มุมมองหลากหลาย จุดหมายเดียวกัน                                                                             กลับหน้าแรก 
 
 
 
 เนื้อความ : 
    มุมมองที่หลากหลาย มุ่งหมายในจุดเดียวกัน 
ต่อไปนี้เป็นมุมมองของกระผมอาจจะถูกหรือผิดขอให้ท่านผู้มีปัญญาและมีความรู้ในธรรมตักเตือนหรือชี้แจงให้กระจ่างด้วยนะครับ 
     มุมมองที่ 1 พระพุทธเจ้า ทรงแสดงให้เห็น เพื่อศรัทธาว่า บาปบุญมีจริง ทำดีได้ดีทำชั่วได้ชั่วจริง  
มุมมองนี้ชาวพุทธย่อมเห็นเหมือนกัน 
     มุมมองที่ 2 ไตรลักษณ์ ได้แก่ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เป็นกฏธรรมชาติ ที่พระพุทธองค์ทรงย่อมรับ  
และสาวกหรือชาวพุทธ ย่อมรับว่าเป็นจริงมองเห็นเหมือนกัน ทั้งสมมุติบัญญัต และปรมัตบัญญัต 
     มุมมองที่ 3 พระพุทธเจ้า ทรงกล่าวถึงอริยสัจ 4 คือ  1.ทุกข์  2.เหตุแห่งทุกข์ 3.ความดับทุกข์ 4.วิธีดับทุกข์  
ชาวพุทธที่เป็นพุทธจริงย่อมเห็นเหมือนกัน 
     มุมมองที่ 4 เป็นมุมมองที่ละเอียดขึ้น ชึ่งคำว่า ทุกข์ เหตุแห่งทุกข์ และความดับทุกข์ ถ้าเป็นผู้ที่ศึกษาธรรม  
มีความเห็นคล้ายกันทั้งหมด อาจจะแตกต่างกันบ้าง แต่เมื่อกล่าวโดยรวมแล้วมีความเข้ากันได้ในที่สุด 
     มุมมองที่ 5 เป็นมุมมองที่หลากหลาย คือ วิธีดับทุกข์ ซึ่งตรงนี้และที่ชาวพุทธบางส่วนกำลังสับสน  
มองกันได้หลากหลาย ทั้งที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสไว้ว่า ทางของมรรค(ทางดับทุกข์อย่างแท้จริง) มีทางเดียวคือ สติปฏาน 4  
คือมีสติ พิจารณากายในกาย มีสติ พิจารณาเวทนาในเวทนา มีสติพิจารณาจิตในจิต มีสติพิจารณาธรรมในธรรม  
จะเห็นผมย่ำว่ามีสติอยู่ข้างหน้า ความจริงแล้ว ละไว้ในฐานที่เข้าใจแล้วก็ได้ เพราะทุกท่านที่ศึกษาธรรม(ทั้งปฏิบัติ ทั้งปริยัต)  
ย่อมรู้อยู่แล้วว่า สติ คือ ระลึก หรือรู้สึกทั่วพร้อม กล่าวรวมคือสติสัมปัญญะ เพราะเมื่อมีสติ  
สัมปัญญะต้องติดตามมาด้วยทุกครั้งไม่มากก็น้อย จึงกล่าวรวมกันว่า สติ อย่างเดียว คราวนี้มาถึงคำว่า พิจารณา  
เมื่อเราละคำว่าสติสัมปัญญะออกไป  พิจารณาตัวนี้ก็จะกลายเป็น ทั้งสติทั้งสัมปัญญะและมีอีกตัวหนึ่งที่พิเศษ  
คือความเห็นแจ้ง(เห็นแจ้งมากแจ้งน้อยก็ขึ้นอยู่กับสภาวะของแต่ละบุคคล  
หรือเรียกว่าแล้วแต่ปัญญาที่สะสมมาของแต่ละบุคคล) ปัญหาตรงนี้และที่ทำให้มองกันได้หลากหลาย  
ว่าตรงใหนเป็นจิตมยปัญญา ตรงใหนเป็นภาวนายมปัญญา ของผู้ปฏิบัติกรรมฐาน  
เพราะจิตมนุษย์นั้นต้องไหวตัวอยู่ตลอดเวลา จึงทำให้เกิดความนึกคิดเป็นธรรมดาของจิต ไม่ว่าจะเป็นปุถุชน พระอริยะ  
หรือพระอรหัน เมื่ออยู่ในภาวปกติจิตต้องไหวตัวตลอดเวลา ถ้ากล่าวในแง่ของอภิธรรมคือเกิดดับอยู่ตลอดเวลา  
เป็นการสืบต่อของจิต ถ้ามีอวิชา การสือต่อนี้ก็ไม่มีสิ้นสุด  
