เอาธรรมมาแสดงที่เกียวของกับลัทธินิครนถ์                                                                           กลับหน้าแรก 
 
 
 
 เนื้อความ : 
     ผมเอาธรรมมาแสดงนะครับ ไม่กล้าใช้คำว่าแสดงธรรมเพราะยังเป็นฆารวาส  
อาจจะเป็นธรรมที่น่าเบื่อเพราะทั้งยาวและเข้าใจยากสักหน่อย  แต่ผมก็พยายามสอดแทรก 
ความคิดเห็นของตนเข้าไป เพื่อเชื่อมโยงเนื้อเรื่อง ให้เห็นภาพรวมได้ชัดเจนขึ้น 
ผมจะส่งข้อมูลไปเป็นตอนๆ  และตรงเครื่องหมาย >>>> ….. <<<< จะเป็นส่วนของความคิด 
ของผมที่ผมเข้าใจและเชื่อมโยงเรื่อง (ผมอาจพิมพ์ผิดบ้างต้องขออภัยด้วยครับ) 

>>>>  ในสมัยพุทธกาล(พระพุทธเจ้ามีพระชนชีพอยู่) นิครนถ์ นาฏบุตร  
เป็นศาสดาของลัทธิหนึ่งที่สำคัญและมีคนหมู่มากในชุมพูทวีปนับถือยอมเป็นสาวก 
เมื่อพระพุทธเจ้าทรงประกาศพระศาสนา นิครนถ์นาฏบุตร ก็พยายามตั้งตัวเพื่อที่จะล้ม 
พุทธเจ้าให้พ่ายแพ้  ในระยะแรกจึงพยายามยุให้สาวกที่สำคัญที่มีปัญญาของตนเอง 
ไปโต้วาจากับพระพุทธเจ้าให้พระองค์พ่ายแพ้ ผมจะยกแก่นธรรมของศาสดานิครนถ์นาฏบุตร 
ขึ้นมาก่อน ดังมีในพระไตรปิฏก ในตอนที่พระเจ้าอชาติศัตรู มีความรุ่มร้อนใจ 
หลังจากที่ประหารพระเจ้าพิมพิสาร ซึ่งเป็นพระบิดา จึงแสวงหาศาสดาต่างๆ 
เพื่อที่จะดับความรุ่มร้อนนั้น มีอยู่ครั้งหนึ่งได้ไปหานิครนถ์นาฏบุตร ดังมีในพระไตรปิฏก  <<<< 
                                วาทะของศาสดานิครนถ์ นาฏบุตร 
      [๙๘] ข้าแต่พระองค์(พระพุทธเจ้า)ผู้เจริญ สมัยหนึ่ง ณ กรุงราชคฤห์นี้ หม่อมฉัน(พระเจ้าอชาติศัตรู) 
เข้าไปหาครูนิครนถ์ นาฏบุตร ถึงที่อยู่ ได้กล่าวอย่างนี้ว่า 
            ศิลปะศาสตร์เป็นอันมากเหล่านี้ คือพลช้าง พลม้า พลรบ พลธนู พนักงานเชิญธง 
พนักงาน   จัดกระบวนทัพ พนักงานจัดส่งเสบียง พวกอุคคราชบุตร พลอาสา ขุนพล พลกล้า 
พลสวม เกราะหนัง พวกบุตรทาส ช่างทำขนม ช่างกัลบก พนักงานเครื่องสรง พวกพ่อครัว 
ช่างดอกไม้ ช่างย้อม ช่างหูก ช่างจักสาน ช่างหม้อ นักคำนวณ พวกนับคะแนน (นักการบัญชี) 
หรือศิลปศาสตร์เป็นอันมาก แม้อย่างอื่นใดที่มีคติเหมือนอย่างนี้ คนเหล่านั้น ย่อมอาศัยผลแห่ง 
ศิลปศาสตร์ที่เห็นประจักษ์เลี้ยงชีพในปัจจุบัน ด้วยผลแห่งศิลปะศาสตร์นั้น เขาย่อมบำรุงตน 
มารดาบิดา บุตรภริยา มิตร อำมาตย์ ให้เป็นสุขอิ่มหนำสำราญ บำเพ็ญทักษิณาทานอันมีผล อย่างสูง 
เป็นไปเพื่อให้ได้อารมณ์ดี มีสุขเป็นผล ให้เกิดในสวรรค์ ในสมณะพราหมณ์ทั้งหลาย ฉันใด  
ท่านอาจบัญญัติสามัญผลที่เห็นประจักษ์ในปัจจุบัน เหมือนอย่างนั้นได้หรือไม่ เมื่อหม่อมฉัน 
กล่าวอย่างนี้  ครูนิครนถ์ นาฏบุตร ได้กล่าวคำนี้กะหม่อมฉันว่า 
                 ดูกรมหาบพิตร นิครนถ์ในโลกนี้ เป็นผู้สังวรแล้วด้วยสังวร ๔ ประการ 
นิครนถ์เป็นผู้สังวรแล้ว ด้วยสังวร ๔ ประการ เป็นไฉน? ดูกรมหาบพิตร นิครนถ์ใน 
โลกนี้เป็นผู้ห้ามน้ำทั้งปวง ๑ เป็น ผู้ประกอบด้วยน้ำทั้งปวง ๑ เป็นผู้กำจัดด้วยน้ำทั้งปวง ๑ 
เป็นผู้ประพรมด้วยน้ำทั้งปวง ๑ นิครนถ์เป็นผู้สังวรแล้วด้วยสังวร ๔ ประการ อย่างนี้แล 
มหาบพิตร เพราะเหตุที่นิครนถ์เป็นผู้ สังวรแล้วด้วยสังวร ๔ ประการอย่างนี้ บัณฑิตจึงเรียกว่า 
เป็นผู้มีตนถึงที่สุดแล้ว มีตนสำรวมแล้ว 
มีตนตั้งมั่นแล้ว ดังนี้ 
                ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อหม่อมฉัน ถามถึงสามัญผลที่เห็นประจักษ์ 
ครูนิครนถ์ นาฏบุตร กลับตอบถึงสังวร ๔ ประการ ฉะนี้ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ หม่อมฉัน 
ถามถึงสามัญผลที่เห็นประจักษ์ ครูนิครนถ์ นาฏบุตร กลับตอบถึงสังวร ๔ ประการ 
เปรียบเหมือน เขาถามถึงมะม่วง ตอบขนุนสำมะลอ หรือเขาถามถึงขนุนสำมะลอ 
ตอบมะม่วง ฉะนั้น หม่อมฉันมีความดำริว่า ไฉน คนอย่างเรา จะพึงมุ่งรุกรานสมณะ 
หรือพราหมณ์ผู้อยู่ในราชอาณาเขต ดังนี้ แล้วไม่ยินดี ไม่คัดค้านภาษิตของครูนิครนถ์ นาฏบุตร 
ไม่พอใจ แต่ก็มิได้เปล่งวาจา แสดงความไม่พอใจ ไม่เชื่อถือ ไม่ใส่ใจถึงวาจานั้น ลุกจากที่นั่งหลีกไป. 

