กระทู้ ปัญหาวิ่งวนอยู่ในตุ่ม เป็นอาหารของเต่าอย่างเรา                                          กลับหน้าแรก 
 
 
 
 เนื้อความ : 
กระทู้ ปัญหาวิ่งวนอยู่ในตุ่ม เป็นอาหารของเต่าอย่างเรา 
            ลองอ่านความคิดกวนๆ ดูสิครับ แต่เข้าใจอยากสักหน่อย(มากๆ สำหรับบางท่าน) และใครมีความเห็นอย่างไรก็  
POST ต่อได้เลย ผมก็จะได้อ่านศึกษาไปด้วย แต่ไม่ขอทะเราะและชวนใครทะเราะด้วย  
เพราะเป็นเพียงความคิดเห็นเท่านั้นเอง 
ยกเรื่อง         ธาตุ ๖ อย่าง 
                ๑. ปฐวีธาตุ        [ธาตุดิน] 
                ๒. อาโปธาตุ       [ธาตุน้ำ] 
                ๓. เตโชธาตุ       [ธาตุไฟ] 
                ๔. วาโยธาตุ       [ธาตุลม] 
                ๕. อากาศธาตุ      [ธาตุอากาศ ช่องว่างมีในกาย] 
                ๖. วิญญาณธาตุ      [ธาตุวิญญาณ ความรู้อะไรได้] ฯ 
>>>>> จะเห็นว่าธาตุ ตั้ง แต่ 1 ถึง 5 สมารถแยกจากกันได้ และมาประกอบกันก็ได้ ดังนั้นวิญญาณธาตุก็น่าจะคล้ายกัน  
สามารถแยกออกมาได้ ประกอบอยู่รวมกันได้ <<<<< 
     ยกธรรม      หมวดวิญญาณ ๖ มาประกอบ 
         ๑. จักขุวิญญาณ          [ความรู้สึกอาศัยตา] 
         ๒. โสตวิญญาณ          [ความรู้สึกอาศัยหู] 
         ๓. ฆานวิญญาณ          [ความรู้สึกอาศัยจมูก] 
         ๔. ชิวหาวิญญาณ         [ความรู้สึกอาศัยลิ้น] 
         ๕. กายวิญญาณ          [ความรู้สึกอาศัยกาย] 
         ๖. มโนวิญญาณ          [ความรู้สึกอาศัยใจ] 
****  จักขุวิญญาณ เมื่อเอา คำว่าวิญญาณ ออก จักขุ หรือ ตา ยังมีอีกหรือไม่  เป็นอันว่าดวงตายังมีอยู่  เช่นเดียวกัน หู จมูก  
ลิ้น กาย ย่อมยังมีอยู่  ถ้ากล่าวว่าเป็นธาตุ ก็คือ ธาตุ ดิน น้ำ ลม ไฟ ตั้งอยู่ 
#### เข้าสู่จุดสำคัญ มโนวิญญาณ  เมื่อเอาคำว่า วิญญาณออก จะเหลือ มโน(ใจ) ยังอยู่ได้หรือไม่ 
ปัญหา คำว่า มโน ถ้าบอกว่า มโน คือ หัวใจวัตถุ  ถ้าเป็นอย่างนั้น ต้องขัดแย้งกับวิทยาศาสตร์ปัจจุบัน  
