นักกรรมฐานเมื่อนอนไม่หลับจะทำอย่างไร                                                                             กลับหน้าแรก 
 
 
 
 เนื้อความ : 
นักกรรมฐานนอนไม่หลับจะทำอย่างไร 
         สำหรับ นักกรรมฐาน ถ้าฝึกสติมาก หรือมีอารมณ์ปีติตื่นเต้น หรืออารมณ์ฟุ้งซ่าน เมื่อถึงเวลานอนนอนไม่หลับ  
ทั้งที่ร่างกายต้องการพักผ่อน และใจก็ยากจะนอนให้หลับ  จะทำอย่างไรหรือมีอุบายอย่างไร  
(ขอที่ทำมาแล้วและได้ผลไม่ได้คิดเอา)
 จากคุณ : Vicha [ 5 ก.ย. 2543 / 21:22:37 น. ]  
     [ IP Address : 203.151.36.3 ] 
 
 
 ความคิดเห็นที่ 1 : (พีทีคุง) 
เมื่อขณะภาวนา และจิตประกอบไปด้วยสติ สัมปชัญญะ จิตตื่นรู้ รวมอยู่ 
ก็ให้น้อมรู้(นมสิการ)จิตไปที่กาย 
จิตที่ตั้งมั่น รวมรู้อยู่นั้น เมื่อไปหลายรู้กาย 
หากจิตเห็นว่าที่แท้เป็นที่จิตซึมเซา ปัญญาจะเข้าไปตัดจิตก็เบิกบานขึ้นเป็นปกติ 
หากจิตเห็นว่าจิตเพลีย เพราะผลจากที่จิตได้ผ่านการอบรมด้วยวิปัสสนามานาน 
ก็ให้จิตพักลงที่สถมะ ตามกำลังสมาธินั้นๆ 
หากจิตเห็นว่ากายเพลีย ก็พักผ่อนไปตามความเหมาะสมของกาย 

สรุป รวมความลงที่ว่า เมื่อยังมีกำลังจิตรวมรู้ จิตว่องไวอยู่ 
ก็ใช้ให้จิตนั้นพิจารณาให้จิตเป็นสภาพธรรมที่จิตไปหมายรู้ 
แห่งองค์พระไตรลักษณ์ในอุปาทานขันธ์ในตน  
ตรงนี้ หมั่นพัฒนาธรรมชาติ "รู้" ตัวนี้เรื่อยๆ 
และเมื่อจิตชำนาญขึ้นเรื่อยๆจะเริ่มแยกแยะออกได้ง่ายขึ้นไปตามลำดับครับ

 จากคุณ : พีทีคุง [ 6 ก.ย. 2543 / 01:34:51 น. ]  
     [ IP Address : 202.183.214.201 ] 
 
 
 ความคิดเห็นที่ 2 : (ขอม) 
ถ้ากำลังกำหนดอะไรอยู่ ก็ยกเลิกทั้งหมดหันมากำหนดลงที่อิริยาบท 
ท่านอนเท่านั้น รู้สึกไปที่ แขน ขา ลำตัว ให้ทั่วๆกัน ถ้ามีความรู้สึก  
หรือความคิดอื่นนอกจากนี้เข้ามา  ก็ตัดทิ้งไปทั้งหมด  ตั้งใจแค่ว่า 
จะหลับไปท่านี้ จะตื่นมาท่านี้  เท่านี้ครับ
 จากคุณ : ขอม [ 6 ก.ย. 2543 / 02:31:17 น. ]  
     [ IP Address : 155.198.123.18 ] 
 
