. สัพพาสวสังวรสูตร
                 
ว่าด้วยการสังวรในอาสวะทั้งปวง
      [
๑๐] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้:-
     
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเสด็จประทัยอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิก
 
เศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ณ ที่นั้น พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย
 
ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคว่า พระเจ้าข้า พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้ว่า ดูกร
 
ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงปริยายว่าด้วยการสังวรอาสวะทั้งปวงแก่พวกเธอ พวกเธอจงฟัง จงใส่ใจ
 
ให้ดี เราจักกล่าว ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคว่า อย่างนั้น พระเจ้าข้า.
      [
๑๑] พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้ว่า  ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวความสิ้น
 
อาสวะของภิกษุผู้รู้อยู่ เห็นอยู่ เราไม่กล่าวความสิ้นอาสวะของภิกษุผู้ไม่รู้อยู่ ไม่เห็นอยู่ ดูกรภิกษุ
 
ทั้งหลาย ความสิ้นอาสวะจะมีได้แก่ภิกษุผู้รู้อะไร เห็นอยู่อะไร ความสิ้นอาสวะจะมีได้แก่ภิกษุ
 
ผู้รู้เห็นโยนิโสมนสิการและอโยนิโสมนสิการ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุมนสิการโดยไม่แยบคาย
 
อาสวะทั้งหลายที่ยังไม่เกิดขึ้น ย่อมเกิดขึ้น และที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมเจริญขึ้น เมื่อภิกษุมนสิการ
 
โดยแยบคาย อาสวะทั้งหลายที่ยังไม่เกิดขึ้น ย่อมไม่เกิดขึ้น และที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมเสื่อมสิ้นไป
 
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อาสวะที่จะพึงละได้เพราะการเห็นมีอยู่ ที่จะพึงละได้เพราะการสังวรก็มี ที่จะพึง
 
ละได้เพราะเสพเฉพาะก็มี ที่จะพึงละได้เพราะความอดกลั้นก็มี ที่จะพึงละได้เพราะเว้นรอบก็มี
 
ที่จะพึงละได้เพราะบรรเทาก็มี ที่จะพึงละได้เพราะอบรมก็มี.
                
ว่าด้วยการละอาสวะได้เพราะการเห็น
      [
๑๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อาสวะเหล่าไหน ที่จะพึงละได้เพราะการเห็น? ดูกรภิกษุ
 
ทั้งหลาย ปุถุชนในโลกนี้ ผู้ไม่ได้สดับ ไม่ได้เห็นพระอริยะทั้งหลาย ไม่ฉลาดในธรรมของพระ
 
อริยะ ไม่ได้รับแนะนำในธรรมของพระอริยะ ไม่ได้เห็นสัปบุรุษ ไม่ฉลาดในธรรมของสัปบุรุษ
 
ไม่ได้รับแนะนำในธรรมของสัปบุรุษ ย่อมไม่รู้ทั่วถึงธรรมอันตนควรมนสิการ ย่อมไม่รู้ทั่วถึงธรรม
 
อันตนไม่ควรมนสิการ เมื่อเขาไม่รู้ทั่วถึงธรรมที่ควรมนสิการ ไม่รู้ทั่วถึงธรรมที่ไม่ควรมนสิการ
 
ย่อมมนสิการธรรมที่ไม่ควรมนสิการ ย่อมไม่มนสิการธรรมที่ควรมนสิการ.
     
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมที่ไม่ควรมนสิการ ที่ปุถุชนมนสิการอยู่เป็นไฉน? ดูกรภิกษุ
 
ทั้งหลาย เมื่อปุถุชนนั้นมนสิการธรรมเหล่าใดอยู่ กามาสวะก็ดี ภวาสะก็ดี อวิชชาสวะก็ดี ที่ยัง
 
ไม่เกิดขึ้น ย่อมเกิดขึ้น ที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมเจริญขึ้น ธรรมที่ไม่ควรมนสิการเหล่านี้ ที่เขามนสิการ
 
อยู่
     
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมที่ควรมนสิการที่ปุถุชนไม่มนสิการอยู่ เป็นไฉน? เมื่อปุถุชน
 
นั้นมนสิการธรรมเหล่าใดอยู่ กามาสวะก็ดี ภวาสวะก็ดี อวิชชาสวะก็ดีที่ยังไม่เกิดขึ้น ย่อมไม่
 
เกิดขึ้น ที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมเสื่อมสิ้นไป ธรรมที่ควรมนสิการเหล่านี้ ที่เขาไม่มนสิการอยู่ อาสวะ
 
ทั้งหลายที่ยังไม่เกิดขึ้น ย่อมเกิดขึ้น ที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมเจริญแก่ปุถุชนนั้น เพราะมนสิการธรรม
 
ที่ไม่ควรมนสิการ และเพราะไม่มนสิการธรรมที่ควรมนสิการ
     
ปุถุชนนั้นมนสิการอยู่โดยไม่แยบคายอย่างนี้ว่า เราได้มีแล้วในอดีตกาลหรือหนอ เรา
 
ไม่ได้มีแล้วในอดีตกาลหรือหนอ ในอดีตกาลเราได้เป็นอะไรหนอ ในอดีตกาลเราได้เป็นอย่างไร
 
หนอ ในอดีตกาลเราได้เป็นอะไรแล้วจึงเป็นอะไรหนอ ในอนาคตกาลเราจักมีหรือหนอ ในอนาคต
 
กาลเราจักไม่มีหรือหนอ ในอนาคตกาลเราจักเป็นอะไรหนอ ในอนาคตกาลเราจักเป็นอย่างไรหนอ
 
ในอนาคตกาลเราจักเป็นอะไรแล้วจึงจักเป็นอะไรหนอ หรือว่า ปรารภกาลปัจจุบันในบัดนี้มีความ
 
สงสัยขึ้นภายในว่า เรามีอยู่หรือ เราไม่มีอยู่หรือ เราเป็นอะไรหนอ เราเป็นอย่างไรหนอ สัตว์นี้
 
มาแต่ไหนหนอ และมันจักไป ณ ที่ไหน.
     
เมื่อปุถุชนนั้นมนสิการอยู่โดยไม่แยบคายอย่างนี้ บรรดาทิฏฐิ ๖ ทิฏฐิอย่างใดอย่างหนึ่ง
 
ย่อมเกิดขึ้น ทิฏฐิโดยจริงโดยแท้ย่อมเกิดขึ้นแก่ปุถุชนนั้นว่า ตนของเรามีอยู่ หรือว่า ตนของเรา
 
ไม่มีอยู่ หรือว่า เราย่อมรู้ชัดตนด้วยตนเอง หรือว่า เราย่อมรู้ชัดสภาพมิใช่ตนด้วยตนเอง หรือว่า
 
เราย่อมรู้ตนด้วยสภาพมิใช่ตน อีกอย่างหนึ่ง ทิฏฐิย่อมเกิดมีแก่ปุถุชนนั้นอย่างนี้ว่า ตนของเรา
 
นี้เป็นผู้เสวย ย่อมเสวยวิบากแห่งกรรมทั้งดีทั้งชั่วในอารมณ์นั้นๆ ก็ตนของเรานี้นั้นเป็นของ
 
แน่นอนยั่งยืนเที่ยงแท้ ไม่แปรปรวนเป็นธรรมดา จักตั้งอยู่อย่างนั้นเสมอด้วยสิ่งยั่งยืนแท้ ข้อนี้
 
เรากล่าวว่าทิฏฐิ ชัฏคือทิฏฐิ กันดารคือทิฏฐิ เสี้ยนหนามคือทิฏฐิ ความดิ้นรนคือทิฏฐิ สิ่งที่ประกอบ
 
สัตว์ไว้คือทิฏฐิ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวว่า ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับผู้ประกอบด้วยทิฏฐิสังโยชน์
 
ย่อมไม่พ้นจากชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส ย่อมไม่พ้นจากทุกข์.
     
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ส่วนอริยสาวกผู้สดับแล้ว ผู้เห็นพระอริยะทั้งหลาย ฉลาดในธรรมของ
 
พระอริยะ ได้รับแนะนำด้วยดีในธรรมของพระอริยะ ผู้เห็นสัปบุรุษ ฉลาดในธรรมของสัปบุรุษ
 
ได้รับคำแนะนำด้วยดีในธรรมของสัปบุรุษ ย่อมรู้ทั่วถึงธรรมที่ควรมนสิการ และไม่ควรมนสิการ
 
เมื่ออริยสาวกนั้นรู้ทั่วถึงธรรมที่ควรมนสิการ และไม่ควรมนสิการ ย่อมไม่มนสิการธรรมที่ไม่ควร
 
มนสิการ และมนสิการธรรมที่ควรมนสิการ.
     
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมที่ไม่ควรมนสิการเหล่าไหน ที่อริยสาวกไม่มนสิการ? เมื่ออริย-
 *
สาวกนั้นมนสิการธรรมเหล่าใดอยู่ กามาสวะก็ดี ภวาสวะก็ดี อวิชชาสวะก็ดี ที่ยังไม่เกิดขึ้นย่อม
 
เกิดขึ้น ที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมเจริญขึ้น ธรรมที่ไม่ควรมนสิการเหล่านี้ ที่อริยสาวกไม่มนสิการ.
     
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมที่ควรมนสิการเหล่าไหน ที่อริยสาวกมนสิการอยู่? เมื่ออริยสาวก
 
นั้นมนสิการธรรมเหล่าใดอยู่ กามาสวะก็ดี ภวาสวะก็ดี อวิชชาสวะก็ดี ที่ยังไม่เกิดขึ้น ย่อม
 
ไม่เกิดขึ้น ที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมเสื่อมสิ้นไป ธรรมที่ควรมนสิการเหล่านี้ ที่อริยสาวกมนสิการอยู่
 
อาสวะทั้งหลายที่ยังไม่เกิดขึ้น จะไม่เกิดขึ้น และที่เกิดขึ้นแล้ว จะเสื่อมสิ้นไปแก่อริยสาวกนั้น
 
เพราะไม่มนสิการธรรมที่ไม่ควรมนสิการ และเพราะมนสิการธรรมที่ควรมนสิการ.
     
อริยสาวกนั้น ย่อมมนสิการโดยแยบคายว่า นี้ทุกข์ นี้เหตุให้เกิดทุกข์ นี้ความดับทุกข์
 
นี้ปฏิปทาให้ถึงความดับทุกข์ เมื่ออริยสาวกนั้นมนสิการอยู่โดยแยบคายอย่างนี้ สังโยชน์ ๓ คือ
 
สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาส ย่อมเสื่อมสิ้นไป ดูกรภิกษุทั้งหลาย อาสวะเหล่านี้
 
เรากล่าวว่า จะพึงละได้เพราะการเห็น
      [
๑๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อาสวะเหล่าไหน ที่จะพึงละได้เพราะการสังวร? ดูกรภิกษุ
 
ทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ พิจารณาโดยแยบคายแล้วเป็นผู้สำรวมแล้วด้วยความสำรวม
 
ในจักขุนทรีย์อยู่ ก็อาสวะและความเร่าร้อนอันกระทำความคับแค้นเหล่าใด พึงเกิดขึ้นแก่ภิกษุนั้น
 
ผู้ไม่สำรวมจักขุนทรีย์ อาสวะและความเร่าร้อนอันกระทำความคับแค้นเหล่านั้น ย่อมไม่มีแก่ภิกษุ
 
นั้น ผู้สำรวมจักขุนทรีย์อยู่อย่างนี้.
     
ภิกษุพิจารณาโดยแยบคายแล้ว     เป็นผู้สำรวมด้วยความสำรวมในโสตินทรีย์อยู่ ...
     
ภิกษุพิจารณาโดยแยบคายแล้ว     เป็นผู้สำรวมด้วยความสำรวมในฆานินทรีย์อยู่ ...
     
ภิกษุพิจารณาโดยแยบคายแล้ว     เป็นผู้สำรวมด้วยความสำรวมในชิวหินทรีย์อยู่ ...
     
ภิกษุพิจารณาโดยแยบคายแล้ว     เป็นผู้สำรวมด้วยความสำรวมในกายินทรีย์อยู่ ...
     
ภิกษุพิจารณาโดยแยบคายแล้ว     เป็นผู้สำรวมด้วยความสำรวมในมนินทรีย์อยู่ ก็
 
อาสวะและความเร่าร้อนอันกระทำความคับแค้นเหล่าใด พึงบังเกิดขึ้นแก่ภิกษุผู้ไม่สำรวมใน
 
มนินทรีย์อยู่ อาสวะและความเร่าร้อนอันกระทำความคับแค้นเหล่านั้น ย่อมไม่มีแก่ภิกษุผู้สำรวม
 
ในมนินทรีย์อยู่อย่างนี้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย อาสวะเหล่านี้ เรากล่าวว่า จะพึงละได้เพราะการสังวร
              
ว่าด้วยละอาสวะได้เพราะการพิจารณาเสพ
      [
๑๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อาสวะเหล่าไหน ที่จะพึงละได้เพราะการพิจารณาเสพ?
 
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ พิจารณาโดยแยบคายแล้ว เสพจีวรเพียงเพื่อกำจัด
 
หนาว ร้อน สัมผัส แห่งเหลือบ ยุง ลม แดด และสัตว์เลื้อยคลาน เพียงเพื่อจะปกปิด
 
อวัยวะที่ให้ความละอายกำเริบ พิจารณาโดยแยบคายแล้ว เสพบิณฑบาตมิใช่เพื่อจะเล่น มิใช่
 
เพื่อมัวเมา มิใช่เพื่อประดับ มิใช่เพื่อตบแต่ง เพียงเพื่อให้กายนี้ดำรงอยู่ เพื่อให้เป็นไป
 
เพื่อกำจัดความลำบาก เพื่ออนุเคราะห์แก่พรหมจรรย์ ด้วยคิดว่า จะกำจัดเวทนาเก่าเสียด้วย
 
จะไม่ให้เวทนาใหม่เกิดขึ้นด้วย ความเป็นไป ความไม่มีโทษ และความอยู่สบายด้วย จักมีแก่เรา
 
ฉะนี้ พิจารณาโดยแยบคายแล้ว เสพเสนาสนะ เพียงเพื่อกำจัดหนาวร้อน สัมผัสแห่งเหลือบ
 
ยุง ลม แดด และสัตว์เลื้อยคลาน เพียงเพื่อบรรเทาอันตรายแต่ฤดู เพื่อรื่นรมย์ในการหลีก
 
ออกเร้นอยู่ พิจารณาโดยแยบคายแล้ว เสพบริขาร คือ ยาอันเป็นปัจจัยบำบัดไข้ เพียงเพื่อกำจัด
 
เวทนาที่เกิดแต่อาพาธต่างๆ ที่เกิดขึ้นแล้ว เพื่อความเป็นผู้ไม่มีอาพาธเบียดเบียนเป็นอย่างยิ่ง.
     