เพราะตัวรับความรู้สึกคือสมอง และเส้นประสาท ไม่ว่าจะเป็นหัวใจหรือสอง ถ้าเป็นอย่างที่กล่าวมา  มโน หรือ ใจ  
ก็คือธาตุดิน น้ำ ลม ไฟ นะสี ถ้าเป็นอย่างนี้ ไม่ต้องศึกษา หรือนับถือ ศาสนาแล้ว เพราะตายแล้วสูญ และเวลาเกิดมันก็เกิดเอง  
ตามวัตถุที่พอเหมาะ ไม่ต้องมีการสืบต่อของเหตุและผมทางจิตวิญญาณ   ดังนั้นการบังเกิดมีพระพุทธเจ้า พระธรรม  
และพระสงฆ์ ก็ไม่มีความจำเป็นแล้วสี ! เพราะเมื่อตายไปก็จบกัน แต่พระพุทธเจ้าทรงตรัสรู้ หรือมีปัญญาเห็น มากกว่า ธาตุ  
ทั้ง 4 เพิ่มมาอีก 2 ธาตุ  อากาศธาตุ(ช่องว่าง ไม่ใช่อากาศที่เราหายใจ)  วิญญาณธาตุ และเพิ่มอีกธาตุหนึ่งที่วิเศษสุด คือ  
พระนิพพาน ดังที่ยกมา เรื่อง ธาตุ 6 ดังนั้น มโนวิญญาณ เมื่อ เอาคำว่า วิญญาณ ออก เหลื่อแต่ มโน ตัวเดียว น่าจะเป็น  
วิญญาณธาตุ  ผมขอยกกฎไตรลักษณ์ ขึ้นมาก่อนนะ ตามที่พระพุทธองค์ทรงตรัสไว้ ก็คือ ทุกสัพพะสิ่ง  เป็น ทุกขัง อนิจจัง  
อนัตตา ผมกลัวจะเข้าใจผิดว่า ธาตุต้องเป็นของ เที่ยง  เดียวจะเข้าใจผิดกันใหญ่  ถ้าเป็นตามที่อธิบาย มโน หรือ วิญญาณธาตุ  
ย่อมอยู่โดดเดี่ยวได้ชั่วคลาวแล้วถูกปรุงแต่งตามธรรมชาติที่ถูกปรุงแต่งได้  เหมือนกับ  หู ตา จมูก ลิ้น กาย ที่เป็นธาตุทั้ง 4  
แต่เป็นไตรลักษณ์  อาหารของเต่าอย่างผมกำลังบังเกิดแล้ว เพราะดันไปไม่ค่อยจะลงรอยกับ เรื่องจิต และเจตสิก  
เพราเมื่อมีจิตก็ต้องมีเจตสิก เกิดพร้อมกันและแยกจากกันไม่ได้  ตามที่ผมเรียนมาใน อภิธัมมัตถสังคหะ  
กลายเป็นว่าผมเข้าใจว่า จิตกับเจตสิกเกิดไม่พร้อมกันเสียแล้ว จิตเกิดก่อน เจตสิกเกิดตามที่หลัง  
ซึ่งอาจห่างกันเพียงนิดของนิดๆๆๆ เดียว เช่นเดียวกันกับที่ผมเข้าใจ ปฏิจสมุทปบาท  
ทะยอยกันเป็นปัจจัยกันไปหาได้พร้อมกันที่เดียว จากอวิชชาเป็นปัจจัยจึงมีสังขาร แล้วต่อไปเรื่อยเป็นวัฏจักรไม่สิ้นสุด  
เอาแล้วผมจะเอาความเข้าใจของเต่าอธิบายต่อ 
   ยกธรรม     อินทรีย์ ๕ อย่าง มาประกอบ 
      ๑. จักขุนทรีย์              [อินทรีย์คือตา] 
      ๒. โสตินทรีย์              [อินทรีย์คือหู] 
      ๓. ฆานินทรีย์              [อินทรีย์คือจมูก] 
