อรรถกถาพรหาฉัตตชาดกที่ ๖
พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ
พระวิหารเชตวัน ทรงปรารภ
ภิกษุโกหก จึงตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำเริ่มต้นว่า ติณํ ติณนฺติ
ลปสิ ดังนี้.
เรื่องปัจจุบันได้กล่าวไว้แล้วเหมือนกัน. ส่วนเรื่องในอดีตมีข้อ
ความดังต่อไปนี้.
ในอดีตกาล
เมื่อพระเจ้าพรหมทัตครองราชสมบัติอยู่ในนคร-
พาราณสี
พระโพธิสัตว์ได้เป็นอำมาตย์ผู้สอนอรรถและธรรม ของ
พระเจ้าพาราณสีนั้น. พระเจ้าพาราณสีทรงยกกองทัพใหญ่ไปเฉพาะ
พระเจ้าโกศล
เสด็จในนครสาวัตถีเข้านครแล้วจับพระเจ้าโกศลได้ด้วย
การรบ. ก็พระเจ้าโกศลมีพระราชโอรสนามว่าฉัตตกุมาร. ฉัตตกุมาร
นั้นปลอมเพศหนีออกไปยังเมืองตักกศิลาเรียนไตรเพท และศิลป-
ศาสตร์ ๑๘ ประการ
แล้วเสด็จออกจากเมืองตักกศิลา
เที่ยวศึกษา
ศิลปะทุกลัทธิจนถึงปัจจันตคามแห่งหนึ่ง มีพระดาบส ๕๐๐ รูป อาศัย
ปัจจันตคามนั้นอยู่ ณ
บรรณศาลาในป่า. พระกุมารเข้าไปหาดาบส
เหล่านั้นแล้วคิดว่า จักศึกษาอะไรๆ ในสำนักของพระดาบสแม้เหล่านี้
จึงบวชแล้วเรียนเอาสิ่งที่พระดาบสเหล่านั้นรู้ทั้งหมด ครั้นต่อมา เธอ
ได้เป็นศาสดาในคณะ. อยู่มาวันหนึ่ง เรียกหมู่ฤาษีมาแล้วถามว่า
ท่านผู้เนียรทุกข์ทั้งหลาย เพราะเหตุไรพวกท่านจึงไม่ไปยังมัชฌิม-
ประเทศ. หมู่ฤาษีจึงกล่าวว่า ท่านผู้เนียรทุกข์ ขึ้นชื่อว่ามนุษย์
ทั้งหลายในมัชฌิมประเทศเป็นบัณฑิต เขาถามปัญหา ให้ทำอนุโมทนา
ให้กล่าวมงคล ย่อมติเตียนผู้ไม่สามารถ เราทั้งหลายไม่ไป เพราะ
ความกลัวอันนั้น. ฉัตตดาบสจึงกล่าวว่า ท่านทั้งหลายอย่ากลัวเลย
ข้าพเจ้าจักทำกิจนั้นทั้งหมด. หมู่ดาบสจึงกล่าวว่า ถ้าอย่างนั้น
พวกเราจะไป.
ดาบสทั้งปวงถือเอาเครื่องหาบบริขารของตนๆ ถึงเมือง
พาราณสีโดยลำดับ.
ฝ่ายพระเจ้าพาราณสีทรงกระทำราชสมบัติของพระเจ้าโกศลให้
อยู่ในเงื้อมพระหัตถ์ของพระองค์แล้ว ทรงตั้งผู้ควรแก่พระราชา ( ข้า-
หลวง) ไว้ในนครนั้น ส่วนพระองค์ทรงพาเอาทรัพย์ที่มีอยู่ในนครนั้น
ไปยังนครพาราณสี
ให้บรรจุเต็มตุ่มโลหะแล้วฝังไว้ในพระราชอุทยาน
ในสมัยนั้น
ประทับอยู่เฉพาะในนครพาราณสีนั่นเอง. ครั้งนั้นพระ-
ฤาษีเหล่านั้นอยู่ในพระราชอุทยานตลอดคืน พอวันรุ่งขึ้น จึงเข้าไป
ภิกขาจารยังพระนคร แล้วได้ไปยังประตูพระราชนิเวศน์. พระราชา
ทรงเลื่อมใสในอิริยาบถของพระฤาษีเหล่านั้น จึงให้นิมนต์มาแล้ว ให้
นั่ง ณ
ท้องพระโรง
ถวายข้าวยาคูและของเคี้ยว
แล้วตรัสถามปัญหา
นั้นๆ จนถึงเวลาภัตตาหาร. ฉัตตดาบสเมื่อจะทำพระหฤทัยของพระ-
ราชาให้ยินดี จึงแก้ปัญหาทั้งปวง ในเวลาเสร็จภัตตกิจ ได้กระทำอนุ-
โมทนาอันวิจิตรงดงาม. พระราชาทรงเลื่อมใสยิ่งขึ้น ทรงรับปฏิญญา
ให้พระฤาษีเหล่านั้นแม้ทั้งหมดอยู่ในพระราชอุทยาน. ฉัตตฤาษีรู้มนต์