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อาสวะและความเร่าร้อนอันกระทำความคับแค้นเหล่าใด พึงบังเกิดขึ้น
 
แก่ภิกษุนั้นผู้ไม่พิจารณาเสพปัจจัยอันใดอันหนึ่ง อาสวะและความเร่าร้อนอันกระทำความคับแค้น
 
เหล่านั้น ย่อมไม่มีแก่ภิกษุนั้น ผู้พิจารณาเสพอยู่อย่างนี้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย อาสวะเหล่านี้
 
เรากล่าวว่า จะพึงละได้เพราะการพิจารณาเสพ.
      [
๑๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อาสวะเหล่าไหน ที่จะพึงละได้เพราะความอดกลั้น? ดูกรภิกษุ
 
ทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ พิจารณาโดยแยบคายแล้วเป็นผู้อดทนต่อหนาว ร้อน หิว
 
ระหาย สัมผัสแห่งเหลือบ ยุง ลม แดด และสัตว์เลื้อยคลาน เป็นผู้มีชาติของผู้อดกลั้นต่อ
 
ถ้อยคำที่ผู้อื่นกล่าวชั่ว ร้ายแรงต่อเวทนาที่มีอยู่ในตัว ซึ่งบังเกิดขึ้นแล้ว เป็นทุกข์ กล้า แข็ง
 
เผ็ดร้อน ไม่เป็นที่ยินดี ไม่เป็นที่ชอบใจ อาจพล่าชีวิตเสียได้.
     
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อาสวะและความเร่าร้อนอันกระทำความคับแค้นเหล่าใด พึงบังเกิด
 
ขึ้นแก่ภิกษุนั้นผู้ไม่อดกลั้นอยู่ อาสวะและความเร่าร้อนอันกระทำความคับแค้นเหล่านั้น ย่อมไม่มี
 
แก่ภิกษุนั้น ผู้อดกลั้นอยู่อย่างนี้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย อาสวะเหล่านี้ เรากล่าวว่า จะพึงละได้
 
เพราะความอดกลั้น.
      [
๑๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อาสวะเหล่าไหนที่จะพึงละได้เพราะความเว้นรอบ? ดูกรภิกษุ
 
ทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ พิจารณาโดยแยบคายแล้วเว้นช้างที่ดุร้าย ม้าที่ดุร้าย โคที่ดุร้าย
 
สุนัขที่ดุร้าย งู หลักตอ สถานที่มีหนาม บ่อ เหว แอ่งน้ำครำ บ่อน้ำครำ เพื่อนพรหมจรรย์
 
ผู้เป็นวิญญูชนทั้งหลาย พึงกำหนดลงซึ่งบุคคลผู้นั่ง ณ ที่มิใช่อาสนะเห็นปานใด ผู้เทียวไป
 
ณ ที่มิใช่โคจรเห็นปานใด ผู้คบมิตรที่ลามกเห็นปานใด ในสถานทั้งหลายอันลามก ภิกษุนั้น
 
พิจารณาโดยแยบคายแล้ว เว้นที่มิใช่อาสนะนั้น ที่มิใช่โคจรนั้น และมิตรผู้ลามกเหล่านั้น ดูกร
 
ภิกษุทั้งหลาย จริงอยู่ อาสวะและความเร่าร้อนอันกระทำความคับแค้นเหล่าใด พึงบังเกิดขึ้นแก่
 
ภิกษุนั้น ผู้ไม่เว้นสถานหรือบุคคลอันใดอันหนึ่ง อาสวะและความเร่าร้อนอันกระทำความคับแค้น
 
เหล่านั้น ย่อมไม่มีแก่ภิกษุนั้น ผู้เว้นรอบอยู่อย่างนี้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย อาสวะเหล่านี้ เรากล่าวว่า
 
จะพึงละได้เพราะการเว้นรอบ
      [
๑๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อาสวะเหล่าไหนที่จะพึงละได้เพราะความบรรเทา? ดูกรภิกษุ
 
ทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ พิจารณาโดยแยบคายแล้วย่อมอดกลั้น ย่อมละ ย่อมบรรเทา
 
กามวิตกที่เกิดขึ้นแล้ว ทำให้สิ้นสูญ ให้ถึงความไม่มี ย่อมอดกลั้น ย่อมละ ย่อมบรรเทา พยาบาท
 
วิตกที่เกิดขึ้นแล้ว ทำให้สิ้นสูญ ให้ถึงความไม่มี ย่อมอดกลั้น ย่อมละ ย่อมบรรเทา วิหิงสา
 
วิตกที่เกิดขึ้นแล้ว ทำให้สิ้นสูญ ให้ถึงความไม่มี ย่อมอดกลั้น ย่อมละ ย่อมบรรเทาธรรมที่เป็น
 
บาปอกุศลที่บังเกิดขึ้นแล้ว ทำให้สิ้นสูญ ให้ถึงความไม่มี ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อาสวะและความ
 
เร่าร้อนอันกระทำความคับแค้นเหล่าใด พึงบังเกิดขึ้นแก่ภิกษุนั้น ผู้ไม่บรรเทาธรรมอันใดอันหนึ่ง
 
อาสวะและความเร่าร้อนอันกระทำความคับแค้นเหล่านั้น ย่อมไม่มีแก่ภิกษุผู้บรรเทาอยู่อย่างนี้ ดูกร
 
ภิกษุทั้งหลาย อาสวะเหล่านี้ เรากล่าวว่า จะพึงละได้เพราะความบรรเทา.
                 
ว่าด้วยละอาสวะได้เพราะการอบรม
      [
๑๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อาสวะเหล่าไหนที่จะพึงละได้เพราะอบรม ดูกรภิกษุทั้งหลาย
 
ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ พิจารณาโดยแยบคายแล้ว เจริญสติสัมโพชฌงค์ อันอาศัยวิเวก อาศัย
 
วิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในความสละลง เจริญธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ ... เจริญวิริยสัมโพชฌงค์ ...
 
เจริญปิติสัมโพชฌงค์ ... เจริญปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ ... เจริญสมาธิสัมโพชฌงค์ ... เจริญอุเบกขาสัม-
 *
โพชฌงค์ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในความสละลง ดูกรภิกษุทั้งหลาย
 
ก็อาสวะและความเร่าร้อนอันกระทำความคับแค้นเหล่าใด พึงเกิดขึ้นแก่ภิกษุนั้น ผู้ไม่อบรมธรรม
 
อันใดอันหนึ่ง อาสวะและความเร่าร้อนอันกระทำความคับแค้นเหล่านั้น ย่อมไม่มีแก่ภิกษุนั้น
 
ผู้อบรมอยู่อย่างนี้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย อาสวะเหล่านี้ เรากล่าวว่า จะพึงละได้เพราะอบรม.
      [
๑๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็เพราะเหตุว่า อาสวะเหล่าใด อันภิกษุใดพึงละได้เพราะการ
 
เห็น อาสวะเหล่านั้น อันภิกษุนั้นได้แล้วเพราะการเห็น อาสวะเหล่าใดอันภิกษุใดพึงละได้เพราะ
 
การสังวร อาสวะเหล่านั้น อันภิกษุนั้นละได้แล้วเพราะการสังวร อาสวะเหล่าใด อันภิกษุใด
 
พึงละได้เพราะการพิจารณาเสพ อาสวะเหล่านั้น อันภิกษุนั้นละได้แล้วเพราะการพิจารณาเสพ
 
อาสวะเหล่าใด อันภิกษุใด พึงละได้เพราะความอดกลั้น อาสวะเหล่านั้น อันภิกษุนั้นละได้
 
แล้วเพราะความอดกลั้น อาสวะเหล่าใด อันภิกษุใดพึงละได้เพราะการเว้นรอบ อาสวะเหล่านั้น
 
อันภิกษุนั้นละได้แล้ว เพราะการเว้นรอบ อาสวะเหล่าใด อันภิกษุใด พึงละได้เพราะการบรรเทา
 
อาสวะเหล่านั้น อันภิกษุนั้นละได้แล้วเพราะการบรรเทา อาสวะเหล่าใด อันภิกษุใดพึงละได้
 
เพราะการอบรม อาสวะเหล่านั้น อันภิกษุนั้นละได้แล้วเพราะการอบรม ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุ
 
นี้เรากล่าวว่า เป็นผู้สำรวมด้วยความสังวรในอาสวะทั้งปวงอยู่ ตัดตัณหาได้แล้ว ยังสังโยชน์ให้
 
ปราศไปแล้ว ได้ทำที่สุดแห่งทุกข์เพราะความตรัสรู้ ด้วยการเห็นและการละมานะโดยชอบ.
     
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสสังวรปริยายนี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นชื่นชมยินดีภาษิตของพระผู้มี-
 *
พระภาค ฉะนี้แล.
                   
จบ สัพพาสวสังวรสูตร ที่ ๒
. สัลเลขสูตร
                  
ว่าด้วยธรรมเครื่องขัดเกลากิเลส
      [
๑๐๐] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้-
     
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวันอาราม ของท่านอนาถบิณฑิก
 
เศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น เวลาเย็น ท่านพระมหาจุนทะออกจากที่พักผ่อน แล้วเข้าไป
 
เฝ้าพระผู้มีพระภาค ถวายบังคมแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ท่านพระมหาจุนทะนั่งเรียบร้อย
 
แล้วได้ทูลถามพระผู้มีพระภาค ดังนี้ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ทิฏฐิเหล่านี้มีประการต่างๆ
 
ประกอบด้วยการกล่าวปรารภอัตตาบ้าง ประกอบด้วยการกล่าวปรารภโลกบ้าง ย่อมเกิดขึ้นในโลก
 
เมื่อภิกษุมนสิการธรรมเบื้องต้นเท่านั้นหรือ การละทิฏฐิเหล่านั้น การสละคืนทิฏฐิเหล่านั้น ย่อมจะ
 
มีได้ด้วยอุบายอย่างนี้หรือ พระเจ้าข้า
      [
๑๐๑] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรจุนทะ ทิฏฐิเหล่านี้มีหลายประการ ประกอบด้วย
 
การกล่าวปรารภอัตตาบ้าง ประกอบด้วยการกล่าวปรารภโลกบ้าง ย่อมเกิดขึ้นในโลก ก็ทิฏฐิ
 
เหล่านั้นย่อมเกิดขึ้นในอารมณ์ใด นอนเนื่องอยู่ในอารมณ์ใด และท่องเที่ยวอยู่ในอารมณ์ใด
 
เมื่อภิกษุพิจารณาเห็นอารมณ์นั้น ด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นมิใช่ของเรา
 
เรามิใช่นั่น นั่นมิใช่ตัวตนของเรา ดังนี้ การละทิฏฐิเหล่านั้น การสละคืนทิฏฐิเหล่านั้น ย่อมมี
 
ได้ด้วยอุบายอย่างนี้.
                          
รูปฌาน ๔
      [
๑๐๒] ดูกรจุนทะ ก็ข้อนี้เป็นฐานะที่จะมีได้แล ที่ภิกษุบางรูปในพระธรรมวินัยนี้
 
สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม บรรลุปฐมฌาน มีวิตก มีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่
 
วิเวกอยู่ ภิกษุนั้นจะพึงมีความคิดอย่างนี้ว่า เราย่อมอยู่ด้วยธรรมเครื่องขัดเกลากิเลส ดูกรจุนทะ
 
แต่ธรรมคือปฐมฌานนี้ เราไม่กล่าวว่า เป็นธรรมเครื่องขัดเกลา ในวินัยของพระอริยะ เรากล่าวว่า
 
เป็นธรรมเครื่องอยู่เป็นสุขในอัตภาพนี้ ในวินัยของพระอริยะ
     
อนึ่ง ข้อนี้เป็นฐานะที่จะมีได้แล ที่ภิกษุบางรูปในพระธรรมวินัยนี้ พึงบรรลุทุติยฌาน
 
มีความผ่องใสแห่งจิตในภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร เพราะวิตกวิจาร
 
สงบไป มีปีติและสุขเกิดแต่สมาธิอยู่ ภิกษุนั้นจะพึงมีความคิดอย่างนี้ว่า เราย่อมอยู่ด้วยธรรม
 
เครื่องขัดเกลากิเลส ดูกรจุนทะ แต่ธรรมคือทุติยฌานนี้ เราไม่กล่าวว่า เป็นธรรมเครื่องขัดเกลา
 
ในวินัยของพระอริยะ เรากล่าวว่าเป็นธรรมเครื่องอยู่เป็นสุขในอัตภาพนี้ ในวินัยของพระอริยะ
     
อนึ่ง ข้อนี้เป็นฐานะที่จะมีได้แล ที่ภิกษุบางรูปในพระธรรมวินัยนี้ พึงมีอุเบกขา มีสติ-
 *
สัมปชัญญะ และเสวยสุขด้วยกาย เพราะปีติสิ้นไป บรรลุตติยฌานที่พระอริยะทั้งหลายสรรเสริญ
 
ว่า ผู้ได้ฌานนี้ เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติ อยู่เป็นสุข ภิกษุนั้นจะพึงมีความคิดอย่างนี้ว่า เราย่อม
 
อยู่ด้วยธรรมเครื่องขัดเกลากิเลส ดูกรจุนทะ แต่ธรรมคือตติยฌานนี้เราไม่กล่าวว่า เป็นธรรม
 
เครื่องขัดเกลา ในวินัยของพระอริยะ เรากล่าวว่า เป็นธรรมเครื่องอยู่เป็นสุขในอัตภาพนี้ ใน
 