>>>> ผมขอจบเรื่องของพระอชาติศัตรู เพียงแค่นี้ก่อน เพราะต้องการเพียงแก่นของลัทธินิครนถ์ 
นิครนถ์นาฏบุตร เริ่มส่งสาวกไปโต้วาจาเพื่อให้พระพุทธเจ้าพ่ายแพ้ ท่านแรกคือ พระอภัยราชกุมาร  
เพราะเห็นว่าเป็นเชื่อกษัตริย์เหมือนกันกับพระพุทธเจ้า ดังนั้นมีเกียรติไม่ต่างกันมาก  
และอภัยราชกุมารนับถือศรัทธานิครนถ์นาฏบุตรอย่างมาก จะไม่กลับใจไปศรัทธาพระพุทธเจ้า 
แน่นอน ดังในพระไตรปิฏก   <<<< 
                      ๘. อภัยราชกุมารสูตร 
                        เรื่องอภัยราชกุมาร 
      [๙๑] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้: 
          สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ เวฬุวันกลันทกนิวาปสถาน เขตพระนคร 
ราชคฤห์. ครั้งนั้น พระราชกุมารพระนามว่า อภัย  เสด็จเข้าไปหานิครนถ์นาฏบุตรถึงที่อยู่ ทรง 
อภิวาทนิครนถ์นาฏบุตรแล้ว ประทับนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง. 
      [๙๒] นิครนถ์นาฏบุตรได้ทูลอภัยราชกุมารว่า ไปเถิด พระราชกุมาร เชิญพระองค์ 
ทรงยกวาทะแก่พระสมณโคดม เมื่อพระองค์ทรงยกวาทะแก่พระสมณโคดมอย่างนี้แล้ว กิตติศัพท์ 
อันงามของพระองค์จักระบือไปว่า อภัยราชกุมารทรงยกวาทะแก่สมณโคดมผู้มีฤทธิ์ มีอานุภาพมาก  
อย่างนี้. 
      อภัยราชกุมารตรัสถามว่า ท่านผู้เจริญ ก็ข้าพเจ้าจะยกวาทะแก่พระสมณโคดม ผู้มีฤทธิ์ 
มาก มีอานุภาพมากอย่างนี้ ได้อย่างไร? 
      นิครนถ์นาฏบุตรทูลว่า ไปเถิด พระราชกุมาร เชิญพระองค์เสด็จเข้าไปเฝ้าพระสมณโคดม 
ถึงที่ประทับ แล้วจงทูลถามพระสมณโคดมอย่างนี้ว่า 
    ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระตถาคตจะพึงตรัสพระวาจาอันไม่เป็นที่ชอบใจของคนอื่นบ้างหรือหนอ 
ถ้าพระสมณโคดมถูกถามอย่างนี้แล้วจะทรงพยากรณ์อย่างนี้ว่า 
    ดูกรราชกุมาร ตถาคตพึงกล่าววาจาอันไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่ชอบใจของคนอื่น ดังนี้ไซร้ 
พระองค์พึงทูลพระสมณโคดมอย่างนี้ว่า 
    ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อเป็นอย่างนั้น การกระทำของพระองค์ จะต่างอะไรจากปุถุชนเล่า 
เพราะแม้ปุถุชนก็พึงกล่าววาจาอันไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่ชอบใจของคนอื่น 
ถ้าพระสมณโคดมถูกถามอย่างนี้แล้ว จะทรงพยากรณ์อย่างนี้ว่า 
    ดูกรราชกุมาร ตถาคตไม่พึงกล่าววาจาอันไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่ชอบใจของคนอื่น ดังนี้ไซร้ 
พระองค์พึงทูลพระสมณโคดมอย่างนี้ว่า 
    ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อเป็นอย่างนั้น อย่างไร พระองค์จึงทรงพยากรณ์พระเทวทัตต์ว่า 
เทวทัตต์จักเกิดในอบาย จักเกิดในนรก ตั้งอยู่สิ้นกัปหนึ่ง เป็นผู้อันใครๆ เยียวยาไม่ได้ ดังนี้ 
เพราะพระวาจาของพระองค์นั้น พระเทวทัตต์โกรธ เสียใจ 
    ดูกรพระราชกุมาร พระสมณโคดมถูกพระองค์ทูลถามปัญหาสองเงื่อนนี้แล้ว 
จะไม่อาจกลืนเข้า ไม่อาจคายออกได้เลย เปรียบเหมือนกะจับเหล็กติดอยู่ในคอของบุรุษ บุรุษนั้น 
จะไม่อาจกลืนเข้า ไม่อาจคายออกได้ ฉันใด ดูกรพระราชกุมาร พระสมณโคดมก็ฉันนั้น 
ถูกพระองค์ทูลถามปัญหาสองเงื่อนนี้แล้ว จะไม่อาจกลืนเข้า ไม่อาจคายออกได้เลย. 
