อาโปกสิณ
         การเจริญอาโปกสิณที่เป็นเอง ได้แก่ผู้ที่เคยทำมาแล้วแต่ปางก่อน เพี่ยงแต่เห็นพื้นน้ำ ที่เป็นอยู่เองธรรมดา  อุคหนิมิต ก็บังเกิดขึ้นได้
                อุคหนิมิต คือนิมิตที่จำได้ติดตาติดใจ นึกถึงภาพนั้นเมื่อใดก็ปรากฏขึ้นได้เมื่อนั้น ทั้งหลับตาหรือลืมตา
        วิธิทำอาโปกสิณที่ต้องสร้างขึ้น
                        นำน้ำที่ใสสะอาดใส่ให้เต็มเสมอปากบาตร หรือคนโท เอาตั้งไว้ที่ลับ เพื่อภาวนา
        วิธีนั่งเพ่งอาโปกสิณ
            ตั้งบาตรหรือคนโท อยู่ในระดับสายตามองเห็นพื้นน้ำพอดี ไม่ให้สูงหรือต่ำหรือเอียง จากสายตา เพราะจะทำให้เหมื้อย ได้เมื่อเพ่งนานๆ และต้องอยู่ห่างจากดวงกสิณระว่าง  2 ศอก ถึง 1 ศอก
        แล้วให้พิจารณาว่า กามทั้งหลายมีความยินดีนิดหน่อย แต่มีความทุกข์มาก
        แล้ว ภาวนา ลืมตาแต่พอดี จับเอานิมิตในปถวิกสิณนั้น โดยอาการเสม่ำเสมอเรื่อยๆ ไป  ไม่ใช่เพ่งจนเคร่งเครียด
        คำภาวนา ที่ใช้ก็คือ อาโป - อาโป ไปเรื่อย หรือ น้ำ - น้ำ ไปเรื่อย บางครั้งพึงลืมตาดูนิมิต บางครั้งพึงหลับตาเสีย แล้วนึกทางใจ อุคคหนิมิตยังไม่ปรากฏตราบใด ตราบนั้นก็ภาวนาไปเรื่อย

        เมื่ออุคคหนิมิตบังเกิด หลับตานึกทางใจก็เห็นภาพนิมิตอยู่อย่างนั้น  ก็ไม่จำเป็นนั่งเพ่งน้ำนั้นอีก ไปที่สงบเงียบ ภาวนาไปเรื่อย เพื่อทรงอุคคหนิมิตไว้
        เมื่อนึกตะล่อมนิมิตไว้ในใจแล้ว เมื่อมีความสมบูรณ์  จิตย่อมตั้งมั่นด้วยอุปจารสมาธิ  ปฏิภาคนิมิตย่อมเกิดขึ้น    ส่วนปฏิภาคนิมิตย่อมปรากฏเป็นสิ่งที่บริสุทธิ์ผุดผ่องกว่าอุคคหนิมิตตั้งร้อยเท่าพันเท่า  ปฏิภาคนิมิตนั้นไม่มีสีไม่มีสันฐาน ซึ่งเป็นสักว่าอาการที่ปรากฏแก่ผู้ได้สมาธิ ซึ่งเกิดจากสัญญาภาวนาเพียงอย่างเดียว เรียกว่าได้อุปจารสมาธิ
       อุปจารสมาธิเกิดขึ้นนั้นลางทีจิตก็ทำนิมิตให้เป็นอารมณ์ ลางที่ก็ตกลงภวงค์ ปฏิภาคนิมิตนั้นหายไป  เมื่อทรงอุปจารสมาธิ โดยปฏิภาคนิมิตนั้นไม่หายไป มีความเหมาะสม การทำให้เกิดปฏิภาคนิมิตนั้นเกิดขึ้นได้อยาก และการที่จะรักษาปฏิภาคนิมิตก็เป็นการยาก ดังนั้นอย่าประมาท เพราะถ้ารักษาปฏิภาคนิมิตไว้ได้ อุปจารฌานที่ได้ก็จะไม่มีการเสื่อมหายไป  นิวรณ์ 5 ก็สงบ
        ลักษณะอุคคหนิมิต - ปฏิภาคนิมิต ของอาโปกสิณ มีดังนี้
    อุคคหนิมิตย่อมปรากฏเป็นดุจกระเพื่อมอยู่         ส่วนปฏิภาคนิมิตเป็นสภาพที่ นิ่งเหมือนแก้วใส
       ส่วนที่เหลือก็คล้ายกับ ปถวิกสิณ
                                                                                จบอาโปกสิณโดยย่อ
                                ดูเตโช(ไฟ)และกสินอื่น                                                            กลับหน้าแรก