สั่งเครื่องให้ทำการพิมพ์
ลานธรรมเสวนา > ชีวิตกับธรรมะ
กระทู้ 34983 สนทนาเรื่องสติสัมปชัญญะ สติปัฏฐาน ๔ อินทรีภาวนา ( http://larndham.net/index.php?showtopic=34983 )


     กระทู้นี้ผมจะสนทนา เรื่องพื้นฐานจริงๆ   เพราะในเรื่องเก่าเรื่องอานาปานสติตามความเข้าใจ นั้นเป็นเรื่องต้องปฏิบัติตามรูปแบบเป็นตามขั้นตอนตามลำดับลาดลุ่มลึกตามการปฏิบัติ  แต่ในกระทู้นี้เป็นเรื่องพื้นฐานในการปฏิบัติและการทำความเข้าใจเบื้องต้น.

    เมื่อขึ้นคำว่า สติสัมปชัญญะ อาจจะมีบางท่านหยุดคิดไปนิดหนึ่งว่า มันเป็นอย่างไรกันแน่ได้.

     เมื่อสมัยก่อนผมก็เป็นเหมือนกัน พอได้ยินคำว่า "สติสัมปชัญญะ" ก็คิดว่า เอ.. มันอยู่ตรงไหนเป็นอย่างไร? ทั้งที่เป็นของตื้นๆ แต่เมื่อเป็นบัญญัติแล้ว ทำให้ งง หรือสับสนได้ แม้แต่คำว่า "สติ" ก็ยังพาลให้สับสนได้ ว่าเป็นอย่างไร?

     แต่เมื่อบอกว่า "รู้" หรือ "รู้สึก"  ก็จะเข้าใจทันที  ดูสิครับบัญญัติอาจจะทำให้เกิดเยื่อบางๆ ขวางกั้นความเข้าใจได้เหมือนกัน

      ดังนั้นการ "ระลึกรู้"  หรือ "รู้สึกตัว"  นั้นแหละคือความหมายของคำว่า "สติ"

       แต่การ "ระลึกรู้" หรือ "รู้สึกตัว" เพียงอย่างเดียวก็อาจจะไม่เป็นการรู้ชัด รู้แจ้ง ถ้าจะให้รู้ชัด รู้แจ้ง ก็ต้อง "รู้ตัวทั่วพร้อม"  ซึ่งก็คือ สติสัมปชัญญะ นั้นเอง

        หมายเหตุ  "ตัว"  ในที่นี้ไม่ได้มีขอบเขตเจาะจงที่ร่างกายอย่างเดียวซึ่งอาจจะเกินไปจากร่างกายก็ได้เป็นความรู้สึกล้วนๆ คือ นาม ก็ได้
        ดังนั้น "ตัว" ก็คือ สิ่งที่บังเกิด สิ่งที่ปรากฏให้รู้ นั้นเอง  ถ้ากล่าวในทางธรรม "ตัว" นี้ก็คือ "รูปนาม" ที่ปรากฏนั้นเอง

        ยังมีเรื่องสนทนาต่อนะครับแต่ก็ส่งเพียงแค่นี้ก่อนในการทำความเข้าใจเบื้องต้น  และท่านผู้อ่านสามารถแสดงความคิดเห็นได้นะครับ เพราะตอนช่วงนี้เป็นเรื่องที่ทุกท่าน ก็มีอยู่เป็นอยู่ เข้าใจได้ เพราะเราต่างมีเหมือนๆ กัน.

 

ตอบโดย: Vicha 28 ม.ค. 52 - 10:45


อ้างอิง
เป็นการสนทนาตามความเข้าใจตามความคิดเห็นตามพุทธพจน์

            อนุโมทนาสาธุครับคุณ Vicha รอติดตามอยู่ครับ

ตอบโดย: รักเดียวใจเดียว 28 ม.ค. 52 - 11:53


สวัสดีครับคุณ รักเดียวใจเดียว

     อย่างนั้นก็จะสนทนาต่อ อีกเล็กน้อย  ถึงความเข้าใจธรรมผิดๆ แม้แต่ผมในอดีตก็เคยเข้าใจผิดว่า..  การปฏิบัติธรรมนั้นต้อง บังคับไม่ให้มีกิเลส ต้องทำให้กิเลสไม่ให้เกิด คือปิดการรับรู้ที่จะเกิดกิเลสทุกอย่าง หรือขณะทีกิเลสบังเกิดแม้เพียงเล็กน้อยก็ข่มมันไว้.

    แม้แต่ผู้อยู่นอกพุทธศาสนาก็มีความเข้าใจไปในทางทำนองนั้นเช่นกันดังนั้นที่ผมเข้าใจ ดังเรื่องนี้ในพระไตรปิฏก

                                   ๑๐.  อินทริยภาวนาสูตร  (๑๕๒)
          [๘๕๓]  ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
          สมัยหนึ่ง  พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่ป่าไผ่  ในนิคมชื่อกัชชังคลา  ครั้งนั้นแล
อุตตรมาณพ  ศิษย์พราหมณ์ปาราสิริยะ  เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคยังที่  ประทับ  แล้วทูลปราศรัยกับพระผู้มีพระภาค  ครั้นผ่านการทักทายปราศรัยพอให้  ระลึกถึงกันไปแล้ว  จึงนั่ง  ณ  ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง  ฯ
          [๘๕๔]  พอนั่งเรียบร้อยแล้ว  พระผู้มีพระภาคได้ตรัสถามดังนี้ว่า  ดูกร  อุตตระ  ปาราสิริยพราหมณ์แสดงการเจริญอินทรีย์แก่สาวกหรือเปล่า  ฯ
          อุ.  แสดง  พระโคดมผู้เจริญ  ฯ
          พ.  ดูกรอุตตระ  แสดงอย่างใด  ด้วยประการใด  ฯ
          อุ.  ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ  ในเรื่องนี้  ท่านปาราสิริยพราหมณ์แสดงการ  เจริญอินทรีย์แก่สาวกทั้งหลายอย่างนี้ว่า  อย่าเห็นรูปด้วยจักษุ  อย่าได้ยินเสียงด้วยโสต  ฯ
          พ.  ดูกรอุตตระ  เมื่อเป็นเช่นนี้  คนที่เจริญอินทรีย์แล้วตามคำของปาราสิริยพราหมณ์ต้องเป็นคนตาบอด  ต้องเป็นคนหูหนวก  เพราะคนตาบอด  ไม่เห็นรูปด้วยจักษุ  คนหูหนวกไม่ได้ยินเสียงด้วยโสต  เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสแล้วอย่างนี้  อุตตรมาณพ  ศิษย์ปาราสิริยพราหมณ์นั่งนิ่ง  เก้อเขิน  คอตกก้มหน้า  ซบเซา  หมดปฏิภาณ  ฯ
          [๘๕๕]  ลำดับนั้น  พระผู้มีพระภาคทรงทราบว่า  อุตตรมาณพศิษย์ปาราสิริยพราหมณ์ นิ่ง  คอตก  ก้มหน้า  ซบเซา  หมดปฏิภาณ  จึงรับสั่งกะท่านพระอานนท์ว่า  ดูกรอานนท์ปาราสิริยพราหมณ์  ย่อมแสดงการเจริญอินทรีย์  แก่สาวกทั้งหลายอย่างหนึ่ง  ส่วนการเจริญอินทรีย์อันไม่มีวิธีอื่นยิ่งกว่าในวินัยของพระอริยะ  ย่อมเป็นอีกอย่างหนึ่ง  ฯ


      ผมยกมาให้อ่านส่วนหนึ่งก่อน  เพื่อให้ทำความเข้าใจกันก่อนนะครับ ดูสิแม้แต่ผมเมื่อก่อนก็ได้ศึกษาพุทธศาสนามาพอควร ก็ยังเข้าใจผิดคลาดเคลือนอยู่ เกือบไปเหมือนกับผู้ที่ไม่ได้ศึกษาพุทธศาสนาเลยครับ.

  (ส่งข้อมูลแค่นี้ก่อน ต้องไปทำธุระครับ แต่ผู้อ่านสามารถร่วมแสดงความคิดเห็นได้นะครับ)

 

ตอบโดย: Vicha 28 ม.ค. 52 - 12:15


อนุโมทนาครับคุณVicha
     

ที่ผมเข้าใจก็คือ ทางพ้นทุกข์คือหลุดพ้นจากกิเลสใช่ไหมครับ  
ส่วนกิเลสที่ผมเข้าใจก็คือตัณหา 3 ครับ  ที่ผมเคยศึกษามาก็คือ
ให้ทำตนเหมือนแผ่นดิน ไม่รู้ร้อนหนาว ไม่ยินดียินร้ายต่อโลกธรรม8  
เข้าใจถึงอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา คือถึงเห็นรูปที่น่ายินดี ก็ไม่ยินดี เห็นรูปที่ไม่น่ายินดี ก็เฉยๆ ไม่รู้สึก ไม่ปรุงแต่งสิ่งที่วิญญาณ 6 ที่ออกจากอายตนะ 6ไปสัมผัสกับผัสสะ 6
ก็จะไม่รู้สึก เพราะมีการอบรมปัญญาต่างๆ จากการวิปัสสนา
ส่วนแนวทางปฏิบัติต่างๆ นั้น ก็เพื่อให้เราทำลายกิเลสตัณหานั้นใช่ไหมครับ  

ความเข้าใจส่วนตัวครับ หากผิดพลาดรบกวนผู้รู้ช่วยชี้แนะด้วยครับ  

ขอให้เจริญในธรรมครับ
     

ตอบโดย: Anan 28 ม.ค. 52 - 12:48


อ้างอิง (Vicha @ 28 ม.ค. 52 - 10:45)


        หมายเหตุ  "ตัว"  ในที่นี้ไม่ได้มีขอบเขตเจาะจงที่ร่างกายอย่างเดียวซึ่งอาจจะเกินไปจากร่างกายก็ได้เป็นความรู้สึกล้วนๆ คือ นาม ก็ได้ 
        ดังนั้น "ตัว" ก็คือ สิ่งที่บังเกิด สิ่งที่ปรากฏให้รู้ นั้นเอง  ถ้ากล่าวในทางธรรม "ตัว" นี้ก็คือ "รูปนาม" ที่ปรากฏนั้นเอง

 

การรู้ตัว หรือ รู้นามรูป นี้มีขอบเขตหรือไม่ว่า ต้องรู้นานแค่ไหน ต้องรู้อย่างเดียวห้ามคิดหรือไม่  รู้แล้วทำยังไงต่อ หรือรู้แล้วก็รู้ไปเรื่อย ๆ แบบนั้น     หรือรู้ก็สักแต่ว่ารู้ หรือรู้แล้วก็เพ่ง  หรือรู้แล้วให้รู้ให้ละเอียดขึ้นไปอีกขึ้นไปอีก ฯลฯ



รู้แล้วจะทำอย่างไรต่อ  รู้แล้วจะพ้นอาสวะหรือ  รู้แล้วจะหลุดพ้นจากทุกข์หรือ ถ้าพ้นทุกข์จะพ้นทุกข์จากการรู้ได้อย่างไร เพราะเหตุใด


มาช่วยตั้งคำถามครับ เพื่อประโยชน์แก่คนหมู่มาก รวมถึงตัวผมเองครับ

คงต้องขอความรู้จากพี่Vicha อีกแล้ว ^^

ตอบโดย: น้องบู 28 ม.ค. 52 - 13:57


  วันนี้เข้ามาสนทนาต่อนะครับ.    (พอดีเมื่อวานเอาลูกชายไปหาหมอ ตรวจแผลผ่าตัด ทุกอย่างก็ผ่านไปได้ด้วยดี)

   สวัสดีครับคุณ  Anan และน้องบู

   จากคำถามของคุณ Anan
   อ้างอิง
ที่ผมเข้าใจก็คือ ทางพ้นทุกข์คือหลุดพ้นจากกิเลสใช่ไหมครับ  


   ตอบ. ใช่ครับ

    อ้างอิง
ส่วนกิเลสที่ผมเข้าใจก็คือตัณหา 3 ครับ  ที่ผมเคยศึกษามาก็คือ
ให้ทำตนเหมือนแผ่นดิน ไม่รู้ร้อนหนาว ไม่ยินดียินร้ายต่อโลกธรรม8  


   ตอบ. ถูกเป็นส่วนมาก แต่ที่คลาดเคลื่อนคือ ไม่รู้ร้อนหนาว  เพราะจะกลายเป็นก้อนหินหรือต้นไม้ เพราะก้อนหินหรือต้นไม้ จะไม่รู้ร้อนรู้หนาว

อ้างอิง
  เข้าใจถึงอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา คือถึงเห็นรูปที่น่ายินดี ก็ไม่ยินดี เห็นรูปที่ไม่น่ายินดี ก็เฉยๆ ไม่รู้สึก ไม่ปรุงแต่งสิ่งที่วิญญาณ 6 ที่ออกจากอายตนะ 6ไปสัมผัสกับผัสสะ 6 ก็จะไม่รู้สึก เพราะมีการอบรมปัญญาต่างๆ จากการวิปัสสนา ส่วนแนวทางปฏิบัติต่างๆ นั้น ก็เพื่อให้เราทำลายกิเลสตัณหานั้นใช่ไหมครับ  


    ตอบ. ถูกเป็นส่วนมาก  แต่คลาดเคลื่อนตรงที่ ก็เฉยๆ ไม่รู้สึก  ก็มีแต่ก้อนหิน หรือวัถตุทั่วไปเท่านั้นแหละที่ไม่รู้สึก ตั้งอยู่เฉยๆ หรือคนที่ไม่มีหู แม้ว่าจะมีเสียงดังมากๆ ก็ไม่รู้สึกไม่ได้ยิน อยู่เฉยๆ ท่ามกลางเสียงที่ดังมากๆ ได้

   ครับผมได้ตอบตามที่เห็นควรแล้วครับ.

ตอบโดย: Vicha 29 ม.ค. 52 - 09:19


ต่อไปผมก็จะตอบคำถามตามที่น้องบูถามนะครับ.

อ้างอิง
การรู้ตัว หรือ รู้นามรูป นี้มีขอบเขตหรือไม่ว่า ต้องรู้นานแค่ไหน ต้องรู้อย่างเดียวห้ามคิดหรือไม่  รู้แล้วทำยังไงต่อ หรือรู้แล้วก็รู้ไปเรื่อย ๆ แบบนั้น     หรือรู้ก็สักแต่ว่ารู้ หรือรู้แล้วก็เพ่ง  หรือรู้แล้วให้รู้ให้ละเอียดขึ้นไปอีกขึ้นไปอีก ฯลฯ


 การรู้ตัวหรือรู้รูปนาม นั้นมีขอบเขต  คือมีสติรู้ในสิ่งที่ปรากฏและชัดเจนที่สุด เช่นในขณะที่กำหนดภาวนาได้ยินเสียงอยู่ เสียงก็ยังได้ยิน และเกิดภาวะง่วงหาวนอนสลึมสลือ ตอนนี้สิ่งปรากฏมี 2 อย่างที่เด่น  แต่ให้ถือเอาสิ่งที่ปรากฏชัดเจนกว่าเป็นตัวกำหนดด้วยสติรู้
   ดังนั้นขณะใด ช่วงใดได้ยินเสียงชัด ก็กำหนดได้ยินเสียง แต่ขณะใดช่วงใดที่ไม่ได้ยินเสียงหรือเสียงเบามากแต่มีอาการง่วงนอนมากกว่า ก็ต้องมีสติรู้ในอารมณ์ง่วงนอนนั้น

   เมื่อถามว่าต้องรู้นานแค่ไหน.

   ตอบ ก็กำหนดรู้ไปตามภาวะนั้นจนกว่าจะเปลี่ยนไปอย่างอื่น ก็กำหนดรู้อย่างอื่นที่ปรากฏชัดต่อไป

    เมื่อถามว่า รู้ก็สักแต่ว่ารู้ หรือรู้แล้วก็เพ่ง

    ตอบ. ก็เป็นได้ทั้งสองอย่าง คือ สักแต่ว่ารู้ เมื่อปรากฏชัดเจนสติแจ่มใสและใจก็เริ่มเป็นหนึ่ง   เพ่งบ้าง เมื่อปรากฏไม่ชัดเจนโดยที่อาการอื่นก็ไม่ได้ชัดเจนมากกว่า.
 
     เมื่อถามว่า หรือรู้แล้วให้รู้ให้ละเอียดขึ้นไปอีกขึ้นไปอีก

     ตอบ. ไม่จำเป็นเลย เพราะจะกลายเป็นเพ่งมากกว่าเพ่งไปเสียอีก ควรเป็นการรู้แล้วรู้อย่างมีสติสัมปชัญญะ ไม่ใช่รู้แล้วจ้องให้รู้ชัดเจนไปอีกเพราะจะเป็นการเกิดตัณหาขึ้นแล้ว

   เมื่อถามว่า. รู้แล้วจะพ้นอาสวะหรือ  รู้แล้วจะหลุดพ้นจากทุกข์หรือ ถ้าพ้นทุกข์จะพ้นทุกข์จากการรู้ได้อย่างไร เพราะเหตุใด.

    ตอบ  รู้แล้วพ้นอาสวะหรือไม่? อยู่ที่พละ 5 มรรคมีองค์แปด หรือโพธิปัฏ(พิมพ์ไม่ถูก) 37 ประการที่ประชุมพร้อมกัน
           แต่ระดับเบื้องต้นยังไม่ต้องถึงขั้นนั้นก็ได้ เพี่ยงมีสติรู้แล้วเห็นความเป็นไตรลักษณ์กับรูปนามที่ปรากฏนั้นอย่างชัดเจน ก็ถือว่าเกิดปัญญาหรือวิปัสสนาญาณระดับหนึ่ง. เมื่อปฏิบัติไปเรื่อยๆ ก็อาจจะละกิเลสได้อย่างถาวร.

ตอบโดย: Vicha 29 ม.ค. 52 - 09:52


เราจำเป็นหรือไม่ที่จะต้องเป็นนามรูป ตลอด ต้องวิปัสสนาตลอดทั้งวัน แล้วเป็นไปได้แค่ไหนที่จะสามารถวิปัสสนาได้ตลอดเวลา ทั้ง ๆ ที่เรายังต้องมีกิจกรรมอื่น ๆในชีวิตประจำวัน   แล้วการกระทำเช่นนี้มีตัณหาชักจูงอยู่เบื้องหลังแค่ไหน อย่างไรบ้างหรือครับ  หากการกระทำนี้มีตัณหาอยู่เบื้องหลังจริง ๆ แล้วจะทำให้ตัณหาดับไปได้อย่างไรกันล่ะครับ ก็ในเมื่อตัณหาเป็นปัจจัยเบื้องหลังในการกระทำอย่างนี้


ต้องขออภัยพี่ Vicha ที่ถามจุกจิกนะครับ  หวังว่าคงจะไม่รำคาญผม เพราะ ผมเป็นคนที่เพลิดเพลินในการขบคิดปัญหาแบบนี้ยิ่งนัก  อีกทั้งผมเชื่อว่า ต้องมีสักคนบ้างล่ะน่าที่สงสัยในแบบผม ไม่วันใดก็วันหนึ่ง หรือไม่เขาก็ล่วงพ้นความสงสัยมาได้แล้ว แต่อาจจะอยากฟังแนวคิดของคนอื่นในการล่วงพ้นความสงสัยนี้ด้วยปัญญาครับ

ขอขอบคุณล่วงหน้านะครับ

ตอบโดย: น้องบู 29 ม.ค. 52 - 10:08


จากข้อความของน้องบู

อ้างอิง
เราจำเป็นหรือไม่ที่จะต้องเป็นนามรูป ตลอด ต้องวิปัสสนาตลอดทั้งวัน แล้วเป็นไปได้แค่ไหนที่จะสามารถวิปัสสนาได้ตลอดเวลา ทั้ง ๆ ที่เรายังต้องมีกิจกรรมอื่น ๆในชีวิตประจำวัน   แล้วการกระทำเช่นนี้มีตัณหาชักจูงอยู่เบื้องหลังแค่ไหน อย่างไรบ้างหรือครับ  หากการกระทำนี้มีตัณหาอยู่เบื้องหลังจริง ๆ แล้วจะทำให้ตัณหาดับไปได้อย่างไรกันล่ะครับ ก็ในเมื่อตัณหาเป็นปัจจัยเบื้องหลังในการกระทำอย่างนี้


  คำถาม.เราจำเป็นหรือไม่ที่จะต้องเป็นนามรูป ตลอด ต้องวิปัสสนาตลอดทั้งวัน. ฯลฯ

   ตอบ. รูปนามปรากฏอยู่กับเราตลอดอยู่แล้วครับโดยธรรมชาติ หลีกหนีไม่พ้นอยู่แล้ว ดังนั้นการมีสติเป็นปัจจุบันกับรูปนามที่ปรากฏนั้นก็สามารถมีได้ทุกขณะเรื่อยๆ ไป ก็คือสามารถวิปัสสนาได้ตลอดทั้งวันก็ได้นั้นเอง.  อย่าว่าแต่ วิปัสสนาเลยแม้แต่ สมถะ พระโพธิสัตว์ในชาดก ก็สามารถภาวานาได้โดยตลอด เป็นวัน เป็นเดือน เป็นปีๆ เลยก็มี

       และกิจกรรมที่เราทำตลอดทั้งวัน ก็ล้วนเป็นรูปนามอยู่โดยตลอด จึงสามารถมีสติเท่าทันเป็นปัจจุบันได้โดยตลอดได้
       การวิปัสสนานั้นคือ การเจริญสติให้เป็นปัจจุบันกับฐานทั้ง 4 คือ กาย เวทนา จิต และธรรม  ควรใช้คำว่า มีฉันทะ ในการปฏิบัติอยู่เนื่องๆ  จึงไม่ใช่เป็นตัณหา เพราะเมื่อมีสติปัญญาเห็นไตรลักษณ์อยู่เป็นปัจจุบันทุกขณะ ตัณหาย่อมเบาบางลดลง ซึ่งการเจริญสติปัญญาในการปฏิบัตินั้นเป็น หน้าที่ เพื่อให้ดำรงณ์อยู่อย่างสงบห่างไกลจากกิเลส ความทุกข์จึงน้อยลง ไม่ใช่เพื่อตัณหาหรือสนองตัณหาหรอกครับ
            
       ยกเว้นผู้ที่เข้าใจผิดยึดมั่นถือมั่นเพื่อจะมีเพื่อจะเป็น หรือความอยากมีอยากเป็นและไม่อยากมีไม่อยากเป็นนั้นเอง จึงมืดมนอยู่ในความหวังว่า ตัวตนจะเป็นผู้เสวยในสิ่งนั้นในฐานะนั้น.

        หมายเหตุ แม้แต่ผมเองสมัยก่อนยามเมื่อจิตตกมากๆ ก็ยังอ้างฐานะแห่งตนขึ้นเพื่อให้จิตมีกำลังขึ้นก็มี ตามประสาของผู้ที่มีกิเลสอยู่

     แต่ที่จริงแล้วไม่มี ตัวตน ที่ถาวรที่จะยึดมั่นถือมั่นได้เลย.

     คงเข้าใจขึ้นนะครับน้องบู.
 

ตอบโดย: Vicha 29 ม.ค. 52 - 11:04


สาธุครับ พี่ Vicha  กับธรรมทานนี้ครับ ^^

ตอบโดย: น้องบู 29 ม.ค. 52 - 11:07


อ้างอิง (Vicha @ 29 ม.ค. 52 - 11:04)

        หมายเหตุ แม้แต่ผมเองสมัยก่อนยามเมื่อจิตตกมากๆ ก็ยังอ้างฐานะแห่งตนขึ้นเพื่อให้จิตมีกำลังขึ้นก็มี ตามประสาของผู้ที่มีกิเลสอยู่

     แต่ที่จริงแล้วไม่มี ตัวตน ที่ถาวรที่จะยึดมั่นถือมั่นได้เลย.

     คงเข้าใจขึ้นนะครับน้องบู.
(Vicha @ 29 ม.ค. 52 - 11:04)

ผมก็เป็นเหมือนพี่ครับ ตอนนั้นผมใช้วิธีเข้าสมาธิเลยครับ เข้าไปเสพสุขในสมาธิ หลบหลีกหนีจากความจริงเข้าไปอยู่ใน ฌาน ซะเลยครับ   ไป ๆ มา ๆ จึงเลิกที่จะหนีความจริง โดยการเผชิญหน้ากับความจริง   เมื่อเห็นความจริงตามความเป็นจริงด้วยการพิจารณาโดยละเอียด  ตัณหาจึงเบาบาง  ความยึดถือจึงเบาบาง  อวิชชาก็เบาบาง ทุกข์ก็เลยเบาบางไป

ทำได้แค่เบาบางครับ แต่ตัดไม่ได้ เพราะมรรค8 ยังทำได้ไม่เต็มกำลังนั้นเอง ที่ไม่สามารถทำให้เต็มกำลังเพราะ อาวสะที่นอนอยู่ในจิตล่ะครับ ^^


อย่างว่าล่ะครับ ที่จริง มันอนัตตามานานแล้ว แต่เราไม่รู้เท่าทัน เท่านั้นเอง พอรู้เท่าทัน ก็คลายความยึดถือ  ตัณหามันก็คลายไป ทุกข์ก็หายไปนะครับ

ตอบโดย: น้องบู 29 ม.ค. 52 - 11:18


อนุโมทนาสาธุครับ      

ตอบโดย: รักเดียวใจเดียว 29 ม.ค. 52 - 12:06


ต่อไปผมสนทนาต่อนะครับ

     เพราะผมบอกแล้วว่าสนทนาทั้งแต่เรื่องพื้นฐาน ที่ทุกท่านมีสภาวะอย่างนั้นที่สามารถทำความเข้าใจได้.

     ต่อไปก็จะขยายเรื่อง สติ  คือ "การระลึกรู้"  หรือ "รู้สึกตัว"  จะเจริญขึ้นมาได้อย่างไร?
      ซึ่งก็หนีไม่พ้นจากปัญญา 3 ที่พระพุทธเจ้าทรงวางหลักไว้คือ 1.สุตมยปัญญา 2.จินตมยปัญญา 3.ภาวนามยปัญญา
       
       ในปัญญาทั้ง 3 นี้  ปัญญาที่ทำให้สติเจริญขึ้น งอกงามขึ้นอย่างดี และมั่นคง ก็คือภาวนามยปัญญานั้นเอง.