 
 ความคิดเห็นที่ 3 : (อนัตตา) 
สำหรับผม เมื่อนอนไม่หลับ จะบอกกับตนเองว่าคืนนี้เป็นคืนที่โชคดีที่สุดคืนหนึ่ง ที่จะมีโอกาสพิจารณาได้มากกว่าปกติ แล้วก็พิจารณาไปดูความไม่เที่ยงแท้ของจิตตนที่เดี๋ยวหลับง่ายเดี๋ยวหลับยาก ดูความอนัตตาของจิตที่ไม่เป็นไปตามต้องการ อยากหลับก็ไม่หลับ ดูความทุกข์ที่เกิดจากการนอนไม่หลับ ดูว่าทุกข์เพราะอะไร ใครทุกข์ เรากำลังยึดว่าเราต้องหลับใช่ไม๊ หรือพิจารณาอื่นๆตามที่เคยปฏิบัติมา ทำอย่างนี้ไปเรื่อยๆโดยไม่สนใจว่าจะหลับหรือไม่หลับครับ
 จากคุณ : อนัตตา [ 6 ก.ย. 2543 / 08:16:08 น. ]  
     [ IP Address : 203.151.2.159 ] 
 
 
 ความคิดเห็นที่ 4 : (tchurit) 
ปิติที่เกิดจากการภาวนา เป็นความสุขที่หยาบอยู่ 
เมื่อเกิดย่อมมีอาการลิงโลด ตื่นเต้นเป็นธรรมดา 
นอนไม่หลับเพราะปิติเป็นเรื่องธรรมดา  
ถ้านอนไม่หลับก็หาอะไรอย่างอื่นทำๆไป 
อย่าหยุดอยู่แค่ปิติ 
เมื่อปฏิบัติก้าวหน้าขึ้นไปจนรู้เท่าทันปิติ จนปิติหายไปแล้ว อาการตื่นปิติก็หายไปครับ 
ถ้าจะพิจารณาต่อก็พิจารณา"ตัวปิติ"ที่เกิดขึ้นต่อไปได้ก็น่าจะดีครับ
 จากคุณ : tchurit [ 6 ก.ย. 2543 / 08:57:26 น. ]  
     [ IP Address : 203.157.42.217 ] 
 
 
 ความคิดเห็นที่ 5 : (โยคาวจร) 
ผมใช้วิธีที่คุณโจโจ้เคยสอนให้ ได้ผลดีจริงๆ เลยครับ 
โดยการผ่อนคลายส่วนต่างๆ ของร่างกาย 
ไล่มาตั้งแต่ หนังศีรษะ สมอง หน้าผาก คิ้ว จมูก  
ปาก คาง แก้ม คอ มือ แขน ตัว ขา เท้า 
ผมไม่เคยไล่ไปถึงเท้าเลยสักครั้ง หลับไปเสียก่อนทุกที อิอิ 
แต่ละส่วนก็ผ่อนคลายไปจนกว่าจะไม่เกร็งแล้ว 
ค่อยเลื่อนไปส่วนอื่น หรือว่าจะนับ 1-10 ก็ได้ 
มีประโยชน์อีกอย่างหนึ่งคือทำให้เรารับรู้ความรู้สึก 
ที่ละเอียดอ่อนได้ง่ายขึ้น ลองนำไปใช้ดูนะครับ : )
 จากคุณ : โยคาวจร [ 6 ก.ย. 2543 / 09:29:18 น. ]  
     [ IP Address : 207.48.64.70 ] 
 
 
 ความคิดเห็นที่ 6 : (ประสงค์ มีนบุรี) 
นอนไม่หลับเพราะการฝึกสติมาก  
หรือมีอารมณ์ปีติตื่นเต้น หรืออารมณ์ฟุ้งซ่าน 
เป็นลักษณะการทำงานของความตรึกตรอง(วิตก) 

ไม่ทราบว่าคุณ Vicha  ตรึกตรองถึงอะไร 
การตรึกตรองถึงอะไรมาก ๆ  
พระพุทธองค์กล่าวว่าทำให้เหนื่อย 
เมื่อเราตรึกตรองอยู่นาน 
เกินไป ร่างกายก็เหน็ดเหนื่อย  
เมื่อร่างกายเหน็ดเหนื่อย จิตก็ฟุ้งซ่าน 
จากพระไตรปิฏกเล่มที่12ข้อที่252  

