วัฏฏกโปตกจริยาที่ ๙

ว่าด้วยจริยาวัตรของลูกนกคุ้ม [๒๙] อีกเรื่องหนึ่ง ในกาลเมื่อเราเป็นลูกนกคุ้ม ขนยังไม่งอก ยังอ่อน เป็นดังชิ้นเนื้อ อยู่ในรัง ในมคธชนบท ในกาลนั้น มารดาเอาจะ งอยปากคาบเหยื่อมาเลี้ยงเรา เราเป็นอยู่ด้วยผัสสะของมารดา กำลัง กายของเรายังไม่มี ในฤดูร้อนทุกๆ ปี มีไฟป่าไหม้ลุกลามมา ไฟ ไหม้ป่าเป็นทางดำลุกลามมาใกล้เรา ไฟไหม้ป่าลุกลามใหญ่หลวง เสียงสนั่นอื้ออึง ไฟไหม้ลุกลามมาโดยลำดับ เข้ามาใกล้จวนจะถึง เรา มารดาบิดาของเราสะดุ้งใจหวาดหวั่น เพราะกลัวไฟที่ไหม้มา โดยเร็ว จึงทิ้งเราไว้ในรังหนีเอาตัวรอดไปได้ เราเหยียดเท้า กางปีก ออกรู้ว่า กำลังกายของเราไม่มี เรานั้นไปไม่ได้อยู่ในรังนั่นเอง จึง คิดอย่างนี้ในกาลนั้นว่า เมื่อก่อนเราสะดุ้งหวาดหวั่น พึงเข้าไปซ่อน ตัวอยู่ในระหว่างปีกของมารดาบิดา บัดนี้ มารดาบิดาทิ้งเราหนีไปเสีย แล้ว วันนี้ เราจะทำอย่างไรศีลคุณ ความสัตย์ พระสัพพัญญูพุทธเจ้า ผู้ประกอบด้วยความสัตย์เอ็นดูกรุณามีอยู่ในโลก ด้วยความสัตย์นั้น เราจักกระทำ สัจจกิริยาอันสูงสุดเราคำนึงถึงกำลังพระธรรมระลึกถึง พระพุทธเจ้าผู้พิชิตมารอันมีในก่อน ได้กระทำสัจจกิริยา แสดงกำลัง ความสัตย์ว่า ปีกของเรามีอยู่ แต่ไม่มีขนเท้าของเรามีอยู่ แต่ยังเดิน ไม่ได้ มารดาบิดาก็พากันบินออกไปแล้วแน่ะไฟ จงกลับไป (จงดับเสีย) พร้อมกับเมื่อเรากระทำสัจจกิริยา ไฟที่ลุกรุ่งโรจน์ ใหญ่หลวงเว้นไว้ ๑๖ กรีส ไฟดับ ณ ที่นั้นเหมือนจุ่มลงในน้ำ ผู้เสมอด้วยความสัตย์ของเราไม่มี นี้เป็นสัจจบารมีของเรา ฉะนี้แล. จบวัฏฏกโปตกจริยาที่ ๙

