจในมิตร นอนอยู่อย่างปลอดภัย เหมือนบุตรนอนแอบอก มารดา ฉะนั้น ผู้นั้นนับว่าเป็นมิตรแท้.
[๗๖๖] กุลบุตรผู้มองเห็นผลอานิสงส์ เมื่อจะนำธุระของบุรุษ ย่อมให้เกิดฐานะ คือ การทำความปราโมทย์ และความสุข อันจะนำความสรรเสริญมาให้.
[๗๖๗] บุคคลได้ดื่มรสอันเกิดจากวิเวก รสแห่งความสงบ และรสคือธรรมปีติ ย่อมเป็นผู้ไม่มีความกระวนกระวาย เป็นผู้หมดบาป.

จบ หิริชาดกที่ ๓.

๔. ขัชโชปนกชาดก ว่าด้วยเห็นหิ่งห้อยว่าเป็นไฟ


[๗๖๘] ใครหนอ เมื่อไฟมีอยู่ ยิ่งเที่ยวแสวงหาไฟอีก เห็นหิ่งห้อยในเวลา กลางคืน ก็มาสำคัญว่าเป็นไฟ.
[๗๖๙] บุคคลนั้น เอาจุรณโคมัยและหญ้าขยี้ให้ละเอียดโปรยลงบนหิ่งห้อย เพื่อจะให้เกิดไฟ ก็ไม่สามารถจะให้ไฟลุกได้ ด้วยความสำคัญวิปริต ฉันใด.
[๗๗๐] คนพาล ย่อมไม่ได้สิ่งที่ต้องประสงค์โดยมิใช่อุบาย นมโคไม่มีที่เขา โค คนรีดนมโคจากเขาโค ย่อมไม่ได้นม ก็ฉันนั้น.
[๗๗๑] ชนทั้งหลาย ย่อมบรรลุถึงประโยชน์ด้วยอุบายต่างๆ คือ ด้วยการข่มศัตรู และด้วยการยกย่องมิตร.
[๗๗๒] พระเจ้าแผ่นดินทั้งหลาย ย่อมครอบครองแผ่นดินอยู่ได้ ก็ด้วยการได้ อำมาตย์ผู้เป็นประมุขของเสนี และด้วยการแนะนำของอำมาตย์ผู้ที่ทรง โปรดปราน.

จบ ขัชโชปนกชาดกที่ ๔.

๕. อหิตุณฑิกชาดก ว่าด้วยลิงกับหมองู


[๗๗๓] ดูกรสหายผู้มีหน้างาม เราเป็นนักเลงสะกา แพ้เขาเพราะลูกบาด ท่าน จงทิ้งมะม่วงสุกลงมาบ้าง เราจะได้บริโภคเพราะความเพียรของท่าน.
[๗๗๔] ดูกรสหาย ท่านมากล่าวสรรเสริญเราผู้ลอกแลก ด้วยคำไม่เป็นจริง ขึ้น ชื่อว่าลิงที่มีหน้างาม ท่านเคยได้ยินหรือเคยได้เห็นที่ไหนมาบ้าง?
[๗๗๕] ดูกรหมองู ท่านทำกรรมใดไว้กะเรา กรรมนั้นย่อมปรากฏอยู่ในหัวใจ ของเราจนวันนี้ ท่านเข้าไปยังตลาดขายข้าวเปลือก เมาสุราแล้ว ตีเรา ผู้กำลังหิวโหยถึงสามครั้ง.
[๗๗๖] เราระลึกถึงการนอนเป็นทุกข์ อยู่ที่ตลาดนั้นได้ อนึ่ง ถึงท่านจะยก ราชสมบัติให้เราครอบครอง ท่านขอมะม่วงเราแม้ผลเดียว เราก็ไม่ให้ เพราะว่าเราถูกท่านคุกคามให้กลัวเสียแล้ว.
[๗๗๗] อนึ่ง บัณฑิตรู้จักผู้ใดที่เกิดในตระกูล เอิบอิ่มอยู่ในห้อง ไม่มีความ ตระหนี่ ก็ควรจะผูกความเป็นสหาย และมิตรภาพกับผู้นั้นไว้ให้สนิท.

จบ อหิตุณฑิกชาดกที่ ๕.

๖. คุมพิยชาดก เปรียบวัตถุกามเหมือนยาพิษ


[๗๗๘] ยักษ์ชื่อคุมพิยะเที่ยวหาเหยื่อของตนอยู่ ได้วางยาพิษอันมีสี กลิ่นและ รสเหมือนน้ำผึ้งไว้ในป่า.
[๗๗๙] สัตว์เหล่าใด มาสำคัญว่าน้ำผึ้ง กินยาพิษนั้นเข้าไป ยาพิษนั้นเป็นของ ร้ายแรงกว่าสัตว์เหล่านั้น สัตว์เหล่านั้น ต้องพากันเข้าถึงความตาย เพราะ ยาพิษนั้น.
[๗๘๐] ส่วนสัตว์เหล่าใดพิจารณารู้ว่า เป็นยาพิษแล้ว ละเว้นเสีย สัตว์เหล่า นั้น เมื่อสัตว์ที่บริโภคยาพิษเข้าไป กระสับกระส่ายอยู่ ถูกฤทธิ์ยาพิษ แผดเผาอยู่ ก็เป็นผู้มีความสุข ดับความทุกข์เสียได้.
[๗๘๑] วัตถุกามทั้งหลายฝังอยู่ในมนุษย์ บัณฑิตพึงทราบว่าเป็นยาพิษ เหมือน กับยาพิษ อันยักษ์วางไว้ที่หนทางฉะนั้น กามคุณนี้ชื่อว่าเป็นเหยื่อ ของสัตวโลก และชื่อว่าเป็นเครื่องผูกมัดสัตวโลกไว้ มฤตยูมีถ้ำคือ ร่างกายเป็นที่อยู่อาศัย.
[๗๘๒] บัณฑิตเหล่าใด ผู้มีความเร่าร้อน ย่อมละเว้นกามคุณเหล่านี้ อันเป็น เครื่องบำรุง ปรุงกิเลส เสียได้ในกาลทุกเมื่อ บัณฑิตเหล่านั้นนับว่า ได้ก้าวล่วงกิเลสเครื่องข้องในโลกแล้ว เหมือนกับผู้ละเว้นยาพิษที่ยักษ์ วางไว้ในหนทางใหญ่ ฉะนั้น.

จบ คุมพิยชาดกที่ ๖.

๗. สาลิยชาดก ให้ทุกข์แก่ท่านทุกข์นั้นถึงตัว


[๗๘๓] ผู้ใดลวงให้เราจับงูเห่าว่า นี่ลูกนกสาลิกา ผู้นั้นตามพร่ำสอนสิ่งที่ลามก ถูกงูนั้นกัดตายแล้ว.
[๗๘๔] คนใดปรารถนาจะฆ่าบุคคลผู้ไม่ฆ่าเอง และผู้ไม่ใช้คนอื่นให้ฆ่าตน คน นั้นถูกฆ่าแล้วนอนตายอยู่ เหมือนกับบุรุษผู้ถูกงูกัดตายแล้ว ฉะนั้น.
[๗๘๕] คนใดปรารถนาจะฆ่าบุคคลผู้ไม่เบียดเบียนตน และไม่ฆ่าตน คนนั้น ถูกฆ่าแล้วนอนตายอยู่ เหมือนกับบุรุษถูกงูกัดตายแล้ว ฉะนั้น.
[๗๘๖] บุรุษผู้กำฝุ่นไว้ในมือ พึงซัดฝุ่นไปในที่ทวนลม ละอองฝุ่นนั้น ย่อม หวนกลับมากระทบบุรุษนั้นเอง เหมือนบุรุษถูกงูกัดตายแล้ว ฉะนั้น.
[๗๘๗] ผู้ใดประทุษร้ายคนผู้ไม่ประทุษร้ายตน เป็นคนบริสุทธิ์ ไม่มีความผิด เลย บาปย่อมกลับมาถึงคนพาลผู้นั้นเอง เหมือนกับละอองละเอียด ที่บุคคลซัดไปทวนลม ฉะนั้น.

จบ สาลิยชาดกที่ ๗.

๘. ตจสารชาดก คนฉลาดย่อมไม่แสดงอาการให้ศัตรูเห็น


[๗๘๘] พวกเจ้าตกอยู่ในเงื้อมมือของศัตรู ถูกเขาจองจำด้วยท่อนไม้ไผ่แล้ว ยังเป็นผู้มีสีหน้าผ่องใส เพราะเหตุไรพวกเจ้าจึงไม่เศร้าโศกเล่า?
[๗๘๙] บุคคลไม่พึงได้ความเจริญแม้แต่เล็กน้อย ด้วยความเศร้าโศก และ ความร่ำรำพัน พวกศัตรูรู้ว่า บุคคลนั้นเศร้าโศก ได้รับความทุกข์ ย่อม ดีใจ.
[๗๙๐] ส่วนบัณฑิตผู้ฉลาดในการวินิจฉัยความ ย่อมไม่สะทกสะท้านเพราะอัน ตรายที่จะเกิดขึ้นไม่ว่าเมื่อไร พวกศัตรูได้เห็นหน้าของบัณฑิตนั้น อัน ไม่เปลี่ยนแปลง เป็นเหมือนแต่ก่อน ย่อมเกิดความทุกข์.
[๗๙๑] บุคคลจะพึงได้ประโยชน์ในที่ใด ด้วยประการใดๆ เช่น การร่ายมนต์ การปรึกษาท่านผู้รู้ การกล่าววาจาอ่อนหวาน การให้สินบน หรือการสืบ วงศ์ตระกูล พึงหาเพียรในที่นั้น ด้วยประการนั้นๆ เถิด.
[๗๙๒] ก็ในการใด บัณฑิตพึงรู้ว่า ประโยชน์นี้เราหรือคนอื่นไม่พึงได้รับ ใน กาลนั้น ก็ไม่ควรเศร้าโศก ควรอดกลั้นไว้ด้วยคิดเสียว่า กรรมเป็น ของมั่นคง บัดนี้ เราจะกระทำอย่างไรดี.

