พระศาสดาเมื่อประทับอยู่    พระเชตวันมหาวิหาร  ทรงปรารภ

เสวกข้าราชสำนักของพระเจ้าโกศลคนหนึ่ง  จึงตรัสพระธรรมเทศนา

นี้  มีคำเริ่มต้นว่า  อนุตฺตเร  กามคุเณ  สมิทฺเธ  ดังนี้.

       เรื่องปัจจุบันได้กล่าวไว้แล้วในเสยยชาดก  ในหนหลังนั้นแล.

ก็ในชาดกนี้  พระศาสดาตรัสว่า  มิใช่ท่านเท่านั้น  ที่นำเอาประโยชน์

มาโดยสิ่งอันมิใช่ประโยชน์  แม้โบราณกบัณฑิตทั้งหลาย  ก็ได้นำ

เอาประโยชน์มาโดยสิ่งอันไม่เป็นประโยชน์แก่ตน  แล้วทรงนำเอาเรื่อง

ในอดีตมาสาธก  ดังต่อไปนี้  :-

       ในอดีตกาล  อำมาตย์ผู้เป็นอุปัฏฐากของพระเจ้าพาราณสี

ประทุษร้ายในราชสำนัก  พระราชาทรงเห็นโทษของเขาโดยประจักษ์

จึงทรงให้ขับไล่เสวกนั้น  จากแว่นแคว้น  เสวกนั้นจึงไปอุปัฏฐาก

พระเจ้าโกศลพระนามว่า  ทุพภิเสน.  เหตุการณ์ทั้งปวงนั้นได้กล่าวไว้

แล้วในมหาสีลวชาดกทั้งนั้น.  ส่วนในชาดกนี้  พระเจ้าทุพภิเสนให้

จับพระเจ้าพาราณสีผู้ประทับนั่งในท่ามกลางอำมาตย์    ท้องพระโรง

แล้วใส่สาแหรกแขวนห้อยพระเศียร    เบื้องบนธรณีประตู  พระ-

เจ้าพาราณสีทรงเจริญเมตตาปรารภพระราชาโจร  กระทำกสิณบริกรรม

ยังฌานให้บังเกิดแล้ว.  เครื่องพันธนาการขาด.  แต่นั้น  พระราชา

ประทับนั่งขัดสมาธิในอากาศ  ความเร่าร้อนเกิดขึ้นในร่างกายของราชา

โจร  พระองค์ทรงบ่นว่าร้อนๆ  แล้วกลิ้งไปกลิ้งมา  บนภาคพื้น.  เมื่อ

พระราชาโจรตรัสอย่างนี้ว่า  นี้เหตุอะไร  อำมาตย์ทั้งหลายจึงทูลว่า

ข้าแต่มหาราช  พระองค์ทรงทำพระราชาผู้ตั้งอยู่ในธรรม  ผู้หาความ

ผิดมิได้เห็นปานนี้  ให้ห้อยพระเศียรลง    เบื้องธรณีประตู  พระเจ้า

ข้า.  พระราชาโจรตรัสว่า  ถ้าอย่างนั้น  พวกท่านจงรีบไปปล่อยพระ-

ราชาพระองค์นั้น.  ราชบุรุษทั้งหลายไปแล้ว  ได้เห็นพระราชาทรง

นั่งขัดสมาธิในอากาศ  จึงกลับมากราบทูลแก่พระเจ้าทุพภิเสน.  พระ-

เจ้าทุพภิเสนนั้นจึงรีบเสด็จไปไหว้พระเจ้าพาราณสีนั้น  ให้ทรงอดโทษ.

แล้วตรัสคาถาที่    ว่า  :-

              ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นเอกราช  ในการก่อน

       พระองค์เสวยกามคุณอันบริบูรณ์อย่างยิ่ง  อยู่

       มาบัดนี้  พระองค์ถูกโยนลงในบ่ออันขรุขระ

       เหตุไรพระองค์จึงยังไม่ลดละพระฉวีวรรณ

       และพระกำลังกายอันมีอยู่แต่เก่าก่อน.

