ทีปังกรพุทธวงศ์ที่

โกณฑัญญพุทธวงศ์ที่

มังคลพุทธวงศ์ที่

สุมนพุทธวงศ์ที่

เรวตพุทธวงศ์ที่

โสภิตพุทธวงศ์ที่

 อโนมทัสสีพุทธวงศ์ที่

ปทุมพุทธวงศ์ที่

นารทพุทธวงศ์ที่

ปทุมุตรพุทธวงศ์ที่ ๑๐

สุเมธพุทธวงศ์ที่ ๑๑

สุชาตพุทธวงศ์ที่ ๑๒

ปิยทัสสีพุทธวงศ์ที่ ๑๓

อัตถทัสสีพุทธวงศ์ที่ ๑๔

ธรรมทัสสีพุทธวงศ์ที่ ๑๕

สิทธัตถพุทธวงศ์ที่ ๑๖

ติสสพุทธวงศ์ที่ ๑๗

ปุสสพุทธวงศ์ที่ ๑๘

วิปัสสีพุทธวงศ์ที่ ๑๙

สิขีพุทธวงศ์ที่ ๒๐

เวสสภูพุทธวงศ์ที่ ๒๑

กุกกุสันธพุทธวงศ์ที่ ๒๒

โกนาคมนพุทธวงศ์ที่ ๒๓

กัสสปพุทธวงศ์ที่ ๒๔

โคตมพุทธวงศ์ที่ ๒๕

                                    พุทธวงศ์
                        
รัตนะจงกรมกัณฑ์
              
ว่าด้วยพระพุทธองค์ทรงเนรมิตที่จงกรมแก้ว
        [
] ก็ท้าวสหัมบดีพรหมผู้เป็นใหญ่ในโลกได้ประนมอัญชลีทูล
           
อาราธนาพระผู้มีพระภาคว่า สัตว์ทั้งหลายผู้มีกิเลสธุลี
           
ในนัยน์ตาน้อย มีอยู่ในโลกนี้ ขอพระองค์ได้ทรงโปรด
           
อนุเคราะห์แสดงธรรมแก่หมู่สัตว์นี้เถิด (พระผู้มี-
           
พระภาคผู้เป็นใหญ่กว่าโลกอุดมกว่านรชน อันหมู่พรหม
           
ผู้ประนมอัญชลีทูลอาราธนาว่า สัตว์ทั้งหลายผู้มีกิเลสธุลี
           
ในนัยน์ตาน้อยมีอยู่ในโลกนี้ ขอพระองค์ได้ทรงโปรด
           
อนุเคราะห์แสดงธรรมแก่หมู่สัตว์นี้ ขอพระสุคตเจ้าทรง
     
โปรดแสดงธรรม ขอทรงแสดงอมตบท ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นนายก
     
ขอจงทรงโปรดอนุเคราะห์แสดงธรรมแก่สัตว์โลก) พระตถาคผู้ไม่มี
     
บุคคลเปรียบเสมอ ทรงถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ ผู้คงที่ ผู้ทรง
     
ความรุ่งเรือง ทรงไว้ซึ่งพระกายครั้งสุดท้าย ทรงเกิดความกรุณา
     
ในสัตว์ทั้งปวง
           
พระผู้มีพระภาคผู้ศาสดา ได้ทรงสดับดังนั้นแล้ว ได้
           
ตรัสว่า สัตว์เหล่าใดเงี่ยโสตลงฟัง ปล่อยศรัทธาเราจะ
           
เปิดประตูอมตนิพพานแก่สัตว์เหล่านั้น ดูกรพรหม เรา
           
สำคัญไปว่าจะลำบากเปล่า จึงไม่กล่าวธรรมมีคุณอัน
           
ละเอียดประณีตในหมู่มนุษย์.
      (
สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคผู้ประเสริฐกว่ามุนีจะทรงอนุเคราะห์
     
เวไนยสัตว์ เสด็จจากไม้อัชปาลนิโครธ เสด็จถึงพระนครพาราณสี
     
โดยเสด็จดำเนินไปตามลำดับ ก็ในกาลนั้น พระผู้มีพระภาคประทับ
           
บนบัลลังก์อันประเสริฐนั้น และทรงประกาศธรรมจักร คือ ทุกข์
           
เหตุให้เกิดทุกข์ ความดับทุกข์ มรรคอันสูงสุดแก่ปัญจวัคคีย์ พระ-
           
ผู้มีพระภาคทรงประกาศธรรมจักรนั้นแล้ว ฤาษีปัญจวัคคีย์เหล่านั้น
           
คือ โกณฑัญญะ วัปปะ ภัททิยะ มหานามะ และอัสสชิ พร้อม
           
ด้วยหมู่เทวดาและพรหม ๑๘ โกฏิ ได้ธรรมาภิสมัยในสันติบาต
           
ครั้งแรก ในกาลนั้น พระองค์ทรงแนะนำปัญจวัคคีย์แม้ทั้งหมด
           
พร้อมด้วยหมู่พรหมและเทวดา ๑๘ โกฏิ ให้วิเศษตามลำดับ ด้วย
           
พระธรรมเทศนาอย่างอื่น ทรงยังหมู่พรหมและเทวดาให้ได้โสดา
           
ปัตติผลในสันติบาตนั้น แล้วเสด็จไปยังกรุงราชคฤห์ โดยเสด็จ
           
ดำเนินไปตามลำดับ พระองค์ผู้ประเสริฐกว่ามุนี ประทับอยู่ ณ
           
พระเวฬุวันมหาวิหาร ก็พระเจ้าพิมพิสารได้ทรงสดับดังนั้น ได้เสด็จ
           
ไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค มีบริวารเป็นอันมากประมาณ  ๑๑ นหุต
           
พระเจ้าพิมพิสารทรงบูชาพระผู้มีพระภาค ด้วยประทีป ของหอม
           
ธูปและดอกไม้เป็นต้น ในสมาคมนั้น พระผู้มีพระภาคทรงแสดง
           
กามาทีนวกถา ในเวลาจบเทศนา ครั้งนั้น ธรรมาภิสมัยได้มีแก่สัตว์
           
๘๔,๐๐๐ มีพระราชาเป็นประมุขพระพุทธบิดาได้ทรงสดับข่าวนั้น
           
ทรงส่งทูตไป ๙ นายทูตเหล่านั้นพร้อมด้วยบริวาร ๙,๐๐๐ ทูลขอ
           
บรรพชากะพระมุนี ทูตเหล่านั้นและบริวาร ๙,๐๐๐ ได้บรรลุอรหัต
           
ครั้งสุดท้ายกาฬุทายีอำมาตย์กับบริวาร ๑,๐๐๐ ถือเพศภิกษุแล้ว
           
กราบทูลเชิญพระผู้มีพระภาค พระศากยมุนีผู้ประเสริฐ ทรงรับ
           
นิมนต์แล้ว เสด็จดำเนินไปตามทางใหญ่ เสด็จไปพร้อมด้วยภิกษุ
           
สองหมื่น พระองค์เสด็จถึงกรุงกบิลพัสดุ์โดยการเสด็จดำเนินไป
           
ตามลำดับ ได้ทรงกระทำปาฏิหาริย์ที่ใกล้ฝั่งแม่น้ำโรหิณี ประทับนั่ง
           
ณ ท่ามกลางบัลลังก์นั้น ทรงแสดงมหาเวสสันตรชาดกธรรมเทศนา
           
แก่พระพุทธบิดา ธรรมาภิสมัยได้มีแก่สัตว์ ๘๔,๐๐๐).
 
พระผู้มีพระภาคทรงพระดำริว่า
           
พรหมเหล่านี้ พร้อมด้วยเทวดาและมนุษย์ไม่รู้ว่า พระ-
           
พุทธเจ้าผู้สูงสุดกว่านรชนนี้เป็นเช่นไร ทรงมีกำลังฤทธิ์
           
และกำลังปัญญาเช่นไร ทรงมีกำลังพุทธเจ้าอันเป็น
           
ประโยชน์แก่โลกเช่นไร พรหมเหล่านี้พร้อมด้วยเทวดา
           
และมนุษย์ไม่รู้ว่า พระพุทธเจ้าผู้สูงสุดกว่านรชนนี้เป็น
           
เช่นนี้ทรงมีกำลังฤทธิ์และกำลังปัญญาเช่นนี้ทรงมีกำลัง
           
พระพุทธเจ้าอันเป็นประโยชน์แก่โลกเช่นนี้.
     
เอาละ เราจักแสดงกำลังพระพุทธเจ้าอันยอดเยี่ยม เราจักนิรมิต
     
ที่จงกรมอันประดับด้วยรัตนะในนภากาศ.
           
ภุมมเทวดา เทวดาชั้นมหาราชิกา ชั้นดาวดึงส์ ชั้นยามา
           
ชั้นดุสิต ชั้นนิมมานรดี ชั้นปรนิมมิตสวัตดี และ
           
เทวดาที่นับเนื่องในหมู่พรหม ต่างก็ยินดี ได้พากัน
           
ส่งเสียงอื้ออึง แผ่นดินพร้อมด้วยเทวโลกสว่างไสว
           
ที่อันมีในระหว่างโลกอันหนาแน่นไม่มีอะไรปิด และ
           
ความมืดทึบได้หายไป ในกาลนั้น พรหมพร้อมทั้งเทวดา
           
คนธรรพ์มนุษย์และรากษส ได้เห็นปาฏิหาริย์อันอัศจรรย์
           
แล้ว กล่าวว่ารัศมีอันสว่างจ้า ได้เกิดขึ้นแล้วในโลกนี้
           
และในโลกอื่น ทั้งเบื้องล่างเบื้องบน และเบื้องขวาง
           
ส่วนกว้าง พระศาสดาผู้อุดมกว่าสัตว์ไม่มีใครประเสริฐ
           
ยิ่งไปกว่า เป็นนายกชั้นพิเศษ อันเทวดาและมนุษย์บูชา
           
ทรงมีอานุภาพมาก มีลักษณะบุญนับด้วยร้อย ทรงแสดง
           
ปาฏิหาริย์อันน่าอัศจรรย์ ฯ
      (
ในสมาคมนั้น พระศาสดาผู้พิชิตมารเสด็จเหาะขึ้นในนภาดลแล้ว
           
ทรงนิรมิตขุนเขาสิเนรุให้เป็นที่จงกรมอันน่ารื่นรมย์ ทวยเทพใน
           
หมื่นโลกธาตุ มาประชุมกันในสำนักพระพิชิตมารถวายนมัสการ
           
พระตถาคตแล้ว กระทำพุทธบูชา)
                
ในกาลนั้น พระศาสดาผู้มีพระจักษุอุดมกว่านรชน เป็น
                
นายกของโลกอันท้าวสหัมบดี ผู้ประเสริฐกว่าเทวดา
                
ทูลอาราธนาแล้ว ทรงพิจารณาเห็นประโยชน์ดีแล้ว จึง
                
ทรงนิรมิตที่จงกรมเรียบร้อยสวยงามประดับด้วยรัตนะ
                
ทั่วไป พระผู้มีพระภาคผู้เป็นนายกของโลก ทรงมีความ
                
ชำนาญในปาฏิหาริย์ ๓ อย่าง คือ อิทธิปาฏิหาริย์
                
อาเทศนาปาฏิหาริย์ และอนุศาสนีปาฏิหาริย์ ทรงนิรมิต
                
ที่จงกรมเรียบร้อยสวยงามประดับด้วยรัตนะทั่วไป
           
ทรงแสดงขุนเขาสิเนรุอันสูงสุดในหมื่นโลกธาตุ เป็นเสาเรียงตาม
           
ลำดับ ในที่จงกรมอันสำเร็จด้วยรัตนะ พระพิชิตมารทรงนิรมิต
           
ที่จงกรมเกินกว่าพันที่ ล้วนแต่สำเร็จด้วยทองคำไว้รอบข้างรัตนะ
           
จงกรม ทรงนิรมิตแผ่นกระดานทองคำติดอยู่ตามขื่อและเต้า ทรง-
           
นิรมิตไพรทีล้วนแต่ทองคำไว้ที่ข้างทั้งสอง รัตนะจงกรมที่ทรงนิรมิต
           
เกลื่อนไปด้วยแก้วมณีแก้วมุกดาและทรายสว่างไสวไปทั่วทิศเหมือน
           
พระอาทิตย์อุทัย ฉะนั้น พระชินสัมพุทธเจ้าผู้เป็นนักปราชญ์ มี
           
ลักษณะอันประเสริฐ ๓๒ ประการ ทรงเปล่งพระรัศมีรุ่งเรือง เสด็จ
           
จงกรมอยู่บนรัตนะจงกรมนั้น ทวยเทพทั้งปวงที่มาประชุมกันต่างก็
           
โปรยปรายดอกมณฑารพ ดอกปทุม ดอกปาริชาตก์ทิพย์ลงในที่
           
จงกรม หมู่เทพในหมื่นจักรวาลได้เห็นเช่นนั้นจึงมาประชุมกัน
           
ต่างก็ยินดีร่าเริง เบิกบานใจหมอบลงถวายนมัสการ ทวยเทพชั้น
           
ดาวดึงส์ ชั้นยามา ชั้นดุสิต ชั้นนิมมานรดี  และชั้นปรนิมมิตวสวัตดี
           
ได้เห็นพระศาสดาผู้เป็นนายกของโลก ต่างก็มีจิตเบิกบานโสมนัส.
                
พวกนาค ครุฑ หรือแม้กินนร พร้อมด้วยเทวดาคนธรรพ์
                
มนุษย์และรากษส ต่างก็ได้เห็นพระศาสดาผู้ทรงเกื้อกูล
                
อนุเคราะห์โลก เหมือนดวงจันทร์ที่ขึ้นไปในนภากาศ
                
ฉะนั้น.
           
อาภัสสรพรหม สุภกิณหพรหม เวหัปผลพรหมและอกนิฏฐพรหม
           
ต่างก็นุ่งผ้าขาวล้วนๆ ยืนประนมอัญชลี.
                
ต่างก็โปรยดอกมณฑารพ ๕ สี อันเจือด้วยกระแจะจันทน์
                
และพากันโบกผ้าอยู่ในอัมพรในกาลนั้นต่างก็เปล่งเสียง
                
ว่า โอ พระพิชิตมารทรงเกื้อกูลอนุเคราะห์โลก.
           
พระองค์ผู้อุดมกว่าสัตว์ เป็นศาสดา เป็นยอด เป็นธง เป็นหลักไชย
           
เป็นที่พึ่งอาศัย และเป็นประทีปของสัตว์ทั้งหลาย ทวยเทพผู้มี
           
ฤทธิ์มากในหมื่นโลกธาตุ ต่างก็ยินดีร่าเริง เบิกบานใจ พากัน
           
แวดล้อมถวายนมัสการ เทพบุตรและเทพกัญญา ต่างก็เลื่อมใสมีใจ
           
ยินดีพากันบูชาพระนราสภด้วยดอกไม้ ๕ สี หมู่เทพเจ้าได้เห็น
           
พระศาสดา ต่างก็เลื่อมใสมีใจยินดีพากันบูชาพระนราสภด้วยดอก
           
ไม้ ๕ สี เปล่งเสียงว่า ความอัศจรรย์ โอ ขนพองสยองเกล้าไม่
           
เคยมีในโลก ความอัศจรรย์ขนพองสยองเกล้าเช่นนี้ ไม่เคยเป็น
           
เทพเจ้าเหล่านี้ อยู่ในภพของตนๆ ได้เห็นความอัศจรรย์ในนภากาศ
           
แล้ว พากันร่าเริงเป็นอันมาก เทพเจ้าที่อยู่ในนภากาศ พื้นดิน
           
ป่าหญ้าและที่ประจำดวงดาว ต่างก็ยินดีร่าเริงเบิกบานใจ พากัน
           
ประนมอัญชลีนมัสการ แม้พวกนาคที่มีอายุยืน มีบุญ มีฤทธิ์มาก
           
ได้เห็นอัศจรรย์ในนภากาศแล้วต่างก็ยินดีมีจิตเบิกบาน ถวายนมัส-
           
การบูชาพระศาสดาผู้อุดมกว่านรชน บรรเลงสังคีต ตีกลองกันอยู่
           
ในอากาศกลางหาวได้เห็นอัศจรรย์ในนภากาศแล้ว ต่างก็ประโคม-
           
สังข์ บัณเฑาะว์และมโหรทึกอยู่ในอากาศเปล่งเสียงว่า วันนี้ ความ
           
อัศจรรย์ไม่เคยมี ขนพองสยองเกล้าเกิดขึ้นแก่เรา เราได้ความสำเร็จ
           
ประโยชน์ยั่งยืน ขณะปรากฏแก่เราแล้วเพราะได้ฟังว่าพุทโธ นาค
           
เหล่านั้นเกิดปีติในขณะนั้น ต่างก็ยืนประนมอัญชลีเปล่งเสียงว่า
           
พุทโธ พุทโธ หมู่สัตว์ต่างๆ ในท้องฟ้าต่างก็ประนมอัญชลีเปล่ง
           
เสียงหึ่งๆ เสียงสาธุการและเสียงโห่กึกก้อง
                
นาคทั้งหลายต่างก็เปล่งเสียงประสานขับร้องประโคมปรบ
                
มือ ฟ้อนรำและต่างก็โปรยปรายดอกมณฑารพ ๕ สี
                
อันเจือด้วยกระแจะจันทน์ ลงมาบูชาเปล่งเสียงประกาศว่า
           
ข้าแต่พระมหาวีรเจ้า ลายจักรที่พระบาทยุคลของพระองค์ฉันใด
           
ธงไชย ธงปฏากวิเชียรก็ลอยเด่นอยู่ ฉันนั้นไม่มีใครเสมอด้วย
           
พระรูป ศีล สมาธิ และปัญญาของพระองค์ในการประกาศธรรมจักร
           
ไม่มีใครเสมอด้วยวิมุตติ กำลังกายของนาค ๑๐ นาค เป็นพระ
           
กำลังกายปกติของพระองค์ในการประกาศธรรมจักรไม่มีใครเสมอ
           
ด้วยกำลังพระฤทธิ์ของพระองค์ ท่านทั้งหลายจงนมัสการพระมหามุนี
           
ผู้ประกอบด้วยคุณสมบัติทุกอย่าง ทรงประกอบด้วยองคคุณทั้งปวง
           
มีพระกรุณา เป็นนาถะของโลก พระองค์ย่อมควรแก่การอภิวาท
           
การชมเชย การไหว้ การสรรเสริญ การนมัสการ และการบูชา
           
ทุกอย่าง ข้าแต่พระมหาวีรเจ้า พระองค์เป็นผู้ประเสริฐที่สุดกว่า
           
บุคคลผู้ไหว้ และผู้ควรไหว้ในโลกไม่มีใครเสมอกับพระองค์ พระ-
           
สารีบุตรผู้มีปัญญามาก เป็นผู้ฉลาดในสมาธิและฌาน สถิต ณ เขา
           
คิชฌกูฏ ได้เห็นพระองค์ผู้เป็นนายกของโลก มองดูพระนราสภงาม
           
เหมือนพระยารังมีดอกบานสะพรั่ง เหมือนพระจันทร์ในท้องฟ้า
           
และเหมือนพระอาทิตย์ในเวลาเที่ยง เห็นพระองค์ผู้นายกของโลก
           
ผู้แวดล้อมด้วยรัศมีด้านละวา งามดังต้นไม้ประจำทวีปอันรุ่งเรือง
           
เหมือนพระอาทิตย์อุทัยส่องแสงอ่อนๆ พระสารีบุตรได้นิมนต์พระ-
           
ภิกษุขีณาสพ ๕๐๐ รูป ผู้ทำกิจเสร็จแล้ว ผู้คงที่ ผู้ปราศจากมลทิน
           
ให้มาประชุมกันในขณะนั้น กล่าวว่า พระพิชิตมารทรงแสดง
           
ปาฏิหาริย์อันจะยังโลกให้เลื่อมใส แม้เราทั้งหลาย ก็จักไปถวาย
           
บังคมพระองค์ในที่นั้น มาเถิด เราทั้งปวงจักไป จักทูลถามพระองค์
           
เราจักไปเฝ้าพระองค์ผู้เป็นนายกของโลก ให้พระองค์บรรเทาความ
           
สงสัยให้ พระภิกษุผู้มีปัญญาสำรวมอินทรีย์เหล่านั้น รับว่าสาธุแล้ว
           
ต่างก็ถือบาตรและจีวร พากันรีบร้อนเข้าไปเฝ้าพระสารีบุตรผู้มี
           
ปัญญามาก พร้อมด้วยพระขีณาสพผู้ปราศจากมลทิน ผู้ฝึกตนด้วย
           
การฝึกอันอุตมพากันไปเฝ้าด้วยฤทธิ์ พระสารีบุตรผู้เป็นเจ้าคณะใหญ่
           
แวดล้อมด้วยภิกษุเหล่านั้นเข้าไปเฝ้าด้วยฤทธิ์ เปรียบเหมือนเทวดา
           
ลอยมาในอากาศ ฉะนั้น พระภิกษุเหล่านั้นผู้มีวัตรอันงาม มีความ
           
เคารพยำเกรง ไม่ไอ ไม่จาม พากันเข้าไปเฝ้าพระสัมพุทธเจ้า
           
ครั้นเข้าเฝ้าแล้ว ได้เห็นพระสยัมภูวีรเจ้าผู้เป็นนายกของโลก ลอย
           
เด่นอยู่ในนภากาศ เหมือนพระจันทร์ในท้องฟ้า ได้เห็นพระพุทธเจ้า
           
ผู้เป็นนายกของโลกดังต้นไม้ประจำทวีปอันรุ่งเรืองเหมือนสายฟ้าใน
           
อากาศ ดุจพระอาทิตย์ในเวลาเที่ยง พระภิกษุทั้ง ๕๐๐ องค์ ได้เห็น
           
พระพุทธเจ้าผู้เป็นนายกของโลก ดังห้วงน้ำอันใสแจ๋ว ดังดอก
           
บัวบาน ต่างก็ยินดีร่าเริงบันเทิงใจ ประนมอัญชลีหมอบลงถวาย
           
นมัสการแทบพระบาทพระศาสดา พระสารีบุตรผู้มีปัญญามาก เสมอ
           
เหมือนโลกพิภพ ฉลาดในสมาธิและฌาน ถวายบังคมพระศาสดา
           
ผู้เป็นนายกของโลกพระโมคคัลลานะผู้มีฤทธิ์มาก ไม่มีใครเสมอ
           
ด้วยกำลังฤทธิ์เปรียบด้วยดอกนิลุบล เหมือนอกาลเมฆกระหึ่ม
           
ฉะนั้นแม้พระมหากัสสปเถระ ผู้เปรียบด้วยทองคำสีรุ่งเรืองพระ-
           
ศาสดาทรงชมเชยสรรญเสริญตั้งไว้ว่าเป็นยอดในธุดงคคุณพระอนุรุทธ
           
เถระผู้เป็นเจ้าคณะใหญ่ เลิศกว่าบรรดาภิกษุผู้มีจักษุทิพย์เป็นพระ-
           
ญาติผู้ประเสริฐของพระผู้มีพระภาคสถิตอยู่ไม่ไกล พระอุบาลีเถระ
           
ผู้ฉลาดในอาบัติ อานาบัติ สเตกิจฉา พระศาสดาทรงสรรเสริญตั้งไว้
           
ว่าเป็นผู้เลิศในฝ่ายวินัย พระเถระผู้เป็นบุตรของนางมันตานี ปรากฏ
           
ว่าชื่อปุณณะ ผู้แทงตลอดอรรถธรรมอันสุขุมละเอียดประเสริฐกว่า
           
ภิกษุผู้เป็นธรรมกถึก พระมุนีมหาวีรเจ้าผู้ทรงฉลาดในอุปมา ผู้ตัด
           
ความสงสัย ทรงทราบวาระจิตของท่านเหล่านั้นแล้วจึงตรัสพระคุณ
           
ของพระองค์ว่า ชนเหล่าใดไม่รู้สัตตนิกาย โอกาสและจักรวาล
           
อันไม่มีที่สิ้นสุด ในสี่อสงไขยโกฏิได้ ชนเหล่านั้นก็ไม่สามารถจะ
           
รู้ พระพุทธญาณ อันไม่มีเปรียบได้การแผลงฤทธิ์ของเรานี้ จะ
           
อัศจรรย์อะไรในโลกเล่า ความอัศจรรย์อันไม่เคยมี น่าขนพองสยอง
           
เกล้าอย่างอื่นมีอีกมากในกาลใด เราอยู่ในชั้นดุสิต ในกาลนั้น เรา
           
ชื่อว่าสันดุสิตเทวดาในหมื่นจักรวาฬมาประนมอัชลีเชิญเราว่า ข้าแต่
           
ท่านผู้มีเพียรใหญ่ เวลานี้เป็นกาลสมควรที่ท่านจะเกิดในครรภ์พระ-
           
มารดา ของเชิญตรัสรู้อมตบทช่วยรื้อขนสัตว์พร้อมด้วยเทวดาให้
           
ข้ามเถิด ขณะเมื่อเราจุตี่จากสวรรค์ชั้นดุสิตลงสู่ครรภ์นั้นแผ่นดินใน
           
หมื่นโลกธาตุย่อมหวั่นไหว ขณะเมื่อเรามีความรู้สึกตัวประสูติ
           
จากครรภ์พระมารดานั้น ทวยเทพในหมื่นโลกธาตุเปล่งเสียงสาธุการ
           
หวั่นไหว ในการลงสู่ครรภ์ประสูติและออกบวชไม่มีใครเสมอด้วย
           
เรา เราเป็นผู้ประเสริฐสุดในกาลตรัสรู้และในการประกาศธรรมจักร
           
โอ ความอัศจรรย์มีในโลกเพราะพระพุทธเจ้ามีคุณมาก หมื่นโลก
           
ธาตุหวั่นไหว ๖ ครั้งมีรัศมีสว่างจ้า น่าอัศจรรย์ขนพองสยองเกล้า
           
ก็สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคผู้พิชิตมาร เชษฐบุรุษของโลก ประเสริฐ
           
กว่านรชน ทรงจงกรมด้วยฤทธิ์ แสดงให้โลกพร้อมทั้งเทวโลกเห็น
           
พระศาสดาผู้เป็นนายกของโลก เสด็จจงกรมอยู่ ณ ที่จงกรมนั่นเอง
           
ตรัสตอบ ไม่เสด็จกลับในระหว่างเหมือนดังเสด็จจงกรมอยู่ในที่จง
           
กรม ๕ ศอก พระสารีบุตรผู้มีปัญญามากในสมาธิและฌาน ถึงความ
           
บริบูรณ์ด้วยปัญญาได้ทูลถามพระศาสดาผู้เป็นนายกของโลกว่า ข้า-
           
แต่พระมหาวีรเจ้าผู้อุดมกว่านรชน อภินิหารของพระองค์เช่นไร
           
พระองค์ทรงปรารถนาพระโพธิญาณอันอุดมในกาลไร ทาน ศีล เนก-
           
ขัมมะ ปัญญา วิริยะ ขันติ สัจจะ อธิษฐานะ เมตตาและอุเบกขา
           
เป็นเช่นไร ข้าแต่พระมหาวีรเจ้า ผู้เป็นนายกของโลก บารมี ๑๐
           
เป็นอย่างไร อุปบารมี ๑๐ และปรมัตถบารมี ๑๐ บริบูรณ์อย่างไร
            (
เพราะทรงอธิษฐานกรรมอะไร จึงเป็นอธิบดีเช่นไร เป็นบารมีได้
           
เช่นไร นักปราชญ์เช่นไรมีในโลก เมตตา กรุณา มุทิตา และ
           
อุเบกขาเป็นเช่นไร พระองค์ทรงบำเพ็ญพุทธการกธรรมให้บริบูรณ์
           
เช่นไร) พระศาสดาผู้มีพระสุรเสียงไพเราะดังนกการะเวกอันพระ-
           
สารีบุตรทูลถามแล้ว ทรงพยากรณ์ให้เย็นใจ และทรงยังโลกพร้อม
           
ทั้งเทวโลกให้ยินดี.
                
พระศาสดาทรงประกาศประโยชน์แก่โลก ที่พระพุทธเจ้า
                
ในอดีตทรงแสดงไว้ ทรงชมเชย อันพระพุทธเจ้าทรงนำ
                
สืบๆ กันมา ด้วยพระพุทธญาณที่ไปตามปุพเพนิวาส-
                
ญาณ ในโลกพร้อมทั้งเทวโลก
           
ว่าท่านทั้งหลายจงทำจิตให้เกิดปีติและปราโมทย์ให้บรรเทาลูกศร คือ
           
ความโศก ให้ได้สมบัติทั้งปวงแล้ว จงฟังเราท่านทั้งหลายจงดำเนิน
           
ไปตามมรรคอันเป็นเครื่องย่ำยีมีความเมาบรรเทาความโศก เปลื้อง
           
ตนจากสงสาร เป็นที่สิ้นทุกข์ทั้งปวงโดยความเคารพเถิด.
                       
