ไม่มีใครเกิดใครตายจริงหรือ?                                                                                                        กลับหน้าแรก 
 
 
 
 เนื้อความ : 
    ไม่มีใครเกิดไม่มีใครตายจริงหรือ? 
การที่ผมตั้งการทู้นี้ขึ้นมา เพื่อให้ประโยคที่ว่า ไม่มีใครเกิดไม่มีใครตาย มีความหมายที่ชัดเจนขึ้น ให้มีความแจ่มแจ้งขึ้น  
คำว่าไม่มีใครเกิดไม่มีใครตายต้องตีความหมายออกเป็น2กรณีคือ 
     1. ในอภิธรรมปิฏก จะไม่มีการกล่าวถึง สัตว์ ตัวตน และบุคคล จะกล่าวถึง จิต กับ  
เจตสิกและการสืบต่อของจิตโดยมีอวิชาเป็นปฐมเหตุที่มีการเกิดดับต่อเนื่องกัน ตลอดเวลา  ดังนั้นในคำกล่าวที่ว่า  
ไม่มีใครไม่มีใครตาย ก็พออนุโลมได้อยู่ มีแต่จิตเท่านั้นที่มีการเกิดและดับต่อเนื่องกันไปเมื่อยังมีกิเลสอยู่  
จนกว่าหมดกิเลสและจิตนั้นได้ดับไป เป็นการสิ้นสุดของการเกิดดับของจิต (สังขารแตกดับ นิพพาน) 
     2. ในแง่ของสมมุติสัจจะ จะกล่าวถึงสัตว์บุคคล ที่มีขันท์ 5 คือมีกายสังขารรวมตั้งแต่สัตว์นรกจนถึงรูปพรหม  
และที่ไม่มีกายแต่มีสังขารรวมอรูปพรหมทั้งหมด ดังนั้นถ้ากล่าวว่าไม่มีใครเกิดไม่มีใครตาย ก็อาจจะไม่ถูกต้องเท่าไร  
เพราะเมื่อสังขารเกิด สังขารย่อมตั้งอยู่ และสังขารดับไป(ตายไป) เป็นธรรมดา จึงสามารถตีความหมายออกเป็น 2. อย่าง คือ 
    2.1.บุคคลที่มีกิเลส จะต้องมีเรา(กู)หรือ(มึง)เกิดและเรา(กู)หรือ(มึง)ตาย ไปเรื่อยๆ จึงกลายเป็นว่ามีใครเกิดมีใครตาย 
    2.2 บุคคลที่ไม่มีกิเลส ได้แก่พระอรหันต์ จะมีปัญญาเห็นว่าขันท์ 5 มีการเกิดการดับเป็นธรรมดา แต่เมื่อ  
สังขารท่านแตกดับ(ตาย) ก็จะไม่เกิดไม่ตายต่อไป(นิพพาน) 
ผมจึงสรูปได้ดังนี้ 
    1.คำว่า ไม่มีใครเกิดไม่มีใครตาย ไม่มีอันตรายสำหรับผู้ที่ศึกธรรม ที่เชื่อว่าหรือเห็นแจ้งว่า บุญและบาปมีจริง  
ทำดีได้ดีทำชั่วได้ชั่วเป็นจริง เพราะท่านเหล่านี้จะประมาทน้อยหรือไม่ประมาท 
   2. คำว่า ไม่มีใครเกิดไม่มีใครตาย จะเป็นอันตรายอย่างยิ่งสำหรับผู้ไม่ได้ศึกษาธรรม หรือศึกษาธรรมแล้วแต่มีมิจจาฐิติ  
(อันตรายนี้จะเกิดกับสังคมด้วย) เพราะไม่เชื่อว่าบาปและบุญมีจริง ไม่เชื่อว่าทำดีได้ดีทำชั่วได้ชั่วจริง จึงทำการ 
         1. ฆ่าสัตว์(รวมทั้งมนุษย์) 
         2. ลักทรัพย์ 
         3. พูดเท็จ 
         4. ผิดลูกเมียผู้อื่น 
         5. เสพสิ่งเสพติดมึนเมา 
โดยไม่สะทกสะท้าน ไม่ละอายและเกรงกลัวต่อบาป 