ถ้าอวิชาไม่มีเหลือเมื่อปัจจัยเกื่อหนุนหมด(สังขารแตก(ตาย))จิตดับแล้วจุดิ(ตามอภิธรรม) เข้าสู่นิพพาน  
ผมขอเข้าสู่จุดประสงค์ต่อ คำว่าพิจราณา จึงรวมทั้ง สติสัมปัญญะและความเห็น  
สติสัมปัญญะนั้นทุกท่านในที่นี้สวนมากเข้าใจอยู่แล้ว ความเห็นตรงนี้และเรียกว่าปัญญา แล้วปัญญานี้เห็นอะไร  
ปัญญานี้คือเห็นไตรลักษณ์ จึงกล่าวได้ว่า สติรู้ทันในฐานใดฐาน 1 ของสติปฏาน 4 ในขณะนั้น ปัญญานั้นก็เห็นในขณะนั้น  
และความคิดก็เป็นฐานหนึ่งในสติปฏาน 4 เรียกว่าธรรมมารมณ์  ผมเข้าใจเป็นอย่างนี้  
ผมจำเป็นต้องเอาประสบการณ์ผมมาใส่เพราะไม่รู้จะเอาคำอธิบายมาทำให้เข้าใจได้อย่างไร  
ผมเคยน้อมคิดน้อมนึกสิ่งที่คิดหรือจิตที่ไหวอยู่ ว่าเป็นเช่นนั้นเอง หรือไม่ไช่ตัวตน ด้วยความเป็นหนึ่ง เป็นกลาง สักแต่  
หรือเหมาะสม ด้วยสติที่เป็นปัจจุบัน ความคิดนั้นก็ดับ อารมณ์นั้นก็ดับเปลียนไป อย่างทันที่ทันใด ตัวอย่างเช่น  
ผมกำลังคิดฟุ่งซ่านอยู่หาข้อสรุปไม่ได้ ผมก็เอาสติน้อมเข้าไปในความคิดฟุ่งซ่านนั้นแล้วเห็นว่า ไม่ใช่ตัวตน  
บางครั้งก็ต้องภาวนาว่า เป็นเช่นนั้นเอง หรือไม่ใช่ตัวตน พอเหมาะปับความฟุ่งซ่านนั้นก็จะหายไปทันที หรือเปลียนไปทันที่  
เป็นความสงบ จึงทำให้ผมเข้าใจว่า จิณตมยปัญญาอยู่ตรงใหน และภาวนายมปัญญาอยู่ตรงใหน เพราะผมเห็นบอยๆ  
จึงแจกแจงได้ดังนี้ เมื่อเราน้อมนึกในความคิดนั้นด้วยสติที่เป็นปัจจุบันและทำความเข้าใจไปด้วยว่า ไม่ใช่ตน  
ตรงนี้เป็นจิตมยปัญญา เพราะต้องน้อมนึกอยู่ แต่เมื่อสติปัญญา(เห็นเป็นไตรลักษณ์)เหมาะสม  
อารมณ์สุขหรือทุกข์ที่กำลังดำเนินอยู่ ก็ขาดสบั่นในทันที(ขาดสบั่นนี้ไม่ใช่เพราะอารมณ์ตรงกันข้ามเกิดขึ้น  
ขาดสบั่นเพราะเห็นการเกิดดับในทันที)เข้าสู่ความสงบ ตรงนี้และเรียกว่าเริ่มเข้าสู่ภาวนายมปัญญา  
ดั้งนั้นผู้ปฏิบัติธรรมในแนวทางสติปฏาน 4 ทั้งจิณตมยปัญญา และภาวนายมปัญญา มันก็ถอยไปถอยมาเป็นว่าเล่น  
ไม่ว่าจะเป็น แบบหนอ  แบบพุทโธ แบบอานาปานสติล้วนๆ หรือแบบอื่นๆ ในกรรมฐาน 40 อย่าง  
เมื่อเอาสติกำหดรู้หรือพิจารณาในสติปฏาน 4 คำว่ากำหนดรู้ หรือ พิจารณา ถ้าหมายถึง  
มีสติและมีความเห็นเข้าใจในไตรลักษณ์ ก็เป็นวิปัสสนาแล้วและ แต่จะอยู่ในเขตของจิณตมยปัญญา หรือภาวนายมปัญญา  
อยู่ที่ภาวะที่บังเกิดขึ้น ซึ่งบางท่านอาจจะไม่สนใจตรงนี้เลยก็ได้ แต่เห็นการเกิดดับของอารมณ์หรือจิตใจได้ชัดเจน  
จึงมีคำตรัสของพระพุทธองค์ทำนองว่า  
บุคคลผู้เกิดมาในโลกนี้เพียงวันเดียวมีสติเห็นการเกิดและดับยังประเสริญกว่าบุคคลที่เกิดมาร้อยปีซึ่งไม่เห็นเลย  
คลาวนี้ผมจะแจกแจงที่เราถกเถียงกัน ตามที่ผมเข้าใจดังนี้  1.แบบภาวนา หนอ ถ้าภาวนาหนอนั้น  
หมายถึงมีสติ(และสัมปัญญะ)กับความเห็นแจ้ง(เข้าใจในไตรลักษณ์ขณะนั้นตัวใดตัวหนึ่ง) ก็ถื่อว่าไม่ผิดแนววิปัสสนา  2.  