จบรัตนะจงกรมกัณฑ์
                       
ทีปังกรพุทธวงศ์ที่ ๑
                
ว่าด้วยพระประวัติพระทีปังกรพุทธเจ้า
        [
] ในสี่อสงไขยแสนกัป มีพระนครหนึ่งชื่อว่าอมรนครเป็นนครสวยงาม
           
น่ารื่นรมย์ใจ ไม่ว่างจากเสียง ๑๐ ประการคือ เสียงประกาศให้มา
           
นำเอาข้าวน้ำไป เสียงช้าง เสียงม้า เสียงกลอง เสียงสังข์ เสียง
           
รถ เสียงเชิญให้มาเคี้ยวมาดื่ม มาบริโภคข้าวและน้ำ เป็นนคร
           
สมบูรณ์ด้วยองค์คุณทั้งปวง ประกอบด้วยการงานทุกอย่าง สมบูรณ์
           
ด้วยรัตนะ ๗ ประการ คับคั่งไปด้วยหมู่ชนต่างๆ เป็นนครสมบูรณ์
           
เหมือนเทพนคร เป็นที่อยู่ของผู้มีบุญ เราเป็นพราหมณ์นามว่าสุเมธ
           
อยู่ในนครอมรวดี สั่งสมโภคทรัพย์ไว้หลายโกฏิ มีทรัพย์สมบัติ
           
มากมาย เป็นผู้เล่าเรียน ทรงมนต์รู้จบไตรเพท ถึงความสำเร็จใน
           
ตำราทำนายลักษณะ และคัมภีร์อิติหาสะ นั่งอยู่ในที่ลับคิดอย่างนี้
           
ในครั้งนั้นว่าการเกิดในภพใหม่และความที่สรีระแตกเป็นทุกข์ [ความ
           
หลงตายเป็นทุกข์ ชีวิตถูกย่ำยี] เราจักแสวงหานิพพานอันไม่แก่ไม่
           
ตาย ปลอดภัย เป็นที่ดับชาติธรรม ชราธรรม และพยาธิธรรม
           
เอาละ เราพึงเป็นผู้ไม่มีความห่วงใย ไม่ต้องการ ละทิ้งกายอันเปื่อย
           
เน่าเต็มด้วยซากศพนี้ไปเสียเถิดทางที่ใครๆ ไม่อาจจะไปได้เพราะ
           
ไม่มีเหตุ จักมีแน่นอนเราจักแสวงหาทางนั้นเพื่อหลุดพ้นไปจากภพ
           
เมื่อมีความเจริญ ความเสื่อมก็จำต้องปรารถนา เปรียบเหมือนเมื่อมี
           
ทุกข์แม้สุขก็ย่อมมี ฉะนั้นไฟ ๓ กองมีอยู่นิพพานความดับก็จำ
           
ต้องปรารถนา เปรียบเหมือนเมื่อความร้อน ความเย็นก็ย่อมมี
           
ฉะนั้น ความเกิดมีอยู่ ความไม่เกิดก็จำต้องปรารถนาเปรียบเหมือน
           
เมื่อความชั่วมีอยู่ แม้ความดีก็ย่อมมี ฉะนั้นสระน้ำอมฤตอันเป็น
           
สถานที่ชำระกิเลสมลทินมีอยู่ แต่บุคคลผู้ต้องการจะชำระไม่แสวง
           
หาสาระ จะโทษสระน้ำอมฤตไม่ได้ เปรียบเหมือนบุรุษเปื้อนคูถ
           
เห็นสระมีน้ำเต็มแล้ว ไม่ไปหาสระเอง จะโทษสระนั้นไม่ได้ฉะนั้น
           
บุคคลผู้ถูกกิเลสห้อมล้อมแล้ว เมื่อทางเกษมมีอยู่แต่ไม่แสวงหา
           
ทางนั้น จะไปโทษทางเกษมไม่ได้ เปรียบเหมือนบุรุษถูกข้าศึกล้อม
           
ไว้ เมื่อทางสำหรับจะหนีไปมีอยู่แต่เขาไม่หนีไป จะโทษทางนั้น
           
ไม่ได้ ฉะนั้น บุคคลผู้มีทุกข์ถูกพยาธิคือกิเลสเบียดเบียด ไม่
           
แสวงหาอาจารย์ จะโทษอาจารย์นั้นไม่ได้ เปรียบเหมือนบุรุษผู้
           
ป่วยไข้ เมื่อหมอมีอยู่แต่ไม่ให้รักษาความป่วยไข้นั้น จะโทษหมอ
           
นั้นไม่ได้ ฉะนั้น [เอาละ เราพึงเป็นผู้ไม่มีความห่วงใยไม่ต้องการ
           
ละทิ้งกายอันเปื่อยเน่าเต็มไปด้วยซากศพนี้ไปเสียเถิด] เราพึงเป็นผู้
           
ไม่มีความห่วงใย ไม่ต้องการ ละทิ้งกายอันเปื่อยเน่าสั่งสมด้วยซาก
           
ศพต่างๆ นี้ไปเสีย เปรียบเหมือนบุรุษพึงเปลื้องซากศพอันน่าเกลียด
           
พันอยู่ที่คอออกเสีย แล้วพึงไปอยู่เป็นสุขเสรีตามลำพังตน ฉะนั้น
           
เราจักละทิ้งกายอันเต็มด้วยซากศพต่างๆ นี้ไปเสีย ดังถ่ายอุจจาระ
           
ในส้วมแล้วไป เปรียบเหมือนบุรุษและสตรีถ่ายอุจจาระลงในส้วม
           
เสร็จแล้วออกไป โดยไม่ห่วงใย ไม่ต้องการ ฉะนั้น เราจักละทิ้ง
           
กายอันมีช่อง ๙ แห่ง มีน้ำหนองเป็นนิตย์นี้ไปเสีย ดังเจ้าของเรือ
           
ทิ้งเรือที่คร่ำคร่า เปรียบเหมือนเจ้าของเรือที่เก่าคร่ำคร่า ชำรุดน้ำชุ่ม
           
ไปโดยไม่ห่วงใย ไม่ต้องการ ฉะนั้นเถิด เราจักละกายนี้ซึ่งเปรียบ
           
เสมอด้วยมหาโจรไปเสีย เพราะกลัวจะชิงตัดกุศล เปรียบเหมือน
           
บุรุษถือห่อสิ่งของไปกับพวกโจร ทิ้งโจรไปเสียเพราะเห็นภัย คือ
           
โจรจะชิงสิ่งของ ฉะนั้น ครั้นเราคิดอย่างนี้แล้ว ได้ให้ทรัพย์หลาย
           
ร้อยโกฏิแก่คนไม่มีที่พึ่งและคนอนาถาแล้วเข้าไปยังภูเขาหิมวันต์
           
ในที่ไม่ไกลภูเขาหิมวันต์ มีเขาลูกหนึ่งชื่อธรรมมิกบรรพต เราสร้าง
           
อาศรมอย่างดี สร้างบรรณศาลาอยู่ที่เขาธรรมมิกบรรพต ณ ที่นั้น
           
เราสร้างที่จงกรมอันเว้นโทษ ๕ ประการ ประกอบด้วยคุณ ๘
           
ประการ เป็นที่นำมาซึ่งอภิญญาและพละไว้ ทิ้งผ้าสาฎกประกอบ
           
ด้วยโทษ ๙ ประการเสีย นุ่งผ้าเปลือกไม้กรองอันประกอบด้วยคุณ
           
๑๒ ประการเราละบรรณศาลาอันเกลื่อนกล่นไปด้วยโทษ ๘ ประการ
           
เสีย มาอาศัยโคนไม้อันประกอบด้วยคุณ ๑๐ ประการ เราละทิ้ง
           
ข้าวเปลือกที่ปลูกไว้หว่านไว้เสียโดยไม่เหลือ เก็บเอาผลไม้ที่หล่น
           
เองซึ่งประกอบด้วยคุณหลายอย่างมาบริโภค ณ ที่นั้น เราบำเพ็ญ
           
ความเพียรอยู่ในที่นั่งและที่จงกรมภายใน ๗ วันก็ได้บรรลุอภิญญา
           
และพละ เมื่อเราถึงความสำเร็จมีความเย็นใจในศาสนาอย่างนี้แล้ว
           
พระพิชิตมารผู้เป็นนายกของโลกพระนามว่า ทีปังกร เสด็จอุบัติขึ้น
           
เมื่อพระพิชิตมารเสด็จอุบัติบังเกิด ตรัสรู้ และในการแสดง
           
พระธรรมเทศนา เราผู้เปี่ยมด้วยความยินดีในฌาน ไม่ได้เห็นนิมิต
           
๔ ประการ ชนทั้งหลายทูลนิมนต์พระตถาคต ณ ที่ประทับในปัจจันต
           
ประเทศช่วยกันแผ้วถางทาง สำหรับพระตถาคตเสด็จดำเนินมา
           
สมัยนั้น เราออกจากอาศรมของตนแล้ว สลัดผ้าคากรองเหาะไป
           
ในอัมพรได้เห็นหมู่ชนผู้มีจิตโสมนัส ยินดี ร่าเริงเบิกบานใจ จึงลง
           
จากอากาศมาถามมนุษย์ทั้งหลายในขณะนั้นว่า มหาชนผู้มีจิตโสมนัส
           
ยินดี ร่าเริง เบิกบานใจ ช่วยกันแผ้วถางทางสำหรับเดินเพื่อใคร
           
ชนเหล่านั้นอันเราถามแล้วบอกว่า พระพุทธชินเจ้าผู้ยอดเยี่ยมเป็น
           
นายกของโลก พระนามว่าทีปังกร เสด็จอุบัติขึ้นแล้วในโลก ชน
           
ทั้งหลายช่วยกันแผ้วถางทางสำหรับเดินเพื่อพระองค์ ขณะนั้นปีติ
           
เกิดขึ้นแก่เรา เพราะได้ฟังคำว่า พุทโธ เราจึงกล่าวประกาศความ
           
โสมนัสว่า พุทโธ พุทโธ เราทั้งยินดีทั้งสลดใจยืนคิดอยู่ ณ ที่นั้น
           
ว่าเราจะปลูกพืชคือบุญลงในที่นี้ขณะอย่างได้ล่วงไปเสียเลย แล้ว
           
กล่าวว่าถ้าท่านทั้งหลายช่วยกันถางทางเพื่อพระพุทธเจ้า ขอจงให้
           
โอกาสหนึ่งแก่ข้าพเจ้าแม้ข้าพเจ้าก็จะช่วยแผ้วถางทางเสด็จดำเนิน
           
ในกาลนั้นชนเหล่านั้นได้ให้โอกาสเพื่อการถางทางแก่เรา ครั้งนั้น
           
เราถางทางไปพลางคิดไปพลางว่า พุทโธ พุทโธ เมื่อเราทำยังไม่ทัน
           
เสร็จ พระมหามุนีทีปังกรชินเจ้ากับพระขีณาสพสี่แสนผู้ได้อภิญญา
           
๖ ผู้คงที่ปราศจากมลทินก็เสด็จมาถึง การต้อนรับย่อมเป็นไป คน
           
เป็นอันมากประโคมกลองเภรี มนุษย์และเทวดาต่างก็มีใจเบิกบาน
           
เปล่งเสียงสาธุการ เทวดาก็เห็นมนุษย์ มนุษย์ก็เห็นเทวดา มนุษย์
           
และเทวดาทั้งสองพวกนั้น พากันประนมอัญชลีเดินตามพระตถาคต
           
พวกเทวดาเอาดนตรีทิพย์มาประโคม พวกมนุษย์เอาดนตรีมนุษย์มา
           
ประโคม เดินตามพระตถาคตมาทั้งสองพวกทวยเทพผู้อยู่ในอากาศ
           
ต่างก็โปรยปรายดอกมณฑารพดอกปทุม ดอกปาริชาตทิพย์ ลงยัง
           
ทิศน้อยทิศใหญ่และโปรยลงซึ่งกระแจะจันทน์ และของหอมอย่างดี
           
ล้วนแต่เป็นของทิพย์ลงยังทิศน้อยทิศใหญ่ พวกมนุษย์ผู้ที่อยู่บน
           
พื้นดิน ก็โปรยดอกจำปา ดอกช้างน้าว ดอกประดู่ ดอกกากะทิง
           
ดอกบุนนาค ดอกการเกตลงยังทิศน้อยทิศใหญ่เราสยายผมแล้ว
           
เอาผ้าคากรองและหนังสัตว์ลาดลงบนเปือกตม นอนคว่ำลง ณ
           
ที่นั้น ด้วยคิดว่า พระพุทธเจ้าพร้อมด้วยพระสาวก จงทรงเหยียบ
           
เราเสด็จไปเถิด อย่าทรงเหยียบเปือกตมนั้นเลย ข้อนั้นจักเป็น
           
ประโยชน์เกื้อกูลแก่เรา เมื่อเรานอนอยู่ที่พื้นดิน ได้มีความคิดอย่าง
           
นี้ว่า เรา (มิได้) ปรารถนาว่า วันนี้ พระพุทธเจ้าพึงทรงเผากิเลส
           
ของเราประโยชน์อะไรแก่เราด้วยเพศที่ใครๆ ไม่รู้จัก และด้วยการ
           
ทำให้แจ้งซึ่งธรรม ณ ที่นี้ เราพึงบรรลุสัพพัญญุตญาณหลุดพ้นแล้ว
           
พึงเปลื้องหมู่สัตว์พร้อมทั้งเทวดาให้หลุดพ้นเถิด ประโยชน์อะไร
           
ด้วยเราผู้เป็นคนมีกำลังจะข้ามไปคนเดียวเล่า เราบรรลุสัพพัญญุต-
           
ญาณได้ และจะช่วยหมู่ชนให้ข้ามได้เป็นอันมาก ด้วยอธิการที่เรา
           
ทำแล้วในพระพุทธเจ้านี้ เราตัดกระแสสงสารกำจัดภาพทั้ง ๓ ขึ้น
           
สู่เรือคือธรรมแล้ว จักช่วยหมู่สัตว์พร้อมทั้งเทวดาให้ข้ามได้ พระ-
           
พุทธทีปังกรผู้ทรงรู้แจ้งโลก ผู้สมควรรับเครื่องบูชาประทับยืนอยู่
           
เหนือศีรษะเรา ตรัสพระดำรัสว่า ท่านทั้งหลายจงดูชฎิลดาบสผู้มี
           
ตบะอันรุ่งเรืองนี้ เขาจักได้เป็นพระพุทธเจ้าในโลกในกัปอันประมาณ
           
มิได้แต่กัปนี้ พระตถาคตชินเจ้าพระองค์นั้น ผู้มีพระเกียรติยศมาก
           
จักเสด็จออกจากพระนครกบิลพัสดุ์ อันน่ารื่นรมย์ จักทรงบำเพ็ญ
           
ความเพียรทำทุกกรกิริยา แล้วเสด็จไปประทับนั่งที่ควงไม้อชปาล-
           
นิโครธทรงรับข้าวมธุปายาส ณ ที่นั้นแล้ว เสด็จไปยังแม่น้ำ
           
เนรัญชรา พระองค์เสวยข้าวมธุปายาสที่ฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา แล้ว
           
เสด็จดำเนินตามทางราบเรียบที่เขาตกแต่งไว้ไปที่ควงไม้โพธิพฤกษ์
           
แต่นั้นทรงทำประทักษิณโพธิมณฑลอันยอดเยี่ยมแล้ว จักตรัสรู้
           
ที่ควงไม้อัสสัตถพฤกษ์ พระมารดาบังเกิดเกล้าของพระตถาคต
           
พระองค์นี้ จักมีพระนามว่ามายา พระบิดามีพระนามว่าสุทโธทนะ
           
พระตถาคตนี้จักมีพระนามว่าโคดม พระตถาคตพระองค์นั้น จักมี
           
พระอัครสาวกผู้ไม่มีอาสวะ ปราศจากราคะมีจิตสงบระงับมั่นคง
           
นามว่าโกลิตะ และอุปปติสสะ ภิกษุอุปฐากมีนามว่าอานนท์ จัก
           
บำรุงพระพิชิตมารนี้ จักมีอัครสาวิกาผู้ไม่มีอาสวะ ปราศจากราคะ
           
มีจิตสงบระงับ มั่นคง นามว่าเขมาและอุบลวรรณา ไม้โพธิ
           
ของพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ประชาชนเรียกว่าอัสสัตถพฤกษ์
           
จิตตคฤหบดี หัตถกคฤหบดีชาวเมืองอาฬวี จักเป็นอุปัฏฐากผู้เลิศ
           
นันทมารดาและอุตตราอุบาสิกา จักเป็นอุปัฏฐายิกาผู้เลิศ พระโคดม
           
ผู้มียศพระองค์นั้น จักมีพระชนมายุ ๑๐๐ ปี มนุษย์และเทวดา
           
ทั้งหลายได้ฟังพระพุทธดำรัสนี้แล้ว ต่างก็เบิกบานใจกล่าวว่า ท่าน
           
ผู้นี้จักเป็นหน่อพุทธธางกูร หมู่สัตว์ในหมื่นจักรวาลพร้อมทั้งเทวดา
           
ต่างก็เปล่งเสียงโห่ร้องปรบมือ ร่าเริง ประนมอัญชลีถวายนมัสการ
           
ว่า ถ้าเราทั้งหลายจักไม่ยินดีพระศาสนาของพระโลกนาถพระองค์นี้
           
เราทั้งหลายจักมีหน้าพร้อมต่อหน่อพุทธางกูรนี้ในอนาคต ถ้าเรา
           
ทั้งปวงละพระพิชิตมารพระองค์นี้ เราทั้งปวงก็จักมีหน้าพร้อมต่อ
           
หน่อพุทธางกูรนี้ในอนาคตเปรียบเหมือนมนุษย์ผู้จะข้ามแม่น้ำไม่
           
ยินดีท่าน้ำเฉพาะหน้า ไปยึดเอาท่าน้ำข้างหลัง ข้ามแม่น้ำใหญ่
           
ฉะนั้น พระพุทธทีปังกรผู้ทรงรู้แจ้งโลก ทรงสมควรรับเครื่องบูชา
           
ทรงประกาศกรรมของเราแล้ว ทรงยกพระบาทเบื้องขวาขึ้น พระ
           
สาวกของพระพิชิตมารที่อยู่ ณ ที่นั้น ได้ทำประทักษิณเราทุกๆ
           
องค์ เทวดา มนุษย์ อสูร ยักษ์ อภิวาทเราแล้วพากันกลับไป
           
ครั้งนั้น เมื่อพระพุทธทีปังกรผู้เป็นนายกของโลก พร้อมด้วยพระ
           
สงฆ์สาวกล่วงคลองจักษุเราไป เราลุกขึ้นจากที่นอนแล้ว นั่งเข้า
           
สมาธิอยู่ เราสำราญใจด้วยความสุข เบิกบานใจด้วยปราโมทย์
           
และอิ่มใจด้วยปิติ นั่งเข้าสมาธิอยู่ในกาลนั้น ครั้งนั้น เรานั่งขัด
           
สมาธิแล้ว คิดอย่างนี้ว่า คิดอย่างนี้ว่า เราเป็นผู้มีความชำนาญใน
           
ฌาน ถึงที่สุดแห่งอภิญญาในหมื่นโลกธาตุ ฤาษีผู้เสมอเหมือนเรา
           
ไม่มี ในธรรมคือฤทธิ์ไม่มีใครเสมอเรา เราได้สุขเหล่านี้ ขณะที่
           
เราเข้าสมาธิอยู่ เทวดาผู้สถิตอยู่ในหมื่นจักรวาล พากันเปล่งเสียง
           
กึกก้องว่า ท่านผู้นี้จักได้เป็นพระพุทธเจ้าแน่ นิมิตเหล่าใด ที่เคย
           
ปรากฏในขณะที่พระโพธิสัตว์ในปางก่อนนั่งเข้าสมาธิอันประเสริฐ
           
นิมิตเหล่านั้นปรากฏในวันนี้ ความหนาวถึงความซาบซึม และ
           
ความร้อนสงบ นิมิตเหล่านั้นปรากฏในวันนี้ ท่านผู้นี้จักเป็น
           
พระพุทธเจ้าแน่ หมื่นโลกธาตุเงียบเสียง สงบเสียง นิมิตเหล่านั้น
           
ปรากฏในวันนี้ ท่านผู้นี้จักเป็นพระพุทธเจ้าแน่ ลมพายุย่อมไม่พัด
           
แม่น้ำย่อมไม่ไหล นิมิตเหล่านั้นปรากฏในวันนี้ ท่านผู้นี้จักเป็น
           
พระพุทธเจ้าแน่ ไม้ดอกพันธุ์ไม้บกและพันธุ์ไม้น้ำทุกชนิด ผลิดอก
           
ในขณะนั้น แม้วันนี้ดอกไม้เหล่านี้ก็บานทุกดอก ท่านผู้นี้จักเป็น
           
พระพุทธเจ้าแน่ ไม้เถาหรือไม้ต้น ย่อมเผล็ดผลในขณะนั้น แม้
           
วันนี้ไม้ผลทุกชนิดก็เผล็ดผลในวันนี้ ท่านผู้นี้จักเป็นพระพุทธเจ้า
           
แน่ รัตนะทั้งที่อยู่ในอากาศและพื้นดินย่อมสว่างไสวในขณะนั้น
           
แม้วันนี้รัตนะเหล่านั้นก็สว่างไสว ท่านผู้นี้จักเป็นพระพุทธเจ้าแน่
           
ดนตรีทั้งของมนุษย์และทิพย์ ย่อมประโคมในขณะนั้น แม้วันนี้
           
ดนตรีทั้งสองอย่างนั้นก็ประโคม ท่านผู้นี้จักเป็นพระพุทธเจ้าแน่
           
ดอกไม้อันวิจิตรย่อมตกลงจากอากาศในขณะนั้น แม้วันนี้ดอกไม้
           
เหล่านั้นก็ปรากฏ ท่านผู้นี้จักเป็นพระพุทธเจ้าแน่ มหาสมุทรย่อม
           
กระฉอกฉ่อน หมื่นโลกธาตุย่อมหวั่นไหว แม้วันนี้สิ่งทั้งสอง
           
นั้นก็มีเสียงครืนๆ อยู่ ท่านผู้นี้จักเป็นพระพุทธเจ้าแน่ ไฟในนรก
           
หมื่นขุมย่อมดับในขณะนั้น แม้วันนี้ไฟนั้นก็ดับแล้ว ท่านผู้นี้จัก
           
เป็นพระพุทธเจ้าแน่ พระอาทิตย์ย่อมปราศจากมลทิน ดาวทุกดวง
           
ย่อมปรากฏแจ่มจ้า แม้วันนี้พระอาทิตย์และดาวทุกดวงก็แจ่มจ้า
           
ท่านผู้นี้จักเป็นพระพุทธเจ้าแน่ โดยที่ฝนไม่ตกเลย น้ำในแม่น้ำก็
           
ขึ้นในขณะนั้น แม้วันนี้น้ำในแม่น้ำก็ขึ้น ท่านผู้นี้จักเป็นพระ
           
พุทธเจ้าแน่ หมู่ดาวนักษัตรในท้องฟ้า ย่อมส่องแสงไพโรจน์
           
พระจันทร์วันวิสาขฤกษ์แจ่มจ้า ท่านผู้นี้จะเป็นพระพุทธเจ้าแน่ งูที่
           
อยู่รูและที่อยู่ตามซอก ย่อมออกจากที่อยู่ของตน แม้วันนี้งูเหล่านั้น
           
ก็ออกมาเพ่นพ่าน ท่านผู้นี้จักเป็นพระพุทธเจ้าแน่ สัตว์ทั้งหลายที่
           
ไม่ยินดีไม่มี ย่อมยินดีทั่วกันในขณะนั้น แม้วันนี้สัตว์ก็ยินดีทั่ว
           
กัน ท่านผู้นี้จักเป็นพระพุทธเจ้าแน่ โรคทุกชนิดเบาบางสงบ และ
           
ความหิวย่อมหายไป แม้วันนี้ก็ปรากฏอย่างนั้น ท่านผู้นี้จักเป็น
           
พระพุทธเจ้าแน่ ในกาลนั้นราคะย่อมบางเบา โทสะและโมหะย่อม
           
เสื่อมคลาย แม้วันนี้ก็ปราศจากไปหมดสิ้น ท่านผู้นี้จักเป็นพระ
           
พุทธเจ้าแน่ ในกาลนั้นภัยย่อมไม่มี แม้วันนี้ก็ปรากฏเช่นนี้ ด้วย
           
นิมิตนั้น เราทั้งหลายจึงรู้ได้ว่า ท่านผู้นี้จักเป็นพระพุทธเจ้าแน่
           
ธุลีย่อมไม่ฟุ้งขึ้นเบื้องบน แม้วันนี้ก็ปรากฏเช่นนั้น ด้วยนิมิตนั้น
           
เราทั้งหลายจึงรู้ได้ว่า ท่านผู้นี้จักเป็นพระพุทธเจ้าแน่ กลิ่นเหม็น
           
ย่อมปราศจากไป มีแต่กลิ่นหอมตระหลบไป แม้วันนี้ก็มีกลิ่นหอม
           
ตระหลบไป ท่านผู้นี้จักเป็นพระพุทธเจ้าแน่ เทวดาทั้งปวงย่อม
           
ปรากฏ เว้นแต่ที่ไม่มีรูป แม้วันนี้ก็ปรากฏทั้งหมด ท่านผู้นี้จักเป็น
           
พระพุทธเจ้าแน่ ขณะนั้น นรกมีประมาณเท่าใด ก็ปรากฏหมด
           
เท่านั้น แม้วันนี้ก็ปรากฏทั้งหมด ท่านผู้นี้จักเป็นพระพุทธเจ้าแน่
           
ในกาลนั้น หม้อไห บานประตู ภูเขา ย่อมไม่มีอะไรปิด แม้
           
วันนี้ก็เปิดโล่ง ท่านผู้นี้จักเป็นพระพุทธเจ้าแน่ การจุติและการ
           
อุบัติ ย่อมไม่มีในขณะนั้น แม้วันนี้ก็ปรากฏเช่นนั้น ท่านผู้นี้จัก
           
เป็นพระพุทธเจ้าแน่ (นิมิตเหล่านี้ย่อมปรากฏ เพื่อประโยชน์แก่
           
การตรัสรู้ของสัตว์) ท่านจงบำเพ็ญเพียรให้มั่นเถิด อย่าถอยกลับ
           
จงก้าวไปข้างหน้า แม้เราทั้งหลายก็รู้ท่านว่า จักได้เป็นพระพุทธเจ้า
           
เป็นแน่ เราได้ฟังพระพุทธดำรัส และคำของเทวดาในหมื่นโลก
           
ธาตุแล้วก็ยินดี ร่าเริง เบิกบานใจ ได้คิดอย่างนี้ในกาลนั้นว่า
           
พระพุทธชินเจ้ามีพระวาจาไม่เป็นสอง มีพระวาจาไม่เปล่าประโยชน์
           
พระพุทธเจ้าไม่ตรัสคำไม่จริง เราจักได้เป็นพระพุทธเจ้าแน่ พระ-
           
ดำรัสของพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐสุด ย่อมเที่ยงแท้แน่นอน เปรียบ
           
เหมือนก้อนดินที่โยนขึ้นไปในอากาศ ย่อมตกลงมาที่พื้นดินแน่นอน
           
ฉะนั้น (พระพุทธเจ้าไม่ตรัสคำไม่จริง เราจักได้เป็นพระพุทธเจ้าเป็น
           
แน่) พระดำรัสของพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐสุด ย่อมเที่ยงแท้แน่นอน
           
เปรียบเหมือนสัตว์ทั้งปวงต้องตายเป็นแน่ ฉะนั้น พระดำรัสของ
           
พระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐสุด ย่อมเที่ยงแท้แน่นอน เปรียบเหมือนเมื่อ
           
ราตรีสิ้นไปพระอาทิตย์ขึ้นแน่ ฉะนั้น พระดำรัสของพระพุทธเจ้าผู้
           
ประเสริฐสุด ย่อมเที่ยงแท้แน่นอน เปรียบเหมือนราชสีห์เมื่อลุกจาก
           
ที่นอน ต้องบันลือสีหนาทแน่ ฉะนั้นพระดำรัสของพระพุทธเจ้าผู้
           
ประเสริฐสุดย่อมเที่ยงแท้แน่นอน เปรียบเหมือนสัตว์ทั้งหลายผู้
           
ไปถึงที่หมายแล้ว ย่อมปลงภาระอันหนักลง ฉะนั้น เอาละ เราจักค้น
           
หาพุทธการกธรรม จากข้างนี้ๆ ทั้งเบื้องบน เบื้องต่ำทั้งทิศน้อยทิศ
           
ใหญ่ตลอดทั่วธรรมธาตุ ในกาลนั้น เมื่อเราค้นหาอยู่ ได้เห็นทานบารมี
           
เป็นข้อที่ ๑ ซึ่งเป็นทางใหญ่อันพระพุทธเจ้าทั้งหลายแต่ปางก่อน
           
ประพฤติมาจึงเตือนตนเองว่า ท่านจงยึดบารมีข้อที่ ๑ นี้บำเพ็ญให้
           
มั่นก่อนท่านจงบำเพ็ญทานบารมีเถิด ถ้าท่านปรารถนาจะบรรลุ
           
โพธิญาณ ท่านเห็นยาจกทั้งชั้นต่ำ ปานกลางและชั้นสูงแล้ว จงให้
           
ทานอย่าให้เหลือ ดังหม้อที่เขาคว่ำไว้ เปรียบเหมือนหม้อที่เต็ม
           
ด้วยน้ำ ผู้ใดผู้หนึ่งจับคว่ำลงแล้ว น้ำย่อมไหลออกหมด ไม่ขังอยู่
           
ในหม้อนั้น ฉะนั้น แต่พุทธธรรมจักมีเพียงเท่านี้นั้นหามิได้ เรา
           
จักค้นหาธรรมอันเป็นเครื่องบ่มโพธิญาณอย่างอื่นต่อไป ในกาลนั้น
           
เมื่อเราค้นหาอยู่ ก็ได้เห็นศีลบารมีเป็นข้อที่ ๒ ที่พระพุทธเจ้าแต่
           
ปางก่อนทรงเสพอาศัย จึงเตือนตนเองว่า ท่านจงยึดบารมีข้อที่ ๒
           
นี้บำเพ็ญให้มั่นก่อนท่านจงบำเพ็ญศีลบารมีเถิด ถ้าท่านปรารถนาจะ
           
บรรลุโพธิญาณ ท่านจงบำเพ็ญศีลในภูมิ ๔ ให้บริบูรณ์ จงรักษาศีล
           
ในกาลทั้งปวง ดังจามรีรักษาขนหาง เปรียบเหมือนดังจามรีย่อม
           
รักษาขนหางอันติดในที่ไรๆ ยอมตายในที่นั้น ไม่ยอมทำขนหางให้
           
เสีย ฉะนั้น แต่พุทธธรรมจักมีเพียงเท่านี้นั้นหามิได้ เราจักค้นหา
           
ธรรมอันเป็นเครื่องบ่มโพธิญาณอย่างอื่นต่อไป ในกาลนั้น เมื่อเรา
           
ค้นหาอยู่ก็ได้เห็นเนกขัมมะบารมีเป็นข้อที่ ๓ ที่พระพุทธเจ้าแต่ปาง
           
ก่อนทรงเสพอาศัย จึงเตือนตนเองว่า ท่านจงยึดบารมีข้อที่ ๓
           
นี้บำเพ็ญให้มั่นก่อน ท่านจะบำเพ็ญเนกขัมมะบารมีเถิด ถ้าท่าน
           
ปรารถนาจะบรรลุโพธิญาณ ท่านจงเห็นภพทั้งปวงดังเรือนจำ ท่านจง
           
มุ่งหน้าต่อเนกขัมมะ เพื่อหลุดพ้นไปจากภพ เปรียบเหมือนบุรุษที่
           
ถูกขังในเรือนจำ ได้รับทุกข์มานาน ย่อมไม่ยังความยินดีให้เกิดใน
           
เรือนจำนั้น แสวงหาความพ้นไป ฉะนั้น แต่พุทธธรรมจักมีเพียง
           
เท่านี้นั้นหามิได้ เราจักค้นหาธรรมอันเป็นเครื่องบ่มโพธิญาณ
           
อย่างอื่นต่อไป ในกาลนั้น เมื่อเราค้นหาอยู่ ได้เห็นปัญญาบารมี
           
เป็นข้อที่ ๔ ที่พระพุทธเจ้าแต่ปางก่อน ทรงเสพอาศัย จึงเตือนตน
           
เองว่า ท่านจงยึดบารมีที่ ๔ นี้บำเพ็ญให้มั่นก่อน ท่านจะบำเพ็ญ
           
ปัญญาบารมีเถิด ถ้าท่านปรารถนาจะบรรลุโพธิญาณ ท่านได้สอบถาม
           
คนมีปัญญาตลอดกาลทั้งปวง บำเพ็ญปัญญาบารมีแล้ว จักบรรลุ
           
สัมโพธิญาณได้ เปรียบเหมือนภิกษุ เมื่อเที่ยวภิกษา ไม่เว้นตระกูล
           
ต่ำ ปานกลางและสูงย่อมได้อาหารเครื่องเยียวยาอัตภาพ ฉะนั้น
           
แต่พุทธธรรมจักมีเพียงเท่านี้นั้นหามิได้ เราจักค้นหาธรรมอันเป็น
           
เครื่องบ่มโพธิญาณอย่างอื่นต่อไป ในกาลนั้น เมื่อเราค้นหาอยู่ก็ได้
           
เห็นวิริยะบารมีเป็นข้อที่ ๕ ที่พระพุทธเจ้าแต่ปางก่อนทรงเสพอาศัย
           
จึงเตือนตนเองว่าท่านจงยึดบารมีข้อที่ ๕ นี้บำเพ็ญให้มั่นก่อน
           
ท่านจงบำเพ็ญวิริยบารมีเถิด ถ้าท่านปรารถนาจะบรรลุโพธิญาณ
           
ท่านประคองความเพียรให้มั่นไว้ทุกภพ บำเพ็ญวิริยะบารมีแล้ว จัก
           
บรรลุสัมโพธิญาณได้ เปรียบเหมือนสีหมฤคราช มีความเพียรไม่
           
ย่อหย่อนในที่นั่งที่ยืนและที่เดินประคองใจไว้ทุกเมื่อ ฉะนั้น แต่
           
พุทธธรรมจักมีเพียงเท่านี้นั้นหามิได้ เราจักค้นหาธรรม อันเป็น
           
เครื่องบ่มโพธิญาณอย่างอื่นต่อไปในกาลนั้น เมื่อเราค้นหาอยู่ก็ได้
           
เห็นขันติบารมีเป็นข้อที่ ๖ ที่พระพุทธเจ้าแต่ปางก่อนทรงเสพอาศัย
           
จึงเตือนตนเองว่า ท่านจงยึดบารมีข้อที่ ๖ นี้บำเพ็ญให้มั่นก่อน
           
ท่านมีใจแน่วแน่ในขันตินั้น จักบรรลุสัมโพธิญาณได้ ท่านจง
           
อดทนต่อคำยกย่องและคำดูหมิ่นทั้งปวง บำเพ็ญขันติบารมีเปรียบ
           
เหมือนแผ่นดินอดทนสิ่งที่เขาทิ้งลงทุกอย่างทั้งสะอาดและไม่สะอาด
           
ไม่แสดงความยินดียินร้ายฉะนั้นแล้ว จักบรรลุสัมโพธิญาณได้ แต่
           
พุทธธรรมจักมีเพียงเท่านี้นั้นหามิได้ เราจักค้นหาธรรมอันเป็นเครื่อง
           
บ่มโพธิญาณอย่างอื่นต่อไป ในกาลนั้น เมื่อเราค้นหาอยู่ ก็ได้เห็น
           
สัจจะบารมีเป็นข้อที่ ๗ ที่พระพุทธเจ้าแต่ปางก่อนทรงเสพอาศัย จึง
           
เตือนตนเองว่า ท่านจงยึดบารมีข้อที่ ๗ นี้บำเพ็ญให้มั่นก่อน ท่านมี
           
ใจแน่วแน่ในสัจจะนั้น จักบรรลุสัมโพธิญาณได้ ดาวประกายพฤกษ์
           
เป็นดาวนพเคราะห์ ประจำอยู่ในมนุษย์โลกทั้งเทวโลก ไม่หลีกไป
           
จากทางเดิน ทุกสมัยฤดูหรือปี ฉันใด แม้ท่านก็ฉันนั้น อย่าหลีก
           
ไปจากแนวในสัจจะ บำเพ็ญสัจจบารมีแล้วจักบรรลุสัมโพธิญาณได้
           
แต่พุทธธรรมจักมีเพียงเท่านี้นั้นหามิได้ เราจักค้นหาธรรมอันเป็น
           
เครื่องบ่มโพธิญาณอย่างอื่นต่อไป ในกาลนั้น เมื่อเราค้นหาอยู่
           
ก็ได้เห็นอธิษฐานบารมีเป็นข้อที่ ๘ ที่พระพุทธเจ้าแต่ปางก่อนทรง
           
เสพอาศัย จึงเตือนตนเองว่าท่านจงยึดบารมีข้อที่ ๘ นี้บำเพ็ญให้
           
มั่นก่อน ท่านไม่หวั่นในอธิษฐานบารมีนั้น จักบรรลุสัมโพธิญาณได้
           
ท่านจงเป็นผู้ไม่หวั่นไหวในการอธิษฐานในการทั้งปวง บำเพ็ญ
           
อธิษฐานบารมี เปรียบเหมือนภูเขาหินไม่หวั่นไหว ตั้งมั่น ไม่
           
สะท้านสะเทือนเพราะลมจัด คงอยู่ในที่เดิม ฉะนั้นแล้ว จักบรรลุ
           
สัมโพธิญาณได้ แต่พุทธธรรมจักมีเพียงเท่านี้นั้นหามิได้ เราจักค้น
           
หาธรรมอันเป็นเครื่องบ่มโพธิญาณอย่างอื่นต่อไป ในกาลนั้น เมื่อ
           
เราค้นหาอยู่ก็ได้เห็นเมตตาบารมีเป็นข้อที่ ๙ ที่พระพุทธเจ้าแต่ปาง
           
ก่อนทรงเสพอาศัย จึงเตือนตนเองว่า ท่านจงยึดบารมีข้อที่ ๙ นี้
           
บำเพ็ญให้มั่นก่อน ท่านจงเป็นผู้ไม่มีใครเสมอด้วยเมตตา ถ้าท่าน
           
ปรารถนาจะบรรลุสัมโพธิญาณ ท่านจงเจริญเมตตาให้เสมอกัน
           
ทั้งในสัตว์ที่มีประโยชน์ และไม่มีประโยชน์บำเพ็ญเมตตาบารมี
           
เปรียบเหมือนน้ำย่อมแผ่ความเย็น ชำระล้างมลทินธุลี เสมอกัน
           
ทั้งในคนดีและคนชั่ว ฉะนั้นแล้วจักบรรลุสัมโพธิญาณได้ แต่พุทธ
           
ธรรมจักมีเพียงเท่านี้นั้นหามิได้ เราจักค้นหาธรรมอันเป็นเครื่อง
           
บ่มโพธิญาณอย่างอื่นต่อไป ในกาลนั้น เมื่อเราค้นหาอยู่ ก็ได้เห็น
           
อุเบกขาบารมีเป็นข้อที่ ๑๐ ที่พระพุทธเจ้าทรงเสพอาศัยจึงเตือนตน
           
เองว่า ท่านจงยึดบารมีข้อที่ ๑๐ นี้บำเพ็ญให้มั่นก่อน ท่านเป็นผู้มี
           
อุเบกขามั่นคงดังตราชั่ง จักบรรลุโพธิญาณได้ ท่านจงมีใจเที่ยงตรง
           
ดังตราชั่งในสุขและทุกข์ในกาลทุกเมื่อ บำเพ็ญอุเบกขาบารมีเปรียบ
           
เหมือนแผ่นดินย่อมวางเฉย สิ่งที่เขาทิ้งลงทั้งที่ไม่สะอาดและสะอาด
           
ทั้งสองอย่าง เว้นจากความโกรธและความยินดี ฉะนั้นแล้ว จัก
           
บรรลุสัมโพธิญาณได้ ธรรมอันเป็นเครื่องบ่มโพธิญาณ มีอยู่ในโลก
           
เพียงเท่านี้ นอกจากนี้ที่ยิ่งกว่านั้นไม่มี ท่านจงตั้งมั่นอยู่ในธรรม
           
นั้นเถิด.
           