วินัยของพระอริยะ
     
อนึ่ง ข้อนี้เป็นฐานะที่จะมีได้ ที่ภิกษุบางรูปในพระธรรมวินัยนี้ พึงบรรลุจตุตถฌาน
 
ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุขละทุกข์ และดับโสมนัสโทมนัสในก่อนเสียได้ มีอุเบกขาเป็น
 
เหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่ ภิกษุนั้นจะพึงมีความคิดอย่างนี้ว่า เราย่อมอยู่ด้วยธรรมเครื่องขัดเกลากิเลส
 
ดูกรจุนทะ แต่ธรรมคือจตุตถฌานนี้เราไม่กล่าวว่า เป็นธรรมเครื่องขัดเกลา ในวินัยของพระอริยะ
 
เรากล่าวว่า เป็นธรรมเครื่องอยู่เป็นสุขในอัตภาพนี้ ในวินัยของพระอริยะ
      [
๑๐๓] ดูกรจุนทะ ข้อนี้เป็นฐานะที่จะมีได้แล ที่ภิกษุบางรูปในพระธรรมวินัยนี้
 
พึงบรรลุอากาสานัญจายตนฌาน โดยมนสิการว่า อากาศไม่มีที่สุดเพราะก้าวล่วงรูปสัญญา ดับ
 
ปฏิฆสัญญา ไม่มนสิการนานัตตสัญญาโดยประการทั้งปวงอยู่ ภิกษุนั้นจะพึงมีความคิดอย่างนี้ว่า
 
เราย่อมอยู่ด้วยธรรมเครื่องขัดเกลากิเลส ดูกรจุนทะ แต่ธรรมคืออากาสานัญจายตนฌานนี้ เรา
 
ไม่กล่าวว่า เป็นธรรมเครื่องขัดเกลาในวินัยของพระอริยะ เรากล่าวว่า เป็นธรรมเครื่องอยู่สงบ
 
ระงับ ในวินัยของพระอริยะ
     
อนึ่ง ข้อนี้เป็นฐานะที่จะมีได้แล ภิกษุบางรูปในพระธรรมวินัยนี้ พึงล่วงอากาสานัญจาย-
 *
ตนฌานเสียโดยประการทั้งปวง แล้วมนสิการว่า วิญญาณไม่มีที่สุด พึงบรรลุวิญญาณัญจายตนฌาน
 
อยู่ ภิกษุนั้นจะพึงมีความคิดอย่างนี้ว่า เราย่อมอยู่ด้วยธรรมเครื่องขัดเกลากิเลส ดูกรจุนทะ แต่-
 *
ธรรมคือวิญญาณัญจายตนฌานนี้เราไม่กล่าวว่า เป็นธรรมเครื่องขัดเกลา ในวินัยของพระอริยะ
 
เรากล่าวว่า เป็นธรรมเครื่องอยู่สงบระงับ ในวินัยของพระอริยะ
     
อนึ่ง ข้อนี้เป็นฐานะที่จะมีได้แล ที่ภิกษุบางรูปในพระธรรมวินัยนี้ พึงล่วงวิญญาณัญจาย-
 *
ตนฌานโดยประการทั้งปวง แล้วมนสิการว่า ไม่มีอะไรเหลือสักน้อยหนึ่ง พึงบรรลุอากิญจัญญายตน
 
ฌานอยู่ ภิกษุนั้นจะพึงมีความคิดอย่างนี้ว่า เราย่อมอยู่ด้วยธรรมเครื่องขัดเกลากิเลส ดูกรจุนทะ
 
แต่ธรรมคืออากิญจัญญายตนฌานนี้ เราไม่กล่าวว่า เป็นธรรมเครื่องขัดเกลาในวินัยของพระอริยะ
 
เรากล่าวว่าเป็นธรรมเครื่องอยู่สงบระงับ ในวินัยของพระอริยะ
     
อนึ่ง ข้อนี้เป็นฐานะที่จะมีได้แลที่ ภิกษุบางรูปในพระธรรมวินัยนี้ พึงล่วงอากิญจัญญาย-
 *
ตนฌานเสียโดยประการทั้งปวง แล้วพึงบรรลุเนวสัญญานาสัญญายตนฌานอยู่ ภิกษุนั้นพึงมีความคิด
 
อย่างนี้ว่า เราย่อมอยู่ด้วยธรรมเครื่องขัดเกลากิเลส ดูกรจุนทะ แต่ธรรมคือเนวสัญญานาสัญญาย-
 *
ตนฌานนี้ เราไม่กล่าวว่า เป็นธรรมเครื่องขัดเกลาในวินัยของพระอริยะ เรากล่าวว่า เป็นธรรม
 
เครื่องอยู่สงบระงับ ในวินัยของพระอริยะ
                    
ว่าด้วยธรรมเครื่องขัดเกลา
      [
๑๐๔] ดูกรจุนทะ เธอทั้งหลายพึงทำความขัดเกลากิเลสในข้อเหล่านี้แล คือ เธอ
 
ทั้งหลาย พึงทำความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักเป็นผู้เบียดเบียนกัน ในข้อนี้เราทั้งหลายจักเป็น
 
ผู้ไม่เบียดเบียนกัน.
     
เธอทั้งหลายพึงทำความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักเป็นผู้ฆ่าสัตว์ ในข้อนี้ เราทั้งหลาย
 
จักงดเว้นจากการฆ่าสัตว์.
     
เธอทั้งหลายพึงทำความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักเป็นผู้ลักทรัพย์ ในข้อนี้ เราทั้งหลาย
 
จักงดเว้นจากการลักทรัพย์.
     
เธอทั้งหลายพึงทำความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักเสพเมถุนธรรม ในข้อนี้ เราทั้งหลาย
 
จักประพฤติพรหมจรรย์.
     
เธอทั้งหลายพึงทำความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักกล่าวเท็จ ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักงด
 
เว้นจากการกล่าวเท็จ.
     
เธอทั้งหลายพึงทำความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักกล่าวส่อเสียด ในข้อนี้ เราทั้งหลาย
 
จักงดเว้นจากการกล่าวส่อเสียด.
     
เธอทั้งหลายพึงทำความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักกล่าวคำหยาบ ในข้อนี้ เราทั้งหลาย
 
จักงดเว้นจากการกล่าวคำหยาบ.
     
เธอทั้งหลายพึงทำความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักกล่าวคำเพ้อเจ้อ ในข้อนี้ เราทั้งหลาย
 
จักงดเว้นจากการกล่าวเพ้อเจ้อ.
     
เธอทั้งหลายพึงทำความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักมักเพ่งเล็งภัณฑะของผู้อื่น ในข้อนี้
 
เราทั้งหลายจักไม่เพ่งเล็งภัณฑะของผู้อื่น.
     
เธอทั้งหลายพึงทำความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักมีจิตพยาบาท ในข้อนี้ เราทั้งหลายจัก
 
ไม่มีจิตพยาบาท.
     
เธอทั้งหลายพึงทำความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักมีความเห็นผิด ในข้อนี้ เราทั้งหลาย
 
จักมีความเห็นชอบ.
     
เธอทั้งหลายพึงทำความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักมีความดำริผิด ในข้อนี้ เราทั้งหลาย
 
จักมีความดำริชอบ.
     
เธอทั้งหลายพึงทำความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักมีวาจาผิด ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักมี
 
วาจาชอบ.
     
เธอทั้งหลายพึงทำความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักมีการงานผิด ในข้อนี้ เราทั้งหลาย
 
จักมีการงานชอบ.
     
เธอทั้งหลายพึงทำความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักมีอาชีพผิด ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักมี
 
อาชีพชอบ.
     
เธอทั้งหลายพึงทำความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักมีความเพียรผิด ในข้อนี้ เราทั้งหลาย
 
จักมีความเพียรชอบ.
     
เธอทั้งหลายพึงทำความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักมีสติผิด ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักมี
 
สติชอบ.
     
เธอทั้งหลายพึงทำความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักมีสมาธิผิด ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักมี
 
สมาธิชอบ.
     
เธอทั้งหลายพึงทำความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักมีญาณผิด ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักมี
 
ญาณชอบ.
     
เธอทั้งหลายพึงทำความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักมีวิมุติผิด ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักมี
 
วิมุติชอบ.
     
เธอทั้งหลายพึงทำความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักถูกถิ่นมิทธะกลุ้มรุม ในข้อนี้ เราทั้ง-
 *
หลายจักปราศจากถิ่นมิทธะ.
     
เธอทั้งหลายพึงทำความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักเป็นผู้ฟุ้งซ่าน ในข้อนี้ เราทั้งหลาย
 
จักเป็นผู้ไม่ฟุ้งซ่าน.
     
เธอทั้งหลายพึงทำความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักมีวิจิกิจฉา ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักห้าม
 
พ้นจากวิจิกิจฉา.
     
เธอทั้งหลายพึงทำความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักมีความโกรธ ในข้อนี้ เราทั้งหลาย
 
จักไม่มีความโกรธ.
     
เธอทั้งหลายพึงทำความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักผูกโกรธไว้ ในข้อนี้ เราทั้งหลายจัก
 
ไม่ผูกโกรธไว้.
     
เธอทั้งหลายพึงทำความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักลบหลู่คุณท่าน ในข้อนี้ เราทั้งหลาย
 
จักไม่ลบหลู่คุณท่าน.
     
เธอทั้งหลายพึงทำความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักยกตนเทียมท่าน ในข้อนี้ เราทั้งหลาย
 
จักไม่ยกตนเทียมท่าน.
     
เธอทั้งหลายพึงทำความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักมีความริษยา ในข้อนี้ เราทั้งหลาย
 
จักไม่มีความริษยา.
     
เธอทั้งหลายพึงทำความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักมีความตระหนี่ ในข้อนี้ เราทั้งหลาย
 
จักไม่มีความตระหนี่.
     
เธอทั้งหลายพึงทำความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักโอ้อวด ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักไม่
 
โอ้อวด.
     
เธอทั้งหลายพึงทำความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักมีมารยา ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักไม่
 
มีมารยา.
     
เธอทั้งหลายพึงทำความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักดื้อด้าน ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักไม่
 
ดื้อด้าน.
     
เธอทั้งหลายพึงทำความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักดูหมิ่นท่าน ในข้อนี้เราทั้งหลายจักไม่
 
ดูหมิ่นท่าน.
     
เธอทั้งหลายพึงทำความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักเป็นผู้ว่ายาก ในข้อนี้ เราทั้งหลาย
 
จักเป็นผู้ว่าง่าย.
     
เธอทั้งหลายพึงทำความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักมีมิตรชั่ว ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักมี
 
กัลยาณมิตร.
     
เธอทั้งหลายพึงทำความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักเป็นคนประมาท ในข้อนี้ เราทั้งหลาย
 
จักเป็นคนไม่ประมาท.
     
เธอทั้งหลายพึงทำความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักเป็นคนไม่มีศรัทธา ในข้อนี้ เราทั้งหลาย
 
จักเป็นคนมีศรัทธา.
     
เธอทั้งหลายพึงทำความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักไม่มีหิริ ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักเป็น
 
ผู้มีหิริในใจ.
     
เธอทั้งหลายพึงทำความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักไม่มีโอตตัปปะ ในข้อนี้ เราทั้งหลาย
 
จักเป็นผู้มีโอตตัปปะ.
     
เธอทั้งหลายพึงทำความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักเป็นผู้มีสุตะน้อย ในข้อนี้ เราทั้งหลาย
 
จักเป็นผู้มีสุตะมาก.
     
เธอทั้งหลายพึงทำความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักเป็นคนเกียจคร้าน ในข้อนี้ เราทั้งหลาย
 
จักเป็นผู้ปรารภความเพียร.
     
เธอทั้งหลายพึงทำความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักเป็นผู้มีสติหลงลืม ในข้อนี้ เราทั้งหลาย
 
จักเป็นผู้มีสติดำรงมั่น.
     
เธอทั้งหลายพึงทำความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักเป็นคนมีปัญญาทราม ในข้อนี้ เราทั้ง-
 *
หลายจักเป็นคนถึงพร้อมด้วยปัญญา.
     
เธอทั้งหลายพึงทำความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักเป็นคนลูบคลำทิฏฐิของตน ยึดถืออย่าง-
 *
มั่นคง และสละคืนได้โดยยาก ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักไม่เป็นผู้ลูบคลำทิฏฐิของตน ไม่ยึดถือ
 
อย่างมั่นคง และสละคืนได้โดยง่าย.
      [
๑๐๕] ดูกรจุนทะ เราย่อมกล่าวแม้จิตตุปบาทว่า มีอุปการะมากในกุศลธรรมทั้งหลาย
 
ก็จะต้องกล่าวไปไยในการจัดทำให้สำเร็จ ด้วยกาย ด้วยวาจาเล่า เพราะเหตุนั้นแหละ จุนทะ
 
ในข้อนี้ เธอทั้งหลายพึงให้จิตเกิดขึ้นว่า ชนเหล่าอื่นจักเป็นผู้เบียดเบียนกัน ในข้อนี้ เราทั้งหลาย
 
จักเป็นผู้ไม่เบียดเบียนกัน.
     
ชนเหล่าอื่นจักเป็นผู้ฆ่าสัตว์ ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักงดเว้นจากการฆ่าสัตว์ ฯลฯ
     
ชนเหล่าอื่นจักเป็นผู้ลูบคลำทิฏฐิของตน ยึดถืออย่างมั่นคง และสละคืนได้โดยยาก
 
ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักเป็นผู้ไม่ลูบคลำทิฏฐิของตน ไม่ยึดถืออย่างมั่นคง และสละคืนได้โดยง่าย
                    
ว่าด้วยทางหลีกเลี่ยงคนชั่ว
      [
๑๐๖] ดูกรจุนทะ เปรียบเหมือนทางที่ไม่เรียบ ก็พึงมีทางเส้นอื่นที่เรียบ สำหรับ
 
หลีกทางที่ไม่ราบเรียบนั้น อนึ่ง เปรียบเหมือนท่าที่ไม่ราบเรียบ ก็พึงมีท่าอื่นที่ราบเรียบ สำหรับ
 
หลีกท่าที่ไม่ราบเรียบนั้น ความไม่เบียดเบียนก็ฉันนั้นแล เป็นทางสำหรับหลีกเลี่ยงบุคคลผู้-
 *
เบียดเบียน
     
การงดเว้นจากปาณาติบาต เป็นทางสำหรับหลีกเลี่ยงบุคคลผู้ฆ่าสัตว์.
     
