ปถวิกสิณ
         การเจริญปถวิกสิณที่เป็นเอง ได้แก่ผู้ที่เคยทำมาแล้วแต่ปางก่อน เพี่ยงแต่เห็นพื้นดิน ที่ไถ หรือลานดิน อุคหนิมิต ก็บังเกิดขึ้นได้
                อุคหนิมิต คือนิมิตที่จำได้ติดตาติดใจ นึกถึงภาพนั้นเมื่อใดก็ปรากฏขึ้นได้เมื่อนั้น ทั้งหลับตาหรือลืมตา
        วิธิทำปถวีกสิณที่ต้องสร้างขึ้น
                        1.ปถวิกสิณที่โยกย้ายได้ ต้องเอาดินสีเหมือนแสงอรุณ ไม่มีสีอื่นๆ ปนอยู่ เอารากหญ้าและเศษกรวดทรายออกหมดแล้ว แล้วมาทามี่ผืนผ้า ทำให้เป็นรูปวงกลม เท่ากับปากกระดัง หรือปากขันขนานใหญ่ ก็คือประมาณ 1 คืบ 4 นิ้ว  แล้วขึงติดกับไม้ สามารถย้ายไปใหนมาใหนได้
                        2. ปถวิกสิณที่โยกย้ายไม่ได้ คือทำติดผนังตายตัว
        วิธีนั่งเพ่งปถวิกสิณ
            ต้องตั้งป้ายกระสิณ อยู่ในระดับสายตาพอดี ไม่ให้สูงหรือต่ำหรือเอียง จากสายตา เพราะจะทำให้เหมื้อย ได้เมื่อเพ่งนานๆ และต้องอยู่ห่างจากดวงกสิณระว่าง  2 ศอก ถึง 1 ศอก
        แล้วให้พิจารณาว่า กามทั้งหลายมีความยินดีนิดหน่อย แต่มีความทุกข์มาก
        แล้ว ภาวนา ลืมตาแต่พอดี จับเอานิมิตในปถวิกสิณนั้น โดยอาการเสม่ำเสมอเรื่อยๆ ไป  ไม่ใช่เพ่งจนเคร่งเครียด
        คำภาวนา ที่ใช้ก็คือ ปถวี - ปถวี ไปเรื่อย หรือ ดิน - ดิน ไปเรื่อย บางครั้งพึงลืมตาดูนิมิต บางครั้งพึงหลับตาเสีย แล้วนึกทางใจ อุคคหนิมิตยังไม่ปรากฏตราบใด ตราบนั้นก็ภาวนาไปเรื่อย

        เมื่ออุคคหนิมิตบังเกิด หลับตานึกทางใจก็เห็นภาพนิมิตอยู่อย่างนั้น  ก็ไม่จำเป็นนั่งเพ่งป้ายกสิณนั้นอีก ไปที่สงบเงียบ ภาวนาไปเรื่อย เพื่อทรงอุคคหนิมิตไว้
        เมื่อนึกตะล่อมนิมิตไว้ในใจแล้ว เมื่อมีความสมบูรณ์  จิตย่อมตั้งมั่นด้วยอุปจารสมาธิ  ปฏิภาคนิมิตย่อมเกิดขึ้น    ส่วนปฏิภาคนิมิตย่อมปรากฏเป็นสิ่งที่บริสุทธิ์ผุดผ่องกว่าอุคคหนิมิตตั้งร้อยเท่าพันเท่า  ปฏิภาคนิมิตนั้นไม่มีสีไม่มีสันฐาน ซึ่งเป็นสักว่าอาการที่ปรากฏแก่ผู้ได้สมาธิ ซึ่งเกิดจากสัญญาภาวนาเพียงอย่างเดียว เรียกว่าได้อุปจารสมาธิ
       อุปจารสมาธิเกิดขึ้นนั้นลางทีจิตก็ทำนิมิตให้เป็นอารมณ์ ลางที่ก็ตกลงภวงค์ ปฏิภาคนิมิตนั้นหายไป  เมื่อทรงอุปจารสมาธิ โดยปฏิภาคนิมิตนั้นไม่หายไป มีความเหมาะสม การทำให้เกิดปฏิภาคนิมิตนั้นเกิดขึ้นได้อยาก และการที่จะรักษาปฏิภาคนิมิตก็เป็นการยาก ดังนั้นอย่าประมาท เพราะถ้ารักษาปฏิภาคนิมิตไว้ได้ อุปจารฌานที่ได้ก็จะไม่มีการเสื่อมหายไป  นิวรณ์ 5 ก็สงบ
                นิวรณ์ 5 คือ