ผมมีความสามารถอธิบายได้แค่นี้ อาจจะผิดอยู่ก็ได้ ถ้ามีท่านผู้รู้หรือมีความคิดเห็นเพิ่มเติม  
ก็แสดงความคิดเห็นได้เต็มที่ผมก็จะได้ศึกษาไปด้วยพร้อมๆ กับท่าน 
 

 จากคุณ : Vicha [ 5 มิ.ย. 2543 / 20:27:03 น. ]  
     [ IP Address : 203.151.36.18 ] 
 
 
 ความคิดเห็นที่ 1 : (คนหาแก่นธรรม) 
ไม่มีใครเกิด ไม่มีใครตาย จริงโดยสัจจะครับ เป็นความจริงที่ต้องมองให้เห็นด้วยปัญญา ส่วนสมมติสัจจะ คนในโลกเขาก็คิดว่ามีตัวตนทั้งนั้นแหละครับ 

โดยธรรมชาติ ปรากฏการณ์ แห่ง สัตว์ และมนุษย์ทั้งหลายยังมีตามปกติ แต่จิตใจแห่งพุทธะไม่เข้าไปยึดมั่นถือมั่น โดยมีปัญญาแทงทะลุสัญชาตญาณแห่ง "ตัวกู" ไปหมดแล้วครับ นั่นย่อมหมดปัญหา เรื่องของวัฏฏะสงสารอีกต่อไปครับ 

ความว่างจากตัวตนต้องอาศัยปัญญาครับ มิเช่นนั้นก็ว่างแบบอันธพาล คือ ไร้"ตัวกู"ผู้จะเสวยบาป ฉะนั้นอยากทำอะไรก็ทำ อันนี้ก็เป็น 1 ใน 62 ทิฏฐิ ที่เป็นมิจฉาทิฏฐิเหมือนเดิมครับ 

ต้องแยกแยะให้ดีครับ ไม่ใช่สัสตทิฏฐิ(มีตัวตนที่เที่ยงแท้) และไม่เป็นอุจเฉทกทิฏฐิครับ(ตัวตนชั่วคราวรอวันตายก่อนจึงดับสูญ)  สัมมาทิฏฐิคืออยู่ตรงกลาง คือไร้ความรู้สึกว่ามีตัวตนครับทั้งๆที่มีร่างกายอยู่นี่แหละครับ 

อันนี้ต้องอาศัย การนึก การตรึกตรองที่ละเอียด สงบ บ่อยๆ จนเป็นกิจวัตรครับ จึงพอเข้าใจ แต่กระนั้นก็ดีลองนึกดูสิครับว่า นาย ก. คิดนึกเรื่องความว่างจากอัตตาทุกๆวัน ทุกครั้งที่นึกได้ ส่วนนาย ข. คิดแบบมีตัวมีตนมีภพมีชาติมีบุญบาปมีเราเขาตลอดเวลาเหมือนกัน   เวลาผ่านไป 20 ปี นาย ก. กับนาย ข. จะต่างกันไหมครับ ในความเข้าใจเรื่องความว่างจาก อัตตาครับ 

นักปฏิบัติธรรมที่ยังคิดว่ายัง มี "ตัวกู" ผู้บำเพ็ญเพียร ผู้ได้สมาธิ ผู้ทำบุญ ผู้เจริญสติปัฏฐาน ผู้ประมาท ผู้เสื่อมจากความเพียร ผู้จะต้องสะสมบุญบารมีฯลฯ ย่อมเหมือนเดินไปอ้อมๆ ไม่ไปในทางครับ การปฏิบัติธรรมที่ถูกต้องควรเป็นไปเพื่อให้เกิดปัญญาละวาง "ตัวกู-ของกู"ให้ได้ครับ

 จากคุณ : คนหาแก่นธรรม [ 5 มิ.ย. 2543 / 22:16:21 น. ]  
     [ IP Address : 203.155.33.180 ] 
 