การงดเว้นจากอทินนาทาน เป็นทางสำหรับหลีกเลี่ยงบุคคลผู้ลักทรัพย์.
     
การประพฤติพรหมจรรย์ เป็นทางสำหรับหลีกเลี่ยงบุคคลผู้เสพเมถุน.
     
การงดเว้นจากมุสาวาท เป็นทางสำหรับหลีกเลี่ยงบุคคลผู้พูดเท็จ.
     
การงดเว้นจากปิสุณาวาจา เป็นทางสำหรับหลีกเลี่ยงบุคคลผู้กล่าวส่อเสียด.
     
การงดเว้นจากผรุสวาจา เป็นทางสำหรับหลีกเลี่ยงบุคคลผู้กล่าวคำหยาบ.
     
การงดเว้นจากสัมผัปปลาปะ เป็นทางสำหรับหลีกเลี่ยงบุคคลผู้พูดเพ้อเจ้อ.
     
ความเป็นผู้ไม่เพ่งเล็ง เป็นทางสำหรับหลีกเลี่ยงบุคคลผู้มักเพ่งเล็ง.
     
ความไม่พยาบาท เป็นทางสำหรับหลีกเลี่ยงบุคคลผู้มีจิตพยาบาท.
     
ความเห็นชอบ เป็นทางสำหรับหลีกเลี่ยงบุคคลผู้มีความเห็นผิด.
     
ความดำริชอบ เป็นทางสำหรับหลีกเลี่ยงบุคคลผู้มีความดำริผิด.
     
การกล่าววาจาชอบ เป็นทางสำหรับหลีกเลี่ยงบุคคลผู้มีวาจาผิด.
     
การงานชอบ เป็นทางสำหรับหลีกเลี่ยงบุคคลผู้มีการงานผิด.
     
การเลี้ยงชีพชอบ เป็นทางสำหรับหลีกเลี่ยงบุคคลผู้มีอาชีพผิด.
     
ความเพียรชอบ เป็นทางสำหรับหลีกเลี่ยงบุคคลผู้มีความเพียรผิด.
     
ความระลึกชอบ เป็นทางสำหรับหลีกเลี่ยงบุคคลผู้มีความระลึกผิด.
     
ความตั้งใจชอบ เป็นทางสำหรับหลีกเลี่ยงบุคคลผู้ตั้งใจผิด.
     
ความรู้ชอบ เป็นทางสำหรับหลีกเลี่ยงบุคคลผู้มีความรู้ผิด.
     
วิมุตติชอบ เป็นทางสำหรับหลีกเลี่ยงบุคคลผู้มีวิมุตติผิด.
     
ความเป็นผู้ปราศจากถิ่นมิทธะ เป็นทางสำหรับหลีกเลี่ยงบุคคลถูกถิ่นมิทธะครอบงำ.
     
ความไม่ฟุ้งซ่าน เป็นทางสำหรับหลีกเลี่ยงบุคคลผู้มีจิตฟุ้งซ่าน.
     
ความเป็นผู้ข้ามพ้นจากความสงสัย เป็นทางสำหรับหลีกเลี่ยงบุคคลผู้มีความสงสัย.
     
ความไม่โกรธ เป็นทางสำหรับหลีกเลี่ยงบุคคลผู้มักโกรธ.
     
ความไม่เข้าไปผูกโกรธ เป็นทางสำหรับหลีกเลี่ยงบุคคลผู้เข้าไปผูกโกรธ.
     
ความไม่ลบหลู่คุณท่าน เป็นทางสำหรับหลีกเลี่ยงบุคคลผู้มักลบหลู่คุณท่าน.
     
ความไม่ยกตนเทียมท่าน เป็นทางสำหรับหลีกเลี่ยงบุคคลผู้มักยกตนเทียมท่าน.
     
ความไม่ริษยา เป็นทางสำหรับหลีกเลี่ยงบุคคลผู้ริษยา.
     
ความไม่ตระหนี่ เป็นทางสำหรับหลีกเลี่ยงบุคคลผู้ตระหนี่.
     
ความไม่โอ้อวด เป็นทางสำหรับหลีกเลี่ยงบุคคลผู้โอ้อวด.
     
ความไม่มีมารยา เป็นทางสำหรับหลีกเลี่ยงบุคคลผู้มีมารยา.
     
ความเป็นคนไม่ดื้อด้าน เป็นทางสำหรับหลีกเลี่ยงบุคคลผู้ดื้อด้าน.
     
ความไม่ดูหมิ่นท่าน เป็นทางสำหรับหลีกเลี่ยงบุคคลผู้ดูหมิ่นท่าน.
     
ความเป็นผู้ว่าง่าย เป็นทางสำหรับหลีกเลี่ยงบุคคลผู้ว่ายาก.
     
ความเป็นผู้มีมิตรดี เป็นทางสำหรับหลีกเลี่ยงบุคคลผู้มีมิตรชั่ว.
     
ความไม่ประมาท เป็นทางสำหรับหลีกเลี่ยงบุคคลผู้ประมาท.
     
ความเชื่อ เป็นทางสำหรับหลีกเลี่ยงบุคคลผู้ไม่มีศรัทธา.
     
ความละอายต่อบาป เป็นทางสำหรับหลีกเลี่ยงบุคคลผู้ไม่มีความละอายต่อบาป.
     
ความสะดุ้งกลัวต่อบาป เป็นทางสำหรับหลีกเลี่ยงบุคคลผู้ไม่มีความสะดุ้งกลัวต่อบาป.
     
ความเป็นพหูสูต เป็นทางสำหรับหลีกเลี่ยงบุคคลผู้มีการสดับน้อย.
     
การปรารภความเพียร เป็นทางสำหรับหลีกเลี่ยงบุคคลผู้เกียจคร้าน.
     
ความเป็นผู้มีสติดำรงมั่น เป็นทางสำหรับหลีกเลี่ยงบุคคลผู้มีสติหลงลืม.
     
ความถึงพร้อมด้วยปัญญา เป็นทางสำหรับหลีกเลี่ยงบุคคลผู้มีปัญญาทราม.
     
ความเป็นผู้ไม่ลุบคลำทิฏฐิของตน ไม่ยึดถือมั่นคง และบุคคลอื่นให้สละคืนได้โดยง่าย เป็น
 
ทางสำหรับหลีกเลี่ยงบุคคลผู้ลูบคลำทิฏฐิของตน ยึดถือมั่นคง และบุคคลอื่นให้สละคืนได้โดยยาก.
      [
๑๐๗] ดูกรจุนทะ เปรียบเหมือนอกุศลธรรมทั้งมวล เป็นเหตุให้ถึงความเป็นเบื้องล่าง
 
กุศลธรรมทั้งมวล เป็นเหตุให้ถึงความเป็นเบื้องบน ฉันใด ความไม่เบียดเบียนก็ฉันนั้นแล ย่อม
 
เป็นธรรมสำหรับความเป็นเบื้องบนของบุคคลผู้เบียดเบียน.
     
การงดเว้นจากปาณาติบาต ย่อมเป็นธรรมสำหรับความเป็นเบื้องบนของบุคคลผู้ฆ่าสัตว์
     
การงดเว้นจากอทินนาทาน ย่อมเป็นธรรมสำหรับความเป็นเบื้องบนของบุคคลผู้
 
ลักทรัพย์ ฯลฯ
     
ความเป็นผู้ไม่ลูบคลำทิฏฐิของตน ไม่ยึดถือมั่นคง และสละคืนได้โดยง่ายเป็นทางสำหรับ
 
ความเบื้องบนของบุคคลผู้ลูบคลำทิฏฐิของตน ยึดถือมั่นคง และสละคืนได้โดยยาก
                     
ว่าด้วยอุบายบรรลุนิพพาน
      [
๑๐๘] ดูกรจุนทะ ผู้ที่ตนเองจมอยู่ในเปือกตมอันลึกแล้ว จักยกขึ้นซึ่งบุคคลอื่นที่จม
 
อยู่ในเปือกตมอันลึก ข้อนี้เป็นฐานะที่จะมีไม่ได้.
     
ผู้ที่ตนเองไม่จมอยู่ในเปือกตมอันลึก จักยกขึ้นซึ่งบุคคลอื่นที่จมอยู่ในเปลือกตมอันลึก
 
ข้อนี้เป็นฐานะที่จะมีได้.
     
ผู้ที่ไม่ฝึกตน ไม่แนะนำตน ไม่ดับสนิทด้วยตนเอง จักฝึกสอน จักแนะนำผู้อื่น จักให้
 
ผู้อื่นดับสนิท ข้อนี้เป็นฐานะที่จะมีไม่ได้.
     
ผู้ที่ฝึกตน แนะนำตน ดับสนิทด้วยตนเอง จักฝึกสอน จักแนะนำผู้อื่น จักให้ผู้อื่น
 
ดับสนิท ข้อนี้เป็นฐานะที่จะมีได้ ฉันใด.
     
ดูกรจุนทะ ความไม่เบียดเบียนก็ฉันนั้นแล ย่อมเป็นทางสำหรับดับสนิทของบุคคลผู้-
 *
เบียดเบียน.
     
การงดเว้นจากปาณาติบาต เป็นทางสำหรับดับสนิทของบุคคลผู้ฆ่าสัตว์.
     
การงดเว้นจากอทินนาทาน เป็นทางสำหรับดับสนิทของบุคคลผู้ลักทรัพย์.
     
การประพฤติพรหมจรรย์ เป็นทางสำหรับดับสนิทของบุคคลผู้เสพเมถุนธรรม.
     
การงดเว้นจากมุสาวาท เป็นทางสำหรับดับสนิทของบุคคลผู้พูดเท็จ.
     
การงดเว้นจากปิสุณาวาจา เป็นทางสำหรับดับสนิทของบุคคลผู้กล่าวส่อเสียด.
     
การงดเว้นจากผรุสวาจา เป็นทางสำหรับดับสนิทของบุคคลผู้กล่าวคำหยาบ.
     
การงดเว้นจากสัมผัปปลาปะ เป็นทางสำหรับดับสนิทของบุคคลผู้พูดเพ้อเจ้อ.
     
ความเป็นผู้ไม่เพ่งเล็ง เป็นทางสำหรับดับสนิทของบุคคลผู้มักเพ่งเล็ง.
     
ความไม่พยาบาท เป็นทางสำหรับดับสนิทของบุคคลผู้มีจิตพยาบาท.
     
ความเห็นชอบ เป็นทางสำหรับดับสนิทของบุคคลผู้มีความเห็นผิด.
     
ความดำริชอบ เป็นทางสำหรับดับสนิทของบุคคลผู้มีความดำริผิด.
     
การกล่าววาจาชอบ เป็นทางสำหรับดับสนิทของบุคคลผู้มีวาจาผิด.
     
การงานชอบ เป็นทางสำหรับดับสนิทของบุคคลผู้มีการงานผิด.
     
การเลี้ยงชีวิตชอบ เป็นทางสำหรับดับสนิทของบุคคลผู้มีอาชีพผิด.
     
ความเพียรชอบ เป็นทางสำหรับดับสนิทของบุคคลผู้มีความเพียรผิด.
     
ความระลึกชอบ เป็นทางสำหรับดับสนิทของบุคคลผู้มีความระลึกผิด.
     
ความตั้งใจชอบ เป็นทางสำหรับดับสนิทของบุคคลผู้มีความตั้งใจผิด.
     
ความรู้ชอบ เป็นทางสำหรับดับสนิทของบุคคลผู้มีความรู้ผิด.
     
ความพ้นชอบ เป็นทางสำหรับดับสนิทของบุคคลผู้มีความพ้นผิด.
     
ความเป็นผู้ปราศจากถิ่นมิทธะ เป็นทางสำหรับดับสนิทของบุคคลผู้ถูกถิ่นมิทธะครอบงำ.
     
ความเป็นผู้มีจิตไม่ฟุ้งซ่าน เป็นทางสำหรับดับสนิทของบุคคลผู้มีจิตฟุ้งซ่าน.
     
ความเป็นผู้ข้ามพ้นความสงสัย เป็นทางสำหรับดับสนิทของบุคคลผู้มีความสงสัย.
     
ความไม่โกรธ เป็นทางสำหรับดับสนิทของบุคคลผู้มักโกรธ.
     
ความไม่ผูกโกรธ เป็นทางสำหรับดับสนิทของบุคคลผู้ผูกโกรธ.
     
ความไม่ลบหลู่คุณท่าน เป็นทางสำหรับดับสนิทของบุคคลผู้ลบหลู่คุณท่าน.
     
ความไม่ยกตนเทียมท่าน เป็นทางสำหรับดับสนิทของบุคคลผู้ยกตนเทียมท่าน.
     
ความไม่ริษยา เป็นทางสำหรับดับสนิทของบุคคลผู้ริษยา.
     
ความไม่ตระหนี่ เป็นทางสำหรับดับสนิทของบุคคลผู้ตระหนี่.
     
ความไม่โอ้อวด เป็นทางสำหรับดับสนิทของบุคคลผู้โอ้อวด.
     
ความไม่มีมารยา เป็นทางสำหรับดับสนิทของบุคคลผู้มีมารยา.
     
ความเป็นคนไม่ดื้อด้าน เป็นทางสำหรับดับสนิทของบุคคลผู้ดื้อด้าน.
     
ความไม่ดูหมิ่นท่าน เป็นทางสำหรับดับสนิทของบุคคลผู้ดูหมิ่นท่าน.
     
ความเป็นผู้ว่าง่าย เป็นทางสำหรับดับสนิทของบุคคลผู้ว่ายาก.
     
ความเป็นผู้มีมิตรดี เป็นทางสำหรับดับสนิทของบุคคลผู้มีมิตรชั่ว.
     
ความไม่ประมาท เป็นทางสำหรับดับสนิทของบุคคลผู้ประมาท.
     