      ๔. ชิวหินทรีย์              [อินทรีย์คือลิ้น] 
      ๕. กายินทรีย์              [อินทรีย์คือกาย] 
>>>>จะเห็นอินทรีย์ ทั้ง 5 หมวดนี้ ประกอบด้วยธาตุทั้ง 4 ดิน น้ำ ไฟ และ ลม <<<<< 
ยกธรรม      อินทรีย์ ๓ อย่าง 
            ๑. อนัญญตัญญัสสามีตินทรีย์    [อินทรีย์ที่เกิดแก่ผู้ปฏิบัติด้วยคิดว่าเรา 
                      จักรู้ธรรมที่เรายังไม่รู้] 
            ๒. อัญญินทรีย์             [อินทรีย์คือความตรัสรู้] 
            ๓. อัญญาตาวินทรีย์         [อินทรีย์คือความรู้ทั่วถึง] ฯ 
>>>> อินทรีย์ 3 นี้ มีวิญญาณธาตุ หรือ มโน มาเกี่ยวข้องแล้ว <<<<< 
ยกธรรม       อินทรีย์อีก ๕ อย่าง 
      ๑. สุขุนทรีย์               [อินทรีย์คือสุข] 
      ๒. ทุกขินทรีย์              [อินทรีย์คือทุกข์] 
      ๓. โสมนัสสินทรีย์           [อินทรีย์คือโสมนัส] 
      ๔. โทมนัสสินทรีย์           [อินทรีย์คือโทมนัส] 
      ๕. อุเปกขินทรีย์            [อินทรีย์คืออุเบกขา] 
ยกธรรม       อินทรีย์อีก ๕ อย่าง 
      ๑. สัทธินทรีย์              [อินทรีย์คือศรัทธา] 
      ๒. วิริยินทรีย์              [อินทรีย์คือวิริยะ] 
      ๓. สตินทรีย์               [อินทรีย์คือสติ] 
      ๔. สมาธินทรีย์             [อินทรีย์คือสมาธิ] 
      ๕. ปัญญินทรีย์              [อินทรีย์คือปัญญา] 
>>>> อินทรีย์เหล่านี้ ตามความหมายของผม ต้องมี วิญญาณธาตุ หรือ มโน ประกอบอยู่ <<<<< 
สรุป  1. ตามความเห็นของเต่าอย่างผมเป็นดังนี้ 
        วิญญาณธาตุ สามารถตั้งอยู่ได้ชั่วขณะหนึ่งแล้วถูกปรุงแต่ง และก็เป็นไปตามกฏไตรลักษณ์ 
         นิพพานธาตุ เป็นธาตุพิเศษไม่มีอะไรปรุงแต่ง ว่างอย่างยิ่ง เป็นอนัตตา (อยู่ในกฏไตรลักษณ์ ในส่วนอนัตตา  
เพราะถ้า เป็นทุกขัง ต้องมีสิ่งสมมุติขึ้นมาว่าตั้งอยู่ไม่ได้หรือทนอยู่ไม่ได้  ถ้าเป็น อนิจจัง ก็ต้องสมมุติสิ่งขึ้นมาว่า  
ต้องเปลี่ยนแปลง  แต่ถ้ากล่าวว่าอนัตตา ไม่มีสิ่งที่สมมุติอีกเลย) 