 
 ความคิดเห็นที่ 2 : (ดังตฤณ) 
คุณ Vicha กล่าวได้ชอบแล้วครับ 
ธรรมเป็นของลาดลึก 
เหมาะควรแก่บุคคลเฉพาะระดับ
 จากคุณ : ดังตฤณ [ 5 มิ.ย. 2543 / 22:40:32 น. ]  
     [ IP Address : 203.155.33.180 ] 
 
 
 ความคิดเห็นที่ 3 : (น้ำ 18207447) 
สาธุครับ
 จากคุณ : น้ำ 18207447 [ 5 มิ.ย. 2543 / 22:57:04 น. ]  
     [ IP Address : 203.146.122.208 ] 
 
 
 ความคิดเห็นที่ 4 : (aj) 
ผมแย้งคุณวิชาในประเด็น 
1.พระอภิธรรมที่ว่าเมื่อหมดกิเลศแล้วจิตจะไม่เกิดดับที่จริงแล้วจิตยังคงมีอยู่  และเกิดดับตลอดเวลา แต่เอานิพพานเป็นอารมณ์แทน ไม่อย่างงั้น พระอรหันต์ ก็สูญไปจากโลก แต่จริงท่านไม่ได้สูญนะครับ 
2.   ปถุชนหรือพระอรหันต์ล้วนไม่มีตัวตนทั้งสิ้น เป็นแค่องค์ประกอบของขันต์ 5 มีเหตุให้เกิดขึ้น แต่ปถุชนยังมีทุกข์เพราะยังมีอุปทานยึดมั่นถือ 
มั่นว่าเป็นตัวเป็นตน (อุปทานคือทุกข์) แต่พระอรหันต์ท่านเท่าทัน ไม่ยึดมั่นถือมั่นว่าเป็นตัวเป็นตน   จึ่งไม่มีทุกข์ พระอรหันต์และปถุชนโดนมีดปาดก็เจ็บเหมือนกัน แต่คนหนึ่งทุกข์อีกคนหนึ่งไม่ทุกข์ (พุทธพจน์กล่าวว่า กายโดนยิงด้วยลูกศรเจ็บปวด แต่จะไม่โดนศรลูกที่สองให้ทุกข์ใจอีก) 

คำถามต่อไปที่น่าสนใจคือ 
"ความไม่มีตัวตน ขัดแย้ง กับ กฎแห่งกรรม หรือไม่?" 
เมื่อไม่มีตัวตนแล้วใครเสวยวิบากกรรม

 จากคุณ : aj [ 6 มิ.ย. 2543 / 00:08:02 น. ]  
     [ IP Address : 203.151.73.196 ] 
 
 
 ความคิดเห็นที่ 5 : (รูปนามหนึ่ง) 
เห็นด้วยกับคุณวิชาครับ
 จากคุณ : รูปนามหนึ่ง [ 6 มิ.ย. 2543 / 00:11:45 น. ]  
     [ IP Address : 202.183.194.250 ] 
 
 
 ความคิดเห็นที่ 6 : (tchurit) 
เห็นด้วยกับคุณ Vicha เกือบหมดยกเว้นตอนท้าย 
คำว่าไม่มีใครเกิด ไม่มีใครตาย เป็น อ.ต.ร. สำหรับผู้ไม่ศึกษาธรรม หรือมีมิจฉาทิฐิ ไม่เชื่อบาป บุญมีจริง ไม่เชื่อทำดีได้ดีทำชั่วได้ชั่ว จึงทำผิดศีล ๕ 

