อรรถกถาจัมมสาฏกชาดกที่ ๔
พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ
พระวิหารเชตวัน ทรงปรารภ
ปริพาชกชื่อจัมมสาฏก จึงตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำเริ่มต้นว่า
กลฺยาณรูโป วตายํ ดังนี้.
ได้ยินว่า
ปริพาชกนั้นมีหนังเท่านั้นเป็นเครื่องนุ่งและเครื่อง
ห่ม. วันหนึ่ง ปริพาชกนั้นออกจากอารามของปริพาชก เที่ยวภิกขา
ไปในนครสาวัตถีถึงที่พวกแพะชนกัน. แพะเห็นปริพาชกนั้นมีความ
ประสงค์จะชนจึงย่อตัวลง. ปริพาชกไม่หลีกเลี่ยงไปด้วยคิดว่า แพะนี้
จักแสดงความเคารพเรา. แพะวิ่งมาโดยรวดเร็ว ชนปริพาชกนั้นที่
ขาอ่อนทำให้ล้มลง. เหตุที่เขายกย่องแพะนั้นซึ่งมิใช่สัตบุรุษนั้น ได้
ปรากฎไปในหมู่ภิกษุสงฆ์. ภิกษุทั้งหลายนั่งสนทนากันในโรงธรรม-
สภาว่า อาวุโสทั้งหลาย จัมมสาฏกปริพาชกกระทำการยกย่องอสัตบุรุษ
จึงถึงความพินาศ พระศาสดาเสด็จมาแล้วตรัสถามว่า ภิกษุทั้งหลาย
บัดนี้ พวกเธอนั่งสนทนากันด้วยเรื่องอะไร เมื่อภิกษุทั้งหลาย.
กราบทูลให้ทรงทราบแล้ว จึงตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย
มิใช่บัดนี้เท่านั้น
แม้ในกาลก่อน
ปริพาชกนี้ก็ได้ยกย่องอสัตบุรุษแล้วถึงความพินาศ
ดังนี้แล้ว ทรงนำเอาเรื่องในอดีตมาสาธก ดังต่อไปนี้ :-
ในอดีตกาล เมื่อพระเจ้าพรหมทัตครองราชสมบัติในนคร
พาราณสี
พระโพธิสัตว์บังเกิดในตระกูลพ่อค้าตระกูลหนึ่ง กระทำ
การค้าอยู่. ในกาลนั้น มีจัมมสาฏกปริพาชกผู้หนึ่ง เที่ยวภิกขาไปใน
นครพาราณสีถึงสถานที่พวกแพะชนกัน เห็นแพะตัวหนึ่งย่อตัวก็ไม่
หลีกหนีด้วยสำคัญว่า มันทำความเคารพเรา คิดว่า ในระหว่าง
พวกมนุษย์นี้มีประมาณเท่านี้ แพะตัวหนึ่งยังรู้จักคุณของเรา จึงยืน
ประนมมือแต้อยู่ กล่าวคาถาที่ ๑ ว่า :-
แพะตัวนี้เป็นสัตว์มีท่าทางดี เป็นที่
เจริญใจ และมีศีลน่ารักใคร่ เคารพยำเกรง
พราหมณ์ผู้สมบูรณ์ด้วยชาติและมนต์ จัดว่า
เป็นแพะประเสริฐ มียศศักดิ์.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กลฺยาณรูโป
ได้แก่ มีชาติกำเนิด
งาม. บทว่า สุเปสโล
ได้แก่
มีศีลเป็นที่รักด้วยดี
บทว่า ชาติมนฺ-
ตูปปนฺนํ แปลว่า สมบูรณ์ด้วยชาติและมนต์ทั้งหลาย. บทว่า ยสสฺสี
นี้เป็นบทกล่าวถึงคุณ.
ขณะนั้น พ่อค้าผู้เป็นบัณฑิตนั่งอยู่ในตลาด เมื่อจะห้ามปริพา-
ชกนั้น. จึงกล่าวคาถาที่ ๒
ว่า :-
ดูก่อนพราหมณ์ ท่านอย่าได้ไว้วางใจ
สัตว์ ๔
เท้า
เพียงได้เห็นมันครู่เดียว
มัน
ต้องการจะชนให้ถนัด จึงย่อตัวลงจักชนให้
ถนัดถนี่.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อิตฺตรทสฺสเนน
ความว่า เพียง
เห็นมันชั่วขณะ.
ก็เมื่อพ่อค้าผู้เป็นบัณฑิตกำลังพูดอยู่นั่นแหละ แพะวิ่งมาโดย
เร็วชนที่ขาอ่อนให้ปริพาชกนั้นล้มลง ณ
ที่นั้นเอง ทำให้ได้รับทุกข-
เวทนา. ปริพาชกนั้นนอนปริเวทนาการอยู่.
พระศาสดาเมื่อจะทรงประกาศเหตุนั้น จึงตรัสคาถาที่ ๓
ว่า :-
กระดูกขาของพราหมณ์ก็หัก บริขาร
ที่หาบก็พลัดตก สิ่งของของพราหมณ์ก็แตก
ทำลายหมด พราหมณ์ประคองแขนทั้งสอง
คร่ำครวญอยู่ว่า ช่วยด้วย แพะชนพรหมจารี.
เนื้อความแห่งคำที่เป็นคาถานั้นมีว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กระ-
ดูกขาของปริพาชกนั้นหัก หาบบริขารก็พลัดตก เมื่อปริพาชกนั้น
กลิ้งไป
ภัณฑะเครื่องอุปกรณ์ของพราพมณ์นั้นแม้ทั้งหมดแตกไป.
พราหมณ์นั้นยกมือทั้งสองขึ้น กล่าวหมายเอาบริษัทที่ยืนล้อมอยู่ว่า
ช่วยด้วย แพะชนพรหมจารีดังนี้ คร่ำครวญ ร้องไห้
ปริเทวนาการ
ร่ำไรอยู่.
ปริพาชกจึงกล่าวคาถาที่ ๔
ว่า :-
ผู้ใดสรรเสริญยกย่องคนที่ไม่ควรบูชา
ผู้นั้นจะถูกเขาห้ำหั่นนอนอยู่ เหมือนเราผู้มี
ปัญญาทรามถูกแพะชนเอาจนตายในวันนี้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อปูชํ
ได้แก่ ผู้ไม่ควรบูชา. บทว่า
ยถาหมชฺช ความว่า เหมือนเรายืนทำการยกย่องอสัตบุรุษ ถูกแพะ
ชนอย่างแรงจนตายอยู่ ณที่นี้ในวันนี้เอง. บทว่า ทุมฺมติ แปลว่า
ผู้ไม่มีปัญญา อธิบายว่า บุคคลแม้อื่นใดกระทำการยกย่องอสัตบุรุษ
บุคคลแม้นั้นย่อมเสวยความทุกข์เหมือนเราฉันนั้น.
ปริพาชกนั้นคร่ำครวญอยู่ด้วยประการฉะนี้ จึงถึงความสิ้น
ชีวิตไป ณ
ที่นั้นเอง.
พระศาสดาครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว จึงทรง
ประชุมชาดกว่า ปริพาชกชื่อจัมมสาฏกในครั้งนั้น. ได้เป็นปริพาชกชื่อ
จัมมสาฏกในบัดนี้ ส่วนพาณิชผู้บัณฑิตในครั้งนั้น ได้เป็นเราตถาคต
ฉะนี้แล.
จบ อรรถกถาจัมมสาฏกชาดกที่ ๔