       บรรดาบทเหล่านั้น  บทว่า  วสิ  แปลว่า  อยู่แล้ว.  พระเจ้า

ทุพภิเสนตรัสเรียกพระโพธิสัตว์โดยพระนามว่า  เอกราช.  บทว่า

โสทานิ  ตัดบทเป็น  โส  ตฺวํ  อิทานิ  แปลว่า  บัดนี้  พระองค์นั้น.

บทว่า  ทุคฺเค  แปลว่า  ไม่สม่ำเสมอ.  บทว่า  นรกมฺหิ  ได้แก่  ใน

หลุม  คำนี้ท่านกล่าวหมายเอาที่ที่ถูกแขวน.  บทว่า  นปฺปชเห

วณฺณพลํ  นี้  พระเจ้าทุพภิเสนตรัสถามว่า  พระองค์แม้ถูกโยนไป

ในที่อันไม่สม่ำเสมอเห็นปานนี้  ก็มิได้ทรงลดละพระฉวีวรรณอันมีอยู่

แต่เก่าก่อน  และพระกำลังกาย.

       พระโพธิสัตว์ได้ทรงสดับดังนั้นจึงตรัสคาถาที่เหลือว่า

              ข้าแต่พระเจ้าทุพภิเสน  ขันติและตบะ

       เป็นคุณธรรมที่หม่อมฉันปรารถนามาแต่เดิม

       แล้ว  บัดนี้  หม่อมฉันได้สิ่งที่ปรารถนานั้น

       แล้ว  เหตุไรจะละฉวีวรรณและกำลังกายที่มี

       อยู่แต่เก่าก่อนเสียเล่า.

              ข้าแต่พระองค์ผู้เปรื่องยศ  มีปรีชาญาณ

       ทนทานได้พิเศษ  ทราบมาว่า  กิจที่จะพึงทำ

       ทุกอย่าง  หม่อมฉันทำให้สำเร็จแล้ว  ทั้งได้

       ยศอันยิ่งใหญ่อันมีในกาลก่อน  หม่อมฉัน

       จึงไม่ละฉวีวรรณและกำลังกาย  อันมีอยู่แต่

       เก่าก่อน.

              ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นจอมแห่งปวงชน

       สัตบุรุษทั้งหลายบรรเทาความสุขด้วยความ

       ทุกข์  หรือบรรเทาความทุกข์อันยากที่จะ

       อดทนได้นั้นด้วยความสุข  เพราะเป็นผู้มีจิต

       เยือกเย็นยิ่งนักในสุขและทุกข์  ทั้งสองจึง

       เป็นผู้มีจิตเที่ยงตรงดังตราชู  ทั้งในความสุข

       และความทุกข์.

       ในบรรดาบทเหล่านั้น  บทว่า  ขนฺติ  ได้แก่  อธิวาสนขันติ.