คนส่วนมากที่เขาไม่เชื่อบาป บุญ เขาก็ทำชั่วกันอยู่แล้วจนมีบางสมัยที่เมืองไทยมีอัตราการฆ่ากันตายเป็นอันดับ ๒ ของโลกทั้งๆที่เป็นเมืองพุทธ 
ส่วนคนที่สนใจธรรมะมีมากแค่ไหนที่ศึกษาธรรมเพราะ อยากไปสวรรค์ กลัวตกนรก แทนที่ต้องการพัฒนาปัญญาจนสามารถดับทุกข์ในตัวได้  
มีชาวพุทธที่สนใจพระเครื่อง กราบไหว้รูปบูชาเพื่อเป็นที่พึ่งที่ยึดเหนี่ยวจิตใจ หวังพึ่งพิงสิ่งภายนอกตัวจนแยกกันไม่ออกกันไปแล้วว่าสังคมไสยศาสตร์ พรามห์ พุทธปนกันนัวเนียไปหมด 
โดยส่วนตัวของผมโดยหลักการและวิธีการของพุทธศาสนา โดยตัวของตัวเองแล้วมีประโยชน์มากกว่าหาวิธี หาเครื่องยึดเหนี่ยวจากภายนอกตัว 
ยกตัวอย่าง v.d.o.เปรตของอาจารย์กู้  
เราจะให้คนสนใจศาสนาพุทธเพราะเชื่อว่าเปรตมีจริง เชื่อว่านรกสวรรค์มีจริงหรือ  
โดยหลักการการเผยแพร่พุทธศาสนาที่คนเชื่อว่าเทวดามีจริง พระพุทธองค์ก็ไม่ได้ปฏิเศษว่าไม่มี เพียงแต่ให้กลับมาให้ความสำคัญกับการพัฒนาตัวเอง ออกมาจากการพึ่งพิงเทพเจ้า หรือเทวดา 
บุญ บาป กุศลจิต อกุศลจิต ก็ยังมีอยู่ในคำสอน 
ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว(ความจริงมาเน้นมากสมัย ร.๕) ทุกสิ่งทุกอย่างเป็นไปตามเหตุและปัจจัย ก็อยู่ในหลักคำสอนของพระพุทธองค์เช่นกัน 
สรุป ผมคิดว่าพุทธแท้เป็นศาสนาที่พัฒนาปัญญาเพื่อออกจากทุกข์ เดี๋ยวนี้ไม่ใช่ยุคพระยาลิไทที่ต้องมีไตรภูมิพระร่วงมาเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจคนสมัยนี้ต้องการความจริงมากกว่า โดยหลักการของพุทธศาสนาน่าจะออกจากความเชื่อในสิ่งที่ไม่สามารถพิสูจน์ได้เหล่านี้ แล้วมองหาสาระที่แท้ของพุทธศาสนาเพื่อพัฒนาปัญญาเพื่อออกจากทุกข์ได้แล้วครับ

 จากคุณ : tchurit [ 6 มิ.ย. 2543 / 08:42:02 น. ]  
     [ IP Address : 203.157.0.183 ] 
 
 
 ความคิดเห็นที่ 7 : (Listener) 
สาธุครับ
 จากคุณ : Listener [ 6 มิ.ย. 2543 / 11:52:39 น. ]  
     [ IP Address : 203.126.110.34 ] 
 
 
 ความคิดเห็นที่ 8 : (คนหาแก่นธรรม) 
คุณ aj ครับ 

คำถามต่อไปที่น่าสนใจคือ 
"ความไม่มีตัวตน ขัดแย้ง กับ กฎแห่งกรรม หรือไม่?" 
เมื่อไม่มีตัวตนแล้วใครเสวยวิบากกรรม 

กฎแห่งกรรม มี 2 นัยครับ คือแบบพุทธ และแบบฮินดู 

กฎแห่งกรรมแบบฮินดู (มีมาก่อนศาสนาพุทธ) ก็คือความเชื่อพื้นฐานว่ามี"อัตตา"หรือตัวตนที่เป็นผู้ประกอบกรรมและเสวยกรรมที่ทำไว้ เช่น เมื่อ นาย ก. ทำกรรมไว้ ต้องรับผลกรรมอันนั้น ไม่ชาตินี้ก็ชาติหน้าชาติโน้นครับ บางครั้งก็มีการเกิดใหม่เพื่อจองเวร ล้างแค้นกันเหมือนรามยานะ(รามเกีรติ์) บ้างก็มีการสะสมบุญ บำเพ็ญบารมีให้แก่กล้ามากๆ โดยมี"อัตตา" หรือ "ตัวตน" เป็นผู้รับกรรม เสวยกรรมกันอยู่เรื่อยๆ  

