อานาปานสังยุต
                   เอกธรรมวรรคที่ ๑
                   เอกธรรมสูตร
                 ว่าด้วยอานาปานสติ
   [๑๓๐๕] พระนครสาวัตถี ฯลฯ พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม
อันหนึ่ง อันภิกษุเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมมีผลมาก ธรรมอันหนึ่งเป็นไฉน? คือ
อานาปานสติ.
   [๑๓๐๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อานาปานสติ อันภิกษุเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว
อย่างไร ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก? ภิกษุในธรรมวินัยนี้ อยู่ในป่าก็ดี นั่งคู้บัลลังก์ ตั้ง
กายตรง ดำรงสติไว้เฉพาะหน้า เธอมีสติหายใจออก มีสติหายใจเข้า เมื่อหายใจออกยาว ก็รู้ชัด
ว่าหายใจออกยาว เมื่อหายใจเข้ายาวก็รู้ชัดว่า หายใจเข้ายาว เมื่อหายใจออกสั้น ก็รู้ชัดว่า หาย
ใจออกสั้น เมื่อหายใจเข้าสั้น ก็รู้ชัดว่า หายใจเข้าสั้น ย่อมสำเหนียกว่า เราจักเป็นผู้รู้แจ้งกาย
ทั้งปวงหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า เราจักเป็นผู้รู้แจ้งกายทั้งปวงหายใจเข้า ย่อมสำเหนียกว่า
เราจักเป็นผู้ระงับกายสังขารหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า เราจัก เป็นผู้ระงับกายสังขารหายใจ
เข้า ย่อมสำเหนียกว่า เราจักรู้แจ้งปีติหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า เราจักรู้แจ้งปีติหายใจเข้า
ย่อมสำเหนียกว่า เราจักรู้แจ้งสุขหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า เราจักรู้แจ้งสุขหายใจเข้า ย่อม
สำเหนียกว่า เราจักรู้แจ้งจิตสังขารหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า เราจักรู้แจ้งจิตสังขารหายใจเข้า
ย่อมสำเหนียกว่า เราจักเป็นผู้ระงับจิตสังขารหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า เราจักระงับจิต
สังขารหายใจเข้า ย่อมสำเหนียกว่า เราจักเป็นผู้รู้แจ้งจิตหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า เราจัก
เป็นผู้รู้แจ้งจิตหายใจ เข้า ย่อมสำเหนียกว่า เราจักทำจิตให้บันเทิงหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า
เราจักทำจิตใจให้บันเทิงหายใจเข้า ย่อมสำเหนียกว่า เราจักตั้งจิตมั่นหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า
เราจักเปลื้องจิต หายใจเข้า ย่อมสำเหนียกว่า เราจักพิจารณาเห็นโดยความเป็นของไม่เที่ยง
หายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า เราจักพิจารณาเห็นโดยความเป็นของไม่เที่ยงหายใจเข้า ย่อม
สำเหนียกว่า เราจักพิจารณาเห็นโดยความคลายกำหนัดหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า เราจัก
พิจารณาเห็นโดยความคลายกำหนัดหายใจเข้า ย่อมสำเหนียกว่า เราจักพิจารณาเห็นโดยความ
ดับหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า เราจักพิจารณาเห็นโดยความดับหายใจเข้า ย่อมสำเหนียกว่า
เราจักพิจารณาเห็นโดยความสละคืนหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่าเราจักพิจารณาเห็นโดยความสละ
คืนหายใจเข้าดูกรภิกษุทั้งหลาย อานาปานสติ อันภิกษุเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้วอย่างนี้แล
ย่อมมีผลมากมีอานิสงส์มาก.
                       จบ สูตรที่ ๑
                     โพชฌงคสูตร
                  ว่าด้วยโพชฌงค์
   [๑๓๐๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อานาปานสติ อันภิกษุเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว
ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก.
   [๑๓๐๘] ก็อานาปานสติ อันภิกษุเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้วอย่างไร ย่อมมีผล
มาก มีอานิสงส์มาก? ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญสติสัมโพชฌงค์ อันสหรคตด้วย
อานาปานสติ อาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ ย่อมเจริญธรรมวิจยสัม
โพชฌงค์ ... วิริยสัมโพชฌงค์ ... ปีติสัมโพชฌงค์ ... ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ ... สมาธิสัมโพชฌงค์ ...
อุเบกขาสัมโพชฌงค์ อันสหรคตด้วยอานาปานสติ อาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อม
ไปในการสละ ดูกรภิกษุทั้งหลาย อานาปานสติ อันภิกษุเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้วอย่างนี้แล
ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก.
                     จบ สูตรที่ ๒
                      สุทธิกสูตร
             วิธีเจริญอานาปานสติ
    [๑๓๐๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อานาปานสติ อันภิกษุเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว
ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก.