                    1. กามฉันทะ                      ความพอใจในกาม
                    2. พยาบาท                          ความไม่ชอบใจ
                    3. ถีนมิทธะ                        ความง่วงเหงาและความเซื่องซึม
                    4. อุทธัจจะกุกกุจจะ          ความฟุ้งซ่านและรำคาญใจ
                    5.วิจิกิจฉา                            ความตัดสินใจไม่ได้
             องค์ฌาน 5 .เริ่มปรากฏ  คือ
                1. วิตก   ได้แก่ความกำหนดเอาอารมณ์ หรือการยกจิต หรือการตะล่อมอารมณืไว้เป็นกิจ
                2. วิจาร   ได้แก่การไตร่ตรองดูอารมณ์ มีอันตามผูกพันจิตไว้ในอารมณ์เป็นการปรากฏ
                3. ปีติ      ทำให้มีความเอิบอีม มีการแผ่ซ่านไปในกาย ทำให้กายและใจฟูขึ้น  ปีติ มี 5 อย่าง
                4. สุข     ความสบายกายความสบายใจ มีความยินดี
                5. เอกคตา(อุเบกขา) ความมีอารมณ์อย่างเดียวของจิต
                ปีตี มี 5 อย่างคือ
                1. ขุททกาปีติ               ปีติที่ทำให้ขนชูชันเล็กน้อย
                2. ขณิกาปีติ                 ปีติที่เกิดขึ้นชั่วขณะๆ เหมือนฟ้าแลบ
                3. โอกกันติกาปีติ       ปีติที่กระทบกาย  เหมือนดังคลื่นกระทบกาย
                4. อุพเพงคาปีติ          ปีติโลดโผน ทำให้ตัวลอยขึ้นได้
                5. ผรณาปีติ                 ปีติที่ซาบซ่าน แผ่ไปทั่วร่างกาย
  เมื่อภาวนาประคองอุปจารฌาน ให้ดำรงณ์อยู่ได้  องค์ฌาน 5 ปรากฏชัด จิตก็จะรวมตัวเข้าสู่ อัปปนาสมาธิ ชั่วขณะจิตหนึ่ง ก็บรรลุ  ปฐมฌาน (ฌาน 1)
    - ต้องจำอาการที่บรรลุฌานไว้ให้แม่นยำ( ส่วนมากผู้บรรลุฌานย่อมจำอาการได้อย่างแม้นยำ  เพราะเป็นอาการที่พิเศษชัดเจน ยากที่จะลืม)
    - พึงรักษาให้ดำรงอยู่ได้นานๆ  คือการเข้าสมาบัติได้นาน หมายถึงพึ่งชำระจิตใจ ให้สงบจากเครื่องกังวลทั้งหลาย สอาดจากนิวรณ์ 5 ก็จะเข้าสมาบัติได้นาน
    - ต้องทำให้ชำนาญด้วย  วสี 5
            1. อาวัชชนวสี              ความสามารถในการพิจารณาองค์ฌานด้วยมโนทวาราวัชชนจิต
            2. สมาปัชชนวสี          ความสามารถในการเข้าฌาน
            3. อฐิฏฐานวสี             ความสามารถในการให้ฌานดำรงอยู่ตามกำหนด
            4. วุฏฐานวสี                ความสามารถ ในการออกจากฌานตามกำหนด
            5. วุฏฐานวสี                ความสามารถในการพิจารณาองค์ฌานด้วยชวนจิต