       ตามความเข้าใจของผม ภาวนามยปัญญา คือ การมีสติภาวนาจนเกิดสมาธิเจริญเป็นปัญญาหรือญาณขึ้น
   
       จึงมีคำถามว่า การมีสติภาวนา เป็นอย่างไร?

        การมีสติภาวนานั้นมี 2 อย่าง คือ  1.การระลึกรู้เป็นปัจจุบันอยู่เรื่อยๆ 2.การระลึกรู้พร้อมกำหนดองค์ภาวนาเป็นปัจจุบันทุกๆ ขณะ ไปเรื่อยๆ

        ทำไมจึงแบ่งเป็น 2 ?
        ก็เพราะด้วยสาเหตุ 2 ประการ
           1.อยู่ที่วิธีการปฏิบัติ
           2.อยู่ที่ความเป็นผู้มีปัญญาช้า หรือปัญญาไว
 
     ตัวอย่าง 1.อยู่ที่การปฏิบัติคือ
              อานาปานสติ เพราะต้องมีสติระลึกรู้ลมหายใจเข้าหรือออกเป็นปัจจุบันอยู่เรื่อยๆ ซึงไม่ต้องอาศัยคำภาวนาหรือองค์ภาวนาเลยก็ได้.  (แต่สมัยปัจจุบันดัดแปลงใส่คำภาวนาเข้าไป)
              กระสินทั้ง 10  เป็นการเพ่งดวงกระสิน เพื่อให้เกิดอุคหนิมิต ในบางช่วงก็อาศัยคำภาวนา หรือองค์ภาวนาเพื่อน้อมจิตให้อยู่กับดวงกระสินได้นาน เช่น กระสินน้ำ น้อมนึกภาพน้ำ เห็นในมโนภาพเหมือนกับตาเห็น และเพื่อรักษามโนภาพนั้นไว้ให้นาน ก็จะมีคำภาวนาว่า น้ำ ๆ ๆ หรือ อาโป ๆ ๆ ประกองจิตอยู่
              การปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน บางที่บางสำนัก ก็ให้มีสติระลึกรู้(กาย หรือ เวทนา หรือ จิต หรือธรรม)เป็นปัจจุบัน  บางที่บางสำนัก ก็ให้มีสติระลึกรู้(กาย หรือ เวทนา หรือจิต หรือธรรม)พร้อมทั้งคำภาวนาเป็นปัจจุบันขณะ
 
     ตัวอย่าง 2.อยู่ที่ความเป็นผู้มีปัญญาช้า หรือปัญญาไว  คงเป็นเรื่องที่ลึกเกินไปสำหรับคนทั่วไป เพราะหมายถึงตอนบรรลุ ทั้ง ฌานหรือมรรคผล ซึ่งเป็นเรื่องของวิถีจิตในช่วงที่บรรลุ

     เป็นอันว่า ผมได้อธิบายเรื่อง การมีสติระลึกรู้ นั้นสามารถทำได้สองอย่างคือ แบบไม่ต้องมีคำภาวนา กับ แบบมีคำภาวนา  ทั้งสองแบบนี้ปฏิบัติได้ทั้งคู่ไม่มีอย่างใดถูกกว่าหรืออย่างใดผิดกว่า  อยู่ที่วิธีปฏิบัติ  หรืออุปนิสัยในการมีสติระลึกรู้ ว่าเป็นแบบมีหรือไม่มีคำภาวนา.

      หมายเหตุ ไม่ใช่ว่าการปฏิบัติแบบที่ต้องใช้คำภาวนา จะกลายเป็นผู้มีปัญญาช้า  และไม่ใช่ว่าการปฏิบัติแบบที่ไม่ใช้คำภาวนา จะกลายเป็นผู้มีปัญญาไว เพราะการจะเป็นผู้มีปัญญาช้าหรือปัญญาไวนั้นอยู่ที่วิถีจิตช่วง บรรลุ ฌานหรือมรรคผล เป็นสำคัญ.

         เพราะผู้มีปัญญาไว ในช่วงบรรลุฌานหรือมรรคผล วิถีจิตนั้นไม่มีจิตน้อมภาวนาขึ้นในหนึ่งขณะจิต
         และผู้มีปัญญาช้า  ในช่วงบรรลุฌานหรือมรรคผล วิถีจิตนั้นจะมี 1ขณะจิตน้อมภาวนาขึ้นมาก่อน

      เมื่อถึงช่วงนี้ผมคิดว่า ผู้อ่านคงเข้าใจเรื่อง การเจริญสติมากขึ้นแล้วนะครับ และสามารถแสดงความคิดเห็นได้นะครับ.

ตอบโดย: Vicha 29 ม.ค. 52 - 14:23


รออ่านต่อครับ (โดยเฉพาะเรื่ออินทรีย์และพละ กำลังสนใจอยู่เลย)
คุณVichaนี่รวบรวมเรื่องดีมาให้อ่านสม่ำเสมอเลย
เขียนใหม่ทุกครั้งเลยใช่มั้ยครับ ดูไม่เหมือนเรื่องตัดแปะ(ผมทำบ่อย)สักเท่าไร
   http://larndham.net/cgi-bin/kratoo.pl/001287.htm http://larndham.net/cgi-bin/kratoo.pl/001288.htm http://larndham.net/cgi-bin/kratoo.pl/001188.htm http://larndham.net/cgi-bin/kratoo.pl/001189.htm http://larndham.net/cgi-bin/kratoo.pl/001178.htm http://larndham.net/cgi-bin/kratoo.pl/001276.htm http://larndham.net/cgi-bin/kratoo.pl/001251.htm http://larndham.net/cgi-bin/kratoo.pl/001335.htm http://larndham.net/cgi-bin/kratoo.pl/001234.htm http://larndham.net/cgi-bin/kratoo.pl/001223.htm http://larndham.net/cgi-bin/kratoo.pl/001220.htm http://larndham.net/cgi-bin/kratoo.pl/001121.htm http://larndham.net/cgi-bin/kratoo.pl/001311.htm <<< ลองคลิกอ่านพลางๆ  

ตอบโดย: TemplarKnight 29 ม.ค. 52 - 15:53


 สวัสดีครับคุณ TemplarKnight

อ้างอิง
เขียนใหม่ทุกครั้งเลยใช่มั้ยครับ


  ส่วนมากจะเขียนสดเลยครับ.  คือกำหนดหัวเรื่อง หาข้อมูลมาประกอบส่วนหนึ่ง แล้วเขียนสดๆ ในกระทู้เลยครับ (จึงเห็นการพิมพ์ผิดพิมพ์ตกเป็นประจำ แต่ท่านผู้อ่านคงทำความเข้าใจได้)
 

ตอบโดย: Vicha 29 ม.ค. 52 - 16:32


  เอาแหละครับ เมื่อผมยกการเจริญสติให้ทราบแล้วในการปฏิบัติปัจจุบัน ต่อไปผมจะยกพุทธพจน์ ในการเจริญสติขั้นพื้นฐาน มีดังนี้ (เคยอ่านเจอขอไปค้นหาข้อมูลก่อน)

                               สติสัมปชัญญะ
          [๑๒๓] ดูกรมหาบพิตร อย่างไร ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้ประกอบด้วยสติสัมปชัญญะ? ดูกรมหาบพิตร ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมทำความรู้สึกตัวในการก้าว ในการถอย ในการแล
ในการเหลียว ในการคู้เข้า ในการเหยียดออก ในการทรงสังฆาฏิ บาตรและจีวร ในการฉัน
การดื่ม การเคี้ยว การลิ้ม ในการถ่ายอุจจาระปัสสาวะ ย่อมทำความรู้สึกตัวในการเดิน การยืนการนั่ง การหลับ การตื่น การพูด การนิ่ง ดูกรมหาบพิตร ด้วยประการดังกล่าวมานี้แล
ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้ประกอบด้วยสติสัมปชัญญะ.


     จะเห็นว่าสติสัมปชัญญะนี้มีความสำคัญในการปฏิบัติ ทั้งสมถะและวิปัสสนา

    ในความคิดเห็นต่อไป จะยกพุทธพจน์ สติสัมปชัญญะ กับสติปัฏฐาน 4.
 

ตอบโดย: Vicha 29 ม.ค. 52 - 17:01


     โดยการปฏิบัติ  หน้าที่แรกของสติมี 3 อย่างคือ  รู้ทัน การเกิด ดับ ของอารมณ์  ระลึกได้  หรือจำอารมณ์นั้นได้  ไม่ลืม  อารมณ์นั้น  หน้าที่ต่อมานั้นเป็นเหมือนกับการส่งงานต่อให้ปัญญา สัมมาทิฐิ  มาเห็น  ดู  รู้    ปัญญาสังกัปปะมาสังเกต พิจารณา อารมณ์ปัจจุบันนั้น      ช่วงการทำงานของสติ เป็นการเจริญ สมาธิมรรค  เป็นตัวสติ    
      ช่วงการทำงานของปัญญาทั้ง 2  เป็นช่วงของปัญญามรรค  เป็น  สัมปะชัญญะ
      สัมปะชัญญะ  โดยธรรม  หมายความถึงความ  รู้ตัว  รู้ตัวอย่างไร  รู้ตัวที่จะละเหตุชั่ว  ทำแต่เหตุดี
      ถ้าเป็น สังกัปปะ  จะรู้ตัว ละเหตุทุกข์(มิจฉาทิฐิ)  เจริญเหตุสุข(สัมมาทิฐิ)  

       รวมการทำงานละเหตุชั่ว ทำแต่เหตุดีและละเหตุทุกข์(มิจฉาทิฐิ)  เจริญเหตุสุข(สัมมาทิฐิ) จะเป็นตัว  สัมปะฌาโน  ในสติปัฏฐาน 4     ส่วน  การทำงานของสติมา  เป็นไปตามนัยยะที่แสดงในวรรคต้น
       ดังนั้น  รู้ตัว น่าจะเป็นเรื่องของปัญญา ที่ทำงานต่อเนื่องมาจากสติ  รู้ทัน  น่าจะเป็นเรื่องของสติ ครับ

       ลองนั่งลงหลับตา สังเกตสภาวะจริงที่เกิดขึ้นในกายใจกันอีกทีก็ได้นะครับ เพราะข้อธรรมที่กล่าวมาทั้งหมดก็อาศัยได้มาจากการสังเกต พิจารณา  วิจารณ์ วิจัย และ วิมังสาธรรมด้วยการปฏิบัติดูจริงๆ   อาจใช้บัญญัติซึ่งดูแปลกหูแปลกตาไปหน่อยสำหรับหนอนตำราทั้งหลายก็ต้องกราบขออภัยด้วยนะครับ  แต่ผมเชื่อว่าไมนอกปรมัตถธรรม

ตอบโดย: อโศกะ 30 ม.ค. 52 - 05:20


สวัสดีครับคุณ อโศกะ

      ดีครับที่ร่วมแสดงความคิดเห็นและแจกแจงให้ทราบครับ  สำหรับผมนั้นปฏิบัติตามพุทธพจน์นี้เลยครับ ทั้งแต่วัยรุ่นสมัยเรียนอยู่ เพราะได้อ่านพุทธพจน์ในส่วนนี้ในหอสมุดจึงปฏิบัติเลย น่าจะตอนเรียนอยู่ปี 2 ประมาณปี 2524.
      ตอนปลายปี ก็มีสนักสันติอโศก เข้ามาแนะนำธรรมมะ ในมหาลัยรามคำแหง โดยจัดเก้าฮี้นั่งใต้ตึกเรียน NB เท่าไร จำไม่ได้แล้ว  แล้วให้นักศึกษาเข้าไปสนทนาสอบถาม มีทั้งผู้หญิงแต่งชุดแบบพระ และพระฝ่ายสันติอโศก และท่านโพธิรักษ์ ก็มาด้วยเพื่อให้คำปรึกษากับนักศึกษาที่สนใจ
      ผมเดินผ่านอยู่หลายวัน วันแรกๆ นั้นมีนักศึกษาสนใจเข้าไปถามเยอะ ผมจึงไม่เข้าไป วันท้ายๆ นักศึกษาก็แทบจะไม่มีแล้ว เห็นท่านโพธิรักษ์นั่งอยู่ ไม่มีนักศึกษาเข้าไปสอบถามแล้ว ผมจึงเข้าไปสนทนาด้วย.
      ตอนแรกท่านก็สนทนาเน้นในเรื่องศีลที่ไม่ทานเนื้อสัตว์ ผมก็ฟังท่านไปไม่ได้ไปค้านท่าน ท่านก็พูดยาวของท่านจนผมเห็นฟองน้ำลายอยู่มุมปากของท่าน อาจจะเป็นเพราะท่านต้องใช้ปากพูดสนทนากับนักศึกษามาหลายรอบเริ่มมีความล้ามากแล้ว  พอได้จังหวะผมจะถามท่านว่า
        "ปัจจุบันนี้ผมพยายามฝึกทำความรู้สึกชัดมีสติรู้ตัวอยู่ทุกเวลา ไม่ว่าจะเดินจะนั่งจะยืนจะนอนจะกำลังเคลือนตัวอยู่ แม้แต่กำลังนั่งและพุดอยู่นี้ผมก็จะทำความรู้สึกชัด แม้แต่ขยับแขนตัวนิดหน่อยในตอนสนทนาอยู่นี้ผมก็ทำความรู้สึกชัด  ผมปฏิบัติอย่างนี้จะดีหรือมีปัญหาอย่างไรหรือเปล่า?"

        ท่านโพธิรักษ์ก็พูดแนะนำว่า "โอ้ย... ถ้าคุณทำอย่างนี้มากๆ นานๆ 7 วันขึ้นไปคุณเป็นบ้าได้นะ"
         ผมได้ยินดังนั้นผมก็แปลกใจนิดหนึ่ง แต่ก็ไม่คิดอะไรมาก หลังจากนั้นสักพักหนึ่งผมก็ขอตัวออกไป  ขณะที่กำลังเดินอยู่ ผมก็คิด "เอะ... พุทธพจน์ผิดหรือพระโพธิรักษ์ถูก  แต่เราก็ปฏิบัติอย่างนี้มานานเป็นเดือนๆ แล้วนี้ ยังไม่เห็นจะบ้าหรือผิดเพี้ยนไปมากเลย อย่างนั้นท่านโพธิรักษ์น่าจะไม่ถูกหรือไม่เคยได้ศึกษาพุทธพจน์ตรงนี้เลยก็ได้"
         หลังจากนั้นผมก็ไม่ค่อยไปสนใจเกี่ยวกับสันติอโศก แม้แต่ภายหลังผมไม่ทานหรือหลีกเลี่ยงเนื้อสัตว์อยู่หลายปี ก็ไม่ใช่แนวเดียวหรืออิทธิพลจากสันติอะโศกเลย

         ที่นี้มาดูพุทธพจน์ตรงส่วนนี้ให้ชัดเจนกันอีกครั้ง ตรงที่ผมเน้นสีแดงไว้แล้วสรุปในตอนท้ายให้ทราบชัดเจน ว่าพุทธพจน์นั้นตรงไปและตรงมา.

                               สติสัมปชัญญะ
          [๑๒๓] ดูกรมหาบพิตร อย่างไร ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้ประกอบด้วยสติสัมปชัญญะ? ดูกรมหาบพิตร ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมทำความรู้สึกตัวในการก้าว ในการถอย ในการแลในการเหลียว ในการคู้เข้า ในการเหยียดออก ในการทรงสังฆาฏิ บาตรและจีวร ในการฉันการดื่ม การเคี้ยว การลิ้ม ในการถ่ายอุจจาระปัสสาวะ ย่อมทำความรู้สึกตัวในการเดิน การยืนการนั่ง การหลับ การตื่น การพูด การนิ่ง ดูกรมหาบพิตร ด้วยประการดังกล่าวมานี้แล
ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้ประกอบด้วยสติสัมปชัญญะ
.
***************

       ย่อมทำความรู้สึกตัว(ในอริยาบทน้อยใหญ่ทั้งหลาย) ด้วยประการดังกล่าวมานี้แลภิกษุชื่อว่าเป็นผู้ประกอบด้วยสติสัมปชัญญะ  

      หรือย่อให้ชัดเข้า

    ทำความรู้สึกตัวในอริยาบทน้อยใหญ่ทั้งหลาย ได้ชื่อว่าเป็นผู้ประกอบด้วยสติสัมปชัญญะ

      ดีครับคุณ อโศกะ ที่ร่วมสนทนาทำให้ผมเน้นย้ำในประเด็นสำคัญได้ชัดเจนขึ้นครับ.
 

ตอบโดย: Vicha 30 ม.ค. 52 - 09:56


ขอถามหน่อยครับ
วิธีการเจริญวิปัสสนานอกเหนือจากมหาสติปัฎฐานสี่มีหรือเปล่าครับ

ตอบโดย: คนไม่มีอะไร 30 ม.ค. 52 - 13:28



     

สาธุในความเห็นที่ 8 ของพี่วิชาครับโดยเฉพาะการมี ฉันทะ ในการเจริญสติ
ครูบาอาจารย์ท่านสอนเสมอครับว่า ถ้าเรารู้สึกสนุกในการเรียนรู้ความจริงของกาย/ ใจ
แล้ว จะทำให้เกิดความขยันในการเจริญสติครับ

     

 

ตอบโดย: ธรรมะ 30 ม.ค. 52 - 14:15


สวัสดีครับคุณ คนไม่มีอะไร และคุณ ธรรมะ

   จากคำถามของ คุณคนไม่มีอะไร
         อ้างอิง
    ขอถามหน่อยครับ
          วิธีการเจริญวิปัสสนานอกเหนือจากมหาสติปัฎฐานสี่มีหรือเปล่าครับ


     ตอบ. ตามที่ผมศึกษามาในพระไตรปิฏก สติปัฏฐานสี พระพุทธเจ้าทรงตรัสว่า เป็นทางสายเอก

      และการที่ผมศึกษามาทั้งหมด การเจริญวิปัสสนานอกเหนือไปจากสติปัฏฐานสี เป็นอันไม่มีเลยครับ
      ไม่ว่าจะปฏิบัติบรรลุถึงฌานอย่างไรก็ตาม หรือได้ฌานจนถึงสมาบัติ 8  ก็ต้องยกเข้าสู่ สติปัฏฐาน 4 (กาย เวทนา จิต ธรรม) แจ้งชัดใน รูปนาม และ พระไตรลักษณ์(อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา)ทั้งหมดทั้งสิ้น จึงจะเจริญขึ้นเป็นวิปัสสนา.

 

ตอบโดย: Vicha 30 ม.ค. 52 - 15:12


     อ้างอิง
ทำความรู้สึกตัวในอริยาบทน้อยใหญ่ทั้งหลาย ได้ชื่อว่าเป็นผู้ประกอบด้วยสติสัมปชัญญะ
อ้างอิง คห.ที่ 17 คุณVicha
      ขอถามหน่อยครับ
วิธีการเจริญวิปัสสนานอกเหนือจากมหาสติปัฎฐานสี่มีหรือเปล่าครับ
อ้างอิง คห.ที่ 18 คุณคนไม่มีอะไร

      อนุโมทนากับคุณวิชา ที่จับประเด็นสติได้แต่สัมปะชัญญะต้องเพิ่มเติมอีกสักนิดหนึ่งนะครับ เพราะในสัมปชัญญะหรือสัมปฌาโน นั้น เป็นทั้งปัญญาเห็น ดู รู้ (สัมมาทิฐิ) และปัญญา  สังเกต  พิจารณา (สัมมาสังกัปปะ)  สิ่งที่ขาดกันมาก เจริญกันน้อยคือ ปัญญา สังเกต(ไม่ใช้ความคิด)  พิจารณา  (ใช้ความคิด บัญญัติ)    รู้ทันอารมณ์และรู้สึกตัวแล้ว อย่าลืม สังเกต  พิจารณาต่อทันทีเลยนะครับ จึงจะเกิดปัญญาสัมมาทิฐิที่สมบูรณ์เต็ม 100 คือเห็นหรือรู้ว่าทุกสิ่งเป็นอนัตตา  (สัพเพธัมมา อนัตตา)จนจิตยอมรับอันจะเป็นเหตุส่งต่อให้เกิดผลเป็นการปล่อยวางหรือ ตักทำลายอัตตา  อย่าคิดเทียบกับบัญญัติที่เรียนรู้มาแล้วตัดสินเรื่องนี้  จงพิสูจน์ด้วยการนั่งลงทดสอบจริงกับสภาวธรรมจริงๆก่อนนะครับแล้วจึงค่อยตัดสิน (Decision Making)
        สำหรับคุณคนไม่มีอะไร  มีครับไม่ต้องไปเน้นสติปัฎฐาน 4 ตรงๆ ก็คือการเจริญปัญญาหรือการเจริญมรรค 8 ที่กำลังคุยกัอยู่นี้ยังไงละครับ ลองติดตามดูต่อไป หรือหาเวลาไปลองอ่านรวมคำตอบของอโศกะดูก็ได้นะครับ   (ผมก็มีความเห็นคล้ายคุณว่า ทุกวันนี้เน้นสติปัฎฐาน หรือมหาสติปัฏฐาน 4 กันจนเกินพอดี  จนไม่เห็นวิธีบรรลุธรรมโดยวิธีการอื่นๆ อยู่ในสายตาเลย ทั้งๆที่ในพระสูตรมีตัวอย่างอยู่ตั้งเยอะแยะที่ผู้ฟังธรรมยังไม่ได้ฟังเรื่องมหาสิปัฏฐานสูตรเลยแต่ก็บรรลุธรรมเป็นอรหันต์กันตั้งเยอะแยะ  ที่กล่าวอย่างนี้มิใช่จะไม่ยอมรับมหาสิปัฏฐานสูตร  แต่มีประสงค์จะลดทอนความยึดแน่นในสูตรนี้ของผู้มากปัญญาและมากบัญญัติทั้งหลาย เพื่อให้เกิดสมดุลย์ในความคิดเห็นบ้างเท่านั้นครับ จะได้มีความสุขสงบในการเผยแพร่ธรรมมากยิ่งขึ้น  สาธุ

ตอบโดย: อโศกะ 30 ม.ค. 52 - 16:21


   ในความคิดเห็นนี้ผมเห็นควรว่า เมื่อจะเน้นเรื่องสติสัมปชัญญะ ก็ขอนำพุทธพจน์ที่มีมาในพระไตรปิฏก แสดงให้ชัดเจนขึ้น ในเรื่อง สติสัมปชัญญะ กับสติปัฏฐาน 4 ดังนี้

                   สติสัมปชัญญะ สติปัฏฐาน ๔
          [๙๐] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ตามความพอพระทัยในนาทิกคาม แล้ว ตรัสเรียกท่านพระอานนท์มารับสั่งว่า ดูกรอานนท์ มาไปกันเถิด เราจักไปยัง  เมืองเวสาลี ท่านพระอานนท์ทูลรับพระดำรัสของพระผู้มีพระภาคแล้ว
           ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคพร้อมด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่เสด็จถึงเมืองเวสาลีแล้ว ได้ยินว่า   พระผู้มีพระภาคประทับในอัมพปาลีวัน เขตเมืองเวสาลีนั้น ณ ที่นั้น พระผู้มีพระภาค ตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมารับสั่งว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุควรเป็นผู้มีสติสัมปชัญญะ อยู่ นี้เป็นอนุสาสนีของเราสำหรับเธอ

         ดูกรภิกษุทั้งหลาย อย่างไรเล่าภิกษุจึงจะ  ชื่อว่าเป็นผู้มีสติ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่ พิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ พิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่ เป็นผู้มีเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ พึงกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกอย่างนี้แล  ภิกษุจึงจะชื่อว่าเป็นผู้มีสติ

         ดูกรภิกษุทั้งหลาย อย่างไรเล่า ภิกษุจึงจะชื่อว่าเป็นผู้ ประกอบด้วยสัมปชัญญะ ภิกษุในธรรมวินัยนี้เป็นผู้กระทำความรู้ตัวในการก้าว  ในการถอย ในการแล ในการเหลียว ในการคู้เข้า ในการเหยียดออก ในการทรงสังฆาฏิ บาตรและจีวร ในการฉัน การดื่ม การเคี้ยว การลิ้ม ในการถ่ายอุจจาระปัสสาวะ ย่อมทำความรู้สึกตัวในการเดิน การยืน การนั่ง การหลับ   การตื่น การพูดการนิ่ง อย่างนี้แล ภิกษุจึงจะชื่อว่า เป็นผู้ประกอบด้วยสัมปชัญญะ


          ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุควรเป็นผู้มีสติสัมปชัญญะอยู่ นี้เป็นอนุสาสนีของเรา   สำหรับเธอ ฯ


          ดังนั้นจะเห็นว่า การทำความรู้ตัวในอริยาบทต่างๆ หรือ การมีสติระลึกรู้ที่เป็นปัจจุบัน เป็นสิ่งที่สำคัญเป็นพื้นฐานในการปฏิบัติธรรมในพุทธศาสนา เป็นสิ่งที่ควรน้อมนำมาปฏิบัติอยู่เนื่องๆ.
 

ตอบโดย: Vicha 30 ม.ค. 52 - 16:29


 สวัสดีครับ คุณอโศกะ ที่ร่วมแสดงความคิดเห็น.