    [๑๓๑๐] ก็อานาปานสติ อันภิกษุเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้วอย่างไร ย่อมมีผล
มาก มีอานิสงส์มาก? ภิกษุในธรรมวินัยนี้ อยู่ในป่าก็ดี อยู่ที่โคนไม้ก็ดี อยู่ที่เรือนว่างก็ดี
นั่งคู้บัลลังก์ ตั้งกายตรง ดำรงสติไว้เฉพาะหน้า เธอมีสติหายใจออก มีสติหายใจเข้า (พึง
ขยายเนื้อความให้พิสดารตลอดถึง ย่อมสำเหนียกว่า เราจักเป็นผู้พิจารณาเห็นโดยความสละคืน
หายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า เราจักเป็นผู้พิจารณาเห็นโดยความสละคืนหายใจเข้า) ดูกรภิกษุ
ทั้งหลาย อานาปานสติ อันภิกษุเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้วอย่างนี้แล ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์
มาก.
                    จบ สูตรที่ ๓
                   ผลสูตรที่ ๑
         ผลานิสงส์เจริญอานาปานสติ ๒ ประการ
    [๑๓๑๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อานาปานสติ อันภิกษุเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว
ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก.
    [๑๓๑๒] ก็อานาปานสติ อันภิกษุเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้วอย่างไร ย่อมมีผล
มาก มีอานิสงส์มาก? ภิกษุในธรรมวินัยนี้ อยู่ในป่าก็ดี อยู่ที่โคนไม้ก็ดี อยู่ที่เรือนว่างก็ดี
นั่งคู้บัลลังก์ ตั้งกายตรง ดำรงสติไว้เฉพาะหน้า เธอมีสติหายใจออก มีสติหายใจเข้า (พึง
ขยายเนื้อความให้พิสดารตลอดถึง ย่อมสำเหนียกว่า เราจักเป็นผู้พิจารณาเห็นโดยความสละคืนหาย
ใจออก ย่อมสำเหนียกว่า เราจักเป็นผู้พิจารณาเห็นโดยความสละคืนหายใจเข้า) ดูกรภิกษุทั้ง
หลาย อานาปานสติ อันภิกษุเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้วอย่างนี้แล ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์
มาก.
    [๑๓๑๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อานาปานสติ อันภิกษุเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว
อย่างนี้ พึงหวังได้ผล ๒ ประการอย่างใดอย่างหนึ่ง คืออรหัตผลในปัจจุบัน หรือเมื่อยังมีความ
ถือมั่นอยู่ เป็นพระอนาคามี.
                   จบ สูตรที่ ๔
                     ผลสูตรที่ ๒
          ผลานิสงส์การเจริญอานาปานสติ ๗ ประการ
    [๑๓๑๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อานาปานสติ อันภิกษุเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว
ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก.
    [๑๓๑๕] ก็อานาปานสติ อันภิกษุเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้วอย่างไร ย่อมมีผล
มาก มีอานิสงส์มาก? ภิกษุในธรรมวินัยนี้ อยู่ในป่าก็ดี อยู่ที่โคนไม้ก็ดี นั่งคู้บัลลังก์ ตั้ง
กายตรง ดำรงสติไว้เฉพาะหน้า เธอมีสติหายใจออก มีสติหายใจเข้า (พึงขยายเนื้อความให้
พิสดารตลอดถึง ย่อมศึกษาว่า เราจักเป็นผู้พิจารณาเห็นโดยความสละคืนหายใจออก ย่อม
สำเหนียกว่า เราจักเป็นผู้พิจารณาเห็นโดยความสละคืนหายใจเข้า) ดูกรภิกษุทั้งหลาย อานาปาน
สติ อันภิกษุเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้วอย่างนี้แล ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก.
    [๑๓๑๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่ออานาปานสติ อันภิกษุเจริญแล้ว กระทำให้มาก
แล้วอย่างนี้ พึงหวังได้ผลานิสงส์ ๗ ประการ ผลานิสงส์ ๗ ประการเป็นไฉน? คือ จะได้ชม
อรหัตผลในปัจจุบันก่อน ๑ ถ้าไม่ได้ชมอรหัตผลในปัจจุบันก่อน จะได้ชมในเวลาใกล้ตาย ๑
ถ้าในปัจจุบันก็ไม่ได้ชม ในเวลาใกล้ตายก็ไม่ได้ชมไซร้ เพราะสังโยชน์อันเป็นส่วนเบื้องต่ำ ๕
สิ้นไป จะได้เป็นพระอนาคามีผู้อันตราปรินิพพายี ๑ ผู้อุปหัจจปรินิพพายี ๑ ผู้อสังขารปรินิพพายี ๑
ผู้สสังขารปรินิพพายี ๑ ผู้อุทธังโสโตอกนิฏฐคามี ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่ออานาปานสติ
อันภิกษุเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้วอย่างนี้แล พึงหวังได้ผลานิสงส์ ๗ ประการเหล่านี้.
                       จบ สูตรที่ ๕
                      อริฏฐสูตร
              การเจริญอานาปานสติ
    [๑๓๑๗] พระนครสาวัตถี. ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาค ฯลฯ ได้ตรัสถามว่า ดูกร
ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายย่อมเจริญอานาปานสติหรือหนอ?
    [๑๓๑๘] เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสถามอย่างนี้แล้ว ท่านพระอริฏฐะได้กราบทูลพระผู้มี
พระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์เจริญอานาปานสติอยู่.
พ. ดูกรอริฏฐะ ก็เธอเจริญอานาปานสติอย่างไรเล่า?