      อภัยราชกุมารรับคำนิครนถ์นาฏบุตรแล้ว เสด็จลุกจากอาสนะทรงอภิวาทนิครนถ์นาฏบุตร 
ทรงทำประทักษิณแล้วเสด็จเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้ว 
ประทับนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว ทรงแหงนดูพระอาทิตย์ทรงพระดำริว่า วันนี้มิใช่กาล 
จะยกวาทะแก่พระผู้มีพระภาค วันพรุ่งนี้เถิด เราจักยกวาทะแก่พระผู้มีพระภาคในนิเวศน์ของเรา 
ดังนี้ แล้วจึงกราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาคมีพระองค์ 
เป็นที่ ๔ จงทรงรับภัตตาหารของหม่อมฉัน เพื่อเสวยในวันพรุ่งนี้ พระผู้มีพระภาคทรงรับด้วย 
ดุษณีภาพ ลำดับนั้น อภัยราชกุมารทรงทราบว่า พระผู้มีพระภาคทรงรับแล้วเสด็จลุกจากอาสนะ 
ถวายบังคมพระผู้มีพระภาค ทำประทักษิณแล้ว เสด็จหลีกไป ครั้งนั้น พอล่วงราตรีนั้นไป 
เวลาเช้า พระผู้มีพระภาคทรงนุ่งแล้ว ทรงถือบาตรและจีวร เสด็จเข้าไปยังนิเวศน์ของอภัยราชกุมาร 
ประทับนั่งบนอาสนะที่เขาปูลาดไว้ ลำดับนั้น อภัยราชกุมารทรงอังคาสพระผู้มีพระภาคด้วย 
ขาทนียะโภชนียะอันประณีต ให้อิ่มหนำเพียงพอด้วยพระหัตถ์ของพระองค์เอง 
เมื่อพระผู้มีพระภาค เสวยเสร็จ ทรงชักพระหัตถ์จากบาตรแล้ว อภัยราชกุมารทรงถืออาสนะต่ำอันหนึ่ง 
ประทับนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง. 
                         วาจาไม่เป็นที่รัก 
      [๙๓] อภัยราชกุมารประทับ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้ว ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า 
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระตถาคตจะพึงตรัสพระวาจา อันไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่พอใจของคนอื่น 
บ้างหรือหนอ. 
      พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรราชกุมาร ในปัญหาข้อนี้ จะวิสัชนาโดยส่วนเดียวมิได้. 
      อ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เพราะปัญหาข้อนี้ พวกนิครนถ์ได้ฉิบหายแล้ว. 
      พ. ดูกรราชกุมาร เหตุไฉนพระองค์จึงตรัสอย่างนี้เล่า? 
      ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เพราะปัญหาข้อนี้ พวกนิครนถ์ได้ฉิบหายแล้ว ข้าแต่พระองค์ 
ผู้เจริญ ขอประทานพระวโรกาส หม่อมฉันเข้าไปหานิครนถ์นาฏบุตรถึงที่อยู่ อภิวาทแล้วนั่ง ณ 
ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง นิครนถ์นาฏบุตรได้บอกว่า ไปเถิด พระราชกุมาร เชิญพระองค์เสด็จไป 
ยกวาทะแก่พระสมณโคดมเถิด เมื่อพระองค์ยกวาทะแก่พระสมณโคดมอย่างนี้ กิตติศัพท์อันงาม 
ของพระองค์จักระบือไปว่า อภัยราชกุมารยกวาทะแก่พระสมณโคดม ผู้มีฤทธิ์มาก มีอานุภาพมาก 
อย่างนี้ เมื่อนิครนถ์นาฏบุตรกล่าวอย่างนี้ หม่อมฉันได้ถามว่า ท่านผู้เจริญ ก็ข้าพเจ้าจะยกวาทะ 
แก่พระสมณโคดมผู้มีฤทธิ์มาก มีอานุภาพมากอย่างนี้ได้อย่างไร นิครนถ์นาฏบุตรตอบว่า ไปเถิด 
พระราชกุมาร เชิญพระองค์เสด็จเข้าไปเฝ้าพระสมณโคดมถึงที่ประทับ แล้วจงทูลถามอย่างนี้ว่า 
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระตถาคตจะพึงตรัสพระวาจาอันไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่ชอบใจของผู้อื่น 
บ้างหรือหนอ ถ้าพระสมณโคดมถูกพระองค์ทูลถามอย่างนี้แล้ว จะทรงพยากรณ์อย่างนี้ว่า ดูกร 
ราชกุมาร ตถาคตพึงกล่าววาจาอันไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่ชอบใจของผู้อื่น ดังนี้ไซร้ พระองค์พึง 
ทูลพระสมณโคดมอย่างนี้ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อเป็นอย่างนั้น การกระทำของพระองค์ 
จะต่างอะไรจากปุถุชนเล่า เพราะแม้ปุถุชนก็กล่าววาจาอันไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่ชอบใจของผู้อื่น 
แต่ถ้าพระสมณโคดมถูกพระองค์ทูลถามอย่างนี้แล้ว จะทรงพยากรณ์อย่างนี้ว่า ดูกรราชกุมาร 
ตถาคตไม่พึงกล่าววาจา อันไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่ชอบใจของผู้อื่น ดังนี้ไซร้ พระองค์พึงทูล 
พระสมณโคดมอย่างนี้ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อเป็นอย่างนั้น อย่างไรพระองค์จึงทรงพยากรณ์ 
เทวทัตต์ว่า เทวทัตต์จักเกิดในอบาย จักเกิดในนรก ตั้งอยู่สิ้นกัปหนึ่ง เป็นผู้อันใครๆ เยียวยา 
ไม่ได้ ดังนี้ เพราะพระวาจาของพระองค์นั้น พระเทวทัตต์โกรธ เสียใจ ดูกรพระราชกุมาร 
พระสมณโคดมถูกพระองค์ทูลถามปัญหาสองเงื่อนนี้แล้ว จะไม่อาจกลืนเข้า ไม่อาจคายออกได้เลย 
เปรียบเหมือนกะจับเหล็กติดอยู่ในคอของบุรุษ บุรุษนั้นจะไม่อาจกลืนเข้า ไม่อาจคายออกได้ 
ฉันใด ดูกรพระราชกุมาร พระสมณโคดมก็ฉันนั้น ถูกพระองค์ทูลถามปัญหาสองเงื่อนนี้แล้ว 
ไม่อาจกลืนเข้า จะไม่อาจคายออกได้เลย. 
