รุรุมิคจริยาที่ ๖

(ยกมาจากจริยาปิฏก เล่ม 33/3) ว่าด้วยจริยาวัตรของพระยาเนื้อ [๑๖] อีกเรื่องหนึ่ง ในกาลเมื่อเราเป็นพระยาเนื้อชื่อรุรุ มีขนสีเหลืองคล้าย หลอมทองคำ ประกอบด้วยศีลอันบริสุทธิ์ยิ่ง เราเข้าไปอาศัยอยู่ ณ ประเทศน่ารื่นรมย์ เป็นรัมณียสถาน สงัดเงียบปราศจากมนุษย์ เป็น ที่ยินดีแห่งใจ ใกล้ฝั่งคงคา ครั้งนั้น บุรุษถูกเจ้าหนี้ทวงถาม จึงโดด ลงในแม่น้ำ ในกระแสน้ำข้างเหนือ ด้วยคิดว่า เราจะเป็นหรือตาย ก็ตามที เขาถูกกระแสน้ำพัดไปในแม่น้ำใหญ่ ตลอดคืนตลอดวัน ร้องไห้คร่ำครวญควรจะสงสาร ลอยไปในท่ามกลางคงคา เราฟังเสียง ของเขาผู้ร้องไห้คร่ำครวญควรจะสงสารแล้ว ไปยืนอยู่ที่ฝั่งคงคา ได้ถามว่า ท่านเป็นคนเช่นไร เขาอันเราถามแล้ว ได้แจ้งเหตุของตน ในกาลนั้นว่า เราเป็นผู้ถูกเจ้าหนี้ทำให้สะดุ้งกลัว จึงแล่นมายัง มหานทีนี้เราทำความกรุณาแก่เขา สละชีวิตของเราให้ว่ายน้ำไปนำเขา มาในเวลากลางคืน ข้างแรมเรารู้กาลว่า เขาหายเหน็ดเหนื่อยล้าแล้ว ได้กล่าวกะเขาดังนี้ว่า เราจะขอพรกะท่านสักข้อหนึ่ง คือ ท่านอย่า บอกเราแก่ใครๆ เขาไปยังพระนครแล้ว พระราชาตรัสถาม จึงกราบ ทูลเพราะต้องการทรัพย์ เขาได้พาพระราชาเข้ามายังที่อยู่ของเรา เรา กราบทูลเหตุการณ์ทุกอย่างแด่พระราชา พระราชาทรงสดับคำของเรา แล้วทรงสอดลูกศรจะยิงบุรุษนั้น ตรัสว่า เราจักฆ่าคนลามกผู้ประทุษ ร้ายมิตรเสียในที่นี้แหละ เราตามรักษาคนประทุษร้ายมิตรนั้น ได้ มอบตนของเราถวายว่า ข้าแต่มหาราชา ขอได้ทรงโปรดก่อนเถิด พระเจ้าข้า ข้าพระบาทจะกระทำตามพระราชประสงค์ของพระราชา เราตามรักษาศีลของเรา ไม่ใช่เราตามรักษาชีวิตของเราเพราะในกาล นั้น เราเป็นผู้มีศีลเพราะเหตุแห่งโพธิญาณนั่นเอง ฉะนี้แล. จบรุรุมิคจริยาที่ ๖

อรรถกถารุรุมิคราชจริยาที่ ๖

พึงทราบวินิจฉัยในอรรถกถารุรุมิคราชจริยาที่ ๖ ดังต่อไปนี้. บทว่า สุตตฺตกนกสนฺนิโภ คือมีขนสีเหลียงคล้ายหลอมทองคำใส่เข้าไปในไฟ โดย ปราศจากสีดำตลอดตัว. บทว่า มิคราชา รุรุ นาม คือมีชื่อโดยสัญชาติว่า รุรุมิคราชโดยเชื้อชาติว่า รุรุ อธิบายว่า เป็นราชาแห่งเนื้อทั้งหลาย. บทว่า ปรมสีลสมาหิโต คือตั้งมั่นอยู่ในศีลอันอุดม พึงทราบเนื้อความในบทนี้ อย่างนี้ว่าศีลบริสุทธิ์และมีจิตตั้งมั่น หรือมีจิตตั้งมั่นโดยชอบในศีลอันบริสุทธิ์.