หากเป็นกฎแห่งกรรมประเภทนี้ ก็คงไม่ลงรอยกันดีนักกับหลักอนัตตา หรือความว่างจาก ตัวเรา-ของเราครับ คือถ้าเชื่อแบบนี้โอกาสที่จะลด ละ เลิก ความรู้สึกว่ามี"ตัวเรา-ของเรา" ย่อมไม่มีทางเกิดขึ้นได้ครับ 

กฎแห่งกรรมแบบพุทธะ กล่าวไว้พอสรุปได้ว่า มีการหมุนวนของเหตุปัจจัย 3 ประการคือ กิเลสวัฏ - กรรมวัฏ - วิปากวัฏ หรือ กิเลส-กรรม-วิบาก ครับ นั่นคือ เมื่อมีกิเลส ย่อมเป็นเหตุปัจจัยให้มีการทำกรรม  และมีผลแห่งการกระทำนั้น (วิบาก) แล้วเมื่อมีผลของกรรมย่อมหมุนให้เกิดกิเลสต่อไป เพื่อทำกรรมต่อไปอีกและต้องรับผลของการกระทำไปเรื่อยๆ  เป็นเหตุเป็นปัจจัยหนุนเนื่องกันไปเป็นลูกโซ่ตามหลัก อิทัปปัจยตา (เมื่อมีสิ่งนี้-สิ่งนี้จึงเกิด/เพราะหมดเหตุสิ่งนี้ - สิ่งนี้จึงดับ) 

หลักกฏแห่งกรรมแบบพุทธนี้สอดคล้องกับหลักอนัตตา ความไม่มีตัวตนอย่างพอดิบพอดี นั่นคือ จะเห็นกระแสความหมุนวนของเหตุ ของปัจจัยอย่างตรงไปตรงมา โดยไม่มี"ตัวตน"ที่เที่ยงแท้มั่นคง มีแต่ความหลงผิดว่ามีตัวตนเป็นผู้วนไปมาในวังวนแห่งกระแส กิเลส-กรรม-วิบาก 

ยกตัวอย่างเช่น นาย ก. เกิดกิเลสอยากทานของอร่อย(กิเลส) จึงไปตลาดซื้อทุเรียนมาบริโภค(กรรม) เมื่อบริโภคแล้วก็เกิดความสุข(วิบาก) แล้วเขาก็สะสมความอยากมีความสุขในการบริโภคต่อไป(กิเลส)..... 

เมื่อมองกฎแห่งกรรมแบบนี้จึงเห็นชัดว่า ความอยากของ นาย ก.  การกระทำของนาย ก. และผลแห่งการกระทำของนาย ก. เป็นเหตุปัจจัยหนุนเนื่องกันไปเป็นยางเหนียวทำให้นาย ก. หลงคิดว่า นี่คือ "ตัวเรา" แล้ว"เราก็อยาก" "เรา"ทำกรรม "เรา"เสวยผลกรรม 

จนกว่าในที่สุด นาย ก. จะเห็นชัดด้วยปัญญาว่า ที่แท้ ความอยาก นั่นแหละ เป็น เจ้าของ โรงงาน ผลิต "ตัวกู" ขึ้นมาดีๆนี่เอง เมื่อนั้น นาย ก. จึงเลิกคิดผิด ถอนความที่มีสัญชาตญาณแห่งตัวตนขึ้นได้ เมื่อนั้น วัฏฏะวนย่อมขาดสะบั้นลงโดยธรรมชาติ คือ นาย ก. ย่อมไม่เหลือความอยาก(เหนือกิเลส) ไม่กระทำอะไรที่เป็นการทำเพื่อตัวเอง(หมดกรรม) และแม้จะได้รับเวทนาใดๆย่อมไม่รู้สึกสุข-ทุกข์(ไม่เสวยวิบาก) 

ผมชอบคำคมของท่านอาจารย์พุทธทาสครับว่า 
*********วันทั้งวัน"ฉัน"ไม่ทำอะไร*************** 
ก็ในเมื่อมันไม่มี"ฉัน"เลยไม่ทำอะไรเพื่อตนเองอีก  
(ในขณะที่ท่านขยันทำงานด้วยความว่างวันละ 18 ชั่วโมงครับ)