                    วาจาที่ประกอบด้วยประโยชน์ 
      [๙๔] สมัยนั้นแล เด็กอ่อนเพียงได้แต่นอน นั่งอยู่บนตักของอภัยราชกุมาร ลำดับนั้น 
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกะอภัยราชกุมารว่า ดูกรราชกุมาร ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน 
ถ้ากุมารนี้อาศัยความเผลอของพระองค์ หรือของหญิงพี่เลี้ยง พึงนำไม้หรือก้อนกรวดมาใส่ในปาก 
พระองค์จะพึงทำเด็กนั้นอย่างไร? 
      ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ หม่อมฉันจะพึงนำออกเสีย ถ้าหม่อมฉันไม่อาจจะนำออกได้แต่ 
ทีแรก หม่อมฉันก็จะเอามือซ้ายประคองศีรษะแล้วงอนิ้วมือขวาควักไม้หรือก้อนกรวดแม้พร้อม 
ด้วยเลือดออกเสีย ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะหม่อมฉันมีความเอ็นดูในกุมาร. 
      ดูกรราชกุมาร ตถาคตก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมรู้วาจาที่ไม่จริง ไม่แท้ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ 
และวาจานั้นไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่ชอบใจของผู้อื่น ตถาคตไม่กล่าววาจานั้น 
    อนึ่ง ตถาคตย่อมรู้วาจาที่จริง ที่แท้ แต่ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ และวาจานั้นไม่เป็นที่รัก 
ไม่เป็นที่ชอบใจของผู้อื่น ตถาคตไม่กล่าววาจานั้น 
    อนึ่ง ตถาคตย่อมรู้วาจาที่จริง วาจาที่แท้ และประกอบด้วยประโยชน์ แต่วาจานั้นไม่เป็นที่รัก 
ไม่เป็นที่ชอบใจของผู้อื่น ในข้อนั้น ตถาคตย่อมรู้กาลที่จะพยากรณ์วาจานั้น 
    ตถาคตย่อมรู้วาจาที่ไม่จริง ไม่แท้ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ แต่วาจานั้นเป็นที่รัก เป็นที่ชอบใจของผู้อื่น 
ตถาคตไม่กล่าววาจานั้น 
    ตถาคตย่อมรู้วาจาที่จริง ที่แท้ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ แต่วาจานั้นเป็นที่รัก เป็นที่ชอบใจของผู้อื่น 
ตถาคตไม่กล่าววาจานั้น 
      อนึ่ง ตถาคตย่อมรู้วาจาที่จริง ที่แท้ และประกอบด้วยประโยชน์ และวาจานั้นเป็นที่รัก เป็นที่ชอบใจ 
ของผู้อื่น ในข้อนั้น ตถาคตย่อมรู้กาลที่จะพยากรณ์วาจานั้น ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะ 
ตถาคตมีความเอ็นดูในสัตว์ทั้งหลาย. 
                           พุทธปฏิภาณ 
      [๙๕] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ กษัตริย์ผู้บัณฑิตก็ดี พราหมณ์ผู้บัณฑิตก็ดี คฤหบดีผู้ 
บัณฑิตก็ดี สมณะผู้บัณฑิตก็ดี ผูกปัญหาแล้วเข้ามาเฝ้าทูลถามพระตถาคต การพยากรณ์ปัญหา 
ของบัณฑิตเหล่านั้น พระผู้มีพระภาคทรงตรึกด้วยพระหฤทัยไว้ก่อนว่า บัณฑิตทั้งหลายจักเข้ามา 
เฝ้าเราแล้วทูลถามอย่างนี้ เราอันบัณฑิตเหล่านั้นทูลถามอย่างนี้แล้ว จักพยากรณ์อย่างนี้ หรือว่า 
พยากรณ์นั้นมาปรากฏแจ่มแจ้งกะพระตถาคตโดยทันที. 
      ดูกรราชกุมาร ถ้าอย่างนั้น ในข้อนี้ อาตมภาพจักกลับถามพระองค์บ้าง ข้อนี้ควรแก่ 
พระองค์อย่างใด พระองค์พึงพยากรณ์ข้อนั้นอย่างนั้น ดูกรราชกุมาร พระองค์จะสำคัญความ 
ข้อนั้นเป็นไฉน พระองค์เป็นผู้ฉลาดในส่วนน้อยใหญ่ของรถหรือ? 
      อย่างนั้น พระเจ้าข้า หม่อมฉันเป็นผู้ฉลาดในส่วนน้อยใหญ่ของรถ. 
