4. เริ่มฝึกวิปัสสนาสมาธิเป็นรูปแบบครั้งแรกในชีวิด
        
ข้าพเจ้าและเพื่อนได้แจ้งให้กับพระภิกษุที่โต๊ะประชาสัมพันธ์ และรับบริจาคให้ท่านทราบว่า มีความประสงค์ ที่จะมาทำกรรมฐานและอยู่ประจำ พระท่านเห็นสภาพการแต่งตัวเหมือนเด็กจนๆ และมาเวลานี้ ท่านจึงบอกว่า ห้องพักเต็ม ข้าพเจ้ากับเพื่อนจึงยืนทำอะไรไม่ถูกอยู่ที่ข้างโต๊ะ พอดีมีแม่ชีคนหนึ่งคงเห็นท่าทาง ของข้าพเจ้า และเพื่อนต้องการมาทำกรรมฐานจืงเข้ามาถามว่า "ลูกจะมาทำกรรมฐานหรือ?" เพื่อนข้าพเจ้าตอบว่า "ใช่ครับ" ซึ่งตอนนี้แม่ชีรู้แล้วว่าพระที่โต๊ะประชาสัมพันธ์ไม่ต้อนรับ จึงกล่าวต่อไปว่า "ลูกอยู่รอก่อน 2 ทุ่มหรือ 2 ทุ่มกว่า พระอาจารย์จะเข้ามา" เพื่อนข้าพเจ้าใจชื่นขึ้นแต่ข้าพเจ้ายังรู้สึกเฉยและคิดว่า ที่นี้คนมากจังวุ่นว่ายไม่เหมาะกับการ ทำกรรมฐาน แต่เมื่อมาแล้วลองดูเพราะไม่มีที่อื่นที่เหมาะกับสถานะตนเองในช่วงนั้น ขณะที่รออยู่ประมาณ 10 กว่านาที ท่านพระอาจารย์ก็เข้ามา แม่ชีคนเดิมจึงเข้ามาบอกกับพระอาจารย์ว่า  ข้าพเจ้ากับเพื่อนประสงค์มาทำ กรรมฐานและอยู่ประจำ พระอาจารย์ก็หันมามองดู แล้วพิจารณาข้าพเจ้ากับเพื่อนเพียงแวบเดียวก็กล่าวว่า "มีที่พักว่างเยอะให้ขึ้นไปพักที่ห้องหัวกะโหลก" (ปัจจุบันนี้ห้องนี้ไม่มีแล้ว) ข้าพเจ้ากับเพื่อนจึงขึ้นไปพักที่ ห้องหัวกระโหลกซื่งเป็นห้องโล่งจุได้ประมาณ 10 กว่าคน แต่มีคนพักอยู่ก่อน 2 คน จึงจองที่พักได้สบาย เพราะไม่มีฝาขั้นและอยู่ตามสถานะ
            เวลาการทำกรรมฐานเริ่ม 8.00-10.00, 13.00-16.00, 18.00-20.00. ทุกวัน รวมเวลาวันละ 7.   แม่ชีที่มาบอกข้าพเจ้าและเพื่อนให้รอพระอาจารย์ก่อนทราบชื่อภายหลัง ว่าแม่ชีประไพ และพระอาจารย์ชื่อว่า พระปลัดพนม และเจ้าคณะ 5 ชื่อว่า พระเทพสิทธิมุนี เป็น ฉายาสมัยนั้น (ฉายาหลังสุด พระปลัดพนม เป็นพระปลัดธีรวัต พระเทพสิทธิมุนี เป็นพระธรรมธีรราชมุนี ถ้าจำไม่ผิด ส่วนห้องที่พักชื่อว่าห้องหัวกะโหลก เพราะมีกะโหลกผีอันหนึ่งตั้งปนอยู่บนโต๊ะหมู่บูชา กะโหลกอันนี้คือ กะโหลกของชายมีอายุคนหนึ่ง ที่มาเข้า กรรมฐาน แต่เป็นโรคเกี่ยวกับกระดูกเสื่อม นั่งกรรมฐานกำหนด เจ็บหนอ ไม่ยอมลุกขึ้นด้วยใจเด็ดเดียวจนตาย ดั้งนั้นจึงเอากะโหลกมาตั้งไวเพื่อเป็นแบบอย่าง และต่อไปนี้ข้าพเจ้าจะใช้คำว่า อาจารย์ แทนชื่อพระปลัดพนม และใช้คำว่า หลวงพ่อ แทนชื่อ พระเทพสิทธิมุนีเพื่อให้สะดวกในการเล่า ในเช้าวันรุ่งขึ้น 7.00 รับประทานข้าวต้ม 8.00 น เริ่มทำกรรมฐานโดยมีแม่ชีประไฟเป็นผู้สอน แนะนำในการกำหนดภาวนา และการเดินจงกลมระยะต่างๆ การภาวนาเน้นการภาวนา ยุบหนอ-พองหนอ ของท้อง และการเดินจงกลมระยะ 1 ถึง 6 เป็นหลัก  นับว่าเป็นการ เริ่มทำกรรมฐานที่เป็นระบบครั้งแรกในชีวิต