แบบ พุทโธเมื่อเอาสติมากำหนดรู้สติปฏาน 4 ถ้าการกำหนดรู้  
หมายถึงมีสติ(และสัมปัญญะ)กับความเห็นแจ้ง(เข้าใจในไตรลักษณ์ขณะนั้นตัวใดตัวหนึ่ง) ก็ถื่อว่าไม่ผิดแนววิปัสสนา 3  
แนวอาณาปานสติ แล้วพิจารณาเพิกอัตตาสัญญา หรือ นิจจาสัญญา หรือสุขสัญญา ตามที่ท่านพุทธทาสกล่าว  
ถ้าคำว่าพิจารณาเพิกอัตตา หมายถึงมีสติ(สัมปัญญะ)กับความเห็นแจ้ง(เข้าใจในไตรลักษณ์ขณะขณะนั้นตัวใดตัวหนึ่ง)  
ก็ถือว่าไม่ผิดแนววิปัสสนากรรมฐาน เมื่อผมอธิบายถึงตรงนี้ อาจจะมีบางท่านกล่าวว่า ผมเป็นสหประชาธิปตัยเสียเหลือเกิน  
เมื่อกล่าวถึงไตรลักษณ์ ก็ต้องอธิบายตามที่ผมเข้าใจต่อ ไตรลักษน์ แบ่งเป็น 3 ระดับ คือ 1.เป็นสัญญา 2.เป็นขณะ  
3.เป็นนุปัสสนา แตกได้เป็นดังนี้ 
     1. อนิจาสัญญา ทุกขังสัญญา อนัตตาสัญญา 
     2. อนิจาขณะ  ทุกขณะ อนัตตาขณะ 
     3. อนิจานุปัสสนา ทุกขนุปัสสนา อนัตตานุปัสสนา 
ดังนั้น การดำเนินสติปฏาน 4 ถ้าเป็นการน้อมนึก(กำหนดรู้,ภาวนาในใจ)จากการจำได้หมายรู้ในไตรลักษณ์  
เรียกว่าจิณตมยปัญญา เมื่อการน้อมนึกนั้นบังเกิดความเข้าใจอย่างท่องแท้ปัญญาเกิด  
ก็เห็นการเปียนแปลงทันที่ในขนะนั้น(ยังดำเนินสติสมบูรณ์อยู่) เป็นปัญญาเห็น ใน ข้อ 2 เมื่อปัญญาเห็นท่องแท้ในข้อ 2  
เป็นภาวนายมปัญญา ที่เป็นปรมัต เกิดกับอารมณ์และจิตใจล้วน  
(ผมไม่ขอกล่าวถึงวิปัสสนาญาณเดียวจะสับสนไปใหญ่ความจริงไม่ต้องไปสนใจมันก็ได้เพราะไม่มีผลต่อการเจริญวิปัสสนา  
เพียงแต่ให้เกิดความเข้าใจแนะนำคนอื่นได้ถูกต้องเท่านั้น) ก็จะมีปัญญาเฉียบคม เป็นข้อ 3. 
     ดังนั้น ข้อ 1 ข้อ 2 คนที่มีปัญญาสสมมาอย่างดี สามารถพิจารณาได้เพียงพรวดเดียวแค่อึดใจเดียว 
     ดังนั้น ข้อ 1 ข้อ 2 และข้อ 3. คนที่มีปัญญาสสมมาแก่กล้าแล้ว สมามารถพิจารณาได้เพียงรวดเดียวแค่อึดใจเดียว  
ตามที่ปรากฏในพระไตรปิฏก มีอยู่มากท่าน 
     แต่คนในปัจจุบันนี้ส่วนมาก จากข้อ 1 ไปข้อ 2 ต้องใช้เวลา และขึ้นลง 1 กับ 2 อยู่นาน จึงจะผ่านข้อ 3 ไปได้  
(เป็นความเข้าใจของผมเองอาจจะไม่ถูกต้องก็ได้) 
สิ่งที่ผมบรรยามานี้ก็จะบรรเทาความขัดแย้งไปได้บ้าง แต่ถ้าท่านเห็นว่าผมยังผิดพลาดอยู่มาก  
ก็ให้ถือเสียว่าผมเป็นคนรู้น้อยคนหนึ่งที่อวดฉลาด แต่ถ้าท่านผู้รู้ ผู้มีธรรม ผู้มีปัญญา ต้องการตักเตือน  
หรือแสดงความคิดเห็น ก็ขอกรุณาแสดงออกมาด้วย เพราะผมจะได้ศึกษาและเรียนรู้ไปด้วยพร้อมกัน  
ข้อความทั้งหมดผมเอาความเข้าใจของผม และความจำที่พอมีเขียนขึ้นมาทั้งหมด จึงอาจจะไม่ถูกต้องตามปริยัตอยู่มาก  
ผมต้องขออภัยใน ณ. ที่นี้ด้วย 
     หมายเหตุ จิณตมยปัญญา และภาวนายมปัญญา ในที่กล่าวถึงการทำวิปัสสนา ไม่ได้หมายถึงการทำในเรื่องโลกๆ
 จากคุณ : Vicha [ 13 มิ.ย. 2543 / 20:53:13 น. ]  
     [ IP Address : 203.151.36.22 ] 
 