      พ. ดูกรราชกุมาร พระองค์จะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน ชนทั้งหลายเข้าไปเฝ้าพระองค์ 
แล้วพึงทูลถามอย่างนี้ว่า ส่วนน้อยใหญ่ของรถอันนี้ ชื่ออะไร การพยากรณ์ปัญหาของชนเหล่านั้น 
พระองค์พึงตรึกด้วยใจไว้ก่อนว่า ชนทั้งหลายเข้ามาหาเราแล้ว จักถามอย่างนี้ เราอันชนเหล่านั้น 
ถามอย่างนี้ จักพยากรณ์อย่างนี้ หรือว่าการพยากรณ์นั้นพึงแจ่มแจ้งกะพระองค์โดยทันที? 
      อ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เพราะหม่อมฉันเป็นทหารรถ รู้จักดี ฉลาดในส่วนน้อยใหญ่ 
ของรถ ส่วนน้อยใหญ่ของรถทั้งหมด หม่อมฉันทราบดีแล้ว ฉะนั้น การพยากรณ์ปัญหานั้น 
แจ่มแจ้งกะหม่อมฉันโดยทันทีทีเดียว. 
      ฉันนั้นเหมือนกันแล ราชกุมาร กษัตริย์ผู้บัณฑิตก็ดี พราหมณ์ผู้บัณฑิตก็ดี คฤหบดีผู้ 
บัณฑิตก็ดี สมณะผู้บัณฑิตก็ดี ผูกปัญหาแล้วจักเข้ามาถามตถาคต การพยากรณ์ปัญหานั้น ย่อม 
แจ่มแจ้งกะตถาคตโดยทันที ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะความที่ธรรมธาตุนั้น ตถาคตแทงตลอด 
ดีแล้ว การพยากรณ์ปัญหานั้น จึงแจ่มแจ้งกะตถาคตโดยทันที. 
                   อภัยราชกุมารแสดงตนเป็นอุบาสก 
      [๙๖] เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว อภัยราชกุมารได้กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ 
ผู้เจริญ ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก 
เปรียบเหมือนบุคคลหงายของที่คว่ำ เปิดของที่ปิด บอกทางแก่คนหลงทาง หรือตามประทีป 
ในที่มืด ด้วยหวังว่า ผู้มีจักษุจักเห็นรูป ดังนี้ ฉันใด พระผู้มีพระภาคทรงประกาศพระธรรม 
โดยอเนกปริยาย ฉันนั้นเหมือนกัน  ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ หม่อมฉันขอถึงพระผู้มีพระภาค 
พระธรรมและพระภิกษุสงฆ์ ว่าเป็นสรณะ ขอพระผู้มีพระภาคจงทรงจำหม่อมฉันว่าเป็นอุบาสก 
ผู้ถึงสรณะตลอดชีวิต ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป ดังนี้แล. 
                                จบ อภัยราชกุมารสูตร ที่ ๘. 
>>>>  อภัยราชกุมารประกาศตนเป็นอุบาสก(ยังไม่บรรลุธรรมเป็นโสดาบัน)กับพระพุทธองค์ 
แต่หาได้ประกาศให้ชาวบ้านชาวเมืองรู้ไม่ ดังนั้นนิครนถ์นาฏบุตร จึงหาได้รู้สึกอะไร  
จึงยังประสงค์ให้สาวกตนเองไปกล่าววาทะกับพระพุทธเจ้าอีก เพื่อให้พระองค์พ่ายแพ้  
เพราะศาสนาพุทธเติบโตเร็วมากเสียเหลือเกินจนน่ากลัวสำหรับลัทธิอื่นๆ ดังมีในพระไตรปิฏก  <<<< 
                                           (มีต่อตอนที่ 2)

 จากคุณ : Vicha [ 23 พ.ย. 2543 / 20:09:37 น. ]  
     [ IP Address : 203.151.36.3 ] 
 
 
 ความคิดเห็นที่ 1 : (Vicha2) 
                                   ๖. อุปาลิวาทสูตร 
                               เรื่องทีฆตปัสสีนิครนถ์ 
      [๖๒] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้- 
      สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ปาวาริกัมพวัน ใกล้เมืองนาลันทา. สมัยนั้น 
นิครนถ์นาฏบุตรอาศัยอยู่ ณ เมืองนาลันทาพร้อมด้วยบริษัทนิครนถ์เป็นอันมาก ครั้งนั้นแล. 
นิครนถ์ชื่อว่าทีฆตปัสสี เที่ยวบิณฑบาตไปในเมืองนาลันทา เวลาภายหลังภัต กลับจาก 
บิณฑบาตแล้ว เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงปาวาริกัมพวัน ได้ปราศรัยกับพระผู้มีพระภาค 
ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว ได้ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง. พระผู้มีพระภาค 
ได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้ กะทีฆตปัสสีนิครนถ์ว่า ดูกรทีฆตปัสสี อาสนะมีอยู่ ถ้าท่านประสงค์ 
ก็จงนั่งเถิด เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว ทีฆตปัสสีนิครนถ์ถือเอาอาสนะต่ำแห่งหนึ่งนั่ง 
ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง. 
                    กรรม ๓ ของนิครนถ์นาฏบุตร 
      [๖๓] พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้กะทีฆตปัสสีนิครนถ์ว่า ดูกรทีฆตปัสสี 
ก็นิครนถ์นาฏบุตรบัญญัติกรรม ในการทำบาปกรรม ในการเป็นไปแห่งบาปกรรม ไว้เท่าไร? 
ทีฆตปัสสีนิครนถ์ได้ทูลว่า ท่านพระโคดม นิครนถ์นาฏบุตร จะบัญญัติว่ากรรมๆ ดังนี้ 
เป็นอาจิณหามิได้ ท่านพระโคดม นิครนถ์นาฏบุตรบัญญัติว่า ทัณฑะๆ ดังนี้แล เป็น 
อาจิณ. 
      พ. ดูกรทีฆตปัสสี ก็นิครนถ์นาฏบุตรย่อมบัญญัติทัณฑะ ในการทำบาปกรรม ในการ 
เป็นไปแห่งบาปกรรมไว้เท่าไร? 