นอนไม่หลับ  
เพราะฝึกสติมาก  แล้วจิตฟุ้งซ่านนี่แย่หน่อย 
ลองค้นหาสาเหตุให้ดี ๆ 

บางครั้งผมก็เป็นเหมือนกัน 
ทั้งนี้เพราะผม  พยายามให้มีสติมาก ๆ 
เมื่อมีสติมาก ก็ทำให้ไม่หลับ 
เมื่อไม่หลับ แล้วขาดสติ จิตก็ฟุ้งซ่าน 
ยิ่งฟุ้งซ่านมาก  ก็ยิ่งนอนไม่หลับ 
เมื่อนอนไม่หลับผมก็ตั้งใจฝึกสติรอบใหม่ 
โดยนอนเหยีอดตัวตรง 
แล้วยืดขาถึงปลายเท้าออก 
และออกกำลังเกร็งที่ขาถึงปลายเท้า 
โดยกำหนดสติตามรู้ไปทั่วร่างกาย 
เหมือนที่คุณ  ขอม แนะนำ 
แล้วปล่อยสบาย ๆ  
ถ้าสติจะเกิดก็ปล่อยให้เกิด 
แต่อย่าได้มีความจงใจที่จะรักษาสติไว้ 
ถ้าสติไม่เกิดก็ไม่มีความจงใจที่จะให้สติเกิด 
ยกเลิก(ปล่อย)จิตใจสบาย ๆ  
เมื่อจะหลับก็ปล่อยให้หลับไม่ต้องฝืน 
ขอให้นอนหลับครั้งต่อ ๆ ไป 
หลับลงโดยสบาย ๆ นะครับ 
 

 จากคุณ : ประสงค์ มีนบุรี [ 6 ก.ย. 2543 / 09:37:27 น. ]  
     [ IP Address : 203.147.6.37 ] 
 
 
 ความคิดเห็นที่ 7 : (หนู40) 
ก่อนอื่นขอให้เข้าใจก่อนว่า ในขณะที่เราหลับนั้น แม้กายจะหลับแต่จิตเราตื่นอยู่ตลอดเวลา บางคนใช้จิตขณะหลับไปในการฝัน บางคนฝันแต่จำไม่ได้เลยนึกว่าไม่ได้ฝัน น้อยคนนักที่จะทำให้จิตหลับได้จริงๆเช่นใน ฌาน 

ดังนั้นหากนอนไม่หลับ เพราะจิตตื่นอยู่ตลอดเวลานั้น ถือว่าเป็นเรื่องธรรมดา แต่เราต้องหาทางทำให้กายได้พักผ่อนบ้าง จะได้มีแรงทำอะไรต่อไปในวันรุ่งขึ้น 

ปล่อยกายตามสบายซิครับ กำหนดจิตอยู่ที่จิต ให้ตามรู้ที่จิตเอง โดยไม่ต้องพะวงกับกายว่าเขาหลับอยู่หรือเป็นเช่นไร ถ้ายังพะวงถึงกายอีกจะทำให้เรื่องที่จิตคิดอยู่ไปส่งผลถึงกายได้ ทำให้กายไม่ได้พักผ่อนกัยเสียที 

กำกับจิต ตามรู้ที่จิตเอง

 จากคุณ : หนู40 [ 6 ก.ย. 2543 / 11:42:38 น. ]  
     [ IP Address : 202.183.248.235 ] 
 