    [๑๓๑๙] อ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ กามฉันท์ในกามที่ล่วงไป ข้าพระองค์ละได้แล้ว
กามฉันท์ในกามที่ยังไม่มาถึงของข้าพระองค์ไปปราศแล้ว ปฏิฆสัญญาในธรรมทั้งหลาย ทั้งที่เป็น
ภายในและภายนอก ข้าพระองค์กำจัดเสียแล้ว ข้าพระองค์มีสติหายใจออก มีสติหายใจเข้า
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์เจริญอานาปานสติอย่างนี้แล.
   [๑๓๒๐] พ. ดูกรอริฏฐะ อานาปานสตินั้นมีอยู่ เราไม่ได้กล่าวว่าไม่มี ก็แต่ว่า
อานาปานสติย่อมบริบูรณ์โดยกว้างขวางด้วยวิธีใด เธอจงฟังวิธีนั้น จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว
ท่านพระอริฏฐะทูลรับพระดำรัสพระผู้มีพระภาคแล้ว พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกรอริฏฐะ ก็
อานาปานสติย่อมบริบูรณ์โดยกว้างขวางอย่างไรเล่า? ภิกษุในธรรมวินัยนี้ อยู่ในป่าก็ดี อยู่ที่โคน
ไม้ก็ดี อยู่ที่เรือนว่างก็ดี นั่งคู้บัลลังก์ ตั้งกายตรง ดำรงสติไว้เฉพาะหน้า เธอมีสติหายใจออก
มีสติหายใจเข้า ฯลฯ ย่อมสำเหนียกว่า เราจักพิจารณาเห็นโดยความสละคืนหายใจออก ย่อม
สำเหนียกว่า เราจักพิจารณาเห็นโดยความสละคืนหายใจเข้า ดูกรอริฏฐะ อานาปานสติย่อม
บริบูรณ์โดยกว้างขวางอย่างนี้แล.
                           จบ สูตรที่ ๖
                          กัปปินสูตร
               ว่าด้วยอานาปานสติสมาธิ
   [๑๓๒๑] พระนครสาวัตถี. ก็สมัยนั้น ท่านพระมหากัปปินะ นั่งคู้บัลลังก์ ตั้งกาย
ตรง ดำรงสติไว้เฉพาะหน้า ในที่ไม่ไกลพระผู้มีพระภาค.
   [๑๓๒๒] พระผู้มีพระภาคได้ทอดพระเนตรเห็นท่านมหากัปปินะนั่งคู้บัลลังก์ ตั้งกาย
ตรง ดำรงสติไว้เฉพาะหน้า ครั้นแล้วได้ตรัสถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลาย
เห็นความไหวหรือความเอนเอียงแห่งกายของภิกษุนั้นหรือหนอ?
   [๑๓๒๓] ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เวลาใดข้าพระองค์ทั้งหลาย
เห็นท่านผู้มีอายุนั้นนั่งอยู่ในท่ามกลางสงฆ์ หรือนั่งในที่ลับรูปเดียว ในเวลานั้น ข้าพระองค์ทั้ง
หลายมิได้เห็นความไหวหรือความเอนเอียงแห่งกายของท่านผู้มีอายุนั้นเลย.
   [๑๓๒๔] พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความไหวหรือความเอนเอียงแห่งกายก็ดี ความ
หวั่นไหวหรือความกวัดแกว่งแห่งจิตก็ดี ย่อมไม่มี เพราะได้เจริญ ได้กระทำให้มากซึ่งสมาธิใด
ภิกษุนั้นได้สมาธินั้นตามความปรารถนาได้ โดยไม่ยากไม่ลำบาก.
   [๑๓๒๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ความไหวหรือความเอนเอียงแห่งกายก็ดี ความ
หวั่นไหวหรือความกวัดแกว่งแห่งจิตก็ดี ย่อมไม่มี เพราะได้เจริญ กระทำให้มากซึ่งสมาธิ เป็น
ไฉน? เพราะได้เจริญ ได้กระทำให้มากซึ่งอานาปานสติสมาธิ.
    [๑๓๒๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่ออานาปานสติสมาธิ อันภิกษุเจริญแล้ว กระทำให้
มากแล้วอย่างไร ความไหวหรือความเอนเอียงแห่งกายก็ดี ความหวั่นไหวหรือความกวัดแกว่งแห่ง
จิตก็ดี ย่อมไม่มี? ภิกษุในธรรมวินัยนี้ อยู่ในป่าก็ดี อยู่ที่โคนไม้ก็ดี อยู่ที่เรือนว่างก็ดี นั่งคู้
บัลลังก์ ตั้งกายตรง ดำรงสติไว้เฉพาะหน้า เธอมีสติหายใจออก มีสติหายใจเข้า (พึงขยายเนื้อ
ความให้พิสดารตลอดถึง ย่อมสำเหนียกว่า เราจักเป็นผู้พิจารณาเห็นโดยความสละคืนหายใจออก
ย่อมสำเหนียกว่า เราจักเป็นผู้พิจารณาเห็นโดยความสละคืนหายใจเข้า) ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อ
อานาปานสติสมาธิ อันภิกษุเจริญ กระทำให้มากแล้วอย่างนี้แล ความไหวหรือความเอนเอียง
แห่งกายก็ดี ความหวั่นไหวหรือความกวัดแกว่งแห่งจิตก็ดี ย่อมไม่มี.