      ที. ท่านพระโคดม นิครนถ์นาฏบุตรย่อมบัญญัติทัณฑะในการทำบาปกรรม ในการเป็นไป 
แห่งบาปกรรมไว้ ๓ ประการ คือ กายทัณฑะ ๑ วจีทัณฑะ ๑ มโนทัณฑะ ๑. 
      ดูกรตปัสสี ก็กายทัณฑะอย่างหนึ่ง วจีทัณฑะอย่างหนึ่ง มโนทัณฑะอย่างหนึ่ง 
หรือ? 
      ท่านพระโคดม กายทัณฑะอย่างหนึ่ง วจีทัณฑะอย่างหนึ่ง มโนทัณฑะอย่างหนึ่ง. 
      ดูกรตปัสสี ก็บรรดาทัณฑะ ๓ ประการนี้ ที่จำแนกออกแล้วเป็นส่วนละอย่างต่างกัน 
เหล่านี้ ทัณฑะไหน คือ กายทัณฑะ วจีทัณฑะ หรือมโนทัณฑะ ที่นิครนถ์นาฏบุตรบัญญัติว่ามี 
โทษมากกว่า ในการทำบาปกรรม ในการเป็นไปแห่งบาปกรรม? 
      ท่านพระโคดม บรรดาทัณฑะทั้ง ๓ ประการ ที่จำแนกออกแล้วเป็นส่วนละอย่าง 
ต่างกันเหล่านี้ นิครนถ์นาฏบุตรบัญญัติว่า กายทัณฑะมีโทษมากกว่า ในการทำบาปกรรม ใน 
การเป็นไปแห่งบาปกรรม จะบัญญัติวจีทัณฑะ มโนทัณฑะ ว่ามีโทษมากเหมือนกายทัณฑะ 
หามิได้. 
      ดูกรตปัสสี ท่านกล่าวว่ากายทัณฑะหรือ? 
      ท่านพระโคดม ข้าพเจ้าว่ากายทัณฑะ. 
      ดูกรตปัสสี ท่านกล่าวว่ากายทัณฑะหรือ? 
      ท่านพระโคดม ข้าพเจ้ากล่าวว่ากายทัณฑะ. 
      ดูกรตปัสสี ท่านกล่าวว่ากายทัณฑะหรือ? 
      ท่านพระโคดม ข้าพเจ้ากล่าวว่ากายทัณฑะ. 
      พระผู้มีพระภาคทรงให้ทีฆตปัสสีนิครนถ์ ยืนยันในเรื่องที่พูดนี้ถึง ๓ ครั้ง ด้วยประการ 
ฉะนี้. 
      [๖๔] เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว  ทีฆตปัสสีนิครนถ์ได้กราบทูลถามพระผู้มี 
พระภาคว่า ท่านพระโคดม พระองค์เล่าย่อมบัญญัติทัณฑะ ในการทำบาปกรรม ในการเป็นไป 
แห่งบาปกรรมไว้เท่าไร? 
      ดูกรตปัสสี ตถาคตจะบัญญัติว่ากรรมๆ ดังนี้เป็นอาจิณ. 
      ท่านพระโคดม ก็พระองค์ย่อมบัญญัติกรรม ในการทำบาปกรรม ในการเป็นไปแห่ง 
บาปกรรม ไว้เท่าไร? 
      ดูกรตปัสสี เราย่อมบัญญัติกรรม ในการทำบาปกรรม ในการเป็นไปแห่งบาปกรรมไว้ ๓ 
ประการ คือ กายกรรม ๑ วจีกรรม ๑ มโนกรรม ๑. 
      พระโคดม ก็กายกรรมอย่างหนึ่ง วจีกรรมอย่างหนึ่ง มโนกรรมอย่างหนึ่งมิใช่หรือ? 
      ดูกรตปัสสี กายกรรมอย่างหนึ่ง วจีกรรมอย่างหนึ่ง มโนกรรมอย่างหนึ่ง. 
      ท่านพระโคดม ก็บรรดากรรมทั้ง ๓ ประการ ที่จำแนกออกแล้วเป็นส่วนละอย่างต่างกัน 
เหล่านี้ กรรมไหน คือ กายกรรม วจีกรรม หรือมโนกรรมที่พระองค์บัญญัติว่ามีโทษมากกว่า 
ในการทำบาปกรรม ในการเป็นไปแห่งบาปกรรม? 
      ดูกรตปัสสี บรรดากรรมทั้ง ๓ ประการ ที่จำแนกออกแล้วเป็นส่วนละอย่างต่างกัน 
เหล่านี้ เราบัญญัติมโนกรรมว่ามีโทษมากกว่า ในการทำบาปกรรม ในการเป็นไปแห่งบาปกรรม 
เราจะบัญญัติกายกรรม วจีกรรมว่ามีโทษมากเหมือนมโนกรรมหามิได้. 
      ท่านพระโคดม พระองค์ตรัสว่ามโนกรรมหรือ? 
      ดูกรตปัสสี เรากล่าวว่ามโนกรรม. 
      ท่านพระโคดม พระองค์ตรัสว่ามโนกรรมหรือ? 
      ดูกรตปัสสี เรากล่าวว่ามโนกรรม. 
      ท่านพระโคดม พระองค์ตรัสว่ามโนกรรมหรือ? 
      ดูกรตปัสสี เรากล่าวว่ามโนกรรม. 
      ทีฆตปัสสีนิครนถ์ให้พระผู้มีพระภาคทรงยืนยันในเรื่องที่ตรัสนี้ถึง ๓ ครั้ง ด้วยประการ 
ฉะนี้ แล้วลุกจากอาสนะเข้าไปหานิครนถ์นาฏบุตรถึงที่อยู่. 
