กายคตาสติกัมมัฏฐาน
            คือการพิจารณากายของเราเอง ได้แก่
            ผม     ขน     เล็บ     ฟัน     หนัง     เนื้อ     เอ็น     กระดูก     ม้าม     หัวใจ     ตับ     ฟังผืด     ไต     ปอด     ไส้ใหญ่     ไส้น้อย    อาหารใหม่  อาหารเก่า     ดี     เสลด     หนอง     เลือด     เหงื่อ     มันข้น     น้ำตา     เปลวมัน     น้ำลาย     น้ำมูก     ไขข้อ     มูตร
            การกำหนดภาวนา ควรจะภาวนา   เกสา   โลมา   นขา   ทันตา   ตโจ  หรือ   ผม     ขน     เล็บ     ฟัน     หนัง  เรียงตามลำดับ
    หลักภาวนา คือ  1.ใจน้อมว่าเป็นสิงปฏิกูล สกปรก ไม่สะอาด แม้จะดูสะอาด แต่ก็ต้องสกปรกอีก
                                  2. ต้องน้อมนึกถึงตำแหน่งที่อยู่ คือผม อยู่บนศรีษะ ขนอยู่ตามร่างกาย เล็บออกตามเล็บมือเล็บเท้า ฟันอยู่ในปาก
                                      หนังคลุมทั้งตัว
                                  3. ต้องน้อมนึกให้เห็นลักษณะ ของ ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง ตามที่ภาวนา
                                  4. การสาธยาย อาจกล่าวด้วย วาจาหรือในใจ  เป็นอนุโลมว่า    เกสา   โลมา   นขา   ทันตา   ตโจ  จนขึ้นใจ
                                      แล้วสาธยายเป็นปฏิโลมว่า ตโจ ทันตา นขา โลมา เกสา จนขึ้นใจ (จะภาวนาเป็นภาษาไทยก็ได้) แล้วใจก็น้อมไปตาม
                                     ข้อ 1,2,3
    การภาวนาต้องไม่เร็วหรือช้านัก ถ้าท่านใดจำคำภาวนาได้หมด ก็สามารถภาวนาทั้งหมดก็ได้ ตามหลักการภาวนาที่กล่าวไว้
    อุคคหนิมิต บังเกิดมโนภาพ  เหมือนกับสิ่งที่ภาวนา แต่ลักษณะแตกต่างกันไปแล้วแต่ละท่าน แต่ก็เป็น ผม หรือ ขน หรือ เล็บ หรือ โครงกระดูก บางส่วนหรือทั้งหมด แล้วจะปรากฏเป็นปฏิภาคนิมิตที่ชัดเจน(อุปจารสมาธิ) ในปฏิกูลนิมิตนั้น จึงเข้าสู่อัปปนาสมาธิ
    กายคตาสติ ได้อัปปนาฌาน เพียงฌาน 1 เท่านั้น

                                                                                             กลับหน้าแรก