เมื่อเราพิจารณาเห็นธรรมเหล่านี้ พร้อมทั้งภาวะ กิจของตนและ
           
ลักษณะ พื้นพสุธาในหมื่นจักรวาล ก็หวั่นไหวด้วยเดชแห่งธรรม
           
ปฐพีย่อมหวั่นไหวส่งเสียงร้อง เหมือนหีบอ้อยบีบอ้อย ฉะนั้น
           
เมทนีดลย่อมหวั่นไหว เหมือนล้อยนต์ใส่น้ำมัน ฉะนั้น บริษัท
           
ประมาณเท่าใด มีอยู่ในบริเวณรอบๆ พระพุทธเจ้าบริษัทในบริเวณ
           
นั้นหวั่นไหวนอนซบอยู่ที่ภาคพื้นหม้อน้ำหลายพันหม้อ หม้อข้าว
           
หลายพันหม้อ หม้อใส่กระแจะและหม้อเปรียงในที่นั้น กระทบกัน
           
และกันมหาชนหวาดเสียว สะดุ้งกลัว ประหลาดใจ มีใจหวาดหวั่น
           
ประชุมกันแล้ว พากันเข้าเฝ้าพระพุทธทีปังกร ทูลถามว่าความดีงาม
           
หรือความชั่วร้ายอะไรจักมีแก่โลก โลกทั้งปวงจักมีอันตรายหรือ ขอ
           
พระองค์ผู้มีพระจักษุ โปรดบรรเทาอันตรายนั้นเถิด ในกาลนั้น
           
พระพุทธทีปังกรมหามุนี ทรงชี้แจงให้มหาชนนั้นเข้าใจว่า ในการที่
           
แผ่นดินหวั่นไหวนี้ ท่านทั้งหลายจงเบาใจ อย่ากลัวเลย วันนี้ เรา
           
พยากรณ์ผู้ใดว่าจักได้เป็นพระพุทธเจ้าในโลก ผู้นั้นพิจารณาเห็น
           
ธรรมที่พระพิชิตมารทรงเสพมาก่อน เมื่อผู้นั้นพิจารณาธรรมอันเป็น
           
พุทธภูมิโดยไม่เหลือ เพราะเหตุนั้น ปฐพีในหมื่นโลกธาตุพร้อมทั้ง
           
ในเทวโลก จึงหวั่นไหว ขณะนั้น มหาชนได้ฟังพระพุทธดำรัสแล้ว
           
เย็นใจ ทุกคนพากันมาหาเราแล้ว ก็กราบไหว้อีก ในกาลนั้น เรา
           
ยึดพระพุทธคุณ ทำใจให้มั่นคง ถวายนมัสการพระพุทธทีปังกร
           
แล้ว ลุกจากอาสนะ ขณะเมื่อเราลุกขึ้นจากอาสนะ ทวยเทพและ
           
หมู่มนุษย์ ก็พากันเอาดอกไม้ทิพย์และดอกไม้มนุษย์โปรยปรายลง
           
อนึ่ง ทวยเทพและหมู่มนุษย์นั้น ต่างก็อวยชัยให้พรสวัสดีว่า ท่าน
           
ปรารถนาภูมิอันใหญ่หลวง ขอให้ท่านได้ภูมินั้นตามปรารถนาเถิด
           
เสนียดจัญไรทั้งปวงจงอย่ามี ความโศกและโรคจงอย่ามี อันตรายจง
           
อย่ามีแก่ท่าน ขอให้ท่านได้บรรลุโพธิญาณอันอุดมเร็วพลัน ข้าแต่
           
ท่านผู้มีเพียรใหญ่ ท่านย่อมบานด้วยพุทธญาณ เปรียบเหมือนไม้
           
ดอกย่อมมีดอกบานในฤดูที่มาถึง ฉะนั้น ข้าแต่ท่านผู้มีเพียรใหญ่
           
ขอให้ท่านจงบำเพ็ญบารมี ๑๐ ประการ ดังพระสัมมาพุทธเจ้าเหล่าใด
           
เหล่าหนึ่งทรงบำเพ็ญฉะนั้นเถิด ข้าแต่ท่านผู้มีเพียรใหญ่ ขอให้ท่าน
           
จงตรัสรู้ที่โพธิฤกษ์ เหมือนหนึ่งพระสัมมาพุทธเจ้าเหล่าใดเหล่าหนึ่ง
           
ตรัสรู้ที่โพธิมณฑลเถิด ข้าแต่ท่านผู้มีเพียรใหญ่ ขอให้ท่านจงประกาศ
           
ธรรมจักร อย่างพระสัมมาพุทธเจ้าเหล่าใดเหล่าหนึ่งทรงประกาศ ฉะนั้น
           
เถิด ขอให้ท่านมีใจเต็มเปี่ยม รุ่งเรืองในหมื่นจักวาล เช่นพระจันทร์
           
เต็มดวง ส่องแสงสว่างในวันเพ็ญ ฉะนั้นเถิด ขอให้ท่านพ้นจาก
           
โลก รุ่งเรืองด้วยสิริดังพระอาทิตย์พ้นจากราหูแผดแสงสว่างจ้า
           
ฉะนั้นเถิด โลกพร้อมด้วยเทวโลก มาประชุมกันในสำนักของท่าน
           
เปรียบเหมือนแม่น้ำทุกสายย่อมไหลมารวมลงยังทะเลหลวง ฉะนั้น
           
ในกาลนั้น สุเมธดาบสนั้น อันทวยเทพและหมู่มนุษย์เหล่านั้น
           
ชมเชย สรรเสริญแล้ว สมาทานธรรม ๑๐ ประการ เมื่อจะบำเพ็ญ
           
ธรรมเหล่านั้นให้บริบูรณ์ จึงเข้าป่าใหญ่.
                         
จบสุเมธกถา.
           
ในกาลนั้น มหาชนเหล่านั้น นิมนต์พระศาสดาพระนามว่า ทีปังกร
           
ผู้เป็นนายกของโลก พร้อมด้วยหมู่ภิกษุสงฆ์ ให้เสวยแล้ว ได้ถือ
           
เป็นสรณะ พระตถาคตผู้นราสภ ทรงยังใครๆ ให้ตั้งอยู่ในสรณะ
           
พระตถาคตผู้นราสภ ทรงยังใครๆ ให้ตั้งอยู่ในสรณะคม ทรงยัง
           
ใครๆ ให้ตั้งอยู่ในเบญจศีล ทรงยังใครๆ ให้ตั้งอยู่ในศีล ๑๐ ทรง
           
ประทานสามัญผล คือ ผล ๔ อันสูงสุดให้แก่ใคร ทรงประทาน
           
ธรรมอันไม่มีธรรมอื่นเสมอ คือปฏิสัมภิทาให้แก่ใคร ทรงประทาน
           
สมาบัติ อันประเสริฐ ๘ ให้แก่ใคร ทรงประทานวิชชา ๓ อภิญญา
           
๖ ให้แก่ใคร มหามุนีย่อมตรัสสอนหมู่ชน ด้วยธรรมเครื่องประกอบ
           
นั้น พระศาสนาของพระโลกนาถ แผ่ไปกว้างขวางด้วยธรรมนั้น
           
พระศาสดาทรงพระนามว่า ทีปังกร มีพระหนุใหญ่ และพระกายงาม
           
ทรงช่วยให้คนหมู่มากข้ามไป ทรงเปลื้องให้พ้นทุคติ พระมหามุนี
           
ทรงเห็นคนที่ควรให้ตรัสรู้ได้แม้ในแสนโยชน์ ก็เสด็จไปชั่วขณะ
           
เดียว ทรงยังผู้นั้นให้ตรัสรู้ ในธรรมาภิสมัยครั้งที่ ๑ พระพุทธเจ้า
           
ผู้เป็นนาถะของโลก ทรงยังชนให้ตรัสรู้ร้อยโกฏิ ครั้งที่ ๒ เก้าสิบ
           
โกฏิ และธรรมาภิสมัยครั้งที่ ๓ ได้มีแก่ทวยเทพเก้าหมื่นโกฏิ
           
ในเมื่อพระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรมในเทพพิภพพระพุทธทีปังกรบรม
           
ศาสดาทรงประชุมพระสาวก ๓ ครั้ง การประชุมครั้งที่ ๑
           
มีพระสาวกแสนโกฏิ เมื่อพระพิชิตมาร ประทับอยู่ในที่
           
วิเวก ที่ยอดเขานารทะอีก พระขีณาสพผู้ปราศจากมลทินร้อยโกฏิ
           
มาประชุมกัน สมัยใด พระมหามุนีมหาวีรเจ้า ทรงปวารณาพรรษา
           
พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์เก้าหมื่นโกฏิ ที่ยอดเขาสุทัสนะ สมัยนั้น เรา
           
เป็นชฎิลผู้มีตบะอันรุ่งเรือง รู้จบอภิญญา ๕ เหาะไปในอากาศได้
           
ธรรมาภิสมัยได้มีแก่เทวดาและมนุษย์สองแสน ธรรมาภิสมัยในครั้ง
           
ที่ ๑ และครั้งที่ ๒ คณนานับมิได้ ในกาลนั้น พระศาสนาของ
           
พระผู้มีพระภาคทีปังกรแผ่ไพศาล มีคนมาก เจริญแพร่หลายบริสุทธิ์
           
สะอาด ภิกษุสงฆ์สี่แสน ล้วนได้อภิญญา ๖ มี ฤทธิ์มาก แวดล้อม
           
พระผู้มีพระภาคทีปังกร ผู้ทรงรู้แจ้งโลกในกาลทั้งปวง สมัยนั้น
           
ชนเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ไม่ได้บรรลุอรหัตเป็นพระเสขะ ละภพมนุษย์
           
ไป ชนเหล่านั้นย่อมถูกครหา พระศาสนาแพร่หลาย งดงามด้วย
           
พระอรหันตะขีณาสพ ผู้คงที่ ปราศจากมลทิน ในกาลทั้งปวง พระนคร
           
ชื่อรัมมวดี พระชนกนาถของพระทีปังกรบรมศาสดาเป็นพระมหา-
           
กษัตริย์ ทรงพระนามว่าสุเทพ พระชนนีทรงพระนามว่า สุเมธา
           
พระพิชิตมารทรงครอบครองอคารสถานอยู่หมื่นปี ทรงมีฝูงหงส์
           
นกกะเรียน นกยูงมากมาย มีปราสาทอันประเสริฐ ๓ ปราสาท
           
มีนางสนมนารีกำนัลใน ๓ แสน ล้วนประดับประดาสวยงาม
           
พระมเหสีพระนามว่าปทุมา พระราชโอรสพระนามว่าอุสภขันธกุมาร
           
พระองค์ทรงเห็นนิมิต ๔ ประการแล้ว เสด็จออกผนวชด้วยคชสาร-
           
ยานพระที่นั่งต้น ทรงบำเพ็ญเพียรอยู่ ๑๐ เดือนเต็ม ครั้นทรง
           
ประพฤติปธานจริยาแล้ว ก็ได้ตรัสรู้พระสัมโพธิญาณ พระมหามุนี
           
ทีปังการ มหาวีรชินเจ้าอันพรหมทูลอาราธนาแล้ว ทรงประกาศพระ-
           
ธรรมจักร แล้วประทับอยู่ในนันทารามประทับนั่งที่ควงไม้ซึก ทรง
           
ปราบปรามเดียรถีย์ ทรงมีพระสุมงคลเถระ และพระติสสเถระเป็น
           
พระอัครสาวก มีพระเถระชื่อว่าสาคตะเป็นอุปัฏฐากมีพระนันทาเถรี
           
และพระสุนันทาเถรี เป็นพระอัครสาวิกาไม้โพธิพฤกษ์ของพระองค์
           
มหาชนเรียกว่า ปิปผลิ ทรงมีอุบาสกชื่อ ตปุสสะ และภัลลิกะ
           
เป็นอัครอุปัฏฐาก นางสิริมา และ นางโสณา เป็นอุปัฏฐายิกา
           
พระมหามุนีทีปังกร สูง ๘๐ ศอก ทรงงดงามดังไม้ประจำทวีป
           
เหมือนพญารังกำลังดอกบาน พระองค์มีพระรัศมีแผ่ซ่านออก ๑๐
           
โยชน์ โดยรอบ พระองค์ผู้แสวงหาคุณอันใหญ่หลวง มีพระชนมายุ
           
แสนปี ทรงดำรงอยู่นานเพียงนั้น ทรงประกาศสัทธรรมให้รุ่งเรือง
           
ช่วยบุคคลให้พ้นวัฏสงสารไปเป็นอันมาก พระองค์เองทรงรุ่งเรือง
           
ดังกองไฟ แล้วเสด็จนิพพานพร้อมด้วยพระสาวก พระฤทธิ์ ยศ-
           
บริวาร และจักรรัตนะที่พระยุคลบาท หายไปหมดทุกอย่าง สังขาร
           
ทั้งปวงว่างเปล่าหนอ พระทีปังกรชินศาสดา เสด็จนิพพาน ณ
           
นันทารามพระสถูปของพระองค์ที่นันทารามนั้น สูง ๓๖ โยชน์ พระ
           
สถูปบรรจุบาตร จีวร และบริขารและเครื่องบริโภคของพระองค์
           
ตั้งอยู่ที่ควงไม้โพธิพฤกษ์ในกาลนั้นสูง ๓ โยชน์.
                     
จบทีปังกรพุทธวงศ์ ที่ ๑
                      
โกณฑัญญพุทธวงศ์ที่ ๒
               
ว่าด้วยพระประวัติพระโกณฑัญญะพุทธเจ้า
        [
] สมัยต่อมาจากพระพุทธทีปังกร พระพุทธเจ้าทรงพระนามว่า
           
โกณฑัญญะ เป็นนายกของโลก ทรงพระเดชไม่มีที่สุด มีพระยศ
           
นับมิได้ ประมาณไม่ได้ ยากที่จะรู้ พระองค์มีขันติเปรียบด้วยถนน
           
มีศีลเปรียบด้วยสาคร มีสมาธิเปรียบด้วยเขาสุเมรุ มีญาณเปรียบ
           
ด้วยอากาศ ทรงประกาศอินทรีย์ พละ โพชฌงค์ มรรคและอริยสัจ
           
ในกาลทุกเมื่อ เพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่สรรพสัตว์ เมื่อพระพุทธ-
           
โกณฑัญญะ ผู้เป็นนายกของโลกทรงประกาศธรรมจักรธรรมาภิสมัย
           
ครั้งที่ ๑ ได้มีแก่มนุษย์และเทวดาแสนโกฏิ ต่อแต่นั้นเมื่อทรง
           
แสดงพระธรรมเทศนาในสมาคมมนุษย์และเทวดา ธรรมาภิสมัยครั้ง
           
ที่ ๒ ได้มีแก่มนุษย์และเทวดาเก้าหมื่นโกฏิ ในเมื่อทรงแสดงธรรม
           
ย่ำยีพวกเดียรถีย์ ธรรมาภิสมัยครั้งที่ ๓ ได้มีแก่เทวดาและมนุษย์
           
แปดหมื่นโกฏิ พระพุทธโกณฑัญญะผู้แสวงหาคุณอันใหญ่หลวง
           
ทรงประชุมพระสาวกขีณาสพ ผู้ปราศจากมลทิน มีจิตสงบคงที่ ๓
           
ครั้ง การประชุมครั้งที่ ๑ มีพระสาวกแสนโกฏิ ครั้งที่ ๒ พันโกฏิ
           
ครั้งที่ ๓ เก้าสิบโกฏิ สมัยนั้นเราเป็นพระมหากษัตริย์พระนามว่า
           
วิชิตาวี เป็นใหญ่ในแผ่นดิน โดยมีสมุทรสาครเป็นขอบเขต เรา
           
นิมนต์พระสงฆ์สาวกผู้ปราศจากมลทิน ผู้แสวงหาคุณใหญ่ พร้อม
           
ด้วยพระศาสดาผู้เป็นนาถะชั้นเลิศของโลก ให้ฉันภัตตาหารอย่างดี
           
แม้พระพุทธโกณฑัญญะผู้เป็นนายกของโลกพระองค์นั้น ก็ทรง
           
พยากรณ์ว่าผู้นี้จักได้เป็นพระพุทธเจ้าในโลก ... ข้ามแม่น้ำใหญ่
           
ฉะนั้น เราได้ฟังพระพุทธพยากรณ์นั้นแล้ว ยังจิตให้เลื่อมใสอย่าง
           
ยิ่ง เราเมื่อจะยังประโยชน์นั้นให้สำเร็จ ได้ถวายราชสมบัติอันใหญ่
           
หลวงแก่พระพิชิตมาร ครั้นแล้วก็ออกบวชในสำนักของพระองค์
           
เราได้เล่าเรียนพระสูตรพระวินัย อันเป็นนวังคสัตถุศาสน์ทั้งปวง
           
แล้ว ทำพระศาสนาของพระพิชิตมารให้งดงาม เราเป็นผู้ไม่ประมาท
           
ในคำสั่งสอนของพระองค์ทั้งเวลานั่ง ยืน และ เดิน ถึงความสำเร็จ
           
ในอภิญญาแล้วได้ไปยังพรหมโลก พระนครชื่อ รัมมวดี พระมหา-
           
กษัตริย์ พระนามว่า สุนันทะ พระนางสุชาดา เป็นพระชนกชนนี
           
ของพระพุทธโกณฑัญญะ ผู้แสวงหาคุณใหญ่หลวงพระองค์ประทับ
           
อยู่ ณ ท่ามกลางเรือนสองหมื่นปี ทรงมีปราสาทอันประเสริฐ ๓
           
ปราสาทชื่อ รุจิ สุรุจิ และสุภะ ทรงมีพระสนมนารีกำนัลใน
           
สามแสน ล้วนประดับประดาสวยงาม พระมเหสีพระนามว่า รุจิเทวี
           
พระราชโอรสพระนามว่าชีวิตเสน พระองค์ทรงเห็นนิมิต ๔
           
ประการ จึงเสด็จออกผนวชด้วยรถราชยาน ทรงบำเพ็ญเพียรอยู่ ๑๐
           
เดือนเต็ม พระพุทธโกณฑัญญมหาวีรเจ้าผู้อุดมกว่าสัตว์อันพรหมทูล
           
อาราธนาแล้วทรงประกาศพระธรรมจักรแก่เทวดาและมนุษย์ในป่า
           
มหาวัน พระองค์ทรงมีพระภัททเถระและพระสุภัททเถระเป็นอัคร-
           
สาวก มีพระเถระนามว่า อนุรุทธะเป็นอุปัฏฐาก มีพระติสสาเถรี
           
และพระอุปติสสาเถรีเป็นอัครสาวิกา มีไม้สาละต้นงามเป็นไม้โพธิ์
           
ตรัสรู้ โสณอุบาสกและอุปโสณอุบาสกเป็นอัครอุปัฏฐาก นันทา
           
อุบาสิกา และสิริมาอุบาสิกาเป็นอัครอุปัฏฐายิกา พระมหามุนี
           
พระองค์นั้น สูง ๘๘ ศอก ทรงงามดั่งพระจันทร์ และเหมือน
           
พระอาทิตย์ในเวลาเที่ยง ในขณะนั้น สัตว์ทั้งหลายอายุแสนปี
           
พระองค์ทรงดำรงพระชนมายุอยู่เท่านั้น ทรงช่วยให้หมู่ชนข้ามพ้น
           
วัฏสงสารได้มากมาย พื้นเมทนีงามวิจิตรไปด้วยพระขีณาสพผู้
           
ปราศจากมลทิน พระองค์ย่อมงามด้วยพระขีณาสพเหมือนท้องฟ้า
           
ย่อมงามด้วยหมู่ดาว ฉะนั้น พระมหานาคแม้เหล่านั้นมีคุณอัน
           
ประมาณไม่ได้ นับไม่ถ้วน ยากที่จะรู้ได้ ท่านผู้ทรงยศเหล่านั้น
           
นิพพานแล้วเหมือนแสงสายฟ้าตก พระพิชิตมารมีพระฤทธิ์ไม่มีที่
           
เปรียบ มีสมาธิอันพระญาณอบรมทุกอย่างหายไปหมดสิ้น สังขาร
           
ทั้งปวงว่างเปล่าหนอ พระโกณฑัญญพุทธเจ้าผู้ทรงศิริเสด็จนิพพาน
           
ที่นันทาราม พระเจดีย์ของพระองค์สูง ๗ โยชน์ เขาสร้างไว้ที่
           
นันทารามนั้น.
                     
จบโกณฑัญญพุทธวงศ์ที่ ๒
                       
มังคลพุทธวงศ์ที่ ๓
                 
ว่าด้วยพระประวัติพระมงคลพุทธเจ้า
        [
] สมัยต่อมาจากพระโกณฑัญญะ มีพระพุทธเจ้าพระนามว่ามงคล ทรง
           
กำจัดความมืดในโลกแล้ว ทรงชูคบเพลิงคือ พระธรรมสว่างไสว
           
พระองค์มีพระรัศมีไม่มีอะไรเปรียบปาน ยิ่งกว่าพระพิชิตมารอื่นๆ
           
ทรงกำจัดรัศมีพระจันทร์และพระอาทิตย์ ส่องแสงไพโรจน์ในหมื่น
           
จักวาล แม้พระพุทธเจ้าพระองค์นั้นก็ทรงประกาศจตุสัจธรรมอัน
           
ประเสริฐสุด เทวดาและมนุษย์ได้ดื่มรสสัจธรรมแล้ว ย่อมบรรเทา
           
ความมืดตื้อได้ ในคราวที่พระองค์ทรงบรรลุพระโพธิญาณ อันไม่มี
           
อะไรเปรียบแล้ว ทรงแสดงธรรมครั้งแรก ธรรมาภิสมัยครั้งที่ ๑
           
ได้มีแก่สัตว์แสนโกฏิ พระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรมที่พิภพของท้าว
           
สักกะจอมอสูร ครั้งนั้น ธรรมาภิสมัยครั้งที่ ๒ ได้มีแก่ทวยเทพ
           
แสนโกฏิ ในกาลเมื่อพระเจ้าจักรพรรดิ พระนามว่า สุนันทะ
           
เสด็จเข้าไปเฝ้าพระสัมมาพุทธเจ้าทรงตีกลองธรรมเภรีอันประเสริฐสุด
           
และครั้งนั้น บริวารของพระเจ้าสุนันทะ มีประมาณเก้าสิบโกฏิ
           
ครั้งที่ ๒ พระสาวกมาประชุมกันแสนโกฏิ ครั้งที่ ๓ พระสาวก
           
มาประชุมกันเก้าสิบโกฏิ การประชุมครั้งนั้น ล้วนแต่พระขีณาสพ
           
ผู้ปราศจากมลทิน สมัยนั้น เราเป็นพราหมณ์มีนามว่าสุรุจิ เป็น
           
ผู้เล่าเรียน ทรงมนต์ รู้จบไตรเพท เราได้เข้าเฝ้าพระศาสดาพระองค์
           
นั้น ได้ถึงพระองค์เป็นสรณะและได้บูชาพระสงฆ์ อันมีพระสัมมา
           
พุทธเจ้าเป็นประมุขด้วยของหอมและดอกไม้ อังคาสด้วยน้ำนมโค
           
จนสำราญพระทัย แม้พระพุทธมงคลผู้อุดมกว่าสัตว์พระองค์นั้น ก็
           
พยากรณ์เราว่า ผู้นี้จักได้เป็นพระพุทธเจ้าในโลก ...........
            .....................
ข้ามแม่น้ำใหญ่ ฉะนั้น เราได้
           
ฟังพระพุทธพยากรณ์แม้นั้นแล้ว ยังจิตให้เลื่อมใสอย่างยิ่ง เรา
           
อธิษฐานวัตรในการบำเพ็ญบารมี ๑๐ ให้ยิ่งขึ้น ครั้งนั้น เราพอก
           
พูนปีติ เพื่อบรรลุสัมโพธิญาณอันประเสริฐ จึงถวายเรือนของเรา
           
แก่พระพุทธเจ้า แล้วออกบวชในสำนักของพระองค์ เราเล่าเรียน
           
พระสูตรและพระวินัย อันเป็นสัตถุศาสน์มีองค์ ๙ ประการแล้ว
           
ทำพระศาสนาของพระชินเจ้าให้งาม ครั้งนั้น เราเป็นผู้ไม่ประมาท
           
เจริญพรหมวิหารภาวนา ถึงที่สุดในอภิญญาแล้วได้ไปยังพรหมโลก
           
พระนครชื่อว่าอุตระพระมหากษัตริย์พระนามว่าอุตระ เป็นพระชนก
           
ของพระมงคลบรมศาสดาพระชนนีพระนามว่า อุตรา พระองค์ทรง
           
ครอบครองอาคารสถานอยู่เก้าหมื่นปี ทรงมีปราสาทอันประเสริฐ
           
๓ ปราสาท ชื่อว่ายสวา สุจิมาและสิริมา มีพระสนมนารีกำนัล
           
ในสามหมื่นนาง ล้วนแต่ประดับประดาสวยงาม พระมเหสีพระ-
           
นามว่า ยสวดี พระราชโอรสพระนามว่าสีวละ พระชินเจ้าทรงเห็น
           
นิมิตร ๕ ประการ จึงเสด็จออกผนวชด้วยอัสสวราชยานต้น ทรง
           
บำเพ็ญเพียรอยู่ ๘ เดือนเต็ม พระมงคลมหาวีรเจ้าผู้เป็นนายก
           
ของโลกอุดมกว่าสัตว์ อันพรหมทูลอาราธนาแล้ว ทรงประกาศ
           
พระธรรมจักร พระองค์มีพระสุเทวเถระและพระธรรมเสนเถระเป็น
           
อัครสาวก พระเถระชื่อปาลิตะ เป็นอุปัฏฐากพระสีวลาเถรีและพระ-
           
อโสกาเถรีเป็นอัครสาวิกา ไม้โพธิ์ของพระผู้มีพระภาคนั้น เรียก
           
กันว่าต้นกากะทิง นันทอุบาสก และวิสาขอุบาสกเป็นอัครอุปัฏฐาก
           
อนุฬาอุบาสิกาและสุมนาอุบาสิกาเป็นอุปัฏฐายิกา พระมงคลมหามุนี
           
สูง ๘๐ ศอก พระรัศมีแผ่ซ่านออกจากพระองค์ ไปไกลหลายแสน
           
โลกธาตุในขณะนั้น มนุษย์มีอายุเก้าหมื่นปี พระองค์ทรงดำรง
           
พระชนมายุอยู่เท่านั้น ทรงช่วยให้หมู่ชนข้ามพ้นวัฏสงสารได้มาก
           
มาย สาวกของพระองค์ใครๆ ไม่สามารถจะนับได้ ฉะนั้น
           
ครั้งนั้น พระสัมพุทธมงคลผู้เป็นนายกของโลก ทรงดำรงพระชน
           
มายุอยู่เพียงนั้น ในพระศาสนาของพระองค์ไม่มีการตายอย่างคนมี
           
กิเลสเลย พระองค์ผู้ทรงยศใหญ่ทรงชูดวงไฟคือพระธรรมสว่างจ้า
           
ทรงช่วยมหาชนให้ข้ามพ้นวัฏสงสาร ทรงรุ่งเรืองเหมือนดาวธุมเกต
           
แล้วเสด็จนิพพาน ทรงแสดงสภาวะแห่งสังขาร ในมนุษยโลก
           
พร้อมทั้งเทวโลก ทรงรุ่งเรืองเหมือนกองไฟ แล้วเสด็จเข้านิพพาน
           
เหมือนพระอาทิตย์อัสดงคต ฉะนั้น พระพุทธมงคลเสด็จปรินิพพาน
           
ที่พระราชอุทยานชื่อเวสสระ พระสถูปของพระองค์สูง ๓๐ โยชน์
           
ประดิษฐานอยู่ในพระราชอุทยานนั้น.
                      