      [๖๕] ก็สมัยนั้น นิครนถ์นาฏบุตรนั่งอยู่พร้อมด้วยคิหิบริษัทเป็นอันมาก ผู้มีความเขลา 
มีอุบาลิคฤหบดีเป็นประมุข. ได้เห็นทีฆตปัสสีนิครนถ์มาแต่ไกล ได้กล่าวกะทีฆตปัสสีนิครนถ์ว่า 
ดูกรตปัสสี ดูเถอะ ท่านมาจากไหนแต่ยังวันเทียวหนอ? 
      ทีฆตปัสสีตอบว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้ามาจากสำนักพระโคดมนี้เอง. 
      นิ. ดูกรตปัสสี ก็ท่านได้เจรจาปราศรัยกับพระสมณโคดมเรื่องอะไรบ้างหรือ? 
      ที. ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้าได้เจรจาปราศรัยกับพระสมณโคดมมาบ้าง. 
      ดูกรตปัสสี ก็ท่านได้เจรจาปราศรัยกับพระสมณโคดมมาอย่างไร? 
      ลำดับนั้น ทีฆตปัสสีนิครนถ์บอกเรื่องการเจรจาปราศรัยกับพระผู้มีพระภาคจนหมดสิ้น 
แก่นิครนถ์นาฏบุตร. เมื่อทีฆตปัสสีกล่าวอย่างนี้แล้ว นิครนถ์นาฏบุตรได้กล่าวกะทีฆตปัสสีนิครนถ์ 
ว่า ดูกรตปัสสี ดีละๆ ข้อที่ทีฆตปัสสีนิครนถ์พยากรณ์แก่พระสมณโคดม ตรงตามที่สาวกผู้ฟัง 
ผู้รู้ทั่วถึงคำสอนของศาสดาโดยชอบ มโนทัณฑะอันต่ำทราม จะงามอะไรเล่า เมื่อเทียบกับกาย- 
ทัณฑะอันยิ่งใหญ่อย่างนี้ โดยที่แท้ กายทัณฑะเท่านั้นมีโทษมากกว่า ในการทำบาปกรรม 
ในการเป็นไปแห่งบาปกรรม วจีทัณฑะ มโนทัณฑะ หามีโทษมากเหมือนกายทัณฑะไม่. 
      [๖๖] เมื่อนิครนถ์นาฏบุตรกล่าวอย่างนี้แล้ว อุบาลีคฤหบดีได้กล่าวกะนิครนถ์นาฏบุตร 
ว่า ท่านผู้เจริญ ท่านทีฆตปัสสีพยากรณ์ดีแล้วๆ ข้อที่ท่านทีฆตปัสสีพยากรณ์แก่พระสมณโคดม 
ตรงตามที่สาวกผู้ฟัง ผู้รู้ทั่วถึงคำสอนของศาสดาโดยชอบ มโนทัณฑะอันต่ำทรามจะงามอะไรเล่า 
เมื่อเทียบกับกายทัณฑะอันยิ่งใหญ่อย่างนี้  โดยที่แท้ กายทัณฑะเท่านั้นมีโทษมากกว่า ในการทำ 
บาปกรรม ในการเป็นไปแห่งบาปกรรม วจีทัณฑะ มโนทัณฑะ หามีโทษมากเหมือนกายทัณฑะ 
ไม่ ท่านผู้เจริญ เอาเถอะ ข้าพเจ้าจะไป จักยกวาทะในเรื่องที่พูดนี้แก่พระสมณโคดม ถ้า 
พระสมณโคดมจักยืนยันแก่ข้าพเจ้า เหมือนอย่างที่ยืนยันกับท่านตปัสสีไซร้ ข้าพเจ้าจักฉุดกระชาก 
ลากไปมา ซึ่งวาทะด้วยวาทะกะพระสมณโคดม เหมือนบุรุษมีกำลังพึงจับแกะมีขนยาวที่ขนแล้ว 
ฉุดกระชากลากไปมา ฉะนั้น ข้าพเจ้าจักฉุดกระชากลากไปมา ซึ่งวาทะด้วยวาทะกะพระสมณโคดม 
เหมือนบุรุษมีกำลังผู้ทำการงานโรงสุรา พึงทิ้งกระสอบเครื่องประกอบสุราใหญ่ไว้ในห้วงน้ำลึก 
แล้วจับที่มุมฉุดกระชากลากไปมา ฉะนั้น ข้าพเจ้าจักขจัด ขยี้ บด ซึ่งวาทะด้วยวาทะกะพระสมณ 
โคดม เหมือนบุรุษที่มีกำลังเป็นนักเลงสุรา พึงจับถ้วยสุราที่หูถ้วยแล้ว พลิกลง พลิกขึ้น 
ไสไป ฉะนั้น ข้าพเจ้าจักเล่นดังเล่นล้างเปลือกป่าน กะพระสมณโคดม เหมือนช้างแก่อายุ ๖๐ ปี 
ลงไปยังสระลึกเล่นล้างเปลือกป่าน ฉะนั้น ข้าแต่ท่านผู้เจริญ เอาเถอะ ข้าพเจ้าจะไป จักยกวาทะ 
ในเรื่องที่พูดนี้แก่พระสมณโคดม. 
      นิ. ดูกรคฤหบดี ท่านจงไป จงยกวาทะในเรื่องที่พูดนี้แก่พระสมณโคดม ดูกรคฤหบดี 
เราก็ได้ ทีฆตปัสสีนิครนถ์ก็ได้ ท่านก็ได้ พึงยกวาทะแก่พระสมณโคดม. 
      [๖๗] เมื่อนิครนถ์นาฏบุตรกล่าวอย่างนี้แล้ว ทีฆตปัสสีนิครนถ์ได้กล่าวกะนิครนถ์- 
นาฏบุตรว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ข้อที่อุบาลีคฤหบดีจะพึงยกวาทะแก่พระสมณโคดมนั้น ข้าพเจ้า 
ไม่ชอบใจเลย ด้วยว่า พระสมณโคดมเป็นคนมีมายา ย่อมรู้มายาเป็นเครื่องกลับใจสาวกของ 
พวกอัญญเดียรถีย์. 