   ผมคงได้สนทนาในกระทู้นี้กันอีกก็ในวันต่อไปแล้วนะครับ  (ถึงเวลาที่ต้องแบ็กอัพข้อมูลในบริษัทแล้วครับ สำหรับวันนี้)


 

ตอบโดย: Vicha 30 ม.ค. 52 - 16:36


    สาธุ อนุโมทนาบุญกับคุณ Vicha ที่ทำเวลาทุกนาฑีให้เป็นประโยชน์ ทั้งเพื่อตนเองและผู้อื่น

ตอบโดย: อโศกะ 31 ม.ค. 52 - 08:46


ขอแสดงการคารวะต่อทุกท่านที่มีภูมิธรรมสูงส่ง...ด้วยความเคารพ
 สวัสดีเพื่อนๆทุกคน
 การปฏิบัติธรรมเหมือนการปอกหัวหอม
 เริ่มต้นด้วยการแกะเปลือกหยาบๆ
 ด้วยการให้...ให้วัตถุ...ให้ความรู้...ให้อภัย
 ให้ด้วยเมตตา...ไม่เบียดเบียนผู้อื่น...ไม่เบียดเบียนตนเอง
 เมตตาคือคมมีดแรก
 ศีลที่มีเมตตาเป็นพื้น...ใสและเย็น
 ใจที่มีศีล...สะอาด...สงบ
 ใจสงบ...กาย...วาจา...สำรวม
 สมาธิย่อมเกิดได้ง่ายด้วยคุณสมบัตินี้
 สมาธิคือมีดปอกหัวหอมชั้นต่อมา
 สมาธิที่ใกล้จะตั้งมั่นเหมือนการลับมีด
 สมาธิที่แน่วแน่มั่นคงเหมือนมีดที่ลับไว้คมกล้า
...สง่างาม...ไม่เคลื่อนไหว
 สมาธิของจิตที่รู้ชั่วขณะแห่งการเกิด-ดับ
เคลื่อนไปตามความจริงในปัจจุบันของจิต
 อาการของกาย  อาการของใจ
 ขึ้นสูง...ลงต่ำ...ส่ายไปส่ายมา...ปล่อยวาง
 สมาธิของจิตที่รู้ในชั่วขณะแห่งอาการต่างๆที่ปรากฏ
 คือมีดที่ปอกหัวหอมชั้นแล้วชั้นเล่า นับครั้งไม่ถ้วนที่เชือดเถือ
 ชั้นแห่งความกลัว...ความเจ็บปวด
...ความเบื่อหน่ายในปรากฏการณ์ทั้งปวง
 ปัญญาจึงเกิด...ทางสายเอกที่ลัดสั้น
 ด้วยมีดที่กล้าคมคือสมาธิของจิตที่รู้ในทุกชั่วขณะแห่งอาการที่ปรากฏ
 ด้วยความเข้าใจชัดเเจ้งคือปัญญา
 หัวหอมจึงถูกปอกอีก...ชั้นแล้วชั้นเล่า
...ด้วยความจัดเจน...ด้วยความเป็นปกติ
 จนกระทั่งชั้นแห่งความยึดมั่นในตัวตน...ชั้นแห่งความลังเลสงสัย
...ถูกปอกออกไป
  หัวหอมหัวแรกปอกเสร็จแล้ว
  ทุกคนปอกหัวหอมได้...หัวหอมของแต่ละคนหนาไม่เท่ากัน
  มีดแต่ละเล่ม ยาว...สั้น...ไม่เท่ากัน
  แต่ละคนย่อมหาวิธีการปอกหัวหอมที่เหมาะกับตน
  ทุกคนปอกหัวหอมได้
         
         
        
         
         
         
         
         
          

ตอบโดย: ega 31 ม.ค. 52 - 20:43


คุณอโศกะ ในความคิดของผมและประสบการณ์ที่ผมเจอมาเอง ไม่รู้ว่าจะถูกหรือผิด ผมคิดเหมือนกับที่คุณ Vicha พูดนะครับ

อ้างอิง
สติปัฏฐานสี พระพุทธเจ้าทรงตรัสว่า เป็นทางสายเอก และการที่ผมศึกษามาทั้งหมด การเจริญวิปัสสนานอกเหนือไปจากสติปัฏฐานสี เป็นอันไม่มีเลยครับ


 ส่วนที่คุณอโศกยกมาเรื่องมรรค 8 นี้ก็เป็นผลจากการเจริญสติปัฏฐานสี่เหมือนกันนะครับ ยกตัวอย่างเช่น การเจริญสัมมาสมาธิ เราจะให้เกิดสมาธิได้อย่างไร ถ้าเราไม่เจริญสมถะและวิปัสสนา การวิธีการเจริญสมถะและวิปัสสนา ก็อยู่ในสติปัฏฐานสี่นั้นเอง เคยได้ยินหลวงพ่อสอนว่า ขณะบรรลุธรรม จะเกิดมรรคที่มีองค์ 8 พร้อมกันในขณะเดียว แล้วเราจะเจริญมรรคพร้อมกันได้อย่างไรครับมีตั้ง 8 อย่าง แต่ถ้าจิตจะถึงมรรคผลก็จะเกิดมรรค์ขึ้นมาเอง ส่วนการที่ผู้ฟังธรรมยังไม่ได้ฟังเรื่องมหาสติปัฏฐานสูตรเลยแต่ก็บรรลุธรรมเป็นอรหันต์กันตั้งเยอะแยะ  อันนี้ก็เป็นความจริงเหมือนกัน เช่น พระพาหิยะ  ที่ได้ฟังพระพุทธเจ้าสอนให้รู้สักแต่ว่ารู้ เห็นสักแต่ว่าเห็น เป็นต้น ซึ่งจะดูไม่เหมือนมหาสติปัฏฐานสูตรเลย แต่พอฟังคำสอนของพระพุทธเจ้า จิตของท่านอาจจะไปรู้สภาวะต่างๆ ตามที่เป็นจริง เห็นสภาวะนั้นโดยไม่ปรุงแต่งสภาวะนั้นเลยก็อาจจะดำเนินอยู่ในจิตตานุปัสสนาหรือธรรมมานุปัสนาก็ได้ ทำให้ท่านสามารถบรรลุธรรมได้ คำสอนส่วนนั้นเป็นเรื่องเฉพาะบุคคล ซึ่งท่านเหล่านั้นในสมัยพุทธกาล ท่านได้ฝึกสมถะกันมามากมาย สะสมบุญบารมีมาก็มากมาย ทำให้คำสอนของพระพุทธเจ้าเพียงสั้น ที่ตรงกับสิ่งที่ท่านขาดอยู่ ก็ทำให้จิตของท่านเจริญสติปัฏฐานได้เลย เหมือนกับการเปิดของคว่ำให้หงายขึ้น แต่สำหรับผมเราในยุคนี้ บารมีก็อ่อน สมถะก็ไม่เคยฝึก จะฟังธรรมะยังไงก็ยากที่จิตจะเดินเข้าสู่วิปัสสนาได้ง่ายๆๆ แต่ถ้าฝึกตามวิธีการทีพระพุทธเจ้าประทานไว้สำหรับคนทั่วไปคือ มหาสติปัฏฐานสูตร ก็มีโอกาสมากว่าที่จะเจริญวิปัสสนาได้ ส่วนผู้ที่มีความยึดแน่นในสูตรนี้ของผู้มากปัญญาและมากบัญญัติทั้งหลายนั้น ผมเห็นว่า มีบุคคลบ้างส่วนที่คิดว่า ปฏิบัติตามมหาสติปัฏฐานสูตร แต่จริงแล้วไม่ได้เดินตามสูตรนี้เลยก็มีมากมาย อีกส่วนหนึ่งก็ท่องๆๆเอา แล้วก็มาคุยเรื่องพวกนี้ แต่ไม่ได้ปฏิบัติเลยก็มี

 สำหรับที่ผมเขียนมานี้ก็แค่เป็นการเขียนตามที่ตัวเองรู้สึก ไม่รู้ว่าจะถูกหรือผิด เป็นเพียงขอคิดหนึ่งให้พิจารณาเท่านั้น และผมก็คงไม่รู้ธรรมะจากพระไตรปิฏก เท่ากับคุณอโศกะ หรือคุณ Vicha  ดังนั้นผมก็ไม่สมารถชี้แจงอะไรที่ละเอียดลึกซึงได้กว่านี้

ตอบโดย: คนไม่มีอะไร 01 ก.พ. 52 - 14:28


สวัสดีครับ คุณอโศกะ คุณ ega คุณคนไม่มีอะไร ....

   วันนี้วันจันทร์ผมก็มีเวลาสนทนาธรรมต่อ  และต่อไปผมจะยกหลักฐานจากพุทธพจน์ที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสว่า สติปัฏฐาน 4 เป็นทางสายเอก ดังนี้.

                    กถาว่าด้วยเจริญสติปัฏฐาน
          [๒๗๓] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
     สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ในกุรุชนบท มีนิคมของชาวกุรุ ชื่อว่า   กัมมา
สทัมมะ ณ ที่นั้น พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุ   ทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคว่า พระพุทธเจ้าข้า พระผู้มีพระภาค  ได้ตรัสพระพุทธภาษิตนี้ว่า
     ดูกรภิกษุทั้งหลาย หนทางนี้เป็นที่ไปอันเอก เพื่อความบริสุทธิ์ของเหล่าสัตว์ เพื่อล่วงความโศกและปริเทวะ เพื่อความดับสูญ  แห่งทุกข์และโทมนัส เพื่อบรรลุธรรมที่ถูกต้อง เพื่อทำให้แจ้งซึ่งพระนิพพาน   หนทางนี้ คือ สติปัฏฐาน ๔ ประการ ๔ ประการ เป็นไฉน

     ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ พิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ   มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้ ๑
      พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่   มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้ ๑
      พิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะมีสติ กำจัดอภิชฌาและ   โทมนัสในโลกเสียได้ ๑
      พิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่ มีความเพียรมีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้ ๑ ฯ
                       จบอุทเทสวารกถา


     ดังนั้นการปฏิบัติทั้งหลายเมื่อประสงค์ทำให้แจ้งซึ่งพระนิพพาน ก็ต้องยกขึ้นสู่สติปัฏฐาน 4 เจริญเป็นวิปัสสนา เพราะเป็นทางสายเอก ที่ทุกๆ สายสามารถนำมาปฏิบัติยกเป็นวิปัสสนาได้

     ตามที่ผมเข้าใจคำว่า ทางสายเอก  ไม่ใช่ว่าปฏิบัติอย่างอื่นแล้วจะไม่ถูกต้อง หรือห้ามการปฏิบัติแนวอื่นอย่างอื่นอย่างสิ้นเชิง.

     คือสามารถปฏิบัติแนวอื่นในกรรมฐานทั้ง 40 กอง  เช่นอานาปานสติ พรหมวิหาร 4 กสิน 10 อสุภ  ฯลฯ  ได้ตามปกติ แต่เมื่อประสงค์เจริญเป็นวิปัสสนาญาณ ก็ต้องปรับเข้าสู่สติปัฏฐาน 4.  ก็คือเอากำลัง(ทั้งสมาธิ สติ ความเพียร ศรัทธา)ฐานะของการปฏิบัตินั้นปรับเพื่อดำเนินสู่ทางสายเอก น้อมสู่ตามพุทธพจน์ส่วนนี้

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ พิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ   มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้ ๑
      พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่   มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้ ๑
      พิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะมีสติ กำจัดอภิชฌาและ   โทมนัสในโลกเสียได้ ๑
      พิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่ มีความเพียรมีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้ ๑ ฯ


       ก็จะยกขึ้นสู่วิปัสสนาญาณได้อย่างสมบูรณ์

 

ตอบโดย: Vicha 02 ก.พ. 52 - 09:39


อ้างอิง
การวิปัสสนานั้นคือ การเจริญสติให้เป็นปัจจุบันกับฐานทั้ง 4 คือ กาย เวทนา จิต และธรรม  ควรใช้คำว่า มีฉันทะ ในการปฏิบัติอยู่เนื่องๆ  จึงไม่ใช่เป็นตัณหา เพราะเมื่อมีสติปัญญาเห็นไตรลักษณ์อยู่เป็นปัจจุบันทุกขณะ ตัณหาย่อมเบาบางลดลง ซึ่งการเจริญสติปัญญาในการปฏิบัตินั้นเป็น หน้าที่  เพื่อให้ดำรงณ์อยู่อย่างสงบห่างไกลจากกิเลส ความทุกข์จึงน้อยลง ไม่ใช่เพื่อตัณหาหรือสนองตัณหาหรอกครับ


       

ตอบโดย: มนุษย์ 02 ก.พ. 52 - 10:28


สวัสดีครับคุณ มนุษย์.

   เมื่อเข้ามาในกระทู้แล้วก็สนทนาต่อเพื่อแจกแจงให้ปรากฏ.

       ท่านทั้งหลายได้สังเกตุดูหรือไม่ว่าทำไม? การเจริญสติในพระไตรปิฎก จึงไม่เจาะลึกเหมือนกับการปฏิบัติในสำนักแนวต่างๆ  ดังนั้นการเจริญสติตามพุทธพจน์ จะสำเร็จผลหรือ?

     การเจิรญสติสัมปชัญญะในพุทธพจน์นั้นเหมาะกับสรรพสัตว์ทั้งหลาย ที่ได้ฟังได้อ่านก็ปฏิบัติได้ทันที นี้แหละคือพระปัญญาของพระพุทธเจ้า.

      การเจริญสติสัมปชัญญะในพุทธพจน์คือ การทำความรู้สึกในอริยาบทต่างๆ เป็นการปฏิบัติที่เหมาะกับทุกๆ ท่าน เมื่อปฏิบัติอยู่เนื่องๆ สติสัมปชัญญะ ก็ย่อมเจริญขึ้นแจ่มชัดขึ้นเป็นธรรมดา โดยที่ไม่ต้องไปเพ่งไปกดให้เกิด ผลต่อภาวะร่างกายให้เป็นความเครียดจนเกินไป.

     แต่การปฏิบัติปัจจุบันนี้พัฒนากันไปตามแต่ละกลุ่มคนตามธาตุที่เข้ากัน จึงมีวิธีกำหนด วิธีการเพ่ง วิธีการกำหนดภาวนาเป็นรูปแบบมากขึ้น เพื่อความสำเร็จผลตามแนวที่ประยุกค์ขึ้น  เพื่อบัญญัติเพื่อสร้างรูปแบบเฉพาะกลุ่มขึ้นมา แต่ก็หาได้ฉีกแนวหลุดพ้นไปจากการทำความรู้สึกตัวในอริยาบทต่างๆ ตามพุทธพจน์ไปมากเกินไป.

    ผู้ที่ปฏิบัติตามพุทธพจน์ตรงๆ ก็ย่อมปรากฏผลได้รวดเร็วเช่นเดียวกันเมื่อมี ความศรัทธาความเพียร(ให้เวลา) ในการทำความรู้สึกตัวในอริยาบทต่างๆ ก็จะเกิดสติสมาธิและปัญญาที่เจริญขึ้น

          

ตอบโดย: Vicha 02 ก.พ. 52 - 12:09


คุณ Vicha ครับ ผมมีข้อสงสัยอยากถามครับ

     ผู้ที่ผ่านการเจริญรูปฌาณ หรืออรูปฌาณ มายาวนาน มีกำลังสติมาก พอยกขึ้นสู่วิปัสสนาก็ยอมเห็น เข้าใจแจ่มแจ้งในไตรลักษณ์ รองรับมรรคได้อย่างต่อเนื่องรวดเดี่ยวจนถึงอรหัตมรรคเลย

     ส่วนผู้ที่เจริญวิปัสสนา เพราะกำลังสติมีน้อย จะค่อยเจริญไปตามลำดับจากหยาบไปละเอียด จากมรรคหนึ่ง ไปมรรคสอง ไปมรรคสาม และไปมรรคสี่ ตามลำดับอย่างนี้

อย่างนี้เป็นไปได้ไหมครับ      

ตอบโดย: มนุษย์ 02 ก.พ. 52 - 13:20


สวัสดีครับคุณ มนุษย์ จากคำถาม

อ้างอิง
คุณ Vicha ครับ ผมมีข้อสงสัยอยากถามครับ

     ผู้ที่ผ่านการเจริญรูปฌาณ หรืออรูปฌาณ มายาวนาน มีกำลังสติมาก พอยกขึ้นสู่วิปัสสนาก็ยอมเห็น เข้าใจแจ่มแจ้งในไตรลักษณ์ รองรับมรรคได้อย่างต่อเนื่องรวดเดี่ยวจนถึงอรหัตมรรคเลย

     ส่วนผู้ที่เจริญวิปัสสนา เพราะกำลังสติมีน้อย จะค่อยเจริญไปตามลำดับจากหยาบไปละเอียด จากมรรคหนึ่ง ไปมรรคสอง ไปมรรคสาม และไปมรรคสี่ ตามลำดับอย่างนี้

อย่างนี้เป็นไปได้ไหมครับ


     มีความเป็นไปได้ครับ.  มาลองดูตัวอย่างช่วงระยะเวลาบรรลุมรรคผลนิพพาน ของโยคีในสมัยที่พระพุทธเจ้ามีพระชนชีพอยู่ดังนี้.

     พระสารีบุตร  ได้ฟังธรรมจากพระอัสสชิ ได้บรรลุเป็นพระโสดาบัน  อีก 14 วันต่อมาได้ถวายพัดให้กับพระพุทธเจ้า และพระพุทธเจ้าสอนธรรมให้กับพราหมณ์คนหนึ่ง พระสารีบุตรได้ฟังและพิจารณาธรรมนั้นไปด้วย ได้บรรลุธรรมรวดเดียวจาก สกิทาคามีจนถึงพระอรหันต์
     พระโมคคัลลานะ  ได้ฟังธรรมจากพระสารีบุตรบรรลุเป็นพระโสดาบัน อีก 7 วัน เนื่องจากมาสมาธิมาก จึงสงบมากง่วงมาก พระพุทธเจ้าจึงทรงแนะนำการดับความง่วงนอนหลังจากนั้นก็ปฏิบัติด้วยตนเองจนบรรลุรวดเดียวจาก สกิทาคามีจนถึงพระอรหันต์เช่นกัน.
      เช่นเดียวกับกับฤาษี 500 300 200 ท่าน ครั้งแรกก็บรรลุเป็นพระโสดาบันก่อน ต่อมาภายหลังเมื่อได้ฟังธรรมอีกครั้ง(หรืออีกรอบ) ก็บรรลุรวดเดียวจากพระสกิทาคามีจนถึงพระอรหันต์.

     ถ้ามาวิเคราะห์ จะเห็นว่าผู้ที่ได้รูปฌานหรืออรูปฌานนั้น ยอมมีพละที่พอควรในบางอย่างแล้ว เช่น
     มีความเพียร มีสามาธิ ที่ดี
     มีศรัทธา มีสติ พอประมาณ
     ยังขาดแต่ปัญญาเท่านั้น

    หมายเหตุ พละทั้ง 5 คือ  1.สติ 2.สมาธิ 3.ปัญญา 4.ศรัทธา 5.ความเพียร

     เมื่อน้อมใจรับธรรมจากพระพุทธเจ้า สติก็เจริญขึ้น ศรัทธาในธรรมก็เจริญขึ้น มียกขึ้นสู่วิปัสสนาญาณ ปัญญาก็สมบูรณ์ขึ้น ในเมื่อมีกำลังพละ 5 ดีมากเมื่อสมดุลย์ก็ย่อมบรรลุรวดเดียวผ่านทุกขั้น หรือสอง-สามขั้น เป็นเหตุเป็นผลกัน.

     ดังนั้นผู้ที่สร้างเหตุในการบรรลุมรรคผลนิพพานมาดีแล้ว โดยที่ไม่มีวิบากกรรมอันใดมาตัดรอน เมื่อน้อมธรรมของพระพุทธเจ้ายกขึ้นเป็นวิปัสสนาญาณ ก็ย่อมบรรลุรวดเดียวในช่วงเวลานั้นผ่านทุกขั้นเป็นพระอรหันต์เลยก็มี หรือมาคงอยู่ที่อานาคามีก็มี  หรือมาคงอยู่ที่สกิทาคามีก็มี เพระเหตุที่สร้างมาอย่างดีหรืออย่างพอควรนั้นแหละส่งผล.

ตอบโดย: Vicha 02 ก.พ. 52 - 13:55


ความหมายของ เอกายนมรรค หรือ ที่แปลกันว่า ทางสายเอก
ในhttp://th.wikisource.org/wiki/%E0%B8%AD%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%96%E0%B8%81%E0%B8%96%E0%B8%B2_%E0%B8%A1%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%9B%E0%B8%B1%E0%B8%8F%E0%B8%90%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%AA%E0%B8%B9%E0%B8%95%E0%B8%A3 ท่านบรรยายไว้ดีมาก ขอคัดมาประกอบกระทู้นี้ครับ
    ในพระสูตรนั้น ข้อว่า เป็นทางเดียว คือ เป็นทางเอก. แท้จริง
ทางมีมากชื่อ คือ
    มัคคะ ปันถะ ปถะ ปัชชะ อัญชสะ
    วฏุมะ อยนะ นาวา อุตตรเสตุ กุลละ ภิสิสังกมะ
ทางนี้นั้น ในที่นี้ ท่านกล่าวโดยชื่อว่า อยนะ เพราะฉะนั้น ในข้อที่ว่า ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย หนทางนี้เป็นทางเดียวนี้ จึงควรเห็นความย่างนี้ว่า ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย หนทางนี้เป็นทางเอกมิใช่ทางสองแพร่ง.
    อีกนัยหนึ่ง ชื่อว่า เอกายนะ เพราะอรรถวิเคราะห์ว่า เป็นทางที่บุคคล
พึงไปผู้เดียว. คำว่า ผู้เดียว คือคนที่ละการคลุกคลีด้วยหมู่ ปลีกตัวไปสงบสงัด.
ข้อว่า พึงไป คือ พึงดำเนินไป. อีกนัยหนึ่ง ชื่อว่า อยนะ เพราะอรรถ
วิเคราะว่าเป็นเครื่องไป อธิบายว่า ไปจากสังสารวัฏสู่พระนิพพาน. หนทาง
ไปของบุคคลผู้เป็นเอก ชื่อว่า เอกายนะ. บทว่า เอกสฺส คือ ของบุคคล
ผู้ประเสริฐสุดแห่งสรรพสัตว์. ก็พระผู้มีพระภาคเจ้านั้นทรงประเสริฐกว่าสรรพ-
สัตว์ เพราะฉะนั้น ท่านจึงอธิบายว่า หนทางของพระผู้มีพระภาคเจ้า. แม้สัตว์
เหล่าอื่น ถึงจะเดินไปด้วยหนทางนั้นก็จริง แม้เช่นนั้น หนทางนั้นก็เป็นทาง
เดินของพระผู้มีพระภาคเจ้าเท่านั้น เพราะเป็นทางที่พระองค์ทรงทำให้เกิดขึ้น.
เหมือนอย่างที่ตรัสไว้ (ในโคปกโมคคัลลานสูตร) ว่า ดูก่อนพราหมณ์ พระผู้มี
พระภาคเจ้านั้น เป็นผู้ทำมรรคที่ยังไม่เกิด ให้เกิดขึ้นดังนี้เป็นต้น . อีกนัยหนึ่ง
ทางย่อมไป เหตุนั้น จึงชื่อว่า อยนะ อธิบายว่า ไป คือเป็นไป. หนทางไป
ในธรรมวินัยอันเดียว ชื่อว่า เอกายนะ ท่านอธิบายว่า หนทางเป็นไปในธรรม
วินัยนี้เท่านั้น ไม่เป็นไปในธรรมวินัย (ศาสนา) อื่น. เหมือนอย่างที่ตรัสไว้
(ในมหาปรินิพพานสูตร) ว่าดูก่อนสุภัททะ มรรคมีองค์ ๘ ที่เป็นอริยะ บุคคล
จะได้ก็แต่ในธรรมวินัยนี้แล ดังนี้. ก็มรรคนั้นต่างกันโดยเทศนา แต่โดย
อรรถก็อันเดียวกันนั้นเอง.
    อีกนัยหนึ่ง หนทางย่อมไปครั้งเดียว เหตุนั้น หนทางนั้นจึงชื่อ
เอกายนะ (ทางไปครั้งเดียว). ท่านอธิบายว่า หนทางแม้เป็นไปโดย มุข คือ
ภาวนามีนัยต่างๆ กัน เบื้องต้น ในเบื้องปลายก็ไปสู่พระนิพพานอันเดียวกัน
นั่นเอง. เหมือนอย่างที่ท่านกล่าวไว้ (ในสังยุตตนิกาย มหาวารวรรค) ว่าท้าว
สหัมบดีพรหมกราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า
    เอกายนํ ชาติขยนฺตทสฺสี
    มคฺคํ ปชานาติ หิตานุกมฺปี
    เอเตน มคฺเคน ตรึสุ ปุพฺเพ
    ตริสฺสเร เจว ตรนฺติ ใจฆํ
    พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเห็นธรรม
    เป็นที่สิ้นชาติ ทรงพระกรุณาอนุเคราะห์
    ด้วยประโยชน์เกื้อกูล ทรงทราบชัด
    เอกายนมรรค พระพุทธะทั้งหลายในอดีต
    พากันข้าม โอฆะ(โอฆะ ๔) ด้วยมรรคนั้น
    มาแล้ว พระพุทธะทั้งหลาย ในอนาคตก็
    จัก ข้ามโอฆะด้วยมรรคนั้น และพระพุทธะ
    ทั้งในปัจจุบัน ก็ข้ามโอฆะด้วยมรรคอย่าง
    เดียวกันนั้นแล.


ตอบโดย: TemplarKnight 02 ก.พ. 52 - 14:42


           อนุโมทนาสาธุกับทุก ๆ ท่านนะครับ

ตอบโดย: รักเดียวใจเดียว 02 ก.พ. 52 - 14:57


กราบอนุโมทนาสาธุครับพี่วิชา

กับการที่พี่ได้ยกเรื่องของสติปัฏฐานสี่
ขึ้นมาสนทนาแลกเปลี่ยนกัน ครับ


เมื่อจิตหรือวิญญาณ
กำลังพิจารณาใคร่ครวญ เวียนวนอยู่กับ กาย เวทนา จิต ธรรม อยู่เนื่องๆ
โอกาสที่จิตหรือวิญญาณ
จะไปเสพธรรม หรือไปเมาหมกอยู่กับธรรม
อันไม่เป็นไปเพื่อความดับทุกข์ ก็ย่อมมีน้อย...