สำหรับขนขุมทรัพย์ เธอเมื่ออยู่ในพระราชอุทยานนั้นคิดว่า พระ-
เจ้าพาราณสีนี้ทรงฝังทรัพย์อันเป็นของพระบิดาเราไว้ ณ
ที่ไหนหนอ
จึงร่ายมนต์แล้วตรวจดูอยู่ ก็รู้ว่าฝังไว้ในพระราชอุทยาน จึงคิดว่า
จักถือเอาทรัพย์ในที่นี้แล้วไปยึดเอาราชสมบัติของเรา จึงเรียกดาบส
ทั้งหลายมาแล้วกล่าวว่า ท่านผู้เนียรทุกข์ทั้งหลาย ข้าพเจ้าเป็นโอรส
ของพระเจ้าโกศล
พระเจ้าพาราณสียึดเอาราชสมบัติของข้าพเจ้ามา
ข้าพเจ้าจึงปลอมเพศออกมา ตามรักษาชีวิตตนตลอดกาลประมาณ
เท่านี้
บัดนี้ข้าพเจ้าได้ทรัพย์อันเป็นของตระกูลแล้ว ข้าพเจ้าจักถือเอา
แล้วไปยึดเอาราชสมบัติของตน ท่านทั้งหลายจักกระทำอย่างไร. พวก
ฤาษีทั้งหลายจึงกล่าวว่า ข้าพเจ้าทั้งหลายจักไปกับท่านเหมือนกัน.
ฉัตตฤาษีนั้นรับคำว่าตกลง แล้วให้ทำกระสอบหนังใหญ่ๆ ในเวลา
กลางคืน จึงขุดภาคพื้นขนตุ่มทรัพย์ขึ้นมา ใส่ทรัพย์ลงในกระสอบ
ทั้งหลาย แล้วบรรจุหญ้าไว้เต็มตุ่มแทนทรัพย์ ให้ฤาษี ๕๐๐ และ
มนุษย์อื่น
ๆ
ถือทรัพย์พากันหนีไปถึงนครสาวัตถี
ให้จับพวกข้าหลวง
แล้วยึดเอาราชสมบัติไว้ จึงให้ทำการซ่อมแซมกำแพงและป้อมค่าย
เป็นต้น
กระทำนครนั้นให้เป็นนครที่ราชาผู้เป็นข้าศึก จะยึดไม่ได้ด้วย
การสู้รบอีกต่อไป แล้วครอบครองพระนครอยู่ ฝ่ายพระเจ้า-
พาราณสี พวกราชบุรุษกราบทูลว่า ดาบสทั้งหลายถือเอาทรัพย์จาก
พระราชอุทยานหนีไปแล้ว ท้าวเธอจึงเสด็จไปยังพระราชอุทยาน
รับสั่งให้เปิดตุ่มขุมทรัพย์ ทรงเห็นแต่หญ้าเท่านั้น. ท้าวเธอเกิดความ
เศร้าโศกอย่างใหญ่หลวง เพราะอาศัยทรัพย์เป็นเหตุ. จึงเสด็จไปยัง
พระนคร
เสด็จเที่ยวบ่นเพ้ออยู่ว่าหญ้าๆใครๆอื่นไม่สามารถทำความ
เศร้าโศกของพระราชานั้นให้ดับลงได้. พระโพธิสัตว์คิดว่า ความ
เศร้าโศกของพระราชาใหญ่หลวงนัก พระองค์ทรงเที่ยวบ่นเพ้ออยู่ ก็
เว้นเราเสีย ใครๆ อื่นไม่สามารถจะบันเทาความเศร้าโศกของท้าวเธอ
ได้ เราจักกระทำท้าวเธอให้หมดเศร้าโศก. วันหนึ่ง พระโพธิสัตว์นั้น
นั่งเป็นสุขอยู่กับพระราชานั้น ในเวลาที่พระราชาทรงบ่นเพ้อ จึง
กล่าวคาถาที่๑ ว่า :-
พระองค์ตรัสเพ้ออยู่ว่า หญ้าๆ ใครหนอ
นำเอาหญ้ามาถวายพระองค์ พระองค์มีกิจ
ด้วยหญ้าหรือหนอ จึงตรัสถึงแต่หญ้าเท่านั้น.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กินฺนุ เต ติณฺกิจฺจตฺถิ ความว่า
กิจที่จะพึงทำด้วยหญ้ามีอยู่แก่พระองค์หรือหนอ. บทว่า ติณเมว
ปภาสสิ ความว่า เพราะพระองค์ตรัสถึงแต่หญ้าอย่างเดียวว่า หญ้า
หญ้า หาได้ตรัสว่า หญ้าชื่อโน้นไม่
ขอพระองค์จงตรัสชื่อของหญ้า
นั้นก่อนว่า หญ้าชื่อโน้น ข้าพระองค์ทั้งหลายจักนำมาถวายพระองค์
เออก็หญ้าจะมีประโยชน์อะไรแก่พระองค์ ขอพระองค์โปรดอย่าทรง
ตรัสพร่ำเพ้อเอาหญ้าเป็นเหตุเลย.