                            จบ สูตรที่ ๗
                              ทีปสูตร
             อานิสงส์แห่งการเจริญอานาปานสติสมาธิ
    [๑๓๒๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อานาปานสติสมาธิ อันภิกษุเจริญแล้ว กระทำให้มาก
แล้ว ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก.
    [๑๓๒๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อานาปานสติสมาธิ อันภิกษุเจริญแล้ว กระทำให้มาก
แล้วอย่างไร ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก? ภิกษุในธรรมวินัยนี้ อยู่ในป่าก็ดี อยู่ที่โคนไม้ก็ดี
อยู่ที่เรือนว่างก็ดี นั่งคู้บัลลังก์ ตั้งกายตรง ดำรงสติมั่นไว้เฉพาะหน้า เธอมีสติหายใจออก
มีสติหายใจเข้า (พึงขยายเนื้อความให้พิสดารตลอดถึง ย่อมสำเหนียกว่า เราจักเป็นผู้พิจารณา
โดยความเห็นสละคืนหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า เราจักเป็นผู้พิจารณาเห็นโดยความสละคืน
หายใจเข้า) ดูกรภิกษุทั้งหลาย อานาปานสติสมาธิ อันภิกษุเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้วอย่าง
นี้แล ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก.
    [๑๓๒๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ได้ยินว่า เมื่อก่อนแต่ตรัสรู้ ครั้งเราเป็นโพธิสัตว์ยัง
มิได้ตรัสรู้ ก็ย่อมอยู่ด้วยวิหารธรรมนี้โดยมาก เมื่อเราอยู่ด้วยวิหารธรรมนี้โดยมาก กายไม่ลำบาก
จักษุไม่ลำบาก และจิตของเราย่อมหลุดพ้นจากอาสวะทั้งหลาย เพราะไม่ถือมั่น.
    [๑๓๓๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล ถ้าแม้ภิกษุพึงหวังว่า แม้กายของเรา
ไม่พึงลำบาก จักษุของเราไม่พึงลำบาก และจิตของเราพึงหลุดพ้นจากอาสวะทั้งหลาย เพราะไม่ถือ
มั่น ก็พึงมนสิการอานาปานสติสมาธินี้แหละให้ดี.
    [๑๓๓๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแหละ ถ้าแม้ภิกษุพึงหวังว่า เราพึงสละ
ความระลึกและความดำริของเราที่อาศัยเรือนนั้นเสีย ก็พึงมนสิการอานาปานสติสมาธินี้แหละ
ให้ดี.
    [๑๓๓๒] ... ถ้าแม้ภิกษุพึงหวังว่า เราพึงเป็นผู้มีความสำคัญในสิ่งไม่ปฏิกูลว่าปฏิกูล
อยู่ ก็พึงมนสิการอานาปานสติสมาธินี้แหละให้ดี.
    [๑๓๓๓] ... ถ้าแม้ภิกษุพึงหวังว่า เราพึงเป็นผู้มีความสำคัญในสิ่งปฏิกูลว่าไม่ปฏิกูล
อยู่ ก็พึงมนสิการอานาปานสติสมาธินี้แหละให้ดี.
    [๑๓๓๔] ... ถ้าแม้ภิกษุพึงหวังว่า เราพึงเป็นผู้มีความสำคัญทั้งในสิ่งไม่ปฏิกูลและใน
สิ่งปฏิกูลว่าปฏิกูลอยู่ ก็พึงมนสิการอานาปานสติสมาธินี้แหละให้ดี.
    [๑๓๓๕] ... ถ้าแม้ภิกษุพึงหวังว่า เราพึงเป็นผู้มีความสำคัญทั้งในสิ่งปฏิกูลและในสิ่ง
ไม่ปฏิกูลว่าไม่ปฏิกูลอยู่ ก็พึงมนสิการอานาปานสติสมาธินี้แหละให้ดี.
    [๑๓๓๖] ... ถ้าแม้ภิกษุพึงหวังว่า เราพึงเว้นสิ่งไม่ปฏิกูลและสิ่งปฏิกูลทั้งสองนั้นเสีย
แล้ววางเฉย มีสติสัมปชัญญะอยู่ ก็พึงมนสิการอานาปานสติสมาธินี้แหละให้ดี.
    [๑๓๓๗] ... ถ้าแม้ภิกษุพึงหวังว่า เราพึงสงัดจากกาม สงัดจากกุศลธรรม บรรลุ
ปฐมฌาน มีวิตกวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่ ก็พึงมนสิการอานาปานสติสมาธินี้แหละ
ให้ดี.
    [๑๓๓๘] ... ถ้าแม้ภิกษุพึงหวังว่า เราพึงบรรลุทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่งจิตใน
ภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร เพราะวิตกวิจารสงบไป มีปีติและสุขเกิดแก่
สมาธิอยู่ ก็พึงมนสิการอานาปานสติสมาธินี้แหละให้ดี.