จิตหรือวิญญาณ เมื่อใคร่ครวญโยนิโสมนสิการอยู่กับ
กาย เวทนา จิต ธรรม

ผมมีความเชื่อว่า ในไม่ช้าจิตหรือวิญญาณอันนั้น
ย่อมรู้แจ้ง เห็นชัดตามความที่เป็นจริง
ของกาย เวทนา จิต ธรรม อย่างถูกต้อง

ความดับไม่เหลือแห่งทุกข์
ความพ้นไปจากทุกข์
ย่อมเป็นฐานะที่เป็นไปได้อย่างไม่มีข้อสงสัยใดๆเลยครับ


ลมหายใจเข้า-ออก
ก็ได้ชื่อว่ากายอย่างหนึ่ง เหมือนกันใช่ไหม ครับ

เมื่อจิตหรือวิญญาณ พิจารณาอยู่กับลมหายใจเข้า-ออก
ก็ชื่อว่าจิตนั้นกำลังพิจารณากายในกายอยู่เหมือนกันได้ไหม ครับ

เมื่อจิตหรือวิญญาณ พิจารณาอยู่กับลมหายใจเข้า-ออก
ได้อย่างต่อเนื่องสม่ำเสนอ
จิตหรือวิญญาณนั้น ย่อมเกิดความปิติ เกิดความสุข

และเมื่อจิตหรือวิญญาณ พิจารณาอยู่กับปิติและความสุข
อันมีมูลเหตุมาจากการที่จิตหรือวิญญาณ
พิจารณาอยู่กับลมหายใจเข้าออกได้อย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ

การที่จิตพิจารณาถึงปิติและสุข
อันเกิดจากการการที่จิตหรือวิญญาณ
ได้พิจารณาลมหายใจเข้า-ออก อยู่อย่างนี้นั้น
จะเรียกว่าจิตหรือวิญญาณนั้น กำลังพิจารณาเวทนาในเวทนอยู่ ได้ไหม ครับ

เมื่อจิตหรือวิญญาณได้รับรู้ถึงปิติและสุข
อันเกิดการการจิตหรือวิญญาณได้พิจารณาลมหายใจเข้า-ออก
จิตย่อมเกิดความปราโมทย์ เกิดความสงบระงับ เกิดความตั้งมั่น

และเมื่อจิตหรือวิญญาณได้เข้าไปพิจารณา
ถึงจิตที่กำลังเกิดความปราโมทย์ เกิดความสงบระงับตั้งมั่น อยู่อย่างนั้น
จะเรียกว่าจิตนั้น กำลังพิจารณาจิตในจิต อยู่ได้ไหม ครับ


เมื่อจิตหรือวิญญาณเข้าไปพิจารณา
ถึงความปราโมทย์ พิจารณาถึงความสงบระงับตั้งมั่น
อันเกิดจากการที่จิตเข้าไปพิจารณารับรู้ถึง ปิติและสุขที่เกิดขึ้นนั้น
จิตย่อมมองเห็นความไม่เที่ยง
ย่อมมองเห็นความจางคลาย ของธรรมทั้งหลายตามที่เป็นจริง

เมื่อจิตได้มองเห็นความไม่เที่ยง เห็นความจางคลาย
เห็นความดับไม่เหลือ ตามที่เป็นจริง
จิตย่อมเกิดความเบื่อหน่าย เกิดความคลายกำหนัด
ในธรรมที่จิตหรือวิญญาณได้มองเห็นทั้งหลายเหล่านั้น

การที่จิตหรือวิญญาณได้พิจารณาถึงความไม่เที่ยง
พิจารณาถึงความจางคลาย ความดับไม่เหลือ ของธรรมทั้งหลายเหล่านั้น
จะเรียกว่าจิตหรือวิญญาณ กำลังพิจารณาธรรมในธรรมนั้นอยู่ ได้ไหม ครับ


ขอให้พี่วิชา เจริญในธรรมยิ่งๆขึ้นไป ครับ


 

ตอบโดย: ปล่อยรู้ 02 ก.พ. 52 - 15:11


อ่านที่คุณปล่อยรู้ Post ไว้ ผมตอบคำถามไม่ได้ แต่อ่านไปๆ คิดไปถึง อานาปานสติสูตร
-http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/sutta_name.php?name=%CD%D2%B9%D2%BB%D2%B9%CA%B5%D4%CA%D9%B5%C3&book=9&bookZ=33
-http://th.wikisource.org/wiki/%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%AA%E0%B8%B8%E0%B8%95%E0%B8%95%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%95%E0%B8%9B%E0%B8%B4%E0%B8%8E%E0%B8%81_%E0%B9%80%E0%B8%A5%E0%B9%88%E0%B8%A1_%E0%B9%96_%E0%B8%A1%E0%B8%B1%E0%B8%8A%E0%B8%8C%E0%B8%B4%E0%B8%A1%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A2_%E0%B8%AD%E0%B8%B8%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B8%9B%E0%B8%B1%E0%B8%93%E0%B8%93%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%81%E0%B9%8C_-_%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B8%B8%E0%B8%9B%E0%B8%97%E0%B8%A7%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%84_-_%E0%B9%98._%E0%B8%AD%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%9B%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%AA%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%AA%E0%B8%B9%E0%B8%95%E0%B8%A3
-http://th.wikisource.org/wiki/%E0%B9%80%E0%B8%88%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B8%8D%E0%B8%AD%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%9B%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%AA%E0%B8%95%E0%B8%B4_%E0%B8%9A%E0%B8%B3%E0%B9%80%E0%B8%9E%E0%B9%87%E0%B8%8D%E0%B8%AA%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%9B%E0%B8%B1%E0%B8%8F%E0%B8%90%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B9%94_%E0%B9%83%E0%B8%AB%E0%B9%89%E0%B8%9A%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B8%9A%E0%B8%B9%E0%B8%A3%E0%B8%93%E0%B9%8C
-http://th.wikisource.org/wiki/%E0%B9%80%E0%B8%88%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B8%8D%E0%B8%AA%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%9B%E0%B8%B1%E0%B8%8F%E0%B8%90%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B9%94_%E0%B8%9A%E0%B8%B3%E0%B9%80%E0%B8%9E%E0%B9%87%E0%B8%8D%E0%B9%82%E0%B8%9E%E0%B8%8A%E0%B8%8C%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B9%8C%E0%B9%97_%E0%B9%83%E0%B8%AB%E0%B9%89%E0%B8%9A%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B8%9A%E0%B8%B9%E0%B8%A3%E0%B8%93%E0%B9%8C

ตอบโดย: TemplarKnight 02 ก.พ. 52 - 15:31


สวัสดีครับคุณ TemplarKnight, คุณรักเดียวใจเดีย, คุณปล่อยรู้.

ดีครับคุณTemplarKnight ที่นำข้อมูลมาประกอบ

 และจากข้อความของคุณปล่อยรู้

อ้างอิง
    ลมหายใจเข้า-ออก
     ก็ได้ชื่อว่ากายอย่างหนึ่ง เหมือนกันใช่ไหม ครับ


   ถ้าจะให้ชัดเจนคือ  มีสติหายใจเข้าก็รู้ หายใจออกก็รู้  อย่างนี้จึงได้ชื่อว่า กาย อย่างหนึ่งครับ.

   และจากอานาปานสติสูตร และในหลายส่วนในพระไตรปิฎกนั้น พระพุทธเจ้าทรงยืนยันอย่างชัดเจนแล้วว่า.

     ผู้ที่ปฏิบัติอานาปานสติอย่างสมบูรณ์ ย่อมทำให้สติปัฏฐาน 4 สมบูรณ์ด้วย.

      แต่คำว่า อานาปานสติอย่างสมบูรณ์นั้นไม่ใช่เพียงแค่ "หายใจเข้า พุทธ  หายใจออก โธ" หรือเพียง "มีสติหายใจเข้าก็รู้ หายใจออกก็รู้" แต่ทรงหมายถึง อานาปานสติทั้ง 16 บท(จตุกะ) ที่เคยได้สนทนากันมาแล้ว.

      หมายเหตุ  ส่วนของลมที่เข้าหรือออก หรือตัวของลมที่ไม่รับรู้นั้นไม่จัดว่าเป็น กาย ส่วนของกองลมที่เกิดผัสสะหรือสัมผัส มีสติรู้อยู่ นั้นแหละจัดว่าเป็น กาย  ดังนั้นผู้ที่ปฏิบัติพึ่งต้องพิจารณาให้แยบคาย ไม่เช่นนั้นจะเข้าใจคลาดเคลือนไปจากคำว่า กาย
    

ตอบโดย: Vicha 02 ก.พ. 52 - 15:34


สนทนาต่อนะครับ.
   ต่อไปผมจะนำธรรมปฏิบัติ ที่ควรน้อมที่ควรฝึกอยู่เนื่องเข้ากับการปฏิบัติได้อย่างดีคือ ธรรมเป็นเครื่องอยู่เนื่องๆ

         [๓๒๓] สตตวิหาร [ธรรมเป็นเครื่องอยู่เนืองๆ] ๖ อย่าง

          ๑. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เห็นรูปด้วยนัยน์ตาแล้ว ย่อมเป็นผู้ไม่ดีใจ ไม่เสียใจ แต่เป็นผู้วางเฉย มีสติสัมปชัญญะอยู่
          ๒. ฟังเสียงด้วยหูแล้ว ย่อมเป็นผู้ไม่ดีใจไม่เสียใจ แต่เป็นผู้วางเฉย มีสติ
สัมปชัญญะอยู่
          ๓. ดมกลิ่นด้วยจมูกแล้ว ย่อมเป็นผู้ไม่ดีใจไม่เสียใจ แต่เป็นผู้วางเฉย มีสติ
สัมปชัญญะอยู่
          ๔. ลิ้มรสด้วยลิ้นแล้ว ย่อมเป็นผู้ไม่ดีใจไม่เสียใจ แต่เป็นผู้วางเฉย มีสติสัมปชัญญะอยู่
          ๕. ถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกายแล้ว ย่อมเป็นผู้ไม่ดีใจไม่เสียใจ แต่เป็นผู้วางเฉย
มีสติสัมปชัญญะอยู่
          ๖. รู้แจ้งธรรมด้วยใจแล้ว ย่อมเป็นผู้ไม่ดีใจไม่เสียใจ แต่เป็นผู้วางเฉย มีสติ
สัมปชัญญะอยู่ ฯ


      ข้อสังเกตุกับประโยคที่ว่า  ย่อมเป็นผู้ไม่ดีใจไม่เสียใจ แต่เป็นผู้วางเฉย มีสติสัมปชัญญะอยู่

         หมายความว่า ไม่ปรุงแต่งในสิ่งที่ปรากฏนั้นจนดีใจหรือเสียใจ ปล่อยวางเสียจนสงบมีอุเบกขามีสติสมบูรณ์แจ่มชัดอยู่ ไม่ได้มีสภาวะสลึมสลือหรือบรื้อหรือเบรอ

         สรุปคือ มีสติไม่ปรุงแต่งสิ่งที่กระทบสิ่งที่ปรากฏจนดีใจหรือเสียใจ ปล่อยวางไม่ยึดมั่นสงบมีความแจ่มไสอยู่ นี้เป็นธรรมที่ควรปฏิบัติที่ควรเจริญอยู่เนื่องๆ

 

 

ตอบโดย: Vicha 03 ก.พ. 52 - 09:40


     ต่อไปผมจะยกเรื่องอินทรียสังวร   อินทรีย์ในที่นี้คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ ซึ่งมีในพระไตรปิฎกดังนี้.

                                         อินทรียสังวร
          [๑๒๒] ดูกรมหาบพิตร อย่างไร ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย?
        ดูกรมหาบพิตร ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เห็นรูปด้วยจักษุแล้ว ไม่ถือนิมิต ไม่ถืออนุพยัญชนะเธอย่อมปฏิบัติเพื่อสำรวมจักขุนทรีย์ ที่เมื่อไม่สำรวมแล้ว จะเป็นเหตุให้อกุศลธรรมอันลามกคืออภิชฌาและโทมนัสครอบงำนั้น ชื่อว่ารักษาจักขุนทรีย์ ชื่อว่าถึงความสำรวมในจักขุนทรีย์
        ภิกษุฟังเสียงด้วยโสต ... ดมกลิ่นด้วยฆานะ ... ลิ้มรสด้วยชิวหา ... ถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกาย... รู้แจ้งธรรมารมณ์ด้วยใจแล้ว ไม่ถือนิมิต ไม่ถืออนุพยัญชนะ เธอย่อมปฏิบัติเพื่อสำรวมมนินทรีย์ที่เมื่อไม่สำรวมแล้ว จะเป็นเหตุให้อกุศลธรรมอันลามกคืออภิชฌาและโทมนัสครอบงำนั้น ชื่อว่ารักษามนินทรีย์ ชื่อว่าถึงความสำรวมในมนินทรีย์
        ภิกษุประกอบด้วยอินทรีย์สังวรอันเป็นอริยะเช่นนี้ ย่อมได้เสวยสุขอันไม่ระคนด้วยกิเลสในภายใน
        ดูกรมหาบพิตร ด้วยประการดังกล่าวมานี้แล ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย.


        จากเรื่องอินทรียสงวร นั้นสามารถทำให้สับสนกับเรื่อง ของอินทรีย์ 5 ได้ เพราะ

อินทรีย์ 5 คือ  1.สัทธินทรีย์  2.วิริยินทรีย์ 3.สตินทรีย์ 4.สมาธินทรีย์ 5.ปัญญินทรีย์

   ดังนั้นท่านผู้อ่านคงไม่สับสนในเรื่องของอิทรียสังวรกับเรื่องอินทรีย์ 5   และในความเห็นต่อไปผมจะยกเรื่อง อนิสงส์แห่งการเจริญอินทรีย์ ๕   ซึ่งการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานนั้นพยายามเน้นเรื่อง พละ 5 หรืออินทรีย์ 5 นี้ เป็นส่วนสำคัญในการดำเนินในการปฏิบัติ.

 

ตอบโดย: Vicha 03 ก.พ. 52 - 17:05


    เช้าวันนี้ผมนำเอา อานิสงส์แห่งการเจริญอินทรีย์ ๕ ในพระไตรปิฏกมาให้อ่านกันต่อครับ  และต้องทำความเข้าใจไว้ว่า ระหว่าง อินทรียสังวร นั้นต่างกับ อินทรีย์ ๕ นะครับ

   อินทรียสังวร คือสัมรวมใน ตา  หู จมูก ลิ้น กาย และใจ

   อินทรีย์ ๕    คือ พละ 5 คือ 1.สติ 2.สมาธิ 3.ปัญญา 4.ศรัทธา และ 5.ความเพียร

                       อานิสงส์แห่งการเจริญอินทรีย์ ๕
          [๑๐๘๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม่น้ำคงคาไหลไปสู่ทิศปราจีน หลั่งไปสู่ทิศปราจีน
บ่าไปสู่ทิศปราจีน แม้ฉันใด ภิกษุเจริญอินทรีย์ ๕ กระทำให้มาก ซึ่งอินทรีย์ ๕ ย่อมเป็นผู้น้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน ฉันนั้นเหมือนกัน.
          [๑๐๘๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุเจริญอินทรีย์ ๕ กระทำให้มากซึ่งอินทรีย์ ๕
อย่างไรเล่า ย่อมเป็นผู้น้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน? ดูกรภิกษุ
ทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญสัทธินทรีย์ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ
น้อมไปในการสละ ย่อมเจริญวิริยินทรีย์ ... สตินทรีย์ ... สมาธินทรีย์ ... ปัญญินทรีย์ อันอาศัยวิเวกอาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเจริญอินทรีย์ ๕ กระทำให้มากซึ่งอินทรีย์ ๕ อย่างนี้แล ย่อมเป็นผู้น้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน.
          [๑๐๘๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สังโยชน์อันเป็นส่วนเบื้องบน ๕ นี้ สังโยชน์อันเป็น
ส่วนเบื้องบน ๕ เป็นไฉน? คือ รูปราคะ อรูปราคะ มานะ อุทธัจจะ อวิชชา ดูกรภิกษุ
ทั้งหลาย สังโยชน์อันเป็นส่วนเบื้องบน ๕ นี้แล.
          [๑๐๘๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ อันภิกษุพึงเจริญเพื่อรู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้
เพื่อความสิ้นไป เพื่อละซึ่งสังโยชน์อันเป็นส่วนเบื้องบน ๕ นี้แล อินทรีย์ ๕ เป็นไฉน? ดูกร
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญสัทธินทรีย์ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธน้อมไปในการสละ ฯลฯ ย่อมเจริญปัญญินทรีย์ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ ดูกรภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ เหล่านี้ อันภิกษุพึงเจริญ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้เพื่อความสิ้นไป เพื่อละซึ่งสังโยชน์อันเป็นส่วนเบื้องบน ๕ นี้แล (อินทรีย์ที่อาศัยวิเวกเป็นต้นพึงขยายความออกไปเหมือนมรรคสังยุต)
          [๑๐๘๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม่น้ำคงคาไหลไปสู่ทิศปราจีน หลั่งลงสู่ทิศปราจีน บ่าไปสู่ทิศปราจีน แม้ฉันใด ภิกษุเจริญอินทรีย์ ๕ กระทำให้มากซึ่งอินทรีย์ ๕ ย่อมเป็นผู้น้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน ฉันนั้นเหมือนกัน.
          [๑๐๘๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุเจริญอินทรีย์ ๕ กระทำให้มากซึ่งอินทรีย์ ๕
อย่างไรเล่า ย่อมเป็นผู้น้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน? ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญสัทธินทรีย์ มีอันกำจัดราคะเป็นที่สุด มีอันกำจัดโทสะเป็นที่สุด มีอันกำจัดโมหะเป็นที่สุด ฯลฯ ย่อมเจริญปัญญินทรีย์ มีอันกำจัดราคะเป็นที่สุด มีอันกำจัดโทสะเป็นที่สุดมีอันกำจัดโมหะเป็นที่สุด ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเจริญอินทรีย์ ๕ กระทำให้มากซึ่งอินทรีย์ ๕ อย่างนี้แล ย่อมเป็นผู้น้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน.
          [๑๐๘๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สังโยชน์อันเป็นส่วนเบื้องบน ๕ เหล่านี้ สังโยชน์อันเป็นส่วนเบื้องบน ๕ เป็นไฉน? คือ รูปราคะ อรูปราคะ มานะ อุทธัจจะ อวิชชา ดูกร
ภิกษุทั้งหลาย สังโยชน์อันเป็นส่วนเบื้องบน ๕ เหล่านี้แล.
          [๑๐๘๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ อันภิกษุพึงเจริญ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้
เพื่อความสิ้นไป เพื่อละซึ่งสังโยชน์อันเป็นส่วนเบื้องบน ๕ เหล่านี้แล อินทรีย์ ๕ เป็นไฉน?ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญสัทธินทรีย์ มีอันกำจัดราคะเป็นที่สุด มีอันกำจัดโทสะเป็นที่สุดมีอันกำจัดโมหะเป็นที่สุด ฯลฯ ย่อมเจริญปัญญินทรีย์ มีอันกำจัดราคะเป็นที่สุด มีอันกำจัดโทสะเป็นที่สุด มีอันกำจัดโมหะเป็นที่สุด ดูกรภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ เหล่านี้ อันภิกษุพึงเจริญเพื่อรู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้ เพื่อความสิ้นไป เพื่อละซึ่งสังโยชน์อันเป็นส่วนเบื้องบน ๕ เหล่านี้แล(อินทรียสังยุตมีส่วนเหมือนในมรรคสังยุต)
                              จบ อินทรียสังยุต

 

ตอบโดย: Vicha 04 ก.พ. 52 - 09:26


อนุโมทนาสาธุครับพี่วิชา
คำพุทธวัจน์ที่พี่นำมาแสดงนั้น ประเสริฐยิ่งกว่าคำกวล่าวของผู้ใดทั้งสิ้น
เป็นคำพุทธวัจน์ที่ไม่มีวันตาย...


จิตเมื่อได้ผัสะสะกับรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ใดๆ
แล้วจิตไม่ไปต่อ ไม่ไปสร้างภพใดๆขึ้นมา
จิตย่อมสงบ จิตย่อมเสวยสุขชั้นเลิศ เป็นสุขที่ปราศจากการปรุงแต่งใดๆ

จิตเมื่อไม่มีตัณหา
จิตก็ย่อมไม่มีอุปาทาน

เมื่อจิตไม่มีอุปาทาน
จิตก็ย่อมไม่มีภพ

เมื่อจิตไม่มีภพ
จิตก็ย่อมไม่มีการเกิด

เมื่อจิตไม่มีการเกิดในที่ใดๆ
ทุกข์อันมีอยู่ในที่ทั้งหลาย ก็ย่อมไม่มีฐานะที่จะเกิดขึ้นกับจิตนั้นได้...


ประสพการณ์ของจิต
ที่ได้ท่องเที่ยวผ่านภพน้อย ภพใหญ่ มาอย่างโชกโชน
ย่อมรู้ดีว่า ย่อมรู้แจ้งชัดว่า
อินทรีย์เหล่าใดหนอ จะพึงเจริญ เพื่อความรู้ยิ่ง
จะเพื่อกำหนดรู้ เพื่อความดับสิ้นไปแห่งกองทุกข์ทั้งหลาย

อินทรีย์ทั้ง5 อันพระสัมมาสัมพุทธะ ได้ตรัสไว้ดีแล้วนั้นเอง ครับ
คืออินทรีย์ภาวนาชั้นเลิศ
คืออินทรีย์ภาวนาอันประเสริฐ
คืออินทรีย์อันเป็นไปเพื่อความรู้ยิ่ง เป็นไปเพื่อความรู้พร้อม
เป็นไปเพื่อความดับไม่เหลือแห่งทุกข์โดยสิ้นเชิง...

ขอให้พี่วิชาเจริญในพุทธธรรมยิ่งๆขึ้นไปครับ

ตอบโดย: ปล่อยรู้ 04 ก.พ. 52 - 18:38


อ้างอิง
อินทรีย์ ๕  คือ พละ 5 คือ 1.สติ 2.สมาธิ 3.ปัญญา 4.ศรัทธา และ 5.ความเพียร

ขอเสริมนิดนะครับ เกี่ยวกับ อินทรีย์ และ พละ
จากปฏิสัมภิทามรรค(โดยพระสารีบุตร) กล่าวไว้หลายแห่งว่า
อินทรีย์เป็นธรรมเพราะอรรถว่าเป็นใหญ่
พละเป็นธรรมเพราะอรรถว่าไม่หวั่นไหว...

(ดูเพิ่มที่ http://th.wikisource.org/wiki/%E0%B8%9B%E0%B8%8F%E0%B8%B4%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%A1%E0%B8%A0%E0%B8%B4%E0%B8%97%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%84_-_%E0%B8%A2%E0%B8%B8%E0%B8%84%E0%B8%99%E0%B8%B1%E0%B8%97%E0%B8%98%E0%B8%A7%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%84_-_%E0%B9%97._%E0%B8%98%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%88%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%81%E0%B8%96%E0%B8%B2 )

ส่วนในอินทริยสังยุตต์ กล่าวไว้ว่า
   [๙๗๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนแม่น้ำ ซึ่งไหลไปทางทิศตะวันออก หลั่ง
ไปทางทิศตะวันออก บ่าไปทางทิศตะวันออก ที่ตรงกลางแม่น้ำนั้นมีเกาะ ปริยายที่กระแสแห่ง
แม่น้ำนั้นอาศัยแล้ว ย่อมถึงซึ่งความนับว่ากระแสเดียวมีอยู่ อนึ่ง ปริยายที่กระแสแห่งแม่น้ำนั้น
อาศัยแล้ว ย่อมถึงซึ่งความนับว่าสองกระแสที่มีอยู่.
    [๙๗๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ปริยายที่กระแสแห่งแม่น้ำนั้น อาศัยแล้ว ย่อมถึงซึ่งความ
นับว่ากระแสเดียวเป็นไฉน? คือ น้ำในที่สุดด้านตะวันออกและในที่สุดด้านตะวันตกแห่งเกาะนั้น
ปริยายนี้แล ที่กระแสแห่งแม่น้ำนั้นอาศัยแล้ว ย่อมถึงซึ่งความนับว่ากระแสเดียว.
    [๙๘๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ปริยายที่กระแสแห่งแม่น้ำนั้น อาศัยแล้ว ย่อมถึงซึ่ง
ความนับว่าสองกระแสเป็นไฉน? คือ น้ำในที่สุดด้านเหนือ และในที่สุดด้านใต้แห่งเกาะนั้น
ปริยายนี้แล ที่กระแสแห่งแม่น้ำนั้นอาศัยแล้ว ย่อมถึงซึ่งความนับว่า สองกระแส ฉันใด.
    [๙๘๑] ฉันนั้นเหมือนกัน ภิกษุทั้งหลาย สิ่งใดเป็นสัทธินทรีย์ สิ่งนั้นเป็นสัทธาพละ
สิ่งใดเป็นสัทธาพละ สิ่งนั้นเป็นสัทธินทรีย์ สิ่งใดเป็นวิริยินทรีย์ สิ่งนั้นเป็นวิริยพละ สิ่งใด
เป็นวิริยพละ สิ่งนั้นเป็นวิริยินทรีย์ สิ่งใดเป็นสตินทรีย์ สิ่งนั้นเป็นสติพละ สิ่งใดเป็นสติพละ
สิ่งนั้นเป็นสตินทรีย์ สิ่งใดเป็นสมาธินทรีย์ สิ่งนั้นเป็นสมาธิพละ สิ่งใดเป็นสมาธิพละ สิ่งนั้น
เป็นสมาธินทรีย์ สิ่งใดเป็นปัญญินทรีย์ สิ่งนั้นเป็นปัญญาพละ สิ่งใดเป็นปัญญาพละ สิ่งนั้น
เป็นปัญญินทรีย์.

(ดูเพิ่มที่  http://th.wikisource.org/wiki/%E0%B8%AD%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B8%A2%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%A2%E0%B8%B8%E0%B8%95%E0%B8%95%E0%B9%8C_-_%E0%B9%95._%E0%B8%8A%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%84_-_%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B8%95%E0%B8%AA%E0%B8%B9%E0%B8%95%E0%B8%A3 )

และอรรถกถาอธิบายพระสูตรนี้ไว้ว่า
คำว่า ภิกษุทั้งหลาย สิ่งใดเป็นสัทธินทรีย์ สิ่งนั้นเป็นสัทธาพละ คือ ก็ที่ชื่อว่าสัทธินทรีย์ เพราะอรรถว่าใหญ่ ในสิ่งที่มีความน้อมเชื่อไปเป็นลักษณะ. ชื่อว่าเป็นสัทธาพละ เพราะไม่หวั่นไหวในอินทรีย์ที่ไม่พึงเชื่อ.
               ความที่คุณธรรมนอกนี้เป็นอินทรีย์ ก็เพราะอรรถว่าใหญ่ในลักษณะคือความประคับประคอง ความปรากฏ ความไม่ฟุ้งซ่านและความรู้ชัด.
               พึงทราบความเป็นพละ เพราะไม่หวั่นไหวในเพราะความเกียจคร้าน ความลืมสติ ความซัดส่ายและความไม่รู้.
               พึงทราบเหตุที่ทำให้อินทรีย์และพละเหล่านั้นไม่แตกต่างกันด้วยอำนาจสัทธา วิริยะ สติ สมาธิและปัญญา เหมือนกระแสน้ำสายหนึ่งของแม่น้ำนั้น ด้วยคำว่า เอวเมว โข.
               พึงทราบเหตุที่ทำให้แตกต่างกันด้วยอำนาจอินทรีย์และพละ ด้วยอรรถว่าใหญ่และไม่หวั่นไหวเหมือนกระแสน้ำสองสาย ฉะนั้น.