 
 ความคิดเห็นที่ 1 : (Listener) 
ขอแสดงความนับถือ  คุณ Vicha  ในฐานะผู้ปฎิบัติอย่างจริงจัง และในฐานะผู้เคารพธรรมยิ่งผู้หนึ่ง 
ส่วนการถ่ายทอดธรรม สมบูรณ์ หรือพึงมีข้อถกประการใด ผมขอรอฟังบัณฑิตท่านอื่นครับ
 จากคุณ : Listener [ 13 มิ.ย. 2543 / 21:17:51 น. ]  
     [ IP Address : 203.126.110.34 ] 
 
 
 ความคิดเห็นที่ 2 : (ab) 
ขอบคุณสิ่งที่คุณ Vicha ได้ถ่ายทอดมา เป็นสิ่งที่เราก็สังเกตุตัวเราก็มีอาการลักษณะแบบนี้ รู้ในทำนองนี้เหมือนกัน แต่มีข้อแตกต่าง เราเข้าใจว่าขึ้นอยู่ที่ตัวบุคคลที่จะนำธรรมส่วนไหนมาพิจารณา มากและน้อย ที่ต่างกัน จึงทำให้มีความรอบคอบ และความละเอียดในธรรมที่แตกต่างกันเท่านั้น ซึ่งก็ไม่มีเหตุผลใดๆ ที่ต้องมาขัดแย้งกัน 
ซื่งบางครั้งเราก็ สับสนเป็นบางครั้ง (เอาว่าเป็นส่วนใหญ่ก็แล้วกัน) ระหว่างการมีสติรู้อยู่ก็พิจารณาพบว่า ระหว่าง สัญญา กับปัญญา บางครั้งก็แทบจะแยกไม่ออกเหมือนกัน บางครั้งก็ ยึดเอา สัญญา มาเป็นปัญญา ก็มี หรือแม้กระทั่งสังขาร ก็เคยคิดว่าเป็นปัญญา ก็เคยเป็นเหมือนกัน เรากว่าจะมาถึงจุดนี้ได้ ก็ยอมรับตัวเองโง่มาตั้งหลายปีทีเดียว แต่ก็ไม่ใช่ว่าตัวเองฉลาดแล้ว ถ้าขาด สติ เมื่อไหร่ ความโง่ก็จะฉายออกมาทันทีเหมือนกัน เราก็ติดอยู่แค่นี้ จะทำให้ก้าวหน้ากว่านี้ ก็ไม่มีปัญญาที่จะทำ ซึ่งเราพิจารณาแล้วว่า ถ้าเทียบกับเราครั้งที่ยังไม่ปฏิบัติธรรม กับปัจจุบันแล้ว เหมือนกับคนละคนเลยทีเดียว เพราะ ก่อนหน้านี้ สิ่งที่คิดว่ามันไม่หน้าเป็นอย่างนี้ ตอนนี้ก็รู้มาอย่างนี้ สิ่งที่ไม่น่าทำได้ ก็สามารถทำได้ และมีสิ่งที่ต้องรู้สิ่งที่ต้องทำให้ดีขึ้นอีกมาก เพราะกิจนี้ยังไม่จบ ยังไม่สำเร็จ จึงต้องยอมรับมหาสติ มหาปัญญา มหากรุณาธิคุณของพระพุทธเจ้าและพระอรหันต์สาวก จริงๆ ที่นำความรู้มาสั่งสอนชาวพุทธ  
ในปัจจุบันก็มีครูบาอาจารย์ ก็ได้แนะนำ อบรมสั่งสอน จึงเห็นคุณของครูบาอาจารย์ อย่างมาก ถ้าขาดครูบาอาจารย์ชี้แนะแล้ว ก็คงจะไม้รู้ได้ขนาดนี้ เราก็วิตกวิจารณ์ เรื่องนี้ต่อผู้ปฏิบัติธรรม บางคน เราขอแนะนำว่าควรที่จะเข้าหาครูบาอาจารย์องค์ไหนก็ได้ ที่ตรงกับจริต และนิสัยที่เราคิดว่าสามารพึ่งพาอาศัยได้ อย่าได้ขาดครูบาอาจารย์ ซึ่งท่านสามารถที่จะคอยแนะนำสั่งสอนเราได้
 จากคุณ : ab [ 13 มิ.ย. 2543 / 23:00:48 น. ]  
     [ IP Address : 202.183.199.194 ] 
 
 
 ความคิดเห็นที่ 3 : (คนหาแก่นธรรม) 
สาธุครับ ทำให้ผมได้มุมมองที่ดีมากๆทีเดียวครับ 
:)
 จากคุณ : คนหาแก่นธรรม [ 14 มิ.ย. 2543 / 08:36:51 น. ]  
     [ IP Address : 202.44.210.16 ] 
 
 
 ความคิดเห็นที่ 4 : (ดังตฤณ) 
เข้ามายิ้มครับ 
สำหรับธรรมอันเย็นใจจากทุกคน 

ผมอ่านข้อธรรมของคุณ Vicha แล้วไม่เคยสะดุดเลย

 จากคุณ : ดังตฤณ [ 14 มิ.ย. 2543 / 08:46:17 น. ]  
     [ IP Address : 203.155.33.180 ] 
 
 
 ความคิดเห็นที่ 5 : (tchurit) 
ได้มุมมองใหม่ๆอีกหลายมุมครับ
 จากคุณ : tchurit [ 14 มิ.ย. 2543 / 09:59:43 น. ]  
     [ IP Address : 203.157.0.181 ] 
 
 
 ความคิดเห็นที่ 6 : (สุภะ) 
คุณVicha ถ่อมตนจังนะครับ ผมเห็นด้วยครับ 
คนเราเมื่อมีการรับรู้เกิดขึ้น หรือเมื่อผัสสะกระทบอารมณ์แล้ว 
อารมณ์นั้นมักจะถูกแปลความ ปรุงแต่ง ไปตามทิฏฐิ ความเห็น ประสบการณ์ 
ของตนเอง ทำให้อารมณ์นั้นถูกบิดเบือนออกไปจากการรับรู้ที่เป็น "ขั้นปฐม" 
ไปเรื่อยๆ การคิด หรือวิธีคิดแบบนี้จึงเป็นสิ่ง "ต้องห้าม" สำหรับนักปฏิบัติกรรมฐาน 