    [๑๓๓๙] ... ถ้าแม้ภิกษุพึงหวังว่า เราพึงมีอุเบกขา มีสติ มีสัมปชัญญะ เสวยสุข
ด้วยนามกาย เพราะปีติสิ้นไป บรรลุตติยฌานที่พระอริยเจ้าทั้งหลาย สรรเสริญว่า ผู้ได้ฌานนี้
เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติอยู่เป็นสุข ก็พึงมนสิการอานาปานสติสมาธินี้แหละให้ดี.
    [๑๓๔๐] ... ถ้าแม้ภิกษุพึงหวังว่า เราพึงบรรลุจตุถฌาน ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะ
ละสุขละทุกข์และดับโสมนัสโทมนัสก่อนๆ ได้ มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่ ก็พึง
มนสิการอานาปานสติสมาธินี้แหละให้ดี.
    [๑๓๔๑] ... ถ้าแม้ภิกษุพึงหวังว่า เราพึงบรรลุอากาสานัญจายตนฌานด้วยมนสิการว่า
อากาศหาที่สุดมิได้ เพราะล่วงรูปสัญญาโดยประการทั้งปวง เพราะดับปฏิฆสัญญา เพราะไม่
มนสิการถึงนานัตตสัญญา ก็พึงมนสิการอานาปานสติสมาธินี้แหละให้ดี.
    [๑๓๔๒] ... ถ้าแม้ภิกษุพึงหวังว่า เราพึงบรรลุวิญญาณัญจายตนฌานด้วยมนสิการว่า
วิญญาณหาที่สุดมิได้ เพราะล่วงอากาสานัญจายตนฌานโดยประการทั้งปวง ก็พึงมนสิการอานาปาน
สติสมาธินี้แหละให้ดี.
    [๑๓๔๓] ... ถ้าแม้ภิกษุพึงหวังว่า เราพึงบรรลุอากิญจัญญายตนฌานด้วยมนสิการว่า
ไม่มีอะไรน้อยหนึ่ง เพราะล่วงวิญญาณัญจายตนฌานโดยประการทั้งปวง ก็พึงมนสิการอานาปาน
สติสมาธินี้แหละให้ดี.
    [๑๓๔๔] ... ถ้าแม้ภิกษุพึงหวังว่า เราพึงบรรลุเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน เพราะ
ล่วงอากิญจัญญายตนฌานโดยประการทั้งปวง ก็พึงมนสิการอานาปานสติสมาธินี้แหละให้ดี.
    [๑๓๔๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนี้แหละ ถ้าแม้ภิกษุพึงหวังว่า เราพึงบรรลุ
สัญญาเวทยิตนิโรธ เพราะล่วงเนวสัญญานาสัญญายตนฌานโดยประการทั้งปวง ก็พึงมนสิการ
อานาปานสติสมาธินี้แหละให้ดี.
    [๑๓๔๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่ออานาปานสติสมาธิ อันภิกษุเจริญแล้ว กระทำให้
มากแล้วอย่างนี้แล ถ้าเธอเสวยสุขเวทนา ก็ย่อมจะรู้ชัดว่า สุขเวทนานั้นไม่เที่ยง ไม่น่ายินดี
ไม่น่าเพลิดเพลิน ถ้าเธอเสวยทุกขเวทนา ก็ย่อมจะรู้ชัดว่า ทุกขเวทนานั้นไม่เที่ยง ไม่น่ายินดี
ไม่น่าเพลิดเพลิน ถ้าเธอเสวยอทุกขมสุขเวทนา ก็ย่อมจะรู้ชัดว่า อทุกขมสุขเวทนานั้นไม่เที่ยง
ไม่น่ายินดี ไม่น่าเพลิดเพลิน ถ้าเธอเสวยสุขเวทนา เธอก็ไม่พัวพันเสวยสุขเวทนานั้น ถ้าเธอ
เสวยทุกขเวทนา เธอก็ไม่พัวพันเสวยทุกขเวทนานั้น ถ้าเธอเสวยอทุกขมสุขเวทนา เธอก็ไม่
พัวพันเสวยอทุกขมสุขเวทนานั้น เมื่อเธอเสวยเวทนามีกายเป็นที่สุด ก็รู้ชัดว่า เสวยเวทนามี
กายเป็นที่สุด เมื่อเสวยเวทนามีชีวิตเป็นที่สุด ก็รู้ชัดว่า เสวยเวทนามีชีวิตเป็นที่สุด ย่อมรู้ชัด
ว่า เวทนาทั้งหมดในโลกนี้แหละ อันไม่น่าเพลิดเพลิน จักเป็นของเย็น เพราะสิ้นชีวิต
เบื้องหน้าแต่กายแตก.
    [๑๓๔๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนประทีปน้ำมันจะพึงลุกโพลงได้ ก็เพราะ
อาศัยน้ำมันและไส้ เพราะหมดน้ำมันและไส้ ประทีปน้ำมันไม่มีเชื้อ พึงดับไป ฉันใด ภิกษุก็
ฉันนั้นเหมือนกัน เมื่อเสวยเวทนามีกายเป็นที่สุด ก็รู้ชัดว่า เสวยเวทนามีกายเป็นที่สุด เมื่อ
เสวยเวทนามีชีวิตเป็นที่สุด ก็รู้ชัดว่า เสวยเวทนามีชีวิตเป็นที่สุด ย่อมรู้ชัดว่า เวทนาทั้งหมด
ในโลกนี้แหละ อันไม่น่าเพลิดเพลิน จักเป็นของเย็น เพราะสิ้นชีวิตเบื้องหน้าแต่กายแตก.