 จากคุณ : คนหาแก่นธรรม [ 6 มิ.ย. 2543 / 13:34:51 น. ]  
     [ IP Address : 202.44.210.17 ] 
 
 
 ความคิดเห็นที่ 9 : (ประสงค์ มีนบุรี) 
เรื่อง ธรรมะ เป็นเรื่องเข้าใจยาก 
ถ้าศึกษาน้อย สะสมไว้เล็กน้อย 
การพิจารณา ปัญหา ธรรมะต่างๆ 
ก็อาจมีความสับสนได้ 

พระธรรมคำสั่งสอนที่พระพุทธองค์ 
ทรงเทศนาสั่งสอนไว้มีมาก 
เหมาะกับบุคคลต่างๆตามขั้นของ สติปัญญา  
พุทธศาสนิกชน ต้องศึกษาโดยละเอียดรอบคอบ 

ความสามารถในการ  เข้าใจ  ของผู้ศึกษา 
จึงมีหลายระดับ 

ปุถุชน  ไม่สามารถเข้าใจลึกซึ้งได้  
(ไม่เข้าใจทั้ง อรรถและพยัญชนะ) 

ปุถุชน จึงมีกิเลสหนาแน่น 
ยากที่จะไถ่ถอน กิเลสออกได้ 

กิเลส ที่หนาแน่นนั้นได้แก่  
ตัณหา ทิฏฐิ มานะ 

ที่คุณ Vicha เป็นห่วงว่า 
ไม่มีใครเกิดไม่มีใครตาย  
จะเป็นอันตรายอย่างยิ่งสำหรับผู้ไม่ได้ศึกษาธรรม  
หรือศึกษาธรรมแล้วแต่มีมิจฉาทิฏฐิ นั้น 

เรื่องนี้ ผู้มีปัญญา จะต้องช่วยกันเผยแผ่ 
ช่วยกันอธิบาย ให้ ปุถุชนเหล่านั้น 
ไถ่ถอน มิจฉาทิฏฐินั้น ด้วยความเมตตา 

พระธรรมคำสอนที่จะอธิบายนั้นมีอยู่ในตำราแล้ว 
ไม่ต้องแสวงหาใหม่ ไม่ต้องคิดขึ้นมาใหม่ 

ตัวอย่างของ ผู้มีมิจฉาทิฏฐิ ในตำราก็มีให้ศึกษา 

เรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องง่ายๆ 
ผู้ที่มี มิจฉาทิฏฐิ มีมาก 

สังคมที่วุ่นวายสับสนก็เพราะ มิจฉาทิฏฐิ มีกำลังมากนี่เอง 

การที่จะไถ่ถอน มิจฉาทิฏฐิ ได้นั้น 
มีทางเดียว คือ การเจริญสติปัฏฐาน 

ความเข้าใจ เรื่อง สมมติสัจจะ 
ว่ายังมี ตัวเรา ตัวท่าน จริงๆนั้น 
ก็เพราะ มีอวิชชาปกปิด สภาพธรรมไว้ 
และจิตนั้น(ผู้นั้น)ยังมีกิเลสหนาแน่น 

ความคิดเห็น ของจิตนั้น(ผู้นั้น) 
จึงประกอบด้วย ทิฏฐิ มานะ  
และยึดถือ ตัวตนว่ายิ่งใหญ่ 
ไม่มีความเห็นว่า ธรรมะเท่านั้นที่ยิ่งใหญ่  

เรื่องมิจฉาทิฏฐินี้ เป็นเรื่องใหญ่ 
ผู้ที่มี สัมมาทิฏฐิ จะต้องอนุเคราะห์ 
ช่วยเหลือผู้ที่พอจะช่วยเหลือได้ตามกำลัง

 จากคุณ : ประสงค์ มีนบุรี [ 6 มิ.ย. 2543 / 19:49:02 น. ]  
     [ IP Address : 203.147.4.11 ] 
 