 
 ความคิดเห็นที่ 8 : (ขาโจ๋) 
นี่แหละนักปฏิบัติทั้งนั้นเลย   คุณที่ถามมาก็เลือกเอาไปใช้ได้เลย   ผมว่าคุณถามแปลก ๆ   นะ     อาการอย่างนี้น่าจะเป็นสมาธิค้าง   อารมณ์ของสมาธิมันทรงตัวอยู่    แต่กิเลสมันจะให้คุณนอนละมั้ง     ถ้าปิติจากสมาธิก็ดีนะซิ       แล้วอารมณ์ฟุ้งซ่านมันเกิดขึ้นได้อย่างไร   ถ้าฟุ้งซ่านก็แสดงว่าไม่มีสมาธิ   หรือว่าการปฏิบัติคนละขั้นตอน     ถ้าคนละขั้นตอนก็เป็นไปได้      ถ้าเป็นขั้นตอนเดียวกันมันจะคล้ายเคลิ้มไป   น่าจะเป็นว่าสติของคุณยังมีกำลังไม่พอหรือที่เรียกว่ากำลังของจิตไม่พอที่จะทรงสมาธิไว้ได้     การเพ่งอยู่ในอารมณ์ใดอารมณ์หนึ่งนั้นเป็นการฝึกกำลังของสติที่ดี    เวลาพักจากวิปํสนาญาณก็ต้องมาเพ่งบ้างเพื่อสร้างกำลังของจิต   เพราะวิปัสนาญาณการใครครวญนั้นใช้พลังจิตมาก   เมื่อใช้มากเกินกำลังคุณก็คุมไม่อยู่     มันก็เกิดอาการ  แฮ้ง....OVER    เวลาที่เราอยู่ในวิปัสนาญาณ   อารมณ์ใจมันโปร่งเบาและเป็นสุข    เพลินมากไปก็เลยลืมสะสมกำลัง   มันต้องควบคู่ทั้งสองอย่าง   สลับกันไปสลับกันมา     ลองไปพิจจารณาดูอาจจะเป็นประโยชน์อยู่บ้างส่วนอุบายในการแก้ก็อยู่ในข้อความข้างบนที่ท่านผู้รู้ส่งมาให้นั้นแหละครับ        ผมว่าถ้าคุณปฏิบัติถึงขั้นนี้คุณนั้นไม่เบาทีเดียว   ขอยกย่องและชมด้วยความจริงใจ
 จากคุณ : ขาโจ๋ [ 6 ก.ย. 2543 / 11:49:59 น. ]  
     [ IP Address : 202.183.179.211 ] 
 
 
 ความคิดเห็นที่ 9 : (ว่างๆ) 
1.หยุดฝึกสติชั่วคราว 
2.หาอะไรทำ ที่ใช้เวลาไม่มากแต่ทำให้เราเหนื่อยเร็ว และระวังไม่ไห้สุขภาพแย่ลง 
   เช่นวิ่งเร็วๆ จนเราเหนื่อย เพลีย แต่ต้องระวังไม่ให้เกิดผลเสียต่อร่างกาย
 จากคุณ : ว่างๆ [ 6 ก.ย. 2543 / 16:58:32 น. ]  
     [ IP Address : 203.151.60.31 ] 
 
 
 ความคิดเห็นที่ 10 : (ธีร์) 
เคยเป็นนะครับ..ที่ผมเป็นเพราะว่าการได้รู้ธรรมบางหัวขัอน่ะครับ.มันเป็นปิติทีเกิดขึ้นหลังจากการออกจากสมาธิขณะนั้นน่ะ ครับ.มันดีใจจนแทบตะโกนออกมาเป็นเสียงดังๆเลยครับ..เป็นเหตุทำให้ทำความเพียรอย่างหามเอาเป็นเอาตาย..เมื่อผ่านมาแล้ว..ปัญญาตามทันแล้วก็หมดกันเลยนะครับ..จิตก็เป็นปกติเหมือนเดิมครับ..
 จากคุณ : ธีร์ [ 6 ก.ย. 2543 / 17:36:45 น. ]  
     [ IP Address : 203.148.254.110 ] 
 