                             จบ สูตรที่ ๘
                         เวสาลีสูตร
          ว่าด้วยการเจริญอสุภกรรมฐาน
    [๑๓๔๘] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้:
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ กูฏาคารศาลา ป่ามหาวัน ใกล้เมืองเวสาลี
ก็สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคตรัสอสุภกถา ตรัสสรรเสริญคุณแห่งอสุภแก่ภิกษุทั้งหลาย โดย
อเนกปริยาย ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรา
ปรารถนาจะหลีกเร้นอยู่สักกึ่งเดือน ใครๆ ไม่พึงเข้ามาหาเรา เว้นแต่ภิกษุผู้นำบิณฑบาตรูปเดียว
ภิกษุเหล่า นั้นรับพระดำรัสพระผู้มีพระภาคแล้ว ใครๆ ไม่เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค เว้นแต่ภิกษุ
ผู้นำบิณฑบาตรูปเดียว.
    [๑๓๔๙] ครั้งนั้น ภิกษุเหล่านั้นคิดกันว่า พระผู้มีพระภาคตรัสอสุภกถา ตรัส
สรรเสริญคุณแห่งอสุภ ตรัสสรรเสริญคุณแห่งการเจริญอสุภ โดยอเนกปริยาย จึงขวนขวาย
ประกอบการเจริญอสุภ อันเกลื่อนกล่นด้วยอาการเป็นอเนกอยู่ ภิกษุเหล่านั้นอึดอัดระอา เกลียด
กายนี้ ย่อมแสวงหาศาตราสำหรับปลงชีวิต สิบรูปบ้าง ยี่สิบรูปบ้าง สามสิบรูปบ้าง ย่อมนำ
ศาตรามาโดยวันเดียวกัน.
    [๑๓๕๐] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเสด็จออกจากที่เร้น โดยล่วงกึ่งเดือนนั้นแล้ว ตรัส
เรียกท่านพระอานนท์มาตรัสถามว่า ดูกรอานนท์ เพราะเหตุไรหนอ ภิกษุสงฆ์จึงดูเหมือนเบาบาง
ไป? ท่านพระอานนท์กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เป็นเช่นนั้น พระผู้มีพระภาคตรัส
อสุภกถา ตรัสสรรเสริญคุณแห่งอสุภ ตรัสสรรเสริญคุณแห่งการเจริญอสุภ แก่ภิกษุทั้งหลาย
โดยอเนกปริยาย ภิกษุเหล่านั้นคิดกันว่า พระผู้มีพระภาคตรัสอสุภกถา ตรัสสรรเสริญคุณแห่ง
อสุภ ตรัสสรรเสริญคุณแห่งการเจริญอสุภ โดยอเนกปริยาย จึงขวนขวายประกอบการเจริญ
อสุภอันเกลื่อนกล่นด้วยอาการเป็นอเนกอยู่ อึดอัดระอา เกลียดกายนี้ ย่อมแสวงหาศาตรา
สำหรับปลงชีวิต สิบรูปบ้าง ยี่สิบรูปบ้าง สามสิบรูปบ้าง ย่อมนำศาตรามาโดยวันเดียวกัน
ขอประทานพระวโรกาส ขอพระผู้มีพระภาคจงตรัสบอกปริยาย โดยวิธีที่ภิกษุสงฆ์จะพึงดำรงอยู่
ในอรหัตผลเถิด.
    [๑๓๕๑] พ. ดูกรอานนท์ ถ้าอย่างนั้น ภิกษุมีประมาณเท่าใด ที่อาศัยเมืองเวสาลี
อยู่ เธอจงให้ภิกษุเหล่านั้นทั้งหมดประชุมกันในอุปัฏฐานศาลา ท่านพระอานนท์ทูลรับพระดำรัส
พระผู้มีพระภาคแล้ว ยังภิกษุทั้งหมดที่อาศัยเมืองเวสาลีอยู่ ให้มาประชุมกันในปัฏฐานศาลา
แล้วเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภิกษุสงฆ์ประชุม
กันแล้ว ขอพระผู้มีพระภาคจงทราบกาลอันควรในบัดนี้เถิด.
    [๑๓๕๒] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเสด็จเข้าไปยังอุปัฏฐานศาลา แล้วประทับนั่งบน
อาสนะที่เขาปูลาดไว้ ครั้นแล้ว ตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายแล้วตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมาธิ
อันสัมปยุตด้วยอานาปานสตินี้แล อันภิกษุเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว เป็นสภาพสงบ ประณีต
ชื่นใจ เป็นธรรมเครื่องอยู่เป็นสุข และยังอกุศลธรรมอันลามกที่บังเกิดขึ้นแล้วๆ ให้อันตรธาน
สงบไปโดยพลัน.
