สัตว มนุษย เทวดา พรหม มีอะไรที่เหมือนกัน ?                                                                   กลับหน้าแรก 
 
 
 
 เนื้อความ : 
เป็นคำถามที่ผมไม่ได้คิดขึ้นเอง ผู้ที่ถามผมก็ไม่รู้จัก จึงสมมุติว่าเป็นเทวดาชั้นดุสิต 
1.สัตว มนุษย เทวดา พรหม มีอะไรที่เหมือนกัน ? 
2.ปารถนา กับความตั้งมั่นต่างกันอย่างไร ? 
ขอให้ท่านผู้รู้ช่วยตอบด้วย เพราะคำตอบของผมผมก็ยังไม่แน่ใจ 
ว่าจะเหมือนกับผู้อื่นหรือเปล่า อย่าถือว่าเป็นการลองภูมิเลย 
ให้ถือว่าเป็นการสกิดให้เกิดความคิด เพราะผมก็โดนเขาสกิดมาเหมือนกัน
 จากคุณ : Vicha [ 23 พ.ค. 2543 / 21:53:11 น. ]  
     [ IP Address : 203.151.36.17 ] 
 
 
 ความคิดเห็นที่ 1 : (last disciple) 
ตอบอย่างคนไม่ค่อยอ่านหนังสือพระมามากเท่าไหร่นะครับ 
สัตว มนุษย เทวดา พรหม มีสิ่งที่ไม่เหมือนกันคือ ความไม่แน่นอนครับ ยังต้องเคลื่อนย้าย จุติกันไปเรื่อย  

ทุกข์บ้างสุขบ้างตาม"การเลือก"ทั้งโดยรู้หรือไม่รู้ก็ตาม 

"จนกว่าจะเบื่ออย่างแท้จริงกับสิ่งที่เป็นอยู่ มีอยู่ แล้วตัดสินใจก้าวข้ามจากสิ่งเหล่านั้นอย่างตั้งใจครับ" 

ตอบแหวกแนวเกินไปหรือเปล่าไม่รู้ครับ แต่"ใจ"มันบอกว่า"ใช่"ในความรู้สึกของผม  

ส่วน ปารถนา กับความตั้งมั่นต่างกันอย่างไร ? 
ก็ต้องถามผู้รู้ทางอักษรศาสตร์ก่อนครับว่า มันมีความต่างทางความหมายอย่างไร  

เพราะผมรู้สึกว่ามันเป็น"สัญลักษณ์"เป็นการสมมุติให้คำนี้เท่ากับแบบนี้ คำนั้นเท่ากับแบบนั้น ก็เลย...งง เล็กๆ(อีกแล้ว) 

แต่ถ้าจะถามความรู้สึกที่อยากจะบอกก็ต้องตอบว่า 
ปารถนา "น่าจะคล้ายๆความอยาก"  อยากไปเรื่อย...ยังไม่แน่ว่า(จะทุ่มเทเพื่อให้ได้มาซึ่งสิ่งที่ตนปารถนาหรือไม่) เดี๋ยวอยาก...เดี๋ยวไม่อยาก เอาแน่เอานอนอะไรไม่ค่อยได้  
คล้ายๆกับคิดเอาไว้ก่อน ยังไม่ลงมือกระทำ  

ภาษาไทยนี่มีคำที่มีความหมายใกล้กัน เหมือนกันเยอะนะครับ ดีใจที่เกิดเป็นคนไทยครับ : )  

และในอีกมุมนึง ท่านอ.ไชย ณ พล ท่าน เคยบอกว่า ความอยากดี อยากสำเร็จธรรม ปารถนามรรคผล เป็นกิเลสไหม 

ท่านว่าเป็น... แต่ขณะเดียวกัน "มันเป็นบารมีด้วย" 

ฉะนั้นก็เลยได้ความคิดว่า "อยากอะไรแล้วแต่ ขอให้อยากในสิ่งที่ดีก็แล้วกัน ใครเขาจะว่าเรามีกิเลสอยู่ก็ช่างเขา เรารู้ว่าเรา 
ไม่ได้อยากที่จะทำในสิ่งที่ไม่ดีก็แล้วกัน" 