บทว่า  ตโป  ได้แก่  การประพฤติตบะ.  บทว่า  สมฺปฏฺ€ิตา  ได้แก่

ปรารถนาแล้ว  คือปรารถนาเฉพาะแล้ว.  พระเจ้าพาราณสีตรัสเรียก

พระราชาโจรนั้นโดยพระนามว่า  ทุพภิเสน.  บทว่า  ตนฺทานิ  ลทฺธาน

ความว่า  บัดนี้  เราได้ความปรารถนานั้นแล้ว.  บทว่า  ชเห  ความว่า

เพราะเหตุไรเราจะละ.  ท่านแสดงความว่า  เพราะบุคคลผู้มีความทุกข์

หรือโทมนัสก็ตาม  จะต้องละทุกข์หรือโทมนัสนั้น.  พระเจ้าพาราณสี

เมื่อจะแสดงสมบัติของพระองค์  ตามที่ทรงได้ฟังตามกันมาจึงตรัสว่า

ทราบมาว่า  กิจที่ควรทำทุกอย่างหม่อมฉันทำให้สำเร็จแล้ว.  ท่านกล่าว

อธิบายไว้ว่า  กิจที่หม่อมฉันจะพึงทำทุกอย่าง  คือการให้ทาน  การ

รักษาศีล  และการรักษาอุโบสถ  หม่อมฉันทำเสร็จแล้วในกาลก่อน

ทีเดียว.  บทว่า  ยสสฺสินํ  ปญฺวนฺตํ  วิสยฺห  ความว่า  ชื่อว่าผู้

เปรื่องยศ  เพราะบริวารสมบัติ  ชื่อว่ามีปัญญาญาณ  เพราะถึงพร้อม

ด้วยปัญญา  ชื่อว่าผู้อดทนได้พิเศษ  เพราะเป็นผู้อันใครๆ  ไม่อาจข่ม

ได้.  เมื่อเป็นอย่างนี้  บททั้ง    นี้  จึงเป็นอาลปนะคือคำสำหรับเรียก

ทั้งนั้น.  ก็ศัพท์ว่า  นํ  ในคาถานี้  เป็นนิบาต.  และลงนิคหิตที่ 

ศัพท์  (  คือลง  ตํ  ศัพท์  )  โดยทำพยัญชนะให้ไพเราะสละสลวย.

บทว่า  ยโส    คือ  ยศนั่นแหละ.  บทว่า  ลทฺธา  ปุริมํ  ได้แก่

ได้ยศที่ไม่เคยได้มาก่อน  คือในกาลก่อน.  บทว่า  อุฬารํ  ได้แก่  ใหญ่.

พระเจ้าพาราณสีตรัสหมายเอาการเกิดฌาน  ด้วยเมตตาภาวนาอันเป็น

เครื่องข่มกิเลส.  บทว่า  นปฺปชเห  ความว่า  ได้ยศเห็นปานนี้แล้ว

เพราะเหตุไร  จักละผิวพรรณและกำลังกายอันมีแต่เก่าก่อนเสียเล่า.

บทว่า  ทุกฺเขน  ความว่า  บรรเทาสุขในราชสมบัติของหม่อมฉัน

ด้วยความทุกข์  เพราะโยนลงไปในนรกที่พระองค์ทำให้เกิดขึ้น.  บทว่า

สุเขน วา  ตํ  ทุกฺขํ  ได้แก่  หรือว่า  บรรเทาทุกข์นั้นด้วยสุขอัน

เกิดแต่ฌาน.  บทว่าอุภยตฺถ  สนฺโต  ความว่า  สัตบุรุษทั้งหลาย

ผู้เป็นเช่นกับเรานั้น  มีสภาวะดับเย็นยิ่งแล้ว  คือมีตนเป็นกลางในส่วน

แม้ทั้งสองนี้  ย่อมเป็นผู้เที่ยงตรง  คือย่อมเป็นเช่นเดียว  ไม่มีอาการ

ผิดแผกเลยในสุขและทุกข์.

       พระเจ้าทุพภิเสนได้ทรงสดับดังนี้แล้ว  จึงขอให้พระโพธิสัตว์

อดโทษแล้วตรัสว่า  พระองค์เท่านั้น  จงครองราชสมบัติของพระองค์

หม่อมฉันจักคอยป้องกันพวกโจรแก่พระองค์  แล้วลงอาญาแก่อำมาตย์

ผู้ประทุษร้ายคนนั้นแล้วเสด็จหลีกไป.  ฝ่ายพระโพธิสัตว์ทรงมอบ

ราชสมบัติแก่อำมาตย์ทั้งหลายแล้วบวชเป็นฤาษี  ได้มีพรหมโลกเป็นที่

ไปในเบื้องหน้า.

       พระศาสดาครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว  จึงทรง

ประชุมชาดกว่า.  พระเจ้าทุพภิเสนในกาลนั้น  ได้เป็นพระอานนท์

ส่วนพระเจ้าพาราณสี คือเราตถาคต  ฉะนี้แล.

                           จบ  อรรถกถาเอกราชชาดกที่