 
 ความคิดเห็นที่ 10 : (Vicha) 
ขอบคุณ และสาธุที่ช่วยออกความเห็น
 จากคุณ : Vicha [ 7 มิ.ย. 2543 / 21:23:32 น. ]  
     [ IP Address : 203.151.36.21 ] 
 
 
 ความคิดเห็นที่ 11 : (สุชาติ กอไพศาล) 
เรื่อง ไม่มีใครตาย  ไม่มีใครเกิด จริงหรือ 
       ใน ม.ม.  ๑๓/๒๔๘ วัจฉโครตสูตร  มีข้อความ(สรุป)ย่อมาดังนี้ว่า  วัจฉโครตทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า 
  ว่าภิกษุผู้มีจิตหลุดพ้นแล้ว(หมายถึงพระพุทธเจ้าและพระอรหันต์ทั้งหลาย) จะเกิด ณ  ที่ใด  พ. 
  ตรัสว่า  ดุกร วัจฉะ คำว่าจะเกิด ก็ใช้ไม่ได้(ทรงไม่ตอบอธิบาย) 
        วัจฉะ -  ถ้าอย่างนั้น ก็ไม่เกิดหรือ                                        พ.  คำว่าไม่เกิดก็ใช้ไม่ได้ 
        วัจฉะ -  ถ้าเช่นนั้น ทั้งเกิดและไม่เกิดหรือ                            พ.   ทั้งเกิดและไม่เกิดก็ใช้ไม่ได้ 
        วัจฉะ -  ถ้าเช่นนั้น ทั้งเกิดก็ไม่ใช่ ไม่เกิดก็ไม่ใช่หรือ             พ.   ไม่ทั้งสองก็ไม่ใช่ 
        วัจฉโครต กล่าวว่า  ในเรื่องนี้  ข้าพเจ้าถึงความงุนงงเสียแล้ว เคยเลื่อมใสพระองค์ บัดนี้หายไปหมด 
แล้ว   พ. ดูกรวัจฉะ  ควรแล้วที่ท่านจะงง ... เพราะธรรมนี้ ลึกซึ้งเห็นได้ยาก สงบประณีต หยั่งไม่ได้ด้วยตกฺก 
        คำถามของท่าน วัจฉโครต   นั้น ตอบได้ไม่ยากครับ  ท่านอาจจะไปอ่านในพระสูตรนี้เองก็ได้ 
แต่ถ้ายังไม่เข้าใจ   มีเทปการบรรยายและเกี่ยวข้องเรื่องนี้ ๒ ม้วน ๒ ชม. ฟรี กรุณาส่งชื่อที่อยู่ไปที่ ตู้ ปณ๕๗ 
ภาษีเจริญ ๑๐๑๖๐ พร้อมแสตมป์ ๗ บาท น่ะครับ มีจำนวนจำกัก 
        ส่วนเรื่อง  ไม่มีตัวตน(ที่แท้จริง) ขัดแย้งกับ กฏแห่งกรรมไหม   ไม่หรอกครับ  ไม่มีตัวตนคือ ไม่มีตันตน- 
หรือสัตว์บุคคล ที่ไปรับผลกรรมโดยปรมัตถ์  แต่มีสภาวะปรมัตถธรรมคือ ขันธ์ ๕หรือ รูปนามเป็นสภาวะที่สืบ 
สืบรับต่เนื่องเกิดดับกันไปตามเหตุปัจจัยของกรรม(กฎแห่งกรรมปัจจัยฯลฯ)ครับ 
     ที่ว่าไม่มีตัวตนคือ โดยปรมัตถ์ ถ้ากล่าวโดยสมมติก็เป็นบุคคลโน้นบุคคลนี้เท่านั้น เป็นเพียง- 
โลกโวหาร โลกนิรุติ โลกสามัญญา(ชื่อทางโลก)และโลกบัญญัติ แต่ไม่ควรยึดถือ ครับ
 จากคุณ : สุชาติ กอไพศาล [ 9 มิ.ย. 2543 / 18:19:04 น. ]  
     [ IP Address : 202.183.254.89 ] 
 

จบกระทู้บริบูรณ์

 กลับหน้าแรก