3. เตโชกสิณ (กสิณไฟ)
         การเจริญเตโชกสิณที่เป็นเอง ได้แก่ผู้ที่เคยทำมาแล้วแต่ปางก่อน เพี่ยงแต่เห็นเปลวไฟ ที่เป็นอยู่เองธรรมดา  อุคหนิมิต ก็บังเกิดขึ้นได้
                อุคหนิมิต คือนิมิตที่จำได้ติดตาติดใจ นึกถึงภาพนั้นเมื่อใดก็ปรากฏขึ้นได้เมื่อนั้น ทั้งหลับตาหรือลืมตา
        วิธิทำเตโชกสิณที่ต้องสร้างขึ้น
                        ก่อกองไฟพอประมาณ ดูให้เป็นที่ปลอดภัย ไม่ลุกลามไปที่อื่น และควรจะลับตาคนและสงบ แล้วเอาไม้กระดานหรือ ผ้าเจาะเป็นช่องกลม โตขนาด 1 คืบ 4 นิ้ว แล้วยกตั้งข้างหน้ากองไฟ
        วิธีนั่งเพ่งเตโชกสิณ
           อย่าได้สนใจถึงหญ้าหรือพื้นข้างล่าง อย่าไปคำนึงถึงควันข้างบน พึงจับเอานิมิตในเปลวไฟอันหนาทึบตรงหว่างกลางนั้น อย่าพิจารณาสีของไฟ อย่านมัสการถึงลักษณะสภาวะที่ร้อน   และต้องอยู่ห่างจากดวงกสิณระว่าง  2 ศอก ถึง 1 ศอก
        แล้วให้พิจารณาว่า กามทั้งหลายมีความยินดีนิดหน่อย แต่มีความทุกข์มาก
        แล้ว ภาวนา ลืมตาแต่พอดี จับเอานิมิตในปถวิกสิณนั้น โดยอาการเสม่ำเสมอเรื่อยๆ ไป  ไม่ใช่เพ่งจนเคร่งเครียด
        คำภาวนา ที่ใช้ก็คือ เตโช - เตโช ไปเรื่อย หรือ ไฟ - ไฟ ไปเรื่อย บางครั้งพึงลืมตาดูนิมิต บางครั้งพึงหลับตาเสีย แล้วนึกทางใจ อุคคหนิมิตยังไม่ปรากฏตราบใด ตราบนั้นก็ภาวนาไปเรื่อย

        เมื่ออุคคหนิมิตบังเกิด หลับตานึกทางใจก็เห็นภาพนิมิตอยู่อย่างนั้น  ก็ไม่จำเป็นนั่งเพ่งน้ำนั้นอีก ไปที่สงบเงียบ ภาวนาไปเรื่อย เพื่อทรงอุคคหนิมิตไว้
        เมื่อนึกตะล่อมนิมิตไว้ในใจแล้ว เมื่อมีความสมบูรณ์  จิตย่อมตั้งมั่นด้วยอุปจารสมาธิ  ปฏิภาคนิมิตย่อมเกิดขึ้น    ส่วนปฏิภาคนิมิตย่อมปรากฏเป็นสิ่งที่บริสุทธิ์ผุดผ่องกว่าอุคคหนิมิตตั้งร้อยเท่าพันเท่า  ปฏิภาคนิมิตนั้นไม่มีสีไม่มีสันฐาน ซึ่งเป็นสักว่าอาการที่ปรากฏแก่ผู้ได้สมาธิ ซึ่งเกิดจากสัญญาภาวนาเพียงอย่างเดียว เรียกว่าได้อุปจารสมาธิ
       อุปจารสมาธิเกิดขึ้นนั้นลางทีจิตก็ทำนิมิตให้เป็นอารมณ์ ลางที่ก็ตกลงภวงค์ ปฏิภาคนิมิตนั้นหายไป  เมื่อทรงอุปจารสมาธิ โดยปฏิภาคนิมิตนั้นไม่หายไป มีความเหมาะสม การทำให้เกิดปฏิภาคนิมิตนั้นเกิดขึ้นได้อยาก และการที่จะรักษาปฏิภาคนิมิตก็เป็นการยาก ดังนั้นอย่าประมาท เพราะถ้ารักษาปฏิภาคนิมิตไว้ได้ อุปจารฌานที่ได้ก็จะไม่มีการเสื่อมหายไป  นิวรณ์ 5 ก็สงบ
        ลักษณะอุคคหนิมิต - ปฏิภาคนิมิต ของอาโปกสิณ มีดังนี้
    อุคคหนิมิตย่อมปรากฏเป็นดุจเหมือนเปลวไฟ         ส่วนปฏิภาคนิมิตเป็นสภาพที่ นิ่งเหมือนผ้ากำพลแดงที่อยู่กลางแจ้ง เหมือนตาลปัตรทองคำ
       ส่วนที่เหลือก็คล้ายกับ ปถวิกสิณ
                                                                                จบเตโชกสิณโดยย่อ