ในกาลนั้นพระโพธิสัตว์บังเกิดในกำเนิดเนื้อชื่อว่า รุรุ ผิวในร่างกาย ของเนื้อนั้นมีสีเหมือนแผ่นทองคำที่เผาแล้วขัดเป็นอย่างดี เท้าทั้ง ๔ ดุจฉาบ ด้วยครั้ง หางดุจหางจามรี เขามีสีเหมือนพวงเงิน ตาดุจด้อนแก้วมณีที่ขัดดี แล้ว ปากดุจลูกคลีหนังหุ้มผ้ากัมพลสีแดงสอดตั้งไว้. เนื้อนั้นละความคลุกคลี ประสงค์จะอยู่อย่างสงบ จึงทิ้งบริวารอยู่ผู้เดียวเท่านั้น ในป่าใหญ่สะพรั่งด้วย ดอกไม้บานปนต้นสาละน่ารื่นรมย์ใกล้แม่น้ำคงคา.

ดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสไว้ว่า:- เราเข้าไปอาศัยอยู่ ณ ประเทศที่น่ารื่นรมย์ เป็นรมณียสถาน สงัดเงียบปราศจากมนุษย์ เป็นที่ยินดีแห่งใจใกล้ฝั่งคงคา. ใบบทเหล่านั้น บทว่า รมฺเม ปเทเส คือในอรัญญประเทศ น่ารื่นรมย์ เพราะประกอบด้วยภูมิภาคสีขาวปนทราย เช่นกับพื้นแก้วมุกดา ด้วยพื้นป่าอันมีหญ้าเขียวสดงอกขึ้นอย่างสนิท ด้วยพื้นสีลาวิจิตรด้วยสีต่างๆ ดุจปูไว้อย่างสวยงาม และด้วยสระมีน้ำใสสะอาดดุจกองแก้วมณี และเพราะ ปกคลุมด้วยติณชาติ สัมผัสอ่อนนุ่มโดยมากสีแดงคล้ายสีแมลงค่อมทอง บทว่า รมฺมณึเย คือเป็นรมณียสถาน ทำให้เกิดความยินดีแก่ชนผู้เข้าไป ณ ที่นั้น เพราะงดงามด้วยป่าหนาทึบ มีกิ่งก้านสาขาปกคลุมล้วนแล้วไปด้วย ดอกไม้ ผลไม้และหน่อไม้ หมู่นกนานาชนิดส่งเสียงร้องเซ็งแซ่ รุ่งเรือง ไปด้วยต้นไม้เถาวัลย์และป่าหลายอย่างโดยมาก ก็มีมะม่วงต้นสาละ ไพรสณฑ์ ประดับ. สมดังที่ท่านกล่าวไว้ในรุรุมิคราชชาดกว่า:-

ในไพรสณฑ์นั้น มีมะม่วง และดอก สาละบาน ดารดาษไปด้วยแมลงค่อมทอง. ณ ที่นี้ มิคราชนั้นอาศัยอยู่. บทว่า วิวิตฺเต คือว่างเปล่าจากคนอยู่. บทว่า อมนุสฺสเก คือ ปราศจากมนุษย์ เพราะไม่มีมนุษย์สัญจรไปมา ณ ที่นั้น. บทว่า มโนรเม ชื่อว่า มโนรเม เพราะเป็นที่ยินดีแห่งใจโดยเฉพาะของผู้ต้องการความสงบ ด้วยคุณสมบัติตามที่กล่าวแล้ว.

บทว่า อถ ในบทว่า อถ อุปริคงฺคาย นี้ เป็นนิบาตลงในอธิการะ คือเหตุเกิดขึ้น ท่านแสดงไว้ว่า ด้วยเหตุนั้นเมื่อเราอยู่อย่างนั้นในที่นั้น จึงเกิดเหตุนี้ขึ้น. บทว่า อุปริคงฺคาย คือบนกระแสแม่น้ำคงคา. บทว่า ธนิเกหิ ปริปีฬิโต คือบุรุษถูกเจ้าหนี้ทวง ไม่สามารถใช้หนี้ได้.