    [๑๓๕๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนธุลีและละอองที่ฟุ้งขึ้นในเดือนท้ายฤดูร้อน
ฝนใหญ่ในสมัยมิใช่กาล ย่อมยังธุลีและละอองนั้นให้อันตรธานสงบไปโดยพลัน ฉันใด สมาธิ
อันสัมปยุตด้วยอานาปานสติ อันภิกษุเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว เป็นสภาพสงบ ประณีต
ชื่นใจ เป็นธรรมเครื่องอยู่เป็นสุข และยังอกุศลธรรมอันลามกที่บังเกิดขึ้นแล้วๆ ให้อันตรธาน
สงบไปโดยพลัน ฉันนั้นเหมือนกัน.
    [๑๓๕๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สมาธิอันสัมปยุตด้วยอานาปานสติ อันภิกษุเจริญแล้ว
อย่างไร กระทำให้มากแล้วอย่างไร เป็นสภาพสงบ ... ให้อันตรธานสงบไปโดยพลัน? ภิกษุใน
ธรรมวินัยนี้ อยู่ในป่าก็ดี อยู่ที่โคนไม้ก็ดี อยู่ที่เรือนว่างก็ดี นั่งคู้บัลลังก์ ตั้งกายตรง ดำรงสติ
ไว้เฉพาะหน้า เธอมีสติ หายใจออก มีสติหายใจเข้า ฯลฯ ย่อมสำเหนียกว่า เราจักพิจารณา
เห็นโดยความสละคืนหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า เราจักพิจารณาเห็นโดยความสละคืนหายใจ
เข้า ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมาธิอันสัมปยุตด้วยอานาปานสติ อันภิกษุเจริญแล้วอย่างนี้ กระทำให้
มากแล้วอย่างนี้ เป็นสภาพสงบ ... ให้อันตรธานสงบไปโดยพลัน.
                         จบ สูตรที่ ๖
                         กิมิลสูตร
              การเจริญอานาปานสติสมาธิ
    [๑๓๕๕] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้:
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเวฬุวัน ใกล้เมืองกิมิลา ณ ที่นั้นแล
พระผู้มีพระภาคตรัสถามท่านพระกิมิละว่า ดูกรกิมิละ สมาธิอันสัมปยุตด้วยอานาปานสติ อัน
ภิกษุเจริญแล้วอย่างไร กระทำให้มากแล้วอย่างไร ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก? เมื่อพระผู้มี
พระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว ท่านพระกิมิละนิ่งอยู่.
    [๑๓๕๖] แม้ครั้งที่สอง แม้ครั้งที่สาม พระผู้มีพระภาคก็ตรัสถามท่านกิมิละว่า ดูกร
กิมิละ สมาธิอันสัมปยุตด้วยอานาปานสติ อันภิกษุเจริญแล้วอย่างไร กระทำให้มากแล้วอย่างไร
ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก? ท่านพระกิมิละก็นิ่งอยู่.
    [๑๓๕๗] เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว ท่านพระอานนท์ได้กราบทูลพระผู้มี
พระภาคว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาค เป็นกาลสมควรที่พระองค์จะพึงตรัสสมาธิอันสัมปยุตด้วย
อานาปานสติ ข้าแต่พระสุคต เป็นกาลสมควรที่พระองค์จะพึงตรัสสมาธิอันสัมปยุตด้วยอานาปาน
สติ ภิกษุทั้งหลายได้ฟังต่อพระผู้มีพระภาคแล้วจักทรงจำไว้ พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรอานนท์
ถ้าเช่นนั้น เธอจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว ท่านพระอานนท์ทูลรับพระผู้มีพระภาคแล้ว
พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า ดูกรอานนท์ สมาธิอันสัมปยุตด้วยอานาปานสติ อันภิกษุเจริญแล้ว
อย่างไร กระทำให้มากแล้วอย่างไร ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก? ภิกษุในธรรมวินัยนี้ อยู่
ในป่าก็ดี อยู่ที่โคนไม้ก็ดี อยู่ที่เรือนว่างก็ดี นั่งคู้บัลลังก์ ตั้งกายตรง ดำรงสติไว้เฉพาะหน้า
เธอมีสติหายใจออก มีสติหายใจเข้า ฯลฯ ย่อมสำเหนียกว่า เราจักพิจารณาเห็นโดยความสละ
คืนหายใจออก เราจักพิจารณาเห็นโดยความสละคืนหายใจเข้า ดูกรอานนท์ สมาธิอันสัมปยุต
ด้วยอานาปานสติ อันภิกษุเจริญแล้วอย่างนี้ กระทำให้มากแล้วอย่างนี้ ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์
มาก.
    [๑๓๕๘] ดูกรอานนท์ สมัยใด ภิกษุเมื่อหายใจออกยาว ก็รู้ชัดว่า หายใจออกยาว
หรือเมื่อหายใจเข้ายาว ก็รู้ชัดว่า หายใจเข้ายาว เมื่อหายใจออกสั้น ก็รู้ชัดว่า หายใจออกสั้น
หรือเมื่อหายใจเข้าสั้น ก็รู้ชัดว่า หายใจเข้าสั้น ย่อมสำเหนียกว่า เราจักเป็นผู้กำหนดรู้กองลม
หายใจทั้งปวงหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า เราจักเป็นผู้กำหนดรู้กองลมหายใจทั้งปวงหายใจเข้า
ย่อมสำเหนียกว่า เราจักระงับกายสังขารหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า เราจักระงับกายสังขาร
หายใจเข้า สมัยนั้น ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ
พึงกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร? เพราะเรากล่าวกายอันหนึ่ง
ในบรรดากายทั้งหลาย ซึ่งได้แก่ลมหายใจออกและลมหายใจเข้า เพราะฉะนั้นแหละอานนท์
สมัยนั้น ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ พึงกำจัด
อภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้.