จบมังคลพุทธวงศ์ที่ ๓
                        
สุมนพุทธวงศ์ที่ ๔
                 
ว่าด้วยพระประวัติพระสุมนพุทธเจ้า
        [
] ในสมัยต่อมาจากพระพุทธมงคล มีพระพุทธเจ้าพระนามว่าสุมนะ
           
ไม่มีใครเสมอเหมือนโดยธรรมทั้งปวง อุดมกว่าสรรพสัตว์ ครั้งนั้น
           
พระศาสดาทรงตีกลองอมฤตเภรีในเมขลบุรี พระศาสนาของพระ
           
องค์มีองค์ ๙ ประกอบด้วยธรรมอันขาว พระศาสดาพระองค์นั้น
           
ทรงชำระกิเลสแล้ว ทรงบรรลุสัมโพธิญาณอันอุดม ทรงสร้างนคร
           
คือ พระสัทธรรม เป็นเมืองประเสริฐสุด ทรงสร้างถนนใหญ่
           
คือ สติปัฏฐานอันเลิศล้ำ ไม่มีอะไรคั่น ไม่คด เป็นถนนตรง
           
ไพบูลย์ กว้างขวาง ทรงลาดสามัญผล ๕ ปฏิสัมภิทา ๔ อภิญญา
           
๖ และสมาบัติ ๘ ไว้บนถนนนั้น ชนเหล่าใดเป็นผู้ไม่ประมาท
           
ประกอบด้วยหิริและความเพียร ชนเหล่านั้นทั้งหมด ย่อมถือเอา
           
คุณอันประเสริฐนี้ได้ตามสบาย พระศาสดาทรงรื้อขนมหาชนขึ้นด้วย
           
โยคธรรมนั้นอย่างนี้ ทรงยังเทวดาและมนุษย์แสนโกฏิให้ตรัสรู้ใน
           
ครั้งแรก ในกาลเป็นที่ทรงแสดงธรรมครั้งที่ ๒ ที่พระมหาวีรเจ้า
           
ตรัสสอนหมู่เดียรถีย์ เทวดาและมนุษย์แสนโกฏิได้ตรัสรู้ธรรม
           
ในกาลเมื่อเทวดาและมนุษย์ผู้พร้อมเพรียงกัน ร่วมใจกันมาทูลถาม
           
ปัญหานิโรธ อันเป็นความสงสัยแห่งใจ ในการทรงแสดงธรรม
           
เครื่องแสดงนิโรธแม้ครั้งนั้น ธรรมาภิสมัยครั้งที่ ๓ ได้มีแก่เทวดา
           
และมนุษย์เก้าหมื่นโกฏิ พระสุมนบรมศาสดาทรงมีการประชุม
           
พระสาวกขีณาสพผู้ปราศจากมลทิน มีจิตสงบคงที่ ๓ ครั้ง เมื่อพระ
           
ผู้มีพระภาคทรงจำพรรษาแล้ว ในวันสังฆปวารณา พระตถาคตทรง
           
ปวารณาพร้อมด้วยพระสาวกแสนโกฏิ ต่อแต่นั้นในการประชุมที่
           
ภูเขาทองอันสุกอร่ามพระสาวกมาประชุมกันครั้งที่ ๒ เก้าหมื่นโกฏิ
           
ในกาลเมื่อท้าวสักกเทวราชเสด็จเข้าเฝ้า เพื่อทรงเยี่ยมพระพุทธเจ้า
           
พระสาวกมาประชุมกันครั้งที่ ๓ แปดหมื่นโกฏิ สมัยนั้นเราเป็น
           
พญานาคราชมีฤทธิ์มาก มีนามชื่อว่า อตุละ เป็นผู้ก่อสร้างกุศล
           
เจริญขึ้น ครั้งนั้น เราพร้อมด้วยหมู่ญาติออกจากนาคพิภพ เอาดนตรี
           
ทิพย์ไปบรรเลงบูชาพระพิชิตมารพร้อมด้วยพระสงฆ์ ถวายข้าวน้ำให้
           
พระสงฆ์สาวกแสนโกฏิ ฉันจนเพียงพอ แล้วถวายผ้าเฉพาะรูปละคู่
           
ได้เข้าถึงพระพิชิตมารกับทั้งพระสงฆ์นั้นเป็นสรณะ แม้พระสุมน-
           
พุทธเจ้าผู้เป็นนายกของโลกพระองค์นั้น ก็ทรงพยากรณ์เราว่านี้จักได้
           
เป็นพระพุทธเจ้าในโลก ................ ข้ามแม่น้ำใหญ่
           
ฉะนั้น เราได้ฟังพระพุทธพยากรณ์แม้นั้นแล้ว ยังจิตให้เลื่อมใส
           
อย่างยิ่ง เราอธิษฐานวัตรในการบำเพ็ญบารมีให้ยิ่งขึ้น พระมหา-
           
กษัตริย์พระนามว่าสุทัตตะ เป็นพระชนกของพระสุมนบรมศาสดา
           
พระชนนีพระนามว่าสิริมา พระองค์ทรงครอบครองอคารสถานอยู่
           
เก้าพันปี ทรงมีปราสาทอันประเสริฐ ๓ ปราสาท ชื่อว่าจันทะ
           
สุจันทะและวฏังสะ มีพระสนมนารีกำนัลในหกล้านสามแสนนาง
           
ล้วนประดับประดาสวยงาม พระมเหสีพระนามว่าวฏังสกี พระราช
           
โอรสพระนามว่าอนูปโม พระพิชิตมารทรงเห็นนิมิต ๔ ประการ
           
จึงเสด็จออกผนวชด้วยพระยาคชสารยานพระที่นั่งต้น ทรงบำเพ็ญ
           
เพียร ๑๐ เดือนเต็ม พระมหาวีรสุมนเจ้าผู้เป็นนายกของโลก อัน
           
พรหมทูลอาราธนาแล้ว ทรงประกาศพระธรรมจักร ณ เมขลนคร
           
อันเป็นเมืองประเสริฐสุด พระองค์ทรงมีพระสรณเถระ และพระ-
           
ภาวิตัตตเถระเป็นพระอัครสาวก ทรงมีพระเถระนามว่าอุเทนเป็น
           
พระพุทธอุปัฏฐาก พระโสณาเถรีและพระอุปโสณาเถรีเป็นพระ-
           
อัครสาวิกา แม้พระพุทธเจ้าผู้ไม่มีใครเสมอเหมือนพระองค์นั้น
           
ก็ได้ตรัสรู้ที่ควงไม้กากะทิง วรุณอุบาสกและสรณอุบาสกเป็นอัคร
           
อุปัฏฐากจาลาอุบาสิกาและอุปจาลาอุบาสิกาเป็นอัครอุปัฏฐายิกา พระ-
           
พุทธเจ้าพระองค์นั้น พระองค์สูง ๙๐ ศอก มีพระรัศมีเปล่งปลั่งดัง
           
ทองคำล้ำค่า ส่องสว่างจ้าไปในหมื่นโลกธาตุ ขณะนั้น มนุษย์มีอายุ
           
เก้าหมื่นปี พระองค์ดำรงพระชนมายุอยู่เท่านั้น ทรงช่วยหมู่ชนให้
           
ข้ามพ้นวัฏสงสารได้มากมาย พระสัมพุทธเจ้าทรงช่วยคนที่ควรข้าม
           
ให้ข้าม ทรงช่วยคนที่ควรตรัสรู้ให้ตรัสรู้ แล้วเสด็จปรินิพพาน
           
เหมือนพระจันทร์ดับ พระขีณาสพเหล่านั้น และพระพุทธเจ้าผู้ไม่
           
มีใครเปรียบพระองค์นั้น แสดงรัศมีอันไม่มีอะไรเสมอเหมือนแล้ว
           
นิพพาน ญาณและรัตนตรัยอันไม่มีอะไรเทียบเคียงเหล่านั้นหายไป
           
หมดสิ้น สังขารทั้งปวงว่างเปล่าหนอ พระสุมนพุทธเจ้าผู้ทรงยศ
           
เสด็จนิพพาน ณ อังคาราม พระสถูปของพระองค์สูง ๔ โยชน์
           
ประดิษฐานอยู่ ณ อังคารามนั้นแล.
                       
จบสุมนพุทธวงศ์ที่ ๕
                        
เรวตพุทธวงศ์ที่ ๕
                  
ว่าด้วยประวัติพระเรวตพุทธเจ้า
        [
] สมัยต่อมาจากพระพุทธเจ้าพระนามว่า สุมนะ พระพิชิตมารพระนาม
           
ว่าเรวตะ เป็นนายกของโลก มีพระคุณสูงสุดไม่มีใครเปรียบเทียบ
           
เสมอ แม้พระองค์อันพรหมทูลอาราธนาแล้ว ก็ทรงประกาศธรรม
           
กำหนดด้วยขันธ์และธาตุที่ใครๆ ยังมิได้ประกาศ ในภพน้อยใหญ่
           
ในกาลที่พระองค์ทรงแสดงธรรม ธรรมาภิสมัยมี ๓ ครั้ง ธรรมาภิ
           
สมัยครั้งที่ ๑ จะพึงกล่าวโดยคำนวณไม่ได้ ในกาลเมื่อพระเรวต
           
มหามุนี ทรงสั่งสอนแนะนำพระเจ้าอรินทมหาราช ธรรมาภิสมัยครั้ง
           
ที่ ๒ ได้มีแก่มนุษย์และเทวดาพันโกฏิ พระนราสภเสด็จออกจาก
           
ที่เร้น ๗ วัน ทรงสั่งสอนแนะนำมนุษย์และเทวดาในผลชั้นสูง
           
ร้อยโกฏิ  พระเรวตบรมศาสดา ทรงมีการประชุมพระภิกษุขีณาสพ
           
ผู้ปราศจากมลทิน มีจิตสงบ คงที่ ๓ ครั้ง ครั้งที่ ๑ พระภิกษุที่มา
           
ประชุมกันล่วงทางที่จะนับได้ ครั้งที่ ๒ พระภิกษุที่มาประชุมกัน
           
แสนโกฏิ ในกาลเมื่อพระองค์ผู้ไม่มีใครเสมอด้วยพระปัญญา ทรง
           
ประกาศธรรมจักรแล้ว ทรงประชวรจวนจะเสด็จนิพพาน ครั้งนั้น
           
พระภิกษุผู้ขีณาสพที่มาเฝ้าพระมหามุนี เพื่อทูลถามอาการประชวร
           
ประชุมกันเป็นครั้งที่ ๓ แสนโกฏิ สมัยนั้นเราเป็นพราหมณ์นามว่า
           
อติเทพ ได้เข้าไปเฝ้าพระเรวตพุทธเจ้าแล้ว ถึงพระองค์เป็นสรณะ
           
ได้ชมเชยศีล สมาธิและพระปัญญาคุณอันยอดเยี่ยมของพระองค์
           
แล้วได้ทูลถวายจีวรแก่พระองค์ตามกำลัง แม้พระเรวตพุทธเจ้าผู้เป็น
           
นายกของโลก พระองค์นั้น ก็ทรงพยากรณ์เราว่า ผู้นี้จักได้เป็น
           
พระพุทธเจ้าในโลก ................ ข้ามแม่น้ำใหญ่
           
ฉะนั้น เราได้ฟังพระพุทธพยากรณ์แม้นั้นแล้ว ยังจิตให้เลื่อมใส
           
อย่างยิ่ง เราอธิษฐานวัตรในการบำเพ็ญบารมี ๑๐ ให้ยิ่งขึ้น แม้
           
ครั้งนั้น เราระลึกถึงพระพุทธการกธรรมนั้น แล้วตามเพิ่มพูนว่า
           
เราจักนำมาซึ่งธรรมนั้นอันเป็นธรรมที่เราปรารถนายิ่ง พระนครชื่อว่า
           
สุธัญญกะ พระมหากษัตริย์พระนามว่าวิปุละ เป็นพระชนกของ
           
พระเรวตบรมศาสดา พระนางวิปุลาเป็นพระชนนี พระองค์ทรง
           
ครอบครองอคารสถานอยู่ ๖,๐๐๐ ปี ทรงมีปราสาทอันประเสริฐ ๓
           
ปราสาท ชื่อสุทัสนะ รัตนัคฆิ และอาเวฬะ ตกแต่งสวยงาม
           
เกิดเพราะบุญกรรม ทรงมีพระสนมนารีกำนัลในสามโกฏิสามแสน-
           
นาง ล้วนประดับประดาสวยงาม พระมเหสีพระนามว่าสุทัสนา
           
พระโอรสพระนามว่าวรุณ พระพิชิตมารทรงเห็นนิมิต ๔ ประการ
           
จึงเสด็จออกผนวชด้วยรถอันเป็นราชยานที่นั่งต้น ทรงบำเพ็ญเพียร
           
อยู่ ๗ เดือนเต็ม พระเรวตมหาวีรชินเจ้าผู้เป็นนายกของโลก อัน
           
พรหมทูลอาราธนาแล้ว ทรงประกาศธรรมจักร ประทับอยู่ ณ วรุ-
           
ณาราม พระองค์ทรงมีพระวรุณเถระและพระพรหมเทวเถระเป็น
           
พระอัครสาวก พระเถระชื่อสัมภวะเป็นพุทธอุปัฏฐาก พระภัททาเถรี
           
พระสุภัททาเถรีเป็นพระอัครสาวิกา แม้พระพุทธเจ้าผู้ไม่มีใครเสมอ
           
เหมือนพระองค์นั้น ก็ได้ตรัสรู้ที่ควงไม้กากะทิง วรุณอุบาสกและ
           
สรภอุบาสกเป็นอัครอุปัฏฐาก นางปาลาอุบาสิกาและนางอุปปาลา
           
อุบาสิกาเป็นอัครอุปัฏฐายิกา พระพุทธเจ้าพระองค์นั้นมีพระองค์สูง
           
๘๐ ศอก ทรงเปล่งปลั่งพระรัศมีสว่างไสวไปทั่วทิศ ดังพระอาทิตย์
           
อุทัย ฉะนั้น พระรัศมีอันเป็นระเบียบสว่างไสว ที่เกิดในพระพุทธ-
           
สรีระแผ่ไปโยชน์หนึ่งโดยรอบ ทั้งกลางวันและกลางคืน ในขณะ
           
นั้น มนุษย์มีอายุหกหมื่นปี พระองค์ทรงดำรงพระชนมายุเท่านั้น
           
ทรงช่วยให้หมู่ชนข้ามพ้นวัฏสงสารได้เป็นอันมาก ทรงแสดงกำลัง
           
พระพุทธเจ้าแล้ว ประกาศอมตธรรมในโลก ไม่ทรงมีอุปทานเสด็จ
           
นิพพาน เพราะสิ้นความถือมั่นว่าเป็นผู้เลิศ ทรงมีพระวรกายมีรัศมี
           
ดังแก้ว พระธรรมก็ไม่มีอะไรเหมือน หายไปหมดทุกอย่าง สังขาร
           
ทั้งปวงว่างเปล่าหนอ พระเรวตพุทธเจ้าผู้ทรงยศ มีพระปัญญามาก
           
เสด็จนิพพานแล้ว พระธาตุของพระองค์แผ่ไปกว้างขวางในประเทศ
           
นั้นๆ ฉะนี้แล.
                      
จบเรวตพุทธวงศ์ที่ ๕
                       
โสภิตพุทธวงศ์ที่ ๖
               
ว่าด้วยพระประวัติพระโสภิตพุทธเจ้า
        [
] สมัยต่อมาจากพระเรวตพุทธเจ้า มีพระพุทธเจ้าพระนามว่าโสภิต
           
เป็นนายกของโลก ทรงมีพระทัยมั่นคงสงบระงับไม่มีใครเสมอ
           
ไม่มีบุคคลเปรียบ พระองค์ทรงกลับพระทัย (ไม่พอพระทัย) ใน
           
พระราชวังของพระองค์ ทรงบรรลุโพธิญาณ ประกาศพระธรรมจักร
           
อย่างเดียว ในระหว่างเบื้องบนตลอดถึงอเวจีนรก และเบื้องต่ำ
           
ตลอดถึงภวัคคพรหมนี้ เป็นบริษัทเดียวกันในการทรงแสดงธรรม
           
พระสัมพุทธเจ้าทรงประกาศพระธรรมจักรแก่บริษัทนั้น โดยจะนับ
           
ผู้ได้ตรัสรู้ธรรมครั้งแรกพึงกล่าวไม่ได้ เบื้องหน้าแต่นั้น เมื่อทรง
           
แสดงธรรมในสมาคมของมนุษย์และเทวดา ธรรมาภิสมัยครั้งที่ ๒
           
ได้มีแก่มนุษย์และเทวดาเก้าหมื่นโกฏิ ในกาลนั้น พระบรมกษัตริย์
           
พระนามว่าชยเสนะ รับสั่งให้สร้างพระอารามอีกแห่งหนึ่ง มอบ
           
ถวายในพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าผู้มีพระจักษุทรงแสดงธรรมประ-
           
กาศการบูชาของบรมกษัตริย์ ครั้งนั้นธรรมาภิสมัยครั้งที่ ๒ ได้มีแก่
           
มนุษย์และเทวดาพันโกฏิ พระโสภิตบรมศาสดา ทรงมีการประชุม
           
พระภิกษุขีณาสพผู้ปราศจากมลทิน มีจิตสงบระงับคงที่ ๓ ครั้ง พระ-
           
ราชาพระนามว่าอุคคตะ ทรงถวายทานในพระพุทธเจ้า ในทาน
           
ครั้งนั้น พระอรหันต์มาประชุมกันประมาณร้อยโกฏิ มีหมู่คณะมา
           
ถวายทานในพระพุทธเจ้าอีก ครั้งนั้น พระอรหันต์มาประชุมกันครั้ง
           
ที่ ๒ เก้าสิบโกฏิ ในกาลเมื่อพระพิชิตมาร ทรงจำพรรษาในเทวโลก
           
แล้วเสด็จลง พระอรหันต์มาประชุมกันครั้งที่ ๓ แปดสิบโกฏิ สมัย
           
นั้น เราเป็นพราหมณ์นามว่าสุชาติ เราได้ถวายข้าวและน้ำให้พระ-
           
พุทธเจ้าเสวยพร้อมทั้งพระสาวกจนเพียงพอ แม้พระพุทธเจ้าพระ-
           
นามว่าโสภิตผู้เป็นนายกของโลกพระองค์นั้น ก็ทรงพยากรณ์เราว่า
           
ผู้นี้จักได้เป็นพระพุทธเจ้า ....... ข้ามแม่น้ำใหญ่ ฉะนั้นเราได้ฟัง
           
พระพุทธพยากรณ์แม้นั้นแล้ว มีใจยินดีปราโมทย์แล้วได้กระทำ
           
ความเพียรอย่างยอดเยี่ยม เพื่อบรรลุประโยชน์นั้น พระนครชื่อว่า
           
สุธรรม พระมหากษัตริย์พระนามว่าสุธรรมเป็นพระชนกของพระ-
           
โสภิตบรมศาสดา พระชนนีพระนามว่าสุธรรมา พระองค์ทรง
           
ครอบครองอาคารสถานอยู่เก้าพันปี ทรงมีปราสาทอันประเสริฐ ๓
           
ปราสาท ชื่อกุมุท นฬินี ปทุม มีพระสนมนารีกำนัล
           
ในสี่หมื่นสามพันนางล้วนประดับประดาสวยงาม พระมเหสีพระ-
           
นามว่ามกิลา พระราชโอรสมีพระนามว่าสีหะ พระองค์ทรงเห็น
           
นิมิต ๔ ประการ เสด็จออกผนวชพร้อมทั้งปราสาท พระองค์ผู้เป็น
           
บุรุษอุดม ทรงบำเพ็ญเพียรอยู่ ๗ วัน พระโสภิตมหาวีรเจ้าผู้เป็น
           
นายกของโลก อันพรหมทูลอาราธนาแล้ว ทรงประกาศพระธรรม
           
จักร ณ พระอุทธยานสุธรรมาอันสวยงาม ทรงมีพระอสมเถระและ
           
พระสุเนตตเถระเป็นอัครสาวก เพราะเถระชื่อว่าอโนมะเป็นพุทธ
           
อุปัฏฐาก พระนกุลาเถรีและพระสุชาตาเถรี เป็นพระอักครสาวิกา
           
และพระพุทธเจ้าพระองค์นั้น เมื่อตรัสรู้ก็ได้ตรัสรู้ที่ควงไม้กากะทิง
           
รัมมะอุบาสกและสุเนตตอุบาสกเป็นอัครอุปัฏฐาก นกุลาอุบาสิกา
           
และจิตตาอุบาสิกา เป็นอัครอุปัฏฐายิกา พระมหามุนีพระองค์สูง ๕๘
           
ศอก ทรงเปล่งพระรัศมีสว่างไสวไปทั่วทิศ ดุจพระอาทิตย์อุทัย
           
ฉะนั้น คำสั่งสอนของพระองค์หอมตระหลบไปด้วยกลิ่นศีล เปรียบ
           
เหมือนป่าไม้ที่ดอกบาน หอมตระหลบไปด้วยกลิ่นต่างๆ ฉะนั้น
           
คำสั่งสอนของพระองค์ไม่มีใครอิ่มด้วยการฟัง ดังสมุทรสาครไม่มี
           
ใครอิ่มด้วยการเห็น ฉะนั้น ในขณะนั้น มนุษย์มีอายุเก้าหมื่นปี
           
พระองค์ทรงดำรงพระชนมายุอยู่เท่านั้น ทรงช่วยในหมู่ชนข้ามพ้น
           
วัฏสงสารได้เป็นอันมาก พระองค์ทรงประทานพระโอวาทและการ
           
พร่ำสอน ทรงสั่งสอนหมู่ชนที่เหลือให้เผากิเลสดังเปลวไฟไหม้เชื้อ
           
แล้ว เสด็จนิพพานพร้อมด้วยพระสาวก พระพุทธเจ้าผู้ไม่มีใครเสมอ
           
เหมือน และพระสาวกผู้บรรลุพลธรรมทั้งหลาย หายไปหมดสิ้น
           
แล้ว สังขารทั้งปวงว่างเปล่าหนอ พระสัมพุทธเจ้าผู้ประเสริฐ
           
พระนามว่าโสภิต เสด็จนิพพาน ณ สีหาราม พระธาตุของพระ-
           
องค์แผ่กว้างไปในประเทศนั้นๆ ฉะนี้แล.
                      
จบโสภิตพุทธวงศ์ที่ ๖
                      
อโนมทัสสีพุทธวงศ์ที่ ๗
               
ว่าด้วยพระประวัติพระอโนมทัสสีพุทธเจ้า
        [
] สมัยต่อมาจากพระพุทธเจ้าพระนามว่าโสภิตมีพระสัมพุทธเจ้าพระ-
           
นามว่าอโนมทัสสี ทรงพระยศนับไม่ได้ มีพระเดชยากที่จะล่วงได้
           
พระองค์ทรงตัดเครื่องผูกทุกอย่าง ทรงทำลายภพ ๓ แล้ว ทรงแสดง
           
ทางที่ไปไม่กลับ ในหมู่เทวดาและมนุษย์ พระองค์ทรงพระคุณนับ
           
ไม่ได้ดังมหาสมุทร ยากที่จะให้จมลงเหมือนภูเขา ไม่มีที่สุดดุจ
           
อากาศ พระคุณบานเต็มที่เช่นพญารัง สัตว์ทั้งหลายย่อมยินดีแม้
           
ด้วยการเห็นพระองค์สัตว์เหล่านั้นได้ฟังพระสุรเสียงที่ทรงเปล่ง
           
ย่อมบรรลุอมตธรรม ในกาลนั้น ธรรมาภิสมัยของพระองค์เจริญ-
           
รุ่งเรืองในพระธรรมเทศนาครั้งที่ ๑ สัตว์ร้อยโกฏิได้ตรัสรู้ สมัยต่อ
           
แต่นั้นมา เมื่อพระองค์ทรงยังฝนคือธรรมให้ตก ในพระธรรม
           
เทศนาครั้งที่ ๒ สัตว์แปดสิบโกฏิได้ตรัสรู้ และสมัยต่อมาเมื่อ
           
พระองค์ทรงยังฝนคือธรรมให้ตกให้สัตว์ทั้งหลายอิ่มหนำสำราญ
           
ธรรมาภิสมัยครั้งที่ ๓ ได้มีแก่สัตว์ ๗๘ โกฏิ พระบรมศาสดา ได้ทรง
           
ประชุมพระภิกษุผู้บรรลุอภิญญาและพลธรรม ผู้บานแล้วด้วยการ
           
หลุดพ้น ๓ ครั้ง ครั้งที่ ๑ พระภิกษุขีณาสพผู้ละความมัวเมา และ
           
ความหลง มีจิตสงบระงับ ผู้คงที่ มาประชุมแปดแสน ครั้งที่ ๒
           
พระภิกษุขีณาสพผู้ไม่มีกิเลสเครื่องยั่วยวน ปราศจากธุลี สงบระงับ
           
คงที่ มาประชุมเจ็ดแสน ครั้งที่ ๓ พระภิกษุขีณาสพผู้บรรลุอภิญญา
           
และพลธรรมผู้ดับสนิท มีตบะ มาประชุมหกแสน สมัยนั้น เราเป็น
           
ยักษ์มีฤทธิ์มาก เป็นใหญ่ ปกครองยักษ์หลายโกฏิให้อยู่ในอำนาจ
           
แม้ครั้งนั้น เราก็ได้เข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐ ผู้ทรงแสวงหา
           
คุณใหญ่หลวงพระองค์นั้นแล้วได้ถวายข้าวและน้ำให้พระองค์เสวย
           
พร้อมด้วยพระสงฆ์จนเพียงพอ แม้พระมุนีผู้มีพระนัยนาบริสุทธิ์
           
พระองค์นั้นก็ทรงพยากรณ์เราว่าผู้นี้จักได้เป็นพระพุทธเจ้าในโลก ...
            ...
ข้ามแม่น้ำใหญ่ฉะนั้นเราได้ฟังพระพุทธพยากรณ์นั้นแล้ว ก็
           
ยินดีมีใจปราโมทย์ อธิฐานวัตรในการบำเพ็ญบารมีให้ยิ่งขึ้น
           
พระนครชื่อว่าจันทวดี พระบรมกษัตริย์พระนามว่ายสวา เป็น
           
พระชนกของพระอโนมทัสสีศาสดา พระชนนีพระนามว่ายโสธรา
           
พระองค์ทรงครอบครองอาคารสถานอยู่หมื่นปี มีปราสาทอันประเสริฐ
           
๓ ปราสาท ชื่อศิริ อุปศิริ และวัฑฒะ ทรงมีพระสนมนารีกำนัลใน
           
สองหมื่นสามพันนาง ล้วนประดับประดาสวยงาม พระมเหสี
           
พระนามว่าสิริมา พระราชโอรสพระนามว่าอุปสาละ พระองค์
           
ทรงเห็นนิมิต ๔ ประการ จึงเสด็จออกผนวชด้วยวอทองทรงบำเพ็ญ
           
เพียรอยู่ ๑๐ เดือนเต็ม พระมหามุนีอโนทัสสีมหาวีรเจ้าอันพรหม
           
ทูลอาราธนาแล้ว ทรงประกาศพระธรรมจักร ณ สุทัสนราชอุทยาน
           
อันประเสริฐ ทรงมีพระนิสภเถระและพระอโนมเถระเป็นพระอัคร-
           
สาวกพระเถระชื่อว่าวรุณเป็นพุทธุปัฏฐาก พระสุนทราเถรีและพระ
           
สุมนาเถรีเป็นพระอัครสาวิกา ไม้โพธิพฤกษ์ของพระผู้มีพระภาคนั้น
           
เรียกว่าต้นกุ่ม นันทิวัฑฒอุบาสกและสิริวัฑฒอุบาสกเป็นอัคร-
           
อุปัฏฐากอุปลาอุบาสิกาและปทุมาอุบาสิกาเป็นอัครอุปัฏฐายิภา พระ
           
มหามุนีมีพระองค์สูง ๕๘ ศอก มีพระรัศมีซ่านออกสว่างไสวดัง
           
พระอาทิตย์อุทัย ฉะนั้น ในครั้งนั้น มนุษย์ทั้งหลายมีอายุแสนปี
           
พระองค์ดำรงพระชนมายุอยู่เพียงนั้น ทรงช่วยให้หมู่ชนข้ามพ้น
           
วัฏสงสารได้เป็นอันมาก พระศาสนาของพระองค์บานสะพรั่ง
           
งดงามด้วยพระอรหันต์ทั้งหลายผู้คงที่ผู้ปราศจากราคะและมลทิน
           
พระศาสดาผู้ทรงยศนับไม่ได้และคู่พระสาวกผู้ไม่มีใครแม้นเสมือน
           
หายไปหมดสิ้นแล้วสังขารทั้งปวงว่างเปล่าหนอ พระอโนมทัสสี
           
พระบรมศาสดาชินเจ้า เสด็จนิพพาน ณ ธรรมาราม พระสถูปของ
           
พระองค์สูง ๒๐ โยชน์ ประดิษฐานอยู่ ณ ธรรมารามนั้น ฉะนี้แล.
                     
จบอโนมทัสสีพุทธวงศ์ที่ ๗
                        
ปทุมพุทธวงศ์ที่ ๘
                 
ว่าด้วยพระประวัติพระปทุมพุทธเจ้า
        [
] สมัยต่อมาจากพระอโนมทัสสีบรมศาสดา พระสัมพุทธเจ้าผู้อุดมกว่า
           
สรรพสัตว์ มีพระนามว่าชื่อปทุม ผู้ไม่มีบุคคลเปรียบเสมอ ศีล
           
ของพระองค์หาเสมอไม่ แม้สมาธิก็ไม่มีที่สุด พระญาณอันประเสริฐ
           
นับไม่ถ้วน แม้วิมุตติก็ไม่มีอะไรเปรียบ แม้ในคราวที่พระองค์ผู้
           
ทรงเดชไม่มีอะไรเทียบเท่าทรงประกาศธรรมจักรธรรมาภิสมัยอัน
           
กำจัดความมืดตื้อได้มี ๓ ครั้ง ครั้งที่ ๑ พระพุธธีรเจ้าทรงยังสัตว์ให้
           
ตรัสรู้ร้อยโกฏิ ครั้งที่ ๒ ทรงยังสัตว์ให้ตรัสรู้เก้าสิบโกฏิ และ
           
ในคราวเมื่อ พระปทุมพุทธเจ้าตรัสสอนพระราชโอรส ของพระองค์
           
ธรรมาภิสมัยครั้งที่ ๓ ได้มีแก่สัตว์แปดสิบโกฏิพระปทุมบรมศาสดา
           
ทรงมีการประชุมพระสาวก ๓ ครั้ง ครั้งที่ ๑ พระสาวกมาประชุมกัน
           
แสนโกฏิ เมื่อกฐินจีวรเกิดขึ้นในสมัยกรานกฐิน ภิกษุทั้งหลาย
           
ช่วยกันเย็บจีวร เพื่อประโยชน์แก่พระธรรมเสนาบดี ครั้งนั้น
           
ภิกษุเหล่านั้นล้วนปราศจากมลทินได้อภิญญา ๖ มีฤทธิ์มาก ผู้ไม่
           
พ่ายแพ้อะไรๆ สามแสนรูปมาประชุมกัน สมัยต่อมา ในคราวที่
           
พระบรมศาสดาผู้องอาจกว่านรชน ทรงเข้าจำพรรษาในป่าใหญ่
           
ครั้งนั้น พระสาวกสองแสนมาประชุมกัน สมัยนั้นเราเป็นราชสีห์
           
เป็นใหญ่กว่าฝูงมฤค ได้พบพระพิชิตมาร ซึ่งกำลังเจริญวิเวกอยู่ใน
           
ป่าใหญ่ เราถวายบังคมพระยุคลบาทด้วยเศียรเกล้ากระทำประทักษิณ
           
บันลือสีหนาท ๓ ครั้ง บำรุงพระพิชิตมารอยู่ ๗ วัน ครบ ๗ วัน
           
แล้วพระตถาคตเสด็จออกจากสมาบัติอันประเสริฐทรงดำริด้วยพระ-
           
ทัยให้พระภิกษุมาประชุมกันโกฏิหนึ่ง แม้ครั้งนั้น พระมหาวีรเจ้า
           
พระองค์นั้น ก็ทรงพยากรณ์เราในท่ามกลางภิกษุเหล่านั้นว่าผู้นี้จักได้
           
เป็นพระพุทธเจ้าในโลก ............................
           