สรุป 2.  เรื่องนิโรธสมาบัติ ที่มีปัญหากันอยู่  ตามความเห็นของเต่าอย่างผม 
       ทำไม่ในพระสูตร พระพุทธองค์ ไม่ทรงพยากรณ์ไปว่า นิโรธสมาบัติ นั้นจิตดับ แต่ทรงตรัสว่า  
สัญญาและเวทนาย่อมดับไป  แล้วทรงเปรียบว่า เหมือน เปลวไฟที่ถูกแรงลมแล้วดับไป  ไม่มีกำหนดหมาย  
ไปคล้ายกับความหมายของนิพพาน ผมตั้งข้อสังเกตไว้อย่างนี้ คำว่าจิตดับ เราจะประมาณไว้ที่ตรงไหน  
ซึ่งผิดพลาดได้ เช่นประมาณไว้ เป็นข้อๆ คือ 
            1. หมดความรู้สึก 
            2. หมดความรู้สึกอย่างสิ้นเชิง 
        ถ้าหมายอย่างนั้น จึงมีปัญหาอีกมาก เช่น 
     ถ้ากล่าวว่า หมดความรู้สึก  คนหลับสนิท ก็รู้เข้าใจว่าตัวเองก็หมดความรู้สึกเหมือนกัน และคนที่เข้าอัปปะนาสมาธิ  
ก็หมดความรู้สึกคล้ายกัน อย่างนั้นก็อาจจะกลายเป็นการเข้าใจผิดได้ง่าย 
    ถ้ากล่าวว่า  หมดความรู้สึกอย่างสิ้นเชิง  คนที่โดนตีหรือโดยทำร้ายจนสลบมืด  
ก็เข้าใจว่าตนเองก็หมดความรู้สึกอย่างสิ้นเชิงเหมือนกัน และปัจจุบันที่ร้ายยิ่งกว่านั้นในยุคปัจจุบัน  
แพทย์ที่วางยาสลบให้ผู้ป่วย ผ่าตัดเปลี่ยนหัวใจ ผู้ป่วยย่อมหมดความรู้สึกอย่างสิ้นเชิงเหมือนกัน  
อย่างนั้นอาจจะเป็นการเข้าใจผิดได้ง่าย 
   การเข้านิโรธสมาบัตินั้นหาใช่นิพพานอย่างสมบูรณ์ไม่ ดังนั้นจะกล่าวจิตไม่มี จิตดับสิ้น ย่อมมีความคลุมเครือ  
ถ้ามีคนแย้งว่า จิตยังไม่ดับ แต่หยุดนิ่งไปตลอดเรียกว่ามันค้างอยู่ขณะที่ สัญญาเวทนาดับไปก่อน และเมื่อดับและเกิดใหม่  
ก็จะค้างอยู่ในลักษณะนั้น หรืออาจกล่าวว่า จิตเกิดดับๆ ตลอด แต่สัญญาและเวทนาที่ดับไปแล้วยังไม่บังเกิดขึ้น  
ในจิตที่เกิดดับต่อไป จนกว่าจะออกจากนิโรธสมาบัติ หรืออาจกล่าวว่า วิญญาณธาตุ หรือ มโน บริสุทธิ์ ไม่ถูกปรุงแต่ง  
เพราะสัญญาและ เวทนาดับไปแล้ว (ไม่สวายอารมณ์)  เป็นจิตเดิมแท้ เกิดดับอยู่อย่างนั้นรับรสพระนิพพานอยู่เต็มที่  
จนกว่าออกจากนิโรธสมาบัติ สัญญาและเวทนา เกิดและดับต่อไปตามปกติ  
    จะเห็นว่าถ้าพระองค์ทรงพยากรณ์ไปว่า ในนิโรธสมาบัติ  จิตดับตรงๆ  ปัญหาจะเกิดขึ้นตามที่ผม  
วิจิกิจสา(สงสัยลังเล) ดังข้างบน แต่พระองค์ทรงพยากรณ์เป็นลำดับอย่างนี้ 
                อนุปุพพวิหาร ๙ อย่าง 
      ๑. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม สงัดจาก 
อกุศลธรรม บรรลุปฐมฌาน มีวิตก มีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่ ฯ 
      ๒. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ บรรลุทุติยฌาน มี 
ความผ่องใสแห่งจิตใจในภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้นเพราะวิตกวิจารสงบระงับ 
ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่สมาธิอยู่ ฯ 
      ๓. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ มีอุเบกขามีสติ มี 
สัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยนามกาย เพราะปีติสิ้นไป บรรลุตติยฌานที่พระอริยะ 
ทั้งหลายสรรเสริญว่า ผู้ได้ฌานนี้เป็นผู้มีอุเบกขามีสติอยู่เป็นสุขดังนี้ ฯ 
      ๔. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ บรรลุจตุตถฌานไม่ 
มีทุกข์ไม่มีสุข เพราะละสุขละทุกข์ และดับโสมนัสโทมนัสก่อนๆ ได้ มี 
อุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่ ฯ 
      ๕. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เพราะล่วงเสียซึ่งรูป 
สัญญาโดยประการทั้งปวง เพราะปฏิฆสัญญาดับไปเพราะไม่ใส่ใจซึ่งนานัตตสัญญา 
เข้าถึงอากาสานัญจายตนะด้วยมนสิการว่า อากาศหาที่สุดมิได้ ดังนี้อยู่ ฯ 
      ๖. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เพราะล่วงเสียซึ่ง 
อากาสานัญจายตนะโดยประการทั้งปวง แล้วเข้าถึงวิญญาณัญจายตนะด้วยมนสิการ 
ว่า วิญญาณหาที่สุดมิได้ ดังนี้อยู่ ฯ 
      ๗. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เพราะล่วงเสียซึ่ง 
วิญญาณัญจายตนะโดยประการทั้งปวง แล้วเข้าถึงอากิญจัญญายตนะด้วยมนสิการ 
ว่า ไม่มีอะไร ดังนี้อยู่ ฯ 
      ๘. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เพราะล่วงซึ่งอากิญ- 
จัญญายตนะโดยประการทั้งปวง แล้วเข้าถึงเนวสัญญานาสัญญายตนะอยู่ ฯ 
      ๙. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เพราะล่วงเสียซึ่ง 
เนวสัญญานาสัญญายตนะโดยประการทั้งปวง แล้วเข้าถึงสัญญาเวทยิตนิโรธอยู่ ฯ 