 
 ความคิดเห็นที่ 11 : (Vicha) 
ทุกท่านก็อธิบายประสบการณ์ ที่มีประโยชน์กับผู้ที่นอนไม่หลับได้อย่างดีทีเดียว  
ผมจะอธิบายการพัฒนาการการนอนของผม 
  เมื่ออยู่ชั้นป.6-7 เมื่อจะวันสอบก็จะนอนไม่คอยหลับทั้งที่เตรียมตัวพร้อมแล้ว  
มันเตื่อนตัวอยู่ตลอดซึ่งไม่เกิดผลดีเลย 
  เมื่ออยู่ชั้น ม.1 ถึงมหาวิทยาลัย เมื่อถึงเวลานอนแล้วนอนไม่หลับไม่คอยปรากฏเลย  
เพราะผมนอนผ่อนร่างกายให้สบายๆ แล้วกำหนดลมหายใจเข้าออก พุท - โธแบบสบายๆ  
ไม่เคร่งเคลียด หรับและไม่คอยฝันเสียด้วย 
   เมื่อผมเข้ากำหนดกรรมฐานตามแนว ยุบหนอ พองหนอ กำหนดสติอย่างละเอียด  
ก็จะหลับพักผ่อนน้อยลง ถ้าอยู่ในช่วงเข้าอบรมณ์กรรมฐาน นับว่าเป็นเป็นประโยชน์มากที่เดียว 
แต่เมื่อออกจากกรรมฐาน มาทำงานตามหน้าที่ แต่ยังกำหนดสติอยู่ทุกเวลา  
นี้และปัญหาหนักก็จะเกิดขึ้น คือนอนน้อย ทำงานในวันต่อไปก็จะไม่มีคุณภาพออ่นเพียร  
ผมจึงใช่วิธีนี้ คือนอนสบายๆ ภาวนาแผ่เมตตาให้กับตัวเอง อะหังสุขิโตโหมิ จนสบาย  
แล้วแผ่เมตตาให้ผู้อื่น สัพเพสัตว์ตา สุขิตา โหนตุ ไปเรื่อยๆ  
ไม่นานก็ตกลงภวังค์หลับสนิทไปเองรวดเดียวเลย 4-5 ชั่วโมง แล้วตื่นขึ้นมาอีกครั้ง  
ก็กำหนดต่อก็หลัยสนิทไปอีกจนเช้า หรือไม่กำหนดต่อปล่อยให้มันหลับไปเองจนสว่าง  
    เมื่อเข้ามาสนทนาในลานเสวนาธรรมใหม่ๆ จิตมันปรุงแต่งมาก บ้างครั้งก็ฟุ้ง  
เมตตาเริ่มเอาไม่อยู่เสียแล้ว ผมจึงใช่วิธินี้ คือปล่อยใจให้สะบายว่างๆ  
หลับหรือไม่หลับก็ชั่งมันคือไม่ไปยึดถือ ภาวนา เป็นเช่นนั้นเอง ๆ ๆ ไปเรื่อยๆๆ  
ก็จะหลับเองและไม่ฝัน ให้เลอะเทอะ ปัญหาการนอนไม่หลับของผมจึงมีน้อยมาก  
ยกเว้นทำงานติดพันไม่ย่อมนอนเองนั้นเป็นอีกกรณีหนึ่ง
 จากคุณ : Vicha [ 6 ก.ย. 2543 / 21:46:32 น. ]  
     [ IP Address : 203.151.36.3 ] 
 
 
 ความคิดเห็นที่ 12 : (listener) 
ขอบคุณทุกท่านครับ
 จากคุณ : listener [ 6 ก.ย. 2543 / 22:04:43 น. ]  
     [ IP Address : 203.126.110.34 ] 
 
 
 ความคิดเห็นที่ 13 : (สามเณร) 
รัชนู  บุญชูดวง  อดีตดารายอดนิยมก็นอนไม่หลับ  ปัจจุบันไม่รู้เป็นไง 
สามเณรก็เคยนอนไม่หลับ 3 ปี  รู้สึกว่าตอนกลางวันจะอ่อนเพลียไม่มีแรง  จึงฝึกสมาธิตอนนอนไม่หลับ   ทำใจให้สงบให้มากที่สุดเพื่อพักผ่อนให้เพียงพอ  เพื่อตอนกลางวันจะได้ไม่อ่อนเพลียมากนัก  
ภายใน 3 ปี ก็เริ่มดีขึ้น  แต่ก็ยังนอนไม่หลับอยู่ดี  คืนหนึ่งนอนได้ 3-4 ช.ม. จึงเป็นที่มาของการนั่งหลับ  คือนั่งหลับไปเรื่อยๆ  จนกว่าจะง่วงจริงแล้วจึงนอนลงประมาณ ตี 2 ตี3 ก็ยังมี
 จากคุณ : สามเณร [ 13 ก.ย. 2543 / 18:32:22 น. ]  
     [ IP Address : 202.28.159.201 ] 
 