มีเรื่องเล่าว่า เศรษฐีชาวกรุงพาราณสีคนหนึ่ง ไม่ให้บุตรของตน เล่าเรียนศิลปะอย่างใดอย่างหนึ่ง ด้วยคิดว่า บุตรนี้เรียนศิลปะจักลำบาก. บุตรเศรษฐีไม่รู้อะไรๆ นอกจากขับร้อง ประโคมดนตรี ฟ้อนรำ เคี้ยวกิน และบริโภค. เมื่อบุตรเจริญวัยมารดาบิดาก็หาภรรยาที่สมควรให้มอบทรัพย์ ให้แล้วก็ถึงแก่กรรม. บุตรเศรษฐีห้อมล้อมด้วยนักเลงหญิงนักเลงสุราทำลาย ทรัพย์ทั้งหมดด้วยอบายมุขต่างๆ กู้หนี้ยืมสินในที่นั้นๆ ไม่สามารถจะใช้หนี้ ได้ เมื่อถูกเจ้าหนี้ทวงจึงคิดว่า ประโยชน์อะไรด้วยชีวิตของเรา. เกิดมาด้วย อัตภาพนั้น แม้อย่างนี้ก็เหมือนเป็นอย่างอื่น. ตายเสียดีกว่า จึงบอกเจ้าหนี้ ทั้งหลายว่า พวกท่านจงเอาใบกู้หนี้มา. เรามีทรัพย์อันเป็นของตระกูลฝังไว้ที่ ฝั่งแม่น้ำคงคา. เราจักให้ทรัพย์นั้นแก่พวกท่าน. เจ้าหนี้ทั้งหลายก็ไปกับเขา. บุตรเศรษฐีทำเป็นบอกที่ฝังทรัพย์ว่า ทรัพย์ฝังไว้ตรงนี้ๆ. คิดว่า ด้วยอาการ อย่างนี้เราจักพ้นหนี้ จึงหนีไปโดดน้ำ. บุตรเศรษฐีนั้นลอยไปตามกระแสน้ำ อันเชี่ยว ร้องขอความช่วยเหลือ.

ดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า:- ครั้งนั้นบุรุษถูกเจ้าหนี้ทวงถาม จึงโดดลง ในแม่น้ำ ในกระแสน้ำข้างเหนือ ด้วยคิด ว่า เราจะเป็นหรือตายก็ตามที เราถูกกระแส น้ำพัดไปในแม่น้ำใหญ่ ตลอดคืนตลอดวัน ร้องไห้คร่ำครวญขอความช่วยเหลือ ลอยไปใน ท่ามกลางคงคา ดังนี้. ในบทเหล่านั้น บทว่า ชีวามิ วา มรามิ วา ความว่าบุรุษนั้นตก ลงไปในกระแสแม่น้ำนี้ คิดว่าเราจะเป็นหรือตายก็ตามที. อธิบายว่า เราจะ มีชีวิตอยู่หรือตายในแม่น้ำนี้ก็ตามเถิด. แม้โดยประการทั้งสองอย่าง จะไม่ มีการเบียดเบียนของเจ้าหนี้ ดังนี้. บทว่า มชฺเฌ คงฺคาย คจฺฉติ ลอยไป ในท่ามกลางแม่น้ำ คือบุรุษนั้นลอยไปในแม่น้ำตลอดวันและคืน เพราะยัง รักชีวิตอยู่ยังไม่ถึงที่ตาย จึงกลัวมรณภัย ร้องขอความช่วยเหลือ ลอยไป ตามห้วงน้ำในท่ามกลางแม่น้ำ.

ครั้งนั้นพระมหาบุรุษได้ยินเสียงของบุรุษนั้นร้องขอความช่วยเหลือ ในตอนเที่ยงคืนได้ยินเป็นเสียงมนุษย์ คิดว่า เมื่อเรายังอยู่ในที่นี้ บุรุษอย่า ตายเลย. เราจักช่วยชีวิตเขา จึงออกจากพุ่มไม้ที่นอนอยู่ไปยังฝั่งแม่น้ำ กล่าว ว่า บุรุษผู้เจริญท่านอย่ากลัวเลย. เราจักช่วยชีวิตท่าน แล้วปลอบใจเดินฝ่ากระ แสน้ำให้บุรุษนั้นขึ้นหลังนำไปถึงฝั่ง แล้วพาไปที่อยู่ของตนบรรเทาความ เหน็ดเหนื่อยแล้วก็ให้ผลไม้ ล่วงไป ๒-๓ วัน จึงกล่าวกะบุรุษนั้นว่า บุรุษ ผู้เจริญ เราจักพาท่านไปยังทางที่จะไปกรุงพาราณสีท่านอย่าบอกใครๆ ณ ที่โน้นมีกวางทองอาศัยอยู่. บุรุษนั้นรับว่าจ้ะ ฉันจะไม่บอกใครๆ. พระมหาสัตว์ให้เขาขี่หลังของตนหยั่งลงในทางที่จะไปกรุงพาราณสี แล้วก็กลับ.