ข้ามแม่น้ำใหญ่ ฉะนั้นเรา ได้ฟังพระพุทธพยากรณ์แม้นั้นแล้ว
           
ยังจิตให้เลื่อมใสอย่างยิ่ง ได้อธิษฐานวัตรในการบำเพ็ญบารมี ๑๐
           
ให้ยิ่งขึ้น พระนครชื่อว่า จัมปกะ พระบรมกษัตริย์พระนามว่าอสมะ
           
เป็นพระชนกของพระปทุมบรมศาสดา พระนางอสมาเป็นพระชนนี
           
พระองค์ทรงครอบครองอคารสถานอยู่สองหมื่นปี ทรงมีปราสาทอัน
           
ประเสริฐ ๓ ปราสาท ชื่อนันทะ วสุ และอสัตตระ ทรงมีพระ-
           
สนมานารีกำนัลในสามหมื่นสามพันนาง ล้วนประดับประดาสวยงาม
           
พระมเหสีพระนามว่าอุตตรา พระราชโอรสพระนามว่ารัมมะ
           
พระองค์ทรงเห็นนิมิต ๔ ประการ จึงเสด็จออกผนวชด้วยราชรถ
           
อันเป็นราชยาน ทรงบำเพ็ญเพียรอยู่ ๘ เดือนเต็ม พระปทุมมหาวีร
           
เจ้าผู้เป็นนายกของโลก อันพรหมทูลอาราธนาแล้ว ทรงประกาศ
           
พระธรรมจักร ณ ธนัญชราชอุทยานอันประเสริฐทรงมีพระสาลเถระ
           
และพระอุปสาลเถระเป็นพระอัครสาวก พระเถระชื่อว่าวรุณเป็น
           
พระพุทธุปัฏฐากพระราธาเถรีและพระสุราธาเถรีเป็นพระอัครสาวิกา
           
ไม้โพธิพฤกษ์ของพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นเรียกกันว่าไม้อ้อยช้าง
           
ใหญ่ สภิยอุบาสกและอสมอุบาสก เป็นอัครอุปัฏฐาก รุจิอุบาสิกา
           
และนันทิมาราอุบาสิกา เป็นอัครอุปัฏฐายิกา พระมหามุนีพระกายสูง
           
๕๘ ศอก พระองค์ทรงมีพระรัศมีไม่มีอะไรเสมอแผ่ออกไปทั่วทิศ
           
รัศมีพระจันทร์ รัศมีพระอาทิตย์ แสงรัตนะ และแสงแก้วมณี
           
แม้ทุกอย่างนั้น ครั้นมาถึงรัศมีอันสูงสุดของพระชินเจ้า ย่อมหายไป
           
ครั้งนั้นมนุษย์มีอายุแสนปี พระองค์ทรงดำรงพระชนมายุอยู่เท่านั้น
           
ทรงช่วยให้หมู่ชนข้ามพ้นวัฏสงสารได้เป็นอันมาก พระองค์ทรงยัง
           
สัตว์ผู้มีอัธยาศัยแก่กล้าให้ตรัสรู้โดยไม่เหลือ ทรงพร่ำสอนชนที่
           
เหลืออื่นๆ แล้ว เสด็จนิพพานพร้อมด้วยพระสาวก พระองค์ทรง
           
ละทิ้งสังขารทั้งปวง เหมือนงูลอกคราบอันเก่า ดังต้นไม้สลัดใบเก่า
           
แล้วเสด็จนิพพานเหมือนไฟดับ ฉะนั้น พระพิชิตมารผู้ประเสริฐ
           
บรมศาสดาพระนามว่าปทุม เสด็จนิพพาน ณ ธรรมาราม พระธาตุ
           
ของพระองค์แผ่ไปกว้างในประเทศนั้นๆ ฉะนี้แล.
                       
จบปทุมพุทธวงศ์ที่ ๘
                       
นารทพุทธวงศ์ที่ ๙
                 
ว่าด้วยพระประวัติพระนารทพุทธเจ้า
       [
๑๐] สมัยต่อมาจากพระปทุมบรมศาสดา พระสัมพุทธเจ้าผู้อุดมกว่า
           
สรรพสัตว์ มีพระนามชื่อว่านารทะ เป็นบุคคลผู้ไม่มีใครเปรียบ
           
เสมอ พระองค์เป็นพระเชษฐโอรสที่ทรงโปรดปรานของพระเจ้า-
           
จักรพรรดิ ทรงสวมใส่อาภรณ์แก้วมณี เสด็จไปยังพระราชอุทยาน
           
ในพระราชอุทยานนั้น มีต้นไม้โตใหญ่แผ่กิ่งก้านสวยงาม พระองค์
           
เสด็จถึงท่ามกลางพระราชอุทยานนั้นแล้ว ประทับนั่งภายใต้ต้นอ้อย
           
ช้างใหญ่ ณ ที่นั้น เกิดพระญาณอันประเสริฐไม่มีที่สุด เปรียบด้วย
           
วิเชียร ทรงพิจารณาสังขารทั้งเปิดเผยทั้งปกปิดด้วยพระญาณนั้นทรง
           
ลอยกิเลสทั้งปวงโดยไม่เหลือ ณ ที่นั้น ทรงบรรลุพระโพธิญาณ
           
ทั้งสิ้น และพระพุทธญาณ ๑๔ ครั้ง ครั้นทรงบรรลุพระสัมโพธิญาณ
           
แล้ว ทรงประกาศธรรมจักร ธรรมาภิสมัยครั้งที่ ๑ ได้มีแก่สัตว์
           
แสนโกฏิ เมื่อพระมหามุนีทรงปราบนาคราชผู้มีตัวโตเท่าเรือโกลน
           
ใหญ่ ได้ทรงปาฏิหาริย์แสดงให้เห็นในมนุษยโลกพร้อมด้วยเทวโลก
           
ในการที่ทรงประกาศธรรมแก่เทวดาและมนุษย์ครั้งนั้น เทวดาและ
           
มนุษย์เก้าหมื่นโกฏิข้ามความสงสัยทั้งปวงได้ ในกาลเมื่อพระมหาวีร
           
เจ้าตรัสสอนพระราชโอรสของพระองค์ ธรรมาภิสมัยครั้งที่ ๓ ได้มี
           
แก่เทวดาและมนุษย์แปดหมื่นโกฏิ พระนารทบรมศาสดาทรงมีการ
           
ประชุมพระสาวก ๓ ครั้ง ครั้งที่ ๑ พระสาวกแสนโกฏิมาประชุมกัน
           
ครั้งที่ ๒ ในคราวเมื่อพระพุทธเจ้าทรงประกาศพระพุทธคุณพร้อม
           
ด้วยเหตุ พระสาวกผู้ปราศจากมลทินเก้าหมื่นโกฏิมาประชุม
           
ครั้งที่ ๓ ในคราวที่เวโรจในนาคราชถวายทานแด่พระศาสดา พระ-
           
สาวกชินบุตรแปดโกฏิมาประชุมกัน สมัยนั้นเราเป็นชฏิลผู้มีตบะ
           
อันรุ่งเรืองถึงที่สุดในอภิญญา ๕ เหมาะไปในอากาศได้ แม้ครั้งนั้น
           
เราก็ถวายข้าวและน้ำให้พระศาสดาเสวยพร้อมด้วยพระสงฆ์และ
           
บริวารชนจนเพียงพอ แล้วได้บูชาด้วยไม้จันทน์ แม้พระนารทบรม
           
ศาสดานายกของโลกพระองค์นั้น ก็ทรงพยากรณ์เราในครั้งนั้นว่า
           
ผู้นี้จักได้เป็นพระพุทธเจ้าในโลก ............... ข้ามแม่น้ำใหญ่
           
ฉะนั้น เราได้ฟังพระพุทธพยากรณ์แม้นั้นแล้ว มีใจยินดีอย่างยิ่ง
           
อธิษฐานวัตรเป็นอย่างเลิศเพื่อบำเพ็ญบารมี ๑๐ ประการ พระนคร
           
ชื่อว่าธัญญวดี พระมหากษัตริย์พระนามว่าสุเทพเป็นพระชนกของ
           
พระนารทบรมศาสดา พระนางอโนมาเป็นพระชนนี พระองค์ทรง
           
ครอบครองอาคารสถานอยู่เก้าพันปี ทรงมีปราสาทอันประเสริฐ ๓
           
ปราสาท ชื่อชิตะ วิชิตะ และอภิรามะ มีพระสนมนารีกำนัลใน
           
สี่หมื่นสามพันนาง ล้วนประดับประดาสวยงาม พระมเหสีพระนาม
           
ว่าวิชิตเสนา พระราชโอรสพระนามว่านันทุตตระ พระองค์ผู้เป็น
           
บุรุษอุดม ทรงเห็นนิมิต ๔ ประการ จึงเสด็จออกผนวช ทรงบำเพ็ญ
           
เพียรอยู่ ๗ วัน พระนารทมหาวีรเจ้าผู้เป็นนายกของโลก อันพรหม-
           
ทูลอาราธนาแล้ว ทรงประกาศพระธรรมจักร ณ ธนัญชอุทยาน
           
อันประเสริฐ ทรงมีพระภัททสาลเถระและพระชิตมิตตเถระเป็น
           
พระอัครสาวก พระเถระชื่อว่าวาเสฏฐะ เป็นพระพุทธุปัฏฐาก พระ
           
อุตตราเถรีและพระผัคคุนีเถรี เป็นพระอัครสาวิกา ไม้โพธิพฤกษ์
           
ของพระองค์เรียกกันว่าไม้อ้อยช้างใหญ่ อุคครินทอุบาสกและวสภ
           
อุบาสก เป็นอัครอุปัฏฐาก อินทวรีอุบาสิกาและคัณฑีอุบาสิกา เป็น
           
อัครอุปัฏฐายิกา พระมหามุนีมีพระองค์สูง ๘๘ ศอก มีพระรัศมีงามเช่น
           
กับทองคำล้ำค่าสว่างไสวไปในหมื่นโลกธาตุ พระองค์มีพระรัศมีซ่าน
           
ออกจากพระวรกายด้านละวา ซ่านออกไปทั่วทิศน้อยใหญ่ แผ่ไปไกล
           
โยชน์หนึ่งทั้งกลางวันกลางคืนทุกเมื่อ สมัยนั้น ในระยะโยชน์หนึ่ง
           
โดยรอบ ใครๆ ไม่ต้องตามประทีปโคมไฟ พระพุทธรัศมีส่องให้
           
สว่างจ้าในกาลนั้น มนุษย์ทั้งหลายมีอายุเก้าหมื่นปี พระองค์ทรง
           
ดำรงอยู่เพียงนั้น ทรงช่วยให้หมู่ชนข้ามพ้นวัฏฏสงสารได้มากมาย
           
พระศาสนาของพระองค์งามวิจิตรด้วยพระอรหันต์ทั้งหลาย เปรียบ
           
เหมือนท้องฟ้าย่อมงามวิจิตรด้วยหมู่ดาว ฉะนั้น พระนราสภ
           
พระองค์นั้นทรงสร้างสะพานไว้มั่นคง สำหรับให้คนที่เหลือดำเนิน
           
ข้ามกระแสสงสารแล้วเสด็จนิพพาน แม้พระพุทธเจ้าผู้ไม่มีใครเสมอ
           
เหมือนพระองค์นั้น และพระขีณาสพผู้มีเดชเทียบไม่ได้เหล่านั้น
           
ก็หายไปหมดสิ้นแล้ว สังขารทั้งปวงว่างเปล่าหนอ พระนารทชินเจ้า
           
ผู้ประเสริฐ เสด็จนิพพาน ณ สุทัสนนคร พระสถูปอันประเสริฐ
           
สูง ๔ โยชน์ก็ประดิษฐานอยู่ ณ นครนั้น ฉะนี้แล.
                      
จบนารทพุทธวงศ์ที่ ๙
                      
ปทุมุตรพุทธวงศ์ที่ ๑๐
                
ว่าด้วยพระประวัติพระปทุมุตรพุทธเจ้า
       [
๑๑] สมัยต่อมาจากพระนารทพุทธเจ้า พระสัมพุทธชินเจ้าผู้อุดมกว่า
           
สรรพสัตว์ พระนามว่าปทุมุตระ มีพระคุณนับไม่ถ้วน เปรียบด้วย
           
สาคร และในกัปที่พระพุทธเจ้าเสด็จอุบัติเป็นมัณฑกัป ประชุมชน
           
ผู้มีกุศลมากจึงได้เกิดในกัปนั้น ในพระธรรมเทศนาครั้งที่ ๑ ของ
           
พระผู้มีพระภาคปทุมุตระ ธรรมาภิสมัย ได้มีแก่เทวดาและมนุษย์
           
แสนโกฏิ ต่อจากนั้น เมื่อพระองค์ทรงยังฝนคือธรรม ให้ตก และ
           
ให้สัตว์ทั้งหลายอิ่มหนำสำราญ ธรรมาภิสมัย ครั้งที่ ๒ ได้มีแก่
           
สัตว์สามหมื่นเจ็ดพัน ในกาลเมื่อพระมหาวีรเจ้า เสด็จเข้าไปยัง
           
สำนักพระเจ้าอานันทพุทธบิดา ครั้นแล้วทรงตีกลองอมฤต เมื่อ
           
พระองค์ทรงตีกลองอมฤตเภรี ยังฝนคือธรรม ให้ตก ธรรมาภิสมัย
           
ครั้งที่ ๓ ได้มีแก่สัตว์ห้าโกฏิ พระพุทธเจ้าทรงประทานโอวาทให้รู้แจ้ง
           
ทรงยังสัตว์ทั้งปวงให้ข้าม ทรงฉลาดในเทศนา ทรงช่วยให้
           
หมู่ชนข้ามพ้นวัฏฏสงสารได้มากมาย พระปทุมุตรบรมศาสดาทรง
           
ประชุมพระสาวก ๓ ครั้ง ครั้งที่ ๑ พระสาวกแสนโกฏิมาประชุมกัน
           
ครั้งที่ ๒ ในกาลเมื่อพระพุทธเจ้า ผู้ไม่มีใครเสมอเหมือน ประทับอยู่
           
ณ เวภารบรรพต พระสาวกเก้าหมื่นโกฏิมาประชุมกัน ครั้งที่ ๓
           
เมื่อพระองค์เสด็จจาริกจากนิคมและรัฐ พระสาวกแปดหมื่นโกฏิมา
           
ประชุมกัน สมัยนั้น เราเป็นชฎิลชื่อว่ารัฏฐิกะ ได้ถวายผ้าพร้อม
           
ภัตตาหารแก่สงฆ์มีพระสัมพุทธเจ้าเป็นประมุข แม้พระพุทธเจ้า
           
พระองค์นั้นประทับนั่ง ณ ท่ามกลางสงฆ์ทรงพยากรณ์เราว่า ใน
           
แสนกัปแต่กัปนี้ไป ผู้นี้จักได้เป็นพระพุทธเจ้าในโลก .........
           
ข้ามแม่น้ำใหญ่ ฉะนั้น เราได้ฟังพระพุทธพยากรณ์แม้นั้นแล้ว
           
อธิษฐานวัตรให้ยิ่งขึ้น เราได้ทำความเพียรมั่นชั้นยอด ในการบำเพ็ญ
           
บารมี ๑๐ ประการ ในกาลนั้น เดียรถีย์ทั้งปวงถูกกำจัด พากัน
           
เสียใจโทมนัส ใครๆ ไม่บำรุงเดียรถีย์เหล่านั้น พวกเขาจึงพากัน
           
ออกไปจากแว่นแคว้น มาประชุมกันในที่นั้นทั้งหมดแล้วเข้าไปใน
           
สำนักพระพุทธเจ้า กราบทูลว่า ข้าแต่พระมหาวีรเจ้า ขอพระองค์
           
ผู้มีจักษุ ผู้ทรงพระกรุณาอนุเคราะห์ แสวงหาประโยชน์แก่สัตว์
           
ทั้งปวงได้ทรงเป็นที่พึ่งที่ระลึกเถิด พระองค์ทรงยังเดียรถีย์ที่มาประชุม
           
กันทั้งปวง ให้ตั้งอยู่ในเบญจศีล พระศาสนาของพระองค์ไม่อากูล
           
ว่างจากพวกเดียรถีย์อย่างนี้ งามวิจิตรด้วยพระอรหันต์ทั้งหลาย ซึ่ง
           
เป็นผู้มีความชำนาญคงที่ พระนครชื่อว่าหงสวดี พระบรมกษัตริย์
           
พระนามว่าอานนท์ เป็นพระชนกของพระปทุมุตรศาสดา พระนาง-
           
สุชาดา เป็นพระพุทธชนนี พระองค์ทรงครอบครองอาคารสถานอยู่
           
เก้าหมื่นปี ทรงมีปราสาทอันประเสริฐ ๓ ปราสาท ชื่อนารี พาหนะ
           
และยศวดี มีพระสนมนารีกำนัลในสี่หมื่นสามพันนาง ล้วนประดับ
           
ประดาสวยงาม พระอัครมเหสีพระนามว่าวสุลทัตตา พระราชโอรส
           
พระนามว่าอุตระ พระองค์ทรงเห็นนิมิต ๔ ประการ จึงเสด็จออก
           
ผนวชพร้อมด้วยปราสาท ทรงบำเพ็ญเพียรอยู่ ๗ วัน พระปทุมุตร-
           
บรมศาสดามหาวีรเจ้า อันพรหมทูลอาราธนาแล้ว ทรงประกาศ
           
พระธรรมจักร ณ มิถิลาราชอุทยานอันประเสริฐ ทรงมีพระเทวิลเถระ
           
และพระสุชาตเถระ เป็นพระอัครสาวก พระเถระชื่อว่าสุมนะ เป็น
           
พุทธอุปัฏฐาก พระอมิตาเถรีและพระอสมาเถรี เป็นพระอัครสาวิกา
           
ไม้โพธิพฤกษ์ของพระองค์เรียกกันว่าไม้สน อมิตอุบาสกและติสส-
           
อุบาสก เป็นอัครอุปัฏฐาก อุหัตถาอุบาสิกาและสุจิตราอุบาสิกา
           
เป็นอัครอุปัฏฐายิกา พระมหามุนีทรงมีพระองค์สูง ๕๘ ศอก มี
           
พระรัศมีงามเช่นกับทองคำล้ำค่า มีพระลักษณะประเสริฐ ๓๒ ประการ
           
พระรัศมีของพระองค์แผ่ไป ๑๒ โยชน์ โดยรอบกำแพง บานประตู
           
ฝาเรือน ต้นไม้ และภูเขาสูงเทียมฟ้า กำบังไม่ได้ ครั้งนั้น มนุษย์
           
ทั้งหลายมีอายุแสนปี พระองค์ดำรงพระชนมายุอยู่เท่านั้น ทรงตัด
           
ความสงสัยทั้งปวง ช่วยหมู่ชนให้ข้ามพ้นวัฏฏสงสารได้มากมาย ทรง
           
รุ่งเรืองดังกองไฟแล้วเสด็จนิพพาน พร้อมด้วยพระสาวก พระ-
           
ปทุมุตรพุทธชินเจ้า เสด็จนิพพาน ณ นันทาราม พระสถูปอัน
           
ประเสริฐของพระองค์ สูง ๑๒ โยชน์ ประดิษฐานอยู่ในนันทารามนั้น
           
ฉะนี้แล.
                     
จบ ปทุมุตรพุทธวงศ์ที่ ๑๐
                       
สุเมธพุทธวงศ์ที่ ๑๑
                 
ว่าด้วยพระประวัติพระสุเมธพุทธเจ้า
       [
๑๒] ในสมัยต่อมาจากพระพุทธเจ้าพระนามว่าปทุมุตระ พระพิชิตมาร
           
พระนามว่าสุเมธ ผู้เป็นนายกของโลก ยากที่จะเทียมถึง ทรงมีเดช
           
รุ่งเรือง อุดมกว่าสัตวโลกทั้งปวง ทรงมีพระเนตรแจ่มใส พระพักตร์
           
แช่มชื่น พระองค์สูงใหญ่ ตรง มีสง่า ทรงแสวงหาประโยชน์เพื่อ
           
สรรพสัตว์ ทรงเปลื้องสัตว์ให้พ้นจากเครื่องผูกเป็นอันมาก ในกาล
           
เมื่อพระพุทธเจ้าทรงบรรลุพระโพธิญาณอันอุดมบริสุทธิ์แล้ว ทรง
           
ประกาศธรรมจักร ณ สุทัสนนคร แม้ในกาลที่พระองค์ทรงแสดง
           
พระธรรมเทศนา มีธรรมาภิสมัย ๓ ครั้ง ครั้งที่ ๑ ธรรมาภิสมัยได้
           
มีแก่สัตว์แสนโกฏิ ครั้งที่ ๒ ในกาลเมื่อพระพิชิตมารทรงทรมาน
           
ยักษ์ชื่อว่า กุมภกรรณ์ ธรรมาภิสมัยได้มีแก่สัตว์เก้าหมื่นโกฏิ ครั้งที่ ๓
           
ในกาลเมื่อพระองค์ผู้ทรงยศนับไม่ได้ ทรงประกาศจตุราริยสัจ
           
ธรรมาภิสมัยได้มีแก่สัตว์แปดหมื่นโกฏิ พระสุเมธศาสดาทรงมีการ
           
ประชุมพระภิกษุขีณาสพ ผู้ปราศจากมลทิน มีจิตสงบระงับ ผู้คงที่
           
๓ ครั้ง ในกาลเมื่อพระพิชิตมารเสด็จเข้าไปในสุทัสนนคร
           
พระภิกษุขีณาสพมาประชุมกันร้อยโกฏิ ในกาลเมื่อภิกษุทั้งหลาย
           
กรานกฐิน ณ เทวกูฏ พระภิกษุขีณาสพมาประชุมกันครั้งที่ ๒ เก้าสิบ
           
โกฏิ ในกาลเมื่อพระทศพลเสด็จจาริกไปอีกครั้งหนึ่ง พระภิกษุ-
           
ขีณาสพมาประชุมกันครั้งที่ ๓ แปดสิบโกฏิ สมัยนั้น เราเป็นมาณพ
           
มีนามว่าอุตระ มีทรัพย์ที่เก็บสะสมไว้ในเรือนแปดสิบโกฏิ เราได้
           
ถวายทรัพย์แก่พระศาสดา พร้อมด้วยพระสาวกหมดสิ้น แล้วถึง
           
พระองค์เป็นสรณะ ชอบใจ (ออก) บรรพชา แม้พระพุทธเจ้า
           
พระองค์นั้น เมื่อทรงทำอนุโมทนา ก็ทรงพยากรณ์เราในกาลนั้นว่า
           
ในสามหมื่นกัป ผู้นี้จักได้เป็นพระพุทธเจ้าในโลก .........
           
ข้ามแม่น้ำใหญ่ ฉะนั้น เราได้ฟังพระพุทธพยากรณ์แม้นั้นแล้ว
           
ยังจิตให้เลื่อมใสอย่างยิ่ง ได้อธิษฐานวัตรในการบำเพ็ญบารมี ๑๐
           
ประการ ให้ยิ่งขึ้นไป เราเล่าเรียนพระสูตรและพระวินัย อันเป็น
           
นวังคสัตถุศาสน์ทั้งปวงแล้ว ทำพระศาสนาของพระพิชิตมารให้งาม
           
เราเป็นผู้ไม่ประมาทในคำสั่งสอนนั้น ทั้งในเวลานั่งยืนและเดิน ถึง
           
ความสำเร็จในอภิญญาแล้ว ได้ไปยังพรหมโลก พระนครชื่อว่า
           
สุทัสนะ พระบรมกษัตริย์พระนามว่าสุทัตตะ เป็นพระชนกของ
           
พระสุเมธศาสดา พระนางสุทัตตาเป็นพระชนนี พระองค์ทรงครอบ
           
ครองอาคารสถานอยู่เก้าหมื่นปี ทรงมีปราสาทอันประเสริฐ ๓ ปราสาท
           
ชื่อว่าสุจันทะ กัญจนะ และสิริวัฑฒะ มีพระสนมนารีกำนัลในสี่หมื่น
           
แปดพันนาง ล้วนประดับประดาสวยงาม พระมเหสีพระนามว่าสุมนา
           
พระราชโอรสพระนามว่าปุนัพพะ พระองค์ทรงเห็นนิมิต ๔ ประการ
           
จึงเสด็จออกผนวชด้วยคชสารอันเป็นยานพระที่นั่งต้น ทรงบำเพ็ญ
           
เพียรอยู่ ๘ เดือนเต็ม พระสุเมธมหาวีรชินเจ้าผู้เป็นนายกของโลก
           
อันพรหมทูลอาราธนาแล้ว ทรงประกาศธรรมจักร ณ สุทัสนอุทยาน
           
อันประเสริฐ ทรงมีพระสรณเถระและสรรพกามเถระ เป็นพระอัคร-
           
สาวก พระเถระชื่อว่าสาคระ เป็นพุทธอุปัฏฐาก พระรามาเถรีและ
           
พระสุรามาเถรี เป็นพระอัครสาวิกา ไม้โพธิพฤกษ์ของพระองค์
           
เรียกชื่อว่าต้นสะเดา อุรุเวลาอุบาสกและยสวาอุบาสก เป็นอัคร-
           
อุปัฏฐาก ยสาอุบาสิกาและสิริวาอุบาสิกา เป็นอัครอุปัฏฐายิกา
           
พระมหามุนีทรงมีพระองค์สูง ๘๘ ศอก มีพระรัศมีสว่างไสวไปทั่วทิศ
           
เปรียบดังพระจันทร์ในหมู่ดาว ฉะนั้น พระรัศมีของพระองค์แผ่ไป
           
ตลอดโยชน์หนึ่งโดยรอบ เหมือนแก้วมณีของพระเจ้าจักรพรรดิ
           
แผ่ไปโยชน์หนึ่ง ฉะนั้น ในกาลนั้น มนุษย์ทั้งหลายมีอายุเก้าหมื่นปี
           
พระองค์ทรงดำรงพระชนมายุอยู่เท่านั้น ทรงช่วยให้หมู่ชนข้ามพ้น
           
วัฏฏสงสารได้มากมาย พระศาสนาของพระองค์ คับคั่งไปด้วยพระ
           
อรหันต์ทั้งหลาย ล้วนแต่ผู้บรรลุไตรวิชชา ฉฬภิญญา และพลธรรม
           
คงที่ แม้ท่านทั้งหมดนั้น ล้วนมียศศักดิ์มากนับไม่ได้ หลุดพ้นแล้ว
           
ไม่มีอุปธิ แสดงแสงสว่างแห่งญาณแล้วนิพพาน พระพุทธสุเมธ
           
ชินเจ้าผู้ประเสริฐ เสด็จนิพพาน ณ เมธาราม พระธาตุของพระองค์
           
แผ่กระจัดกระจายไปในประเทศนั้นๆ ฉะนี้แล.
                      
จบสุเมธพุทธวงศ์ที่ ๑๑
                       
สุชาตพุทธวงศ์ที่ ๑๒
                 
ว่าด้วยพระประวัติพระสุชาตพุทธเจ้า
       [
๑๓] ในมัณฑกัปนั้นแล มีพระพุทธเจ้าผู้เป็นนายกของโลกพระนามว่า
           
สุชาตะ มีพระหนุดังคางราชสีห์ พระองค์งาม มีพระคุณประมาณ
           
ไม่ได้ ยากที่จะเทียมถึง พระองค์ทรงงามรุ่งเรืองด้วยพระสิริทุกเมื่อ
           
ดังพระจันทร์หมดจดปราศจากมลทิน เหมือนพระอาทิตย์ส่องแสง
           
พระสัมพุทธเจ้าทรงบรรลุพระโพธิญาณ อันอุดมบริสุทธิ์แล้ว ทรง
           
ประกาศพระธรรมจักร ณ สุมังคลนคร เมื่อพระสุชาตบรมศาสดา
           
ทรงแสดงธรรมอันประเสริฐ ในพระธรรมเทศนาครั้งที่ ๑ สัตว์ได้
           
ตรัสรู้แปดสิบโกฏิ ในกาลเมื่อพระองค์เสด็จเข้าจำพรรษา ณ
           
เทวโลก ธรรมาภิสมัยครั้งที่ ๒ ได้มีแก่ทวยเทพสามโกฏิเจ็ดแสน
           
ในกาลเมื่อพระองค์เสด็จเข้าไปยังสำนักพระพุทธบิดา ธรรมาภิสมัย
           
ครั้งที่ ๓ ได้มีแก่สัตว์หกโกฏิ พระสุชาตบรมศาสดา ทรงมีการ
           
ประชุมพระภิกษุขีณาสพผู้ปราศจากมลทิน มีจิตสงบระงับ ผู้คงที่
           
๓ ครั้ง ครั้งที่ ๑ พระภิกษุเหล่านั้นล้วนแต่บรรลุอภิญญาและพลธรรม
           
ผู้ไม่ต้องไปในภพน้อยภพใหญ่ มาประชุมกันหกโกฏิ ครั้งที่ ๒
           
ในกาลนั้น พระพิชิตมารเสด็จลงจากเทวโลก พระภิกษุขีณาสพมา
           
ประชุมกันห้าโกฏิ ครั้งที่ ๓ พระอัครสาวกของพระสัมพุทธเจ้า
           
ผู้ประเสริฐกว่านรชนเข้าเฝ้าพร้อมด้วยพระขีณาสพสี่แสน สมัยนั้น
           
เราเป็นพระเจ้าจักรพรรดิผู้มีพลนิกายมาก เป็นใหญ่ในทวีปทั้งสี่ เหาะ
           
ไปในอากาศ เราถวายราชสมบัติใหญ่ในทวีปทั้งสี่ และรัตนะ ๗
           
ประการ อันประเสริฐในพระพุทธเจ้าแล้วออกบวชในสำนักของ
           
พระองค์ พวกคนรักษาอารามในชนบท นำเอาบิณฑบาต เสนาสนะ
           
และคิลานปัจจัย มาถวายแก่ภิกษุสงฆ์เนืองๆ แม้พระพุทธเจ้าผู้เป็น
           
ใหญ่ในหมื่นโลกธาตุพระองค์นั้น ก็ทรงพยากรณ์เราในกาลนั้นว่า
           
ในสามหมื่นกัป ผู้นี้จักได้เป็นพระพุทธเจ้าในโลก ..........
           
ข้ามแม่น้ำใหญ่ ฉะนั้น เราได้ฟังพระพุทธพยากรณ์นั้นแล้ว ยัง
           
ความยินดีให้เกิดอย่างยิ่ง ได้อธิษฐานวัตรอย่างยอดเยี่ยม ในการ
           
บำเพ็ญบารมี ๑๐ ประการ เราเล่าเรียนพระสูตรและพระวินัย
           
อันเป็นนวังคสัตถุศาสน์ทั้งปวงแล้ว ทำพระศาสนาของพระพิชิต
           
มารให้งาม เราเป็นผู้ไม่ประมาทในคำสั่งสอนนั้น เจริญพรหม
           
วิหารภาวนา ถึงความสำเร็จในอภิญญาแล้ว ได้ไปยังพรหมโลก
           
พระนครชื่อว่าสุมังคละ พระบรมกษัตริย์พระนามว่าอุคคตะ เป็น
           
พระพุทธบิดา พระนางประภาวดี เป็นพระพุทธมารดา พระองค์
           
ทรงครอบครองอาคารสถานอยู่เก้าพันปี ทรงมีปราสาทอันประเสริฐ ๓
           
ปราสาท ชื่อสิริ อุปสิริ และจันทะ ทรงมีพระสนมนารีกำนัลใน
           
สองหมื่นสามพันนาง ล้วนประดับประดาสวยงาม พระมเหสีพระ
           
นามว่าสิรินันทา พระราชโอรสพระนามว่าอุปเสนะ พระพิชิตมาร
           
ทรงเห็นนิมิต ๔ ประการ จึงเสด็จออกผนวชด้วยอัสวราชยานพระที่
           
นั่งต้น ทรงบำเพ็ญเพียรอยู่ ๙ เดือนเต็ม พระสุชาตมหาวีรเจ้าผู้
           
เป็นนายกของโลก อันพรหมทูลอาราธนาแล้ว ทรงประกาศ
           
พระธรรมจักร ณ สุมังคลอุทยานอันประเสริฐ ทรงมีพระสุทัสนเถระ
           
และพระสุเทวเถระ เป็นพระอัครสาวก พระเถระชื่อว่านารทะ เป็น
           
พุทธอุปัฏฐาก พระนาคาเถรีและพระนาคสมานาเถรี เป็นพระ
           
อัครสาวิกา ไม้โพธิพฤกษ์ของพระองค์เรียกว่าไม้ไผ่ใหญ่ และ
           
โพธิพฤกษ์นั้นลำต้นแข็ง ไม่เป็นโพรง มีใบแน่นหนา ลำต้นตรงใหญ่
           
น่าดูน่าชม น่ารื่นรมย์ใจ ต้นหนึ่งเจริญงอกงามแล้วแตกกิ่งสาขา
           
ออกไป ไม้โพธิพฤกษ์ย่อมงามเหมือนดังหางนกยูงที่ผูกเป็นกำ
           
ฉะนั้น ไม้ไผ่นั้นไม่มีหนาม แม้ช่องใหญ่ก็ไม่มี มีกิ่งชิดไม่ห่าง
           
เงาทึบ น่ารื่นรมย์ใจ สุทัตตอุบาสกและจิตตอุบาสก เป็นอัคร-
           
อุปัฏฐาก สุภัททาอุบาสิกาและปทุมาอุบาสิกา เป็นอัครอุปัฏฐายิกา
           
พระพิชิตมารพระองค์นั้นมีพระองค์สูง ๕๐ ศอก ทรงประกอบด้วย
           
พระอาการอันประเสริฐและพระคุณทุกอย่าง ทรงมีพระรัศมีหาเสมอ
           
เหมือนมิได้ ซ่านออกโดยรอบ ไม่มีประมาณ ไม่มีเทียบเคียง
           
หาอุปมาเปรียบมิได้ ครั้งนั้น มนุษย์ทั้งหลายมีอายุเก้าหมื่นปี พระองค์
           
ทรงดำรงพระชนมายุอยู่เท่านั้น ทรงช่วยให้หมู่ชนข้ามพ้นวัฏฏสงสาร
           
ได้มากมาย ในกาลนั้น พระศาสนางามวิจิตรด้วยพระอรหันต์
           
ทั้งหลาย ดังคลื่นในสมุทสาคร เหมือนดาวในท้องฟ้า ฉะนั้น
            (
พระศาสนาของพระพิชิตมารคับคั่งด้วยพระอรหันต์ทั้งหลาย
           
ผู้บรรลุไตรวิชชา ฉฬภิญญาและพลธรรม ผู้คงที่) พระพุทธเจ้า
           
พระองค์นั้น หาผู้เสมอเหมือนมิได้และพระคุณเหล่านั้นหาเทียบ
           
เคียงมิได้ หายไปหมดสิ้นแล้ว สังขารทั้งปวงว่างเปล่าหนอ
           
พระพุทธสุชาตชินเจ้าผู้ประเสริฐ เสด็จนิพพาน ณ เสลาราม
           
พระสถูปของพระองค์ สูง ๓ คาวุต ประดิษฐานอยู่ในเสลารามนั้น
           
ฉะนี้แล.
                      