ส่วนความตั้งมั่นในความคิดของผม น่าจะเป็นส่วนของการกระทำแล้ว เป็นการตั้งใจ "อย่างจริงๆจังๆ" ที่จะพาตัวเอง ไปให้ถึงซึ่งสิ่งที่ต้องการ ไม่ว่าจะโดนทดสอบขนาดไหน ไม่ว่าจะเจออุปสรรคเท่าใด ก็จะฝ่ามันไปให้ได้  

เพราะรู้ว่า"สิ่งที่รอเราอยู่ที่ปลายทางนั้นมีคุณค่าและคุ้มค่ากับการที่จะต้องเสียอะไรไป"  

ด้วยเหตุนี้ มหาบุรุษที่เกิดมาแล้วในโลกทั้งหลายจึง 
"ไม่เคย ยอมแพ้อย่างจริงๆจังๆ"แม้แต่น้อย...ที่จะไปให้ถึงสิ่งนั้น แม้ว่าสิ่งที่ทำไป บางทีอาจจะไม่ใช่เพื่อตัวท่านเองเลยก็ตาม หรือถ้าจะเพื่อตัวท่านเองก็ไม่จำเป็นที่ต้องจะทุ่มเทขนาดนั้น... 

เขียนเองรู้สึกเองครับ...ว่ารักพระพุทธเจ้าทุกพระองค์...มหาโพธิสัตว์เจ้าทุกพระองค์...ตลอดจนใจทุกดวงที่ทุ่มเทเพื่อให้สรรพชีวิตอยู่อย่างเย็นเป็นสุข...ตามสมควร 
 

 จากคุณ : last disciple [ 24 พ.ค. 2543 / 01:29:06 น. ]  
     [ IP Address : 203.149.1.253 ] 
 
 
 ความคิดเห็นที่ 2 : (Agent Smith) 
...ตัด.... 
ถ้าถามว่า  ถ้าคนเขาอยาก ไปนิพพาน  เป็นตัณหาไหมก็ เห็นจะ 99 เปอร์เซ็นต์ ที่ตอบว่า คำว่าอยาก แปลว่าตัณหา ในเมื่ออยากไปนิพพาน ก็แสดงว่า เป็นตัณหา เหมือนกัน ก็เลยบอกว่า นี่แกเทศน์แล้ว แกเดินลงนรกไปเลยนะ แกเทศน์แบบนี้ แกเลิกเทศน์แล้วก็เดิน ย่องไปนรกเลยสบาย ไปเสียคนเดียวก่อน ดีกว่ามาชวนชาวบ้านเขาไปอีก ถ้าต้องการ ไปนิพพาน เขา เรียกว่า  ธรรมฉันทะ มีความพอใจในธรรม เป็นอาการทรงไว้ ซึ่งความดี พวกเราฟังแล้วจำไว้ ด้วยนะ ถ้าใครเขาถามจะได้ตอบถูก  
...ตัด... 
ลอกจาก http://members.thaicentral.com/sananj/Buddha/teach11.html
 จากคุณ : Agent Smith [ 24 พ.ค. 2543 / 04:57:31 น. ]  
     [ IP Address : 4.4.31.62 ] 
 
 
 ความคิดเห็นที่ 3 : (tchurit) 
๑ .สัตว์ มนุษย์ เทวดา พรหม อยู่ใต้กฏพระไตรลักษณ์เหมือนกัน เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป 
๒ .ปรารถนา ในสิ่งที่ดีก็เป็นฉันทะ ปรารถนาในสิ่งไม่ดีก็เป็นตัณหา 
ปรารถนาไปนิพพานเป็นตัณหาหรือเปล่า ? ก็ขึ้นอยู่กับคำจำกัดความของนิพพานที่จะไป 
นิพานในความคิดของบางคน ถ้ามุ่งสู่การปราศจากทุกข์ในจิตใจด้วยปัญญาก็เป็น ฉันทะ 
นิพานในผู้ที่ต้องการหลบหนีจากความทุกข์ที่เป็นอยู่ เพราะกลัวในทุกข์(วิภวตัฌหา) ก็เป็นตัฌหา 
ความตั้งมั่นเป็นบารมีอย่างหนึ่ง 
ตั่งมั่นในสัมมาทิฐิก็ดี ถ้าตั้งมั่นในมิจฉาทิฐิก็ไม่ดีครับ
 จากคุณ : tchurit [ 24 พ.ค. 2543 / 08:26:16 น. ]  
     [ IP Address : 203.157.0.183 ] 
 