จบ ตจสารชาดกที่ ๘.

๙. มิตตวินทุกชาดก ว่าด้วยจักรกรดพัดบนหัว


[๗๙๓] ข้าพเจ้าได้กระทำอะไรไว้ให้แก่เทวดาทั้งหลาย ข้าพเจ้าได้กระทำบาป กรรมอะไรไว้ จักรกรดจึงได้มากระทบศีรษะของข้าพเจ้าพัดอยู่บนกระ หม่อม?
[๗๙๔] ท่านล่วงเลยปราสาทแก้วผลึก ปราสาทแก้วมณี ปราสาทเงิน และ ปราสาททอง แล้วมาในที่นี้เพราะเหตุอะไร?
[๗๙๕] เชิญท่านดูข้าพเจ้าผู้ถึงความฉิบหาย เพราะความสำคัญเช่นนี้ว่า โภค สมบัติในที่นี้ เห็นจะมีมากกว่าโภคสมบัติในปราสาททั้งสี่นั้น.
[๗๙๖] ท่านละทิ้งนางเวมานิกเปรต ๔ มาได้นางเวมานิกเปรต ๘ ละทิ้งนางเวมา นิกเปรต ๘ มาได้นางเวมานิกเปรต ๑๖ ละทิ้งนางเวมานิกเปรต ๑๖ มา ได้นางเวมานิกเปรต ๓๒ ปรารถนาไม่รู้จักพอ จึงมายินดีจักรกรด จักรกรดจึงพัดอยู่บนกระหม่อมของท่าน ผู้ถูกความปรารถนาครอบงำไว้.
[๗๙๗] อันธรรมดา ตัณหาเป็นสิ่งที่กว้างขวางอยู่ ณ เบื้องบน ให้เต็มได้ยาก มักเป็นไปตามอำนาจของความปรารถนา เพราะฉะนั้น ชนเหล่าใดมา กำหนัดยินดีตัณหานั้น ชนเหล่านั้นจึงต้องเป็นผู้ทูนจักรกรดไว้.

จบ มิตตวินทุกชาดกที่ ๙.

๑๐. ปลาสชาดก ว่าด้วยเหตุที่จะต้องหนีจากไป


[๗๙๘] พระยาหงส์ได้กล่าวกะปลาสเทวดาว่า ดูกรสหาย ต้นไทรเกิดติดอยู่ที่ ค่าคบของท่านแล้ว มันเจริญขึ้นแล้ว จะตัดชีวิตของท่านเสีย.
[๗๙๙] ข้าพเจ้าจะเป็นที่พึ่งทำต้นไทรให้เจริญขึ้น ต้นไทรนี้จักเป็นที่พึ่งของ ข้าพเจ้า เหมือนมารดาบิดา เป็นที่พึ่งของบุตรแล้ว บุตรกลับเป็นที่พึ่ง ของมารดาบิดา ฉะนั้น.
[๘๐๐] เหตุใดท่านจึงให้ต้นไม้ที่น่าหวาดเสียวดุจข้าศึก เจริญขึ้นอยู่ที่ค่าคบ เหตุ นั้นข้าพเจ้าบอกท่านแล้วจะไป ความเจริญแห่งต้นไทรนั้น ข้าพเจ้าไม่ ชอบใจเลย.
[๘๐๑] บัดนี้ ต้นไทรนี้ทำให้เราน่าหวาดเสียวภัยอันใหญ่หลวง ได้มาถึงเรา เพราะไม่รู้สึกถึงคำ อันใหญ่หลวงของพระยาหงส์ ซึ่งควรเปรียบ ด้วยขุนเขาสิเนรราช.
[๘๐๒] ผู้ใด เมื่อกำลังเจริญอยู่ กระทำที่พึ่งอาศัยให้พินาศไปเสีย ความเจริญ ของผู้นั้น ท่านผู้ฉลาดไม่สรรเสริญ นักปราชญ์รังเกียจความพินาศของผู้ นั้น จึงเพียรพยายามที่จะตัดรากเหง้าเสีย.

จบ ปลาสชาดกที่ ๑๐.

จบ วรรณาโรหวรรคที่ ๒. _________________ รวมชาดกที่มีในวรรคนี้ คือ ๑. วรรณาโรหชาดก ๒. สีลวีมังสชาดก ๓. หิริชาดก ๔. ขัชโชปนกชาดก ๕. อหิตุณฑิกชาดก ๖. คุมพิยชาดก ๗. สาลิยชาดก ๘. ตจสารชาดก ๙. มิตตวินทุกชาดก ๑๐. ปลาสชาดก _________________

๓. อัฑฒวรรค

๑. ทีฆีติโกสลชาดก ว่าด้วยเวรย่อมไม่ระงับด้วยเวร


[๘๐๓] ข้าแต่พระราชา เมื่อพระองค์ตกอยู่ในอำนาจของข้าพระองค์อย่างนี้แล้ว เหตุอันใดอันหนึ่งที่จะทำให้พระองค์พ้นจากทุกข์ได้ มีอยู่หรือ?
[๘๐๔] พ่อเอ๋ย เมื่อฉันตกอยู่ในอำนาจของท่านถึงอย่างนี้แล้ว เหตุอันใดอัน หนึ่งที่จะทำให้ฉันพ้นจากทุกข์ได้ ไม่มีเลย.
[๘๐๕] ข้าแต่พระราชา เว้นสุจริต และวาจาสุภาษิตเสีย เหตุอย่างอื่นจะป้อง กันได้ในเวลาใกล้มรณกาล ไม่มีเลย ทรัพย์นอกนี้ก็เหมือนกันแหละ.
[๘๐๖] ชนเหล่าใด เข้าไปผูกเวรว่า คนนี้ได้ด่าเรา คนนี้ได้ฆ่าเรา คนนี้ได้ชนะ เรา คนนี้ได้ลักของๆ เรา เวรของชนเหล่านั้น ย่อมไม่สงบ ส่วนชน เหล่าใด ไม่เข้าไปผูกเวรว่า คนนี้ได้ด่าเรา คนนี้ได้ฆ่าเรา คนนี้ได้ชนะ เรา คนนี้ได้ลักของๆ เรา เวรของชนเหล่านั้น ย่อมสงบ.
[๘๐๗] ในกาลไหนๆ เวรในโลกนี้ ย่อมไม่ระงับด้วยเวรเลย แต่ย่อมระงับ ได้ด้วยความไม่มีเวร ธรรมนี้เป็นของเก่า.

จบ ทีฆีติโกสลชาดกที่ ๑.

๒. มิคโปตกชาดก คำพูดที่ทำให้หายเศร้าโศก


[๘๐๘] การที่ท่านเศร้าโศกถึงลูกเนื้อผู้ละไปแล้ว เป็นการไม่สมควรแก่ท่านผู้ หลีกออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต สงบระงับ.
[๘๐๙] ดูกรท้าวสักกะ ความรักของมนุษย์ หรือเนื้อ ย่อมเกิดขึ้นในใจ เพราะ อยู่ร่วมกันมา มนุษย์ หรือเนื้อนั้น อาตมภาพไม่สามารถที่จะไม่เศร้าโศก ถึงได้.
[๘๑๐] ชนเหล่าใด มาร้องไห้รำพัน บ่นเพ้อถึงผู้ตายไปแล้ว และผู้จะตายอยู่ ณ บัดนี้ การร้องไห้ของชนเหล่านั้น สัตบุรุษทั้งหลายกล่าวว่า เปล่า จากประโยชน์ ดูกรฤาษี เพราะฉะนั้น ท่านอย่าร้องไห้เลย.
[๘๑๑] ดูกรพราหมณ์ ผู้ที่ตายไปแล้ว ละไปแล้ว หากจะพึงกลับเป็นขึ้นได้ เพราะการร้องไห้ เราก็จะประชุมกันทั้งหมดร้องไห้ ถึงพวกญาติของ กันและกัน.
[๘๑๒] มหาบพิตร มารดอาตมภาพผู้เดือดร้อนยิ่งนักให้หายร้อน ดับความกระ วนกระวายได้ทั้งสิ้น เหมือนบุคคลเอาน้ำรดไฟติดที่เปรียงให้ดับ ฉะนั้น มหาบพิตรมาถอนลูกศรคือความโศกที่เสียบแน่นอยู่ในหทัยของอาตมภาพ ออกได้แล้วหนอ เมื่ออาตมภาพถูกความโศกครอบงำ มหาบพิตรก็ได้ บรรเทาความโศกถึงบุตรเสียได้ ดูกรท้าววาสวะ อาตมภาพเป็นผู้ถอนลูก ศรออกได้แล้ว ปราศจากความเศร้าโศก ไม่มีความมัวหมอง อาตมาภาพจะไม่เศร้าโศกร้องไห้ เพราะได้ฟังถ้อยคำของมหาบพิตร.

จบ มิคโปตกชาดกที่ ๒.