ดังที่ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า:- เราฟังเสียงของเขาผู้ร้องไห้คร่ำครวญ ขอ ความช่วยเหลือไปยืนอยู่ที่ฝั่งคงคา ได้ถามว่า ท่านเป็นใคร เขาได้บอกถึงการกระทำของตน ว่า ข้าพเจ้าถูกเจ้าหนี้ให้สะดุ้งกลัว จึงวิ่งมา ยังมหานทีนี้. เราจึงช่วยเหลือเขาสละชีวิตของ เรา ว่ายน้ำไปนำเขามาในเวลากลางคืนข้างแรม เรารู้ว่าเขาหายเหน็ดเหนื่อยแล้ว ได้กล่าวกะ เขาดังนี้ว่า เราจะขอพรกะท่านสักข้อหนึ่ง คือ ท่านอย่าบอกเราแก่ใครๆ ดังนี้. ในบทเหล่านั้น บทว่า โกสิ ตฺวํ นโร ท่านเป็นใคร อธิบายว่า ท่านลอยมาจากไหนจึงถึงที่นี้ได้. บทว่า อตฺตโน กรณํ คือการกระทำของตน. บทว่า ธนิเกหิ ภีโต คือถูกเจ้าหนี้ทำให้หวาดสะดุ้ง. บทว่า ตสิโต คือหวาด เสียว. บทว่า ตสฺส กตฺวาน การุญฺญํ จชิตฺวา มม ชีวิตํ คือเราช่วยเหลือ เขาด้วยความสงสารมาก จึงสละชีวิตของเราแก่บุรุษนั้น. บทว่า ปวิสิตฺวา นีหรึ ตสฺส คือลงแม่น้ำฝ่ากระแสน้ำไปตรงๆ ให้เขาขึ้นหลังเราแล้วนำเขา ออกไปจากที่นั้น. บทว่า ตสฺส เป็นฉัฏฐีวิภัตติ์ลงในอรรถแห่งทุติยาวิภัตติ์. บาลีว่า ตตฺถ ก็มี อธิบายว่า ในแม่น้ำนั้น. บทว่า อนฺธการมฺหิ รตฺติยา คือในราตรีข้างแรม. บทว่า อสฺสตฺถกาลมญฺญาย คือเรารู้กาลที่เขาหายเหน็ดเหนื่อย แล้วจึงให้ผลาผล ล่วงไป -๓ วัน เขาปราศจากความลำบาก. บทว่า เอกํ ตํ วรํ ยาจามิ คือเราขอพรกะท่านสักข้อหนึ่ง. อธิบายว่า ท่านจงให้พร เราข้อหนึ่ง. หากถามว่า พรนั้นเป็นอย่างไร? ตอบว่า ท่านจงอย่าบอกเรา แก่ใครๆ คืออย่าบอกเราแก่พระราชา หรือมหาอำมาตย์ของพระราชา ว่า มีกวางทองอาศัยอยู่ ณ ที่โน้นดังนี้.