จบสุชาตพุทธวงศ์ที่ ๑๒
                      
ปิยทัสสีพุทธวงศ์ที่ ๑๓
                
ว่าด้วยพระประวัติพระปิยทัสสีพุทธเจ้า
       [
๑๔] สมัยต่อมาจากพระพุทธเจ้า พระนามว่าสุชาต พระสยัมภู พระนาม
           
ว่าปิยทัสสี ผู้เป็นนายกของโลก ยากที่จะเทียมทันหา ผู้เสมอเหมือน
           
มิได้ มียศมาก แม้พระพุทธเจ้าผู้ทรงยศนับมิได้พระองค์นั้น ทรง
           
รุ่งเรืองดังพระอาทิตย์ ทรงกำจัดความมืดทั้งปวงแล้ว ทรงประกาศ
           
พระธรรมจักร แม้พระองค์ก็ทรงสั่งสอนให้สัตว์ได้ตรัสรู้ธรรม ๓
           
ครั้ง ครั้งที่ ๑ ธรรมาภิสมัยได้มีแก่สัตว์แสนโกฏิ ท้าวสุทัสนเทว-
           
ราชมากราบทูลถึงมิจฉาทิฏฐิ เมื่อพระศาสดาจะทรงบรรเทาทิฏฐิของ
           
ท้าวเทวราชนั้น ทรงแสดงธรรม ครั้งนั้น มหาชนมาประชุมสันนิบาต
           
กันมากมาย ธรรมาภิสมัยครั้งที่ ๒ ได้มีแก่สัตว์เก้าพันโกฏิ ในคราว
           
ที่พระศาสดาผู้เป็นสารถีฝึกนรชน ทรงปราบช้างโทนมุข ธรรมาภิ-
           
สมัยครั้งที่ ๓ ได้มีแก่สัตว์แปดหมื่นโกฏิ แม้พระปิยทัสสีพุทธเจ้า
           
พระองค์นั้น ก็มีการประชุมพระภิกษุขีณาสพ ๓ ครั้ง ครั้งที่ ๑
           
พระภิกษุขีณาสพมาประชุมกันแสนโกฏิ ครั้งที่ ๒ ต่อแต่นั้น พระ-
           
ภิกษุขีณาสพมาประชุมกันเก้าสิบโกฏิ ครั้งที่ ๓ พระภิกษุขีณาสพ
           
มาประชุมกันแปดสิบโกฏิ สมัยนั้น เราเป็นมาณพชื่อว่า กัสสปะ
           
เป็นผู้เล่าเรียน ทรงจำมนต์ รู้จบไตรเพท เราได้ฟังธรรมของพระองค์
           
แล้ว เกิดความเลื่อมใส ได้บริจาคทรัพย์แสนโกฏิสร้างสังฆาราม
           
ถวาย ครั้นถวายอารามแก่พระองค์แล้ว มีใจยินดีโสมนัส ได้สมาทาน
           
สรณะและเบญจศีลกระทำให้มั่น แม้พระพุทธเจ้าพระองค์นั้น ก็
           
ประทับนั่งท่ามกลางสงฆ์ ทรงพยากรณ์เราว่า ในพันแปดร้อยกัป
           
ผู้นี้จักได้เป็นพระพุทธเจ้าในโลก .......... ข้ามแม่น้ำใหญ่
           
ฉะนั้น เราได้ฟังพระพุทธพยากรณ์แม้นั้นแล้ว ก็ยังจิตให้เลื่อมใส
           
อย่างยิ่ง ได้อธิษฐานวัตรในการบำเพ็ญบารมี ๑๐ ประการให้ยิ่งขึ้น
           
พระนครชื่อว่าสุธัญญะ พระบรมกษัตริย์ พระนามว่าสุทัตตะ เป็น
           
พระชนกของพระปิยทัสสีศาสดา พระนางสุจันทา เป็นพระชนนี
           
พระองค์ทรงครอบครองอาคารสถานอยู่เก้าพันปี ทรงมีปราสาทอัน
           
ประเสริฐ ๓ ปราสาท ชื่อสุนิมมิละ วิมละ และคิริคุหา ทรงมีพระ-
           
สนมนารีกำนัลในสามหมื่นสามพันนาง ล้วนประดับประดาสวยงาม
           
พระมเหสีพระนามว่าวิมลา พระราชโอรสพระนามว่ากัญจนาเวฬะ
           
พระองค์ทรงเห็นนิมิต ๔ ประการ จึงเสด็จออกผนวชด้วยราชรถทรง
           
ทรงบำเพ็ญเพียรอยู่ ๖ เดือนเต็ม พระปิยทัสสีมหามุนีมหาวีรเจ้า
           
อันพรหมทูลอาราธนาแล้ว ทรงประกาศพระธรรมจักร ณ อุสภ-
           
อุทยานอันรื่นรมย์ใจ ทรงมีพระปาลิตเถระและพระสรรพทัสสีเถระ
           
เป็นพระอัครสาวก พระเถระชื่อว่าโสภิตะ เป็นพุทธอุปัฏฐาก
           
พระสุชาตาเถรีและพระธรรมทินนาเถรี เป็นพระอัครสาวิกา ไม้โพธิ
           
พฤกษ์ของพระองค์เรียกชื่อว่าต้นกุ่ม สันทกอุบาสกและธรรมิก
           
อุบาสกเป็นอัครอุปัฏฐาก วิสาขาอุบาสิกาและธรรมทินนาอุบาสิกา
           
เป็นอัครอุปัฏฐายิกา พระพุทธเจ้าผู้ทรงยศนับมิได้พระองค์นั้น ทรงมี
           
พระลักษณะอันประเสริฐ ๓๒ ประการ สูง ๘๐ ศอก ปรากฏดัง
           
พญารัง รัศมีของพระบรมศาสดาซึ่งหาผู้เสมอมิได้พระองค์นั้น
           
แสงไฟ รัศมีพระจันทร์และพระอาทิตย์ ไม่เปรียบปานเลย แม้
           
พระพุทธเจ้าผู้มีพระจักษุพระองค์นั้น ทรงดำรงอยู่ในโลกเก้าหมื่นปี
           
เท่ากับอายุของมนุษย์ทั้งหลาย แม้พระพุทธเจ้าซึ่งหาผู้เสมอเหมือน
           
มิได้พระองค์นั้น แม้คู่พระอัครสาวกซึ่งไม่มีผู้เทียบเคียงเหล่านั้น
           
หายไปหมดสิ้นแล้ว สังขารทั้งปวงว่างเปล่าหนอ พระปิยทัสสีมุนี
           
ผู้ประเสริฐ เสด็จนิพพาน ณ อัสสัตถาราม พระสถูปของพระองค์
           
สูง ๓ โยชน์ ประดิษฐาน ณ อัสสัตถารามนั้น ฉะนี้แล.
                     
จบปิยทัสสีพุทธวงศ์ที่ ๑๓
                      
อัตถทัสสีพุทธวงศ์ที่ ๑๔
                
ว่าด้วยพระประวัติพระอัตถทัสสีพุทธเจ้า
       [
๑๕] ในมัณฑกัปนั้นแล มีพระพุทธเจ้าผู้มียศมากนามว่าอัตถทัสสี ทรง
           
กำจัดความมืดใหญ่ออกแล้ว ทรงบรรลุพระสัมโพธิญาณอันสูงสุด
           
พรหมทูลอาราธนาแล้ว ทรงประกาศพระธรรมจักร ทรงยังหมื่นโลก
           
ธาตุพร้อมทั้งเทวโลก ให้ดื่มน้ำอมฤตธรรมจนอิ่มหนำสำราญ แม้
           
พระองค์ผู้เป็นนาถะของโลกนั้น ก็ทรงมีการแสดงธรรมให้สัตว์ได้
           
ตรัสรู้ ๓ ครั้ง ธรรมาภิสมัยครั้งที่ ๑ ได้มีแก่สัตว์แสนโกฏิ ในกาล
           
เมื่อพระพุทธอัตถทัสสีเสด็จจาริกไปในเทวโลก ธรรมาภิสมัยครั้งที่ ๒
           
ได้มีแก่ทวยเทพแสนโกฏิอีกครั้งหนึ่ง เมื่อพระพุทธเจ้าทรง
           
แสดงธรรมในสำนักพระพุทธบิดา ธรรมาภิสมัยครั้งที่ ๓ ได้มีแก่
           
สัตว์แสนโกฏิ และพระบรมศาสดาพระองค์นั้น ก็ทรงมีการประชุม
           
พระภิกษุขีณาสพ ผู้ปราศจากมลทิน มีจิตสงบระงับ ผู้คงที่ ผู้หลุดพ้น
           
เพราะไม่ถือมั่น ผู้แสวงหาประโยชน์ใหญ่ ๓ ครั้ง ครั้งที่ ๑ พระภิกษุ
           
ขีณาสพมาประชุมกันเก้าหมื่นแปดพัน ครั้งที่ ๒ พระภิกษุขีณาสพ
           
มาประชุมกันแปดหมื่นแปดพัน ครั้งที่ ๓ พระภิกษุขีณาสพมาประชุม
           
กันเจ็ดหมื่นแปดพัน สมัยนั้น เราเป็นชฎิลผู้มีตบะอันรุ่งเรือง มีนาม
           
ชื่อว่าสุสิมะ ประชาชนยกย่องว่าเป็นผู้ประเสริฐสุดในแผ่นดิน เรา
           
นำดอกมณฑารพ ดอกประทุม ดอกปาริชาตอันเป็นทิพย์ จากเทวโลก
           
มาบูชาพระสัมพุทธเจ้า แม้พระพุทธอัตถทัสสีมหามุนีพระองค์นั้นก็
           
ทรงพยากรณ์เราว่า ในพันแปดร้อยกัป ผู้นี้จักได้เป็นพระพุทธเจ้าใน
           
โลก ................. ข้ามแม่น้ำใหญ่ ฉะนั้น เราได้ฟังพระพุทธ
           
พยากรณ์แม้นั้นแล้ว ก็มีใจยินดีโสมนัส ได้อธิษฐานวัตรในการ
           
บำเพ็ญบารมี ๑๐ ประการให้ยิ่งขึ้น พระนครชื่อว่าโสภณะ พระบรม
           
กษัตริย์พระนามว่าสาคระ เป็นพระชนกของพระอัตถทัสสีศาสดา
           
พระนางสุทัสนา เป็นพระชนนี พระองค์ทรงครอบครองอาคารสถาน
           
อยู่หมื่นปี ทรงมีปราสาทอันประเสริฐ ๓ ปราสาท ชื่ออมรคิ สุรคิ
           
และคิริพาหนะ ทรงมีพระสนมนารีกำนัลในสามหมื่นสามพันนาง
           
ล้วนประดับประดาสวยงาม พระมเหสีพระนามว่าวิสาขาพระราช-
           
โอรสพระนามว่าเสละ พระพิชิตมารทรงเห็นนิมิต ๔ ประการจึงเสด็จ
           
ออกผนวชด้วยอัสวราชยาน ทรงบำเพ็ญเพียรอยู่ ๘ เดือนเต็ม
           
พระนราสภอัตถทัสสีมหาวีรเจ้า ผู้มีพระยศใหญ่ อันพรหมทูลอาราธนา
           
แล้ว ทรงประกาศพระธรรมจักร ณ อโนมอุทยานทรงมีพระสันต
           
เถระและพระอุปสันตเถระ เป็นพระอัครสาวก พระเถระชื่อว่าอภัย
           
เป็นพระพุทธอุปัฏฐาก พระธรรมาเถรีและสุธรรมาเถรี เป็นพระอัคร-
           
สาวิกา ไม้โพธิพฤกษ์ของพระองค์เรียกชื่อว่าจำปา นกุลอุบาสกและ
           
นิสภอุบาสกเป็นอัครอุปัฏฐาก มกิลาอุบาสิกาและสุนันทาอุบาสิกา
           
เป็นอัครอุปัฏฐายิกา พระพุทธเจ้าซึ่งไม่มีผู้เสมอเหมือนพระองค์นั้น
           
สูง ๘๐ ศอก ทรงสง่างามดังพญารัง เหมือนพระจันทร์เต็มดวง มี
           
พระรัศมีอันประเสริฐหลายร้อยเป็นปกติ แผ่ไปโยชน์หนึ่ง
           
ทั้งเบื้องบนเบื้องต่ำ ทั้งทิศน้อยทิศใหญ่ทุกเมื่อ แม้พระพุทธมุนีผู้
           
ประเสริฐกว่านรชน สูงสุดกว่าสรรพสัตว์ ผู้มีจักษุ พระองค์นั้น
           
ทรงดำรงอยู่ในโลกแสนปี แม้พระองค์ทรงแสดงพระรัศมีอันไม่มี
           
สิ่งอื่นเทียมทันให้สว่างไสว ไพโรจน์ในโลกพร้อมทั้งเทวโลกแล้ว
           
ก็เสด็จนิพพานดับไป ดังไฟสิ้นเชื้อ ฉะนั้น พระอัตถทัสสีชินเจ้า
           
ผู้ประเสริฐ เสด็จนิพพาน ณ อโนมาราม พระธาตุเรี่ยรายแผ่กว้าง
           
ไปในประเทศนั้นๆ ฉะนี้แล.
                     
จบอัตถทัสสีพุทธวงศ์ที่ ๑๔
                     
ธรรมทัสสีพุทธวงศ์ที่ ๑๕
               
ว่าด้วยพระประวัติพระธรรมทัสสีพุทธเจ้า
       [
๑๖] ในมัณฑกัปนั้นแล มีพระพุทธเจ้าผู้มียศมากพระนามว่าธรรมทัสสี
           
ทรงกำจัดความมืดตื้อแล้ว ทรงรุ่งเรืองอย่างยิ่ง ในโลกพร้อมทั้งเทว
           
โลก แม้ในความที่พระองค์ผู้มีเดชไม่มีเทียบนั้นทรงประกาศ
           
พระธรรมจักร ธรรมาภิสมัยครั้งที่ ๑ ได้มีแก่สัตว์แสนโกฏิ ในคราว
           
เมื่อพระพุทธธรรมทัสสีทรงแนะนำสญชัยฤาษี ธรรมาภิสมัยครั้งที่ ๒
           
ได้มีแก่สัตว์เก้าสิบโกฏิ ในคราวเมื่อท้าวสักกะพร้อมด้วยบริษัท
           
เสด็จเข้าเฝ้าพระบรมศาสดา ธรรมาภิสมัยครั้งที่ ๓ ได้มีแก่สัตว์แปด
           
สิบโกฏิ แม้พระบรมศาสดาพระองค์นั้น ก็ทรงมีการประชุมพระภิกษุ
           
ขีณาสพผู้ปราศจากมลทิน ผู้มีจิตสงบ คงที่ ๓ ครั้ง ครั้งที่ ๑ เมื่อ
           
พระพุทธธรรมทัสสีทรงจำพรรษา ณ สมณนคร พระภิกษุขีณาสพ
           
มาประชุมกันพันโกฏิ ครั้งที่ ๒ เมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จจากเทวโลก
           
มายังมนุษยโลก แม้ครั้งนั้น พระภิกษุขีณาสพมาประชุมกันร้อยโกฏิ
           
ครั้งที่ ๓ เมื่อพระพุทธเจ้าทรงประกาศธุดงคคุณ ครั้งนั้นพระภิกษุ-
           
ขีณาสพมาประชุมกันแปดสิบโกฏิ สมัยนั้น เราเป็นท้าวปุรินททสักก-
           
เทวราช ได้บูชาพระพุทธเจ้าพระองค์นั้นด้วยของหอม มาลาและ
           
ดนตรีทิพย์ แม้พระพุทธเจ้าพระองค์นั้นประทับนั่งท่ามกลางสงฆ์ ก็
           
ทรงพยากรณ์เราในกาลนั้นว่า ในพันร้อยแปดกัป ผู้นี้จักได้เป็น
           
พระพุทธเจ้า ...... ข้ามแม่น้ำใหญ่ ฉะนั้น เราได้ฟังพระพุทธพยากรณ์
           
แม้นั้นแล้ว ก็ยังจิตให้เลื่อมใสอย่างยิ่ง ได้อธิษฐานวัตรในการบำเพ็ญ
           
บารมี ๑๐ ประการยิ่งขึ้นไป พระนครชื่อว่าสรณะ พระบรม-
           
กษัตริย์พระนามว่าสรณะ เป็นพระชนกของพระธรรมทัสสีศาสดา
           
พระนางสุนันทา เป็นพระชนนี พระองค์ทรงครอบครองอาคาร
           
สถานอยู่แปดพันปี ทรงมีปราสาทอันประเสริฐ ๓ ปราสาท ชื่อว่า
           
อรชะ วิรชะ และสุทัสนะ มีพระสนมนารีกำนัลในสี่หมื่น ล้วน
           
ประดับประดาสวยงาม พระมเหสีพระนามว่าวิจิโกลี พระราชโอรส
           
พระนามว่าปุญญวัฑฒนะ พระองค์ทรงเห็นนิมิต ๔ ประการ จึง
           
เสด็จออกผนวชด้วยปราสาท ได้ทรงบำเพ็ญเพียรอยู่ ๗ วัน พระธรรม
           
ทัสสีนราสภมหาวีรเจ้า ผู้สูงสุดกว่านรชน อันพรหมทูลอาราธนา
           
แล้ว ทรงประกาศพระธรรมจักร ณ มฤคทายวัน พระองค์มีพระปทุม
           
เถระและพระปุสสเทวเถระ เป็นพระอัครสาวก พระเถระชื่อว่า
           
สุทัตตะ เป็นพระพุทธอุปัฏฐาก พระเขมาเถรีและพระสัจจนามาเถรี
           
เป็นพระอัครสาวิกา ไม้โพธิพฤกษ์ของพระองค์เรียกชื่อว่าติมพชาละ
            (
มะพลับ) สุภัททอุบาสกและกฏิสสหอุบาสก เป็นอัครอุปัฏฐาก
           
สาฬิสาอุบาสิกาและกฬิสสาอุบาสิกา เป็นอัครอุปัฏฐายิกา แม้
           
พระพุทธเจ้าผู้ไม่มีใครเสมอเหมือนพระองค์นั้นสูง ๘๐ ศอก ทรงมี
           
พระเดชรุ่งเรืองอย่างยิ่ง แผ่ไปในหมื่นธาตุ พระองค์งามสง่า ดัง
           
พญารังมีดอกบาน เหมือนสายฟ้าในอากาศ ดุจพระอาทิตย์ในเวลา
           
เที่ยง ฉะนั้น แม้พระพุทธเจ้าผู้มีพระจักษุ มีพระเดชไม่มีเทียบเคียง
           
ทรงดำรงพระชนมชีพอยู่สม่ำเสมออยู่ในโลกแสนปี ทรงแสดง
           
พระรัศมีสว่างไสว ทำพระศาสนาให้ปราศจากมลทิน เสด็จนิพพาน
           
พร้อมกับพระสาวก ดังพระจันทร์ลับไปในท้องฟ้า ฉะนั้น พระธรรม
           
ทัสสีมหาวีรเจ้าเสด็จนิพพาน ณ เกสาราม พระสถูปอันประเสริฐ
           
ของพระองค์ สูง ๓ โยชน์ ฉะนี้แล.
                    
จบธรรมทัสสีพุทธวงศ์ที่ ๑๕
                      
สิทธัตถพุทธวงศ์ที่ ๑๖
                
ว่าด้วยพระประวัติพระสิทธัตถพุทธเจ้า
      [
๑๗สมัยต่อมาจากพระธรรมทัสสีพุทธเจ้า มีพระพุทธเจ้าพระนามว่า
           
สิทธัตถะ ทรงกำจัดความมืดทั้งปวง เหมือนพระอาทิตย์อุทัย ฉะนั้น
           
แม้พระองค์ทรงบรรลุสัมโพธิญาณแล้ว ก็ทรงช่วยหมู่มนุษย์ พร้อม
           
ด้วยเทวดาให้ข้ามพ้นวัฏฏสงสาร ทรงยังฝนคือธรรมให้ตก ดับความ
           
ร้อนให้แก่โลกพร้อมด้วยเทวโลก แม้พระองค์ผู้มีเดชไม่มีเทียบเคียง
           
ก็ตรัสพระธรรมเทศนาให้สัตว์ได้ตรัสรู้ธรรม ๓ ครั้ง ธรรมาภิสมัย
           
ครั้งที่ ๑ ได้มีแก่สัตว์แสนโกฏิ ในคราวเมื่อพระพุทธเจ้าพระองค์
           
นั้น ทรงตีกลองอมฤตเภรีที่ภีมรัฐ ธรรมาภิสมัยครั้งที่ ๒ ได้มีแก่
           
สัตว์เก้าสิบโกฏิ ในคราวเมื่อพระพุทธเจ้าผู้อุดมกว่านรชนพระองค์
           
นั้นทรงแสดงธรรมที่เวภารบรรพต ธรรมาภิสมัยครั้งที่ ๓ ได้มีแก่
           
สัตว์เก้าสิบโกฏิ พระสิทธัตถบรมศาสดาทรงมีการประชุมพระภิกษุ-
           
ขีณาสพ ผู้ปราศจากมลทิน มีจิตสงบระงับ ผู้คงที่ ๓ ครั้ง สถานที่
           
ที่พระภิกษุผู้ปราศจากมลทิน มาประชุมกัน ๓ แห่ง แห่งที่ ๑
           
พระภิกษุร้อยโกฏิ แห่งที่ ๒ เก้าสิบโกฏิ และแห่งที่ ๓ แปดสิบโกฏิ
           
สมัยนั้น เราเป็นดาบสชื่อว่ามงคล มีเดชอันรุ่งเรืองยากที่ผู้อื่นจะข่มได้
           
ประกอบด้วยกำลังแห่งอภิญญา เราได้นำเอาผลหว้ามาถวายแด่
           
พระสิทธัตถสัมพุทธเจ้า พระองค์ทรงรับแล้ว ได้ตรัสพระดำรัสนี้ว่า
           
จงดูชฎิลดาบสผู้มีตบะรุ่งเรืองนี้ ในกัปที่ ๙๔ แก่กัปนี้ ดาบสนี้จัก
           
ได้เป็นพระพุทธเจ้าในโลก ................. ข้ามแม่น้ำใหญ่
           
ฉะนั้น เราได้ฟังพระพุทธพยากรณ์แม้นั้นแล้ว ก็ยังจิตให้เลื่อมใส
           
อย่างยิ่ง ได้อธิษฐานวัตรในการบำเพ็ญบารมี ๑๐ ประการยิ่งขึ้น
           
พระนครชื่อว่าเวภาระ พระบรมกษัตริย์พระนามว่าอุเทน เป็น
           
พระชนกของพระสิทธัตถบรมศาสดา พระนางสุผัสสา เป็นพระชนนี
           
พระองค์ทรงครอบครองอาคารสถานอยู่หมื่นปี ทรงมีปราสาทอัน
           
ประเสริฐ ๓ ปราสาท ชื่อโกกาสะ อุปละ และโกกนุทะ ทรงมี
           
พระสนมนารีกำนัลในสี่หมื่นแปดพันนาง ล้วนประดับประดาสวยงาม
           
พระมเหสีพระนามว่าสุมนา พระราชโอรสพระนามว่าอนูปมะ
           
พระองค์ทรงเห็นนิมิต ๔ ประการ จึงเสด็จออกผนวชด้วยวอทอง
           
ทรงบำเพ็ญเพียรอยู่ ๑๐ เดือนเต็ม พระสิทธัตถมหาวีรเจ้าผู้เป็น
           
นายกของโลก อุดมกว่านรชน อันพรหมทูลอาราธนาแล้ว ทรง
           
ประกาศพระธรรมจักรที่มฤคทายวัน ทรงมีพระสัมพลเถระและพระ
           
สุมิตตเถระ เป็นพระอัครสาวก พระเถระชื่อว่าเรวตะ เป็นพระพุทธ
           
อุปัฏฐาก พระสีวลาเถรีและพระสุรามาเถรี เป็นพระอัครสาวิกา
           
ไม้โพธิพฤกษ์ของพระองค์เรียกชื่อว่ากรรณิการ์ สุปปิยอุบาสกและ
           
สัมพุทธอุบาสกเป็นอัครอุปัฏฐาก รัมมาอุบาสิกาและสุรัมมา
           
อุบาสิกา เป็นอัครอุปัฏฐายิกา พระพุทธเจ้าพระองค์นั้น สูง ๖๐ ศอก
           
พระองค์งามเปล่งปลั่งดั่งทองคำล้ำค่า รุ่งเรืองไปในหมื่นโลกธาตุ
           
พระพุทธเจ้าผู้มีพระจักษุ ทรงพระคุณไม่มีผู้เสมอเหมือน ไม่มีบุคคล
           
เปรียบเทียบถึง ทรงดำรงอยู่ในโลกแสนปี พระองค์ทรงแสดง
           
พระรัศมีอันไพบูลย์ ทรงยังพระสาวกทั้งหลายให้บานสะพรั่ง
           
ทรงเยื้องกรายงดงามด้วยสมาบัติอันประเสริฐ แล้วเสด็จนิพพาน
           
พร้อมด้วยพระสาวก พระสิทธัตถพุทธเจ้าผู้เป็นมุนีประเสริฐเสด็จ
           
นิพพาน ณ อโนมาราม พระสถูปอันประเสริฐของพระองค์ สูง ๔
           
โยชน์ ประดิษฐานอยู่ที่อโนมาราม ฉะนี้แล.
                     
จบสิทธัตถพุทธวงศ์ที่ ๑๖
                       
ติสสพุทธวงศ์ที่ ๑๗
                 
ว่าด้วยพระประวัติพระติสสพุทธเจ้า
       [
๑๘] ในกัปต่อมาจากพระสิทธัตถพุทธเจ้า มีพระพุทธเจ้าพระนามว่าติสสะ
           
ผู้ไม่มีบุคคลเปรียบเสมอ มีศีลไม่มีที่สุด ทรงยศนับมิได้ เป็นนายก
           
ชั้นเลิศของโลก พระมหาวีรเจ้าผู้มีพระจักษุ ผู้ทรงอนุเคราะห์ เสด็จ
           
อุบัติขึ้นในโลก กำจัดความมืดมน ฉายพระรัศมีให้มนุษยโลกพร้อม
           
ทั้งเทวโลกสว่างไสว แม้พระพุทธเจ้าพระองค์นั้น ก็ทรงมีฤทธิ์ ศีล
           
และสมาธิ ไม่มีสิ่งอื่นเทียมถึง ทรงบรรลุถึงความสำเร็จในธรรม
           
ทั้งปวงแล้ว ทรงประกาศพระธรรมจักร พระองค์ทรงแสดงธรรม
           
สั่งสอนถึงความบริสุทธิ์ไปในหมื่นโลกธาตุ ในพระธรรมเทศนาครั้ง
           
ที่ ๑ สัตว์ได้ตรัสรู้ร้อยโกฏิ ครั้งที่ ๒ เก้าสิบโกฏิ ครั้งที่ ๓ หกสิบ
           
โกฏิ ครั้งนั้น พระองค์ทรงเปลื้องมนุษย์และเทวดาที่มาประชุมกัน
           
ให้หลุดพ้นจากกิเลสเครื่องผูก พระองค์ทรงมีการประชุมพระภิกษุ
           
ขีณาสพ ผู้ปราศจากมลทิน ผู้มีจิตสงบระงับ ผู้คงที่ ๓ ครั้ง ครั้งที่ ๑
           
พระภิกษุขีณาสพผู้ปราศจากมลทิน ผู้บานแล้วด้วยวิมุติ มาประชุม
           
กันหนึ่งแสน ครั้งที่ ๒ เก้าโกฏิ ครั้งที่ ๓ แปดโกฏิ สมัยนั้น
           
เราเป็นพระมหากษัตริย์พระนามว่าสุชาต ละทิ้งโภคสมบัติเป็น
           
อันมากแล้ว ออกบวชเป็นฤาษี เมื่อเราบวชแล้ว พระพุทธเจ้าผู้เป็น
           
นายกของโลกจึงเสด็จอุบัติ เพราะได้ฟังเสียงว่าพุทโธ ปีติจึงเกิดแก่
           
เรา เราผู้กำจัดมานะแล้ว เอามือทั้งสองประคองดอกมณฑารพ ดอก
           
ปทุม และดอกปาริชาต เข้าไปเฝ้า เราเอาดอกไม้นั้นถือกั้นเป็นร่ม
           
ให้พระติสสชินเจ้า ผู้แวดล้อมด้วยพระรัศมีอันปรากฏ ผู้เป็นนายก
           
ชั้นเลิศของโลก ในกาลนั้น แม้พระองค์ก็ประทับนั่งท่ามกลาง
           
ประชุมชน ทรงพยากรณ์เราว่า ในกัปที่ ๙๒ แต่กัปนี้ ผู้นี้จักได้
           
เป็นพระพุทธเจ้าในโลก ...........................
           
ข้ามแม่น้ำใหญ่ ฉะนั้น เราได้ฟังพระพุทธพยากรณ์แม้นั้นแล้วยัง
           
จิตให้เลื่อมใสอย่างยิ่ง ได้อธิษฐานวัตรในการบำเพ็ญบารมี ๑๐
           
ประการยิ่งขึ้น พระนครชื่อว่าเขมกะ พระบรมกษัตริย์พระนามว่า
           
ชนสันทะ เป็นพระชนกของพระติสสศาสดา พระนางปทุมา เป็น
           
พระชนนี พระองค์ทรงครอบครองอาคารสถานอยู่เจ็ดพันปี ทรงมี
           
ปราสาทอันประเสริฐ ๓ ปราสาท ชื่อคุณเสลา นาทิยะ และนิสภะ
           
ทรงมีพระสนมนารีกำนัลในสามหมื่นนาง ล้วนประดับประดาสวยงาม
           
พระมเหสีพระนามว่าสุภัททา พระราชโอรสพระนามว่าอานันทะ
           
พระพิชิตมารทรงเห็นนิมิต ๔ ประการ จึงเสด็จออกผนวชด้วย
           
อัสวราชยาน ทรงบำเพ็ญเพียรอยู่ครึ่งเดือนเต็ม พระติสสมหาวีรเจ้า
           
ผู้เป็นนายกชั้นเลิศของโลก อันพรหมทูลอาราธนาแล้ว ทรงประกาศ
           
พระธรรมจักร ที่ยสวดีทายวันอันประเสริฐ ทรงมีพระพรหมเทว
           
เถระและพระอุทยเถระ เป็นพระอัครสาวก พระเถระชื่อว่าสมคะ เป็น
           
พระพุทธอุปัฏฐาก พระผุสสาเถรีและพระสุทัตตาเถรี เป็นพระอัคร
           
สาวิกา ไม้โพธิพฤกษ์ของพระองค์เรียกชื่อว่าไม้ประดู่ สัมพล
           
อุบาสกและศิริอุบาสก เป็นอัครอุปัฏฐาก กิสาโคตมีอุบาสิกาและ
           
อุปเสนาอุบาสิกา เป็นอัครอุปัฏฐายิกา แม้พระพุทธชินเจ้าพระองค์
           
นั้น ก็มีพระองค์สูง ๖๐ ศอก ไม่มีผู้เปรียบ ไม่มีผู้เสมอเหมือน
           
ทรงปรากฏดังขุนเขาหิมวันต์ แม้พระองค์ผู้มีเดชหาเทียบเคียงมิได้
           
มีพระจักษุ ทรงมีพระชนมายุมาก ดำรงอยู่ในโลกแสนปี พระองค์
           
ทรงเสวยพระยศใหญ่ อุดม ประเสริฐสุด ทรงรุ่งเรืองดังกองไฟ
           
เสด็จนิพพานพร้อมด้วยพระสาวก พระองค์เสด็จนิพพานพร้อมด้วย
           
พระสาวกดังเมฆหายไปเพราะลม น้ำค้างหายไปเพราะพระอาทิตย์
           
ความมืดหายไปเพราะแสงไฟ ฉะนั้น พระติสสพุทธเจ้าผู้ประเสริฐ
           
เสด็จนิพพาน ณ นันทาราม พระสถูปอันประเสริฐของพระองค์
           
สูง ๓ โยชน์ ประดิษฐานอยู่ที่นันทารามนั้น ฉะนี้แล.
                      