๓. มูสิกชาดก ควรเรียนทุกอย่างแต่ไม่ควรใช้ทุกอย่าง


[๘๑๓] คนบ่นพร่ำอยู่ว่า นางทาสีชื่อมูสิกาไปไหนๆ เราคนเดียวเท่านั้นรู้ว่า นางทาสีชื่อมูสิกา ตายอยู่ในบ่อน้ำ.
[๘๑๔] เหตุใด ท่านจึงคิดอย่างนี้ ลามองหาโอกาสจะประหารทางนี้ๆ กลับไป แล้ว เพราะฉะนั้น เราจึงรู้ว่า ท่านฆ่านางทาสีชื่อว่ามูสิกาตาย ทิ้งไว้ใน บ่อ วันนี้ ปรารถนาจะกินข้าวเหนียวอีกหรือ.
[๘๑๕] แม่เจ้าผู้โง่เขลา เจ้ายังเป็นเด็กอ่อน ตั้งอยู่ในปฐมวัย มีผมดำสนิท มายืนถือท่อนไม้ยาวนี้อยู่ เราจะไม่ยอมยกชีวิตให้แก่เจ้า.
[๘๑๖] เราเป็นผู้อันบุตรปรารถนาจะฆ่าเสีย ไม่ได้พ้นจากความตายวันนี้ เพราะ ภพในอากาศ หรือเพราะบุตรที่รักเปรียบด้วยอวัยวะเลย เราพ้นจาก ความตายเพราะคาถาที่อาจารย์ผูกให้.
[๘๑๗] บุคคลควรเรียนวิชาที่ควรเรียนทุกอย่าง ไม่ว่าจะเลว ดี หรือปานกลาง ก็ตาม บุคคลควรรู้ประโยชน์ของวิชาที่เรียนทุกอย่าง แต่ไม่ควรประ กอบทั้งหมด ศิลป ที่ศึกษาแล้วนำประโยชน์ให้ ในเวลาใด แม้เวลา เช่นนั้นย่อมมีแท้.

จบ มูสิกชาดกที่ ๓.

๔. จุลลธนุคคหชาดก ว่าด้วยจุลลธนุคคหบัณฑิต


[๘๑๘] ข้าแต่พราหมณ์ ท่านถือเอาห่อเครื่องประดับทั้งหมดข้ามฝั่งไปแล้ว ขอ จงรีบกลับมานำเอาฉันข้ามไปบัดนี้.
[๘๑๙] แน่ะนางผู้เจริญ ท่านนับถือเราผู้อันท่านไม่เคยเชยชิด เสียกว่าสามีผู้ที่ เคยเชยชิดมานาน นับถือเราผู้ไม่ใช่ผัวเสียยิ่งกว่าผัว นางผู้เจริญจะ พึงนับถือผู้อื่นยิ่งกว่าเราอีก เราจักไปให้ไกลยิ่งกว่าที่นี้อีก.
[๘๒๐] ใครที่มาทำการหัวเราะอยู่ในพุ่มตะไคร้น้ำ ในที่นี้ก็ไม่มีการฟ้อนรำ ขับร้อง หรือการดีดสีตีเป่า แน่ะนางงามผู้มีตะโพกอันผึ่งผาย ทำไมเจ้า จึงมาหัวเราะอยู่ในเวลาที่ควรร้องไห้?
[๘๒๑] แน่ะสุนัขจิ้งจอกพาลผู้โง่เขลา ชาติชัมพุกะ เจ้าเป็นสัตว์มีปัญญาน้อย เสื่อมจากปลาและชิ้นเนื้อ ซบเซาอยู่ เหมือนคนกำพร้า.
[๘๒๒] โทษของผู้อื่นเห็นได้ง่าย ส่วนโทษของตนเห็นได้ยาก เจ้านั่นแหละ เสื่อมจากผัว และชายชู้แล้ว ซบเซาแม้กว่าเราเสียอีก.
[๘๒๓] แน่ะพระยาเนื้อชาติชัมพุกะ ท่านกล่าวอย่างใด ข้อนี้ก็เป็นอย่างนั้น ฉัน ไปจากที่นี้แล้ว จักเป็นหญิงอยู่ในอำนาจของผัว.
[๘๒๔] ผู้ใด นำภาชนะเดินไป ถึงผู้นั้นจะพึงนำภาชนะสำริดไป บาปที่เจ้าทำไว้ แล้วนั่นแหละ เจ้าจะทำอย่างนั้นอีก.

จบ จุลลธนุคคหชาดกที่ ๔.

๕. กโปตกชาดก ว่าด้วยโภคะของมนุษย์


[๘๒๕] บัดนี้ เราเป็นสุข ไม่มีโรค นกพิราบผู้เหมือนหนามในหทัยบินไปแล้ว บัดนี้ เราจักกระทำความยินดีแห่งหทัย เพราะเหตุว่า ชิ้นเนื้อและแกง จะทำให้เราเกิดกำลัง.
[๘๒๖] นกกระยางอะไรนี่ มีหงอน ขี้ขโมย เป็นปู่นก โลดเต้นอยู่ แน่ะนก กระยาง ท่านจงออกมาข้างนอกเสีย กาผู้เป็นสหายของเราดุร้าย.
[๘๒๗] ท่านได้เห็นเรามีขนปีก อันพ่อครัวถอนแล้วทาด้วยน้ำข้าวเช่นนี้ ไม่ ควรจะมาหัวเราะเยาะเลย.
[๘๒๘] ท่านอาบดีแล้ว ลูบไล้ดีแล้ว เอิบอิ่มไปด้วยข้าวและน้ำ และมีแก้ว ไพฑูรย์อยู่ที่คอ ได้ไปกชังคลประเทศมาหรือ?
[๘๒๙] เราจะเป็นมิตร หรือมิใช่มิตรของท่านก็ตาม ท่านอย่าได้กล่าวว่า ท่าน ได้ไปยังกชังคลประเทศมาหรือ เพราะว่า ในกชังคลประเทศนั้น ชน ทั้งหลายถอนขนของเราออกแล้ว ผูกชิ้นกระเบื้องไว้ที่คอ.
[๘๓๐] แน่ะสหาย ท่านจะประสบสภาพเห็นปานนี้อีก เพราะปกติของท่าน เป็นเช่นนั้น อันโภคะของพวกมนุษย์ไม่ใช่เป็นของที่นกจะกินได้ง่ายเลย.

จบ กโปตกชาดกที่ ๕.

จบ อัฑฒวรรคที่ ๓. _________________ รวมชาดกที่มีในวรรคนี้ คือ ๑. ทีฆีติโกสลชาดก ๒. มิคโปตกชาดก ๓. มูสิกชาดก ๔. จุลลธนุคคหชาดก ๕. กโปตกชาดก. _________________ รวมวรรคที่มีในปัญจกนิบาตนี้ คือ ๑. มณิกุณฑลวรรค ๒. วรรณาโรหวรรค ๓. อัฑฒวรรค. จบ ปัญจกนิบาตชาดก _________________

ฉักกนิบาตชาดก

๑. อาวาริยวรรค

๑. อาวาริยชาดก การกระทำที่ไม่เจริญด้วยโภคะ


[๘๓๑] ดูกรมหาบพิตรผู้เป็นจอมภูมิดล จอมพลรถ ขอมหาบพิตรอย่าทรงพระ พิโรธ ขอมหาบพิตรอย่าทรงพระพิโรธ พระราชาไม่ทรงพระพิโรธต่อ บุคคลที่โกรธ อันชาวแว่นแคว้นบูชาแล้วในบ้านหรือในป่า ในที่ลุ่ม หรือในที่ดอนก็ตาม อาตมภาพย่อมตามสอนอรรถทุกอย่าง อย่าทรง พระพิโรธเลย.
[๘๓๒] ณ แม่น้ำแห่งหนึ่ง มีนายเรือจ้างชื่อว่าอาวาริยบิดา ข้ามส่งคนเสีย ก่อน แล้วจึงเรียกค่าจ้างเมื่อภายหลัง เพราะเหตุนั้น นายเรือจ้างนั้น จึงเกิดทะเลาะกัน และไม่เจริญด้วยโภคสมบัติทั้งหลาย.
[๘๓๓] ดูกรพ่อนายเรือจ้าง ท่านจงขอเรียกค่าจ้างคนที่ยังไม่ข้ามถึงฝั่งเสียให้ เสร็จทีเดียว เพราะว่า คนที่ข้ามถึงฝั่งแล้วมีใจเป็นอย่างหนึ่ง คนที่ ปรารถนาจะข้ามไปฝั่งโน้น ก็มีใจเป็นอย่างหนึ่ง.
[๘๓๔] ดูกรนายเรือจ้าง จะเป็นที่บ้านหรือที่ป่า ที่ลุ่มหรือที่ดอนก็ตาม ฉัน พร่ำสอนทุกอย่าง ท่านอย่าโกรธเลย.
[๘๓๕] พระราชาพระราชทานบ้านส่วย เพราะวาจาเครื่องพร่ำสอนใด นาย เรือจ้างได้ตบปากดาบส เพราะวาจาเครื่องพร่ำสอนนั้นนั่นแหละ.
[๘๓๖] นายเรือจ้างทุบสำรับ ถีบภรรยา ลูกไหลตกลงยังแผ่นดิน เขาไม่อาจ ทำประโยชน์ให้เจริญขึ้นได้ เหมือนกับเนื้อไม่อาจทำประโยชน์ให้เจริญ ได้ถ้วยทองคำ ฉะนั้น.

จบ อาวาริยชาดกที่ ๑.