พระราชาทรงสดับดังนั้น จึงตรัสคาถาที่ ๒
ว่า :-
ฉัตตฤาษีผู้มีร่างกายสูงใหญ่ เป็นพรหม-
จารี เป็นพหูสูต มาอยู่ ณ ที่นี้ เขาลักทรัพย์
ของเราจนหมด แล้วใส่หญ้าไว้ในตุ่มแทน
ทรัพย์แล้วหนีไป.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า พฺรหา
แปลว่า สูง. คำว่า ฉตฺโต
เป็นชื่อของพระฤาษีนั้น. บทว่า สพฺพํ
สมาทาย ได้แก่ ถือเอา
ทรัพย์ทั้งหมด. ด้วยบทว่า นิกฺขิปฺป
คจฺฉติ นี้ พระเจ้าพาราณสี
เมื่อจะแสดงว่า ฉัตตฤาษีใส่หญ้าในตุ่มแล้วหนีไป จึงตรัสอย่างนั้น.
พระโพธิสัตว์ได้ฟังดังนั้น จึงกล่าวคาถาที่ ๓
ว่า :-
การถือเอาทรัพย์ของตนไปหมด และ
การไม่ถือเอาหญ้า เป็นกิจที่ผู้ปรารถนาเอา
ของน้อยมาแลกของมาก พึงกระทำอย่างนั้น
ฉัตตฤาษีใส่หญ้าในตุ่มหนีไปแล้ว การร่ำไร
รำพรรณในเรื่องนั้น จะมีประโยชน์อะไร.
คำที่เป็นคาถานั้น มีความหมายดังนี้ :- การถือเอาทรัพย์อัน
เป็นของพระราชบิดาไปทั้งหมด และการไม่ถือเอาหญ้าที่ไม่ควรจะเอา
ไปนั้น เป็นกิจที่ผู้ปรารถนาทรัพย์ด้วยหญ้าอันมีประมาณน้อย จะพึง
กระทำอย่างนั้น ข้าแต่มหาราชเจ้า ดังนั้น ฉัตตฤาษีผู้มีร่างกายสูง
ใหญ่นั้น
จึงถือเอาทรัพย์อันเป็นของพระราชบิดาตนซึ่งควรจะถือเอา
แล้วบรรจุหญ้าที่ไม่ควรถือเอาไว้ในตุ่มหนีไปแล้ว จะมัวร่ำไรรำพรรณ
อะไรกันในเรื่องนั้น.
พระราชาทรงสดับดังนั้น จึงตรัสคาถาที่ ๔
ว่า :-
ผู้มีศีลทั้งหลายย่อมไม่ทำอย่างนั้น คน
พาลย่อมทำอนาจารอย่างนี้เป็นปกติ ความ
เป็นบัณฑิตจักทำคนผู้ทุศีล มีศีลไม่ยั่งยืน
ให้เป็นคนอย่างไร.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สีลวนฺโต
ความว่า บุคคลผู้
สมบูรณ์ด้วยศีล ประพฤติพรหมจรรย์ ย่อมไม่กระทำกรรมเห็นปาน
นั้น. บทว่า พาโล
สีลานิ กุพฺพติ ความว่า ส่วนคนพาลย่อมทำปกติ
กล่าวคืออนาจารของตนเห็นปานนี้ได้. บทว่า อนิจฺจสีลํ
ได้แก่ ผู้
ประกอบด้วยศีลอันไม่ยั่งยืน คือไม่เป็นไปตลอดกาลนาน. บทว่า
ทุสฺสีลฺยํ ได้แก่ ผู้ทุศีล.
บทว่า กึ ปณฺฑิจฺจํ กริสฺสติ
ความว่า
ความเป็นบัณฑิตที่อบรมมาด้วยความเป็นพหูสูตร จักกระทำบุคคล
เห็นปานนั้นให้เป็นอย่างไร คือจักให้เขาถึงพร้อมอะไร คือจักนำความ
วิบัติแก่เขาเท่านั้น.
พระเจ้าพาราณสีนั้น ครั้นตรัสติเตียนฉัตตฤาษีนั้นแล้ว เป็น
เป็นผู้หมดความเศร้าโศกเพราะคาถาของพระโพธิสัตว์นั้น ทรงครอง-
ราชสมบัติโดยธรรม.
พระศาสดาครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว จึงทรง
ประชุมชาดกว่า พรหาฉัตตฤาษีในครั้งนั้น ได้เป็นภิกษุโกหก
ในบัดนี้
ส่วนอำมาตย์ผู้เป็นบัณฑิตในครั้งนั้น ได้เป็นเราตถาคต
ฉะนี้แล.
จบ อรรถกถาพรหาฉัตตชาดกที่ ๖