จบติสสพุทธวงศ์ที่ ๑๗
                       
ปุสสพุทธวงศ์ที่ ๑๘
                 
ว่าด้วยพระประวัติพระปุสสพุทธเจ้า
       [
๑๙] ในมัณฑกัปนั้นแล ได้มีพระศาสดาผู้ยอดเยี่ยม ผู้ไม่มีใครเปรียบ
           
เสมอเหมือน พระนามว่าปุสสะ เป็นนายกชั้นเลิศของโลก แม้
           
พระองค์ก็ทรงกำจัดความมืดทั้งปวง ทรงสางความรกชัฏเป็นอันมาก
           
แล้ว ทรงยังน้ำอมฤตให้ตก ช่วยให้มนุษย์พร้อมด้วยเทวดาได้ดื่ม
           
จนสำราญ เมื่อพระองค์ทรงประกาศพระธรรมจักร ณ เดือน
           
ผุสสนักขัตมงคล ธรรมาภิสมัยครั้งที่ ๑ ได้แก่สัตว์แปดโกฏิ
           
ครั้งที่ ๒ เก้าโกฏิ ครั้งที่ ๓ แปดโกฏิ พระปุสสบรมศาสดา ทรง
           
มีการประชุมพระภิกษุขีณาสพผู้ปราศจากมลทิน ผู้มีจิตระงับ ผู้คงที่
           
๓ ครั้ง ครั้งที่ ๑ พระภิกษุขีณาสพผู้หลุดพ้นเพราะไม่ถือมั่น ผู้ตัด
           
ธรรมเครื่องสืบต่อขาด มาประชุมกันหกโกฏิ ครั้งที่ ๒ ห้าโกฏิ
           
ครั้งที่ ๓ สี่โกฏิ สมัยนั้น เราเป็นกษัตริย์ทรงพระนามว่าวิชิต ละทิ้ง
           
ราชสมบัติเป็นอันมากแล้วออกผนวช ในสำนักของพระองค์ แม้
           
พระปุสสพุทธเจ้าผู้เป็นนายกชั้นเลิศของโลกพระองค์นั้น ก็ทรง
           
พระยากรณ์เราว่า ในกัปที่ ๙๒ แต่กัปนี้ ผู้นี้จักได้เป็นพระพุทธเจ้า
           
ในโลก ....... ข้ามแม่น้ำใหญ่ ฉะนั้น เราได้ฟังพระพุทธพยากรณ์
           
แม้นั้นแล้ว ก็ยังจิตให้เลื่อมใสอย่างยิ่ง ได้อธิษฐานวัตรในการ
           
บำเพ็ญบารมี ๑๐ ประการยิ่งขึ้น เราเล่าเรียนพระสูตรและพระวินัย
           
อันเป็นนวังคสัตถุศาสน์จบทุกอย่างแล้ว ยังพระศาสนาของ
           
พระชินเจ้าให้งาม เราเป็นผู้ไม่ประมาทในคำสั่งสอนนั้น เจริญพรหม
           
วิหารภาวนา ถึงความสำเร็จในอภิญญาแล้ว ได้ไปยังพรหมโลก
           
พระนครชื่อว่ากาสิกะ พระบรมกษัตริย์พระนามว่าชยเสนะ เป็น
           
พระชนกของพระปุสสศาสดา พระนางสิริมา เป็นพระชนนี พระองค์
           
ทรงครอบครองอาคารสถานอยู่เก้าพันปี ทรงมีปราสาทอันประเสริฐ ๓
           
ปราสาท ชื่อว่าคุฬะ หังสะ และสุวรรณดารา มีพระสนมนารีกำนัล
           
ในสองหมื่นสามพันนาง ล้วนประดับประดาสวยงาม พระมเหสี
           
พระนามว่ากีสาโคตมี พระราชโอรสพระนามว่าอานันทะ พระองค์
           
ทรงเห็นนิมิต ๔ ประการ จึงเสด็จออกผนวชด้วยคชสารราชยาน
           
ทรงบำเพ็ญเพียรอยู่ ๗ วัน พระปุสสมหาวีรเจ้าผู้เป็นนายกชั้นเลิศ
           
ของโลก อุดมกว่านรชน อันพรหมทูลอาราธนาแล้ว ทรงประกาศ
           
พระธรรมจักร ณ มฤคทายวัน ทรงมีพระสุรักขิตเถระและพระธรรม
           
เสนเถระ เป็นพระอัครสาวก พระเถระชื่อสภิยะ เป็นพระพุทธ
           
อุปัฏฐาก พระจาลาเถรีและพระอุปจาลาเถรี เป็นพระอัครสาวิกา ไม้
           
โพธิพฤกษ์เรียกกันว่าไม้มะขามป้อม อนัญชยอุบาสกและวิสาขอุบาสก
           
เป็นอัครอุปัฏฐาก ปทุมาอุบาสิกาและสิรินาคาอุบาสิกา เป็นอัคร-
           
อุปัฏฐายิกา พระมุนีพระองค์นั้นมีพระองค์สูง ๕๘ ศอก ทรงงาม
           
สง่าดังพระอาทิตย์ เหมือนพระจันทร์เต็มดวง ฉะนั้น ในกาลนั้น
           
มนุษย์ทั้งหลายมีอายุเก้าหมื่นปี พระองค์ทรงดำรงพระชนมายุอยู่
           
เพียงนั้น ทรงช่วยหมู่ชนให้ข้ามพ้นวัฏฏสงสารได้มากมาย
           
พระศาสดาผู้มีพระยศไม่มีเทียมพระองค์นั้น ตรัสสอนสัตว์เป็น
           
อันมาก ทรงช่วยให้ประชาชนมากมายข้ามไปแล้ว พระองค์
           
เสด็จนิพพานพร้อมด้วยพระสาวก พระปุสสชินศาสดาผู้ประเสริฐ
           
เสด็จนิพพาน ณ เสนาราม พระธาตุของพระองค์แผ่ไพศาลไปใน
           
ประเทศนั้นฉะนี้แล.
                      
จบปุสสพุทธวงศ์ที่ ๑๘
                       
วิปัสสีพุทธวงศ์ที่ ๑๙
                 
ว่าด้วยพระประวัติพระวิปัสสีพุทธเจ้า
       [
๒๐] ในกัปต่อมาจากพระปุสสพุทธเจ้า มีพระสัมพุทธเจ้าผู้สูงสุดกว่า
           
สัตว์ ผู้มีจักษุ มีพระนามว่าวิปัสสี เสด็จอุบัติขึ้นในโลก พระองค์
           
ทรงทำลายกะเปาะฟองไข่คืออวิชชาแล้ว ทรงบรรลุสัมโพธิญาณ
           
อันอุดม เสด็จไปยังพระนครพันธุมดี เพื่อทรงประกาศพระธรรม-
           
จักร ทรงประกาศพระธรรมจักรให้เทวดาและมนุษย์ได้ตรัสรู้ ธรรมาภิ
           
สมัยครั้งที่ ๑ จะพึงกล่าวด้วยการนับมิได้ ทรงประกาศจตุราริยสัจ
           
ในพระนครนั้น ธรรมาภิสมัยครั้งที่ ๒ ได้มีแก่สัตว์แปดหมื่นสี่พัน
           
มนุษย์แปดหมื่นสี่พันออกบวชตาม พระสัมพุทธเจ้าพระองค์ทรงแสดง
           
ธรรมแก่เขาผู้มาถึงอาราม พระชินเจ้าทรงตั้งอยู่ในเหตุโดยการตรัส
           
ด้วยอาการทั้งปวง แม้มนุษย์เหล่านั้นได้บรรลุธรรมอันประเสริฐ
           
เป็นธรรมาภิสมัยครั้งที่ ๓ พระวิปัสสีบรมศาสดา ทรงมีการประชุม
           
พระภิกษุขีณาสพผู้ปราศจากมลทิน ผู้มีจิตสงบระงับ ผู้คงที่ ๓ ครั้ง
           
ครั้งที่ ๑ พระภิกษุขีณาสพมาประชุมกันหกโกฏิแปดแสน ครั้งที่ ๒
           
หนึ่งแสน ครั้งที่ ๓ แปดหมื่น พระสัมพุทธเจ้าทรงรุ่งเรืองอย่างยิ่ง
           
ในท่ามกลางหมู่พระภิกษุขีณาสพนั้น สมัยนั้น เราเป็นพระยานาคราช
           
ผู้มีฤทธิ์มาก มีบุญ ทรงความรุ่งเรือง มีนามชื่อว่าอตุละ ในกาลนั้น
           
เราแวดล้อมด้วยนาคหลายโกฏิเข้าไปเฝ้าพระพุทธเจ้าผู้เป็นเชษฐบุรุษ
           
ของโลก ประโคมดนตรีทิพย์ถวาย ครั้นเข้าเฝ้าพระองค์ผู้เป็นนายก
           
ของโลกแล้ว เรานิมนต์พระองค์แล้ว ได้ถวายตั่งทองอันวิจิตรด้วย
           
แก้วมณีและแก้วมุกดา ประดับด้วยอาภรณ์ทั้งปวง แก่พระองค์ผู้
           
เป็นพระธรรมราชา แม้พระพุทธเจ้าพระองค์นั้น ประทับนั่งท่าม
           
กลางสงฆ์แล้ว ก็ทรงพยากรณ์เราว่า ในกัปที่ ๙๑ แต่กัปนี้ ผู้นี้จัก
           
ได้เป็นพระพุทธเจ้าในโลก ........ ข้ามแม่น้ำใหญ่ ฉะนั้น เราได้ฟัง
           
พระพุทธพยากรณ์แม้นั้นแล้วยังจิตให้เลื่อมใสอย่างยิ่ง ได้อธิษฐาน
           
วัตรในการบำเพ็ญบารมี ๑๐ ประการให้ยิ่งขึ้นไป พระนครชื่อว่า
           
พันธุมดี พระบรมกษัตริย์พระนามว่าพันธุมะ เป็นพระชนกของ
           
พระวิปัสสีบรมศาสดา พระนางพันธุมดี เป็นพระชนนี พระองค์ทรง
           
ครอบครองอาคารสถานอยู่แปดพันปี ทรงมีปราสาทอันประเสริฐ ๓
           
ปราสาท ชื่อนันทะ สุนันทะ และสิริมา ทรงมีพระสนมนารีกำนัล
           
ในสี่หมื่นสามพันนาง ล้วนประดับประดาสวยงาม พระมเหสี
           
พระนามว่าสุทัสนา พระราชโอรสพระนามว่าสมวัตตขันธ์ พระองค์
           
ทรงเห็นนิมิต ๔ ประการ จึงเสด็จออกผนวชด้วยราชรถพระที่นั่ง
           
ทรงบำเพ็ญเพียรอยู่ ๘ เดือนเต็ม พระวิปัสสีมหาวีรเจ้าผู้เป็นนายก
           
ของโลก อุดมกว่านรชน อันพรหมทูลอาราธนาแล้ว ทรงประกาศ
           
พระธรรมจักร ณ มฤคทายวัน ทรงมีพระขันธเถระและพระติสสนาม
           
เถระ เป็นพระอัครสาวก พระเถระชื่อว่าอโสก เป็นพระพุทธอุปัฏฐาก
           
พระจันทาเถรีและพระจันทมิตตาเถรี เป็นพระอัครสาวิกา ไม้โพธิ
           
พฤกษ์ของพระองค์เรียกกันว่าไม้แคฝอย ปุนัพพสุมิตตอุบาสกและ
           
นาคอุบาสก เป็นอัครอุปัฏฐาก สิริมาอุบาสิกาและอุตตราอุบาสิกา
           
เป็นอัครอุปัฏฐายิกา พระวิปัสสีสัมพุทธเจ้าผู้เป็นนายกของโลกสูง
           
๘๐ ศอก พระองค์มีพระรัศมีเปล่งปลั่ง แผ่ไป ๗ โยชน์ โดยรอบ
           
ครั้งนั้น พระพุทธเจ้ามีพระชนมายุแปดหมื่นปี พระองค์ทรงดำรงอยู่
           
เท่านั้น ทรงช่วยหมู่ชนให้ข้ามพ้นวัฏฏสงสารเป็นอันมาก ทรงเปลื้อง
           
เทวดาและมนุษย์เป็นอันมากให้พ้นจากเครื่องผูก ตรัสบอกทางและ
           
มิใช่ทางแก่ปุถุชนที่เหลือ ทรงแสดงแสงสว่าง ทรงแสดงอมตบท
           
ทรงรุ่งเรืองดังกองไฟ แล้วเสด็จนิพพานพร้อมด้วยพระสาวก พระฤทธิ์
           
และบุญอันประเสริฐ พระลักษณะและลายจันทรอันสวยงามทุกอย่าง
           
หายไปสิ้น สังขารทั้งปวงว่างเปล่าหนอ พระวิปัสสิวีรเจ้าผู้ประเสริฐ
           
กว่านรชน เสด็จนิพพาน ณ สุมิตตาราม พระสถูปอันประเสริฐของ
           
พระองค์สูง ๗ โยชน์ ประดิษฐานอยู่ ณ สุมิตตารามนั้น ฉะนี้แล.
                      
จบวิปัสสีพุทธวงศ์ที่ ๑๙
                        
สิขีพุทธวงศ์ที่ ๒๐
                  
ว่าด้วยพระประวัติพระสิขีพุทธเจ้า
       [
๒๑] สมัยต่อมาจากพระวิปัสสีสัมพุทธเจ้า พระสัมพุทธเจ้าผู้สูงสุดกว่า
           
สัตว์ ผู้ไม่มีบุคคลเปรียบเสมอ มีพระนามว่าสิขี ทรงย่ำยีมารและ
           
เสนามารแล้ว ทรงบรรลุสัมโพธิญาณอันอุดม ทรงประกาศพระ-
           
ธรรมจักร เพื่ออนุเคราะห์แก่สัตว์ทั้งหลาย เมื่อพระสิขีชินเจ้าผู้
           
ประเสริฐ ทรงประกาศพระธรรมจักร ธรรมาภิสมัยครั้งที่ ๑ ได้มีแก่
           
สัตว์แสนโกฏิ เมื่อพระองค์ผู้ประเสริฐกว่าหมู่คณะ สูงสุดกว่า
           
นรชน ทรงแสดงธรรมอีก ธรรมาภิสมัยครั้งที่ ๒ ได้มีแก่สัตว์เก้าหมื่น
           
โกฏิ เมื่อพระองค์ทรงแสดงยมกปาฏิหาริย์ในโลกพร้อมด้วยเทวโลก
           
ธรรมาภิสมัยครั้งที่ ๓ ได้มีแก่สัตว์แปดหมื่นโกฏิ แม้พระสิขี
           
บรมศาสดา ก็ทรงมีการประชุมพระภิกษุขีณาสพผู้ปราศจากมลทิน
           
มีจิตสงบระงับผู้คงที่ ๓ ครั้ง ครั้งที่ ๑ พระภิกษุขีณาสพมาประชุม
           
กันหนึ่งแสน ครั้งที่ ๒ แปดหมื่น ครั้งที่ ๓ เจ็ดหมื่น เปรียบ
           
เหมือนดอกปทุมอันเจริญในน้ำ น้ำเลี้ยงไว้ ฉะนั้น สมัยนั้นเราเป็น
           
กษัตริย์พระนามว่าอรินทมะ ได้ถวายข้าวและน้ำให้พระสงฆ์ มีพระ
           
พุทธเจ้าเป็นประธานฉันจนเพียงพอ ได้ถวายผ้าอย่างดีมากมายหลาย
           
โกฏิผืน ได้ถวายยานช้างอันประดับแล้ว แก่พระสัมพุทธเจ้า เรา
           
ได้สร้างยานช้างให้เป็นของควรแก่สมณะแล้วนำเข้าไปถวาย เรายัง
           
ฉันทะของเราซึ่งตั้งไว้มั่นเป็นนิตย์ให้เต็ม แม้พระพุทธสิขีผู้เป็น
           
นายกชั้นเลิศของโลก พระองค์นั้นก็ทรงพยากรณ์เราว่า ในกัปที่ ๓๑
           
แต่กัปนี้ ผู้นี้จักได้เป็นพระพุทธเจ้าในโลก ........... ข้ามแม่น้ำใหญ่
           
ฉะนั้นเราได้ฟังพระพุทธพยากรณ์แม้นั้นแล้ว ยังจิตให้เลื่อมใส
           
อย่างยิ่ง ได้อธิษฐานวัตรในการบำเพ็ญบารมี ๑๐ ประการให้ยิ่งขึ้น
           
ไป พระนครชื่อว่าอรุณวดี พระบรมกษัตริย์พระนามว่าอรุณ เป็น
           
พระชนกของพระสีขีบรมศาสดา พระนางประภาวดีเป็นพระชนนี
           
พระองค์ทรงครอบครองอาคารสถานอยู่เจ็ดพันปี ทรงมีปราสาทอัน
           
ประเสริฐ ๓ ปราสาท ชื่อสุวัฑฒกะ คิริ และนารีวาหนะ ทรงมี
           
พระสนมนารีกำนัลในสองหมื่นสี่พันนาง ล้วนประดับประดาสวย
           
งาม พระมเหสีพระนามว่าสรรพกามา พระราชโอรสพระนามว่า
           
อตุละ พระองค์ทรงเห็นนิมิต ๔ ประการ จึงเสด็จออกผนวชด้วย
           
คชสารยานพระที่นั่งต้น ทรงบำเพ็ญเพียรอยู่ ๘ เดือนเต็ม พระสิขี
           
มหาวีรเจ้าผู้เป็นนายกชั้นเลิศของโลกอุดมกว่านรชน อันพรหมทูล
           
อาราธนาแล้วทรงประกาศพระธรรมจักร ณ มฤคทายวัน ทรงมีพระ-
           
อภิภูเถระ และพระสัมภวเถระเป็นพระอัครสาวก พระเถระชื่อว่า
           
เขมังกรเป็นพระพุทธอุปัฏฐาก พระมขีลาเถรีและพระปทุมาเถรีเป็น
           
พระอัครสาวิกา ไม้โพธิพฤกษ์ของพระองค์ เรียกกันว่า บุณฑริก
            [
ไม้กุ่มบก] สิริวัฑฒอุบาสกและนันทอุบาสกเป็นอัครอุปัฏฐาก
           
จิตราอุบาสิกาและสูจิตราอุบาสิกาเป็นอัครอุปัฏฐายิกา พระพุทธเจ้า
           
พระองค์นั้น มีพระองค์สูง ๗๐ ศอก มีพระรัศมีเปล่งปลั่งดังทองคำ
           
ล้ำค่า มีพระลักษณะอันประเสริฐ ๓๒ ประการ พระรัศมี ของพระองค์
           
ซ่านออกไปจากพระวรกายด้านละวาเนืองนิตย์ พระรัศมีนั้นเปล่ง
           
ออกไปยังทิศน้อยทิศใหญ่ ๓ โยชน์ พระองค์มีชนมายุเจ็ดหมื่นปี
           
ทรงดำรงอยู่เท่านั้น ทรงช่วยให้ประชุมชนข้ามพ้นวัฏสงสารได้มาก
           
มาย พระองค์ทรงยังฝนคือธรรมให้ตก ยังมนุษย์พร้อมทั้งเทวดาให้
           
ชุ่มชื่น ให้บรรลุความเกษมแล้ว เสร็จนิพพานพร้อมด้วยพระสาวก
           
พระลักษณะอันประเสริฐ ๓๒ ประการ อันสมบูรณ์ด้วยอนุพยัญชนะ
           
หายไปหมดสิ้นแล้ว สังขารทั้งปวงว่างเปล่าหนอ พระพุทธสิขีมุนี
           
ผู้ประเสริฐ เสด็จนิพพาน ณ อัสสาราม พระสถูปอันประเสริฐ
           
ของพระองค์สูง ๓ โยชน์ ประดิษฐานอยู่ ณ อัสสารามนั้น ฉะนี้แล.
                       
จบสิขีพุทธวงศ์ที่ ๒๐
                      
เวสสภูพุทธวงศ์ที่ ๒๑
                
ว่าด้วยพระประวัติพระเวสสภูพุทธเจ้า
       [
๒๒] ในมัณฑกัปนั้นแล พระพิชิตมารผู้ไม่มีบุคคลเปรียบเสมอ มีพระนาม
           
ชื่อว่าเวสสภู เสร็จอุบัติขึ้นในโลก พระเวสสภูผู้เป็นนายกของโลก
           
ทรงทราบว่าไฟคือราคะนี้เป็นของร้อนเป็นแว่นแคว้นของตัณหา ทรง
           
ตัดกิเลสดังช้างตัดเชือกแล้ว ทรงบรรลุสัมโพธิญาณอันอุดม แล้ว
           
ทรงประกาศพระธรรมจักร ธรรมาภิสมัยครั้งที่ ๑ ได้มีแก่สัตว์
           
แปดหมื่นโกฏิ เมื่อพระนราสภเชษฐบุรุษของโลก เสด็จจาริกไป
           
ในแว่นแคว้น ธรรมาภิสมัยครั้งที่ ๒ ได้มีแก่สัตว์เจ็ดหมื่นโกฏิ เมื่อ
           
พระองค์ทรงกระทำปาฏิหาริย์บรรเทาทิฏฐิใหญ่ มนุษย์และเทวดาใน
           
หมื่นโลกธาตุมาประชุมกัน เทวดาและมนุษย์ได้เห็นความมหัศจรรย์
           
อันไม่เคยมี เป็นเหตุให้ขนพองสยองเกล้าแล้วได้ตรัสรู้ ๖๐ โกฏิ
           
พระเวสสภูบรมศาสดา ทรงมีการประชุมพระภิกษุขีณาสพผู้
           
ปราศจากมลทิน มีจิตสงบระงับคงที่ ผู้กลัวภัยมีชราเป็นต้น เป็น
           
โอรสของพระศาสดาผู้ได้ฟังพระธรรมจักรอันประณีตอุดม ที่พระ-
           
พุทธเจ้าซึ่งไม่มีใครเสมอพระองค์นั้นทรงประกาศแล้วออกบวช ๓
           
ครั้ง ครั้งที่ ๑ พระภิกษุขีณาสพมาประชุมกันแปดหมื่นโกฏิ ครั้งที่ ๒
           
เจ็ดหมื่นโกฏิ ครั้งที่ ๓ หกหมื่นโกฏิ สมัยนั้น เราเป็นกษัตริย์
           
พระนามว่า สุทัสนะ ได้บูชาพระพิชิตมารพร้อมด้วยพระสงฆ์ ด้วย
           
ข้าว น้ำและผ้า เรายังมหาทานให้เป็นไปไม่เกียจคร้านทั้งกลางคืน
           
กลางวัน ออกบวชอันถึงพร้อมด้วยคุณ ในสำนักของพระชินเจ้า
           
เราเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยอาจารคุณ ตั้งมั่นอยู่ในวัตรและศีล แสวงหา
           
พระสัพพัญญุตญาณ ยินดีในศาสนาของพระชินเจ้า เรายังศรัทธา
           
และปีติให้เกิด ถวายบังคมพระพุทธบรมศาสดา ปีติเกิดขึ้นแก่เรา
           
เพราะเหตุแห่งโพธิญาณนั่นเอง พระสัมพุทธเจ้าทรงทราบว่า เรามี
           
ฉันทะอันไม่กลับกลอกจึงทรงพยากรณ์ว่า ในกัปที่ ๓๑ แต่กัปนี้ ผู้นี้
           
จักได้เป็นพระพุทธเจ้าในโลก ......... ข้ามแม่น้ำใหญ่ ฉะนั้น
           
เราได้ฟังพระพุทธพยากรณ์แม้นั้นแล้ว ยังจิตให้เลื่อมใสอย่างยิ่ง
           
ได้อธิษฐานวัตรในการบำเพ็ญบารมี ๑๐ ประการ ให้ยิ่งขึ้นไป
           
พระนครชื่อว่าอโนมะ พระบรมกษัตริย์ พระนามว่าสุปติตะ เป็น
           
พระชนกของพระเวสสภูบรมศาสดา พระนางยสวดีเป็นพระชนนี
           
พระองค์ทรงครอบครองอาคารสถานอยู่หกพันปี ทรงมีปราสาทอัน
           
ประเสริฐ ๓ ปราสาท ชื่อว่ารุจิ สุรติ และวัฑฒกะทรงมีพระสนม-
           
นารีกำนัลในสามหมื่นนาง ล้วนประดับประดาสวยงาม พระมเหสี
           
นามว่าสุจิตรา พระราชโอรสพระนามว่าสุปปพุทธะ พระองค์ทรง
           
เห็นนิมิต ๔ ประการ จึงเสด็จออกผนวชด้วยวอทอง ทรงบำเพ็ญ
           
เพียรอยู่ ๖ เดือนเต็ม พระเวสสภูมหาวีรเจ้า ผู้เป็นนายกของโลก
           
อุดมกว่านรชน อันพรหมทูลอาราธนาแล้ว ทรงประกาศพระธรรม-
           
จักร ณ อรุณาราม ทรงมีพระโสณเถระและพระอุตรเถระเป็นพระ-
           
อัครสาวก พระเถระชื่อว่าอุปสันตะเป็นพระพุทธอุปัฏฐาก พระรามา-
           
เถรีและพระสุมาลาเถรีเป็นพระอัครสาวิกา ไม้โพธิพฤกษ์ของ
           
พระองค์เรียกกันว่าไม้อ้อยช้างใหญ่ โสตถิอุบาสกเป็นอัครอุปัฏฐาก
           
โคตมีอุบาสิกาและสิริมาอุบาสิกา เป็นอุปัฏฐายิกา พระองค์สูง ๖๐
           
ศอก เปรียบเสมอด้วยเสาทอง พระรัศมีเปล่งออกจากพระวรกาย
           
ดังไฟบนภูเขาในเวลากลางคืน พระพุทธเจ้าพระองค์นั้น มีพระชน
           
มายุหกหมื่นปี พระองค์ทรงดำรงอยู่เพียงนั้น ทรงช่วยให้ประชุมชน
           
ข้ามพ้นวัฏสงสารได้มากมาย ทรงจำแนกธรรมไว้อย่างพิสดาร ทรงตั้ง
           
มหาชนให้อยู่บนธรรมนาวาแล้ว พระองค์ก็เสด็จนิพพานพร้อมด้วย
           
พระสาวกพระวิหารอันมีชนทุกหมู่เหล่า น่าดูน่าชม พระอิริยาบถ
           
หายไปหมดสิ้นแล้ว สังขารทั้งปวงว่างเปล่าหนอ พระเวสสภู
           
ศาสดาชินเจ้าผู้ประเสริฐ เสด็จนิพพานที่เขมาราม พระธาตุของ
           
พระองค์แผ่ไปกว้างขวางในประเทศนั้นๆ ฉะนี้แล.
                     
จบเวสสภูพุทธวงศ์ที่ ๒๑
                      
กุกกุสันธพุทธวงศ์ที่ ๒๒
                
ว่าด้วยพระประวัติพระกกุสันธพุทธเจ้า
       [
๒๓] สมัยต่อมาจากพระเวสสภูพุทธเจ้า มีพระสัมพุทธเจ้าผู้อุดมกว่าสัตว์
           
พระนามว่า กุกกุสันธะ มีพระคุณประมาณมิได้ยากที่จะเทียมถึง
           
ทรงเพิกภพทั้งปวง ถึงที่สุดแห่งจริยา ทรงทำลายกิเลสดังราชสีห์ทำ
           
ลายกรงแล้ว ทรงบรรลุสัมโพธิญาณอันอุดม เมื่อพระกุกกุสันธะ
           
พุทธเจ้าผู้เป็นนายกของโลก ทรงประกาศพระธรรมจักร ธรรมาภิสมัย
           
ครั้งที่ ๑ ได้มีแก่สัตว์สี่หมื่นโกฏิ ในคราวเมื่อพระองค์ทรงแผลงฤทธิ์
           
กระทำยมกปาฏิหาริย์ในอากาศ พระองค์ทรงยังเทวดาและมนุษย์ให้
           
ตรัสรู้สามหมื่นโกฏิ ในคราวเมื่อทรงประกาศจตุราริยสัจ แก่มนุษย์
           
เทวดาและยักษ์ ธรรมาภิสมัยครั้งนั้น จะคำนวณนับมิได้ พระผู้มี
           
พระภาคกุกกุสันธะ ทรงมีการประชุมพระภิกษุขีณาสพผู้ปราศจาก
           
มนทิน ผู้มีจิตสงบระงับ ผู้คงที่ ครั้งเดียวในกาลนั้น พระภิกษุขีณาสพ
           
ผู้บรรลุถึงภูมิที่ฝึกแล้ว เพราะสิ้นกิเลสเหตุให้เป็นหมู่คณะมีอาสวะ
           
เป็นต้น มาประชุมกันสี่หมื่น สมัยนั้น เราเป็นกษัตริย์ มีพระนามว่า
           
เขมะ เราได้ถวายทานมิใช่น้อยแด่พระตถาคตและพระสาวก เรา
           
ถวายบาตร จีวร ยาหยอดตา ชะเอมเครือ เราถวายของดีๆ ทุกอย่าง
           
ตามที่ภิกษุสงฆ์ปรารถนา แม้พระมุนีกุกกุสันธะผู้เป็นนายกชั้นพิเศษ
           
พระองค์นั้น ก็ทรงพยากรณ์เราว่าในภัทรกัปนี้ ผู้นี้จักได้เป็นพระ
           
พุทธเจ้าในโลก ....... ข้ามแม่น้ำใหญ่ ฉะนั้น เราได้ฟังพระพุทธ
           
พยากรณ์แม้นั้นแล้ว ก็ยังจิตให้เลื่อมใสอย่างยิ่ง เราอธิษฐานวัตร
           
ในการบำเพ็ญบารมี ๑๐ ประการยิ่งขึ้น นครชื่อว่าเขมวดี ในกาลนั้น
           
เรามีชื่อว่าเขมะ เมื่อแสวงหาพระสัพพัญญุตญาณจึงออกบวชใน
           
สำนักของพระองค์ พราหมณ์นามว่าอัคคิทัตตะเป็นพุทธบิดา
           
นางพราหมณีชื่อว่าวิสาขา เป็นพุทธมารดา ตระกูลใหญ่ของพระ-
           
สัมพุทธเจ้าเป็นตระกูลที่ประเสริฐสุดกว่าตระกูลอื่นๆ มีชาติสูง
           
มียศมาก อยู่ในเขมนครนั้น พระองค์ครอบครองอาคารสถานอยู่
           
สี่พันปี มีปราสาทอันประเสริฐ ๓ ปราสาท ชื่อกามวัฑฒะ กามสุทธิ
           
และรติวัฑฒนะ มีนางสาวนารีสามหมื่นนาง บุตรชายนามว่าอุตระ
           
พระพิชิตมารทรงเห็นนิมิต ๔ ประการ จึงออกผนวชด้วยรถอันเป็น
           
ยานพาหนะ บำเพ็ญเพียรอยู่ ๘ เดือนเต็ม พระกุกกุสันธมหาวีรเจ้า
           
ผู้อุดมกว่านรชน ทรงประกาศพระธรรมจักรที่มฤคทายวัน ทรงมี
           
พระวิธุรเถระและพระสัญชีวนามเถระเป็นพระอัครสาวก พระเถระ
           
ชื่อว่าพุทธิชะเป็นพระพุทธอุปัฏฐาก พระสามาเถรีและพระจัมปนามา
           
เถรีเป็นพระอัครสาวิกา ไม้โพธิพฤกษ์ของพระองค์เรียกชื่อว่าไม้ซึก
           
อัจจุคตอุบาสก และสุมนอุบาสกเป็นอัครอุปัฏฐาก นันทาอุบาสิกา
           
และสุนันทาอุบาสิกา เป็นอัครอุปัฏฐายิกา พระมหามุนีมีพระองค์
           
สูง ๔๐ ศอก พระรัศมีสีเปล่งปลั่งดังทองคำ เปล่งออกไป ๑๐ โยชน์
           
โดยรอบ พระองค์มีพระชนมายุสี่หมื่นปี เมื่อทรงดำรงอยู่เท่านั้น
           
ทรงช่วยให้ประชุมชนข้ามพ้นวัฏสงสารได้มากมาย ทรงแจกจ่าย
           
ตลาดธรรมให้แก่บุรุษและสตรี ทรงบันลือสีหนาทในโลกพร้อมทั้ง
           
เทวโลกแล้ว เสด็จนิพพานพร้อมด้วยพระสาวก พระองค์ ทรงถึง
           
พร้อมด้วยพระดำรัสมีองค์ ๘ ไม่มีช่องเนืองนิตย์ ทุกอย่างหายไป
           
หมดแล้ว สังขารทั้งปวงว่างเปล่าหนอ พระกุกกุสันธชินเจ้าผู้
           
ประเสริฐเสด็จนิพพานที่เขมาราม พระสถูปอันประเสริฐของ
           
พระองค์สูงคาวุตหนึ่ง ประดิษฐานอยู่ ณ เขมารามนั้น ฉะนี้แล.
                     