                                                                                   4. วาโยกสิณ (กสิณลม)
         การเจริญวาโยกสิณ ได้แก่กำหนดเอายอดไม้ที่ต้องลมใหวอยู่ถือเอานิมิตนั้น หรือกำหนดลมที่ผัดผิวกายถือเป็นนิมติ ภานา วาโย - วาโย หรือ ลม - ลม จน  อุคหนิมิต ก็บังเกิดขึ้นได้
        ลักษณะอุคคหนิมิต - ปฏิภาคนิมิต ของอาโปกสิณ มีดังนี้
    อุคคหนิมิตย่อมปรากฏคล้ายกับ เกียวไอของข้าวต้มที่ปลงจากเตาใหม่ ๆ ย่อมปรากฏเป็นภาพเคลือนไหวได้  ส่วนปฏิภาคนิมิตเป็นสภาพที่ นิ่ง นัยเดียวกับ ปถวีกสิณ
       ส่วนที่เหลือก็คล้ายกับ ปถวิกสิณ

                                                                                   5. นีลกสิณ (กสินสีเขียว)
         การเจริญนีลกสิณ  เอาสีเขียวเข้มตัดเป็นวงกลม ขนาน 1 คืบ 4 นิ้ว ทำเหมือนกับปถวีกสิณ ถือเอานิมิตนั้น  ภานา นีลัง - นีลัง หรือ สีเขียว - สีเขียว จน  อุคหนิมิต ก็บังเกิดขึ้นได้
        ลักษณะอุคคหนิมิต - ปฏิภาคนิมิต ของอาโปกสิณ มีดังนี้
    อุคคหนิมิตย่อมปรากฏคล้ายกับ วงกลมสีเขียว  ส่วนปฏิภาคนิมิตเป็นสภาพที่ นิ่ง เหมื่อนแก้วใส นัยเดียวกับ ปถวีกสิณ
       ส่วนที่เหลือก็คล้ายกับ ปถวิกสิณ

                                                                                   6. ปีตกสิณ (กสินสีเหลือง)
         การเจริญปีตกสิณ  เอาสีเเหลืองตัดเป็นวงกลม ขนาน 1 คืบ 4 นิ้ว ทำเหมือนกับปถวีกสิณ ถือเอานิมิตนั้น  ภานา ปีตกัง - ปีตกัง หรือ สีเหลือง - สีเหลือง จน  อุคหนิมิต ก็บังเกิดขึ้นได้
        ลักษณะอุคคหนิมิต - ปฏิภาคนิมิต ของอาโปกสิณ มีดังนี้
    อุคคหนิมิตย่อมปรากฏคล้ายกับ วงกลมสีเหลือง  ส่วนปฏิภาคนิมิตเป็นสภาพที่ นิ่ง เหมื่อนแก้วใส นัยเดียวกับ ปถวีกสิณ
       ส่วนที่เหลือก็คล้ายกับ ปถวิกสิณ