แต่การคิดตามวิธีแบบพุทธรรมคือการคิดที่ใช้อารมณ์ที่ปรากฎในปัจจุบัน เป็นการรับรู้ 
ที่ยังอยู่ในขั้นปฐม เป็นการรับรู้ที่ยังบริสุทธิ์ เป็นของใหม่เสมอ(ไม่แปลความไปตามสัญญา) 

ซึ่งวิธีที่จะให้ได้การรับรู้แบบนี้มา ก็ด้วยวิธีการกำหนด หรือตามดู  
อารมณ์ที่ปรากฎนั้นตามความเป็นจริง โดยไม่เอาตัวเองเข้าไปเกี่ยวข้อง 
การกำหนดอย่างต่อเนื่องจะช่วยขนาบ ช่วยตีกรอบ ไม่ให้ตัณหา ความชอบใจ 
ไม่ชอบใจ อวิชชา เข้ามาแทรกแซงเอาการรับรู้ที่บริสุทธิ์นั้นไปปรุงแต่ง 
และชักพาให้กลับไปสู่ความเคยชินเก่าๆได้  

้เมื่อตัณหา อวิชชา ไม่เข้ามาแทรกแซง สิ่งที่จะถูกบังคับให้ปรากฏออกมา 
ตามธรรมชาติเป็นกระบวนธรรมก็คือไตรลักษณ์นั่นเอง

 จากคุณ : สุภะ [ 14 มิ.ย. 2543 / 13:28:26 น. ]  
     [ IP Address : 203.150.37.234 ] 
 
 
 ความคิดเห็นที่ 7 : (น้ำ 18207447) 
สาธุครับ ดีใจจังที่ได้อ่านธรรมะจากการปฏิบัติจริงที่หลากหลาย แสดงด้วยปัญญาและจิตใจที่ผ่องใส เปิดกว้าง ผมเองช่วงนี้ของดการแสดงภูมิ เพราะหมดเสียแล้วครับ :) กำลังอยู่ในช่วงเตรียมตัวให้พี่ใหญ่ และเพื่อนๆ ช่วยแก้ไขแนะนำครับ
 จากคุณ : น้ำ 18207447 [ 14 มิ.ย. 2543 / 17:19:14 น. ]  
     [ IP Address : 194.138.240.13 ] 
 
 
 ความคิดเห็นที่ 8 : (WhiteSpirit) 
ความเห็นต่างๆของคุณ Vicha ชอบแล้ว สมกับเป็นผู้ศึกษาผู้ปฏิบัติ 

มีจุดขอแสดงความคิดเห็นเล็กน้อย ในกรณีที่เห็นว่าอาจขัดแย้งกัน 

> มุมมองที่ 5 เป็นมุมมองที่หลากหลาย คือ วิธีดับทุกข์ ซึ่งตรงนี้และที่ชาวพุทธบางส่วนกำลังสับสน  
> มองกันได้หลากหลาย ทั้งที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสไว้ว่า ทางของมรรค(ทางดับทุกข์อย่างแท้จริง)  
> มีทางเดียวคือ สติปฏาน 4 

คือการกล่าวว่า สติปัฏฐาน ๔ เป็นทางเดียวนั้น เหมาะสมมากน้อยเพียงใด 
การกล่าวว่าเป็นทางเดียว จะทำให้พระสูตรอื่นๆ หรือกรรมฐานอื่นๆ ถูกละเลย 
จากผู้ที่เชื่อในคำกล่าวอันนี้หรือไม่ การละเลยพระสูตรอื่นๆหรือกรรมฐานอื่นๆ 
เน้นแต่เรื่องสติปัฏฐาน ๔ เพียงอย่างเดียวจะเป็นคุณหรือเป็นโทษต่อผู้ปฏิบัติ 
เพื่อมรรคผลมากกว่ากัน 

โดยส่วนตัวเห็นว่า การกล่าวว่า สติปัฏฐาน ๔ เป็นทางสายเอกน่าจะเหมาะสมกว่า  
เพราะว่าถ้าใครไปเน้นสติปัฏฐาน ๔ จนลืม มรรคมีองค์ ๘ ผมว่าคงไม่ถูกต้องนัก 
สติปัฏฐาน ๔ เป็นเรื่องดี เป็นยอดกรรมฐาน แต่การกล่าวว่า "สติปัฏฐาน ๔ เป็น 
ทางเพียงสายเดียว" อาจไม่ดีหรือไม่ถูกต้องได้สำหรับทุกคน 

เช่นเดียวกัน การอยู่กับรู้ เป็นเรื่องดี เป็นเครื่องอยู่ที่ดีของพระอริยะ (คงไม่มี 
ใครขัดแย้ง) แต่การกล่าวว่า "อยู่กับรู้ รู้ไปแต่เพียงอย่างเดียวก็พอ ไม่ต้องพิจารณา 
อะไรอีก" สำหรับปุถุชนอาจไม่ดีที่สุดในทุกกรณี หรือไม่ทำให้ถึงมรรคผลได้เร็วจริง 
สำหรับทุกๆคน เป็นต้น 