 
 ความคิดเห็นที่ 4 : (Cowboy) 
วัฏฏะ ?
 จากคุณ : Cowboy [ 24 พ.ค. 2543 / 09:36:22 น. ]  
     [ IP Address : 209.30.229.218 ] 
 
 
 ความคิดเห็นที่ 5 : (Oam) 
มี "ใจ" เหมือนกันครับ 
แต่ความบริสุทธิ์ของใจต่างกัน 
ขึ้นอยู่กับภูมิจิตถูมิธรรมครับ
 จากคุณ : Oam [ 24 พ.ค. 2543 / 10:09:33 น. ]  
     [ IP Address : 203.146.138.76 ] 
 
 
 ความคิดเห็นที่ 6 : (Listener) 
1. สัตว์ทั้งหลายมีความตายเป็นธรรมดา 
2. ปราถนา = To have ตั้งมั่น=To do 
ปราถนาสุขในภายหน้า จึงตั้งมั่นในกุศลธรรม
 จากคุณ : Listener [ 24 พ.ค. 2543 / 10:14:20 น. ]  
     [ IP Address : 210.176.95.70 ] 
 
 
 ความคิดเห็นที่ 7 : (aj) 
ล้วนเวียนว่ายในวัฐสงสาร
 จากคุณ : aj [ 24 พ.ค. 2543 / 19:04:13 น. ]  
     [ IP Address : 203.151.73.196 ] 
 
 
 ความคิดเห็นที่ 8 : (WhiteSpirit) 
ขอตอบแบบอาจารย์เซ็นแล้วกัน :-) 

1.สัตว มนุษย เทวดา พรหม มีอะไรที่เหมือนกัน ? 
ตอบ ไม่มีอะไรเหมือนกันเลย  

ไม่เชื่อท่านเทวดาก็ลองไปสังเกตให้ละเอียดรอบคอบ ว่ามีอะไรที่เหมือนกันเปี๊ยบจน  
ไม่มีใครเลยสามารถแยกได้เลยว่านี่เป็นของสัตว์ ของมนุษย์ ของเทวดา ของพรหม 
 

2.ปารถนา กับความตั้งมั่นต่างกันอย่างไร ? 
ตอบ ไม่ต่างกัน 

ต้องละเหมือนกัน ทำให้เป็นทุกข์ได้พอๆกัน

 จากคุณ : WhiteSpirit [ 24 พ.ค. 2543 / 20:22:47 น. ]  
     [ IP Address : 161.200.255.162 ] 
 
 
 ความคิดเห็นที่ 9 : (Vicha) 
ผมขอตอบตามที่ผมได้ตอบเขาดังนี้ 
1.สิ่งที่เหมือนกันคือกิเลสที่ละเอียด หรืออนุสัยกิเลส 
2.ความปารถนาเป็นเพียงความหวังยังเปลียนแปรงได้ ส่วนความตั้งมั่น 
เหมายถึงแน่นอนแล้ว ไม่เปลียนแปลง 
ด้วยคำถามนี้ทำให้ผมเห็นวิธิตอบได้หลายอย่าง ที่มีส่วนคล้ายกัน 
และแง่คิดต่างๆ นับว่าเป็นประโยชน์
 จากคุณ : Vicha [ 25 พ.ค. 2543 / 21:19:50 น. ]  
     [ IP Address : 203.151.36.18 ] 
 
 
 ความคิดเห็นที่ 10 : (ชาลี) 
ทั้ง สัตว์นรก สัตว์เดรัจฉาน มนุษย์ เทวดา รูปพรหม และอรูปพรหม ถึงแม้มีกายที่ต่างกัน เหตุเนื่องจากการสั่งสมความวิจิตรของจิตที่ได้ทำมาแล้วในอดีตที่แตกต่างกัน แต่มีสิ่งที่ต้องเหมือนกันหมดคือยังมีอวิชชาอยู่ ขึ้นอยู่กับสัตว์ตัวนั้นเอง จึงยังต้องเวียนว่ายตายเกิดในสังสารวัฎร
 จากคุณ : ชาลี [ 30 พ.ค. 2543 / 12:30:58 น. ]  
     [ IP Address : 203.107.202.228 ] 
 

จบกระทู้บริบูรณ์

                                                                                                                    กลับหน้าแรก