๒. เสตเกตุชาดก ว่าด้วยคนที่ได้ชื่อว่าเป็นทิศ


[๘๓๗] พ่อเอ๋ย อย่าโกรธเลย เพราะความโกรธไม่ดี ทิศที่เจ้าไม่ได้ยินได้ฟังมี เป็นอันมาก พ่อเสตเกตุเอ๋ย มารดาบิดาชื่อว่า เป็นทิศ พระอริยเจ้า ทั้งหลายกล่าวสรรเสริญอาจารย์ว่า เป็นทิศ.
[๘๓๘] คฤหัสถ์ทั้งหลายผู้ให้ข้าว น้ำ และผ้า ผู้ให้มารับ ท่านก็กล่าวว่า เป็นทิศ เสตเกตุเอ๋ย บุคคลผู้มีความทุกข์ถึงทิศใดแล้วกลับเป็นผู้มีความสุข ทิศ นั้นชื่อว่า เป็นทิศสูงสุด.
[๘๓๙] ชฎิลเหล่าใด นุ่งหนังเสือเหลืองทั้งเล็บ มีฟันเขรอะ รูปร่างมอมแมม สาธยายมนต์อยู่ ชฎิลเหล่านั้น ตั้งอยู่ในความเพียรที่มนุษย์ควรทำ เจน จัดโลกนี้ จะพ้นจากอบายได้ละหรือ?
[๘๔๐] ข้าแต่พระราชา บุคคลแม้จะมีเวทมนต์ตั้งพัน เป็นพหูสูต กระทำแต่ กรรมอันลามกทั้งหลาย ไม่พึงประพฤติธรรม ผู้นั้น อาศัยความเป็น พหูสูตนั้น ไม่ประพฤติจรณธรรม จะพึงพ้นจากทุกข์ไปไม่ได้.
[๘๔๑] บุคคลแม้มีเวทมนต์ตั้งพัน อาศัยความเป็นพหูสูตนั้น แต่ไม่ประพฤติ จรณธรรม พึงพ้นจากทุกข์ไปไม่ได้ เมื่อเป็นเช่นนั้น เราย่อมสำคัญว่า เวททั้งหลาย ย่อมไม่มีผล การประพฤติสำรวมด้วยดีนั่นแล เป็นความ จริงแท้.
[๘๔๒] เวททั้งหลายจะไม่มีผลเลยนั้นหามิได้ การประพฤติสำรวมด้วยดีนั่นแล เป็นความจริงแท้ บุคคลเรียนเวททั้งหลายแล้ว ย่อมได้รับเกียรติ บุคคล ฝึกฝนตนด้วยจรณธรรม ย่อมถึงสันติ.

จบ เสตเกตุชาดกที่ ๒.

๓. ทรีมุขชาดก ว่าด้วยโทษของกาม


[๘๔๓] ดูกรมหาบพิตร กามทั้งหลายเหมือนสวะ กามทั้งหลายเหมือนหล่ม อนึ่ง กามนี้ นักปราชญ์กล่าวว่า เป็นภัยใหญ่หลวง มั่นคง ไม่หวั่นไหว อาตมภาพขอถวายพระพรว่า กามเป็นธุลี และเป็นควัน ขอพระองค์ จงทรงละกาม เสด็จออกทรงผนวชเสียเถิด.
[๘๔๔] ดูกรพราหมณ์ ข้าพเจ้ายังกำหนัดยินดีลุ่มหลงในกามทั้งหลายอยู่ ยังมี ความต้องการความเป็นอยู่อย่างนี้ จึงไม่สามารถจะละกามอันน่ากลัวนั้น ได้ แต่ข้าพเจ้าจะกระทำบุญเป็นอันมาก.
[๘๔๕] ผู้ใด อันบุคคลผู้หวังความเจริญรุ่งเรือง อนุเคราะห์ด้วยประโยชน์ กล่าว ตักเตือนอยู่ ก็ไม่ทำตามคำสอน ยังสำคัญว่า สิ่งนี้เท่านั้นประเสริฐ ผู้ นั้น เป็นคนเขลา จะต้องเกิดอยู่ร่ำไป.
[๘๔๖] ผู้นั้นเมื่อเข้าถึงท้องมารดา ชื่อว่า เข้าถึงนรกอันร้ายกาจ เป็นของไม่งาม ของท่านผู้งดงาม เต็มไปด้วยมูตรและกรีส สัตว์เหล่าใด ยังกำหนัด ยัง ไม่ปราศจากความรักใคร่ในกามทั้งหลาย สัตว์เหล่านั้น ก็ละกายของตน ไปไม่ได้.
[๘๔๗] สัตว์เหล่านี้ ย่อมแปดเปื้อนด้วยมูตร คูถ เลือด และเศลษคลอดออก มา ในเวลานั้น ย่อมจะถูกต้องส่วนใดส่วนหนึ่งด้วยกาย ส่วนนั้น ล้วนไม่น่ายินดี มีแต่ทุกข์อย่างเดียวเท่านั้น.
[๘๔๘] อาตมภาพกล่าวมาประมาณเท่านี้ ไม่ใช่ว่าได้ยินได้ฟังมาจากสมณะหรือ หรือพราหมณ์อื่น กล่าวเพราะได้เห็นมาเอง อาตมภาพระลึกชาติก่อนๆ ได้เป็นอันมาก พระปัจเจกพุทธเจ้าชื่อทรีมุข ยังพระเจ้าพรหมทัตต์ผู้มี พระปรีชาเฉลียวฉลาดให้ทรงเชื่อถือ ด้วยคาถาเป็นสุภาษิตมีเนื้อความ อันวิจิตร.

จบ ทรีมุขชาดกที่ ๓.

๔. เนรุชาดก อานุภาพของเนรุบรรพต


[๘๔๙] กาป่า กาบ้าน และพวกเราที่ประเสริฐกว่านกทั้งหลาย มาจับที่ภูเขาลูก นี้แล้ว ย่อมเหมือนกันทั้งหมดทีเดียว.
[๘๕๐] ราชสีห์ เสือโคร่ง นก และเนื้อทั้งหลายซึ่งอยู่ที่ภูเขานี้ ย่อมมีสีกาย เหมือนกันทั้งหมด ภูเขาลูกนี้ชื่อว่าอะไร?
[๘๕๑] มนุษย์ทั้งหลาย ย่อมรู้จักภูเขาอันอุดมนี้ว่า เนรุบรรพต สัตว์ทุกชนิดอยู่ ที่เนรุบรรพตนี้ ย่อมมีสีกายเหมือนทอง.
[๘๕๒] การไม่นับถือก็ดี การดูหมิ่นก็ดี การเสมอกันกับคนเลวก็ดี จะพึงมี แก่บัณฑิตทั้งหลายในที่ใด บัณฑิตทั้งหลาย ย่อมไม่พอใจอยู่ในที่นั้น.
[๘๕๓] คนเกียจคร้านกับคนขยัน คนกล้าหาญกับคนขลาด มีผู้บูชาเสมอกันในที่ ใด สัตบุรุษ ย่อมไม่อยู่ในที่นั้น ซึ่งเป็นภูเขาที่ไม่สามารถจะแบ่งคนให้ แปลกกันได้.
[๘๕๔] เนรุบรรพตนี้ ย่อมไม่จำแนกคนชั้นเลว คนชั้นกลาง และคนชั้นสูง ทำให้เหมือนกันไปเสียหมด มิฉะนั้น เราจะละเนรุบรรพตนี้ไปเสีย.

จบ เนรุชาดกที่ ๔.

๕. อาสังกชาดก ว่าด้วยความหวัง


[๘๕๕] เถาวัลย์ชื่อว่าอาสาวดี เกิดในสวนจิตรลดา เถาวัลย์อาสาวดีนั้น นับได้ ๑,๐๐๐ ปี จึงเกิดผลสักครั้งหนึ่ง.
[๘๕๖] เมื่อผลมีอยู่ห่างไกลถึงเพียงนั้น พวกเทวดาก็ยังหมั่นเข้าไปดูเถาวัลย์นั้น เสมอ ข้าแต่พระราชา ขอพระองค์ทรงหวังไว้เถิด ความหวังย่อม มีผลเป็นความสุข.
[๘๕๗] นกยังหวังสำเร็จได้เมื่อผลมีอยู่ห่างไกลถึงเพียงนั้น ความหวังของนกนี้ ยังสำเร็จได้ ข้าแต่พระราชา ขอพระองค์ทรงหวังไว้เถิด ความหวังมี ผลเป็นความสุข.
[๘๕๘] เจ้ายังให้เราเอิบอิ่มด้วยถ้อยคำ แต่ไม่ยังเราให้เอิบอิ่มไปด้วยการกระทำ เปรียบเหมือนดอกหงอนไก่ มีแต่สี ไม่มีกลิ่น ฉะนั้น.
[๘๕๙] บุคคลใด ไม่ให้ ไม่แบ่งปันโภคสมบัติลงได้ ย่อมพูดวาจาที่อ่อนหวาน แต่ไร้ผลในมิตรทั้งหลาย ความสนิทสนมกับบุคคลนั้น ย่อมไม่ยืดยาว.
[๘๖๐] บุคคลทำสิ่งใด พึงพูดถึงสิ่งนั้น ไม่พึงทำสิ่งใด ไม่พึงกล่าวถึงสิ่งนั้น บัณฑิตทั้งหลาย ย่อมติเตียนคนดีแต่พูดแต่ไม่ทำ
[๘๖๑] เมื่อเราจะอยู่ในที่นี้อีกต่อไป พลนิกายของเราก็ร่อยหรอลงไป ทั้งสะเบียง อาหารก็จะไม่มี เรารังเกียจถึงชีวิตของตนเองจะไม่ยั่งยืน ผิฉะนั้น เรา ขอลาไปเดี๋ยวนี้.
[๘๖๒] ข้าแต่พระมหาราชผู้ประเสริฐ พระดำรัสที่พระองค์ตรัสนี้แล เป็นชื่อ ชื่อของหม่อมฉัน ขอพระองค์เสด็จไปตรัสบอกชื่อของหม่อมฉันกับ บิดาเถิด.

จบ อาสังกชาดกที่ ๕.