                                                                                   7. โลหิตกสิณ(กสิณสีแดง)
         การเจริญโลหิตกสิณ  เอาสีแดงตัดเป็นวงกลม ขนาน 1 คืบ 4 นิ้ว ทำเหมือนกับปถวีกสิณ ถือเอานิมิตนั้น  ภานา โลหิตกัง - โลหิตกัง  หรือ สีแดง - สีแดง จน  อุคหนิมิต ก็บังเกิดขึ้นได้
        ลักษณะอุคคหนิมิต - ปฏิภาคนิมิต ของอาโปกสิณ มีดังนี้
    อุคคหนิมิตย่อมปรากฏคล้ายกับ วงกลมสีแดง  ส่วนปฏิภาคนิมิตเป็นสภาพที่ นิ่ง เหมื่อนแก้วใส นัยเดียวกับ ปถวีกสิณ
       ส่วนที่เหลือก็คล้ายกับ ปถวิกสิณ

                                                                                   8. โอทาตกสิณ (กสิณสีขาว)
         การเจริญโอทาตกสิณ  เอาสีขาวตัดเป็นวงกลม ขนาน 1 คืบ 4 นิ้ว ทำเหมือนกับปถวีกสิณ ถือเอานิมิตนั้น  ภานา โอทาตัง - โอทาตัง  หรือ สีขาว - สีขาว  จน  อุคหนิมิต ก็บังเกิดขึ้นได้
        ลักษณะอุคคหนิมิต - ปฏิภาคนิมิต ของอาโปกสิณ มีดังนี้
    อุคคหนิมิตย่อมปรากฏคล้ายกับ วงกลมสีขาว  ส่วนปฏิภาคนิมิตเป็นสภาพที่ นิ่ง เหมื่อนแก้วใส นัยเดียวกับ ปถวีกสิณ
       ส่วนที่เหลือก็คล้ายกับ ปถวิกสิณ
 

                                                                                   9. อาโลกกสิณ (กสิณแส่งสว่าง)
         การเจริญอาโลกกสิณ  เอาแส่งไฟส่องไปบนผนัง ให้เป็นวงกลม  ขนาน 1 คืบ 4 นิ้ว ทำเหมือนกับปถวีกสิณ ถือเอานิมิตนั้น  ภานา อาโลโก - อาโลโก   หรือ  แส่งสว่าง - แส่งสว่าง  จน  อุคหนิมิต ก็บังเกิดขึ้นได้
        ลักษณะอุคคหนิมิต - ปฏิภาคนิมิต ของอาโปกสิณ มีดังนี้
    อุคคหนิมิตย่อมปรากฏคล้ายกับ วงกลมแส่งสว่าง  ส่วนปฏิภาคนิมิตเป็นสภาพที่ นิ่ง เหมื่อนแก้วใส นัยเดียวกับ ปถวีกสิณ
       ส่วนที่เหลือก็คล้ายกับ ปถวิกสิณ

                                                                                   10. ปริจฉินนากาสกสิณ (กสิณที่ว่าง)
         การเจริญอาโลกกสิณ  อยู่ในห้องมืดเจาะเป็นช่องไว้ ให้เป็นวงกลม  ขนาน 1 คืบ 4 นิ้ว และต้องเป็นที่โล่งว่าง ทำเหมือนกับปถวีกสิณ ถือเอานิมิตนั้น  ภานา อากาโส - อากาโส   หรือ  ที่ว่าง - ที่ว่าง  จน  อุคหนิมิต ก็บังเกิดขึ้นได้
        ลักษณะอุคคหนิมิต - ปฏิภาคนิมิต ของอาโปกสิณ มีดังนี้
    อุคคหนิมิตย่อมปรากฏคล้ายกับ วงกลมที่วาง  ส่วนปฏิภาคนิมิตเป็นสภาพที่ นิ่ง เหมื่อนแก้วใส นัยเดียวกับ ปถวีกสิณ
       ส่วนที่เหลือก็คล้ายกับ ปถวิกสิณ