ลำดับนั้น ในวันที่บุรุษนั้นเข้าไปถึงกรุงพาราณสีนั่นเอง พระอัครมเหสี ได้ทูลพระราชาว่า ข้าแต่พระองค์หม่อมฉันได้เห็นกวางทองแสดง ธรรมแก่หม่อมฉัน หม่อมฉันฝันจริง กวางทองจะมีแน่นอน เพราะฉะนั้น หม่อมฉันใคร่จะฟังธรรมของกวางทอง. หากหม่อมฉันได้ฟังก็จักมีชีวิตอยู่, หากไม่ได้ฟังหม่อมฉันก็จะไม่มีชีวิตอยู่ เพคะ. พระราชาทรงปลอบพระอัครมเหสี แล้วตรัสว่า หากกวางทองมีอยู่ในมนุษยโลก. เธอก็คงจักได้. แล้ว รับสั่งเรียกหาพราหมณ์ ตรัสถามว่า ธรรมดากวางทองมีอยู่หรือทรงสดับว่า มีอยู่ จึงทรงเอาถุงทรัพย์ ๑,๐๐๐ ใส่ไว้ในหีบทองคำยกขึ้นวางที่คอช้าง แล้ว ตีกลองเที่ยวป่าวประกาศว่า ผู้ใดจักบอกกวางทองได้ เราจักให้ถุงทรัพย์นี้ พร้อมด้วยช้างแก่ผู้นั้น. พระราชามีพระประสงค์จะให้แม้มากกว่านั้น จึงรับ สั่งให้จารึกบ้านส่วยลงในแผ่นทองคำ แล้วประกาศไปทั่วพระนครว่า:- เราให้บ้านส่วย และสตรีที่ตกแต่งแล้ว อย่างสวยงามแก่ผู้บอกมฤคที่อุดมกว่ามฤคทั้ง หลายดังนี้. ลำดับนั้นเศรษฐีบุตรได้ฟังดังนั้นจึงไปหาราชบุรุษแล้วพูดว่า เราจัก ทูลมฤคเห็นปานนั้นแด่พระราชา ท่านทั้งหลายจงนำเราเข้าเฝ้าพระราชาเถิด. พวกราชบุรุษนำเศรษฐีบุตรนั้นเข้าเฝ้าพระราชา แล้วทูลความนั้นให้ทรง ทราบ. พระราชาตรัสถามว่า เจ้าได้เห็นจริงหรือ. เขาทูลว่า ขอเดชะจริง พระเจ้าข้า ขอจงมากับข้าพระองค์เถิด ข้าพระองค์จักให้ทอดพระเนตร มฤคนั้น. พระราชาให้บุรุษนั้นเป็นผู้นำทางเสด็จไปถึงที่นั้นด้วยบริวารใหญ่ ให้พวกราชบุรุษถืออาวุธล้อมสถานที่ที่บุรุษผู้ทำลายมิตรนั้น ชี้ให้ดูโดยรอบ แล้วตรัสว่า พวกท่านจงทำเสียงให้ดัง พระองค์เองประทับยืน ณ ข้างหนึ่ง กับชนเล็กน้อย แม้บุรุษนั้นก็ได้ยืนอยู่ไม่ไกล. พระมหาสัตว์สดับเสียงก็รู้ว่า เป็นเสียงกองพลใหญ่. ภัยของเราคงจะเกิดจากบุรุษนั้นเป็นแน่ จึงลุกขึ้น มองดูหมู่ชนทั้งสิ้น ดำริว่า เราจักปลอดภัยในที่ที่พระราชาประทับอยู่ จึง เดินมุ่งหน้าเข้าไปหาพระราชา. พระราชาทอดพระเนตรเห็นกวางทองนั้น เดินมา ทรงดำริว่า กวางทองนี้มีกำลังดุจคชสารคงจะมาทำร้ายเรา จึงทรง สอดลูกศรเล็งตรงไปยังพระโพธิสัตว์ด้วยทรงพระดำริว่า หากมฤคนี้กลัวหนี ไป เราจะยิงทำให้ทุพลภาพแล้วจึงจับ.

พระมหาสัตว์ได้กล่าวคาถาว่า:- ข้าแต่มหาราชผู้ประเสริฐ ขอทรงโปรด รอก่อนอย่าเพิ่งยิงข้าพระองค์เลยใครบอกเรื่อง นี้แด่พระองค์ว่า มีเนื้ออยู่ ณ ที่นี้ พระเจ้าข้า.

พระราชาทรงยับยั้งด้วยถ้อยคำอันไพเราะของมฤคนั้น ทรงลดคันศร ประทับยืนด้วยความเคารพ. แม้พระโพธิสัตว์ก็เข้าไปหาพระราชา ได้ทำปฏิสันถารอย่างละมุนละม่อม. แม้มหาชนก็วางสรรพาวุธแวดล้อมพระราชา.

ดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า:- เขาไปยังพระนครแล้ว พระราชาตรัสถาม จึงกราบทูลเพราะต้องการทรัพย์ เขาได้พาพระ- ราชามายังที่อยู่ของเรา ดังนี้. บทนั้นมีเนื้อความดังต่อไปนี้. ผู้ใดประทุษร้ายมิตรเป็นบุรุษชั่ว เรา สละชีวิตช่วยให้พ้นจากเป็นเหยื่อสัตว์ พาไปกรุงพาราณสีบอกเราแด่พระ- ราชา เพราะตนต้องการทรัพย์. ครั้นบอกแล้วบุรุษชั่วนั้น เป็นผู้นำทางเพื่อ ให้พระราชาจับเรา จึงพาพระราชามายังที่อยู่ของเรา. พระมหาสัตว์ ทูลถามพระราชาอีกด้วยเสียงอันไพเราะดุจสั่นกระดิ่ง ทองคำว่า ใครหนอทูลเรื่องนี้แด่พระองค์ว่า ณ ที่นี้มีมฤคที่อาศัยอยู่.

ในขณะ นั้นบุรุษชั่วนั้นหลีกไปหน่อยหนึ่ง แล้วยืนในที่พอฟังได้ยิน. พระราชา ตรัสว่า บุรุษผู้นี้บอกท่านแก่เรา แล้วทรงชี้ไปที่บุรุษชั่วนั้น. ลำดับนั้น

พระโพธิสัตว์กล่าวคาถาว่า:- ได้ยินว่า คนบางพวกในโลกนี้ไม่พูด ความจริง ไม้ลอยน้ำยังดีกว่า ส่วนคนบางพวก ไม่ดีเลย.

พระราชาทรงสดับดังนั้นแล้ว ทรงเกิดความสังเวชตรัสคาถาว่า:- ท่านรุรุมิคราช บรรดามฤค นก มนุษย์ ท่านติเตียนอะไร. มฤคได้ภัยใหญ่กะเราเพราะ ฟังมนุษย์นั้นบอก.

ลำดับนั้นพระมหาบุรุษ เมื่อจะทูลว่า ข้าแต่มหาราชข้าพระองค์ไม่ ติเตียนมฤค ไม่ติเตียนนก. แต่ข้าพระองค์ติเตียนมนุษย์จึงกล่าวว่า:- ข้าแต่ราชะข้าพระองค์ ช่วยยกบุรุษใดซึ่ง ลอยอยู่ในน้ำที่มีน้ำมาก มีกระแสเชี่ยวขึ้นมา ได้ ภัยมาถึงข้าพระองค์ เพราะบุรุษนั้นเป็น ต้นเหตุ การสมาคมกับอสัตบุรุษเป็นทุกข์แท้.

ในบทเหล่านั้น บทว่า นิปฺลวิตํ คือลอยน้ำ. บทว่า เอกจฺจิโย คือคนบางคนประทุษร้ายมิตรเป็นบุรุษชั่ว แม้ตกลงไปในน้ำเมื่อมีผู้ช่วยขึ้น มาได้ก็ไม่ประเสริฐเลย. เพราะไม้ยังใช้ประโยชน์ได้หลายอย่าง. แต่คนประทุษร้ายมิตร ย่อมเป็นไปเพื่อความพินาศ. เพราะฉะนั้น ไม้จึงดีกว่าคน ประทุษร้ายมิตรนั้น. บทว่า มิคานํ คือพระราชาตรัสถามว่า ดูก่อนรุรุมิคราช บรรดาเนื้อนกหรือมนุษย์ ท่านติเตียนอะไร? บทว่า ภยํ หิ มํ วินฺทตินปฺ- ปรูปํ คือมฤคได้ภัยใหญ่กะเรา อธิบายว่า ทำดุจเป็นของตน. บทว่า วาหเน คือห้วงน้ำสามารถพัดพาคนที่ตกลงไปแล้วๆ เล่าๆ ได้. บทว่า มโหทเก สลิเล คือในน้ำอันมีน้ำมาก. แม้ด้วยบททั้งสอง ท่านแสดงถึงห้วงน้ำมีน้ำมาก. บทว่า ตโตนิทานํ คือมิคราชทูลพระราชาว่า

ข้าแต่มหาราช บุรุษใดที่พระองค์แสดงแก่ข้าพระบาท. บุรุษนั้นลอยไปใน แม่น้ำร้องคร่ำครวญขอความช่วยเหลือในตอนเที่ยงคืน ข้าพระองค์ช่วยยก เขาขึ้นจากแม่น้ำ. ภัยนี้มาถึงข้าพระองค์ เพราะบุรุษนั้นเป็นต้นเหตุ. ชื่อว่าการสมาคมกับอสัตบุรุษเป็นทุกข์. พระราชาครั้นทรงสดับดังนั้นแล้ว ทรงพิโรธบุรุษชั่วนั้น ทรงสอดลูกศรด้วยทรงดำริว่า เจ้านี้ไม่รู้จักคุณของ ผู้มีอุปการะมากถึงอย่างนี้. ทำให้เกิดลำบาก. เราจะยิงแล้วฆ่ามันเสีย.