(ดูเพิ่มที่  http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=19&i=975 )
 

ตอบโดย: TemplarKnight 05 ก.พ. 52 - 01:45


สวัสดีครับ คุณปล่อยรู้ และคุณTemplarKnight

   เช้าว้นนี้ผมก็ได้มาสนทนาต่อ...

          ท่านทั้งหลายสังเกตุหรือเปล่าว่าผมได้นำบทเบื้องต้น และจากพุทธพจน์มาจัดลำดับเพื่ออะไร?

   ตั้งแต่ 1. สติสัมปชัญญะ  คือการทำความรู้สึกตัวในอริยาบทต่างๆ ของร่างกาย
           2. สติปัฏฐาน 4 คือ พิจารณา 1.กาย  2.เวทนา 3.จิต และ 4.ธรรม
           3. อินทรียสังวร  คือ มีสติและสำรวมใน ตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ
           4. อินทรีย์ ๕  หรือพละ ๕ คือ  ศรัทธา ความเพียร สติ สมาธิ และปัญญา
           5. อานิสงส์ในการเจริญอินทรีย์ ๕
  
    ก็เพราะว่าผมต้องการชี้ให้เห็นว่า  นี้แหละคือ วิปัสสนากรรมฐาน ซึ่งถ้ายกข้อที่ 2. สติปัฏฐาน 4 และข้อ 4 อินทรีย์ ๕ และข้อ 5 อานิสงส์ในการเจริญอินทรีย์ ๕ ออกไปก็จะได้พื้นฐานของการปฏิบัติเพื่อวิปัสสนาญาณ. คือ.

            1.สติสัมปชัญญะ  คือการทำความรู้สึกตัวในอริยาบทต่างๆ ของร่างกาย
            2.อินทรย์สังวร  คือ มีสติและสำรวมใน ตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ

      นี้แหละทั้งสติสัมปชัญญะและอินทรีย์สังวร เป็นพื้นฐานในการปฏิบัติวิปัสสนากรรม ที่ต้องปฏิบัติในเบื้องต้น.
      
       เมื่อมีสติและความเข้าใจละเอียดขึ้น ก็จะรู้เท่าทัน ใน กาย เวทนา จิต และธรรม เป็นสติปัฏฐาน 4.
    
       เมื่อมีพละ 5 คือ 1.ศัรทธา 2.ความเพียร 3.สติ 4.สามาธิ 5.ปัญญา เจริญขึ้น ก็จะ แยกในการ พิจารณากายในกาย  พิจารณาเวทนาในเวทนา พิจารณาจิตในจิต พิจารณาธรรมในธรรม  เป็นสติปัฏฐาน 4 อย่างถูกต้องสมบูรณ์.

        นั้นก็คือ มีสติปัญญาเป็นปัจจุบัน แยกรูปกับนามได้ แยกนามกับนามได้ และมีปัญญาเห็นถึงรูปกับนามต่างก็เป็นเหตุปัจจัยซึ่งกันและกัน และบางอย่างนามก็เป็นปัจจัยให้กับนาม  ก็จะเริ่มเข้าสู่เบื้องต้นของวิปัสสนาญาณ.

         
      ต่อไปเล่าเรื่องตนเอง...
           ตอนที่ผมเรียนอยู่ปี 2 - 3 (2524-2525) ผมจะทำความรู้สึกตัวในอริยบทต่างๆ ตามที่อ่านในหนั้งสือธรรมในหอสมุด  และผมจะพยายามสำรวมตัวเองเป็นส่วนมาก จนกลายเป็นการเก็บกดและกดดันเพราะจากฐานะทางสังคม แต่ก็สามารถผ่านพ้นจนเกือบเรียนจบ ได้เข้าทำกรรมฐาน.
            เมื่อผมเข้ากรรมฐานที่วัดมหาธาตุท่าพระจันทร์ที่เป็นรูปแบบครั้งแรกในชีวิต เพียง 2 - 3 วัน ปฏิบัติตามรูปแบบของทางวัดยังไม่ได้เท่าไหรเลย แต่วิปัสสนาญาณ ได้เจริญขึ้นแล้ว ทั้งนามรูปปริเฉทญาณ และ ปัจจัยปริคคหาญาณ ได้เจริญขึ้นแล้ว (ตอนสมัยนั้นผมก็สงสัยอยู่เหมือนกันว่า ภาวะที่เกิดนั้นแปลกๆ คืออะไร) ดังนั้นผมจึงเห็นว่า.

           1.สติสัมปชัญญะ  คือการทำความรู้สึกตัวในอริยาบทต่างๆ ของร่างกาย
            2.อินทรย์สังวร  คือ มีสติและสำรวมใน ตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ


       เป็นพื้นฐานที่ทุกท่านสามารถปฏิบัติได้ และง่ายต่อการเจริญวิปัสสนาญาณต่อไป จึงควรรักษาไว้หรือปฏิบัติอยู่เนื่องๆ.
 

ตอบโดย: Vicha 05 ก.พ. 52 - 10:16


      สัมปะชัญญะมีความหมายลึกซึ้งกว่า แค่คำว่ารู้ตัวนะครับ คุณVicha  สัมปชัญญะนี้ มือองค์แห่งปัญญามรรคทั้ง 2 ตัว (สัมมาทิฐิ+สัมมาสังกัปปะ)ที่มาทำงานร่วมกัน เฝ้าดูเฝ้าสังเกต พิจารณา ปัจจุบันอารมณ์ ที่สติไปรู้ทันนั้น จนเห็น ความเกิดขึ้น  ตั้งอยู่  ดับไป(อนิจจัง) ทนอยู่ไม่ได้ (ทุกขัง) สั่งบังคับบัญชาไม่ได้เลย(อนัตตา)

ตอบโดย: อโศกะ 05 ก.พ. 52 - 21:25


   สวัสดีครับ คุณอโศกะ
         ดีครับที่คุณอโศกะ ได้ร่วมแสดงความคิดเห็น ทำให้ผมเห็นว่าควรสนทนาเรื่องนี้ล่วงลึกลงไปอีก ในเรื่องของการปฏิบัติธรรม ที่มีสติสัมปชัญญะแจ่มแจ้งแยกแยะในขณะกำหนดภาวนาเป็นอย่างไร? ในระดับวิปัสสนาญาณเบื้องต้น ที่เจริญขึ้น ด้วย 1.การรู้สึกตัวในอริยาบทต่างๆ  2.อินทรีย์สังวร การสำรวมใน ตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ.

    ผมจะยกเอาตัวผมเองที่เริ่มปฏิบัติธรรมเป็นระบบครั้งแรกเมื่อปี 2526 ในช่วง 2-4 วันที่เกิดสภาวะและความละเอียดของใจที่ภาวนาเป็นอย่างไร.

     ผมได้กล่าวแล้วว่า ผมได้ฝึกดูลมหายใจโดยตลอดเมื่อรู้ตัว คือเมื่อระลึกได้สติจะไปรู้ลมหายใจทันที บางครั้งก็ภาวนาว่า "พุทธ-โธ" ทั้งแต่ปี 2524-2525 คือทั้ง 2 ปี ที่เรียนระดับอุดมศึกษาอยู่ และภายหลังเมื่อได้อ่านหนังสือธรรมในห้องสมุด ตรงพุทธพจน์ที่ตรัสถึง การทำความรู้สึกในอริยาบทน้อยใหญ่ ก็ทำความรู้สึกให้ทันเป็นปัจจุบันกับอริยาบทนั้นๆ เป็นเวลาเป็นปี บวกกับมีสติรู้ลมหายใจ
     -ยังมีอีกในตอนปี 3 ปีสุดท้าย ก็พยายามถือศีล 8 เป็นประจำเกือบทุกวันตามที่สามารถรักษาไว้ได้.
     -ยังมีอีกอย่าง เมื่อเรียนอยู่ชั้น ป.4 (อายุ 11 ปี) ด้วยความระลึกได้ในขณะที่ใจลอยในช่วงที่กำลังเรี่ยนอยู่ในห้องเรียน จึงตั้งปฏิภานว่า จะพยายามมีสติและฝึกโดยไม่ให้ใจลอยอีกเป็นอันขาด ก็ทำได้จริงๆ การเรียนก็ค่อยๆ ดีขึ้น

     เป็นอันว่าพื้นฐานทั้งหมดข้างบนนั้นเจริญขึ้นพัฒนาขึ้นด้วยการเลือกของตัวมันเอง ตามภาวะของการต่อสู่ในความทุกข์ในฐานะทางสังคมกับสิ่งที่ปรารถนาให้เรียนดีขึ้นและหาปัญญาความรู้แม้แลกกับชีวิตของตนเองก็สละได้
     เป็นการดำเนินไปของชีวิตในสังคมแบบพุทธดูเหมือนเป็นธรรมดา จนถึงที่สุดแสวงหาปัญญาความรู้แม้ต้องแลกกับชีวิต.
      
      มาพิจารณากันต่อไปว่า เมื่อผมมีพื้นฐานอย่างนี้แล้วเมื่อเข้ากรรมฐานที่เป็นระบบ ที่ต้องกำหนดภาวนา ตรงกับความหมายของสิ่งที่ปรากฏเด่นชัดให้เท่าทันแล้วลงท้ายด้วยคำว่า "หนอ"  เช่น
      พองหนอ-ยุบหนอ  ได้ยินหนอ รู้หนอ นั่งหนอ ยืนหนอ นอนหนอ ถูกหนอ ดีใจหนอ เสียใจหนอ สบายหนอ อึดอัดหนอ คิดหนอ ฟุ้งหนอ สงบหนอ ง่วงนอนหนอ กำหนดเดินจงกรมทั้ง 6 ระยะ ฯลฯ
       สิ่งที่ผมทำไม่ได้อย่างเดียวคือ กำหนดท้อง พองหนอ-ยุบหนอ ไม่ได้จนถึงปัจจุบัน เพราะสติจะมาอยู่บริเวณจมูกหรือส่วนใบหน้าเสียมากกว่า เนื่องจากฝึกมีสติรู้และรู้ลมหายใจมาทั้งแต่เด็กๆ ติดต่อกันมาอย่างยาวนานนั้นเอง.

      ข้างบนนั้นรูปแบบบัญญัติ เมื่อผมฝึกสติมาตั้งแต่เด็กๆ และมากขึ้นเมื่อเข้าตอนเรียนระดับอดุมศึกษา  การกำหนดสติให้เท่าทันกับสิ่งที่กระทบหรือผัสสะหรือสัมผัสปรากฏกับกายและใจเป็นปัจจุบัน ก็สามารถปฏิบัติได้ทันที ยกเว้น พองหนอ-ยุบหนอ ทำไม่ได้เอาเสียเลย จึงต้องกำหนดสติรู้ลมหายใจเข้าหรือออกเช่นเดิม แต่ทีเหลือกำหนดภาวนาแบบหนอ เท่าทันเป็นปัจจุบันทุกอย่าง.

    เมื่อสติโดนพัฒนามาแล้วเช่นนี้ เมื่อสติไหวเท่าทันเป็นปัจจุบันกับสิ่งที่ปรากฏกับกายหรือใจ ก็จะเท่าทัน กาย เวทนา จิต และธรรม(ธรรมารมณ์ ความนึกคิด) อย่างง่ายอย่างสะดวก.
    เช่น ได้ยินเสียง สติก็วิ่งหรือรับรู้หรือรู้สึกไปยังบริเวณส่วนที่ได้ยินคือส่วนบริเวณของหูที่ได้ยินชัด พร้อมกับคำภาวนาว่า "ได้ยินหนอ ๆ" ทันปัจจุบันและเป็นปัจจุบัน เช่นเดียวกัน เมื่อเกิดความนึกคิดขึ้นมา สติก็จะวิ่งหรือรู้สึกหรือรับรู้ใจ ที่กำลังคิดหรือกำลังจะคิด พร้อมกับคำภาวนาที่ใจว่า "คิดหนอๆ"

     เน้นๆ ให้ทราบว่า ข้างบนนี้ที่บรรยามาทั้งหมดยังเป็นบัญญัติยังไม่เป็นวิปัสสนา แม้ว่าจะมีสติรวดเร็วอย่างไรก็ตามแต่ หวังว่าท่านทั้งหลายคงจัดลำดับแยกความเข้าใจตามที่ผมอธิบายได้นะครับ.

     แต่ด้วยการที่ฝึกรู้สึกตนและมีสติพร้อมทั้งมีอินทรีย์สงวรในระดับที่พอควรมาก่อนในชีวิตช่วงวัยต้นๆ (เรียกว่ายังบริสุทธิผุดผ่องทั้งความประพฤติและความคิด ในวัยใสๆ อยู่ก็ได้) ด้วยมีสติเท่าทันเป็นปัจจุบันก็ย่อมเกิดความแจ่มชัดขึ้นมาว่า.

      สิ่งนั้นปรากฏกับส่วนของกายเกิดผัสสะหรือสัมผัส(เป็นรูป) สติเกิดขึ้นเท่าทันเป็นปัจจุบัน แล้วใจก็รู้ (เป็นนาม) ว่าสิ่งที่ปรากฏนั้นเป็นอย่างไรพร้อมกับคำภาวนากับสิ่งที่ปรากฏนั้นด้วยใจที่รู้ทัน เมื่อเป็นปัจจุบันอย่างนี้กับสิ่งที่ปรากฏขึ้นกับกายและใจ. ก็มีสติสัมปชัญญะ แยกรูป แยกนามได้ ในขณะที่เป็นปัจจุบันและทันปัจจุบันนั้นแหละ ซึ่งก็คือนามรูปปริเฉทญาณ นั้นเอง

    จึงเป็นการเริ่มเป็นสติปัฏฐาน 4 อย่างถูกต้องสมบูรณ์ขึ้นคือ 1.พิจารณากายในกาย 2.พิจารณาเวทนาในเวทนา 3.พิจารณาจิตในจิต 4. พิจารณาธรรมในธรรม

      เช่น พิจารณากายในกาย เป็นอย่างนี้ กาย แรกคือสติเท่าทันกายที่บังเกิดผัสสะหรือสัมผัส กายส่วนที่สองคือ รู้หรือสัมปชัญญะ ถึงสภาพความเป็นจริงที่ปรากฏที่เป็นปัจจุบันขณะนั้นๆ คือรู้ชัดรู้แจ้งกับสิ่งที่ปรากฏเป็นปัจจุบัน ตอนนี้ยังไม่ต้องกล่าวถึงไตรลักษณ์แต่อย่างไร เพราะยังไม่ปรากฏชัดให้เห็นในขณะปฏิบัติ เนื่องจากพละ 5 ยังไม่เจริญขึ้นเท่าที่ควร
 
      ผมจึงบอกแล้วว่าผมเข้าปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานครั้งแรกในชีวิต ใจหรือสติสัมปชัญญะสามารถแยกรูปแยกนามได้ทั้งแต่วันที่ 2 แล้ว.
 
      ในวันที่ 3 ก็จะเห็นเพิ่มเติม คือ บางครั้งเท่าทันความรู้สึกขึ้นก่อน จึงรู้สึกที่กายชัดเจน บางครั้งเท่าทันผัสสะหรือสัมผัสที่กายก่อน จึงรู้สึกชัดถึงใจที่รู้สึก จึงเห็นว่า กายกับใจนั้น เป็นเหตุเป็นปัจจัยกัน ก็คือ รูปและนามนั้นเป็นเหตุเป็นปัจจัยกัน
       บางครั้งสติรู้รูปที่เกิดจากผัสสะหรือสัมผัสก่อน แล้วเกิดนามที่รู้ชัดในภายหลัง
       บางครั้งสติรู้นามความรู้สึกก่อน แล้วไปรู้รูปที่ถูกกระทบหรอผัสสะหรือสัมผัสที่ชัดเจนในภายหลัง.
       บางครั้งสติรู้นามอย่างหนึ่งก่อน แล้วไปรู้นามที่เป็นเหตุของของนามแรกชัดเจนขึ้น ตัวอย่างเช่นนั่งกรรมฐานอยู่แล้วรู้สึก วูบลง แล้วขึ้นมาปกติ เมื่อมีสติเท่าทันก็รู้เท่าทันในขณะหรือช่วงที่อยู่ในอาการที่ วูบเป็นปัจจุบันขณะ ใจก็จะรู้ว่าเกิดจากการง่วงหรือเผลอช่วงขณะนั้นเอง
       นี้ก็คือวิปัสสนาญาณที่ 2 ชื่อว่า ปัจจัยปริคคหาญาณ  ซึ่งญาณนี้พระไตรลักษณ์ยั้งหาได้ปรากฏให้แจ่มชัดไม่ แต่ก็รู้เข้าใจไปตามสามัญลักณะทั่วไปไว้ ว่าไม่เทียง เป็นความเข้าใจทั้วๆ ไป ยังไม่แจ่มชัดที่เป็นปัจจุบันขณะที่กำหนดภาวนาอยู่.

      เป็นอันว่าผมได้ขยายอธิบายรายละเอียดให้ลึกขึ้นให้ละเอียดขึ้น แต่จุดสำคัญจริงๆ แล้วอยู่ที่หลักเบื้องต้น ตามพุทธพจน์จริงๆ เท่านั้นที่ใช้ได้กับทุกๆท่าน นำไปปฏิบัติได้เลยตามพุทธพจน์ เมื่อเจริญในอินทร์ย์ 5 หรือพละ 5 อย่างไม่ทอดธุระ รายละเอียดต่างๆ ก็จะปรากฏขึ้นให้เรียนรู้ไปตามลำดับ ตามธรรมชาติถ้าไม่ถ้อถอยหรือหยุดเสียก่อน

      ส่วนในรายละเอียดของแต่ละคนแต่ละกลุ่มนั้นเป็นเรื่องเฉพาะตนเฉพาะกลุ่มจะไปหักล้างว่าพุทธพจน์นั้นไม่ละเอียดนั้นย่อมไม่ถูกต้อง เพราะพุทธพจน์นั้นครอบคลุมไว้หมดแล้ว และเป็นไปดังที่พุทธองค์ทรงตรัส อย่างไม่คลาดเคลือน. ดังที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสทำนองว่า.

       "ธรรมของพระพุทธเจ้านั้นเปรียบเสมือนรอยเท้าช้าง  ธรรมของพระสาวกต่างๆ เปรียบเสมือนรอยเท้าสัตว์เล็กๆ ที่ปรากฏอยู่ในรอยเท้าช้างนั้นเอง"

         

ตอบโดย: Vicha 06 ก.พ. 52 - 11:15


อ้างอิง
สติสัมปชัญญะ
          [๑๒๓] ดูกรมหาบพิตร อย่างไร ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้ประกอบด้วยสติสัมปชัญญะ? ดูกรมหาบพิตร ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมทำความรู้สึกตัวในการก้าว ในการถอย ในการแล
ในการเหลียว ในการคู้เข้า ในการเหยียดออก ในการทรงสังฆาฏิ บาตรและจีวร ในการฉัน
การดื่ม การเคี้ยว การลิ้ม ในการถ่ายอุจจาระปัสสาวะ ย่อมทำความรู้สึกตัวในการเดิน การยืนการนั่ง การหลับ การตื่น การพูด การนิ่ง
ดูกรมหาบพิตร ด้วยประการดังกล่าวมานี้แล
ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้ประกอบด้วยสติสัมปชัญญะ.



อ้างอิง
1. สติสัมปชัญญะ  คือการทำความรู้สึกตัวในอริยาบทต่างๆ ของร่างกาย
       2. สติปัฏฐาน 4 คือ พิจารณา 1.กาย  2.เวทนา 3.จิต และ 4.ธรรม


อ้างอิง
เมื่อผมมีพื้นฐานอย่างนี้แล้วเมื่อเข้ากรรมฐานที่เป็นระบบ ที่ต้องกำหนดภาวนา ตรงกับความหมายของสิ่งที่ปรากฏเด่นชัดให้เท่าทันแล้วลงท้ายด้วยคำว่า "หนอ"  เช่น พองหนอ-ยุบหนอ  ได้ยินหนอ รู้หนอ นั่งหนอ ยืนหนอ นอนหนอ ถูกหนอ ดีใจหนอ เสียใจหนอ สบายหนอ อึดอัดหนอ คิดหนอ ฟุ้งหนอ สงบหนอ ง่วงนอนหนอ กำหนดเดินจงกรมทั้ง 6 ระยะ ฯลฯ



สวัสดีครับพี่ vicha.

เรื่องสติสัมปชัญญะ, ไม่เ็ห็นระบุให้ทำความรู้สึกตัวใน "การคิด" ครับ? เห็นท่านระบุไว้เพียงให้รู้ความรู้สึกตัวในอิริยาบทต่างๆ เช่น "การเหลียว การดื่ม การเดิน การยืนการนั่ง การหลับ การตื่น การพูด การนิ่ง ฯลฯ",  ดังนั้น, การรู้ความรู้สึกตัวของ "การคิด" (เช่น การคิดว่าจะดื่มอะไร การคิดว่าจะเดินไปไหน การคิดว่าจะพูดอะไร คิดเรื่องการทำงานในขณะทำงาน เป็นต้น) จะไม่เรียกว่าเป็นการเจริญสติสัมปชัญญะ หรือเปล่าครับ

และ การเจริญความรู้สึกตัวว่ากำลังคิด จัดอยู่ในธรรมะหมวดไหน และ จำเป็นต้องเจริญด้วยหรือไม่ (เพราะโดยมากความคิดจะพุ่งคิดไปเลย พอมาระลึกรู้ ก็หลังความคิดเสร็จไปแล้ว)  
 

ตอบโดย: ขออนุญาตของแท้ไม่มีสระอิ 06 ก.พ. 52 - 15:43


สวัสดีครับคุณ ขออนุญาตของแท้ไม่มีสระอิ ผมจะมาอธิบายในวันหลังวันนี้หมดเวลาแล้ว และมีบริษัทมาฉีดปลวกแล้วต้องหนี้.

