 |
ความคิดเห็นที่ 3 |
|
สวัสดีครับคุณ
P2wichai และคุณ ขยันและอดทน
เป็นอันว่าคุณ
ขยันและอดทน ได้ตอบเฉลยเรื่อง บุคคลทั้ง 4
ที่ผมเสนอไว้ อย่างถูกต้องแล้ว
และคำว่า โคตรภูภิกษุ
หรือโคตรภูภิกษุ
มีความชัดเจนแล้ว
//////////////////////////////////////// โคตรภูสงฆ์
คือ 1.พระสงฆ์ที่ไม่เคร่งครัด ปฏิบัติเหินห่างธรรมวินัย
แต่ยังมีเครื่องหมายเพศ เช่น ผ้าเหลืองเป็นต้น และถือตนว่า
ยังเป็นภิกษุสงฆ์อยู่,
2.สงฆ์ในระยะหัวต่อจะสิ้นศาสนา
ที่มา
พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ พระธรรมปิฎก
(ประยุทธ์
ปยุตฺโต) ////////////////////////////////////////
ส่วนผมก็จะขยายเรื่อง
โคตรภูบุคคล
ให้ชัดเจนยิ่งขึ้นนะครับ.
************************************* จาก
พระไตรปิฎกเล่มที่ 36.2
[๒๕] บุคคลที่เป็นปุถุชน เป็นไฉน
สัญโญชน์ ๓
อันบุคคลใดละไม่ได้
ทั้งไม่ปฏิบัติเพื่อละธรรมเหล่านั้นบุคคลนี้เรียกว่า
ปุถุชน
[๒๖] โคตรภูบุคคล เป็นไฉน
ความย่างลงสู่อริยธรรมในลำดับแห่งธรรมเหล่าใด
บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรมเหล่านั้นนี้เรียกว่า
โคตรภูบุคคล
***********************************
ในความหมายก็คือ ผู้ที่ย่างเข้าสู่ โคตรภูญาณ ของวิปัสสนาญาณ
กำลังจะบรรลุ มรรคญาณ ในฉับพลันนั้น.
และโดยปกติตามหลักปฏิบัติวิปัสสนานั้น
ผู้ที่ปฏิบัติถึง โคตรภูญาณ ย่อมบรรลุ มรรคญาณ
ติดต่อกันที่เดียวเลย เป็นพระโสดาติมรรคโสดาธิผล
เป็นพระอริยบุคคลในพุทธศาสนา.
แต่ใน อาหุเนยยสูตร นั้นพระพุทธเจ้า
ทรงจัดแยกไว้อย่างชัดเจน ในเรื่องของ โคตรภูบุคคล
ที่เป็นเอกเทศ
ก็หมายความว่า ผู้ที่ปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานจนถึง โคตรภูญาณ
แล้วหยุดยั่งอยู่เพียงแค่นั้น ไม่ล่วงเลยไปเป็น มรรคญาณ
ย่อมมีอยู่ ปรากฏแยกเป็นบุคคลให้ทราบชัด
อย่างเช่นเดียวกับ ปุถุชน หรือ พระอริยะ ก็คือ โคตรภูบุคคล
นั้นเอง.
ดังนั้นตามพระไตรปิฎก
ทั้งใน อาหุเนยยสูตร ในความหมายของโคตรภูบุคคล
สามารถพิจารณาได้ว่า โคตรภูบุคคล
คือผู้ที่ปฏิบัติธรรมอันได้แก่วิปัสสนากรรมฐาน
จนวิปัสสนาญาณเจริญถึง โคตรภูญาณ
ก็หยุดยั่งอยู่เพียงแค่นั้น.
กลายเป็นผู้ที่มีสัมมาทิฏฐิดำรงอยู่โดยตลอดทั้งชีวิต
เพียงแต่ยังไม่สามารถละกิเลสได้อย่างเด็ดขาดเท่านั้นเอง
ส่วนท่านผู้ใดมีข้อมูลและความคิดเห็นอย่างไร
ก็เสนอและแสดงได้นะครับ.
จากคุณ |
: P_vicha |
เขียนเมื่อ |
: 12 พ.ย. 52 14:01:41 |
|
| |
 |