                เมื่อปฏิบัติกสิณทั้ง 10 ถึงฌาน 4 ทั้งหมด จนชำนาญ ก็สามารถทำฤทธิ์ บังเกิดขึ้นได้
        1. ฤทธิ์เกิดด้วยอำนาจปถวีกสิณ
                คนเดียวเนรมิต เป็นหลายคน   เนรมิตแผ่นดินขึ้นในอากาศหรือน้ำ แล้วเดิน ยืน นั่ง ในอากาศหรือบนน้ำได้
        2. ฤทธิ์เกิดด้วยอำนาจอาโปกสิณ
                ดำลงไปในแผ่นดิน และมุดโผล่พื้นแผ่ดินขึ้นมาได้ บันดาลให้ฝนตกได้ ให้เกิดเป็นแม่น้ำและมหาสมุทรได้  บันดาลให้แผ่นดิน
               ภูเขาหรือปราสาท สั่นสะเทือนได้
        3. ฤทธิ์เกิดด้วยอำนาจเตโชกสิณ
                บังหวนควันได้  บันดาลให้ไฟลุกโพลงได้ ให้ฝนถ่านเพลิงตกได้  บันดาลให้ไฟที่เกิดด้วยฤทธิ์ผู้อื่น
                ให้ดับได้ด้วยไฟที่เกิดขึ้นด้วยฤทธิ์ ของตน บันดาลให้เกิดแส่งสว่างเพื่อเห็นรุปด้วยจักษุอันเป็นทิพย์
        4. ฤทธิ์เกิดด้วยอำนาจวาโยกสิณ
                เหาะไปในอากาศได้เร็วเหมือนอย่างลมพัด บันดาลพายุฝนได้
        5. ฤทธิ์เกิดด้วยอำนาจนีลกสิณ
                เนรมิตสิ่งต่างให้เป็นสีเขียวได้ บันดาลให้เกิดความมืดขึ้นได้
        6. ฤทธิ์เกิดด้วยอำนาจปีตกสิณ
                เนรมิตสิ่งต่างๆ ให้เป็นสืเหลืองได้  เสก เหล็ก ทองเหลืองและทองแดงเป็นทองคำได้
        7. ฤทธิ์เกิดด้วยอำนาจโลหิตโปกสิณ
                เนรมิตสิ่งต่างๆ ให้เป็นสีแดงได้
        8. ฤทธิ์เกิดด้วยอำนาจโอทาตกสิณ
                 เนรมิตสิ่งต่างๆ ให้เป็นสีขายได้  บันดาลให้สร่างหายจากความง่วงเหงาหาวนอนได้ บันดาลให้ความมืดหายไปได้
                 บันดาลให้เกิดแส่งสว่างเพื่อเห็นรูปด้วยจักษุทิพย์ได้
        9. ฤทธิ์เกิดด้วยอำนาจอาโลกสิณ
                 เนรมิตสิ่งของต่างๆ ให้มีแส่งสว่างได้ บันดาลให้สร่างหายจากความง่วงเหงาหาวนอนได้ บันดาลให้ความมืดหายไปได้
                 บันดาลให้เกิดแส่งสว่างเพื่อเห็นรูปด้วยจักษุทิพย์ได้
       10. ฤทธิ์เกิดด้วยอำนาจอาโลกสิณ
                บันดาลสิ่งที่ปกปิดกำบังไว้ให้ปรากฏเห็นได้ เนรมิตช่องว่างขึ้นในแผ่นดินและภูเขา แล้วสามารถยืน เดิน นั่ง นอนได้
                ทะลุออกไปนอกฝากำแพงได้

                                                                                    กลับหน้าแรก