  ออ. อยู่ในสติปัฏฐาน 4 พิจารณาธรรมในธรรม (พิจารณาธรรมมารณ์ หรือความคิดก็ได้) เอาไว้ต่อในวันหลัง

ตอบโดย: Vicha 06 ก.พ. 52 - 17:14


พี่วิชาครับ

ญาณทั้ง16ขั้นนั้น ถ้าเราไม่ไปใส่ใจมัน
ไม่ไปสนใจมันว่า จะอยู่ในญาณขั้นใดๆ นั้น
จะมีผลใดๆ กับการเจริญสมาธิหรือไม่ครับพี่

ระหว่างญาณทั้ง16ขั้นนั้น
กับลำดับขั้นขององค์ฌาน
พี่ว่าอย่างไหนน่าจะใส่ใจมากกว่ากัน ครับ

เพราะเท่าที่ผมทราบมา จะจริงเท็จอย่างไรนั้น
ขอวานท่านผู้รู้ช่วยอธิบายด้วยอีกทีนะครับ
คือคำว่าญาณทั้ง16ขั้นนั้น
ไม่ใช่คำพูดของพระพุทธเจ้า
แต่เป็นคำพูดของสาวก ที่พูดกันขึ้นมาเอง
และไม่มีคำยืนยันจากพระพุทธเจ้าว่าใช่หรือไม่ใช่แต่อย่างใด

ส่วนคำว่าฌาน คือลำดับตั้งแต่ปฐมฌาน จนถึง สัญญาเวทยิตนิโรธ นั้น
เป็นคำพูดของพระพุทธเจ้า

ที่ผมยกประเด็นนี้ขึ้นมานั้น
มิใช่ที่จะให้เกิดประเด็นถกเถียงว่าใช่หรือมิใช่คำของพระพุทธเจ้า
แต่อย่างใดนะครับ
หรือเพื่อที่จะลบลู่ความน่าเชื่อถือ
ในธรรมที่พี่วิชากำลังนำเสนอนั้น แต่ประการใดนะครับ

เพียงเพราะว่าผมได้ยินมาอย่างนั้น
ก็เลยลองเอามาถามไถ่พี่วิชาและเพื่อนๆดูว่า จริงเท็จอย่างใด

เพราะถ้าไม่ใช่คำกล่าวของพระพุทธเจ้า
เราก็จะได้ระมัดระวังไม่ประมาท
ในการที่จะศึกษาเล่าเรียนในธรรมนั้นๆ
เพราะพระพุทธเจ้าท่านทรงตักเตือนพวกเราเอาไว้ว่า
ควรที่จะให้ความสำคัญคำของตถาคตมากกว่าคำของสาวก

แต่ถ้าใช่ เราก็จะได้ยิ่งเพิ่มความเคารพศรัทธาในธรรมนั้นๆยิ่งๆขึ้นไป
เพียรพยายามที่จะรักษาจดจำถ่ายทอด
คำพยัญชนะนั้นๆให้ตกสืบทอดกันต่อๆไปให้ตราบนานเท่านาน


การที่จะรู้ว่าเป็นคำของพระพุทธเจ้าหรือคำของสาวกนั้น
คงต้องเทียบเอาตั้งแต่ตัวต้นฉบับที่เป็นภาษบาลี
เพราะเราถือว่า พระไตรปิฏกที่เป็นฉบับภาษาบาลีนั้น
เป็นตัวแม่แบบของพระไตรปิฏกที่แท้จริง

และเมื่อแปลมาเป็นฉบับภาษาไทยในรุ่นต่อๆมา
กลับเพิ่มคำบางคำเข้าไป
ซึ่งคำบางคำที่เพิ่มเติมเข้าไปใหม่นั้น
กลับไม่มีอยู่ในฉบับที่เป็นภาบาลีดั่งเดิมเลย...ครับ
 

ตอบโดย: ปล่อยรู้ 06 ก.พ. 52 - 22:42


อ้างอิง
เพราะเท่าที่ผมทราบมา จะจริงเท็จอย่างไรนั้น
ขอวานท่านผู้รู้ช่วยอธิบายด้วยอีกทีนะครับ
คือคำว่าญาณทั้ง16ขั้นนั้น
ไม่ใช่คำพูดของพระพุทธเจ้า
แต่เป็นคำพูดของสาวก ที่พูดกันขึ้นมาเอง
และไม่มีคำยืนยันจากพระพุทธเจ้าว่าใช่หรือไม่ใช่แต่อย่างใด


(ตอบ คุณ ปล่อยรู้)

เรื่อง วิปัสสนาญาณ นั้น
ท่าน "พระธรรมเสนาบดี สารีบุตร" ได้แสดงไว้ใน
"ปฏิสัมภิทามรรค" นะครับ

คำสอนของเหล่าพระอรหันตสาวกทั้งหลาย
คุณ ปล่อยรู้ มิควรกล่าวว่า "ไม่ใช่คำพูดของพระพุทธเจ้า"

ครั้งหนึ่ง พระพุทธองค์ทรงแสดงธรรมโดยย่อ
หลังจากนั้น พระมหากัจจายนะ ได้ทรงแสดงให้พิศดาร
แก่ภิกษุท่านอื่นๆที่สงสัย


พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย
พระมหากัจจานะเป็นบัณฑิต เป็นผู้มีปัญญามาก
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าแม้พวกเธอจะถามเนื้อความนี้กะเรา
แม้เราก็จะพึงพยากรณ์เนื้อความนั้น เหมือนกับที่
พระมหากัจจานะพยากรณ์แล้วนั้น นี่แหละเป็นเนื้อความแห่งข้อนั้น
เธอทั้งหลายจงจำทรงข้อนั้นไว้เถิด.

http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/r.php?B=12&A=3752&w=%C1%B8%D8%BB%D4%B3%B1%D4%A1%CA%D9%B5%C3


นับตั้งแต่กาลที่พระศาสดาทรงอนุโมทนาแล้วอย่างนี้
"พระสุตตันตะทั้งสิ้น รวมทั้งปฏิสัมภิทามรรค"
ย่อมได้ชื่อว่าเป็น "พุทธภาษิต"
แม้พระสูตรที่พระอานนทเถระ หรือพระสารีบุตร
แสดงให้พิสดารแล้ว   ก็ถือเอาตามนัยนี้เช่นกัน



---------------------------------------------------------------------


เรื่องวิปัสสนาญาณ มีแสดงใน

พระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๑  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๓
ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค

ดังนี้ครับ


สัมมสนญาณ
http://84000.org/tipitaka/read/?31/99-102

อุทยัพพยญาณ
http://84000.org/tipitaka/read/?31/103-111

ภังคญาณ
http://84000.org/tipitaka/read/?31/112-114

ภยญาณ
อาทีนวญาณ
นิพพิทาญาณ
http://84000.org/tipitaka/read/?31/115-119
http://84000.org/tipitaka/read/?31/507

มุญจิตุกมยตาญาณ
ปฏิสังขาญาณ
สังขารุเบกขาญาณ
http://84000.org/tipitaka/read/?31/120-123
http://84000.org/tipitaka/read/?31/508


----------------------------------------------------------------

ส่วน ฌาน หรือ ญาณ(ปัญญา) นั้น
ต่างก็เป็นกุศลธรรมที่ควรเจริญและมีประโยชน์ทั้งคู่
ดังที่พระพุทธองค์ทรงตรัสไว้ว่า

ฌานย่อมไม่มีแก่ผู้ไม่มีปัญญา ปัญญาย่อมไม่มีแก่ผู้ไม่มีฌาน
ฌานและปัญญามีในผู้ใด ผู้นั้นแลอยู่ใกล้พระนิพพาน

ตอบโดย: Beckham 07 ก.พ. 52 - 00:17


         อนุโมทนากับคุณวิชาที่เล่าประวัติการปฏิบัติธรรมทำให้รู้ว่ามาจากฐานการฝึกสติโดยใช้คำบริกรรม หนอกำกับ   ผมก็เคยฝึกอย่างนี้มาแต่เด็กเช่นกัน  หลังจากนั้นด้วยความที่ไม่พยายามจะยึดติดรูปแบบ  วิธีการ  สาย  บุคคล  ครูบาอาจารย์  จนเกินไป  ผมได้มีโอกาสไปศึกษา ฝึกหัดปฏิบัติ  กับครูบาอาจารย์อีกหลายท่านหลายแบบหลายวิธีที่ดังๆเด่นๆ และที่ไม่ดังไม่เด่นซ่อนลึกอยู่ตามเขาตามป่า
              จนสุดท้ายได้มาพบเจอหลวงพ่อธี (เวบportee.in.th)  หลวงพ่อได้ให้ข้อคิดสะกิดใจที่สำคัญที่ทำให้ผมได้กลับไปสู่ฐานเดิมของธรรมมะ  คือรับคำสอนตรงๆจากพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้ามาใคร่ครวญพิจารณา และปฏิบัติตามคำแนะนำตรงๆของพระศาสดาโดยใช้ความรู้จาก 2 - 3 สูตรเท่านั้นเองเป็นหลักในการเจริญธรรมและเผยแพร่ธรรมในปัจจุบัน  คือ  ธัมจักกัปปวัตนสูตร  อนัตตลักขณสูตร  สติปัฏฐานสูตรธรรมดา  เท่านี้ก็เพียงพอแล้ว  ส่วนสูตรอื่นๆก็ยกมาประกอบบ้างเป็นบางครั้งเท่านั้น  พระไตรปิฏก ก็มีโอกาสได้ศึกษาตอนม.ปลาย อ่านแบบผ่านๆ ทั้ง 3 ปิฏก จบไป 3 รอบ  จนมาเกิดความคิดและปฏิปทาว่าจะทำอย่างไรที่จะประมวลคำสอนของพระพุทธเจ้าทั้ง 84,000 พระธรรมขันธ์ มาย่นย่อให้งายต่อการเรียนรู้เข้าใจ ลัดสั้น ตรง  เป็นสากล ใครๆก็ฟังรู้เรื่อง และเป็นความรู้เพื่อการปฏิบัติจริงให้ได้รับผลจริงๆทันในปัจจุบันชาตินี้  ก็มาได้พบหลวงพ่อธีนี้แหละที่ท่านอธิบายได้ดีเยี่ยมถึงที่สุดแห่งการย่อคำสอนของพระพุทธเจ้า  เพราะท่านสอนโดยสรุปว่า พระไตรปิฏกทั้งหมดนั้นย่อลงมาเหลือ  "อนัตตา" คำเดียว  งานของชาวพุทธคือ  ค้นหาให้พบ  อนัตตา   พิสูจน์ อนัตตา  พิสูจน์คำสอนของพระพุทธเจ้าให้ได้ว่าที่พระองค์ทรงตรัสสรุปธรรมของพระองค์ไว้ว่า  "สัพเพธัมมา  อนัตตา"  นั้นจริงหรือไม่  ถ้าพิสูจน์ได้ ใจยอมรับ ก็จะได้เข้าถึงสภาวะอนัตตา  สวยผลแห่งการเข้าถึงอนัตตา  คือนิพพาน ทันในปัจจุบันชาตินี้
        กระบวนการในการพิสูจน์อนัตตา ก็คือการเจริญมรรค 8  หรือวิปัสสนาภาวนาอันเป็นพุทธวิชาและเป็นเอกลักษณ์ของพุทธศาสนานั้นเอง  เทคนิคในการเจริญมรรค 8 นั้นหลวงพ่อก็สอนไว้ง่ายๆ สำหรับคนทั่วไป  สำหรับปัญญาชนท่านก็สอนเทคนิคอีกอย่างหนึ่งซึ่งก็ง่ายๆอีกเช่นกัน  สนใจก็ลองไปสัมผัสดูนะครับ

             คำพูดที่ผมประทับใจหลวงพ่อมากคือ  ท่านมักจะพูดอยู่เสมอในช่วงแรกๆ ที่ท่านลงมาจากป่า  ท่านบอกว่า  ใครมาศึกษาปฏิบัติธรรมกับท่านแล้วขออย่าให้มายึดติดท่าน อย่าให้มีคำว่า "การปฏิบัติสายหลวงพ่อธี"   หลวงพ่อธีไม่ได้ค้นพบอะไรใหม่ๆ บัญญัติอะไรใหม่ๆขึ้นมา  ธรรมมะทั้งหมดที่นำมาสอนนั้นเป็นสิ่งที่พระพุทธเจ้าทรงค้นพบและนำมาสั่งสอนหลวงพ่อธีเพียงไปพิสูจน์ธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้าจนถึงที่สุดได้รับผลสูงสุดประจักษ์แก่ใจตนเองแล้วจึงนำคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามาอรรถาธิบายแจกแจงเล่าสู่ผู้คนทั้งหลายที่สนใจอยากจะศึกษาและประพฤติปฏิบัติโดยหวังให้เกิดผลทันในปัจจุบันชาตินี้ ได้ฟัง ได้ศึกษาและลงมือปฏิบัติ
             ดังนั้นจึงไม่มีการปฏิบัติสายหลวงพ่อธี  ถ้าใครมาถามหาสายการปฏิบัติให้ตอบไปว่า  "สายโคตมะ  คือสายพระพุทธเจ้านั่นเอง"  เพราะไม่มีคำสอนอันใดที่นอกเหนือไปจากคำสอนของพระพุทธเจ้า  ยิ่งไม่เอามามากสูตร โอกาสออกนอกคำสอนก็ยิ่งน้อย  อย่าหลวงพ่อทุกวันนี้ก็เอาความในอนัตตลักขณสูตรบทเดียวมาเน้นสอน ให้ทุกคนรู้จักเทคนิคการพิสูจน์อนัตตา เท่านั้นเอง   ดังนี้

                   ใครอยากรู้จักเทคนิคการพิสูจน์อนัตตา ก็ลองไปสัมผัสสนทนาธรรมกับหลวงพ่อดู หลวงพ่อจะอยู่ที่ไหน เวลาไหน ก็เชิญไปค้นหาดูได้จากเวบไซด์ที่แจ้ง  หรือจะลองมาศึกษากับ อโศกะก็ได้นะครับ มีเอกสารและซีดี แจกฟรี  แจ้งที่อยู่ไปให้ก็แล้วกันครับที่ [email protected] ครับ
                 คุยกับคุณวิชาแล้วสบายใจ คงได้พบคุยกันในกระทู้ต่างๆต่อไปนะครับ  ผลการคุยก็คงจะเป็นประโยชน์กับทุกท่านที่เข้ามาอ่านบ้างนะครับ  ช่วยกันเผยแพร่ธรรมนะครับ  สวัสดี  อนุโมทนา

ตอบโดย: อโศกะ 07 ก.พ. 52 - 04:24


 สวัสดีครับ คุณขออนุญาตของแท้ไม่มีสระอิ คุณปล่อยรู้ คุณBeckham คุณอโศกะ.

    มีวันหยุดยาวเสีย 3 วันแถมตรงกับวันพระใหญ่ มาฆบูชา จึงไม่ได้เข้าเน็ตเลย วันนี้ก็ได้มีโอกาสสนทนาต่อ.
 
    ผมขอเอาเรื่องจากที่คุณ ขออนุญาตของแท้ไม่มีสระอิ ตั้งข้อสังเกตค้างไว้ เรื่องความคิดนั้น ไม่มีในพระไตรปิฎก ที่ให้มีสติรู้เท่าทัน ที่เป็นภาษาชาวบ้านธรรมดาเหมือนพิจารณากายในกาย หรือการทำความรู้สึกในอริยาบทต่างๆ.

    ผมได้ตั้งประเด็นไว้แล้วในความเห็นเก่าคือ  ความคิดนั้นอยู่ใน เรื่องของธรรมมารมณ์ ดังนั้น ก็ย่อมอยู่ในสติปัฏฐาน 4  ข้อที่  พิจารณาธรรมในธรรม.

     ในการกำหนดภาวนาเกี่ยวกับความคิด นั้นต้องแบ่งออกเป็น 2 หลักใหญ่ คือ.
          1.ความคิดเกี่ยวกับหรือตรงกับกิจกรรมที่กำลังทำ
          2.ความคิดที่ไม่เกียวกับหรือไม่ตรงกับกิจกรรมที่กำลังทำ

      ความคิดตามข้อที่ 1 ไม่จำเป็นต้องไปกำหนดภาวนาย้ำไปอีกที เพราะเป็นความคิดที่รู้หรือที่ภาวนาตามสภาพความเป็นจริงที่ปรากฏอยู่แล้ว
      ความคิดตามข้อที่ 2 ต้องกำหนดภาวนาต้องมีสติเท่าทัน จึงจะมีสติรู้ในสภาพแห่งความเป็นจริงที่กระทำอยู่ ตัวอย่างเช่น เรานั่งกรรมฐานอยู่ กำหนดท้องพองหนอ-ยุบหนออยู่ หรือกำหนดมีสติรู้ลมหายใจเข้าหรือออกอยู่  แล้วเกิดเผลอไปคิดเรื่องโน้นเรื่องนี้นี้ ตรงนี้แหละต้องมีสติรู้เท่านั้นกับจิตที่คิดนั้น แล้วภาวนาว่าคิดหนอๆ หรือฟุ้งหนอๆ จนวางคลายหายไปแล้วกลับมากำหนดหนดกรรมฐานดังเดิมตามสภาวะที่เป็นจริง.

      กรณีพิเศษคือการมีความคิด ติดแน่นในสภาวะของกิเลส เช่นความเศร้าใจ ความโกรธ ความเสียใจ ฯลฯ  ซึ่งจิตจะมุ่งคิดปรุงแต่งอาการเหล่านี้ให้เกิดเพิ่มขึ้น หรือรักษามันไว้ให้เกิดความคิดอยู่กับมันเรื่อยๆ เหมือนไม่จบสิ้น จนทุกข์ร้อน.
       เมื่อเป็นกรณีอย่างนี้ก็ต้องรู้จักกำหนดภาวนา ว่าคิดหนอๆ หรือฟุ้งหนอๆ และรู้จักปล่อยวางจนเป็นความสักแต่รู้ได้ ความคิดความสับสนความร้อนรนนั้นก็จะหายไป.

       เป็นอันว่า ความคิด ก็อยู่ในหมวดของ ธรรมมารมณ์ คือ พิจารณาธรรมในธรรม นั้นเอง
      

ตอบโดย: Vicha 10 ก.พ. 52 - 09:51


ต่อไปสนทนากับคุณปล่อยรู้ครับ.

       สวัสดีครับคุณปล่อยรู้   จริงครับที่ผู้ปฏิบัติไม่จำเป็นต้องรู้ว่า ชื่อบัญญัติ ของญาณหรือของฌานเลยก็ได้ครับ เมื่อปฏิบัติถูกต้องปรับอินทรีย์ 5 แห่งตนได้ ก็จะถึงที่สุดแห่งธรรมหรือละกิเลสได้.

       ดังที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสไว้ทำนองนี้(จำได้คร่าวๆ)  เปรียบเสมือนชาวสวนหรือชาวนาที่ใช้มีด ถางหญ้าหรือตัดกิ้งไม้ทุกวัน เมื่อตัดมาเป็นเดือนๆ ก็รู้ว่าด้ามมีดนั้นเริ่มสึกลงเป็นธรรมดา เช่นเดียวกับผู้ที่ปฏิบัติธรรม เมื่อปฏิบัติถูกทางเมื่อเวลาผ่านไปก็ย่อมรู้ว่ากิเลสนั้นลดลง โดยที่ไม่จำเป็นต้องไปรู้ชื่อบัญญัติว่าฌานโน้นฌานนี้หรือญาณโน้นญาณนี้ก็ได้.

       แต่ก็ยังมีเงื่อนไขอยู่นะครับคุณปล่อยรู้ ดังมีเรื่องที่มีพระเถระ 2 รูป เป็นเพื่อนกัน รูปหนึ่งศึกษาทองจำพุทธพจน์ให้แตกฉานอย่างเดียวและสั่งสอนมีลูกศิลย์มากมาย อีกรูปหนึ่งพอได้มูลฐานของกรรมฐานจากพระพุทธเจ้าและอาจารย์แล้วออกไปอยู่ป่าปฏิบัติธรรมอย่างเดียว.
       พระเถระรูปที่อยู่ป่า เมื่อปฏิบัติธรรมมาอย่างยาวนานจนไม่มีอะไรแล้ว แต่ก็ไม่เข้าใจว่ามีชื่อในทางบัญญัติว่าเป็นอะไรบ้าง  จึงคิดถึงพระเพื่อนขึ้นมาเพือจะไปสอบถาม ถึงชื่อบัญญัติในสภาวะต่างๆ ที่ตนผ่านมา.

      แต่ในณ.ที่นั้นพระพุทธเจ้าทรงอยู่ด้วย พระพุทธเจ้าจึงวางพระองค์เป็นผู้วินิสัยให้ ระหว่างพระเถระทั้งสองรูป  โดยพระพุทธเจ้าตร้สให้พระเถระที่อยู่เมื่องได้สาธยายความรู้ที่ตนรู้มาให้พระพุทธเจ้าได้ฟัง
      เมื่อพระเถระที่อยู่เมื่องสาธยายความรู้ที่จำได้หมายรู้เป็นลำดับ ฝ่ายลูกศิลย์ของท่านต่างๆ ก็ สาธุๆ  ตามหัวข้อที่จบลงในแต่ละหัวข้อ ที่พระอาจารย์ตนบรรยาย  แต่พระพุทธเจ้านั้นนิ่งได้ทรงตรัสอะไรเลย.

       หลังจากนั้นเมื่อพระพุทธเจ้าทรงตรัสบอกกับพระเถระที่ปฏิบัติกรรมฐานอยู่ในป่า เล่าเรื่องการปฏิบัติธรรมของตนทั้งแต่เริ่มต้นไปตามลำดับ.
       เมื่อพระเถระนั้นเล่าสภาวะธรรมที่เป็นฌานที่ 1.  พระพุทธเจ้าก็ทรงกล่าวคำว่า "สาธุ สาธุ" แล้วตรัสบอกในที่ประชุมว่า นั้นเป็นฌานที่ 1.
       เมื่อพระเถระเล่าต่อถึงสภาวะธรรมฌานที่ 2.  พระพุทธเจ้าก็ "สาธุ สาธุ" แล้วตรัสว่านั้นเป็นฌานที่ 2.
      .....
      .....
      .....
       เมื่อพระเถรเล่าต่อถึงสภาวะธรรมที่เป็นโสดาบันติมรรค  พระพุทธเจ้าก็ "สาธุ สาธุ" แล้วตรัสว่านั้นเป็นโสดาบันติมรรค.
       เป็นอย่างนี้ไปเรื่อยๆ จนถึงพระอรหันติผล   โดยที่ฝ่ายพระเถระที่อยู่เมืองกับศานุศิลย์ต้องเงียบกริบ ได้ยินแต่เสียงสาธุ ของพระพุทธเจ้า กับที่พระพุทธองค์ทรงตรัสบอกชื่อของสภาวะธรรมที่ปรากฏกับพระเถระที่อยู่ป่านั้นตามลำดับ.

      หมายเหตุ ดังนั้นที่คุณปล่อยรู้บอกว่าไม่จำเป็นต้องรู้ชื่อของญาณทั้ง 16 ก็ปฏิบัติได้ถูกทางเหมือนกันก็เป็นการกล่าวถึงถูกได้เหมือนกัน. แต่ผู้ปฏิบัตินั้นต้องมีสภาวะธรรมที่ต้องผ่านทั้ง 16 ญาณนะครับ แม้จะไม่จำเป็นต้องรู้ว่ามีชื่ออะไรก็ตามแต่
     แต่ถ้าบอกว่าไม่จำเป็นต้องรู้ไม่จำเป็นต้องมีไม่จำเป็นต้องผ่านสภาวะธรรมทั้ง 16 ญาณ แล้วบรรลุเป็นพระอริยได้ นั้นย่อมไม่ถูถต้อง และไม่ถูกต้องตามหลักเหตุและผล.

      และสุดท้าย ผมขอบคุณที่คุณ Beckham ที่เสนอและนำธรรมมาแสดงเพิ่มขึ้นนะครับ.
       

ตอบโดย: Vicha 10 ก.พ. 52 - 10:32


  สวัสดีครับคุณอโศกะ  แนวทางปฏิบัติธรรมในพุทธศาสนานั้นมีหลากหลายแนว และแต่ละคนแต่ละท่าน ก็มีพื้นฐานต่างๆ กัน. หรือกล่าวอีกอย่างคือมีบารมีสะสมมาต่างๆ กัน จึงเกิดแนวปฏิบ้ติธรรมหลายแนว ตามจริตแต่ละกลุ่มชน.

    เมื่อแสวงหานิพพานเป็นที่ตั้ง หรือปฏิบัติธรรมแล้วปรารถนานิพพานเป็นที่ตั้ง เมื่อเข้ามาในวงปฏิบัติของพุทธศาสนา ก็ค่อยๆ ปฏิบัติ ก็ย่อมค่อยๆ ขยับไปสู่ในแนวที่ตนเองเหมาะสมและปฏิบัติได้ดีเป็นธรรมดาครับ.

 

ตอบโดย: Vicha 10 ก.พ. 52 - 10:43


สวัสดีครับ พี่Beckham.

คำของพระพุทธเจ้า ก็ย่อมเป็นคำของพระพุทธเจ้า
ส่วนคำของสาวก ก็ย่อมเป็นคำของสาวก

น่าจะแยกให้ชัดเจน มิใช่หรือ ครับ

ระดับภูมิชั้นปัญญาของพระพุทธเจ้ากับสาวกนั้น
ย่อมมิอาจเทียบกันได้ มิใช่หรือ ครับ

โอกาศผิดพลาดในธรรมของสาวกย่อมมีโอกาสที่จะเป็นไปได้ มิใช่หรือ ครับ

ท่านพระสารีบุตรเอง
ก็มีบ่อยครั้ง ที่ต้องกลับไปถามกับพระพุทธเจ้าเพื่อความแน่ใจ...

การแยกแยะระหว่างคำสอนของพระพุทธเจ้า กับ คำสอนของสาวก
ออกจากกันให้ชัดเจนนั้น ผมมองเห็นว่ามีแต่ส่วนดีเท่านั้น
หาได้ทำให้เกิดโทษอันใดแต่อย่างใดไม่

แต่การไม่แยกแยะระหว่างคำใดเป็นคำสอนของพระพุทธเจ้า
กับคำใดเป็นคำกล่าวของสาวก นั้น
ผมกลับมิความเห็นว่า โอกาสที่จะเกิดความเสียหายย่อมมีโอกาสที่จะเป็นไปได้สูง

เพราะเราจะเห็นว่า มีการเพิ่มเสริมเติมคำ เติมพยัญชนะใหม่ๆเข้ามา
แล้วชนรุ่นหลังๆ ก็ไม่ทราบว่า  คำใดเป็นคำของพระพุทธเจ้า คำใดเป็นคำของสาวก บ้าง

พระพุทธเจ้าเอง ท่านก็ทรงเตื่อนเอาไว้แล้วมิใช่หรือครับว่า
ธรรมและวินัยที่ท่านทรงบัญญัติไว้ดีแล้วนั้น
ไม่สมควรที่เพิ่มเติมเสริมอะไรๆเข้าไปใหม่

ถ้าเป็นการเพิ่ม เสริมเติม ในระหว่างที่พระองค์ยังทรงพระชนม์ชีพอยู่นั้น
ก็ไม่เป็นไร เพราะยังมีโอกาสที่จะไต่ถามกับพระองค์ได้โดยตรงว่าควรหรือไม่ควร
ใช่หรือไม่ใช่...

ถือว่าเป็นการปรึกษาหารือกันนะครับพี่Beckham
ผมเข้าใจว่า พี่เองนั้นก็คงให้ความเคารพศรัทธา
ในองค์พระสัมมาสัมพระพุทธธมากกว่าอรรถกถาจรย์ อยู่แล้ว ใช่ไหมครับ

ตอบโดย: ปล่อยรู้ 10 ก.พ. 52 - 22:57


สวัสดีครับพี่วิชา

กราบขอบพระคุณพี่เป็นอย่างยิ่งครับ
ที่กรุณาช่วยอธิบายธรรมชี้แจงแลกเปลี่ยนธรรมให้เข้าใจยิ่งขึ้น ครับ

แต่ผมยังคงมีมีความข้องใจในญาณทั้ง16ขั้นนั้นอยู่
เพราะพี่เบรคแฮมบอกว่า มิใช่เป็นคำกล่าวของพระพุทธเจ้า
แต่เป็นคำกล่าวของสาวก

ผมเองนั้นไม่ติดใจใน สิ่งที่พี่วิชาบอกว่า
ผู้ที่จะบรรลุธรรมอริยะได้นั้น
จำเป็นจะต้องผ่านสภาวะธรรมทั้ง16ญาณนั้น
ว่าจะใช่หรือไม่ใช่ จริงหรือไม่จริง

ผมเพียงแต่ต้องการความมั่นใจว่า
การจะบรรลุธรรมอริยะได้นั้นจะต้องผ่านสภาวะธรรมทั้ง16ขั้นนั้น
เป็นคำกล่าวของสาวก
มิใช่คำกล่าวของพระพุทธเจ้า

ส่วนจะเป็นเรื่องจริงตามคำกล่าวของสาวกหรือไม่นั้น
คงต้องเป็นเรื่องที่จะต้องไปพิสูจน์กันเอาเอง...