กรรมฐานที่ควรจะเผยแพร่ในวงกว้าง สำหรับผู้ที่เริ่มต้นหรือยังใหม่ น่าจะเป็น 
กรรมฐานที่มีพระสูตรของพระพุทธเจ้ารับรอง เช่น อานาปานสติ สติปัฏฐาน ๔ฯลฯ 
กรรมฐานหรือแบบปฏิบัติที่ไม่มีพุทธพจน์รับรองโดยตรง น่าจะเอาไว้เสริม หรือ 
ใช้เฉพาะคน/กลุ่มคน ไม่เผยแพร่ในวงกว้าง เป็นต้น 

ผู้เจริญกรรมฐานใดเห็นว่าดี ก็แนะนำให้ผู้อื่นทราบหรือทดลองนำไปปฏิบัติได้บ้าง 
แต่ก็ไม่ควรจะชักชวนบอกกล่าวในทำนองที่ว่ากรรมฐานอื่นไม่ดี/ไม่ถูก กรรมฐานที่ 
ตนปฏิบัตินั้นดีที่สุด กรรมฐานเดียวก็พอทำได้ตลอดกรรมฐานอื่นไม่จำเป็นต้องมี 
ถ้างดคำกล่าวทำนองนี้ไปได้ โอกาสที่จะเกิดข้อขัดแย้งระหว่างกันก็ลดลง 

 จากคุณ : WhiteSpirit [ 14 มิ.ย. 2543 / 18:15:36 น. ]  
     [ IP Address : 161.200.255.162 ] 
 
 
 ความคิดเห็นที่ 9 : (Vicha) 
คุณ Whitspirit กรรมฐานอื่นนั้นสำคัญทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นอานาปนสติ พุทโธ หรือภาวนาว่าหนอ  
กรรมฐานทั้ง 40 ประการตามพระพุทธพจน์ เพราะจริตแต่ละท่านไม่เหมื่อนกัน  
การที่จะให้บุคคลเข้ามาปฏิบัติในสติปฏาน 4 ทันที่ เป็นสิ่งที่ทำได้ยาก  
เพราะอารมณ์รวมเป็นหนึ่งอยาก จะหลงอารมณ์ปรุงแต่งตามอารมณ์เสียก่อน  
จึงจำเป็นต้องให้ฝึกสมาธิ ตามจริตหรือตามที่ชอบเป็นเบื้องต้น  ถ้าไม่มีสมาธิเป็นฐาน  
วิปัสสนาทั้งอยู่เกือบไม่ได้เลย ดังนั้นครูบารอาจารย์ต่างๆ ที่ท่านแน่นำสังสอนนั้นท่านทำได้ดีแล้ว  
และต่อไปท่านก็จะมีอุบายให้ขึ้นสติปฏาน 4 ตามแบบแต่ละท่าน ตามประสบการณ์ที่ท่านประสบมา  
ศรัทธาท่านเหล่านั้นเถอะเมื่อท่านมีธรรมจริงท่านจะไม่พาไปผิดทางแน่
 จากคุณ : Vicha [ 14 มิ.ย. 2543 / 20:09:50 น. ]  
     [ IP Address : 203.151.36.21 ] 
 
 
 ความคิดเห็นที่ 10 : (หนู40) 
มุมมองหลายมุมมอง จุดหมายเดียวกัน 

เหมือนกับ เรามองรูปทรงกลม จากด้านนอก มองเล็งไปที่จุดศูนย์กลาง ไม่ว่ามองทางไหนๆก็สู่จุดหมายเดิมเดียวกัน 

เคยมีผู้เปรียบภาพนี้ไว้ว่า ธรรมจะซ้อนกันจากหยาบสู่ละเอียด เหมือนทรงกลมที่ซ้อนกันหลายๆชั้น ธรรมหยาบอยู่นอก ส่วนธรรมละเอียดซ้อนอยู่ข้างใน ละเอียดต่อไปไม่สิ้นสุด 

เป็นไปได้ไหมครับ ว่ากาย เวทนา จิต ธรรม ก็ซ้อนกันเช่นนี้ กายอยู่นอกเพราะหยาบกว่า เวทนา จิต และธรรม ต่างซ้อนกันต่อๆไป จนถึงธรรมแท้ๆที่อยู่กลางจริงๆ ไม่มีอกุศลาธรรม และไม่มีแม้แต่อัพยกตาธรรม มีแต่กุศลธรรมล้วนๆ 

ขอยกไว้เป็นภาพให้นึกเล่นๆนะครับ

 จากคุณ : หนู40 [ 14 มิ.ย. 2543 / 20:50:35 น. ]  
     [ IP Address : 202.183.198.96 ] 
 
 
 ความคิดเห็นที่ 11 : (tchurit) 
_/l\_ครับคุณหนู40
 จากคุณ : tchurit [ 15 มิ.ย. 2543 / 08:36:59 น. ]  
     [ IP Address : 203.157.0.183 ] 
 
 
 ความคิดเห็นที่ 12 : (tchurit) 
หรือที่ตรงกลางจริงไม่มีอะไรเลยเป็น สุญญตาธรรม ครับคุณหนู40
 จากคุณ : tchurit [ 15 มิ.ย. 2543 / 11:14:25 น. ]  
     [ IP Address : 203.157.0.183 ] 
 