     - การขยายปฏิภาคนิมิต ซึ่งจะขยายได้ 2 ช่วง คือ 1. ช่วงที่เป็นอุปจารฌานที่เป็นปฏภาคนิมิต  2.ช่วงอัปปนาไปแล้ว ก็คอยขยายปฏิภาคนิมิตนั้นก็ได้
     - วิธีขยายปฏิภาคนิมิต ขยายประมาณ 1 นิ้ว  2 นิ้ว  3 นิ้ว 4 นิ้ว ตามลำดับ ขยายเท่า หน้าต่าง ขยายเท่าห้อง ขยายเท่าวัด ขยายเท่าตำบล จังหวัด ประเทศ ทั้งโลก ทั้งจักรวาล หรือมากกว่านั้น 
    เมื่อมีวสียังภาวนา และเห็นความหยาบของจิต  ที่มีวิกตกวิจาร ภาวนาไปเรื่อย ก็จะบรรลุ ทุติฌาน (ฌาน 2) ก็จะละวิกตกวิจารไปได้ จึงมีองค์ฌาน เพียง 3 คือ
                3. ปีติ      ทำให้มีความเอิบอีม มีการแผ่ซ่านไปในกาย ทำให้กายและใจฟูขึ้น
                4. สุข     ความสบายกายความสบายใจ มีความยินดี
                5. เอกคตา(อุเบกขา) ความมีอารมณ์อย่างเดียวของจิต
   เช่นเดียวกัน เมื่อมีวสียังภาวนา และเห็นความหยาบของปีติ  ภาวนาไปเรื่อย ก็จะบรรลุ ตติยฌาน (ฌาน 3) ก็จะละปีติไปได้ จึงมีองค์ฌาน เพียง 2   คือ
                4. สุข     ความสบายกายความสบายใจ มีความยินดี
                5. เอกคตา(อุเบกขา) ความมีอารมณ์อย่างเดียวของจิต
   เช่นเดียวกัน เมื่อมีวสียังภาวนา และเห็นความหยาบสุข  ภาวนาไปเรื่อย ก็จะบรรลุ จตุตถฌาน (ฌาน 4) ก็จะละปีติไปได้ จึงมีองค์ฌาน เพียง 1   คือ
                5. เอกคตา(อุเบกขา หรือ ฌานุเปกขา)
    อุเบกขามีอยู่ 10 ประการ
            1. ฉพังคุเปกขา                    อุเปกขาประกอบด้วยองค์  6 มีในพระอรหันต์
            2. พรหมวิหารุเปกขา          คืออาการกลางๆ ในสัตว์ทั้งหลาย ในพรหมวิหาร ข้อ 4 (อุเปกขา)
            3. โพชฌังคุเปกขา              อุเปกขาอันอาศัยวิเวก อันอาศัยนิพพานให้เกิดขึ้น
            4. วิริยุเปกขา                         อุเบกขาคือวิริยะ คือมนสิการถึงอุเปกขานิมิตตลอด
            5. สังขารุเปกขา                   อุเปกขาในสังขาร อยู่ในวิปัสสนาญาณ ที่ 11
            6. เวทนูเปกขา                      อุเปกขาในเวทนา (เฉยๆ)
            7. วิปัสสนูเปกขา                  อุเปกขาในวิปัสสนูกิเลส
            8. ตัตรมัชฌัตตุเปกขา          อุเปกขาเจตสิก
            9. ฌานุเปกขา                        อุเปกขาในฌาน
          10. ปาริสุทธเปกขา                 อุเปกขาบริสุทธิ์จากข้าศึก
                                                                                จบปถวีกสิณโดยย่อ
                                ดูอาโป(น้ำ)กสิน                                                            กลับหน้าแรก