ขอพี่วิชาเจริญในพุทธธรรมยิ่งๆขึ้นไป ครับ

 

ตอบโดย: ปล่อยรู้ 10 ก.พ. 52 - 23:18


อ้างอิง
ระดับภูมิชั้นปัญญาของพระพุทธเจ้ากับสาวกนั้น
ย่อมมิอาจเทียบกันได้ มิใช่หรือ ครับ

โอกาศผิดพลาดในธรรมของสาวกย่อมมีโอกาสที่จะเป็นไปได้ มิใช่หรือ ครับ
(คุณ ปล่อยรู้ใน ความเห็นที่ 53)

ครับ ปัญญาของพระสารีบุตร
ย่อมมิอาจเทียบได้กับ
ปัญญาของพระพุทธองค์

แต่อย่าลืมนะครับ พระองค์ทรงตรัสว่า
เว้นพระปัจจเจกพุทธเจ้าแล้ว จะหาบุคคลใด
มีปัญญาเสมอพระสารีบุตรไม่ได้เลย

สิ่งที่พระสารีบุตรแสดง
พระพุทธองค์ย่อมทราบดีในเรื่องนั้นแน่นอน

และสิ่งที่ "พระธรรมเสนาบดีสารีบุตร มหาอัครสาวก"
แสดงไว้ย่อมเป็นสัจธรรมเสมอ

การแสดงของคุณปล่อยรู้
มีเจตนาเพื่อให้พุทธบริษัทมีความเคลือบแคลง
ในธรรมที่พระสารีบุตรแสดง

ระวังหน่อยนะครับ
เพราะอาจจะเป็นโทษแก่ตนเอง
(ที่เตือนบ่อยๆ นี้ก็ด้วยความหวังดีนะครับ)
 

อ้างอิง
โอกาศผิดพลาดในธรรมของสาวกย่อมมีโอกาสที่จะเป็นไปได้ มิใช่หรือ ครับ

ท่านพระสารีบุตรเอง
ก็มีบ่อยครั้ง ที่ต้องกลับไปถามกับพระพุทธเจ้าเพื่อความแน่ใจ...


ขอให้ยกหลักฐานมาประกอบได้ไหมครับ
ว่าพระสารีบุตรแสดงธรรมผิดพลาดในที่ใดบ้าง

เพราะเท่าที่จำได้ก็มีไม่กี่เรื่องเท่านั้น เช่น
พระสารีบุตรให้กรรมฐานไม่เหมาะแก่จริตของภิกษุรูปหนึ่ง
ซึ่งไม่ได้บ่งบอกที่ใดเลยว่าท่าน แสดงธรรมผิดเพี้ยน

ตอบโดย: Beckham 11 ก.พ. 52 - 01:13


สวัสดีครับคุณปล่อยรู้ และคุณ Beckham

   สนทนากับคุณปล่อยรู้ก่อนนะครับ.. วิปัสสนาญาณหรือญาณต่างๆ ในการปฏิบัติวิปัสสนานั้นมีกล่าวไว้ในพระไตรปิฎกตามที่คุณ Beckham นำเสนอข้อมูล แต่หาได้ครบที่เดียวทั้ง 16 ญาณ จะอยู่เป็นกลุ่มหรือส่วนแยกกัน ในพระไตรปิฎกนั้นก็มี
    
อ้างอิง
สัมมสนญาณ
http://84000.org/tipitaka/read/?31/99-102

อุทยัพพยญาณ
http://84000.org/tipitaka/read/?31/103-111

ภังคญาณ
http://84000.org/tipitaka/read/?31/112-114

ภยญาณ
อาทีนวญาณ
นิพพิทาญาณ
http://84000.org/tipitaka/read/?31/115-119
http://84000.org/tipitaka/read/?31/507

มุญจิตุกมยตาญาณ
ปฏิสังขาญาณ
สังขารุเบกขาญาณ
http://84000.org/tipitaka/read/?31/120-123
http://84000.org/tipitaka/read/?31/508


ตามที่คุณ Beckham เสนอจริงๆ ครับ.
และที่ผมอ่านเจอในพระไตรปิฎกพอจำได้ลางๆ ก็วิปัสสนาญาณต่อจากนั้นก็มี

อนุโลมญาณ  โคตรภูมิญาณ  มรรคญาณ .....

คือน่าจะมีครบทั้ง 14 ญาณ (เริ่มจากญาณที่ 3 ถึง 16)
เพียงแต่ญาณที่ 1และญาณที่ 2.  คือนามรูปปริเฉทญาณ ปัจจัยคหญาณ ไม่มีในพระไตรปิฎกที่กล่าวไว้ชัดเจน เท่านั้นครับ.

   และผมขอเน้นย้ำทั้งคุณ ปล่อยรู้และคุณ Beckham เป็นธรรมดาของผู้ที่ชื่อตรงต่อพุทธพจน์และคำสังสอนของมหาสาวก ย่อมมีมุมมองในเรื่องข้อมูลแบบหนึ่ง ส่วนผู้ที่ถือตามเหตุและผลก็ย่อมมีมุมมองในเรื่องข้อมูลเป็นอีกแบบหนึ่งเป็นธรรมดานะครับ.

  

ตอบโดย: Vicha 11 ก.พ. 52 - 10:46


สวัสดีครับพี่Beckham

ขออนุญาตปฏิเสธข้อกล่าวหาของพี่ก่อนนะครับ...

ปล่อยรู้ หาได้มีเจตนาที่จะทำให้พุทธบริษัท
เกิดความเคลือบแคลงใดๆ
ในระดับภูมิปัญญาของสาวกท่านใดๆ แต่อย่างใดทั้งสิ้นเลย ครับ

ธรรมใดๆก็ตาม ที่เหล่าบรรดาสาวกได้กล่าวไว้นั้น
ผมไม่กล้าที่จะบังอาจเอื้อม ลบลู่หรือดูหมิ่น แต่ประการใดๆ

ด้วยระดับภูมิปัญญาของผมเองแล้ว
เทียบมิได้เลยกับธรรมของสาวก
ที่มีกล่าวเอาไว้ในพระไตรปิฏก...


ประเด็นที่ผมนำเสนอแลกเปลี่ยนกันนี้นั้น
มิได้มาจ้องจับผิดคำของสาวกแต่อย่างใดครับพี่

เพียงเพราะผมต้องการที่จะทราบว่า ญาณทั้ง16ขั้นนั้น
เป็นคำกล่าวของพระพุทธเจ้าหรือเปล่า เท่านั้นเอง ครับ

ขอบคุณในความหวังดีของพี่ที่มีให้มา ครับ



ในเมื่อญาณทั้ง16ขั้นนั้น
มิใช่คำกล่าวของพระพุทธเจ้า

ประเด็นที่จะนำมาสนทนาแลกเปลี่ยนมุมมองเกี่ยวกับเรื่องญาณทั้ง16ขั้นนั้น
น่าจะเป็นประเด็นที่ว่า

อะไรเป็นเหตุปัจจัย
ที่ทำให้เกิดญาณทั้ง16ขั้นนั้น เกิดมีขึ้นมา

ญาณทั้ง16ขั้นนั้น
เป็นธรรมที่อาศัยเหตุปัจจัยปรุงแต่งหรือไม่อย่างไร

ญาณทั้ง16ขั้นนั้น เกิดขึ้นมาจากอะไร
อะไรเป็นมูลเหตุที่ทำให้เกิดญาณทั้ง16ขั้น

ญาณทั้ง16ขั้นนั้น
สมควรที่จะยึดมั่น ถือมั่นว่าเป็นเรา
ว่าเป็นของเรา ว่าเป็นตัวตนของเรา หรือไม่อย่างไร...

คงเป็นประเด็นที่ผมคงต้องขอความเมตตา กรุณา
จากพี่ทั้งสอง ช่วยอธิบายชี้แนะนำถึงสภาวะธรรมทั้ง16ขั้นนั้น
ในโอกาสต่อไป นะครับ

ผมเข้าใจว่า การสนทนาแลกเปลี่ยนอธิบายธรรมทั้ง16ขั้นนั้น
คงยังไม่ออกนอกกรอบของกระทู้
ในหัวข้อธรรมสติสัมปชัญญะ สติปัฏฐาน4 อินทรีภาวนา แต่อย่างใดนะ ครับ






 

ตอบโดย: ปล่อยรู้ 11 ก.พ. 52 - 22:25


ตัวธรรมที่เข้าไปรับรู้ ญาณทั้ง16ขั้นนั้น คือตัวธรรมใด
เป็นตัววิญญาณ หรือว่าตัวสติ หรือว่ามิใช่ทั้งสองตัวนี้ ครับ

เมื่อได้ผ่านญาณทั้ง16ขั้นที่ว่านั้นแล้ว
ทำให้บรรลุธรรม เห็นธรรม
เหมือนอย่างที่พระพุทธเจ้าบอกว่า
"ผู้ใดเห็นปฏิจจสมุปบาท ผู้นั้นเห็นธรรม"
เป็นไปลักษณะเดียวกัน ใช่ไหมครับ...

 

ตอบโดย: ปล่อยรู้ 11 ก.พ. 52 - 22:36


ญาณทั้ง16ขั้น แต่ละขั้นมี Definition ใช่มั้ยครับ
ไม่ทราบมีท่านใดเคยค้นบ้างหรือยัง ว่า
Definition ของญาณแต่ละขั้นนั้น มีกระจายเป็นพุทธพจน์อยู่ที่ใดบ้าง
น่าสนใจ น่าค้นๆดูเหมือนกัน
เราอาจมัวหลงกับชื่อญาณบ้าง ขั้นของญาณบ้าง
แต่ไม่ได้สนใจพุทธพจน์ มากมายในพระไตรปิฎก
ที่บรรยายรายละเอียด ที่เป็นความหมายจริงๆของญาณเหล่านั้นก็ได้
 

ตอบโดย: TemplarKnight 11 ก.พ. 52 - 22:57


(ตอบ คุณปล่อยรู้)

ผมว่า ก่อนที่จะมาถามนี้
คุณปล่อยรู้  น่าจะรู้ดีอยู่แล้วว่า
เรื่องวิปัสสนาญาณ  นี้มีแสดงใน
"ปฏิสัมภิทามรรค" ซึ่งเป็นคัมภีร์
ที่แสดงโดยพระสารีบุตร

ผมขอถามคุณปล่อยรู้กลับว่า
มีพระพุทธพจน์ที่ใดที่แสดงว่า เรื่อง วิปัสสนาญาณ
"ไม่ใช่คำสอนของพระพุทธเจ้า" ครับ

-----------------------------------------------------------

พระสารีบุตรเปรียบเสมือน "อัครมหาเสนาบดี"
แห่งกองทัพธรรม ของพระพุทธองค์ ดังนั้น
การประกาศธรรมของพระสารีบุตร ก็ย่อมเป็น
การประกาศธรรมของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

ระวังนะครับ การค่อยๆบั่นทอน ศรัทธาในพระไตรปิฎก
โดยอ้างว่า นี่ก็ไม่ใช่คำพูดพระพุทธเจ้า
นั่นก็ไม่ใช่คำพูดพระพุทธเจ้า ต่อไปมิต้องฉีก
พระไตรปิฎกออกสัก ๔๐ เปอร์เซนต์ หรือครับ

การรักษาพุทธพจน์ให้คงไว้นั้นเป็นสิ่งที่ดีอย่างยิ่ง
แต่การแสดงของคุณปล่อยรู้นี้
ดูยังไงก็มีเจตนาที่จะบั่นทอน
ความศรัทธาเชื่อมั่นใน "ธรรมที่กล่าวโดยพระสารีบุตร"
โดยกล่าวในทำนองว่า นี้มิใช่คำพูดของพระพุทธเจ้า


อนึ่งพระพุทธพจน์ใน มธุปิณฑิกสูตร
ก็ตรัสรับรองแล้วว่า

--------------------------------------------------------------------------

ดูกรภิกษุทั้งหลาย พระมหากัจจานะเป็นบัณฑิต
เป็นผู้มีปัญญามาก ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าแม้พวกเธอ
จะถามเนื้อความนี้กะเรา แม้เราก็จะพึงพยากรณ์เนื้อความ
นั้น เหมือนกับที่พระมหากัจจานะพยากรณ์แล้วนั้น
นี่แหละเป็นเนื้อความแห่งข้อนั้น เธอทั้งหลาย
จงทรงจำข้อนั้นไว้เถิด.

http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/r.php?B=12&A=3752&w=%C1%B8%D8%BB%D4%B3%B1%D4%A1%CA%D9%B5%C3

--------------------------------------------------------------------------

และเว้นจากพระปัจเจกพุทธเจ้าแล้ว
ไม่มีใครมีปัญญาเสมอพระสารีบุตรเลย

ดังนั้นธรรมใดๆที่ "พระสารีบุตร" หรือ "พระมหากัจจายนะ" แสดง
ย่อมได้ชื่อว่าเป็น "ธรรมที่เป็นคำสอนของพระพุทธองค์" ทั้งสิ้น

--------------------------------------------------------------------------

และสุดท้าย อย่าลืมนะครับที่
คุณปล่อยรู้ได้กล่าวไว้ว่า

อ้างอิง
โอกาศผิดพลาดในธรรมของสาวกย่อมมีโอกาสที่จะเป็นไปได้ มิใช่หรือ ครับ

ท่านพระสารีบุตรเอง
ก็มีบ่อยครั้ง ที่ต้องกลับไปถามกับพระพุทธเจ้าเพื่อความแน่ใจ...


ผมคงต้องขอให้คุณยกหลักฐานมาประกอบด้วยครับ
ว่ามีที่ใดบ้างที่ระบุว่า "พระสารีบุตรแสดงธรรมผิดพลาด" ครับ

ตอบโดย: Beckham 12 ก.พ. 52 - 04:08


ตอบ คุณ Templarknight นะครับ

บทธรรมต่างๆ ในปฏิสัมภิทามรรค นี้
ก็คือ คำสอนของพระพุทธเจ้าทั้งสิ้น โดย
ท่านพระสารีบุตรนำมาเรียบเรียงให้เป็นระเบียบครับ

ในที่อื่นๆ ของพระไตรปิฎกก็มีแสดง เช่น

เรื่องของ อุททยัพพยญาณ
มีแสดงใน คาถาธรรมบท สหัสสวรรค ว่า

----------------------------------------------------------

โย  จ  วสฺสสตํ  ชีเวอปสฺสํ  อุทยพฺพยํ
เอกาหํ  ชีวิตํ  เสยโยปสฺสโต อุทยพฺพยํ

ก็บุคคลผู้พิจารณาเห็นความเกิดขึ้นและเสื่อมไป
มีชีวิตอยู่วันเดียวประเสริฐกว่าบุคคล ผู้ไม่พิจารณา
เห็นความเกิดขึ้น และความเสื่อมไปมีชีวิตอยู่ตั้งร้อยปี

http://84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=25&A=544&Z=586

----------------------------------------------------------

ส่วน นามรูปปริเฉทญาณ นี้มีกระจายอยู่ทั่วไปในพระไตรปิฎก
เช่นการแสดงจำแนกเรื่องขันธ์ เป็นต้น
เรื่องของ "นามรูปปัจจยปริคหญาณ" นั้นก็มีแสดงใน ปฏิสัมภิทามรรค
โดยชื่อว่า "ธรรมฐิติญาณ" ซึ่งมีความหมายเดียวกัน ต่างกันแต่พยัญชนะ
เท่านั้นครับ

ตอบโดย: Beckham 12 ก.พ. 52 - 04:20


สวัสดีครับ คุณปล่อยรู้  คุณTemplarKnight คุณBeckham

   ผมเพียงแต่ยกข้อความนี้มาเน้นย้ำอีกครั้งหนึ่ง  เพื่อให้มีความเข้าใจตรงกันนะครับ.
--------------------------------------------------------------------------

ดูกรภิกษุทั้งหลาย พระมหากัจจานะเป็นบัณฑิต
เป็นผู้มีปัญญามาก ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าแม้พวกเธอ
จะถามเนื้อความนี้กะเรา แม้เราก็จะพึงพยากรณ์เนื้อความ
นั้น เหมือนกับที่พระมหากัจจานะพยากรณ์แล้วนั้น
นี่แหละเป็นเนื้อความแห่งข้อนั้น เธอทั้งหลาย
จงทรงจำข้อนั้นไว้เถิด.
http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/r.php?B=12&A=3752&w=%C1%B8%D8%BB%D4%B3%B1%D4%A1%CA%D9%B5%C3


--------------------------------------------------------------------------

คำว่า เนื้อความนี้  หมายถึงธรรมมะ ไม่ใช่เรื่องทั่วๆ ไปนะครับ.

     เช่นเดียวกันกับ พระสารีบุตร เมื่อท่านกล่าวหรือพยากรณ์ธรรมมะ ไม่ใช่เรื่องทั่วๆ ไป ก็เป็นไปทิศทางเดียวกับพุทธพจน์นั้นเอง.

   เราทั้งหลายต้องแยกให้ออกเรื่องทั่วๆ ไป กับ เรื่องธรรมมะ  เพราะว่าผู้ที่เป็นพระอรหันต์ ย่อมมีความเป็นพระอรหันต์เสมอเหมือนกัน ดังนั้นธรรมต่างๆ เพื่ออบรม เพื่อปฏิบัติ สภาวะธรรมย่อมไปในทิศทางเดียวกันเป็นธรรมดา แต่รายละเอียดปลีกย่อยนั้นย่อมแตกต่างกันบ้าง ตามบุคคลตามวาสนาบารมี.

    

ตอบโดย: Vicha 12 ก.พ. 52 - 09:29


ขอคัดลอกข้อความบางส่วนจากสังคีติสูตรมาให้อ่าน
เพื่อแสดงเจตนารมณ์ของพระสารีบุตรในการแสดงธรรมีกถาแก่ภิกษุครับ

    [๒๒๔] ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาค เมื่อพวกเจ้ามัลละแห่งนครปาวาหลีกไปแล้ว
ไม่นาน ได้ทรงเหลียวดูหมู่ภิกษุผู้นิ่งอยู่แล้วได้รับสั่งกะท่านพระสารีบุตรว่า ดูกรสารีบุตร ภิกษุ
สงฆ์ปราศจากถีนะและมิทธะ สารีบุตรจงแสดงธรรมีกถาแก่ภิกษุทั้งหลาย เราเมื่อยหลัง ฉะนั้น
เราพึงพักผ่อน ท่านพระสารีบุตรได้รับพระดำรัสของพระผู้มีพระภาคด้วยคำว่า อย่างนั้น พระเจ้าข้า
...
ครั้งนั้นแล ท่านพระสารีบุตรได้เล่ากะภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย นิครนถ์
นาฏบุตรทำกาละแล้วที่พระนครปาวาไม่นานนัก เพราะกาลกิริยาของนิครนถ์นาฏบุตรนั้น พวก
นิครนถ์จึงแตกกัน เกิดแยกกันเป็นสองพวก เกิดบาดหมางกันเกิดการทะเลาะวิวาทกันขึ้น
เสียดแทงกันและกันด้วยหอกคือปากอยู่ว่า ท่านไม่รู้ทั่วถึงธรรมวินัยนี้ ข้าพเจ้ารู้ทั่วถึง ท่าน
จักรู้ทั่วถึงธรรมวินัยนี้ได้อย่างไร ท่านปฏิบัติผิด ข้าพเจ้าปฏิบัติถูก ถ้อยคำของ
ข้าพเจ้าเป็นประโยชน์ ของท่านไม่เป็นประโยชน์ คำที่ควรจะกล่าวก่อน ท่านกลับกล่าว
ภายหลัง คำที่ควรจะกล่าวภายหลัง ท่านกลับกล่าวก่อน ข้อที่ท่านเคยช่ำชองมาผันแปรไปแล้ว
ข้าพเจ้าจับผิดวาทะของท่านได้แล้วข้าพเจ้าข่มท่านได้แล้ว ท่านจงถอนวาทะเสีย มิฉะนั้น
จงแก้ไขเสีย ถ้าสามารถดังนี้ เห็นจะมีแต่ความตายอย่างเดียวเท่านั้นจะเป็นไปในพวกนิครนถ์
ผู้เป็นสาวกของนาฏบุตร ถึงพวกสาวกของนิครนถ์นาฏบุตรที่เป็นคฤหัสถ์ผู้นุ่งขาวห่มขาว ก็มี
อาการเบื่อหน่าย คลายความรัก รู้สึกท้อถอยในพวกนิครนถ์ ผู้เป็นสาวกของนาฏบุตร ทั้งนี้
เพราะธรรมวินัยอันนิครนถ์นาฏบุตรกล่าวไว้ไม่ดี ประกาศไว้ไม่ดี ไม่เป็นธรรมที่จะนำผู้ปฏิบัติให้
ออกจากทุกข์ได้ ไม่เป็นไปเพื่อความสงบระงับ มิใช่ธรรมที่ท่านผู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ประกาศไว้ เป็นธรรมวินัยมีที่พำนักอันทำลายเสียแล้ว เป็นธรรมวินัยไม่มีที่พึงอาศัย ฯ
ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ข้อนี้ย่อมเป็นเช่นดังกล่าวมาสำหรับในธรรมวินัยที่กล่าวไว้ไม่ดี
ประกาศไว้ไม่ดี ไม่เป็นธรรมที่จะนำผู้ปฏิบัติให้ออกจากทุกข์ได้ไม่เป็นไปเพื่อความสงบระงับ
มิใช่ธรรมที่ท่านผู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าประกาศไว้ผู้มีอายุทั้งหลาย

ส่วนธรรมนี้แล อัน พระผู้มีพระภาคของเราทั้งหลาย ตรัสไว้ดีแล้ว ประกาศไว้ดีแล้ว เป็นธรรมที่จะนำผู้ปฏิบัติให้ ออกจากทุกข์ได้ เป็นไปเพื่อความสงบระงับ เป็นธรรมอันพระสัมมาสัมพุทธเจ้าประกาศไว้แล้ว พวกเราทั้งหมดด้วยกัน พึงสังคายนา ไม่พึงกล่าวแก่งแย่งกันในธรรมนั้น การที่พรหมจรรย์นี้ จะพึงยั่งยืนตั้งอยู่นาน นั้นพึงเป็นไปเพื่อประโยชน์แก่ชนมาก เพื่อความสุขแก่ชนมาก เพื่อความ อนุเคราะห์แก่โลก เพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อความสุขแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ผู้มีอายุทั้งหลาย ...
(พระสารีบุตรแสดงธรรมีกถาแก่ภิกษุบรรยายธรรมหมวด1ถึงหมวด10)
...
    [๓๖๓] ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคเสด็จลุกขึ้นแล้วตรัสกะท่านพระสารีบุตรว่า ดีละดีละ สารีบุตร ดูกรสารีบุตร เธอได้ภาษิตสังคีติปริยายแก่ภิกษุทั้งหลาย เป็นการดีแล้วดังนี้ ท่านพระสารีบุตร ได้กล่าวสังคีติปริยายนี้แล้ว พระศาสดาทรงพอพระทัย และภิกษุเหล่านั้นต่างดีใจ ชื่นชมภาษิตของท่านพระสารีบุตรแล้ว ดังนี้แล ฯ

และในพระสูตรถัดมา ชื่อ ทสุตตรสูตร อันเป็นการแสดงธรรมีกถาแก่ภิกษุ โดยท่านพระสารีบุตร เช่นกัน ในตอนท้ายท่านกล่าวไว้ว่า
ธรรมร้อยหนึ่งดังพรรณนามานี้ เป็นของจริง แท้ แน่นอน ไม่ผิดพลาด ไม่เป็นอย่างอื่น อันพระตถาคตตรัสรู้แล้วโดยชอบ ฯ

อ่านเพิ่มได้ที่ : http://th.wikisource.org/wiki/%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%AA%E0%B8%B8%E0%B8%95%E0%B8%95%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%95%E0%B8%9B%E0%B8%B4%E0%B8%8E%E0%B8%81_%E0%B9%80%E0%B8%A5%E0%B9%88%E0%B8%A1_%E0%B9%98_%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%A2%E0%B8%B8%E0%B8%95%E0%B8%95%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A2_%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B8%97%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%A7%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%84_-_%E0%B8%AD%E0%B8%A0%E0%B8%B4%E0%B8%AA%E0%B8%A1%E0%B8%B1%E0%B8%A2%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%A2%E0%B8%B8%E0%B8%95%E0%B8%95%E0%B9%8C_-_%E0%B8%97%E0%B8%AA%E0%B8%9E%E0%B8%A5%E0%B8%A7%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%84_-_%E0%B9%95.%E0%B8%A0%E0%B8%B9%E0%B8%A1%E0%B8%B4%E0%B8%8A%E0%B8%AA%E0%B8%B9%E0%B8%95%E0%B8%A3 , http://th.wikisource.org/wiki/%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%AA%E0%B8%B8%E0%B8%95%E0%B8%95%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%95%E0%B8%9B%E0%B8%B4%E0%B8%8E%E0%B8%81_%E0%B9%80%E0%B8%A5%E0%B9%88%E0%B8%A1_%E0%B9%93_%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B8%86%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A2_%E0%B8%9B%E0%B8%B2%E0%B8%8F%E0%B8%B4%E0%B8%81%E0%B8%A7%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%84_-_%E0%B9%91%E0%B9%91._%E0%B8%97%E0%B8%AA%E0%B8%B8%E0%B8%95%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%AA%E0%B8%B9%E0%B8%95%E0%B8%A3

ตอบโดย: TemplarKnight 12 ก.พ. 52 - 10:23


สวัสดีครับคุณ TemplarKnight

      ในเมื่อพอมีความเห็นไปในทิศทางเดียวกันแล้วบ้าง ผมก็สนทนาตามลำดับของกระทู้ต่อนะครับ.

      ในความเห็นที่ผ่านๆ มาผมได้กล่าวแล้วว่า ผมเข้าปฏิบัติกรรมฐานเป็นระบบครั้งแรก 2-3 วันผมก็เห็นใน นามรูปปริเฉทญาณ  และ ปัจจัยคหญาณ ซึ่งญาณเหล่านี้จะเกิดขึ้นได้แจ่มชัดนั้นต้องอาศัยสติสัมปชัญญะ(สติ+ปัญญา) ที่เจริญขึ้นเป็นหลักเลยครับ.