 
 ความคิดเห็นที่ 13 : (สุภะ) 
คุณWhiteSpirit ให้ข้อสังเกตที่ดีครับ ความจริงกรรมฐานที่คุณคิดว่าหาไม่เจอใน 
พระไตรปิฏก มันมีความเชื่อมโยงและความสัมพันธ์กันอยู่ แต่การใช้ถ้อยคำที่ขยาย 
ออกไปมากๆ บางทีถ้าเรามองอย่างมุมมองของนักวิชาการ เราอาจจะหาจุดเชื่อมโยงนั้น 
ไม่เจอ ตัวผมเองเมื่อเข้ามาศึกษาในลานธรรมใหม่ๆ มีบางคำพูดที่ผมคิดว่าขัดกับพุทธพจน์ด้วยซ้ำ 
แต่ถ้าเราหันไปมองในมุมมองของนักปฏิบัติ ที่มุ่งเอาแต่ประโยชน์ เพื่อที่จะไปให้ถึงจุดมุ่งหมาย 
เราจะไม่คำนึงถึง "มาตรฐานทางวิชาการ" มากนัก แต่ผมก็ยอมรับว่าควรจะพัฒนา 
ต่อไปเรื่อยๆ เพื่อรักษามาตรฐานทางวิชาการไว้ 

และผมคิดว่าคงจะไม่มีใครทำแบบทื่อๆ คืออยู่กับรู้ รู้ เพียงอย่างเดียว ไม่อย่างนั้น 
เราคงไม่มีโอกาสได้มาสนทนาธรรมกันในที่นี้ แน่นอนว่าระหว่างปฏิบัติจะต้องมีการ 
คิด พิจารณา สอบสอนโดยตลอด เพราะหนึ่งในองค์แห่งการตรัสรู้  
โพชณงค์เจ็ด ก็คือ "ธัมมวิจัยสัมโพชณงค์"ดีแล้วครับที่คุณไวท์ ช่วยตักเตือนมา 

คุณVicha ได้ทิ้งท้ายข้อความว่า "ศรัทธาท่านเหล่านั้นเถอะเมื่อท่านมีธรรมจริงท่านจะไม่พาไปผิดทางแน่" 
ด้วยความเคารพ ผมเห็นว่าเรื่องศรัทธาเป็นเรื่องสำคัญมาก ไม่ควรจะพูดสั้นๆแบบนี้ 
เพราะไม่อย่างนั้นเราจะเข้าไปติดกับปัญหาทางจิตวิทยา ที่เป็นเหมือนวงจรอุบาทว์ 
เพราะคนเรามีแนวโน้มที่จะฝากความรับผิดชอบไปให้กับคนอื่น เมื่อเราศรัทธาบุคคลใด 
ก็มักจะโยนความคิดและการตัดสินใจทั้งหมดไปลงที่บุคคลนั้น จะทำให้สูญเสียความมีเหตุมีผล 
ไปโดยไม่รู้ตัว และจะก่อให้เกิดปัญหาใหม่ๆขึ้นมามากมาย  
ที่บอกว่า "เมื่อท่านมีธรรมจริง" ขอให้ดูกาละ เทสะและตัวบุคคลด้วยว่าเหมาะสมทุกกรณีหรือไม่ 
ผมขอให้ตระหนักว่าเมื่อเชื่ออะไรแล้ว การจะเปลี่ยนเป็นเรื่องยากมาก  
ครูอาจารย์ต้องเคารพแน่ แต่ต้องตระหนักให้มากๆว่าความสำเร็จอยู่ที่ "ผู้รับ" 
มากกว่า"ผู้ให้" ถึงแม้ไม่มีครูอาจารย์เลยก็สามารถประสบความสำเร็จได้ อย่างเช่น  
ปัจเจกพระพุทธเจ้าทั้งหลาย แต่ถ้าคิดว่าตัวเองไม่มีศักยภาพเพียงพอ จำเป็น 
ที่จะต้องมีครูอาจารย์ ก็ขอให้แยกแยะให้ดีว่า "เราก็คือเรา" "อาจารย์ก็คืออาจารย์" 
อย่าให้ศรัทธาแบบใช้อารมณ์ความรู้สึกมาเอาความเป็นตัวของตัวเองไป

 จากคุณ : สุภะ [ 16 มิ.ย. 2543 / 09:51:46 น. ]  
     [ IP Address : 203.150.37.234 ] 
 
 
 ความคิดเห็นที่ 14 : (meenok) 
เพิ่งฟังธรรมจากพระอาจารย์ทูล ขิปปฺปัญโญท่านกล่าวว่า 
ภาวนามยปัญญาก็คืออันเดียวกับวิปัสสนาญาณ 
เมื่อภาวนามยปัญญาเกิดขึ้นหลังจากนั้น 
อีก1-2นาทีก็จะเปลี่ยนไปเป็นระดับอริยะบุคคล 
แล้วครับ 
แค่มาเล่าให้ฟังครับไม่มีความคิดเห็น 
ถ้าจำมาผิดก็ขออภัยด้วยครับ
 จากคุณ : meenok [ 16 มิ.ย. 2543 / 18:18:32 น. ]  
     [ IP Address : 202.183.221.132 ] 
 