๖. มิคาโลปชาดก ว่าด้วยโทษของคนหัวดื้อ


[๘๖๓] ลูกมิคาโลปะเอ๋ย ฉันไม่ชอบใจการที่เจ้าบินไปไกลเช่นนั้นเลย เจ้าบิน ไกลเกินไป ไปซ่องเสพภูมิสถานอันไม่สมควร.
[๘๖๔] ลูกเอ๋ย แผ่นดินพึงปรากฏแก่เจ้าเหมือนคันนา ๔ มุม เจ้าจงกลับจากที่ นั้นเสีย อย่าบินเลยจากที่นั้นไปเป็นอันขาด.
[๘๖๕] แม้แร้งตัวอื่นๆ ที่มีปีกบินไปในอากาศมีอยู่มาก แร้งเหล่านั้นมาสำคัญ เสมอด้วยแผ่นดินและภูเขา ถูกกำลังลมพัดคร่าไป พากันพินาศ หมดแล้ว.
[๘๖๖] แร้งชื่อมิคาโลปะ ไม่เชื่อฟังคำสั่งสอนของแร้งชื่ออปรัณณะผู้บิดา ซึ่ง เป็นผู้เจริญด้วยคุณสมบัติ บินผ่านลมกาลวาตขึ้นไปตกอยู่ในอำนาจของ ลมเวรัมภวาต.
[๘๖๗] บุตรและภรรยาของแร้งมิคาโลปะนั้น และแร้งอื่นที่อาศัยแร้งนั้นอยู่ พา กันถึงความพินาศสิ้น เพราะแร้งมิคาโลปะ ไม่กระทำตามโอวาทของบิดา.
[๘๖๘] ผู้ใด ในโลกนี้ ไม่เชื่อฟังคำของผู้เจริญ ผู้นั้น ย่อมถึงความพินาศ เพราะ ไม่ทำตามคำสอนของท่านผู้รู้ ดุจแร้งละเมิดคำสั่งสอน บินเลยเขตแดน ถึงความพินาศหมด ฉะนั้น.

จบ มิคาโลปชาดกที่ ๖.

๗. สิริกาฬกัณณิชาดก ว่าด้วยสิริกับกาฬกรรณี


[๘๖๙] ท่านเป็นใครหนอ มีผิวพรรณดำ ไม่น่ารักน่าดูเลย ท่านเป็นใคร หรือ เป็นธิดาของใคร จะรู้จักท่านได้อย่างไร?
[๘๗๐] ฉันเป็นธิดาของท้าวมหาราชนามว่าวิรูปักษ์ เป็นหญิงดุร้าย เป็นหญิงกาฬี ไม่มีบุญ ทวยเทพรู้จักเราว่า เป็นหญิงกาฬกรรณี ฉันขอพักอาศัยอยู่ ในสำนักของท่านสักราตรีหนึ่ง ขอท่านจงให้โอกาสเถิด.
[๘๗๑] ท่านตั้งใจมั่นอยู่ในบุรุษผู้มีศีล มีสมาจารเช่นไร แน่ะนางกาฬี เราถาม ท่าน ท่านจงบอกเรา เราจะรู้จักท่านได้อย่างไร?
[๘๗๒] บุรุษใด ลบหลู่คุณท่าน ตีเสมอท่าน แข่งดี ริษยา ตระหนี่ โอ้อวด และได้ทรัพย์มาแล้ว ย่อมพินาศหมดไป บุรุษนั้น เป็นที่รักใคร่ของเรา.
[๘๗๓] บุรุษใด เป็นคนมักโกรธ ผูกโกรธไว้ ส่อเสียด ยุยงให้แตกกัน มีวาจา กระด้าง หยาบคาย บุรุษนั้น เป็นที่รักใคร่ของฉันยิ่งกว่าบุรุษคนก่อน นั้นอีก.
[๘๗๔] บุรุษไม่รู้จักประโยชน์ของตนว่า กรรมนี้ควรทำวันนี้ กรรมนี้ควรทำ พรุ่งนี้ เป็นคนสำคัญตนว่า ดีกว่าเขา เมื่อถูกตักเตือนก็โกรธเคือง.
[๘๗๕] บุรุษผู้อันความคะนองในกามคุณครอบงำเป็นนิตย์ ย่อมเสื่อมจากมิตร ทุกคน บุรุษนั้น เป็นที่รักใคร่ของฉัน ถ้าฉันได้บุรุษเช่นนั้นแล้ว จะไม่ เกี่ยวข้องในบุรุษอื่นเลย.
[๘๗๖] แน่ะนางกาฬี เจ้าจงหลีกไปเสียจากที่นี้ อุปกิเลสมีความลบหลู่เป็นต้น ที่กระทำความรักใคร่ของเจ้านั้น ไม่มีในเรา เจ้าจงไปยังชนบท นิคม และราชธานีอื่นเสียเถิด.
[๘๗๗] แม้ฉันก็รู้จักสิ่งที่ทำความพอใจให้แก่ฉัน มีความลบหลู่คุณท่านเป็นตน นี้ว่า ไม่มีอยู่ในท่าน คนไร้ปัญญามีอยู่ในโลก ย่อมรวบรวมเอาทรัพย์ ไว้มากมาย ฉัน และพี่ของฉัน ผู้เป็นเทพบุตร ทั้งสองคนจะช่วยกัน กำจัดทรัพย์ที่คนไม่มีปัญญารวบรวมไว้เสียก็ได้.
[๘๗๘] ท่านเป็นใครหนอ มีรัศมีเป็นทิพย์ ยืนอยู่ที่แผ่นดินอย่างเรียบร้อย ท่าน เป็นใคร หรือเป็นธิดาของใคร เราจะรู้จักท่านอย่างไร.
[๘๗๙] ดิฉันเป็นธิดาของท้าวมหาราชนามว่าธตรฐ ผู้มีสิริ ข้าพเจ้ามีสิริด้วย มี บุญด้วย ทวยเทพรู้จักข้าพเจ้าว่า มีปัญญาดุจแผ่นดิน ดิฉันขอพัก อาศัยอยู่ในสำนักของท่านสักราตรีหนึ่ง ขอท่านจงให้โอกาสเถิด.
[๘๘๐] ท่านตั้งใจมั่นอยู่ในบุรุษผู้มีศีล มีสมาจารเช่นไร แน่ะนางลักขี ข้าพเจ้า ถามท่าน ท่านจงบอกข้าพเจ้า ข้าพเจ้าจะรู้จักท่านได้อย่างไร?
[๘๘๑] บุรุษใด เมื่อหนาว ร้อน ลม แดด เหลือบ ยุง และสัตว์เลื้อยคลาน มีอยู่ ก็ครอบงำความหิวความกระหายทั้งหมด ประกอบการงานทั้งหลาย มิได้ขาด ทั้งกลางคืนกลางวัน ไม่ทำประโยชน์ที่มาถึงตามกาลให้เสื่อม เสียไป บุรุษนั้น เป็นที่พอใจของดิฉัน ดิฉันตั้งใจมั่นอยู่ในบุรุษนั้น.
[๘๘๒] อนึ่ง บุรุษใด เป็นคนไม่โกรธ มีมิตรดี ชอบบริจาคทาน มีศีล ไม่ โอ้อวด เป็นคนตรง สงเคราะห์มิตร มีวาจาอ่อนหวานไพเราะ แม้ได้ รับแต่งตั้งเป็นใหญ่โต ก็ยังประพฤติถ่อมตนอยู่ ดิฉันพอใจในบุรุษนั้น เป็นอย่างมาก ดุจคลื่นทะเลปรากฏแก่คนที่มองดูสีน้ำทะเลเหมือนมีมาก ฉะนั้น.
[๘๘๓] อนึ่ง บุรุษใด ประพฤติสังคหธรรม ทั้งต่อหน้าและลับหลัง ในมิตร หรือผู้ที่มิใช่มิตร ในคนที่ประเสริฐกว่า คนที่เสมอกัน หรือคนที่เลว กว่า คนที่ประพฤติประโยชน์ หรือคนที่ประพฤติสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ ไม่กล่าววาจาหยาบคายในกาลไหนๆ ดิฉันจะขอคบบุรุษนั้น ทั้งเมื่อ เขาตายแล้วและเป็นอยู่.
[๘๘๔] บุรุษใด เป็นคนไม่มีปัญญา ปรารถนาสิริที่คนพอใจ ได้อย่างใดอย่างหนึ่ง บรรดาคุณตามที่กล่าวมาแล้วนี้ แล้วลืมเสีย ดิฉันขอเว้นบุรุษนั้น ผู้ประพฤติลุ่มๆ ดอนๆ เป็นเหตุเดือดร้อน เหมือนบุคคลเว้นหลุ่มคูถ ห่างไกล ฉะนั้น.
[๘๘๕] บุคคลย่อมทำความดี และความชั่วด้วยตนเอง คนอื่นจะทำความดี หรือ ความชั่วให้แก่คนอื่นไม่ได้เลย.

จบ สิริกาฬกัณณิชาดกที่ ๗.

๘. กุกกุฏชาดก ผลของการไม่เชื่อง่าย


[๘๘๖] ข้าแต่ท่านผู้มีขนปีกอันวิจิตรตระการตา มีหงอนงามสง่า อาจจะไปใน อากาศได้โดยฉับพลัน เชิญท่านลงมากจากกิ่งไม้เสียเถิด ฉันจะยอม เป็นภรรยาของท่านโดยไม่รับมูลค่าอันใดเลย.
[๘๘๗] ดูกรนางแมวรูปงามน่ารื่นรมย์ใจ เจ้ามีสี่เท้า เรามีสองเท้า เจ้าเป็นแมว เราเป็นไก่ ไม่สมควรกันเลย เชิญเจ้าไปแสวงหาสามีอื่นเถิด.
[๘๘๘] ฉันจะเป็นนางกุมาริกาของท่าน มีวาจาอ่อนหวาน พูดน่ารัก ของท่าน จงรับฉันผู้มีความงาม ประพฤติธรรมอันประเสริฐ ไว้ด้วยการได้อันดี งามเถิด.
[๘๘๙] แน่ะนางขโมย เลอะเทอะไปด้วยเลือดเหมือนซากศพ ชอบกัดกินไข่ เจ้าไม่ได้ปรารถนาเราเป็นสามีโดยการได้อย่างดีดอก.
[๘๙๐] หญิงทั้งหลายประกอบด้วยวาจามีองค์ ๔ เห็นชายดีเข้าแล้ว ย่อมชักนำ ไปด้วยวาจาอ่อนหวาน เหมือนนางแมวชักชวนพระยาไก่ ฉะนั้น.
[๘๙๑] ก็ผู้ใด ไม่รู้ประโยชน์อันเกิดขึ้นโดยฉับพลัน ผู้นั้น ย่อมตกไปสู่อำนาจ ศัตรู และจะต้องเดือดร้อนในภายหลัง.
[๘๙๒] ส่วนผู้ใด รู้ประโยชน์ที่เกิดขึ้นโดยฉับพลัน ผู้นั้น ย่อมพ้นจากความ เบียดเบียนของศัตรู เหมือนพระยาไก่หลุดพ้นจากนางแมว ฉะนั้น.