 
 ความคิดเห็นที่ 14 : (weerapong) 
        อาการดังกล่าวเป็นเรื่องธรรมดาสำหรับนักปฏิบัติครับ บางครั้งหรือบ่อยครั้งที่เหมือนหลับแต่จิตตื่นตลอดคืน ในใจคิดว่าตอนเช้าเราต้องงอมแน่เลย แต่พอตื่นขึ้นมากลับสบาย  โดยปกติผมจะเข้าสมาธินอน จะมีขั้นตอนในการนอนหลับที่ค่อนข้างจะหลับได้เร็วคือก่อนนอนจะสวดมนต์ไหว้พระ นั่งสมาธิจนถอนออกมาเอง แล้วไปนอนทำสมาธิต่อ "ทำตัวเหมือนจมลงไปในที่นอนผ่อนคลาย" ทำอาณาปาฯจนสงบ จิตจะเริ่มเบาก็ทรงอารมณ์ไว้ ใช้สติรู้เพียงเบาๆ แล้วก็หลับไปเลย หรือถ้าจะนอนแบบถอดกายทิพย์ออก พอสงบแล้วก็กำหนดเบาๆลอยขึ้นข้างบน พอรู้ตัวอีกทีก็อยู่นอกกายแล้ว ก็จะมองเห็น ตัวเองหรือใครๆที่นอนอยู่ข้างล่าง   ถ้าวันไหนทำงานหนัก เพลียมากก็ใช้วิธีนอนโดยถอดกายออก แม้แต่ถอดออกในช่วงเวลาสั้นๆก็เหมือนกันได้นอนพักทั้งคืนครับ  เวลาเจ็บป่วยการถอดกายออกช่วยได้มาก ไม่ต้องนอนเจ็บพอถอดกายออกมันก็หายเจ็บแล้ว  บางทีตื่นขึ้นมาตัวผมหายไปหมดมีแต่ลมหายใจเป็นท่ออยู่อย่างเดียว ต้องพิจาณาตั้งนานกว่าความรู้สึกว่ามีแขน มีขา มีตัวจะกลับมา หรือบางครั้งก็นอนเห็นวงกลมๆสีเรื่อๆอมเหลืองอมม่วง เคลื่อนที่อยู่ในร่างกายจะเห็นชัดตอนที่มันเคลื่อนที่ผ่านข้อต่อตามหัวเข่า ข้อเท้า ใครทราบว่าเป็นอะไร ช่วยบอกด้วยครับ
 จากคุณ : weerapong [ 19 ก.ย. 2543 / 01:56:43 น. ]  
     [ IP Address : 203.170.158.99 ] 
 
 
 ความคิดเห็นที่ 15 : (ดังตฤณ) 
คนที่ปฏิบัติได้ผลลึกซึ้งอย่างคุณวีรพงษ์นั้นหายาก 
จะดีมากเลยครับถ้าจะเน้นให้คำแนะนำอย่างเป็นขั้นเป็นตอนสำหรับผู้หัดใหม่เป็นหลัก
 จากคุณ : ดังตฤณ [ 19 ก.ย. 2543 / 08:18:10 น. ]  
     [ IP Address : 203.155.247.27 ] 
 
 
 ความคิดเห็นที่ 16 : (weerapong) 
        ครับ ผมพยายามจะเรียบเรียงให้พอเข้าใจกันได้นะครับ แล้วจะ post ลงมาในโอกาสต่อไปครับ
 จากคุณ : weerapong [ 21 ก.ย. 2543 / 06:27:46 น. ]  
     [ IP Address : 202.183.248.235 ] 
 

จบกระทู้บริบูรณ์

 กลับหน้าแรก