ความเชื่อ เป็นทางสำหรับดับสนิทของบุคคลผู้ไม่ศรัทธา.
     
ความละอายต่อบาป เป็นทางสำหรับดับสนิทของบุคคลผู้ไม่มีความละอายต่อบาป.
     
ความสะดุ้งกลัวต่อบาป เป็นทางสำหรับดับสนิทของบุคคลผู้ไม่มีความสะดุ้งกลัวต่อบาป.
     
ความเป็นพหูสูต เป็นทางสำหรับดับสนิทของบุคคลผู้มีการสดับน้อย.
     
การปรารภความเพียร เป็นทางสำหรับดับสนิทของบุคคลผู้เกียจคร้าน.
     
ความเป็นผู้มีสติดำรงมั่น เป็นทางสำหรับดับสนิทของบุคคลผู้มีสติหลงลืม.
     
ความถึงพร้อมด้วยปัญญา เป็นทางสำหรับดับสนิทของบุคคลผู้มีปัญญาทราม.
     
ความเป็นผู้ไม่ลูบคลำทิฏฐิของตน ไม่ยึดถือมั่นคง และสละคืนได้โดยง่าย เป็นทาง
 
สำหรับดับสนิทของบุคคลผู้ลูบคลำทิฏฐิของตน ยึดถือมั่นคง และสละคืนได้โดยยาก.
      [
๑๐๙] ดูกรจุนทะ เหตุแห่งธรรมเครื่องขัดเกลา เราได้แสดงแล้ว เหตุแห่งจิตตุปบาท
 
เราได้แสดงแล้ว เหตุแห่งการหลีกเลี่ยง เราได้แสดงแล้ว เหตุแห่งความเป็นเบื้องบน เราได้
 
แสดงแล้ว เหตุแห่งความดับสนิท เราได้แสดงแล้ว ด้วยประการฉะนี้ ดูกรจุนทะ กิจอัน
 
ใดที่ศาสดาผู้แสวงหาประโยชน์ เอ็นดูอนุเคราะห์ แก่เหล่าสาวกจะพึงทำ กิจนั้นเราทำแก่เธอ
 
ทั้งหลายแล้ว ดูกรจุนทะ นั่นโคนไม้ นั่นเรือนว่าง เธอทั้งหลายจงเพ่งพินิจเถิด อย่าประมาท
 
อย่าได้เป็นผู้มีความเดือดร้อนในภายหลังเลย นี้เป็นคำสอนของเราสำหรับเธอทั้งหลาย ฉะนี้แล.
     
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้แล้ว ท่านพระมหาจุนทะชื่นชมยินดีภาษิตของ-
 *
พระผู้มีพระภาค ฉะนี้แล.
               
พระผู้มีพระภาคตรัสบท ๔๔ ทรงแสดงสนธิ ๕
          
พระสูตรนี้ ชื่อสัลเลขสูตร ลุ่มลึก เปรียบด้วยสาคร ฉะนี้.
                      
จบ สัลเลขสูตร ที่ ๘
                      -----------------
                        
. สัมมาทิฏฐิสูตร
                      
ว่าด้วยความเห็นชอบ
      [
๑๑๐] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้:-
     
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิก-
 *
เศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ณ ที่นั้น ท่านพระสารีบุตรเรียกภิกษุทั้งหลายแล้ว ภิกษุพวกนั้น
 
รับคำท่านพระสารีบุตรแล้ว ท่านพระสารีบุตรได้กล่าวคำนี้ว่า ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ที่เรียกว่า
 
สัมมาทิฏฐิๆ ด้วยเหตุเพียงเท่าไรหนอ อริยสาวกจึงจะชื่อว่าเป็นสัมมาทิฏฐิ มีความเห็นดำเนินไป
 
ตรงแล้ว ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันแน่วแน่ในธรรม มาสู่พระสัทธรรมนี้ พวกภิกษุกล่าวว่า
 
ดูกรท่านผู้มีอายุ พวกกระผมมาจากที่ไกล ก็เพื่อจะรู้ทั่วถึงเนื้อความแห่งภาษิตนี้ ในสำนักของท่าน
 
พระสารีบุตร ดังพวกกระผมขอโอกาส เนื้อความแห่งภาษิตนี้ จงแจ่มแจ้งกะท่านพระสารีบุตรเถิด
 
ภิกษุทั้งหลายได้ฟังต่อท่านพระสารีบุตรแล้ว จักทรงจำไว้ ท่านพระสารีบุตรตอบว่า ถ้าอย่างนั้น
 
จงฟังเถิด ท่านผู้มีอายุ จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว ภิกษุพวกนั้นรับคำท่านพระสารีบุตรแล้ว.
      [
๑๑๑] ท่านพระสารีบุตรได้กล่าวคำนี้ว่า ดูกรท่านผู้มีอายุ เมื่อใดอริยสาวกรู้ชัดซึ่ง
 
อกุศลและรากเง่าอกุศล รู้ชัดซึ่งกุศลและรากเง่าของกุศล แม้ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ อริยสาวกชื่อว่า
 
เป็นสัมมาทิฏฐิ มีความเห็นดำเนินไปตรงแล้วประกอบด้วยความเลื่อมใสอันแน่วแน่ในธรรม มาสู่
 
พระสัทธรรมนี้ ก็อกุศลเป็นไฉน? ได้แก่ ฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ประพฤติผิดในกาม พูดเท็จ
 
พูดส่อเสียด พูดคำหยาบ พูดเพ้อเจ้อ อยากได้ของผู้อื่น ปองร้ายเขา เห็นผิด อันนี้เรียกว่า
 
อกุศลแต่ละอย่างๆ รากเง่าของอกุศลเป็นไฉน? ได้แก่ โลภะ โทสะ โมหะ อันนี้เรียกว่ารากเง่า
 
ของอกุศลแต่ละอย่างๆ กุศลเป็นไฉน? ได้แก่ ความเว้นจากฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ประพฤติผิด
 
ในกาม พูดเท็จ พูดส่อเสียด พูดคำหยาบ พูดเพ้อเจ้อ ไม่อยากได้ของผู้อื่น ไม่ปองร้ายเขา
 
เห็นชอบ อันนี้เรียกว่า กุศลแต่ละอย่างๆ รากเง่าของกุศลเป็นไฉน? ได้แก่ อโลภะ อโทสะ
 
อโมหะ อันนี้เรียกว่า รากเง่าของกุศลแต่ละอย่างๆ ดูกรท่านผู้มีอายุ เมื่อใด อริยสาวกรู้ชัด
 
ซึ่งอกุศลและรากเง่าของอกุศลอย่างนี้ๆ รู้ชัดซึ่งกุศลและรากเง่าของกุศลอย่างนี้ๆ เมื่อนั้น ท่านละ
 
ราคานุสัย บรรเทาปฏิฆานุสัย ถอนทิฏฐานุสัย และมานานุสัยว่า เรามีอยู่โดยประการทั้งปวง
 
ละอวิชชา ยังวิชชาให้เกิด ย่อมกระทำที่สุดแห่งทุกข์ในปัจจุบันนี้เทียว แม้ด้วยเหตุเพียงเท่านี้
 
อริยสาวกชื่อว่าเป็นสัมมาทิฏฐิ  มีความเห็นดำเนินไปตรงแล้ว ประกอบด้วยความเลื่อมใสอัน
 
แน่วแน่ในธรรม มาสู่พระสัทธรรมนี้
      [
๑๑๒] ภิกษุเหล่านั้นชื่นชม อนุโมทนาภาษิตของท่านพระสารีบุตรว่า สาธุ ท่านผู้มีอายุ
 
แล้วได้ถามปัญหากะท่านพระสารีบุตรต่อไปว่า ดูกรท่านผู้มีอายุ จะพึงมีอยู่หรือปริยายแม้อย่างอื่น
 
ที่อริยสาวกซึ่งชื่อว่าเป็นสัมมาทิฏฐิ มีความเห็นดำเนินไปตรงแล้ว ประกอบด้วยความเลื่อมใส
 
อันแน่วแน่ในธรรม มาสู่พระสัทธรรมนี้.
                          
อาหารวาร
      [
๑๑๓] ท่านพระสารีบุตรตอบว่า พึงมีอยู่ ท่านผู้มีอายุ เมื่อใดอริยสาวกรู้ชัดซึ่งอาหาร
 
เหตุเกิดแห่งอาหาร ความดับอาหาร และทางที่จะให้ถึงความดับอาหาร แม้ด้วยเหตุเพียงเท่านี้
 
อริยสาวกชื่อว่าเป็นสัมมาทิฏฐิ ... มาสู่พระสัทธรรมนี้ ก็อาหาร เหตุเกิดแห่งอาหาร ความดับอาหาร
 
ทางที่จะให้ถึงความดับอาหาร เป็นไฉน? ได้แก่อาหาร ๔ อย่างเหล่านี้ เพื่อความดำรงอยู่ของหมู่
 
สัตว์ผู้เกิดแล้ว หรือเพื่ออนุเคราะห์เหล่าสัตว์ผู้แสวงหาที่เกิด อาหาร ๔ อย่างเป็นไฉน? คือ
     
๑ อาหาร คือ คำข้าว หยาบหรือละเอียด
     
๒ อาหาร คือ ผัสสะ
     
๓ อาหาร คือ ความคิดอ่าน [จงใจ]
     
๔ อาหาร คือ วิญญาณ [ความรู้แจ้งทางทวาร ๖]
     
เหตุเกิดแห่งอาหารย่อมมีเพราะตัณหาเป็นเหตุให้เกิด ความดับอาหารย่อมมีเพราะตัณหา
 
ดับ อริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ นี้แหละ คือ ความเห็นชอบ ดำริชอบ เจรจาชอบ การงานชอบ
 
เลี้ยงชีพชอบ พยายามชอบ ระลึกชอบ ตั้งใจชอบ ชื่อว่าทางที่จะให้ถึงความดับอาหาร ดูกรท่าน
 
ผู้มีอายุ เมื่อใด อริยสาวกรู้ชัดซึ่งอาหาร เหตุเกิดแห่งอาหาร ความดับอาหาร ทางที่จะให้ถึง
 
ความดับอาหารอย่างนี้ๆ เมื่อนั้น ท่านละราคานุสัย บรรเทาปฏิฆานุสัย ถอนทิฏฐานุสัย และ
 
มานานุสัย ว่าเรามีอยู่ โดยประการทั้งปวง ละอวิชชา ยังวิชชาให้เกิด ย่อมกระทำที่สุดแห่งทุกข์
 
ในปัจจุบันนี้เทียว แม้ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ อริยสาวกชื่อว่าเป็นสัมมาทิฏฐิ มีความเห็นดำเนินไป
 
ตรงแล้ว ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันแน่วแน่ในธรรม มาสู่พระสัทธรรมนี้.
      [
๑๑๔] ภิกษุเหล่านั้น ชื่นชม อนุโมทนาภาษิตของท่านพระสารีบุตรว่า สาธุ ท่านผู้มีอายุ
 
แล้วได้ถามปัญหากะท่านพระสารีบุตรต่อไปว่า ดูกรท่านผู้มีอายุ จะพึงมีอยู่หรือ ปริยายแม้อย่างอื่น
 
อริยสาวก ... มาสู่พระสัทธรรมนี้.
                           
สัจจวาร
      [
๑๑๕] ท่านพระสารีบุตรตอบว่า พึงมีอยู่ ท่านผู้มีอายุ เมื่อใดอริยสาวกรู้ชัดซึ่งทุกข์
 
ทุกขสมุทัย ทุกขนิโรธ ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา แม้ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ อริยสาวกชื่อว่าเป็น
 
สัมมาทิฏฐิ ... มาสู่พระสัทธรรมนี้ ก็ทุกข์เป็นไฉน? ได้แก่ ความเกิด ความแก่ ความตาย ความ
 
แห้งใจ ความพิไรรำพัน ความไม่สบายกาย ความเสียใจ ความคับแค้นใจ ความประจวบกับ
 
สิ่งไม่เป็นที่รัก ความพลัดพรากจากสิ่งเป็นที่รัก ปรารถนาสิ่งใดไม่ได้สมหวัง แต่ละอย่างๆ ล้วน
 
เป็นทุกข์ โดยย่อ อุปาทานขันธ์ทั้ง ๕ เป็นทุกข์ อันนี้เรียกว่า ความทุกข์ ก็ทุกขสมุทัยเป็นไฉน?
 
ได้แก่ ตัณหาอันทำให้เกิดในภพใหม่ ประกอบด้วยความกำหนัด ด้วยสามารถแห่งความเพลิน
 
เพลิดเพลินยิ่งในอารมณ์นั้นๆ คือ กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา อันนี้เรียกว่า ทุกขสมุทัย
 
ทุกขนิโรธเป็นไฉน? ได้แก่ความดับด้วยสามารถแห่งความสำรอกโดยไม่เหลือ ความสละ ความ
 
วาง ความปล่อย ความไม่พัวพัน แห่งตัณหานั้นแหละ อันนี้เรียกว่า ทุกขนิโรธ ทุกขนิโรธ-
 *
คามินีปฏิปทาเป็นไฉน? ได้แก่ อริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ นี้แหละ คือ ความเห็นชอบ ...
 
ความตั้งใจชอบ อันนี้เรียกว่า ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา ดูกรผู้มีอายุ เมื่อใด อริยสาวกรู้ชัดซึ่งทุกข์
 
ทุกขสมุทัย ทุกขนิโรธ ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอย่างนี้ๆ เมื่อนั้น ท่านละราคานุสัย ... แม้ด้วยเหตุ
 
เพียงเท่านี้ อริยสาวกชื่อว่าเป็นสัมมาทิฏฐิ มีความเห็นดำเนินไปตรงแล้ว ประกอบด้วยความ
 
เลื่อมใสอันแน่วแน่ในธรรม มาสู่พระสัทธรรมนี้.
                         