จบ กุกกุฏชาดกที่ ๘.

๙. ธัมมัทธชชาดก พูดอย่างหนึ่งทำอย่างหนึ่ง


[๘๙๓] ดูกรญาติทั้งหลาย ท่านทั้งหลายจงประพฤติธรรม ท่านทั้งหลายจง ประพฤติธรรมอยู่เสมอๆ เถิด ความเจริญจะมีแก่ท่านทั้งหลาย ผู้ ประพฤติธรรม ย่อมอยู่เป็นสุขทั้งในโลกนี้และโลกหน้า.
[๘๙๔] กาตัวนี้เจริญดีจริงหนอ ประพฤติธรรมอย่างสูง ยืนอยู่ด้วยเท้าข้างเดียว ย่อมพร่ำสอนแต่ธรรมเท่านั้นแก่พวกเรา.
[๘๙๕] ท่านทั้งหลายไม่รู้จักปกติของมัน จึงพากันสรรเสริญเพราะความไม่รู้ เท่าทัน มันกินไข่และลูกนกแล้วก็ร้องว่า ธัมโม ธัมโม.
[๘๙๖] กาตัวนี้พูดด้วยวาจาเป็นอย่างหนึ่ง กระทำด้วยกายเป็นอย่างหนึ่ง ประพฤติ ธรรมเพียงวาจา แต่ไม่กระทำด้วยกาย เพราะฉะนั้น มันไม่ได้ตั้งอยู่ใน ธรรมเลย.
[๘๙๗] กานี้เป็นสัตว์มีถ้อยคำอ่อนหวาน มีใจรู้ได้ยาก เปรียบเหมือนงูเห่าปกปิด ร่างกายด้วยปล่อง หรือเปรียบเหมือนคนผู้เอาธรรมบังหน้า คนโง่ไม่รู้ จริงพากันยกย่องว่า เป็นคนดีในหมู่บ้านและในนิคม ฉะนั้น.
[๘๙๘] ท่านทั้งหลายจงช่วยกันประหารกาลามกตัวนี้ ด้วยจะงอยปาก ด้วยปีก และด้วยเท้าให้มันพินาศไป กาตัวนี้ไม่ควรจะอยู่ร่วมกับพวกเรา.

จบ ธัมมัทธชชาดกที่ ๙.

๑๐. นันทิยมิคราชชาดก ว่าด้วยพระยาเนื้อนันทิยะ


[๘๙๙] ข้าแต่พราหมณ์ ถ้าท่านจะไปยังเมืองสาเกตุ โปรดช่วยส่งข่าวบุตรของ ข้าพเจ้าชื่อนันทิยะ ผู้อยู่ในพระราชอุทยานชื่ออัญญชนวันว่า มารดา บิดาของท่านแก่แล้ว ปรารถนาจะได้เห็นท่าน.
[๙๐๐] ดูกรพราหมณ์ เหยื่อ คือ น้ำและหญ้าของพระราชา ข้าพเจ้าบริโภค แล้ว เมื่อข้าพเจ้ายังไม่ทำกิจของพระราชาให้เป็นผลสำเร็จ ก็ไม่สามารถ บริโภคราชทรัพย์ให้เป็นการบริโภคชั่วได้.
[๙๐๑] ข้าพเจ้าจะยืนหันข้างให้พระราชาผู้ทรงพระแสงธนู เมื่อใด เมื่อนั้น ข้าพเจ้าก็จะพ้นจากมรณภัย มีความสุข ได้พบเห็นมารดา.
[๙๐๒] เมื่อก่อน เราเป็นพระยาเนื้อชื่อว่านันทิยะ มีรูปงาม อาศัยพระราช อุทยานของพระเจ้าโกศล.
[๙๐๓] พระเจ้าโกศลเสด็จมาที่พระราชอุทยานชื่ออัญชนวันนั้น ทรงโก่งธนูสอด ลูกศร หมายจะทรงยิงเรา.
[๙๐๔] เรายืนหันข้างให้พระเจ้าโกศลผู้ทรงพระแสงธนู เมื่อใด เมื่อนั้น เรา พ้นจากมรณภัย มีความสุข กลับมาหามารดา.

จบ นันทิยมิคราชชาดกที่ ๑๐.

จบ อาวาริยวรรคที่ ๑. _________________ รวมชาดกที่มีในวรรคนี้ คือ ๑. อาวาริยชาดก ๒. เสตเกตุชาดก ๓. ทรีมุขชาดก ๔. เนรุชาดก ๕. อาสังกชาดก ๖. มิคาโลปชาดก ๗. สิริกาฬกัณณิชาดก ๘. กุกกุฏชาดก ๙. ธัมมัทธชชาดก ๑๐. นันทิยมิคราชชาดก. _________________

.ขุรปุตตวรรค

๑. ขุรปุตตชาดก ว่าด้วยทำตนให้ไร้ประโยชน์


[๙๐๕] เป็นความจริงทีเดียว ที่บัณฑิตทั้งหลายกล่าวว่า แพะเป็นสัตว์โง่เขลา ดูเถิด แพะโง่เขลา มิได้รู้จักกรรมที่ควรทำในที่ลับและที่แจ้ง.
[๙๐๖] แน่ะม้าผู้เป็นสหาย ท่านจงรู้เถิดว่า ท่านเป็นสัตว์โง่เขลา เพราะท่าน นั่นแหละถูกเขาผูกด้วยเชือก มีปากคดถูกปิดหน้า.
[๙๐๗] แน่ะสหาย ความโง่ของเจ้ายังมีอยู่อีก เจ้าเขาแก้ออกแล้วไม่หนีไปเสีย นั่นและชื่อว่า เจ้ายังมีโง่อยู่อีก แน่ะสหาย พระเจ้าเสนกะที่เจ้าพา ไปนั้นยังโง่ไปกว่าเจ้าเสียอีก.
[๙๐๘] ดูกรพระยาแพะผู้สหาย ได้ยินว่า ท่านรู้ว่า เราเป็นสัตว์โง่เขลา แต่ พระเจ้าเสนกะ โง่เขลากว่า เพราะเหตุไรเล่า ขอเจ้าจงบอกเหตุที่เราถาม นั้นเถิด?
[๙๐๙] พระเจ้าเสนกะได้มนต์วิเศษชื่อว่า สัพพรุทชานนมนต์ แล้วประทาน มนต์นั้นแก่พระอัครมเหสี ทรงยอมสละพระองค์ ด้วยเหตุนั้น พระ อัครมเหสีนั้น จักไม่เป็นพระเทวีของพระเจ้าเสนกะ เพราะฉะนั้น พระเจ้าเสนกะจึงทรงโง่เขลากว่าท่าน.
[๙๑๐] ข้าแต่จอมประชาชน บุคคลผู้เช่นกับพระองค์ ทำตนให้ไร้ประโยชน์ ด้วยคิดว่า สิ่งนี้เป็นที่รักของเรา ชื่อว่า ไม่ซ่องเสพสิ่งที่เป็นที่รัก ทั้งหลาย ตนเท่านั้น ประเสริฐกว่าสิ่งที่ประเสริฐอย่างอื่น ภรรยาผู้เป็นที่ รักอันบุรุษผู้มีตนอันเจริญแล้วอาจจะได้ในภายหลัง.

จบ ขุรปุตตชาดกที่ ๑.

๒. สูจิชาดก ว่าด้วยเข็ม


[๙๑๑] ใครต้องการจะซื้อเข็มอันไม่ขรุขระ ไม่หยาบ ชุบแก่กล้า มีรูอันเรียบร้อย ละเอียด มีปลายคมบ้าง?
[๙๑๒] ใครต้องการจะซื้อเข็มอันเกลี้ยงเกลา เจาะรูเรียบร้อย สนได้คล่อง แข็งแกร่ง อาจแทงทั่งให้ทะลุได้บ้าง?
[๙๑๓] เวลานี้ เข็มและเบ็ดทั้งหลาย ย่อมแพร่หลายออกไปจากบ้านช่างทองนี้ ทั้งนั้น ใครเล่าจะปรารถนามาขายเข็มในบ้านช่างทอง?
[๙๑๔] ศาตราทั้งหลายก็แพร่หลายออกมาจากบ้านช่างทองนี้ แม้การงานเป็น อันมาก ย่อมดำเนินไปด้วยเครื่องอุปกรณ์ที่ได้มาจากบ้านช่างทองนี้ทั้งนั้น ใครเล่าจะปรารถนามาขายเข็มในบ้านช่างทอง?
[๙๑๕] คนฉลาดควรจะขายเข็มในบ้านช่างทอง อาจารย์ทั้งหลาย ย่อมรู้กรรมที่ บุคคลทำดี และทำชั่วได้ดี.
[๙๑๖] ดูกรนางผู้เจริญ ถ้าบิดาของท่าน จะพึงรู้เข็มที่ข้าพเจ้าทำนี้ จะต้องยกท่าน ให้ข้าพเจ้า พร้อมด้วยทรัพย์อย่างอื่นที่มีอยู่ในเรือน.