    [๑๓๕๙] ดูกรอานนท์ สมัยใด ภิกษุย่อมสำเหนียกว่า เราจักเป็นผู้กำหนดรู้ปีติ
หายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า เราจักเป็นผู้กำหนดรู้ปีติหายใจเข้า ย่อมสำเหนียกว่า เราจักเป็น
ผู้กำหนดรู้สุขหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า เราจักเป็นผู้กำหนดรู้สุขหายใจเข้า ย่อมสำเหนียกว่า
เราจักเป็นผู้กำหนดรู้จิตสังขารหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า เราจักเป็นผู้กำหนดรู้จิตสังขาร
หายใจเข้า ย่อมสำเหนียกว่า เราจักระงับจิตสังขารหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า เราจักระงับ
จิตสังขารหายใจเข้า สมัยนั้น ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่ มีความเพียร มี
สัมปชัญญะ มีสติ พึงกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร? เพราะเรา
กล่าวเวทนาอันหนึ่งในบรรดาเวทนาทั้งหลาย ซึ่งได้แก่การกระทำไว้ในใจให้ดีซึ่งลมหายใจออก
และลมหายใจเข้า เพราะฉะนั้นแหละอานนท์ สมัยนั้น ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่
มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ พึงกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้.
    [๑๓๖๐] ดูกรอานนท์ ในสมัยใด ภิกษุย่อมสำเหนียกว่า เราจักกำหนดรู้จิตหายใจ
ออก ย่อมสำเหนียกว่า เราจักกำหนดรู้จิตหายใจเข้า ย่อมสำเหนียกว่า เราจักทำจิตให้บันเทิง
หายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า เราจักทำจิตให้บันเทิงหายใจเข้า ย่อมสำเหนียกว่า เราจักตั้งจิต
มั่นหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า เราจักตั้งจิตมั่นหายใจเข้า ย่อมสำเหนียกว่า เราจักเปลื้องจิต
หายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า เราจักเปลื้องจิตหายใจเข้า สมัยนั้น ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นจิต
ในจิตอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ พึงกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้ ข้อ
นั้นเพราะเหตุไร? เพราะเราไม่กล่าวซึ่งการเจริญสมาธิอันสัมปยุตด้วยอานาปานสติ สำหรับผู้มี
สติหลง ไม่มีสัมปชัญญะ เพราะฉะนั้นแหละ อานนท์ สมัยนั้น ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นจิตใน
จิตอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ พึงกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้.
    [๑๓๖๑] ดูกรอานนท์ สมัยใด ภิกษุย่อมสำเหนียกว่า เราจักพิจารณาเห็นโดยความ
เป็นของไม่เที่ยงหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า เราจักพิจารณาเห็นโดยความเป็นของไม่เที่ยง
หายใจเข้า ย่อมสำเหนียกว่า เราจักพิจารณาเห็นโดยความคลายกำหนัดหายใจออก ย่อมสำเหนียก
ว่า เราจักพิจารณาเห็นโดยความคลายกำหนัดหายใจเข้า ย่อมสำเหนียกว่า เราจักพิจารณาเห็นโดย
ความดับหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า เราจักพิจารณาเห็นโดยความดับหายใจเข้า ย่อมสำเหนียก
ว่า เราจักพิจารณาเห็นโดยความสละคืนหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า เราจักพิจารณาเห็นโดย
ความสละคืนหายใจเข้า สมัยนั้น ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่ มีความเพียร มี
สัมปชัญญะ มีสติ พึงกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้ เธอเห็นการละอภิชฌาและโทมนัส
นั้นด้วยปัญญา จึงวางเฉยเสียได้ เป็นอย่างดี เพราะฉะนั้นแหละอานนท์ สมัยนั้น ภิกษุย่อม
พิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ พึงกำจัดอภิชฌาและโทมนัส
ในโลกเสียได้.
    [๑๓๖๒] ดูกรอานนท์ เปรียบเหมือนมีกองดินใหญ่อยู่ที่หนทางใหญ่ ๔ แพร่ง ถ้า
เกวียนหรือรถผ่านมาในทิศบูรพา ก็ย่อมกระทบกองดินนั้น ถ้าผ่านมาในทิศปัจฉิม ทิศอุดร ทิศ
ทักษิณ ก็ย่อมกระทบกองดินนั้นเหมือนกัน ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน เมื่อพิจารณาเห็น
กายในกายอยู่ พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่ พิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ พิจารณาเห็นธรรมใน
ธรรมอยู่ ย่อมจะกำจัดอกุศลธรรมอันลามกนั้นเสียได้.
                          จบ เอกธรรมวรรคที่ ๑.