ชรามรณวาร
      [
๑๑๖] ภิกษุเหล่านั้น ชื่นชม อนุโมทนาภาษิตของท่านพระสารีบุตรว่า สาธุ ท่านผู้มีอายุ
 
แล้วได้ถามปัญหากะท่านพระสารีบุตรต่อไปว่า ดูกรท่านผู้มีอายุ จะพึงมีอยู่หรือ ปริยายแม้อย่างอื่น
 
อริยสาวก ... มาสู่พระสัทธรรมนี้.
      [
๑๑๗] ท่านพระสารีบุตรตอบว่า พึงมีอยู่ ท่านผู้มีอายุ เมื่อใด อริยสาวกรู้ชัดซึ่งชรา
 
และมรณะ เหตุเกิดแห่งชราและมรณะ ความดับชราและมรณะ และทางที่จะให้ถึงความดับชรา
 
และมรณะ แม้ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ อริยสาวกชื่อว่าเป็นสัมมาทิฏฐิ ... มาสู่พระสัทธรรมนี้ ก็ชรา
 
และมรณะ เหตุเกิดแห่งชราและมรณะ ความดับชราและมรณะ ทางที่จะให้ถึงความดับชราและ
 
มรณะ เป็นไฉน? ได้แก่ความแก่ ความคร่ำคร่า ฟันหลุด ผมหงอก หนังย่น ความเสื่อมแห่ง
 
อายุ ความแก่หง่อมแห่งอินทรีย์ ในหมู่สัตว์นั้นๆ ของเหล่าสัตว์นั้นๆ อันนี้เรียกว่าชรา ความจุติ
 
ความเคลื่อนไป ความแตกทำลาย ความหายไป มฤตยู ความตาย ความทำกาละ ความแตก
 
แห่งขันธ์ ความทิ้งซากศพไว้ ความขาดไปแห่งชีวิตินทรีย์จากหมู่สัตว์นั้นๆ ของเหล่าสัตว์นั้นๆ
 
อันนี้เรียกว่ามรณะ ชราและมรณะ ดังพรรณนามาฉะนี้ เรียกว่า ชราและมรณะ เหตุเกิดแห่งชรา
 
และมรณะ ย่อมมีเพราะชาติเป็นเหตุให้เกิด ความดับชราและมรณะ ย่อมมีเพราะชาติดับ
 
อริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ นี้แหละ คือ ความเห็นชอบ ... ความตั้งใจชอบ ชื่อว่าปฏิปทาที่จะให้
 
ถึงความดับชราและมรณะ  ดูกรท่านผู้มีอายุ  เมื่อใดแล อริยสาวกรู้ชัดซึ่งชราและมรณะ เหตุเกิด
 
แห่งชราและมรณะ  ความดับชราและมรณะ  และปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับแห่งชราและมรณะ
 
อย่างนี้ๆ เมื่อนั้น ท่านละราคานุสัย ฯลฯ แม้ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ อริยสาวกชื่อว่าเป็นสัมมาทิฏฐิ
 
มีความเห็นดำเนินไปตรงแล้ว ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันแน่วแน่ในธรรม มาสู่พระสัทธรรมนี้.
                           
ชาติวาร
      [
๑๑๘] ดูกรท่านผู้มีอายุ จะพึงมีอยู่หรือ  ปริยายแม้อย่างอื่น ท่านพระสารีบุตรตอบว่า
 
พึงมี ท่านผู้มีอายุ  เมื่อใดแล อริยสาวกรู้ชัดซึ่งชาติ เหตุเกิดแห่งชาติ ความดับชาติ  และ
 
ปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับชาติ  แม้ด้วยเหตุเพียงเท่านี้  อริยสาวกชื่อว่าเป็นสัมมาทิฏฐิ ... มาสู่
 
พระสัทธรรมนี้ ก็ชาติ เหตุเกิดแห่งชาติ ความดับชาติ ปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับชาติ เป็นไฉน?
 
ความเกิด ความบังเกิด ความหยั่งลง เกิด เกิดเฉพาะ ความปรากฏแห่งขันธ์ ความได้อายตนะ
 
ครบ ในหมู่สัตว์นั้นๆ ของเหล่าสัตว์นั้นๆ อันนี้เรียกว่า ชาติ เหตุเกิดแห่งชาติย่อมมีเพราะภพ
 
เป็นเหตุให้เกิด ความดับชาติย่อมมี เพราะภพดับ อริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ นี้แหละ คือ
 
ความเห็นชอบ ... ความตั้งใจชอบ ชื่อว่าปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับชาติ ดูกรท่านผู้มีอายุ เมื่อใดแล
 
อริยสาวกรู้ชัดซึ่งชาติ เหตุเกิดแห่งชาติ ความดับชาติและปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับชาติอย่างนี้ๆ
 
เมื่อนั้น ท่านละราคานุสัย ... แม้ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ อริยสาวกชื่อว่าเป็นสัมมาทิฏฐิ ... มาสู่พระ-
 *
สัทธรรมนี้
                          
ภวาทิวาร
      [
๑๑๙] ดูกรท่านผู้มีอายุ จะพึงมีอยู่หรือ ปริยายแม้อย่างอื่น ... ท่านพระสารีบุตรตอบว่า
 
พึงมี ท่านผู้มีอายุ เมื่อใดแล อริยสาวกรู้ชัดซึ่งภพ เหตุเกิดแห่งภพ ความดับภพ และปฏิปทา
 
ที่จะให้ถึงความดับภพ แม้ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ อริยสาวกชื่อว่าเป็นสัมมาทิฏฐิ ... มาสู่พระสัทธรรมนี้
 
ก็ภพ  เหตุเกิดแห่งภพ ความดับภพ และปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับภพ เป็นไฉน? ได้แก่ ภพ ๓
 
เหล่านี้ คือ กามภพ รูปภพ อรูปภพ เหตุเกิดแห่งภพ ย่อมมีเพราะอุปาทานเป็นเหตุให้เกิด
 
ความดับภพ ย่อมมีเพราะอุปาทานดับ อริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ นี้แหละ คือ ความเห็นชอบ ...
 
ความตั้งใจชอบ ชื่อว่าปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับภพ ดูกรท่านผู้มีอายุ เมื่อใดแล อริยสาวกรู้ชัด
 
ซึ่งภพ เหตุเกิดแห่งภพ ความดับภพ และปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับภพอย่างนี้ๆ เมื่อนั้น ท่านละ
 
ราคานุสัย ... แม้ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ อริยสาวกชื่อว่าเป็นสัมมาทิฏฐิ ... มาสู่พระสัทธรรมนี้.
      [
๑๒๐] ดูกรท่านผู้มีอายุ จะพึงมีอยู่หรือ ปริยายแม้อย่างอื่น ... ท่านพระสารีบุตรตอบว่า
 
พึงมี ท่านผู้มีอายุ เมื่อใดแล อริยสาวกรู้ชัดซึ่งอุปทาน เหตุเกิดแห่งอุปทาน  ความดับอุปทาน
 
และปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับอุปทาน แม้ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ อริยสาวกชื่อว่าเป็นสัมมาทิฏฐิ ...
 
มาสู่พระสัทธรรมนี้ ก็อุปาทาน เหตุเกิดแห่งอุปาทาน ความดับอุปาทาน และปฏิปทาที่จะให้ถึง
 
ความดับอุปาทาน เป็นไฉน? ได้แก่ อุปาทาน ๔ คือ กามุปาทาน ทิฏฐุปาทาน สีลัพพัตตุปาทาน
 
อัตตวาทุปาทาน เหตุเกิดแห่งอุปาทาน ย่อมมีเพราะตัณหาเป็นเหตุให้เกิด ความดับอุปาทาน
 
ย่อมมีเพราะตัณหาดับ อริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ นี้แหละ คือ ความเห็นชอบ ... ความตั้งใจชอบ
 
ชื่อว่าปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับอุปทาน ดูกรท่านผู้มีอายุ เมื่อใดแล อริยสาวกรู้ชัดซึ่งอุปาทาน
 
เหตุเกิดแห่งอุปาทาน ความดับอุปาทาน และปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับอุปาทานอย่างนี้ๆ เมื่อนั้น
 
ท่านละราคานุสัย ... แม้ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ อริยสาวกชื่อว่าเป็นสัมมาทิฏฐิ ... มาสู่พระสัทธรรมนี้.
                          
ตัณหาทิวาร
      [
๑๒๑] ดูกรท่านผู้มีอายุ จะพึงมีอยู่หรือ ปริยายแม้อย่างอื่น ... ท่านพระสารีบุตรตอบว่า
 
พึงมี ท่านผู้มีอายุ เมื่อใดแล อริยสาวกรู้ชัดซึ่งตัณหา เหตุเกิดแห่งตัณหา ความดับแห่งตัณหา
 
และปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับตัณหา แม้ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ อริยสาวกชื่อว่าเป็นสัมมาทิฏฐิ ...
 
มาสู่พระสัทธรรมนี้ ก็ตัณหา เหตุเกิดแห่งตัณหา ความดับตัณหา และปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับ
 
ตัณหาเป็นไฉน? ได้แก่ ตัณหา ๖ หมวดเหล่านี้ คือ ตัณหาในรูป ตัณหาในเสียง ตัณหาในกลิ่น
 
ตัณหาในรส ตัณหาในโผฏฐัพพะ ตัณหาในธรรม เหตุเกิดแห่งตัณหา ย่อมมีเพราะเวทนาเป็น
 
เหตุให้เกิด ความดับตัณหา ย่อมมีเพราะเวทนาดับ อริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ นี้แหละ คือ
 
ความเห็นชอบ ... ความตั้งใจชอบ ชื่อว่าปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับตัณหา ดูกรท่านผู้มีอายุ เมื่อใดแล
 
อริยสาวกรู้ชัดซึ่งตัณหา เหตุเกิดแห่งตัณหา ความดับตัณหา และปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับตัณหา
 
อย่างนี้ๆ เมื่อนั้น ท่านละราคานุสัย ... แม้ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ อริยสาวกชื่อว่าเป็นสัมมาทิฏฐิ ...
 
มาสู่พระสัทธรรมนี้.
      [
๑๒๒] ดูกรท่านผู้มีอายุ จะพึงมีอยู่หรือ ปริยายแม้อย่างอื่น ... ท่านพระสารีบุตรตอบว่า
 
พึงมี ท่านผู้มีอายุ เมื่อใดแล อริยสาวกรู้ชัดซึ่งเวทนา เหตุเกิดแห่งเวทนา ความดับเวทนา และ
 
ปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับเวทนา แม้ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ อริยสาวกชื่อว่าเป็นสัมมาทิฏฐิ ... มาสู่
 
พระสัทธรรมนี้ ก็เวทนา เหตุเกิดแห่งเวทนา ความดับเวทนา และปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับ
 
เวทนา เป็นไฉน? ได้แก่เวทนา ๖ หมวดเหล่านี้ คือ เวทนาที่เกิดแต่จักขุสัมผัส เวทนาที่เกิดแต่
 
โสตสัมผัส เวทนาที่เกิดแต่ฆานสัมผัส เวทนาที่เกิดแต่ชิวหาสัมผัส เวทนาที่เกิดแต่กายสัมผัส
 
เวทนาที่เกิดแต่มโนสัมผัส เหตุเกิดเวทนา ย่อมมีเพราะผัสสะเป็นเหตุให้เกิด ความดับเวทนา
 
ย่อมมีเพราะผัสสะดับ อริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ นี้แหละ คือความเห็นชอบ ... ความตั้งใจชอบ
 
ชื่อว่าปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับเวทนา ดูกรท่านผู้มีอายุ เมื่อใดแล อริยสาวกรู้ชัดซึ่งเวทนา เหตุ-
 *
เกิดแห่งเวทนา ความดับเวทนา และปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับเวทนาอย่างนี้ๆ เมื่อนั้น ท่าน
 
ละราคานุสัย ... แม้ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ อริยสาวกชื่อว่าเป็นสัมมาทิฏฐิ ... มาสู่พระสัทธรรมนี้.
      [
๑๒๓] ดูกรท่านผู้มีอายุ จะพึงมีอยู่หรือ ปริยายแม้อย่างอื่น ... ท่านพระสารีบุตรตอบว่า
 
พึงมี ท่านผู้มีอายุ เมื่อใดแล อริยสาวกรู้ชัดซึ่งผัสสะ เหตุเกิดแห่งผัสสะ ความดับผัสสะ และ
 
ปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับผัสสะ แม้ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ อริยสาวกชื่อว่าเป็นสัมมาทิฏฐิ ... มาสู่
 
พระสัทธรรมนี้. ก็ผัสสะ เหตุเกิดแห่งผัสสะ ความดับผัสสะ และทางที่จะให้ถึงความดับผัสสะ
 
เป็นไฉน? ได้แก่ ผัสสะ ๖ หมวด คือ จักขุสัมผัส โสตสัมผัส ฆานสัมผัส ชิวหาสัมผัส
 
กายสัมผัส มโนสัมผัส เหตุเกิดแห่งผัสสะ ย่อมมีเพราะอายนะ ๖ เป็นเหตุให้เกิด ความดับผัสสะ
 
ย่อมมีเพราะผัสสะดับ อริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ นี้แหละ คือความเห็นชอบ ... ความตั้งใจชอบ
 
ชื่อว่าปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับผัสสะ ดูกรท่านผู้มีอายุ เมื่อใดแล อริยสาวกรู้ชัดซึ่งผัสสะ
 
เหตุเกิดแห่งผัสสะ ความดับผัสสะ และปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับผัสสะอย่างนี้ๆ เมื่อนั้น ท่าน
 
ละราคานุสัย ... แม้ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ อริยสาวกชื่อว่าเป็นสัมมาทิฏฐิ ... มาสู่พระสัทธรรมนี้.
      [
๑๒๔] ดูกรท่านผู้มีอายุ จะพึงมีอยู่หรือ ปริยายแม้อย่างอื่น ... ท่านพระสารีบุตรตอบว่า
 
พึงมี ท่านผู้มีอายุ เมื่อใดแล อริยสาวกรู้ชัดซึ่งอายตนะ ๖ เหตุเกิดแห่งอายตนะ ๖ ความดับ
 
แห่งอายตนะ ๖ และปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับอายตนะ ๖ แม้ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ อริยสาวกชื่อว่า
 
เป็นสัมมาทิฏฐิ ... มาสู่พระสัทธรรมนี้ ก็อายตนะ ๖ เหตุเกิดแห่งอายนะ ๖ ความดับอายตนะ ๖
 
และปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับอายตนะ ๖ เป็นไฉน? ได้แก่ อายตนะ ๖ เหล่านี้ คือ ตา หู จมูก
 
ลิ้น กาย ใจ เหตุเกิดแห่งอายตนะ ๖ ย่อมมีเพราะนามรูปเป็นเหตุให้เกิด ความดับอายตนะ ๖ ย่อมมี
 
เพราะนามรูปดับ อริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ นี้แหละ คือ ความเห็นชอบ ... ความตั้งใจชอบ
 
ชื่อว่าปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับอายตนะ ๖ ดูกรท่านผู้มีอายุ เมื่อใดแล อริยสาวกรู้ชัดซึ่งอายตนะ ๖
 
เหตุเกิดอายตนะ ๖ ความดับอายตนะ ๖ และปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับอายตนะ ๖ อย่างนี้ๆ
 
เมื่อนั้น ท่านละราคานุสัย ... แม้ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ อริยสาวกชื่อว่าเป็นสัมมาทิฏฐิ ... มาสู่พระ-
 *
สัทธรรมนี้.
                         