 
 ความคิดเห็นที่ 15 : (Vicha) 
ขอบคุณ คุณ WhiteSpirit ที่เตือน คำว่าทางสายเดียว กับคำว่าทางเอก  
ความจริงควรใช้คำว่าทางเอก ผมเขียนไปนึกไปไม่ได้เปิดตำราเลย  
ดังนั้นความหมายของคำที่ผมเข้าใจในขณะนั้น ย่อมไม่ตรงกับวิชาการบ้างเป็นธรรมดา 
    ขอบคุณ คุณ สุภะ มากเลย ที่เตื่อนว่า ไม่ควรใช้ประโยค  
ศรัทธาท่านเถอะถ้าท่านมีธรรมท่านจะไม่พาไปหลงทาง นับว่าเป็นการเตื่อนที่ดีมาก  
ที่ผมใช้ประโยคนี้เพราะผมเอาตัวเองไปอิงมากเกินไป เพราะก่อนที่ผมจะศรัทธาใครสักคน  
ผมจะต้องศึกษาก่อน  ผมเข้าไปศึกษาคราวๆ ก่อนถ้าเห็นว่าไม่ถูกกับจริตตัวเอง และไม่สอนเรื่องสติ  
มองข้ามเรื่องไตรลักษณ์ ตามที่ผมอ่านจากพระไตรปิฏกมา ผมจึงไม่ศึกษาลวงลึก  
ดังนั้นผมจึงศรัทธาการปฏิบัติ โดยที่ผมเลือกแล้ว ว่าตรงตามพระไตรปิฏก
 จากคุณ : Vicha [ 16 มิ.ย. 2543 / 20:52:14 น. ]  
     [ IP Address : 203.151.36.20 ] 
 
 
 ความคิดเห็นที่ 16 : (หนู40) 
เรียน คุณ tchurit 

> หรือที่ตรงกลางจริงไม่มีอะไรเลยเป็น สุญญตาธรรม ครับคุณหนู40 

ขอตอบนอกตำราทั่วไปหน่อยนะครับ ตรงกลางจริงจะว่ามีก็ไม่ใช่ จะว่าไม่มีก็ไม่เชิง เป็นจุดสูญญัง มีสภาพไม่ใช่รูปไม่ใช่นาม โดยรอบมีอาการหมุนขวาทักษิณาวัตร ด้วยอาการหมุนขวาเร็วขึ้นเมื่อเข้ากลางมากขึ้น ทำให้เกิดสภาวะดีด หลุดพ้นจากความยึดเหนี่ยวทั้งปวง 

ฟังเขามาเล่าให้ฟังต่อนะครับ ขอฝากไว้พิสูจน์กันเองต่อไป

 จากคุณ : หนู40 [ 18 มิ.ย. 2543 / 13:23:18 น. ]  
     [ IP Address : 202.183.249.90 ] 
 
 
 ความคิดเห็นที่ 17 : (tchurit) 
คุณหนู40ครับ 
ที่ผมกล่าวว่าตรงกลางเป็นสูญญตาธรรม ไม่ได้อ้างใครมาครับ 
เพียงเสนอความคิดตามความเข้าใจตามที่ผมได้ศึกษาและปฏิบัติมานะครับ 
ถ้าจะเปรียบการศึกษาเป็นการอ่านหนังสือสืบสวนสอบสวนหาความจริงสักเล่มหนึ่ง 
ก่อนอ่านก็มีคำถาม สมมุติฐานมากมายว่าตอนจบจะเป็นอย่างไรนะ 
เริ่มแรกหนังสือและการศึกษาก็จะกล่าวถึงเรื่องรอบๆตัว เรื่องที่คนอื่นเล่าให้ฟังมา 
แต่เวลาทดลองเรากลับต้องมองเข้ามาในตัวเราเองเรื่อยๆ จากชั้นที่หยาบๆคือกายและการเคลื่อนไหวที่เราอาจสัมผัสได้ด้วยตา ชั้นที่ลึกเข้าไปอีกเป็นความรู้สึกของเราว่าสุขหรือทุกข์ ชั้นลึกเข้าไปอีกในตัวเราเป็นชั้นของจิตที่ตามทันความรู้สึกนึกคิดของตัวเราเองว่าเป็นอย่างไร ลึกลงไปอีกเป็นการพิจารณาธรรมความจริงต่างๆในชีวิตและในธรรมชาติ มีธรรมมากมายผ่านเข้ามาให้พิจารณา แต่ในที่สุดกลับพบว่ายิ่งนานวันเราก็เป็นคนธรรมดาเหมือนคนอื่นทุกที ทุกสิ่งทุกอย่างเป็นแค่เหตุปัจจัยและผลขอมันเท่านั้น เป็นเรื่องของสมมุติบัญญัติ ทั้งที่แท้จริงแล้วไม่มีสิ่งใดอยู่ในนั้นเลยเป็นแค่สุญญตาธรรมเท่านั้น แต่ประโยชน์มหาสารไม่ใช่จะได้รับเมื่อถึงปลายทางคือความไม่มีสิ่งใด แต่ประโยชน์นานับประการเริ่มได้ระหว่างเริ่มออกเดินทางแล้ว 
หนังสือนิยายเรื่องนี้เป็นเรื่องที่น่ามหัษจรรย์มาก ตอนจบไม่มีอะไรในนั้น แต่เมื่ออ่านจบได้ประโยชน์มหาสาน 

เอาเป็นว่าที่ตอบและสาธุกับความคิดของคุณหนูเป็นตามความคิดของผมเองครับ

 จากคุณ : tchurit [ 19 มิ.ย. 2543 / 09:18:31 น. ]  
     [ IP Address : 203.157.0.183 ] 
 

จบกระทู้บริบูรณ์

 กลับหน้าแรก