จบกุกกุสันธพุทธวงศ์ที่ ๒๒
                     
โกนาคมนพุทธวงศ์ที่ ๒๓
                
ว่าด้วยพระประวัติพระโกนาคมนพุทธเจ้า
       [
๒๔] สมัยต่อมาจากพระกุกกุสันธพุทธเจ้า พระสัมพุทธนราสภชินเจ้าผู้
           
อุดมกว่าสัตว์ เชษฐบุรุษของโลก พระนามว่าโกนาคมนะ ทรง
           
บำเพ็ญธรรม ๑๐ ประการบริบูรณ์ ข้ามทางกันดารได้แล้ว ทรงลอย
           
มลทินทั้งปวงแล้ว ทรงบรรลุสัมโพธิญาณอันอุดม เมื่อพระองค์ผู้
           
เป็นนายกชั้นพิเศษของโลก ทรงประกาศพระธรรมจักร ธรรมาภิสมัย
           
ครั้งที่ ๑ ได้มีแก่สัตว์สามหมื่นโกฏิ และในคราวเมื่อพระองค์
           
ทรงทำปฏิหาริย์ย่ำยีวาทะของผู้อื่น ธรรมาภิสมัยครั้งที่ ๒ ได้มีแก่
           
สัตว์สองหมื่นโกฏิ ต่อแต่นั้น พระมุนีสัมพุทธชินเจ้าทรงแผลงฤทธิ์
           
ต่างๆ เสด็จไปยังดาวดึงส์เทวโลก ประทับเหนือบัณฑุกัมพลศิลา-
           
อาสน์ ทรงจำพรรษาอยู่ ณ ดาวดึงส์นั้น ทรงแสดงพระอภิธรรม ๗
           
คัมภีร์ ธรรมาภิสมัยครั้งที่ ๓ ได้มีแก่ทวยเทพหมื่นโกฏิ แม้
           
พระพุทธเจ้าพระองค์นั้น ก็ทรงมีการประชุมพระภิกษุขีณาสพผู้
           
ปราศจากมลทิน ผู้มีจิตสงบระงับ คงที่ ครั้งเดียว ในกาลนั้น
           
พระภิกษุขีณาสพผู้ล่วงโอฆะทั้งหลายและทำลายมัจจุราชแล้ว มา
           
ประชุมกันสามหมื่น สมัยนั้น เราเป็นกษัตริย์พระนามว่าบรรพต
           
ถึงพร้อมด้วยมิตรและอำมาตย์ มีพลนิกายและพาหนะมากมาย เรา
           
ไปเฝ้าพระสัมพุทธเจ้าได้ฟังธรรมอันยอดเยี่ยมแล้ว นิมนต์พระสงฆ์
           
พร้อมด้วยพระชินเจ้า ได้ถวายทานตามปรารถนา เราได้ถวายผ้า
           
ปัตตุณณะ ผ้าเมืองจีน ผ้าไหม ผ้ากัมพล และรองเท้าทอง แก่
           
พระศาสดาและพระสาวก แม้พระมุนีพระองค์นั้น ก็ประทับนั่ง
           
ท่ามกลางสงฆ์ตรัสพยากรณ์เราว่า ในภัทรกัปนี้ผู้นี้จักได้เป็นพระพุทธ
           
เจ้าในโลก .... ข้ามแม่น้ำใหญ่ ฉะนั้น เราได้ฟังพระพุทธพยากรณ์
           
แม้นั้นแล้ว ก็ยังจิตให้เลื่อมใสอย่างยิ่ง เราได้อธิษฐานวัตรในการ
           
บำเพ็ญบารมี ๑๐ ประการให้ยิ่งขึ้นไป เราผู้อุดมกว่านรชน เมื่อ
           
แสวงหาพระสัพพัญญุตญาณ จึงให้ทาน ละราชสมบัติอันใหญ่หลวง
           
บวชในพระสำนักพระชินเจ้า พระนครชื่อว่าโสภวดี พระบรมกษัตริย์
           
พระนามว่าโสภะ ตระกูลใหญ่ของพระสัมพุทธเจ้าอยู่ในพระนครนั้น
           
ยัญทัตตพราหมณ์เป็นพุทธบิดา นางอุตราพราหมณีเป็นพุทธมารดา
           
พระองค์ครอบครองอาคารสถานอยู่สามหมื่นปี มีปราสาทอันประเสริฐ
           
๓ ปราสาท ชื่อดุสิต สันดุสิต และสันตุฏฐะ มีนางสาวนารี หมื่น
           
หกพันนาง ล้วนประดับประดาสวยงาม นางรุจิคุตตาพราหมณีเป็น
           
ภรรยา บุตรชายนามว่าสัตถวาหะ พระองค์ผู้เป็นอุดมบุรุษได้เห็น
           
นิมิต ๔ ประการ จึงออกบวชด้วยยานช้างยานพาหนะ บำเพ็ญเพียร
           
อยู่ ๖ เดือน พระโกนาคมนมหาวีรเจ้า นายกของโลก ผู้อุดมกว่า
           
นรชน อันพรหมทูลอาราธนาแล้ว ทรงประกาศพระธรรมจักรที่
           
มฤคทายวัน ทรงมีพระภิยโยสเถระ และพระอุตรเถระเป็นพระอัคร-
           
สาวก พระเถระชื่อว่าโสตถิชะเป็นพระพุทธอุปัฏฐาก พระสมุททา
           
เถรีและพระอุตราเถรีเป็นพระอัครสาวิกา ไม้โพธิพฤกษ์ของพระองค์
           
เรียกชื่อว่า ไม้มะเดื่อ อุคคอุบาสกและโสมเทวอุบาสกเป็นอัคร-
           
อุปัฏฐาก สีวลาอุบาสิกาและสามาอุบาสิกาเป็นอัครอุปัฏฐายิกา
           
พระพุทธเจ้าพระองค์นั้น มีพระองค์สูง ๓๐ ศอก ประดับด้วย
           
พระรัศมีเปล่งปลั่ง ดังทองที่ปากเบ้า พระองค์มีพระชนมายุในขณะ
           
นั้นสามหมื่นปี ทรงดำรงอยู่เท่านั้น ทรงช่วยให้ประชุมชนข้ามพ้น
           
วัฏสงสารได้มากมาย ทรงยกธรรมเจดีย์อันประดับด้วยผ้าคือธรรม
           
ขึ้นแล้ว ทรงร้อยพวงดอกไม้คือธรรมเสร็จแล้ว เสด็จนิพพานพร้อม
           
ด้วยพระสาวก พระองค์มีพระลีลาอันใหญ่มีธรรมอันเป็นสิริเป็นเครื่อง
           
ปรากฏ สิ่งทั้งปวงหายไปหมดแล้ว สังขารทั้งปวงว่างเปล่าหนอ พระ
           
โคนาคมนสัมพุทธเจ้า เสด็จนิพพาน ณ ปัพพตาราม พระธาตุของ
           
พระองค์แผ่กว้างไปในประเทศนั้นๆ ฉะนี้แล.
                    
จบโกนาคมนพุทธวงศ์ที่ ๒๓
                       
กัสสปพุทธวงศ์ที่ ๒๔
                 
ว่าด้วยพระประวัติพระกัสสปพุทธเจ้า
       [
๒๕] สมัยต่อมาพระโกนาคมนพุทธเจ้า มีพระสัมพุทธเจ้าผู้อุดมกว่าสัตว์
           
เป็นพระธรรมราชา มีพระรัสมีสว่างไสวทรงพระนามว่า กัสสปะ
           
ทรัพย์อันเป็นต้นทุนของตระกูล ที่สัตว์เป็นอันมากบูชา พระองค์
           
ทรงละทิ้งเสียแล้วทรงเป็นทายกผู้องอาจให้ทาน ยังฉันทะให้เต็ม ทรง
           
ทำลายกิเลสดังสัตว์ร้ายแล้ว ทรงบรรลุสัมโพธิญาณอันอุดม เมื่อ
           
พระกัสสปะผู้เป็นนายกของโลก ทรงประกาศพระธรรมจักร ธรรมา-
           
ภิสมัยครั้งที่ ๑ ได้มีแก่สัตว์สองหมื่นโกฏิ ในคราวเมื่อพระพุทธเจ้า
           
เสด็จจาริกไปในโลกตลอด ๔ เดือน ธรรมาภิสมัยครั้งที่ ๒ ได้มี
           
แก่สัตว์หมื่นโกฏิ ในคราวเมื่อพระองค์ทรงทำยมกปาฏิหาริย์แสดง
           
ฤทธิ์ต่างๆ ทรงประกาศพระญาณธาตุ ธรรมาภิสมัยครั้งที่ ๓ ได้มี
           
แก่สัตว์ห้าพันโกฏิ ในคราวที่พระองค์ทรงแสดงธรรม ณ สุธรรมเทพ-
           
นครอันรื่นรมย์ พระชินเจ้าทรงทำให้เทวดาสามพันโกฏิได้ตรัสรู้
           
และในคราวทรงแสดงธรรมแก่มนุษย์ เทวดา และยักษ์อีกครั้งหนึ่ง
           
มนุษย์เป็นต้นผู้ได้ตรัสรู้ธรรมนั้นจะคณนานับมิได้ แม้พระพุทธเจ้า
           
พระองค์นั้นก็ทรงมีการประชุมพระภิกษุขีณาสพ ผู้ปราศจากมลทิน
           
มีจิตสงบระงับ ผู้คงที่ ครั้งเดียว ครั้งนั้นพระภิกษุขีณาสพผู้ล่วง
           
สุดภพแล้ว ผู้คงที่ด้วยหิริและศีลมาประชุมกันสองหมื่น ในกาลนั้น
           
เราเป็นมาณพ มีชื่อปรากฏ ว่าโชติปาละ เป็นผู้เล่าเรียน ทรงมนต์
           
รู้จบไตรเพทถึงที่สุดในคำภีร์ทำนายลักษณะและคัมภีร์อิติหาสะ เป็น
           
ผู้ฉลาดในวิชาดูพื้นที่และอากาศ เป็นผู้ใช้วิชา ไม่มีทุกข์ ฆฏิการ
           
อุบาสกผู้อุปัฏฐากแห่งพระผู้มีพระภาคกัสสปะ เป็นผู้มีความเคารพ
           
ยำเกรง เป็นพระอนาคามี ฆฏิการอุบาสกได้พาเราเข้าไปเฝ้าพระ-
           
กัสสปชินเจ้า เราได้ฟังธรรมของพระองค์แล้วบวชในสำนักของ
           
พระองค์ เราเป็นผู้ปรารภความเพียร ฉลาดในวัตรและมิใช่วัตร
           
ไม่เสื่อมในที่ไหนๆ ปฏิบัติตามคำสั่งสอนของพระชินเจ้าบริบูรณ์
           
เล่าเรียนนวังคสัตถุศาสน์เท่าที่พระพุทธเจ้าตรัสแล้วทุกอย่าง ยัง
           
พระศาสนาของพระพิชิตมารให้งดงาม แม้พระพุทธเจ้าพระองค์นั้น
           
ทรงเห็นความอัศจรรย์ของเราแล้ว จึงทรงพยากรณ์ว่า ในภัทรกัปนี้
           
ผู้นี้จักได้เป็นพระพุทธเจ้าในโลก ...... ข้ามแม่น้ำใหญ่ ฉะนั้น
           
เราได้ฟังพระพุทธพยากรณ์แม้นั้นแล้วยังจิตให้เลื่อมใสอย่างยิ่ง เรา
           
อธิษฐานวัตรในการบำเพ็ญเพียรบารมี ๑๐ ประการ การให้ยิ่งขึ้นไป
           
เรานึกถึงพระพุทธพยากรณ์อย่างนี้แล้ว งดเว้นอนาจาร กระทำกรรม
           
ที่ทำได้ยาก เพราะเหตุแห่งพระโพธิญาณเท่านั้น พระนครชื่อว่า
           
พาราณสี พระบรมกษัตริย์ พระนามว่ากิกี ตระกูลใหญ่ของพระ-
           
สัมพุทธเจ้าอยู่ในพระนครนั้น พรหมทัตตพราหมณ์เป็นพุทธบิดา
           
นางธนวดีพราหมณีเป็นพุทธมารดา พระองค์ทรงครอบครองอาคาร
           
สถานอยู่สองพันปี ทรงมีปราสาทอันประเสริฐ ๓ ปราสาท ชื่อหังษะ
           
ยสะ และสิริจันทะ มีนางสาวนารีสี่หมื่นแปดพันนางล้วนประดับ
           
ประดาสวยงาม นางสุนันทาพราหมณีเป็นภรรยา บุตรชายนามว่า
           
วิชิตเสน พระองค์ผู้เป็นบุรุษอุดม ได้เห็นนิมิต ๔ ประการ จึงออก
           
บวชพร้อมด้วยปราสาท ทรงบำเพ็ญเพียรอยู่ ๗ วัน พระกัสสปมหา-
           
วีรเจ้าผู้เป็นนายกของโลกผู้อุดมกว่านรชน อันพรหมทูลอาราธนาแล้ว
           
ทรงประกาศพระธรรมจักรที่มฤคทายวัน ทรงมีพระติสสเถระและ
           
พระภารทวาชเถระ เป็นพระอัครสาวก พระเถระชื่อว่าสรรพมิตตะ
           
เป็นพระพุทธอุปัฏฐาก พระอนุลาเถรีและพระอุรุเวลาเถรีเป็นพระ-
           
อัครสาวิกา ไม้โพธิพฤกษ์ของพระองค์เรียกชื่อว่านิโครธ สุมังคล
           
อุบาสกและฆฏิการอุบาสก เป็นอัครอุปัฏฐาก วิชิตเสนาอุบาสก และ
           
ภัททาอุบาสิกาเป็นอัครอุปัฏฐายิกา พระพุทธเจ้าพระองค์นั้น มี
           
พระองค์สูง ๒๐ ศอก มีพระรัศมีเปล่งปลั่งดังสายฟ้าในอากาศ
           
ดุจพระจันทร์เต็มดวง พระองค์มีพระชนมายุสองหมื่นปี เมื่อทรง
           
ดำรงอยู่เพียงนั้น ทรงช่วยให้ประชุมชนข้ามพ้นวัฏสงสารได้มากมาย
           
ทรงสร้างสระน้ำคือธรรมไว้ ทรงประทานเครื่องลูบไล้ คือ ศีล
           
ทรงจัดผ้าคือธรรมไว้นุ่งห่ม ทรงแจกพวงมาลัยคือธรรม ทรงตั้ง
           
กระจกเงาอันไร้มลทินคือธรรมไว้ให้มหาชน ด้วยทรงหวังว่า ชน
           
บางพวกปรารถนานิพพาน จงเห็นเครื่องประดับของเรา ทรงจัดเสื้อ
           
คือศีล เกราะหนังคือญาณ ทรงจัดหนังคือธรรมไว้ให้คลุม และ
           
เครื่องรบอย่างดีเลิศให้ ทรงจัดโล่ห์คือสติ หอกคือญาณอันคมกล้า
           
ดาบอย่างดีคือธรรม และศาตราวุธเครื่องย่ำยีศัตรูคือศีลไว้ให้ ทรงจัด
           
ภูษา คือไตรวิชา พวงมาลัยสวมศีรษะคือผล ๔ เครื่องอาภรณ์ คือ
           
อภิญญา ๖ และดอกไม้เครื่องประดับคือธรรม ร่มขาวคือพระสัทธรรม
           
อันเป็นเครื่องป้องกันบาป ทรงนิรมิตดอกไม้ คือ ความไม่มีเวรภัย
           
ไว้ให้เสร็จแล้ว พระองค์ก็เสด็จนิพพานพร้อมด้วยพระสาวก แท้-
           
จริง พระสัมมาสัมพุทธเจ้ามีพระคุณหาประมาณมิได้ ยากที่จะรู้ได้
           
พระธรรมรัตนะที่ตรัสไว้ดีแล้วควรเรียกให้มาดู พระสังฆรัตนะผู้
           
ปฏิบัติดี ไม่มีผู้อื่นยิ่งไปกว่า ทั้ง ๓ รัตนะนี้ หายไปหมดทุกอย่างแล้ว
           
สังขารทั้งปวงว่างเปล่าหนอ พระมหากัสสปชินศาสดา เสด็จนิพพาน
           
ที่เสตัพยาราม ทระสถูปของพระองค์ สูงหนึ่งโยชน์ ประดิษฐานอยู่
           
ณ เสตัพยารามนั้น ฉะนี้แล.
                      
จบกัสสปพุทธวงศ์ที่ ๒๔
                       
โคตมพุทธวงศ์ที่ ๒๕
               
ว่าด้วยพระประวัติพระโคตมพุทธเจ้า
       [
๒๖] บัดนี้ เราเป็นพระสัมพุทธเจ้านามว่า โคดม เจริญในศากยสกุล
           
เราบำเพ็ญเพียรแล้ว ได้บรรลุสัมโพธิญาณอันอุดม พรหมอาราธนา
           
แล้ว ประกาศพระธรรมจักร ธรรมาภิสมัยครั้งที่ ๑ ได้มีแก่สัตว์
           
๑๘ โกฏิ ต่อแต่นั้น เมื่อเราแสดงธรรมในสมาคมมนุษย์และเทวดา
           
ธรรมาภิสมัยครั้งที่ ๒ จะพึงกล่าวโดยคำนวณนับมิได้ ในคราวที่เรา
           
กล่าวสอนราหุลบุตรของเราบัดนี้ ณ ที่นี้แล ธรรมาภิสมัยครั้งที่ ๓
           
จะพึงกล่าวโดยคำนวณนับมิได้ เรามีการประชุมพระสาวกผู้แสวงหา
           
คุณใหญ่ครั้งเดียว ภิกษุที่ประชุมกันมี ๑๒๕๐ รูป เราผู้ปราศจาก
           
มลทินรุ่งเรือนอยู่ในท่ามกลางภิกษุสงฆ์ เราให้สิ่งที่ปรารถนาทุกอย่าง
           
เหมือนแก้วมณีให้สิ่งที่ต้องการทั้งปวง ฉะนั้น เราประกาศจตุราริยสัจ
           
เพื่ออนุเคราะห์แก่สัตว์ทั้งหลาย ผู้หวังผล ผู้แสวงหาธรรมเครื่องละ
           
ความพอใจในภพ ธรรมาภิสมัยได้มีแก่สัตว์สองแสน ธรรมาภิสมัย
           
ครั้งที่ ๑ และครั้งที่ ๒ ได้มีแก่สัตว์โดยจะคณนานับมิได้ คำสั่งสอน
           
ของเราผู้เป็นศากยมุนี กว้างขวางเจริญแพร่หลายงอกงามดี บริสุทธิ์
           
ผ่องแผ้ว เป็นประโยชน์แก่ชนเป็นอันมาก ภิกษุหลายร้อยล้วนเป็น
           
ผู้ไม่มีอาสวะ ปราศจากราคะมีจิตสงบระงับมั่นคงแวดล้อมเราอยู่ทุก
           
เมื่อในกาลบัดนี้ ภิกษุเหล่าใด เป็นพระเสขะยังมิได้บรรลุอรหัต
           
ละภพมนุษย์ไป ภิกษุเหล่านั้น วิญญูชนตำหนิ ชนทั้งหลายผู้ชอบใจ
           
ทางพระอริยเจ้า ยินดีในธรรมทุกเมื่อ มีปัญญารุ่งเรือง ถึงจะยัง
           
ท่องเที่ยวอยู่ในสงสาร ก็จักตรัสรู้ได้ นครของเราชื่อกบิลพัสดุ์
           
พระเจ้าสุทโธทนะเป็นโยมบิดาของเรา โยมมารดาบังเกิดเกล้าของเรา
           
เรียกพระนามว่า มายาเทวี เราครอบครองอาคารสถานอยู่ ๒๙ ปี
           
มีปราสาทอันประเสริฐ ๓ ปราสาท ชื่อสุจันทะ โกกนุทะ และ
           
โกญจะ มีสนมนารีกำนัลในแปดหมื่นสี่พันนาง ล้วนประดับประดา
           
สวยงาม มเหสีของเรานามว่า ยโสธรา บุตรชายของเราชื่อว่าราหุล
           
เราเห็นนิมิต ๔ ประการ จึงออกผนวชด้วยอัสวราชยาน ได้บำเพ็ญ
           
เพียรประพฤติทุกกรกิริยาอยู่ ๖ ปี เราประกาศธรรมจักที่ป่าอิสิปตน-
           
มฤคทายวัน แขวงเมืองพาราณสี เราเป็นพระสัมพุทธเจ้าชื่อว่าโคดม
           
เป็นที่พึ่งของสัตว์ทั้งปวง ภิกษุ ๒ รูป ชื่ออุปติสสะและโกลิตะ
           
เป็นอัครสาวกของเรา ภิกษุชื่ออานนทะ เป็นอุปัฏฐาก อยู่ในสำนัก
           
ของเรา ภิกษุณีชื่อเขมาและอุบลวรรณาเป็นอัครสาวิกา จิตต-
           
คฤหบดีและหัตถกอุบาสกชาวเมืองอาฬวี เป็นอัครอุปัฏฐาก นันท-
           
มาดาและอุตราอุบาสิกาเป็นอัครอุปัฏฐายิกา เราบรรลุสัมโพธิญาณ
           
อันอุดม ที่ควงไม้อัสสัตถพฤกษ์ เรามีรัศมีซ่านออกด้านละวาทุกเมื่อ
           
สูงขึ้นไป ๑๖ ศอก บัดนี้ อายุของเราน้อย มี ๑๐๐ ปี ถึงเราจะดำรง
           
อยู่เพียงนั้น ก็ช่วยให้หมู่ชนข้ามพ้นวัฏสงสารได้มากมาย เราตั้งคบ
           
เพลิงคือธรรมไว้สำหรับให้คนภายหลังได้ตรัสรู้ อีกไม่นานเลย แม้
           
เรากับสงฆ์สาวกก็จักนิพพาน ณ ที่นี้แลเพราะสิ้นอาหาร เหมือน
           
ไฟสิ้นเชื้อ ฉะนั้น เรามีร่างกายเป็นเครื่องทรงคุณ คือ เดชอันไม่มี
           
เทียบเคียง ยศ กำลังและฤทธิ์เหล่านี้ วิจิตด้วยลักษณะอันประเสริฐ
           
๓๒ ประการ มีรัศมี ๖ ประการ สว่างไสวไปทั่วทิศน้อยใหญ่ ดุจ
           
พระอาทิตย์ ทุกอย่างจักหายไปหมดสิ้น สังขารทั้งปวงว่างเปล่าหนอ
           
ฉะนี้แล.
                      
จบโคตมพุทธวงศ์ที่ ๒๕
                        
พุทธปกิรณกกัณฑ์
              
ว่าด้วยเรื่องเบ็ดเตล็ดเกี่ยวกับพระพุทธเจ้า
       [
๒๗] ในกัปอันประมาณมิได้แก่ภัทรกัปนี้ มีพระพุทธเจ้าผู้เป็นนายกชั้น
           
พิเศษ ๔ พระองค์ คือ พระตัณหังกรสัมพุทธเจ้า ๑
           
พระเมธังกรสัมพุทธเจ้า ๑ พระสรณังกรสัมพุทธเจ้า ๑ และพระ
           
ทีปังกรสัมพุทธเจ้า ๑ ท่านเหล่านั้นเสด็จอุบัติในกัปเดียวกัน ต่อจาก
           
ที่พระทีปังกรสัมพุทธเจ้า พระสัมพุทธเจ้าพระนามว่าโกณฑัญญะ
           
พระองค์เดียวเสด็จอุบัติกัปหนึ่ง ทรงช่วยให้หมู่ชนข้ามพ้นวัฏสงสาร
           
ได้มากมาย ระหว่างพระผู้มีพระภาคทีปังกร และพระโกณฑัญญะ
           
บรมศาสดา เป็นอันตรกัป โดยจะคำนวณนับมิได้ ต่อจากพระโกณ
           
ฑัญญะบรมศาสดา มีพระพุทธเจ้าพระนามว่ามังคละ แม้ระหว่าง
           
พระโกณฑัญญะและพระมังคละพุทธเจ้านั้น ก็เป็นอันตรกัป โดยจะ
           
คำนวณนับมิได้ พระพุทธเจ้าพระนามว่ามังคละ สุมนะ เรวตะ และ
           
โสภิตะ ผู้เป็นมุนี มีจักษุ มีพระรัศมีสว่างไสว แม้พระพุทธเจ้า ๔
           
พระองค์นั้นก็เสด็จอุบัติขึ้นในกัปเดียว กันต่อจากพระโสภิตพุทธเจ้า
           
มีพระมหามุนีพระนามว่าอโนมทัสสี แม้ระหว่างพระพุทธเจ้าพระนาม
           
ว่าโสภิตะ และอโนมทัสสีนั้นก็เป็นอันตรกัป โดยจะคำนวณนับมิ
           
ได้ พระพุทธเจ้าพระนามว่าอโนมทัสสี ปทุมะ และนารทะ ผู้เป็น
           
มุนีกระทำที่สุดความมืด ก็เสด็จอุบัติขึ้นในกัปเดียว ต่อจากพระ
           
นารทสัมพุทธเจ้า มีพระพุทธเจ้าพระนามว่าปทุมุตระ เสด็จอุบัติใน
           
กัปหนึ่ง ทรงช่วยให้หมู่ชนข้ามพ้นวัฏสงสารได้มากมาย แม้ระหว่าง
           
พระผู้มีพระภาคนารทะและพระปทุมุตรศาสดานั้น ก็เป็นอันตรกัป
           
โดยจะคำนวณนับมิได้ในแสนกัป มีพระมหามุนีพระองค์เดียว คือ
           
พระปทุมุตระผู้รู้แจ้งโลก ผู้สมควรรับเครื่องบูชา ในสามหมื่นกัป
           
ต่อจากพระพุทธเจ้าพระนามว่าปทุมุตระ มีพระพุทธเจ้า ๒ พระองค์
           
คือ พระสุเมธะและพระสุชาตะ ในพันแปดร้อยกัป (แต่กัปนี้) มี
           
พระพุทธเจ้า ๓ พระองค์ คือ พระปิยทัสสี พระอัตถทัสสี และ
           
พระธรรมทัสสี ต่อจากพระสุชาตพุทธเจ้า พระสัมพุทธเจ้าผู้อุดม
           
กว่าสัตว์ ผู้ไม่มีบุคคลเปรียบในโลก ๓ พระองค์นั้น เสด็จอุบัติใน
           
กัปเดียวกัน ในกัปที่ ๙๔ แต่ภัทรกัปนี้ มีพระมหามุนีพระองค์เดียว
           
คือ พระสิทธัตถะ ผู้ทรงรู้แจ้งโลก ยอดเยี่ยมโดยมีบุญสิริ ในกัป
           
ที่ ๙๒ แต่ภัทรกัปนี้ มีพระสัมพุทธเจ้า ๒ พระองค์ คือพระติสสะ
           
และพระปุสสะ ผู้ไม่มีบุคคลเปรียบเสมอ ในกัปที่ ๙๑ แต่ภัทรกัปนี้
           
มีพระพุทธเจ้าผู้เป็นนายกของโลก ผู้มีพระกรุณาพระนามว่าวิปัสสี
           
ทรงเปลื้องสัตว์ทั้งหลายจากเครื่องผูก ในกัปที่ ๓๑ แต่ภัทรกัปนี้ มี
           
พระพุทธเจ้า ๒ พระองค์ คือพระสิขีและพระเวสสภู ผู้ไม่มีบุคคล
           
เปรียบเสมอ ในภัทรกัปนี้ มีพระพุทธเจ้า ๓ พระองค์ คือ พระ-
           
กุกกุสันธะ พระโกนาคมนะ และพระกัสสปะ บัดนี้เราเป็นพระ
           
สัมพุทธเจ้าและจักมีพระเมตไตรย์สัมพุทธเจ้า แม้พระพุทธเจ้า ๕
           
พระองค์นี้ ก็เป็นนักปราชญ์ อนุเคราะห์โลก บรรดาพระพุทธเจ้า
           
ผู้เป็นธรรมราชาเหล่านี้ พระเมตไตรย์สัมพุทธเจ้าจักตรัสบอกมรรคา
           
นั้นแก่ผู้อื่นหลายโกฏิ แล้วจักเสด็จนิพพานพร้อมด้วยพระสาวก
           
ฉะนี้แล.
                       
จบพุทธปกิรณกกัณฑ์.
                        
ธาตุภาชนียกถา
                  
ว่าด้วยการแบ่งพระบรมสารีริกธาตุ
       [
๒๘] พระมหาโคดมชินเจ้าผู้ประเสริฐ เสด็จนิพพานที่นครกุสินารา
           
พระธาตุของพระองค์ เรี่ยรายแผ่ไปในประเทศนั้นๆ พระธาตุ
           
ทะนานหนึ่ง พระเจ้าอชาตศัตรูทรงนำไปไว้ในพระนครราชคฤห์
           
ทะนานหนึ่งอยู่ในเมืองเวสาสี ทะนานหนึ่งอยู่ในนครกบิลพัสดุ์
           
ทะนานหนึ่งอยู่ในอัลลากัปปนคร ทะนานหนึ่งอยู่ในรามคาบ
           
ทะนานหนึ่งอยู่ในเวฏฐาทีปกนคร ทะนานหนึ่งอยู่ในเมืองปาวาของ
           
มัลลกษัตริย์ ทะนานหนึ่งอยู่ในเมืองกุสินารา โทณพราหมณ์ให้ช่าง
           
สร้างสถูป บรรลุทะนานทอง กษัตริย์โมริยะผู้มีหทัยยินดี รับสั่งให้
           
สร้างสถูปบรรจุพระอังคาร พระสถูปบรรจุพระสารีริกธาตุ ๘ แห่ง
           
เป็น ๙ แห่ง ทั้งตุมพเจดีย์ รวมพระอังคารสถูปด้วยเป็น ๑๐ แห่ง
           
ประดิษฐานอยู่แล้วในกาลนั้น พระทาฐธาตุข้างหนึ่งอยู่ในดาวดึงส-
           
พิภพ ข้างหนึ่งอยู่ในนาคบุรี ข้างหนึ่งอยู่ในเมืองคันธารวิสัย ข้าง
           
หนึ่งอยู่ในเมืองกาลิงคราช พระทันตธาตุ ๔๐ พระเกศธาตุและพระ
           
โลมาทั้งหมด เทวดานำไปไว้ในจักรวาลหนึ่งๆ จักรวาลละอย่าง
           
บาตรไม้เท้าและจีวรของพระผู้มีพระภาค อยู่ในวชิรานครสงบอยู่ใน
           
กุลฆรนคร ผ้าปัจจัตถรณะอยู่ในสีหฬ ธมกรกและประคตเอว อยู่
           
ในนครปาฏลิบุตร ผ้าอาบน้ำอยู่ในจำปานคร อุณณาโลมอยู่ใน
           
แคว้นโกศล ผ้ากาสาวพัสตร์อยู่ในพรหมโลก ผ้าโพกอยู่ในดาวดึงส์
            (
รอยพระบาทอันประเสริฐที่หิน เหมือนมีอยู่ที่กัจฉตบุรี) ผ้านิสีทนะ
           
อยู่ในอวันตีชนบท ผ้าลาดอยู่ในดาวดึงส์ ไม้สีไฟอยู่ในมิถิลานคร
           
ผ้ากรองน้ำอยู่ในวิเทหรัฐ มีดและกล่องเข็มอยู่ในอินทปัตถนคร ใน
           
กาลนั้น บริขารที่เหลือ อยู่ในชนบท ๓ แห่งในกาลนั้น หมู่
           
มนุษย์ในกาลนั้นจักบูชาบริขารที่พระมุนีทรงบริโภค พระธาตุของ
           
พระโคดมผู้แสวงหาคุณอันใหญ่หลวง กระจายแผ่กว้างไป เพื่อ
           
อนุเคราะห์แก่สัตว์ทั้งหลายเป็นของเก่าในกาลนั้น ฉะนี้แล.
                       
จบธาตุภาชนียกถา.
                          
จบพุธวงศ์

                                     กลับหน้าเดิม