นามรูปาทิวาร
      [
๑๒๕] ดูกรท่านผู้มีอายุ จะพึงมีอยู่หรือ ปริยายแม้อย่างอื่น ... ท่านพระสารีบุตรตอบว่า
 
พึงมี ท่านผู้มีอายุ เมื่อใดแล อริยสาวกรู้ชัดซึ่งนามรูป เหตุเกิดแห่งนามรูป ความดับนามรูป
 
และปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับนามรูป แม้ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ อริยสาวกชื่อว่าเป็นสัมมาทิฏฐิ ...
 
มาสู่พระสัทธรรมนี้ ก็นามรูป เหตุเกิดแห่งนามรูป ความดับนามรูป และปฏิปทาที่จะให้ถึงความ
 
ดับนามรูป เป็นไฉน? เวทนา สัญญา เจตนา ผัสสะ มนสิการ อันนี้เรียกว่า นาม มหาภูต-
 *
รูป ๔ และรูปที่อาศัยมหาภูตรูป ๔ อันนี้เรียกว่ารูป นามและรูปดังพรรณนามาฉะนี้ เรียกว่า นามรูป
 
เหตุเกิดแห่งนามรูป ย่อมมีเพราะวิญญาณเป็นเหตุให้เกิด ความดับนามรูป ย่อมมีเพราะวิญญาณ
 
ดับ อริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ นี้แหละ คือความเห็นชอบ ... ความตั้งใจชอบ ชื่อว่าปฏิปทา
 
ที่จะให้ถึงความดับนามรูป ดูกรท่านผู้มีอายุ เมื่อใดแล อริยสาวกรู้ชัดซึ่งนามรูป เหตุเกิดแห่ง
 
นามรูป ความดับนามรูป และปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับนามรูปอย่างนี้ๆ เมื่อนั้น ท่านละราคา-
 *
นุสัย ... แม้ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ อริยสาวกชื่อว่าเป็นสัมมาทิฏฐิ ... มาสู่พระสัทธรรมนี้.
      [
๑๒๖] ดูกรท่านผู้มีอายุ จะพึงมีอยู่หรือ ปริยายแม้อย่างอื่น ... ท่านพระสารีบุตรตอบว่า
 
พึงมี ท่านผู้มีอายุ เมื่อใดแล อริยสาวกรู้ชัดซึ่งวิญญาณ เหตุเกิดแห่งวิญญาณ ความดับวิญญาณ
 
และทางที่จะให้ถึงความดับวิญญาณ แม้ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ อริยสาวกชื่อว่าเป็นสัมมาทิฏฐิ ... มาสู่
 
พระสัทธรรมนี้ ก็วิญญาณ เหตุเกิดแห่งวิญญาณ ความดับวิญญาณ ปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับวิญญาณ
 
เป็นไฉน? ได้แก่ วิญญาณ ๖ หมวดเหล่านี้ คือ จักขุวิญญาณ โสตวิญญาณ ฆานวิญญาณ
 
ชิวหาวิญญาณ กายวิญญาณ มโนวิญญาณ เหตุเกิดแห่งวิญญาณ ย่อมมีเพราะสังขารเป็นเหตุ
 
ให้เกิด ความดับวิญญาณ ย่อมมีเพราะสังขารดับ อริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ นี้แหละ คือ
 
ความเห็นชอบ ... ความตั้งใจชอบ ชื่อว่าปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับวิญญาณ ดูกรท่านผู้มีอายุ เมื่อใด
 
แล อริยสาวกรู้ชัดซึ่งวิญญาณ เหตุเกิดแห่งวิญญาณ ความดับวิญญาณ ปฏิปทาที่จะให้ถึงความ
 
ดับวิญญาณ อย่างนี้ๆ เมื่อนั้น ท่านละราคานุสัย ... แม้ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ อริยสาวกชื่อว่าเป็น
 
สัมมาทิฏฐิ ... มาสู่พระสัทธรรมนี้.
                          
สังขารวาร
      [
๑๒๗] ดูกรท่านผู้มีอายุ จะพึงมีอยู่หรือ ปริยายแม้อย่างอื่น ... ท่านพระสารีบุตรตอบว่า
 
พึงมี ท่านผู้มีอายุ เมื่อใดแล อริยสาวกรู้ชัดซึ่งสังขาร เหตุเกิดแห่งสังขาร ความดับสังขาร และ
 
ปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับสังขาร แม้ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ อริยสาวกชื่อว่าเป็นสัมมาทิฏฐิ ... มาสู่
 
พระสัทธรรมนี้ ก็สังขาร เหตุเกิดแห่งสังขาร ความดับสังขาร ทางที่จะให้ถึงความดับสังขาร
 
เป็นไฉน? ได้แก่ สังขาร ๓ เหล่านี้ คือ กายสังขาร วจีสังขาร จิตตสังขาร เหตุเกิดแห่งสังขาร
 
ย่อมมีเพราะอวิชชาเป็นเหตุให้เกิด ความดับสังขาร ย่อมมีเพราะอวิชชาดับ อริยมรรคประกอบ
 
ด้วยองค์ ๘ นี้แหละ คือ ความเห็นชอบ ... ความตั้งใจชอบ ชื่อว่าทางที่จะให้ถึงความดับสังขาร
 
ดูกรท่านผู้มีอายุ เมื่อใดแล อริยสาวกรู้ขัดซึ่งสังขาร เหตุเกิดแห่งสังขาร ความดับสังขาร ปฏิปทา
 
ที่จะให้ถึงความดับสังขารอย่างนี้ๆ เมื่อนั้น ท่านละราคานุสัย ... แม้ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ อริยสาวก
 
ชื่อว่าเป็นสัมมาทิฏฐิ ... มาสู่พระสัทธรรมนี้.
                          
อวิชชาวาร
      [
๑๒๘] ดูกรท่านผู้มีอายุ จะพึงมีอยู่หรือ ปริยายแม้อย่างอื่น ... ท่านพระสารีบุตรตอบว่า
 
พึงมี ท่านผู้มีอายุ เมื่อใดแล อริยสาวกรู้ชัดซึ่งอวิชชา เหตุเกิดแห่งอวิชชา ความดับอวิชชา
 
และปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับอวิชชา แม้ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ อริยสาวกชื่อว่าเป็นสัมมาทิฏฐิ ...
 
มาสู่พระสัทธรรมนี้ ก็อวิชชา เหตุเกิดแห่งอวิชชา ความดับอวิชชา และปฏิปทาที่จะให้ถึงความ
 
ดับอวิชชา เป็นไฉน? ความไม่รู้ในทุกข์ ในเหตุเกิดแห่งทุกข์ ในความดับทุกข์ ในปฏิปทาที่จะให้ถึง
 
ความดับทุกข์ อันนี้เรียกว่าอวิชชา เหตุเกิดแห่งอวิชชา ย่อมมีเพราะอาสวะเป็นเหตุให้เกิด
 
ความดับอวิชชา ย่อมมีเพราะอาสวะดับ อริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ นี้แหละ คือความเห็นชอบ
 
ความตั้งใจชอบ ชื่อว่าปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับอวิชชา ดูกรท่านผู้มีอายุ เมื่อใดแล อริยสาวก
 
รู้ชัดซึ่งอวิชชา เหตุเกิดแห่งอวิชชา ความดับอวิชชา ทางที่จะให้ถึงความดับอวิชชาอย่างนี้ๆ เมื่อ
 
นั้น ท่านละราคานุสัย ... แม้ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ อริยสาวกชื่อว่าเป็นสัมมาทิฏฐิ มีความเห็นดำเนิน
 
ไปตรงแล้ว ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันแน่วแน่ในธรรม มาสู่พระสัทธรรมนี้.
      [
๑๒๙] ภิกษุเหล่านั้น ชื่นชม อนุโมทนาภาษิตของท่านพระสารีบุตรว่า สาธุ ท่านผู้มีอายุ
 
แล้วได้ถามปัญหากะท่านพระสารีบุตรต่อไปว่า ดูกรท่านผู้มีอายุ จะพึงมีอยู่หรือปริยายแม้อย่างอื่น
 
ที่อริยสาวกซึ่งชื่อว่าเป็นสัมมาทิฏฐิ มีความเห็นดำเนินไปตรงแล้ว ประกอบด้วยความเลื่อมใส
 
อันแน่วแน่ในธรรม มาสู่พระสัทธรรมนี้.
                           
อาสววาร
      [
๑๓๐] ท่านพระสารีบุตรตอบว่า พึงมี ท่านผู้มีอายุ เมื่อใดแล อริยสาวกรู้ชัดซึ่งอาสวะ
 
อาสวสมุทัย อาสวนิโรธ อาสวนิโรธคามินีปฏิปทา แม้ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ อริยสาวกชื่อว่า
 
เป็นสัมมาทิฏฐิ มีความเห็นดำเนินไปตรงแล้ว ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันแน่วแน่ในธรรม
 
มาสู่พระสัทธรรมนี้ ก็อาสวะ เหตุเกิดแห่งอาสวะ ความดับอาสวะ ทางที่จะให้ถึงความดับอาสวะ
 
เป็นไฉน? ได้แก่ อาสวะ ๓ เหล่านี้ คือ กามาสวะ ภวาสวะ อวิชชาสวะ เหตุเกิดแห่งอาสวะ
 
ย่อมมีเพราะอวิชชาเป็นเหตุให้เกิด ความดับอาสวะ ย่อมมีเพราะอวิชชาดับ อริยมรรคประกอบ
 
ด้วยองค์ ๘ นี้แหละ คือ ความเห็นชอบ ดำริชอบ เจรจาชอบ การงานชอบ เลี้ยงชีพชอบ
 
พยายามชอบ ระลึกชอบ ตั้งใจชอบ ชื่อว่าปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับอาสวะ ดูกรท่านผู้มีอายุ
 
เมื่อใด อริยสาวกรู้ชัดซึ่งอาสวะ เหตุเกิดแห่งอาสวะ ความดับอาสวะ ปฏิปทาที่จะให้ถึงความ
 
ดับอาสวะ อย่างนี้ๆ เมื่อนั้นท่านละราคานุสัย บรรเทาปฏิฆานุสัย ถอนทิฏฐานุสัย และ
 
มานานุสัย โดยประการทั้งปวง ละอวิชชา ยังวิชชาให้เกิด ย่อมกระทำซึ่งที่สุดแห่งทุกข์ในปัจจุบัน
 
เทียว แม้ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ อริยสาวกชื่อว่าเป็นสัมมาทิฏฐิ มีความเห็นดำเนินไปตรงแล้ว
 
ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันแน่วแน่ในธรรม มาสู่พระสัทธรรมนี้.
     
ท่านพระสารีบุตรได้กล่าวคำนี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้น ชื่นชม ยินดีภาษิตของท่านพระสารี-
 *
บุตรแล้วแล.
                      
จบ สัมมาทิฏฐิสูตร ที่ ๙
     
ดูกรท่านผู้มีอายุ ก็ ๖ บทที่กล่าวว่าเป็นไฉน ได้แก่ ทุกข์ ชรามรณะ อุปาทาน อายตนะ ๖
 
นามรูป วิญญาณ ๔ บทที่กล่าวว่าเป็นไฉน ได้แก่ ชาติ ตัณหา เวทนา และหมวด ๔ แห่งอวิชชา ๕
 
บทที่กล่าวว่าเป็นไฉน ได้แก่ อาหาร ภพ ผัสสะ สังขาร อาสวะเป็นที่ ๕ หกอย่างเป็นไฉน
 
ข้าพเจ้าได้กล่าวแล้ว สี่อย่างเป็นไฉน ข้าพเจ้าได้กล่าวแล้ว ห้าอย่างเป็นไฉน ข้าพเจ้าได้กล่าวแล้ว
 
บทแห่งสังขารทั้งปวง มี ๑๕ บท ฉะนี้แล.
                         ------------
                       
๑๐. สติปัฏฐานสูตร
                    
ว่าด้วยการเจริญสติปัฏฐาน
      [
๑๓๑] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้-
     
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ในแคว้นกุรุ มีนิคมหนึ่งของแคว้นกุรุ ชื่อว่า
 
กัมมาสธรรม ณ ที่นั่น พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย. ภิกษุเหล่า
 
นั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคแล้ว.
      [
๑๓๒] พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระพุทธภาษิตนี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลายหนทางนี้เป็นที่ไป
 
อันเอก เพื่อความบริสุทธิ์ของเหล่าสัตว์ เพื่อล่วงความโศกและปริเทวะ เพื่อความดับสูญแห่ง
 
ทุกข์และโทมนัส เพื่อบรรลุธรรมที่ถูกต้อง เพื่อทำพระนิพพานให้แจ้ง. หนทางนี้คือ สติปัฏฐาน
 
๔ ประการ. ๔ ประการเป็นไฉน? ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ พิจารณาเห็นกายใน
 
กายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้ ๑ พิจารณา
 
เห็นเวทนาในเวทนาอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญา มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลก
 
เสียได้ ๑ พิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัส
 
ในโลกเสียได้ ๑ พิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌา
 
และโทมนัสในโลกเสียได้ ๑.
                        
