 |
ความคิดเห็นที่ 3 |
|
สวัสดีครับคุณ
(F=9b) ที่ร่วมด้วยสนทนา
แสดงความคิดเห็นนะครับ
ต่อไปผมจะยกหลักฐานจากพระอรรถกถา เพื่อแสดงหลักฐาน ในเรื่อง
โคตรภูบุคคลที่เป็นเอกเทศ ไม่ใช่เพียงแค่ขณะจิตเดียว
อรรถกถาสัมมาสัมพุทธบุคคล
วินิจฉัยในนิเทศแห่ง
สัมมาสัมพุทธบุคคล. คำว่า
"ปุพฺเพ อนนุสฺสุเตสุ" ได้แก่
ในธรรมอันไม่เคยสดับมาก่อนในสำนักแห่งบุคคลอื่น ในกาลก่อนแต่การตรัสรู้สัจธรรมในปัจฉิมภพ.
ก็ในภพก่อน ๆ แต่ภพนั้น พระสัพพัญญูโพธิสัตว์
ทรงผนวชในพระพุทธศาสนา เรียนพระไตรปิฏกทั้ง ๓
แล้วยกขึ้นสู่คตปัจจาคตวัตรคือ
วัตรที่นำกรรมฐานไปและนำกลับมา
เริ่ม ตั้งกรรมฐานจนจดอนุโลมและโคตรภูญาณ.
เพราะฉะนั้น คำว่า "สัมมาสัม- พุทโธ"
นี้ ท่านกล่าวหมายเอาความเป็นผู้ไม่มีใคร ๆ
เป็นอาจารย์ในปัจฉิมภพ คือภพสุดท้ายเท่านั้น.
จริงอย่างนั้น
พระตถาคตเจ้า ทรงตรัสรู้สัจธรรมทั้ง ๔
ด้วยพระองค์ เอง
ด้วยญาณอันประจักษ์แก่พระองค์ว่า "อิทํ
ทุกฺขํ ฯลฯ อิทํ
ทุกฺข- นิโรธคามินีปฏิปทา" ดังนี้
ในสังขตธรรมทั้งหลาย
ที่ไม่ได้สดับมาในสำนัก แห่งบุคคลอื่น
เพราะความที่พระองค์เป็นผู้มีบารมีเต็มบริบูรณ์แล้ว.
คำว่า "ตตฺถ" ได้แก่ อรหัตมรรค
กล่าวคือปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้สัจธรรมทั้ง
๔ นั้น. คำว่า "พเลสุ วสีภาวํ"
ได้แก่
ย่อมถึงความเป็นผู้ชำนาญในการ ประพฤติพระสัพพัญญุตญาณ
และทศพลญาณทั้งหลาย. ก็กิจอื่น
ชื่อว่าควร กระทำย่อมไม่มีแก่พระพุทธเจ้าทั้งหลาย
จำเดิมแต่การบรรลุพระสัพพัญญุตญาณ และพระทศพลญาณ.
เหมือนอย่างว่า อิสริยยศทั้งหมดใคร ๆ
ไม่ควรกล่าวว่า ชื่อว่า อิสริยยศนี้
ไม่มาถึงแก่ขัตติยกุมารผู้อุภโตสุชาติ
จำเดิมแต่การได้อภิเษก อิสริยยศนี้
ย่อมเป็นธรรมชาติมาแล้วทั้งสิ้น ฉันใด
ชื่อว่า คุณนี้อันใคร ๆ ไม่ควรกล่าวว่า
ไม่มาถึงแล้วแก่พระพุทธเจ้าทั้งหลาย,
พระพุทธเจ้าทั้งหลาย ไม่แทงตลอดแล้ว,
และไม่ประจักษ์แก่พระพุทธเจ้าทั้งหลาย
จำเดิมแต่การบรรลุ อรหัตมรรค
คุณคือพระสัพพัญญุตญาณแม้ทั้งปวง ชื่อว่ามาแล้ว
พระพุทธเจ้า ได้แทงตลอดแล้ว
กระทำให้ประจักษ์แล้ว ฉันนั้น
เหมือนกัน.
คำว่า "อยํ วุจฺจติ" ความว่า
บุคคลนี้ได้แก่
บุคคลผู้มีสัพพัญญูคุณ อันแทงตลอดแล้วด้วยอริยมรรค
โดยอานุภาพแห่งความสำเร็จแล้ว
ด้วยบารมี อันบริบูรณ์ด้วยประการฉะนี้
ท่านจึงเรียกว่า "สัมมาสัมพุทโธ".
จบอรรถกถาสัมมาสัมพุทธบุคคล
ผมขอนำบทความนั้นแสดงให้ชัดอีกครั้งนะครับ
ก็ในภพก่อน
ๆ แต่ภพนั้น พระสัพพัญญูโพธิสัตว์
ทรงผนวชในพระพุทธศาสนา เรียนพระไตรปิฏกทั้ง ๓
แล้วยกขึ้นสู่คตปัจจาคตวัตรคือ
วัตรที่นำกรรมฐานไปและนำกลับมา
เริ่ม ตั้งกรรมฐานจนจดอนุโลมและโคตรภูญาณ.
เป็นอันว่า โคตรภูบุคคล ที่เป็นเอกเทศ ใน
อาหุเนยยสูตร ที่กล่าวถึง บุคคล 10
ตามที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้
ได้รับการยืนยันจากพระอรรถกถา ในอรรถกถานี้
เป็นการรองรับพระพุทธพจน์ ในอาหุเนยยสูตร ที่กล่าวถึง บุคคล
10 ถึงแม้ว่าในพระอรรถกถาในส่วนอื่น ได้กล่าวไว้ว่า
พระนิยตโพธิสัตว์ เจริญถึงวิปัสสนาญาณที่ อนุโลมญาณ
ก็มีอยู่ก็ตาม
สิ่งที่เราท่านสนทนากันนี้เป็นเรื่องเฉพาะ
และหาบุคคลมาเปรียบเทียบได้อยาก มีเพียงน้อยนิดๆๆ
เมื่อเทียบกับสัตว์ทั้งหลายอันประมาณไม่ได้
หาได้เป็นสภาวะที่เป็นสาธารณะ
จึงไม่เป็นที่วิเคราะห์เรียนรู้สำหรับบุคคลทั่วๆ ไป
ที่เอามาวิเคราะห์ทำให้ชัดเจนได้โดยง่าย
แม้จะมีหลักฐานข้อมูลรองรับอยู่.
จากคุณ |
: P_vicha
|
เขียนเมื่อ |
: 16 พ.ย. 52 16:25:04 |
|
| |
 |