      ต่อไปผมจะกล่าวถึง พระไตรลักษณ์   ผมเข้าใจเรื่องไตรลักษณ์มาทั้งนานแล้วทั้งแต่เริ่มเป็นวัยรุ่นเสียอีก  เคยไปเทียวงานเต้นรำกับเพื่อน ตอนแรกก็สนุกดีเพราะคนเยอะ ตอนหลังเต้นรำกันแบบวัยรุ่นๆ เมื่อยืนมองกลุ่มคนที่เต้นรำเหมือนกับใส้เดือนถูกรนไฟเสียอีก เหมือนกำลังทุกข์มากกว่าสุขเสียอีก  ไม่ใช่ความสุขที่ดีเลย เพราะผสมผสานด้วยเหล้าและบุหรี่.
      ต่อมาภายหลังเมื่อได้อ่านหนังสือธรรมเพิ่มขึ้น ก็เข้าใจเรื่องไตรลักษณ์อย่างชัดเจนตามที่ใจเห็นไปได้ เพราะว่าไม่ว่ายกสิ่งใดที่เรารู้จักทั้งหมดมาวิเคราะห์แล้วก็คิดก็ไม่เห็นว่าสิ่งใดเที่ยงเลยสักอย่าง คือเข้าใจ อนิจจัง ได้อย่างชัดเจน
        และไม่ว่าวัตถุใดที่ผ่านมาในชีวิตจะคงทนคงสภาพเดิมเหมือนเดิมก็หามีไม่ จึงเข้าใจอย่างชัดเจนถึง ทุกขัง.
        และในชีวิตผมในวัยเด็ก วัยเรียน พบกับความผิดหวัง ความต่ำต่อย ความทุกข์จากสังคม และจากพ่อตนเอง จึงเห็นชัดเจนถึงความผิดหวัง ที่ยึดมั่นถือมั่ให้ได้ดังใจเราไม่ได้ แต่ก็ต้องสู้  คือเห็นว่า ยึดมั่นถือมั่นให้ได้ดังใจตนเองไม่ได้ เข้าใจใน อนัตตา น้อยๆ.
     
         แต่ข้างบนนั้นเป็นการเข้าใจ ไตรลักษณ์ ตามความคิดเห็นตามความนึกคิด หาได้เกิดเป็นวิปัสสนาญาณ ที่ไตรลักษณ์ปรากฏขึ้นในปัจจุบันขณะ อย่างมีสติสัมปชัญญะ

          แต่ในการปฏิบัติธรรมในวันที่ 4 - 5 ของการปฏิบัติธรรมครั้งแรก ไตรลักษณ์กำลังปรากฏขึ้นในขณะที่กำหนดภาวนานั้นเอง คือเมื่อ มีสติปัญญา แยกรูปแยกนามได้ เห็นเหตุปัจจัยการเกิดขึ้นของรูป-นาม ที่เป็นปัจจัยกัน.
           เมื่อกำหนดภาวนาที่เป็นปัจจุบันขณะ ทั้งมีสติรู้ที่ลมหายใจเข้าหรือออก และเมื่อกำหนดอริยาบทต่างๆ ตามคำภาวนาลงด้วย "หนอ" ก็เกิดสภาวะที่เพิ่มขึ้นคือ
            ขณะที่กำหนดภาวนาอย่างเท่าทั้นอยู่ดีๆ ก็เกิดเหมือนกับว่า กระดูกสันหลังหรือร่างกายเคลื่อนนิดหนึ่ง ตอนแรกมีสติรู้หายใจหนึ่งครั้งเข้าและออก ก็จะเคลือนสัก 1 ที. แต่เมื่อเวลาผ่านไปกลายเป็นว่า หายใจเข้าก็เคลื่อน 1 ครั้งหายใจออกก็เคลือน 1 ครั้ง ต่อไปเมื่อเป็นวันก็เคลื่อนถี่ขึ้น ทั้งที่การนั่งกำหนดกรรมฐานนั้นร่างกายก็ยังนิ่งอยู่เหมือนเดิม. แต่เมื่อ ยื่น เดิน หรือพักกรรมฐานอาการนี้ไม่ปรากฏ
           นี้แหละไตรลักษณ์ปรากฏให้เห็นในการกำหนดภาวนาเป็นปัจจุบันเลยครับโดยที่ไม่ต้องไปคิดปรุ่งแต่ง เป็นเองตามกำลังของพละ 5 ที่เจริญขึ้น ซึ่งก็คือการเกิดวิปัสสนาญาณเพิ่มขึ้นเป็น สัมมสนญาณ อย่างอ่อนๆ

           เป็นอันว่าผมได้ สนทนาเรื่องตามหัวข้อกระทู้ และบอกสิ่งที่ผมปฏิบัติเบื้องต้นที่ปรากฏให้ทราบเป็นพื้นฐาน ในระดับพื้นฐานพอประมาณแล้ว ในความคิดเห็นต่อไปผมก็จะวกเข้าสู่พุทธพจน์ที่ย้งค้างไว้ทั้งแต่ต้น.

ตอบโดย: Vicha 13 ก.พ. 52 - 10:07


วันนี้ได้มีโอกาสสนทนาต่อส่วนที่เหลือนะครับ.

          ในความคิดเห็นเก่าผมได้ อธิบายเรื่อง ไตรลักษณ์ ไปแล้ว  ซึ่งความจริงแล้วไตรลักษณ์ นั้นได้ปรากฏเป็นธรรมชาติอยู่ตลอดเวลา แต่คนเราแบ่งเป็น 3 ประเภทใหญ่ๆ

 ประเภทที่1. ไตรลักษณ์ปรากฏอยู่ตลอดเวลา  แต่ไม่สนใจไม่ไปรู้ เหมือนกับสิ่งที่ไม่รู้จัก
 ประเภทที2. ไตรลักษณ์ปรากฏอยู่ตลอดเวลา แต่เห็นเฉพาะภายนอกทั่วๆ ไป พอเข้าใจ
 ประเภทที3. ไตรลักษณ์ปรากฏอยู่ตลอดเวลา กำหนดรู้มีสติปัญญาเห็นแจ้งชัดโดยตลอด

     ต่อไปผมจะยกพระสูตรที่ค้างไว้ตั้งแต่ในเนื้อกระทู้ เป็นเรื่องราวที่พระพุทธเจ้าตรัสต่อจากนั้น

                         อินทรียภาวนาสูตรต่อจากตัวเรื่องในกระทู้ส่วนที่เหลือ

         [๘๕๕]  ลำดับนั้น  พระผู้มีพระภาคทรงทราบว่า  อุตตรมาณพศิษย์ปาราสิริยพราหมณ์ นิ่ง  คอตก  ก้มหน้า  ซบเซา  หมดปฏิภาณ  จึงรับสั่งกะท่านพระอานนท์ว่า  ดูกรอานนท์ปาราสิริยพราหมณ์  ย่อมแสดงการเจริญอินทรีย์  แก่สาวกทั้งหลายอย่างหนึ่ง  ส่วนการเจริญอินทรีย์อันไม่มีวิธีอื่นยิ่งกว่าในวินัยของพระอริยะ  ย่อมเป็นอีกอย่างหนึ่ง  ฯ
          ท่านพระอานนท์ทูลว่า  ข้าแต่พระผู้มีพระภาคผู้สุคต  เป็นการสมควรแล้ว  ที่พระผู้มีพระภาคจะทรงแสดงการเจริญอินทรีย์อันไม่มีวิธีอื่นยิ่งกว่า  ในวินัยของพระอริยะ  ภิกษุทั้งหลายฟังต่อพระผู้มีพระภาคแล้ว  จักทรงจำไว้  ฯ
          พ.  ดูกรอานนท์  ถ้าเช่นนั้น  เธอจงฟัง  จงใส่ใจให้ดี  เราจักกล่าวต่อไป  ท่านพระอานนท์ทูลรับพระผู้มีพระภาคว่า  ชอบแล้ว  พระพุทธเจ้าข้า  ฯ
          [๘๕๖]  พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสดังนี้ว่า  ดูกรอานนท์  ก็การเจริญอินทรีย์อันไม่มีวิธีอื่นยิ่งกว่าในวินัยของพระอริยะ  เป็นอย่างไร  ดูกรอานนท์  ภิกษุในธรรมวินัยนี้  เกิดความชอบใจความไม่ชอบใจ  ทั้งความชอบใจและไม่ชอบใจขึ้น  เพราะเห็นรูปด้วยจักษุ   เธอรู้ชัดอย่างนี้ว่า เราเกิดความชอบใจ  ความไม่ชอบใจ  ทั้งความชอบใจและไม่ชอบใจขึ้นแล้วเช่นนี้  ก็สิ่งนั้นแล  เป็นสังขตะ  หยาบอาศัยกันเกิดขึ้น  ยังมีสิ่งที่ละเอียด ประณีต นั่นคือ อุเบกขา  เธอจึงดับความชอบใจ  ความไม่ชอบใจ  ทั้งความชอบใจและไม่ชอบใจ  อันเกิดขึ้นแล้วนั้นเสีย  อุเบกขาจึงดำรงมั่น  ดูกรอานนท์  ภิกษุรูปใดรูปหนึ่งดับความชอบใจ  ความไม่ชอบใจ ทั้งความชอบใจและไม่ชอบใจ  อันเกิดขึ้นแล้วอย่างนี้ได้เร็วพลันทันที  โดยไม่ลำบากเหมือนอย่างบุรุษมีตาดีกระพริบตา  ฉะนั้น  อุเบกขาย่อมดำรงมั่น  ดูกรอานนท์  นี้เราเรียกว่า  การเจริญอินทรีย์ในรูปที่รู้ได้ด้วยจักษุ  อย่างไม่มีวิธีอื่นยิ่งกว่าในวินัยของพระอริยะ  ฯ
          [๘๕๗]  ดูกรอานนท์  ประการอื่นยังมีอีก  ภิกษุเกิดความชอบใจ  ความไม่ชอบใจ  ทั้งความชอบใจและไม่ชอบใจขึ้น  เพราะได้ยินเสียงด้วยโสต  เธอรู้ชัดอย่างนี้ว่า  เราเกิดความชอบใจ  ความไม่ชอบใจ  ทั้งความชอบใจและไม่ชอบใจ  ขึ้นแล้วเช่นนี้  ก็สิ่งนั้นแล  เป็นสังขตะหยาบ  อาศัยการเกิดขึ้น  ยังมีสิ่งที่ละเอียด  ประณีต  นั่นคืออุเบกขา  เธอจึงดับความชอบใจความไม่ชอบใจ  ทั้งความชอบใจและไม่ชอบใจ  อันเกิดขึ้นแล้วนั้นเสีย  อุเบกขาจึงดำรงมั่น ดูกรอานนท์  ภิกษุรูปใดรูปหนึ่งดับความชอบใจ  ความไม่ชอบใจ  ทั้งความชอบใจและไม่ชอบใจ  อันเกิดขึ้นแล้วอย่างนี้ได้เร็วพลันทันที  โดยไม่ลำบาก  เหมือนอย่างบุรุษมีกำลัง  ดีดนิ้วมือโดยไม่ลำบาก  ฉะนั้น  ดูกรอานนท์  นี้เราเรียกว่า  การเจริญอินทรีย์ในเสียงที่รู้ได้ด้วยโสต  อย่างไม่มีวิธีอื่นยิ่งกว่าในวินัยของพระอริยะ  ฯ
          [๘๕๘]  ดูกรอานนท์  ประการอื่นยังมีอีก  ภิกษุเกิดความชอบใจ  ความไม่ชอบใจ  ทั้งความชอบใจและไม่ชอบใจ  เพราะดมกลิ่นด้วยฆานะ  เธอรู้ชัดอย่างนี้ว่า  เราเกิดความชอบใจความไม่ชอบใจ  ทั้งความชอบใจและไม่ชอบใจขึ้นแล้วเช่นนี้  ก็สิ่งนั้นแล  เป็นสังขตะ  หยาบ อาศัยกันเกิดขึ้น  ยังมีสิ่งที่ละเอียดประณีต  นั่นคืออุเบกขา  เธอจึงดับความชอบใจ  ความไม่ชอบใจ  ทั้งความชอบใจและไม่ชอบใจ  อันเกิดขึ้นแล้วนั้นเสีย  อุเบกขาจึงดำรงมั่น  ดูกรอานนท์ภิกษุรูปใดรูปหนึ่งดับความชอบใจ  ความไม่ชอบใจ  ทั้งความชอบใจและไม่ชอบใจอันเกิดขึ้นแล้วอย่างนี้ได้เร็วพลันทันที  โดยไม่ลำบาก  เหมือนอย่างหยาดน้ำกลิ้งไปบนใบบัว  ย่อมไม่ติดในที่ที่กลิ้งไปสักน้อยหนึ่ง  ฉะนั้น  ดูกรอานนท์  นี้เราเรียกว่า  การเจริญอินทรีย์ในกลิ่นที่รู้ได้ด้วยฆานะ  อย่างไม่มีวิธีอื่นยิ่งกว่าในวินัยของพระอริยะ  ฯ
          [๘๕๙]  ดูกรอานนท์  ประการอื่นยังมีอีก  ภิกษุเกิดความชอบใจ  ความไม่ชอบใจ  ทั้งความชอบใจและไม่ชอบใจ  เพราะลิ้มรสด้วยชิวหา  เธอรู้ชัดอย่าง  นี้ว่า  เราเกิดความชอบใจ  ความไม่ชอบใจ  ทั้งความชอบใจและไม่ชอบใจขึ้นแล้วเช่นนี้  ก็สิ่งนั้นแล  เป็นสังขตะ  หยาบ อาศัยกันเกิดขึ้น  ยังมีสิ่งที่ละเอียด  ประณีต  นั่นคืออุเบกขา  เธอจึงดับความชอบใจ  ความไม่ชอบใจ  ทั้งความชอบใจและไม่ชอบใจ  อันเกิดขึ้นแล้วนั้นเสีย  อุเบกขาจึงดำรงมั่น  ดูกรอานนท์  ภิกษุรูปใดรูปหนึ่งดับความชอบใจ  ความไม่ชอบใจ  ทั้งความชอบใจและไม่ชอบใจอันเกิดขึ้นแล้วอย่างนี้ได้เร็วพลันทันที  โดยไม่ลำบาก  เหมือนอย่างบุรุษมีกำลังตล่อมก้อนเขฬะไว้ตรงปลายลิ้น  แล้วถ่มไปโดยไม่ลำบาก  ฉะนั้น  ดูกรอานนท์นี้เราเรียกว่า  การเจริญอินทรีย์ในรสที่รู้ได้ด้วยชิวหา  อย่างไม่มีวิธีอื่นยิ่งกว่าในวินัยของพระอริยะ  ฯ
          [๘๖๐]  ดูกรอานนท์  ประการอื่นยังมีอีก  ภิกษุเกิดความชอบใจ  ความไม่ชอบใจทั้งความชอบใจและไม่ชอบใจ  เพราะถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกาย  เธอรู้ชัดอย่างนี้ว่า  เราเกิดความชอบใจ  ความไม่ชอบใจ  ทั้งความชอบใจและไม่ชอบใจขึ้นแล้วเช่นนี้  ก็สิ่งนั้นแล  เป็นสังขตะ  หยาบ  อาศัยกันเกิดขึ้น  ยังมีสิ่งที่ละเอียด  ประณีต  นั่นคืออุเบกขา  เธอจึงดับความชอบใจ  ความไม่ชอบใจ  ทั้งความชอบใจและไม่ชอบใจ  อันเกิดขึ้นแล้วนั้นเสีย  อุเบกขาจึงดำรงมั่น  ดูกรอานนท์  ภิกษุรูปใดรูปหนึ่งดับความชอบใจ  ความไม่ชอบใจ  ทั้งความชอบใจและไม่ชอบใจ  อันเกิดขึ้นแล้วอย่างนี้ได้โดยเร็วพลันทันที  โดยไม่ลำบาก  เหมือน อย่างบุรุษมีกำลังเหยียดแขนที่คู้  หรือคู้แขนที่เหยียดโดยไม่ลำบาก  ฉะนั้น  ดูกรอานนท์  นี้เราเรียกว่า  การเจริญอินทรีย์ในโผฏฐัพพะที่รู้ได้ด้วยกาย  อย่างไม่มีวิธีอื่นยิ่งกว่าในวินัยของพระอริยะ  ฯ
          [๘๖๑]  ดูกรอานนท์  ประการอื่นยังมีอีก  ภิกษุเกิดความชอบใจ  ความไม่ชอบใจทั้งความชอบใจและไม่ชอบใจ  เพราะรู้ธรรมารมณ์ด้วยมโน  เธอรู้ชัดอย่างนี้ว่า  เราเกิดความชอบใจ  เกิดความไม่ชอบใจ  เกิดทั้งความชอบใจและไม่  ชอบใจขึ้นแล้วเช่นนี้  ก็สิ่งนั้นแลเป็นสังขตะ  หยาบ  อาศัยกันเกิดขึ้น  ยังมีสิ่งละเอียด  ประณีต  นั่นคืออุเบกขา  เธอจึงดับความชอบใจ  ความไม่ชอบใจทั้งความชอบใจและไม่ชอบใจ  อันเกิดขึ้นแล้วนั้นเสีย  อุเบกขาจึงดำรงมั่น  ดูกรอานนท์  ภิกษุรูปใดรูปหนึ่งดับความชอบใจ  ความไม่ชอบใจ  ทั้งความชอบใจและไม่ชอบใจ  อันเกิดขึ้นแล้วได้เร็วพลันทันที  โดยไม่ลำบากอย่างนี้  เหมือนบุรุษมีกำลังหยดหยาดน้ำสองหรือสามหยาดลงในกะทะเหล็กที่ร้อนจัดตลอดวัน  ความหยดลงแห่งหยาดน้ำยังช้า  ทันทีนั้น  หยาดน้ำนั้นจะถึงความสิ้นไป  แห้งไปเร็ว  ทีเดียว  ฉะนั้น  ดูกรอานนท์  นี้เราเรียกว่า  การเจริญอินทรีย์ในธรรมารมณ์ที่รู้ได้  ด้วยมโนอย่างไม่มีวิธีอื่นยิ่งกว่าในวินัยของพระอริยะ  ฯ
          ดูกรอานนท์  อย่างนี้แลเป็นการเจริญอินทรีย์อย่างไม่มีวิธีอื่นยิ่งกว่าในวินัยของพระอริยะ  ฯ
          [๘๖๒]  ดูกรอานนท์  ก็พระเสขะผู้ยังปฏิบัติอยู่เป็นอย่างไร  ดูกรอานนท์  ภิกษุในธรรมวินัยนี้  เกิดความชอบใจ  ความไม่ชอบใจ  ทั้งความชอบใจและไม่ชอบใจ  เพราะเห็นรูปด้วยจักษุ  เธอย่อมอึดอัด  เบื่อหน่าย  เกลียดชังความชอบ  ใจ  ความไม่ชอบใจ  ทั้งความชอบใจและไม่ชอบใจ  อันเกิดขึ้นแล้วนั้น  เกิดความชอบใจ  ความไม่ชอบใจ  ทั้งความชอบใจและไม่ชอบใจ  เพราะได้ยินเสียงด้วยโสต  ...  เพราะดมกลิ่นด้วยฆานะ  ...  เพราะลิ้มรสด้วยชิวหา  ... เพราะถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกาย  ...  เพราะรู้ธรรมารมณ์ด้วยมโน  ...  เธอย่อมอึดอัด  เบื่อหน่ายเกลียดชังความชอบใจ  ความไม่ชอบใจ  ทั้งความชอบใจและไม่ชอบใจ  อันเกิดขึ้นแล้วนั้นดูกรอานนท์  อย่างนี้แล  ชื่อว่าพระเสขะผู้ยังปฏิบัติอยู่  ฯ
          [๘๖๓]  ดูกรอานนท์  ก็พระอริยะผู้เจริญอินทรีย์แล้ว  เป็นอย่างไร  ดูกรอานนท์  ภิกษุในธรรมวินัยนี้  เกิดความชอบใจ  ความไม่ชอบใจ  ทั้งความชอบใจและไม่ชอบใจขึ้น  เพราะเห็นรูปด้วยจักษุ  เธอถ้าหวังว่าจะมีความสำคัญในสิ่ง  ปฏิกูลว่าเป็นของไม่ปฏิกูลอยู่  ก็ย่อมเป็นผู้มีความสำคัญในสิ่งนั้นๆ  ว่าเป็นของไม่ปฏิกูลอยู่ได้  ถ้าหวังว่าจะมีความสำคัญในสิ่งไม่ปฏิกูลว่าเป็นของปฏิกูลอยู่  ก็ ย่อมเป็นผู้มีความสำคัญในสิ่งนั้นๆ  ว่าเป็นของปฏิกูลอยู่ได้  ถ้าหวังว่าจะมีความสำคัญในสิ่งทั้งปฏิกูลและไม่ปฏิกูลว่าเป็นของไม่ปฏิกูลอยู่  ก็ย่อมเป็นผู้มีความสำคัญในสิ่งนั้นๆ ว่าเป็นของไม่ปฏิกูลอยู่ได้  ถ้าหวังว่าจะมีความสำคัญในสิ่งทั้ง  ไม่ปฏิกูลและปฏิกูลว่าเป็นของปฏิกูลอยู่  ก็ย่อมเป็นผู้มีความสำคัญในสิ่งนั้นๆ  ว่า  เป็นของปฏิกูลอยู่ได้  ถ้าหวังว่าจะวางเฉยเว้นเสียซึ่งสิ่งปฏิกูลและไม่ปฏิกูลทั้งสองนั้น  อยู่อย่างมีสติสัมปชัญญะ  ก็ย่อมเป็นผู้วางเฉยในสิ่งนั้นๆ  อยู่
อย่างมีสติสัมปชัญญะได้  ฯ
          [๘๖๔]  ดูกรอานนท์  ประการอื่นยังมีอีก  ภิกษุเกิดความชอบใจ  ความไม่ชอบใจ  ทั้งความชอบใจและไม่ชอบใจ  เพราะได้ยินเสียงด้วยโสต  ...  เพราะดมกลิ่นด้วยฆานะ  ...  เพราะลิ้มรสด้วยชิวหา  ...  เพราะถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกาย  ...เพราะรู้ธรรมารมณ์ด้วยมโน  เธอ  ถ้าหวังว่าจะมีความสำคัญในสิ่งปฏิกูลว่าเป็นของไม่ปฏิกูลอยู่  ก็ย่อมเป็นผู้มีความสำคัญในสิ่งนั้นๆว่าเป็นของไม่ปฏิกูลอยู่ได้ถ้าหวังว่าจะมีความสำคัญในสิ่งไม่ปฏิกูลว่าเป็นของปฏิกูลอยู่  ก็ย่อมเป็นผู้มีความ  สำคัญในสิ่งนั้นๆ  ว่าเป็นของปฏิกูลอยู่ได้  ถ้าหวังว่าจะมีความสำคัญในสิ่งทั้งปฏิกูลและไม่ปฏิกูลว่าเป็นของไม่ปฏิกูลอยู่  ก็ย่อมเป็นผู้มีความสำคัญในสิ่งนั้นๆ  ว่าเป็นของไม่ปฏิกูลอยู่ได้  ถ้าหวังว่าจะมีความสำคัญในสิ่งทั้งไม่ปฏิกูลและปฏิกูล  ว่าเป็นของปฏิกูลอยู่  ก็ย่อมมีความสำคัญในสิ่งนั้นๆ  ว่าเป็นของปฏิกูลอยู่ได้ถ้าหวังว่าจะวางเฉยเว้นเสียซึ่งสิ่งปฏิกูลและไม่ปฏิกูลทั้งสองนั้น  อยู่อย่างมีสติ  สัมปชัญญะ  ก็ย่อมเป็นผู้วางเฉยในสิ่งนั้นๆ  อยู่อย่างมีสติสัมปชัญญะได้  ดูกรอานนท์  อย่างนี้แล  ชื่อว่าพระอริยะผู้เจริญอินทรีย์แล้ว  ฯ
          [๘๖๕]  ดูกรอานนท์  เราแสดงการเจริญอินทรีย์อย่างไม่มีวิธีอื่นยิ่งกว่าในวินัยของพระอริยะ  แสดงพระเสขะผู้ยังปฏิบัติอยู่  แสดงพระอริยะผู้เจริญอินทรีย์แล้ว  ด้วยประการฉะนี้แล  ดูกรอานนท์  กิจใดอันศาสดาผู้แสวงหาประโยชน์เกื้อกูล  ผู้อนุเคราะห์  อาศัยความอนุเคราะห์พึงทำแก่สาวกทั้งหลาย  กิจนั้น  เราได้ทำแล้วแก่พวกเธอ  ดูกรอานนท์  นั่นโคนไม้ นั่นเรือนว่าง  เธอทั้งหลาย  จงเพ่งฌาน  อย่าได้ประมาท  อย่าได้เป็นผู้เดือดร้อนในภายหลัง  นี้เป็นคำพร่ำสอนของเราแก่พวกเธอ  ฯ
          พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระภาษิตนี้แล้ว  ท่านพระอานนท์จึงชื่นชมยินดี  พระภาษิตของพระผู้มีพระภาคฉะนี้แล  ฯ
          
                             จบ  อินทรียภาวนาสูตร  ที่  ๑๐


 

ตอบโดย: Vicha 17 ก.พ. 52 - 14:29


ขออนุโมทนาสาธุ       กับพลังความพากเพียร    และความประพฤติดีปฏิบัติชอบ
ของคุณ     Vicha     ด้วยครับ         สาธุ    สาธุ

ตอบโดย: บัวศกล 17 ก.พ. 52 - 17:11


ขออนุโมทนา ที่ คุณVicha ที่ได้นำพระสูตรมาแสดงครับ  
 

ตอบโดย: svonnu48 18 ก.พ. 52 - 14:43


สวัสดีครับ คุณบัวศกล  คุณsvonnu48

      เป็นอันว่าเนื้อหาในกระทู้และที่แสดงความคิดเห็นนั้นสมบูรณ์แล้ว   เป็นการเน้นเบื้องต้นของการปฏิบัติธรรมอย่างชัดเจน แล้วจบด้วยพุทธพจน์ถึงเบื้องปลายของการปฏิบัติใน อินทรีภาวนาสูตร

       หมายเหตุ ความเห็นนี้เป็นเจตนาดันกระทู้ขึ้นมา เพราะเห็นว่าเป็นเรื่องสำคัญในการเริ่มต้นปฏิบัติธรรม ที่เน้นเรื่องเบื้องต้นในการปฏิบัติธรรมตามพุทธพจน์ และประสบการณ์ส่วนตัวอย่างชัดเจนที่เสริมเข้าไป.
 

ตอบโดย: Vicha 20 ก.พ. 52 - 09:41

ลานธรรมเสวนา http://larndham.net