            การเดินจงกลมนั้นไม่มีปัญหาสำหรับข้าพเจ้า ที่มีปัญหาคือการการภาวนาดูท้อง พองหนอ-ยุบหนอ ซึ่งข้าพเจ้าทำไม่ได้เอาเสียเลย เพราะจะมีสติมาจับที่จมูกดูลมเข้า-ออกอย่างเดียว เพราะฝึกดูลมมานานแล้ว จึงพยายามเลี่ยงกำหนดเป็น นั่งหนอ-ถูกหนอ คือนั่งหนอให้รู้ตัวว่านั่ง ถูกหนอให้รู้ส่วนที่กระทบกับพื้น แต่สติก็ยังไปจับที่จมูก แล้วดูลมหายใจพยายามทำอย่างนี้ อยู่ 3 วัน หลังจากนั้นเวลานั่งกำหนดกรรม ฐานจะรู้สึก คล้ายกับกระดูกสันหลังเคลื่อนคล้ายกับจะโย้กตัวเล็กๆ น้อย แต่ไม่โยก เป็นห่างๆ ก่อนแล้วค่อยถี่ขึ้น ข้าพเจ้าได้ ฟังหลวงพ่อสอบอารมณ์เวลา 20.00 -21.00 น ว่าให้จับได้ว่าผะงักตอนไหน และเรื่องรูปนามบ่อยๆ จึงเกิดความยาก ทำให้ได้(ความคิดนี้ผิดเสียแล้วเพราะพยายามที่จะจับให้ได้) และก็ยังคิดไปว่าทำอย่างนี้กิเลสจะละตรงไหน? แต่ยก ความคิดนี้ทิ้งไปทำกรรมฐานต่อจนครบ 8 วัน เพราะห่วงการเรียนภาคฤดูร้อนที่ข้าพเจ้าขอจบไว้  ซึ่งเหลือ อยู่ 3 วิชาเป็นวิชาเลือกง่ายง่าย จึงไม่น่าหนักใจคือจบแน่นอน และในช่วงภาคฤดูร้อนนี้เองที่เกิดแผ่นดินไหว ที่รู้สึก ได้ชัดเจนในกรุงเทพมหานครเมื่อปี 2526 หลังจากสอบภาคฤดูร้อนเสร็จสิ้นข้าพเจ้าก็เข้าทำกรรมฐานต่อ  ความต้อง การ ที่จะเรียนต่อปริญญาโทที่ตั้งใจไว้เป็นอันว่าต้องพับไว้ หันมารักษาจิตใจเป็นหลัก ซึ่งเพื่อนของข้าพเจ้ายังทำ กรรมฐานอยู่

   อย่าปิดกั้นความดีด้วยความหวัง              อย่าสร้างพลังเกินเหตุในจุดหมาย
อย่าดินรนให้สับสนและวุ่นวาย                  อย่าให้กลายเป็นเรื่องใหญ่เกินไป
เรื่องทุกเรื่องดำเนินไปด้วยดี                       เมื่อมีสติพิจารณาจนเข้าใจ
จุดหมายอันที่ดีจึงอยู่มิไกล                         เมื่อจิตใจมั่นคงทำตามเหตุผล

   เมื่ออ่อนหัดจงประหยัดถกเถียง      ทำไม่เกี่ยงเพียงแต่ถามให้เข้าใจ
เมื่อชำนาญอย่ามองข้ามในสิ่งใด        เพราะใครใครอาจผิดพลาดได้เหมือนกัน

    อ่านหน้าต่อไป   105.html                 กลับไปหน้าแรก   100.html