ดังที่ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า:- เรากราบทูลเหตุการณ์ทุกอย่างแด่พระราชา พระราชาทรงสดับคำของเราแล้ว ทรงสอดลูก ศรจะยิงบุรุษนั้น ตรัสว่าเราจักฆ่าคนลามกผู้ ประทุษร้ายมิตรเสียในที่นี้แหละ. ในบทเหล่านั้น บทว่า ยาวตา กรณํ คือทูลถึงการทำอุปการะทั้งหมด ที่เราทำไว้แก่บุรุษนั้น. บทว่า ปกปฺปยิ คือสอดลูกศร. บทว่า มิตฺตทุพฺภึ ผู้ประทุษร้ายมิตร คือผู้มีปกติประทุษร้ายมิตรผู้มีอุปการะแก่ตน.

ลำดับนั้นพระมหาสัตว์ ดำริว่า บุรุษพาลนี้อย่าได้พินาศไปเพราะ อาศัยเราเลยจึงทูลว่า ข้าแต่มหาราชชื่อว่าการฆ่าคนพาลก็ดี บัณฑิตก็ดี วิญญูชนไม่สรรเสริญว่าเป็นคนดี. ที่แท้แล้ววิญญูชนติเตียนอย่างยิ่ง. เพราะ ฉะนั้นขอพระองค์อย่าฆ่าบุรุษพาลนี้เลย. ปล่อยเขาไปตามความพอใจเถิด. ขอพระองค์อย่าทรงให้เขาเสื่อมเสีย จึงทรงพระราชทานสิ่งที่พระองค์ ปฏิญญาไว้แก่เขาว่า จักพระราชทานเถิดพระเจ้าเข้า แล้วทูลต่อไปว่า อนึ่ง ข้าพระองค์จักนำสิ่งที่พระองค์ปรารถนา. ข้าพระองค์จะมอบตนแด่พระองค์.

ดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า:- เราตามรักษาคนผู้ประทุษร้ายมิตรนั้นได้ มอบตนของเราถวายว่า ข้าแต่มหาราช ขอได้ ทรงโปรดงดก่อนเถิดพระเจ้าข้า ข้าพระองค์จะ ทำตามพระราชประสงค์ของพระองค์. ในบทเหล่านั้น บทว่า นิมฺมินึ คือเราตามรักษาบุรุษนั้น ผู้ประทุษ- ร้ายมิตรเป็นบุคคลชั่ว ได้มอบอัตภาพของเราถวายกะพระราชานั้น. อธิบาย ว่า เราได้มอบตนถวายแด่พระราชา แล้วยับยั้งความตายของเขาผู้ตกอยู่ใน เงื้อมพระหัตถ์ของพระราชา. บทว่า ติฏฺ€เตโส เป็นต้น เป็นบทแสดง อาการถ้อยทีถ้อยปฏิบัติต่อกัน. บัดนี้พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อทรงแสดงถึงประโยชน์ที่ทำการถ้อยที ถ้อยอาศัยกันของพระองค์ จึงตรัสคาถาสุดท้าย. ความคาถาสุดท้ายนั้นมีดังต่อไปนี้:- ในครั้งนั้นเมื่อพระราชามีพระประสงค์จะ ฆ่าบุรุษผู้ประทุษร้ายมิตรนั้นเพราะอาศัยเรา เรา จึงสละตนแด่พระราชา ตามรักษาศีลของเรา มิใช่ตามรักษาชีวิตของเรา. ข้อที่เราเป็นผู้มีศีล มิได้คำนึงถึงชีวิตของตนก็เพราะเหตุแห่งสัมมาสัมโพธิญาณนั้นเอง.