จบ สูจิชาดกที่ ๒.

๓. ตุณฑิลชาดก ธรรมเหมือนน้ำ บาปธรรมเหมือนเหงื่อไคล


[๙๑๗] วันนี้ มารดาให้ข้าวที่เทลงใหม่ๆ รางข้าวก็เต็ม มารดาก็ยืนอยู่ใกล้ๆ รางข้าวนั้น ใช่แต่เท่านั้น ยังมีคนเป็นอันมากยืนถือบ่วงอยู่ ฉันไม่พอใจ จะบริโภคข้าวนั้นเลย.
[๙๑๘] เจ้าสะดุ้งกลัวภัย หมุนไปมา ปรารถนาที่ซ่อนเร้น เป็นผู้ไร้ที่พึ่ง จะไป ไหนเล่า ดูกรน้องตุณฑิละ เจ้าจงมีความขวนขวายน้อยบริโภคอาหาร เสียเถิด เราทั้งสองมารดาเลี้ยงไว้ ก็เพื่อจะต้องการเนื้อ.
[๙๑๙] เจ้าจงหยั่งลงยังห้วงน้ำที่ไม่มีเปือกตม แล้วชำระเหงื่อและมลทินทั้งปวง เสีย จงถือเอาเครื่องลูบไล้ใหม่ๆ ที่มีกลิ่นหอม ไม่รู้จักหายในกาล ไหนๆ เถิด.
[๙๒๐] อะไรหนอ ที่ท่านกล่าวว่า ห้วงน้ำไม่มีเปือกตม อะไรเล่า ท่านกล่าวว่า เหงื่อไคลและมลทิน และอะไรเล่า ท่านกล่าวว่า เครื่องลูบไล้ใหม่ๆ ที่มีกลิ่นหอม ไม่รู้จักหายในกาลไหนๆ?
[๙๒๑] ธรรมบัณฑิตกล่าวว่า เป็นห้วงน้ำไม่มีเปือกตม บาปธรรมบัณฑิตกล่าวว่า เหงื่อไคลและมลทิน และศีลบัณฑิตกล่าวว่า เป็นเครื่องลูบไล้ใหม่ที่มี กลิ่นหอม ไม่รู้จักหายในกาลไหนๆ.
[๙๒๒] มนุษย์ทั้งหลาย ผู้โง่เขลา ฆ่าตัวเอง ย่อมพอใจทำบาป ส่วนสัตว์ผู้รักษาตัวเอง ย่อมไม่พอใจทำบาป สัตว์ทั้งหลาย รื่นเริงในเดือนมีพระจันทร์เต็มดวง ย่อมสละชีวิตได้.

จบ ตุณฑิลชาดกที่ ๓.

๔. สุวรรณกักกฏกชาดก ว่าด้วยปูตัวฉลาด


[๙๒๓] ปูมีก้ามเหมือนเขาแห่งมฤค ตายาว มีกระดูกเป็นหนัง อาศัยอยู่ในน้ำ ไม่มีขน เราถูกมันหนีบร้องไห้อยู่เหมือนคนกำพร้า ดูกรสหายผู้เจริญ เพราะเหตุไรหนอ ท่านจึงละทิ้งเราไปเสีย?
[๙๒๔] งูเห่า เมื่อจะปลอบกาให้เบาใจ จึงแผ่แม่เบี้ยใหญ่เลื้อยไปใกล้ปู จะช่วยเหลือสหายของตนไว้ ปูจึงเอาก้ามอีกข้างหนีบคอไว้.
[๙๒๕] ก็ปูเป็นสัตว์ต้องการอาหารแต่ไม่กินกา ไม่กินงู ดูกรท่านผู้มีตายาว เราขอถามท่าน เพราะเหตุไร ท่านจึงหนีบเราทั้งสองไว้?
[๙๒๖] บุรุษใดปรารถนาประโยชน์แก่เรา จับเราไปปล่อยในน้ำ บุรุษนั้น เมื่อเขาตาย ความทุกข์จักมีแก่เราไม่น้อย เรากับบุรุษนั้นเป็นคนๆ เดียวกัน
[๙๒๗] อนึ่ง คนทั้งปวงได้เห็นเราผู้มีกายอันเติบโตขึ้น ก็ปรารถนาจะเบียดเบียน เราผู้มีเนื้อดีและอ่อนนุ่ม แม้กาทั้งหลายเห็นเราแล้วก็พึงเบียดเบียนเรา.
[๙๒๘] ถ้าท่านหนีบเราทั้งสองไว้ เพราะเหตุบุรุษนั้น ก็ขอให้บุรุษจงลุกขึ้นเถิด เราจะดูดพิษออกเสียให้หมด ขอท่านจงรีบปล่อยเรา และกาโดยเร็วเถิด ก่อนที่พิษจะแล่นเข้าไปสู่บุรุษรุนแรง ทำให้ตายเสีย.
[๙๒๙] เราจะปล่อยงูไป แต่กาเรายังไม่ปล่อยก่อน เพราะว่า เราจะเอากาไว้เป็น ประกันก่อน เราเห็นบุรุษมีความสุข ปราศจากโรคแล้ว จึงจะปล่อย กาไป เหมือนกับงู.
[๙๓๐] พระเทวทัตต์ในครั้งนั้น ได้เกิดเป็นกา ส่วนช้างเกิดเป็นงูเห่า พระอานนท์ ผู้เจริญเกิดเป็นปู เราผู้เป็นศาสดาในครั้งนั้น เกิดเป็นพราหมณ์.

จบ สุวรรณกักกฏกชาดกที่ ๔.

๕. มัยหสกุณชาดก ว่าด้วยการใช้ทรัพย์ให้เป็นประโยชน์


[๙๓๑] นกชื่อว่ามัยหกะ เที่ยวไปตามไหล่เขาและซอกเขา บินไปสู่ต้นเลียบ อันมีผลสุก แล้วร้องว่า ของเราๆ.
[๙๓๒] เมื่อนกมัยหกะนั้น รำพันเพ้ออยู่อย่างนั้น ฝูงนกทั้งหลายก็พากันบินมา จิกกินผลเลียบแล้วพากันบินไปต้นอื่น ส่วนนกมัยหกะนั้น ก็ร้องเพ้ออยู่ นั่นเอง.
[๙๓๓] บุคคลบางคนในโลกนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน รวบรวมทรัพย์ไว้มากมายแล้ว ตนเองก็ไม่ได้ใช้สอย ทั้งไม่แบ่งปันให้ญาติทั้งหลายตามส่วน.
[๙๓๔] บุคคลนั้น ไม่ใช้เป็นค่าเครื่องนุ่งห่ม อาหาร ดอกไม้ และเครื่องลูบไล้ อะไรๆ สักครั้งเดียวเลย ไม่สงเคราะห์ญาติทั้งหลาย.
[๙๓๕] เมื่อบุคคลนั้นเฝ้ารำพันอยู่อย่างนี้ว่า ของเราๆ พระราชา โจร หรือ ทายาทที่ไม่ชอบพอกันย่อมมาถือเอาทรัพย์ไป บุคคลนั้น ก็รำพันเพ้ออยู่ นั่นเอง.
[๙๓๖] นักปราชญ์อาศัยทรัพย์สมบัติแล้ว ย่อมสงเคราะห์ญาติ ย่อมได้เกียรติคุณ เพราะทรัพย์นั้น ละโลกนี้ไปแล้ว ย่อมบันเทิงอยู่ในสวรรค์.

จบ มัยหสกุณชาดกที่ ๕.

๖. ปัพพชิตวิเหฐกชาดก ว่าด้วยกราบไหว้ผู้ควรกราบไหว้


[๙๓๗] ท่านมีรูปงาม ประนมมือนอบน้อมสมณะผู้มีรูปร่างไม่น่าดู สมณะนั้น ประเสริฐกว่าท่าน หรือว่าเสมอกับท่าน ท่านจงบอกชื่อสมณะนั้นและ ชื่อของตนแก่เรา.
[๙๓๘] ข้าแต่พระราชา เทวดาทั้งหลาย ย่อมไม่ถือเอานามและโคตรของ พระขีณาสพผู้พร้อมเพรียงกัน ผู้ปฏิบัติตรงๆ ก็แต่ว่า หม่อมฉันจะบอก ชื่อของหม่อมฉันแก่พระองค์ หม่อมฉันเป็นท้าวสักกะจอมเทพชาว ไตรทศทั้งหลาย.
[๙๓๙] ข้าแต่เทวราช หม่อมฉันขอถามเนื้อความนี้กะพระองค์ ผู้ใด เห็นภิกษุ ผู้ประกอบด้วยจรณะแล้วประนมมือนอบน้อม ผู้นั้น จุติจากมนุษยโลกนี้ ไปแล้ว จะได้ความสุขอะไร?
[๙๔๐] ผู้ใด เห็นภิกษุผู้ประกอบด้วยจรณะแล้ว ประนมมือนอบน้อม ผู้นั้น ย่อมได้ความสรรเสริญในปัจจุบัน และเมื่อตายไปแล้ว ย่อม ไปสวรรค์.
[๙๔๑] ปัญญารู้ผลแห่งกุศล และอกุศลเกิดขึ้นแก่หม่อมฉันในวันนี้ หม่อมฉัน ได้เห็นท้าววาสวะผู้เป็นใหญ่กว่าหมู่สัตว์ ข้าแต่ท้าวสักกะ หม่อมฉันได้ เห็นภิกษุและพระองค์แล้ว จักกระทำบุญไม่น้อย.
[๙๔๒] บุคคลเหล่าใด มีปัญญา เป็นพหูสูต สามารถคิดเหตุการณ์ได้มาก บุคคลเหล่านั้น ควรคบหาโดยแท้เทียว ข้าแต่พระราชา พระองค์ได้ทรง เห็นภิกษุและหม่อมฉันแล้ว จงทรงกระทำบุญให้มากเถิด.
[๙๔๓] ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นจอมเทพ หม่อมฉันจักเป็นผู้ไม่โกรธ มีจิตเลื่อมใส เป็นนิตย์ จักเป็นผู้ควรแก่การขอของแขกผู้มาทุกประเภท จักกำจัด มานะเสีย แล้วกราบไหว้ท่านผู้ควรกราบไหว้ เพราะได้ฟังคำที่พระองค์ ตรัสดีแล้ว.