อานาปานบรรพ
      [
๑๓๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย  ภิกษุพิจารณาเห็นกายในกายอยู่อย่างไรเล่า? ดูกรภิกษุ
 
ทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ไปสู่ป่าก็ดี ไปสู่โคนไม้ก็ดี ไปสู่เรือนว่างก็ดี นั่งคู้บัลลังก์
 
ตั้งกายตรง ดำรงสติไว้เฉพาะหน้า. เธอมีสติ หายใจออก มีสติ หายใจเข้า เมื่อหายใจออกยาว
 
ก็รู้ชัดว่า เราหายใจออกยาว เมื่อหายใจเข้ายาว ก็รู้ชัดว่า เราหายใจเข้ายาว.
 
เมื่อหายใจออกสั้น ก็รู้ชัดว่า เราหายใจออกสั้น เมื่อหายใจเข้าสั้น ก็รู้ชัดว่า
 
เราหายใจเข้าสั้น. ย่อมสำเหนียกว่า เราจักเป็นผู้กำหนดรู้กองลมทั้งปวง หายใจออก. ย่อม
 
สำเหนียกว่า เราจักเป็นผู้กำหนดรู้กองลมทั้งปวงหายใจเข้า. ย่อมสำเหนียกว่า เราจักระงับ
 
กายสังขารหายใจออก. ย่อมสำเหนียกว่าเราจักระงับกายสังขารหายใจเข้า. นายช่างกลึง หรือ
 
ลูกมือของนายช่างกลึงผู้ฉลาด เมื่อชักเชือกกลึงยาว ก็รู้ชัดว่า เราชักยาว. เมื่อชักเชือกกลึงสั้น
 
ก็รู้ชัดว่า เราชักสั้น แม้ฉันใด. ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน เมื่อหายใจออกยาว ก็รู้ชัดว่า เรา
 
หายใจออกยาว. เมื่อหายใจเข้ายาว ก็รู้ชัดว่า เราหายใจเข้ายาว. เมื่อหายใจออกสั้น ก็รู้ชัดว่า
 
เราหายใจออกสั้น. เมื่อหายใจเข้าสั้น ก็รู้ชัดว่า เราหายใจเข้าสั้น. ย่อมสำเหนียกว่า เราจัก
 
เป็นผู้กำหนดรู้กองลมทั้งปวง หายใจออก. ย่อมสำเหนียกว่า เราจักเป็นผู้กำหนดรู้กองลมทั้งปวง
 
หายใจเข้า. ย่อมสำเหนียกว่า เราจักระงับกายสังขาร หายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า เราจักระงับกาย
 
สังขาร หายใจเข้า. ดังพรรณนามาฉะนี้ ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายในกายภายในบ้าง พิจารณาเห็น
 
กายในกายภายนอกบ้าง พิจารณาเห็นกายในกายทั้งภายในทั้งภายนอกบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือ
 
ความเกิดขึ้นในกายบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือความเสื่อมในกายบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือทั้งความ
 
เกิดขึ้นทั้งความเสื่อมในกายบ้าง ย่อมอยู่ อนึ่ง สติของเธอที่ตั้งมั่นอยู่ว่า กายมีอยู่ ก็เพียงสักว่า
 
ความรู้เพียงสักว่าอาศัยระลึกเท่านั้น เธอเป็นผู้อันตัณหาและทิฏฐิไม่อาศัยอยู่แล้ว และไม่ถือมั่น
 
อะไรๆ ในโลก ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้อย่างนี้ ภิกษุชื่อว่าพิจารณาเห็นกายในกายอยู่.
                       
จบ อานาปานบรรพ.
                         
อิริยาปถบรรพ
      [
๑๓๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ภิกษุเมื่อเดิน ก็รู้ชัดว่าเราเดิน เมื่อยืน
 
ก็รู้ชัดว่า เรายืน เมื่อนั่ง ก็รู้ชัดว่า เรานั่ง เมื่อนอน ก็รู้ชัดว่า เรานอน หรือเธอตั้งกายไว้
 
ด้วยอาการอย่างใดๆ ก็รู้ชัดอาการอย่างนั้นๆ. ดังพรรณนามาฉะนี้ ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายใน
 
กายภายในบ้าง ฯลฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้อย่างนี้ ภิกษุชื่อว่าพิจารณาเห็นกายในกายอยู่.
                       
จบ อริยาปถบรรพ.
                         
สัมปชัญญบรรพ
      [
๑๓๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ภิกษุเป็นผู้กระทำสัมปชัญญะในการก้าวไป
 
และถอยกลับ ในการแลไปข้างหน้า และเหลียวซ้ายเหลียวขวา ในการคู้อวัยวะเข้า และเหยียด
 
ออก ในการทรงผ้าสังฆาฏิ บาตร และจีวร ในการกิน ดื่ม เคี้ยว ลิ้ม ในการถ่ายอุจจาระ
 
และปัสสาวะ ในเวลาเดิน ยืน นั่ง นอน หลับ ตื่น พูด นิ่ง. ดังพรรณนามาฉะนี้ ภิกษุ
 
ย่อมพิจารณาเห็นกายในกายภายในบ้าง ฯลฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้อย่างนี้ ภิกษุชื่อว่าพิจารณา
 
เห็นกายในกายอยู่.
                       
จบ สัมปชัญญบรรพ.
                          
ปฏิกูลบรรพ.
      [
๑๓๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายนี้แหละ เบื้อง
 
บนแต่พื้นเท้าขึ้นไป เบื้องต่ำและปลายผมลงมา มีหนังสือเป็นที่สุดรอบเต็มด้วยของไม่สะอาดมี
 
ประการต่างๆ ว่า มีอยู่ในกายนี้ ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก เยื่อในกระดูก
 
ม้าม หัวใจ ตับ พังผืด ไต ปอด ไส้ใหญ่ ไส้น้อย อาหารใหม่ อาหารเก่า ดี เสลด
 
หนอง เลือด เหงื่อ มันข้น น้ำตา เปลวมัน น้ำลาย น้ำมูก ไขข้อ มูตร ไถ้มีปากสองข้าง
 
เต็มด้วยธัญญชาติต่างอย่าง คือ ข้าวสาลี ข้าวเปลือก ถั่วเขียว ถั่วเหลือง งา ข้าวสาร บุรุษ
 
ผู้มีนัยน์ตาดี แก้ไถ้นั้นแล้ว  พึงเห็นได้ว่า นี้ข้าวสาลี นี้ข้าวเปลือก นี้ถั่วเขียว นี้ถั่วเหลือง
 
นี้งา นี้ข้าวสาร ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมพิจารณาเห็นกายนี้แหละ เบื้องบนแต่
 
พื้นเท้าขึ้นไป เบื้องต่ำแต่ปลายผมลงมา มีหนังเป็นที่สุดรอบ เต็มด้วยของไม่สะอาดมีประการ
 
ต่างๆ ว่า มีอยู่ในกายนี้ ผม ขน ฯลฯ ไขข้อ มูตร ดังพรรณนามาฉะนี้ ภิกษุย่อมพิจารณา
 
เห็นกายในกายภายในบ้าง ฯลฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้อย่างนี้ ภิกษุชื่อว่าพิจารณาเห็นกายใน
 
กายอยู่.
                        
จบ ปฏิกูลบรรพ.
                          
ธาตุบรรพ.
      [
๑๓๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายนี้แหละ ซึ่งตั้ง
 
อยู่ตามที่ตั้งอยู่ตามปกติ โดยความเป็นธาตุว่า มีอยู่ในกายนี้ ธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุไฟ ธาตุลม
 
คนฆ่าโค หรือลูกมือของคนฆ่าโคผู้ฉลาด ฆ่าแม่โคแล้ว แบ่งออกเป็นส่วนๆ นั่งอยู่ ที่หนทาง
 
ใหญ่ ๔ แพร่ง ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมพิจารณาเห็นกายนี้แหละ ซึ่งตั้งอยู่ตามที่ตั้ง
 
อยู่ตามปกติ โดยความเป็นธาตุว่า มีอยู่ในกายนี้ ธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุไฟ ธาตุลม ดังพรรณนา
 
มาฉะนี้ ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายในกายภายในบ้าง ฯลฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย  แม้อย่างนี้ ภิกษุ
 
ชื่อว่าพิจารณาเห็นกายในกายอยู่.
                         
จบ ธาตุบรรพ.
                        
นวสีวถิกาบรรพ.
      [
๑๓๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง เปรียบเหมือนภิกษุพึงเห็นสรีระที่เขาทิ้ง
 
ไว้ในป่าช้า ตายแล้ววันหนึ่งบ้าง สองวันบ้าง สามวันบ้าง ที่ขึ้นพอง ผีสีเขียวน่าเกลียด น้ำ
 
เหลืองไหลน่าเกลียด เธอย่อมน้อมเข้ามาสู่กายนี้แหละว่า ถึงร่างกายอันนี้เล่า ก็มีอย่างนี้เป็น
 
ธรรมดา คงเป็นอย่างนี้ ไม่ล่วงความเป็นอย่างนี้ไปได้ ดังพรรณนามาฉะนี้ ภิกษุย่อมพิจารณาเห็น
 
กายในกายภายในบ้าง ฯลฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้อย่างนี้ ภิกษุชื่อว่าพิจารณาเห็นกายในกายอยู่.
     
อีกประการหนึ่ง เปรียบเหมือนภิกษุ พึงเห็นสรีระที่เขาทิ้งไว้ในป่าช้า อันฝูงกาจิกกิน
 
อยู่บ้าง ฝูงแร้งจิกกินอยู่บ้าง ฝูงนกตะกรุมจิกกินอยู่บ้าง หมู่สุนัขกัดกินอยู่บ้าง หมู่สุนัขจิ้งจอก
 
กัดกินอยู่บ้าง หมู่สัตว์ต่างๆ กัดกินอยู่บ้าง เธอย่อมน้อมเข้ามาสู่กายนี้แหละว่า ถึงร่างกายอันนี้
 
เล่า ก็มีอย่างนี้เป็นธรรมดา คงเป็นอย่างนี้ ไม่ล่วงความเป็นอย่างนี้ไปได้ ดังพรรณนามาฉะนี้
 
ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายในกายภายในบ้าง ฯลฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้อย่างนี้ ภิกษุชื่อว่า
 
พิจารณาเห็นกายในกายอยู่.
     
อีกประการหนึ่ง เปรียบเหมือนภิกษุ พึงเห็นสรีระที่เขาทิ้งไว้ในป่าช้า เป็นร่างกระดูก
 
ยังมีเนื้อและเลือด ยังมีเส้นเอ็นผูกรัดอยู่ ฯลฯ เป็นร่างกระดูก เปื้อนเลือด แต่ปราศจากเนื้อ
 
ยังมีเส้นเอ็นผูกรัดอยู่ ฯลฯ เป็นร่างกระดูก ปราศจากเนื้อและเลือดแล้ว ยังมีเส้นเอ็นผูกรัด
 
อยู่ ฯลฯ เป็นร่างกระดูก ปราศจากเส้นเอ็นผูกรัดแล้ว เรี่ยรายไปในทิศน้อยทิศใหญ่ คือกระดูก
 
มือไปทางหนึ่ง กระดูกเท้าไปทางหนึ่ง กระดูกแข้งไปทางหนึ่ง กระดูกขาไปทางหนึ่ง กระดูก
 
สะเอวไปทางหนึ่ง กระดูกข้อสันหลังไปทางหนึ่ง กระดูกซี่โครงไปทางหนึ่ง กระดูกหน้าอกไป
 
ทางหนึ่ง กระดูกแขนไปทางหนึ่ง กระดูกไหล่ไปทางหนึ่ง กระดูกคอไปทางหนึ่ง กระดูกคาง
 
ไปทางหนึ่ง กระดูกฟันไปทางหนึ่ง กระโหลกศีรษะไปทางหนึ่ง เธอย่อมน้อมเข้ามาสู่กายนี้แหละ
 
ว่า ถึงร่างกายอันนี้เล่า ก็มีอย่างนี้เป็นธรรมดา คงเป็นอย่างนี้ ไม่ล่วงความเป็นอย่างนี้ไปได้
 
ดังพรรณนามาฉะนี้ ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายในกายภายในบ้าง ฯลฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้
 
อย่างนี้ ภิกษุชื่อว่าพิจารณาเห็นกายในกายอยู่.
     
อีกประการหนึ่ง เปรียบเหมือนภิกษุ พึงเห็นสรีระที่เขาทิ้งไว้ในป่าช้า เป็นกระดูก
 
มีสีขาว เปรียบด้วยสีสังข์ ... เป็นกระดูก เป็นกองเรี่ยรายแล้ว เก่าเกินปีหนึ่งไปแล้ว ... เป็น
 
กระดูกผุละเอียดแล้ว เธอย่อมน้อมเข้ามาสู่กายนี้แหละว่า ถึงร่างกายอันนี้เล่า ก็มีอยู่อย่างนี้เป็น
 
ธรรมดา คงเป็นอย่างนี้ ไม่ล่วงความเป็นอย่างนี้ไปได้ ดังพรรณนามาฉะนี้ ภิกษุย่อมพิจารณา
 
เห็นกายในกายภายในบ้าง พิจารณาเห็นกายในกายภายนอกบ้าง พิจารณาเห็นกายในกายทั้งภายใน
 
ทั้งภายนอกบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือความเกิดขึ้นในกายบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือความเสื่อม
 
ในกายบ้าง พิจารณาเห็นธรรม คือ ทั้งความเกิดขึ้น ทั้งความเสื่อมในกายบ้าง ย่อมอยู่ อนึ่ง
 
สติของเธอตั้งมั่นอยู่ว่า กายมีอยู่ ก็เพียงสักว่าความรู้ เพียงสักว่า อาศัยระลึกเท่านั้น เธอเป็น
 
ผู้อันตัณหาและทิฏฐิไม่อาศัยอยู่แล้ว และไม่ถือมั่นอะไรๆ ในโลก ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้อย่าง
 
นี้ ภิกษุชื่อว่าพิจารณาเห็นกายในกายอยู่.
                       
จบ นวสีวถิกาบรรพ
                   
จบ กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน.
 
          กลับหน้าแรก 100                                           อ่านต่อหน้า 503