               อนุปุพพนิโรธ ๙ อย่าง 
      ๑. กามสัญญาของท่านผู้เข้าปฐมฌานย่อมดับไป 
      ๒. วิตกวิจารของท่านผู้เข้าทุติยฌานย่อมดับไป 
      ๓. ปีติของท่านผู้เข้าตติยฌานย่อมดับไป 
      ๔. ลมอัสสาสะและปัสสาสะของท่านผู้เข้าจตุตถฌาน ย่อมดับไป 
      ๕. รูปสัญญาของท่านผู้เข้าอากาสานัญจายตนะสมาบัติ ย่อมดับไป 
      ๖. อากาสานัญจายตนสัญญาของท่านผู้เข้าวิญญาณัญจายตนสมาบัติย่อม 
ดับไป 
      ๗. วิญญาณัญจายตนสัญญาของท่านผู้เข้าอากิญจัญญายตนสมาบัติย่อมดับไป 
      ๘. อากิญจัญญายตนสัญญาของท่านผู้เข้าเนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ 
ย่อมดับไป 
      ๙. สัญญาและเวทนาของท่านผู้เข้าสัญญาเวทยิตนิโรธย่อมดับไป ฯ 
และเมื่อทรงตรัสต่อไปว่า  เหมือน เปลวไฟที่ถูกแรงลมแล้วดับไป  ไม่มีกำหนดหมาย 
>>>>>>ทำให้ ความสงสัยรังเลของ เต่าอย่างผม ย่อมคลายไปเป็นส่วนมาก ไม่หลงไปในอัปปะนาสมาธิ ของ ฌาน เบื้องต่ำ  
ว่าจิตดับ <<<<<< 
หมายเหตุ ผมหาได้กล่าวว่า ผู้ที่อธิบายในอภิธัมมัตถสังคหะ ว่านิโรธสมาบัติ นั้น จิตและเจตสิก ดับตลอดนั้นว่า  
อธิบายผิดนะครับ  เพราะผมยังอ่านและศึกษาอยู่  และเอามาวิเคราะห์ เพื่อให้เกิดความเข้าใจในส่วนตัวของผม  
แต่ถ้ากล่าวตามตรรก ของความคิด ย่อมลงที่จิตดับเป็นที่สุด (น่ากลัวมาก เพราะบางครั้งผู้ที่ได้สมาบัติของฌานเบื้องต่ำกว่า  
เข้าใจผิดว่าจิตเขาดับไปก็มี)  เมื่อไหรปัญญายังไม่เกิดถึงตรงนั้น  
และแม้จะได้รับรสของสมาบัติของฌานเบื้องต่ำมาแล้วก็ตามที  ก็ยังมีโอกาศเข้าใจผิด ในเรื่องนิโรธสมาบัติอยู่ได้วันยังค่ำ 
 