อรรถกถาวัฏฏโปตกจริยาที่ ๙

พึงทราบวินิจฉัยในอรรถกถาวัฏฏกโปตกจริยาที่ ๙ ดังต่อไปนี้. ใน บทว่า มคเธ วฏฺฏโปตโก เป็นอาทิ มีความสังเขปดังต่อไปนี้. ในกาลเมื่อ เราเกิดในกำเนิดนกคุ่มในอรัญญประเทศแห่งหนึ่ง ในแคว้นมคธ ทำลาย เปลือกไข่ยังอ่อนเพราะออกไม่นาน ยังเป็นชิ้นเนื้อขนยังไม่ออกเป็นลูกนก คุ่มอยู่ในรังนั่นเอง. บทว่า มุขตุณฺฑเกนาหริตฺวา ความว่า มารดาของเรา เอาจะงอยปากคาบเหยื่อมาเลี้ยงเราตลอดกาล. บทว่า ตสฺสา ผสฺเสน ชีวามิ เราเป็นอยู่ด้วยผัสสะของมารดานั้น ความว่า เราเป็นอยู่ คือยังอัตภาพให้ เป็นไปด้วยการสัมผัสตัวของมารดาของเรานั้น ผู้สัมผัสเราตลอดกาลโดยชอบ เพื่อความอบอุ่นและเพื่ออบรม. บทว่า นตฺถิ เม กายิกํ พลํ คือกำลัง อาศัยกายของเราไม่มี เพราะยังเล็กนัก. บทว่า สํวจฺฉเร คือทุกๆ ปี. บทว่า คิมฺหสมเย คือในฤดูร้อน. ไฟไหม้ป่า ในท้องที่นั้นด้วยไฟที่เกิดขึ้นเพราะการเสียดสีกันและกันของกิ่งไม้แห้ง ไฟไหม้ป่าด้วยเหตุนั้น. บทว่า อุปคจฺฉติ อมฺหากํ คือไฟที่ได้ ชื่อว่า ปาวก เพราะชำระพื้นที่อันเป็นที่อยู่ของเราให้สะอาด ด้วยทำที่ไม่ สะอาดอันเป็นที่ตั้งของตนให้สะอาด. และทางไปชื่อว่า เป็นทางดำเพราะนำ เชื้อไฟมาเป็นเถ้าไหม้ที่กอไม้ในป่าเข้ามาใกล้. บทว่า สทฺทายนฺโต คือทำเสียงสนั่นอื้ออึง ในกาลนั้น เพราะเข้า มาใกล้อย่างนี้. บทว่า ธมธมอิติ นี้ แสดงถึงเสียงดังสนั่นลั่นของไฟป่า. บทว่า มหาสิขี ชื่อว่า มหาสิขี เพราะมีเปลวไฟใหญ่ ด้วยอำนาจของ เชื้อไฟเช่นกับยอดเขา. ไฟไหม้ท้องที่ป่านั้นมาโดยลำดับ เข้ามาใกล้จวนจะ ถึงเรา. บทว่า อคฺคิเวคภยา ความว่า มารดาบิดาของเรากลัวไฟที่ลุกลาม มาโดยไว. บทว่า ตสิตา คือหวาดสะดุ้ง ด้วยเกิดหวาดสะดุ้งทางจิต และ ด้วยความหวาดเสียวทางกาย. บทว่า มาตาปิตา คือมารดาและบิดาทั้งหลาย. บทว่า อตฺตานํ ปริโมจยุํ หนีเอาตัวรอด คือได้ทำความปลอดภัยให้แก่ตน ด้วยไปในที่ที่ไฟไม่รบกวน. จริงอยู่ในกาลนั้น พระมหาสัตว์ได้มีร่างกาย ใหญ่ประมาณเท่าตะกร้อลูกใหญ่. มารดาบิดาไม่สามารถจะพาลูกนกนั้นไปได้ ด้วยอุบายไรๆ และเพราะความรักตนครอบงำ จึงทิ้งความรักบุตรหนีไป. บทว่า ปาเท ปกฺเข ปชหามิ คือเราเตรียมจะไปบนแผ่นดิน และบน อากาศ จึงเหยียดเท้าทั้งสองและพยายามกางปีกทั้งสอง. ปาฐะว่า ปฏิหามิ บ้าง. ความว่า เราพยายามเพื่อจะบินไปบนอากาศ อาจารย์บางพวกกล่าวว่า ปตึหามิ บ้าง. บทนั้นมีความดังนี้ เราพยายามเหยียดเท้าและกางปีก. คือ พยายามจะบินไป. เพราะเหตุไรจึงพยายามดังนั้น. เพราะกำลังกายของเรา ไม่มี. บทว่า โสหํ อคติโก ตตฺถ เรานั้นไปไม่ได้อยู่ในรังนั่นเอง ความว่า เราเป็นอย่างนั้น หนีไปไม่ได้เพราะความบกพร่องของเท้าและปีก หรือ มารดาบิดาก็เอาเป็นที่พึ่งไม่ได้โดยหนีไปเสีย. เราอยู่ในป่าถูกไฟป่ารบกวน หรือในรังนั้น ในกาลนั้น จึงคิดโดยอาการที่จะพึงกล่าวในบัดนี้อย่างนี้. อนึ่ง บทว่า อหํ บทที่สองพึงเห็นว่าเป็นเพียงนิบาต. บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าเพื่อทรงแสดงถึงอาการที่พระองค์ทรงคิด ในกาลนั้น จึงตรัสพระดำรัสมีอาทิว่า เยสาหํ ดังนี้. ในบทนั้น มีความว่า เมื่อก่อนเราสะดุ้งหวาดหวั่นพึงเข้าไปซ่อนตัว ในระหว่างปีกของมารดาบิดา คือเรากลัวเพราะกลัวตายหวาดสะดุ้ง เพราะ จิตสะดุ้งต่อมรณภัยนั้น หวั่นไหวเพราะร่างกายสั่น บัดนี้ถูกไฟป่ารบกวน สำคัญดุจหล่มน้ำจึงวิ่งเข้าไปซ่อนตัวอยู่ในระหว่างปีกของมารดาบิดา. มารดาบิดาของเราเหล่านั้นทิ้งเราไว้แต่ผู้เดียวหนีไปเสียแล้ว. บทว่า กถํ เม อชฺช กาตเว คือวันนี้เราควรทำ ควรปฏิบัติอย่างไร? พระมหาสัตว์มิได้หลงลืมสิ่ง ที่ควรทำ ยืนคิดอย่างนี้ว่า ในโลกนี้คุณของศีลยังมีอยู่. คุณของสัจจะยังมี อยู่. ธรรมดาพระสัพพัญญูพุทธเจ้าทั้งหลาย ในอดีต บำเพ็ญบารมี นั่ง ณ พื้นโพธิมณฑล ตรัสรู้แล้ว ถึงพร้อมแล้วด้วยศีล สมาธิ ปัญญา วิมุติ และ วิมุตติญาณทัศนะ ประกอบด้วยสัจจะความเอ็นดูกรุณาและขันติ บำเพ็ญ เมตตาในสรรพสัตว์ ยังมีอยู่. พระธรรมอันพระสัพพัญญูพุทธเจ้าเหล่านั้น แทงตลอดแล้ว เป็นคุณอันประเสริฐโดยส่วนเดียว ยังมีอยู่. อนึ่ง ความ สัตย์อย่างนี้แม้ในเราก็ยังมีอยู่. สภาวธรรมอย่างหนึ่ง ยังมีอยู่ย่อมปรากฏ. เพราะฉะนั้น เราควรระลึกถึงพระพุทธเจ้าในอดีต และคุณธรรมที่พระพุทธเจ้าเหล่านั้นแทงตลอดแล้ว ถือเอาสภาวธรรมอันเป็นสัจจะซึ่งมีอยู่ในตน แล้วทำสัจจกิริยา ให้ไฟกลับไป แล้วทำความสวัสดีแก่ตนเอง และแก่สัตว์ ที่เหลือซึ่งอยู่ ณ ที่นี้ ในวันนี้.

ดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า:- คุณของศีล ความสัตย์ พระสัพพัญญูพุทธเจ้าผู้ประกอบด้วยความสัตย์ เอ็นดูกรุณา มีอยู่ในโลก. ด้วยความสัตย์นั้น เราจักกระทำ สัจจกิริยาอันสูงสุด เราคำนึงถึงกำลังของพระธรรม ระลึกถึงพระพุทธเจ้า ผู้พิชิตมารอันมี อยู่ในก่อนได้กระทำสัจจกิริยา แสดงกำลัง ความสัตย์. ในบทนั้น มีความว่าพระมหาสัตว์ระลึกถึงคุณของพระพุทธเจ้า ทั้งหลาย ซึ่งปรินิพพานแล้วในอดีต ปรารภสภาพของสัจจะอันมีอยู่ในตน แล้วกล่าวคาถาใด ได้ทำสัจจกิริยาในกาลนั้น. เพื่อแสดงคาถานั้น จึงกล่าว คาถามีอาทิว่า:- ปีกของเรามีอยู่ แต่บินไปไม่ได้ เท้า ของเรามีอยู่ แต่ยังเดินไม่ได้ มารดาบิดาก็พา กันบินออกไปแล้ว แน่ะไฟ จงกลับไปเถิด. ในบทเหล่านั้น บทว่า สนฺติ ปกฺขา อปตนา ความว่า ปีกของ เรามีอยู่แต่ยังบินไปไม่ได้ เพราะไม่สามารถจะกระโดดไปทางอากาศด้วยปีก นั้นได้. บทว่า สนฺติ ปาทา อวญฺจนา คือแม้เท้าของเราก็มีอยู่ แต่ยัง เดินไม่ได้ เพราะไม่สามารถจะก้าวไปด้วยเท้านั้นได้. บทว่า มาตาปิตา จ นิกฺขนฺตา ความว่า แม้มารดาบิดาของเราที่ควรจะนำเราไปในที่อื่น ก็ออก ไปเสียแล้ว เพราะกลัวตาย. บทว่า ชาตเวท เป็นคำเรียกไฟ. เพราะว่า ไฟนั้นเกิดให้รู้ ปรากฏด้วยเปลวควันพลุ่งขึ้น. ฉะนั้นท่านจึงเรียกว่า ชาต- เวทะ. บทว่า ปฏิกฺกม คือขอร้องไฟว่า ท่านจงไปคือจงกลับไป. พระมหาสัตว์ ได้นอนทำสัจจกิริยาว่า หากความที่เรามีปีก. ความที่ เหยียดปีกบินไปในอากาศไม่ได้ ความที่เรามีเท้า. ความที่เรายกเท้าเดินไป ไม่ได้. และความที่มารดาบิดาทิ้งเราไว้ในรังแล้วหนีไป เป็นความสัตย์จริง. แน่ะไฟด้วยความสัตย์นี้ ขอท่านจงหลีกไปเสียจากที่นี้. พร้อมด้วยสัจจกิริยา ของพระมหาสัตว์นั้น ไฟได้หลีกไปในที่ประมาณ ๑๖ กรีส. และเมื่อไฟ หลีกไปก็มิได้ไหม้กลับเข้าป่าไป. ดับ ณ ที่นั้น ดุจคบเพลิงที่จุ่มลงไปในน้ำ ฉะนั้น.

ดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า:- พร้อมกับเมื่อเราทำสัจจกิริยา ไฟที่ลุก รุ่งโรจน์ใหญ่หลวง เว้นไว้ ๑๖ กรีส ไฟดับ ณ ที่นั้นเหมือนจุ่มลงในน้ำ. ก็สัจจกิริยาของพระโพธิสัตว์นั้น เป็นเบื้องต้นของการงานรำลึกถึง พระพุทธคุณในสมัยนั้น ไม่ทั่วไปแก่ผู้อื่น เพราะเหตุนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้า จึงตรัสว่า สจฺเจน เม สโม นตฺถิ, อสา เม สจฺจปารมี คือผู้เสมอ ด้วยสัจจะของเราไม่มี. นี้เป็นบารมีของเรา สถานที่นั้นจึงเป็นปฏิหาริย์ตั้ง อยู่กัปหนึ่ง เพราะไม่ถูกไฟไหม้ในกัปนี้ทั้งสิ้น. ด้วยเหตุนี้พระมหาสัตว์ ด้วยอำนาจสัจจกิริยา จึงทำความปลอดภัย ให้แก่ตนและแก่สัตว์ทั้งหลายผู้อยู่ ณ ที่นั้น เมื่อสิ้นอายุก็ได้ไปตามยถากรรม.

มารดาบิดา ในครั้งนั้น ได้เป็นมารดาบิดาในครั้งนี้. ส่วนพระยา นกคุ่ม คือพระโลกนาถ.

แม้บารมีที่เหลือของพระโพธิสัตว์นั้น ก็พึงเจาะ จงกล่าวตามสมควร โดยนัยดังกล่าวแล้วในหนหลังนั่นแล. อนึ่ง เมื่อไฟป่าลุกลามมาอย่างน่ากลัวอย่างนั้น พระโพธิสัตว์แม้อยู่ ผู้เดียวในวัยนั้นก็ยังกลัว จึงระลึกถึงพระธรรมคุณมีสัจจะเป็นต้น และพระ- พุทธคุณ. พึงประกาศอานุภาพมีการยังสัตว์ทั้งหลายแม้ที่อยู่ ณ ที่นั้น ให้ ถึงความปลอดภัยด้วยสัจจกิริยา เพราะอาศัยอานุภาพของตนเท่านั้น.

จบ อรรถกถาวัฏฏโปตกจริยาที่ ๙

กลับที่เดิม