จบ ปัพพชิตวิเหฐกชาดกที่ ๖.

๗. อุปสิงฆปุปผกชาดก ว่าด้วยคนดีไม่ควรทำชั่วแม้นิดหน่อย


[๙๔๔] การที่ท่านเข้าไปสูดดมกลิ่นดอกบัวที่เขายังมิได้ให้ นี้เป็นส่วนแห่งการ ขโมยอย่างหนึ่ง ดูกรท่านผู้นิรทุกข์ ท่านชื่อว่า เป็นผู้ขโมยกลิ่น.
[๙๔๕] เราไม่ได้นำเอาไป ไม่ได้บริโภค เรายืนดมดอกบัวอยู่ในที่ไกล เมื่อเป็น เช่นนั้น เหตุไฉน ท่านจึงกล่าวว่า เราเป็นผู้ขโมยกลิ่นดอกบัวเล่า?
[๙๔๖] บุรุษใด มาขุดเหง้าบัวทั้งหลาย เด็ดเอาดอกบัวไป เพราะเหตุไร ท่านจึง ไม่ว่ากล่าวบุรุษนั้น ผู้ทำกรรมหยาบช้าอย่างนี้เล่า?
[๙๔๗] บุรุษผู้หยาบช้า โหดร้าย แปดเปื้อนไปด้วยบาป เหมือนผ้านุ่งของ แม่นม ฉะนั้น เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าจึงไม่ว่ากล่าวบุรุษนั้น แต่ข้าพเจ้า ปรารถนาจะว่ากล่าวท่าน ผู้ทำกรรมไม่สมควร.
[๙๔๘] บาปเพียงเท่าปลายขนทราย ย่อมปรากฏแก่บุรุษผู้ไม่มีโทษเหมือนท่าน แสวงหาความสะอาดอยู่เป็นนิตย์ เหมือนเท่ามหาเมฆ ฉะนั้น.
[๙๔๙] ดูกรเทวดา ท่านรู้จักเรา และอนุเคราะห์เราโดยแท้ ท่านเห็นโทษเช่นนี้ ของเรา เมื่อใด ขอท่านจงตักเตือนเราแม้อีก เมื่อนั้น.
[๙๕๐] ข้าพเจ้าไม่ได้อาศัยท่านเลี้ยงชีพ และไม่เป็นลูกจ้างของท่าน ดูกรภิกษุ ท่านนั้นแล พึงรู้การกระทำอันเป็นเหตุให้ไปสู่สุคติ

จบ อุปสิงฆปุปผกชาดกที่ ๗.

๘. วิฆาสาทชาดก ว่าด้วยการกินของที่เป็นเดน


[๙๕๑] ชนเหล่าใด บริโภคอาหารที่เป็นเดน ชนเหล่านั้น ย่อมเป็นอยู่ สบายดีหนอ เป็นผู้ได้รับความสรรเสริญในปัจจุบัน และมีสุคติใน โลกหน้า.
[๙๕๒] เมื่อนกแขกเต้าพูดอยู่ ท่านทั้งหลายผู้เป็นบัณฑิต ไม่ได้ฟังท่านทั้งหลาย ผู้ร่วมอุทรกันมา จงฟังคำของนกนั้น นกแขกเต้าตัวนี้กำลังสรรเสริญ พวกเราอยู่เป็นแน่.
[๙๕๓] ข้าพเจ้าไม่ได้สรรเสริญท่านทั้งหลาย ดูกรท่านทั้งหลาย ผู้กินซากศพ ท่านทั้งหลายจงฟังข้าพเจ้า ท่านทั้งหลายกินของเดนทิ้ง ไม่ใช่ผู้กิน เดนเหลือ.
[๙๕๔] เราออกบวช กระหมวดมวยผม เลี้ยงชีพด้วยของเป็นเดนเหลืออยู่ กลางป่า ตลอด ๗ ปี ผิว่า ท่านผู้เจริญ พึงติเตียนเราทั้งหลาย ก็ใคร เล่าที่ท่านผู้เจริญจะพึงสรรเสริญ?
[๙๕๕] ท่านทั้งหลายเลี้ยงชีพด้วยของเป็นเดนทิ้ง ของราชสีห์ เสือและเนื้อ ทั้งหลาย ยังสำคัญว่า เป็นผู้กินเดนเหลือ.
[๙๕๖] ชนเหล่าใด บริโภคอาหารซึ่งเหลือจากที่เขาให้แก่สมณะ พราหมณ์ และ วณิพกอื่น ชนเหล่านั้นชื่อว่า เป็นคนกินเดนเหลือ.

จบ วิฆาสาทชาดกที่ ๘.

๙. วัฏฏกชาดก ว่าด้วยการทำให้เกิดความสุข


[๙๕๗] พ่อลุงกา ท่านบริโภคอาหารของมนุษย์อย่างประณีต คือ เนยใส และ น้ำมัน เมื่อเป็นเช่นนั้น เพราะเหตุไร ท่านจึงซูบผอม.
[๙๕๘] เมื่อกาอยู่ในท่ามกลางศัตรู แสวงหาเหยื่ออยู่ในที่นั้นๆ มีใจหวาด สะดุ้งอยู่เป็นนิตย์ ที่ไหนจะอ้วนเล่า.
[๙๕๙] พวกกามีใจหวาดสะดุ้งอยู่เป็นนิตย์ ได้อาหารมาด้วยกรรมเป็นบาปจึง ไม่อิ่ม ดูกรนกกระจาบ เราซูบผอม เพราะเหตุนั้น.
[๙๖๐] ดูกรนกกระจาบ ท่านกินพืชหญ้าหยาบๆ มีโอชาน้อย เมื่อเป็นเช่นนั้น เพราะเหตุไร ท่านจึงอ้วนพีหนอ.
[๙๖๑] ดูกรกา เราเลี้ยงชีพด้วยความปรารถนาน้อยในอาหาร ๑ ด้วยความคิด แต่น้อย ๑ ด้วยไม่แสวงหาในที่ไกล ๑ ด้วยอาหารตามมีตามได้ ๑ เราเป็นผู้อ้วนพี เพราะเหตุ ๔ อย่างนั้น.
[๙๖๒] เป็นความจริง ความเป็นไปของบุรุษผู้มีความปรารถนาน้อย คิดถึง ความสุขแต่น้อย และถือเอาประมาณในอาหารพอดี สามารถจะให้เกิด ความสุขได้.

จบ วัฏฏกชาดกที่ ๙.

๑๐. มณิชาดก ว่าด้วยแก้วมณี


[๙๖๓] นานมาแล้วหนอ เราเพิ่งเห็นสหายประดับแก้วมณี เพื่อนของเราแต่ง หนวดเสียเรียบร้อยงดงามจริงหนอ.
[๙๖๔] เรามัวยุ่งอยู่ในราชการ หาโอกาสไม่ได้ จึงมีเล็บและขนปีกยาวรุงรัง เป็นเวลานานแล้ว เราเพิ่งได้ช่างกัลบกในวันนี้ จึงให้ถอนขนออก จนหมด.
[๙๖๕] ท่านได้ช่างกัลบกที่หาได้ยาก แล้วให้ถอนขนออกเช่นนี้ ท่านชอบใจ เราจะให้เขาทำให้บ้าง ดูกรสหาย เออก็อะไรเล่า แขวนอยู่ที่คอของท่าน.
[๙๖๖] แก้วมณีของมนุษย์ผู้สุขุมาลชาติห้อยอยู่ที่คอเรา เราสำเหนียกตามอย่าง ของมนุษย์ผู้สุขุมาลชาติเหล่านั้น ท่านอย่าสำคัญว่า เราทำเล่น.
[๙๖๗] ดูกรสหาย ถ้าแม้ท่านปรารถนาจะให้แต่งหนวดให้เรียบร้อยเหมือน อย่างเรา เราก็จะให้เขาทำให้แก่ท่าน แก้วมณีเราก็จะให้แก่ท่านด้วย.
[๙๖๘] ท่านผู้เดียวเท่านั้น สมควรแก่แก้วมณีและหนวดที่เขาแต่งดีแล้วด้วย การที่ได้พบเห็นท่านเป็นที่พอใจของเรา เพราะฉะนั้น เราขอลาท่าน ไปก่อน.

จบ มณิชาดกที่ ๑๐.

จบ ขุรปุตตวรรคที่ ๒. _________________ รวมชาดกที่มีในวรรคนี้ คือ ๑. ขุรปุตตชาดก ๒. สูจิชาดก ๓. ตุณฑิลชาดก ๔. สุวรรณกักกฏชาดก ๕. มัยหกสกุณชาดก ๖. ปัพพชิตวิเหฐกชาดก ๗. อุปสิงฆปุปผกชาดก ๘. วิฆาสาทชาดก ๙. วัฏฏกชาดก ๑๐. มณิชาดก. รวมวรรคในฉักกนิบาตนี้มี ๒ วรรค คือ ๑. อาวาริยวรรค ๒. ขุรปุตตวรรค. จบ ฉักกนิบาตชาดก. _________________

กลับที่เดิม