 

 จากคุณ : Vicha [ 9 พ.ย. 2543 / 19:50:38 น. ]  
     [ IP Address : 203.151.36.3 ] 
 
 
 ความคิดเห็นที่ 1 : (หนูหนุ่มหนวด) 
ไม่มีความเห็นใดๆ ครับ 
แต่ขอแก้คำผิด 
ทะเราะ => ทะเลาะ
 จากคุณ : หนูหนุ่มหนวด [ 10 พ.ย. 2543 / 14:25:26 น. ]  
     [ IP Address : 203.146.85.97 ] 
 
 
 ความคิดเห็นที่ 2 : (สุภะ) 
ผมมีข้อสังเกตบางประการ(ที่ต้องใช้คำว่าข้อสังเกตก็เพราะว่าผมก็ไม่รู้จริงเหมือนกัน) 
ถือว่าเป็นการคุยกันตาม"ความคิด"ไม่ใช่"ข้อเท็จจริง"นะครับ 

ประการแรก จิตเป็นอรูปธรรม จิตหมายถึงรู้อารมณ์ จิตปรากฏให้เรารู้ตาม "หน้าที่" 
ไม่ใช่"ตำแหน่ง" เช่นเวลาผมโกรธ ผมจะพูดว่า "ผมโกรธ" ขณะนั้นมีแต่"โกรธ" 
เท่านั้นที่ปรากฏไม่มีสัตว์ บุคคล ตัวตน ผมคงจะไม่พูดว่า 
"ผมมีความโกรธ" แต่ในจิตสำนึกผม ผมมักจะคิดว่ามี ผม + โกรธ ซึ่งเป็น 
จิตสำนึกที่ผิด เพราะเป็นการผูกเอาตัวเอง เข้ากับปรากฏการณ์ทางจิต 
ในรูปแบบความคิด  

ถ้าเราตัดเอาเรื่องความคิดออกไป  
การที่จิตไม่ทำหน้าที่จะหมายถึงว่า"มีจิตหรือไม่"นี่คือข้อสังเกตประการแรก 

ประการที่สอง "การรับรู้"ปราฏการณ์ทางจิต อาจเกิดขึ้นได้โดยไม่รู้สำนึกก็ได้ 
เช่นจิตไร้สำนึกต่างๆ การสลบ การหลับสนิด เราไม่สำนึกถึงมัน แต่ก็ไม่ได้ 
หมายความว่า "ไม่มีจิตอยู่" ขณะหลับสนิดเราอาจฝันอะไรต่างๆมากมาย 
โดยที่พอเราตื่นขึ้นมา เราไม่รู้สำนึกถึงเรื่องที่เราฝันเลยก็ได้ เราอาจคิดว่า 
เราหลับสนิทโดยไม่ฝันเลย  
การไม่รู้สำนึก จึงไม่ใช่หมายความว่าจิตไม่ทำงาน

 จากคุณ : สุภะ [ 10 พ.ย. 2543 / 15:50:48 น. ]  
     [ IP Address : 203.151.212.1 ] 
 
 
 ความคิดเห็นที่ 3 : (listener) 
ผมเข้าใจว่า จิต ใช้ได้ในความหมาย 2 อย่าง 
อย่าง หนึ่ง ในความหมายของ วิญญาณ ขันธ์ 
อีกอย่างหนึ่ง ในความหมายของ มโนธาคุ มโนอายตนะ 

เมื่อ มีการสัมผัส มโนธาตุ กระทบกับ ธรรมารมณ์ เกิด มโนวิญญาณ 
ใน ขณะนิโรธสมาบัติ ไม่มีการสัมผัส  มโนวิญญาณ ไม่เกิด แต่ มโนธาตุ มีอยู่ 

จิตในความหมายหนึ่งไม่เกิด แต่จิตในความหมายหนึ่งมีอยู่

 จากคุณ : listener [ 14 พ.ย. 2543 / 13:49:50 น. ]  
     [ IP Address : 202.183.197.9 ] 
 
 
 ความคิดเห็นที่ 4 : (หนู) 
มาช่วยแก้คำผิดให้อีกคำค่ะ  

โอกาศ = โอกาส

 จากคุณ : หนู [ 21 พ.ย. 2543 / 14:26:45 น. ]  
     [ IP Address : 203.147.52.226 ] 
 

จบกระทู้บริบูรณ์

 กลับหน้าแรก