ลำดับนั้นพระราชา เมื่อพระโพธิสัตว์สละชีวิตของตนยับยั้งความตาย ของบุรุษนั้น มีพระทัยยินดี ตรัสว่า ไปเถิดเจ้า เจ้าพ้นความตายจากมือของ เราด้วยความช่วยเหลือของมิคราช แล้วพระราชทานทรัพย์แก่บุรุษนั้นตาม ปฏิญญา. พระราชาทรงอนุญาตพรตามความพอใจของพระโพธิสัตว์แล้วนำ พระโพธิสัตว์เข้าสู่พระนคร รับสั่งให้ตกแต่งพระนครและประดับพระโพธิสัตว์ ให้พระโพธิสัตว์แสดงธรรมแก่พระเทวี. พระมหาสัตว์แสดงธรรมด้วย ภาษามนุษย์ไพเราะ แด่พระราชาพระเทวี และแก่ราชบริษัทถวายโอวาท พระราชาด้วยทศพิธราชธรรม สั่งสอนมหาชนแล้วเข้าป่าแวดล้อมด้วยหมู่ มฤคอยู่อย่างสบาย. แม้พระราชาก็ทรงดำรงอยู่ในโอวาทของพระมหาสัตว์ ทรงประทานอภัยแก่สรรพสัตว์ทรงบำเพ็ญบุญมีทานเป็นต้น ได้มีสวรรค์ เป็นที่ไปในเบื้องหน้า.

เศรษฐีบุตรในครั้งนั้นได้เป็นเทวทัตในครั้งนี้. พระราชาคือพระอานนท์ รุรุมิคราชคือพระโลกนาถ.

แม้ในรุรุมิคราชจริยานี้ ก็พึงเจาะจงกล่าวถึงบารมีที่เหลือของพระโพธิสัตว์นั้นตามสมควรโดยนัยดังกล่าวแล้วในหนหลังนั่นแล. อนึ่ง แม้ในจริยานี้ ก็พึงประกาศคุณานุภาพของพระมหาสัตว์ มี อาทิอย่างนี้ คือ การละฝูงของมฤคราชผู้ไม่ปรารถนาเกี่ยวข้องกับชน เพราะ ยินดีในความสงบ. การได้ยินเพียงเศร้าโศกของบุรุษผู้คร่ำครวญขอความ ช่วยเหลือซึ่งลอยอยู่ในแม่น้ำในเวลาเที่ยงคืน จึงลุกจากที่นอนไปยังฝั่งแม่ น้ำ สละชีวิตของตนหยั่งลงไปในห้วงน้ำซึ่งไหลลงไปในแม่น้ำใหญ่ ฝ่ากระ แสน้ำให้บุรุษนั้นขึ้นหลังตน พาไปถึงฝั่ง ปลอบโยน ให้ผลาผลเป็นต้นแล้ว ให้บรรเทาความเหน็ดเหนื่อย. การให้บุรุษนั้นขึ้นหลังตนอีกครั้ง แล้วนำ ออกจากป่าไปส่งที่ทางหลวง. การเป็นผู้ไม่กลัวไปเผชิญหน้ากับพระราชาผู้ สอดลูกศรประทับยืนจ้องด้วยหมายว่าจักยิง แล้วทูลด้วยภาษามนุษย์ก่อน แล้วทำการต้อนรับอย่างละมุนละม่อม. การกล่าวธรรมกถากะพระราชา ซึ่งมี พระประสงค์จะฆ่าบุรุษชั่วผู้ทำลายมิตร แล้วสละชีวิตของตนอีก แล้วก็พ้น จากความตาย. การทูลให้พระราชาทรงประทานทรัพย์แก่บุรุษนั้นตาม ปฏิญญา. การที่เมื่อพระราชาทรงประทานพรแก่ตน จึงขอให้พระราชาทรง ประทานอภัยแก่สรรพสัตว์. การแสดงธรรมแก่มหาชน ซึ่งมีพระราชาและ พระเทวีเป็นประมุข แล้วให้ชนเหล่านั้นตั้งอยู่ในบุญทั้งหลายมีทานเป็นต้น. การให้โอวาทแก่เนื้อทั้งหลายที่ได้รับอภัยแล้ว ห้ามกินข้าวกล้าของพวก มนุษย์. การทำหนังสือสัญญาของบุรุษนั้น ถาวรมาจนกระทั่งทุกวันนี้ด้วย ประการฉะนี้.

จบ อรรถกถารุรุมิคราชจริยาที่ ๖

กลับที่เดิม