      นิ. ดูก่อนตปัสสี ข้อที่อุบาลีคฤหบดีจะพึงเข้าถึงความเป็นสาวกของพระสมณโคดม 
มิใช่ฐานะ มิใช่โอกาส แต่ข้อที่พระสมณโคดมจะพึงเข้าถึงความเป็นสาวกของอุบาลีคฤหบดี 
เป็นฐานะที่จะมีได้ ดูกรคฤหบดี ท่านจงไป จงยกวาทะในเรื่องที่พูดนี้แก่พระสมณโคดม 
เราก็ได้ ทีฆตปัสสีก็ได้ ท่านก็ได้ พึงยกวาทะแก่พระสมณโคดม. 
      ทีฆตปัสสีนิครนถ์ได้กล่าวเตือนนิครนถ์นาฏบุตรเป็นครั้งที่ ๒ ว่าข้าแต่ท่านผู้เจริญ ข้อที่ 
อุบาลีคฤหบดีจะพึงยกวาทะแก่พระสมณโคดมนั้น ข้าพเจ้าไม่ชอบใจเลย ด้วยพระสมณโคดม 
เป็นคนมีมายา ย่อมรู้มายาเป็นเครื่องกลับใจสาวกของพวกอัญญเดียรถีย์. 
      นิ. ดูกรตปัสสี ข้อที่อุบาลีคฤหบดีจะพึงเข้าถึงความเป็นสาวกของพระสมณโคดม 
มิใช่ฐานะ มิใช่โอกาส แต่ข้อที่พระสมณโคดมจะพึงเข้าถึงความเป็นสาวกของอุบาลีคฤหบดี 
เป็นฐานะที่จะมีได้ ดูกรคฤหบดี ท่านจงไป จงยกวาทะในเรื่องที่พูดนี้แก่พระสมณโคดม 
เราก็ได้ ทีฆตปัสสีก็ได้ ท่านก็ได้ พึงยกวาทะแก่พระสมณโคดม. 
      ทีฆตปัสสีนิครนถ์ได้กล่าวเตือนนิครนถ์นาฏบุตรเป็นครั้งที่ ๓ ว่าข้าแต่ท่านผู้เจริญ ข้อที่ 
อุบาลีคฤหบดีจะพึงยกวาทะแก่พระสมณโคดมนั้น ข้าพเจ้าไม่ชอบใจเลย ด้วยพระสมณโคดม 
เป็นคนมีมายา ย่อมรู้มายาเป็นเครื่องกลับใจสาวกของพวกอัญญเดียรถีย์. 
      นิ. ดูกรตปัสสี ข้อที่อุบาลีคฤหบดีจะพึงเข้าถึงความเป็นสาวกของพระสมณโคดม 
มิใช่ฐานะ มิใช่โอกาส แต่ข้อที่พระสมณโคดมจะพึงเข้าถึงความเป็นสาวกของอุบาลีคฤหบดี 
เป็นฐานะที่จะมีได้ ดูกรคฤหบดี ท่านจงไป จงยกวาทะในเรื่องที่พูดนี้แก่พระสมณโคดม เราก็ได้ 
ทีฆตปัสสีก็ได้ ท่านก็ได้ พึงยกวาทะแก่พระสมณโคดม. 
      [๖๘] อุบาลีคฤหบดีรับคำนิครนถ์นาฏบุตรแล้ว ลุกจากอาสนะไหว้นิครนถ์นาฏบุตร 
ทำประทักษิณแล้ว เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงปาวาริกัมพวัน ถวายบังคมพระผู้มีพระภาค แล้ว 
นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง. (>>>> ยามนั้นเป็นยามเช้าหลังจากฉันอาหาร(รับประทาน) 
จึงสามารถสนทนาได้อย่างเต็มที่ <<<<) 
ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ทีฆตปัสสีนิครนถ์ ได้มา ณ ที่นี้หรือ? 
      พระผู้มีพระภาคได้ตรัสตอบว่า ดูกรคฤหบดี ทีฆตปัสสีนิครนถ์ได้มา ณ ที่นี้. 
      ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็พระองค์ได้เจรจาปราศรัยเรื่องอะไรๆ กับทีฆตปัสสีนิครนถ์ 
บ้างหรือ? 
      ดูกรคฤหบดี เราได้เจรจาปราศรัยกับทีฆตปัสสีนิครนถ์บ้าง. 
      ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็พระองค์ได้เจรจาปราศรัยกับทีฆตปัสสีนิครนถ์อย่างไรบ้าง? 
      ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาค ตรัสบอกเรื่องการเจรจาปราศรัยกับทีฆตปัสสีนิครนถ์จน 
หมดสิ้นแก่อุบาลีคฤหบดี. เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสบอกอย่างนี้แล้ว อุบาลีคฤหบดีได้กราบทูล 
พระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ทีฆตปัสสีพยากรณ์ดีแล้วๆ ข้อที่ทีฆตปัสสีพยากรณ์ 
แก่พระผู้มีพระภาคนั้น ตรงตามที่สาวกผู้ฟัง ผู้รู้ทั่วถึงคำสอนของพระศาสดาโดยชอบ มโนทัณฑะ 
อันต่ำทรามนั้นจะงามอะไรเล่า เมื่อเทียบกับกายทัณฑะนี้ อันยิ่งใหญ่อย่างนี้ โดยที่แท้ 
กายทัณฑะเท่านั้นมีโทษมากกว่า ในการทำบาปกรรม ในการเป็นไปแห่งบาปกรรม วจีทัณฑะ 
มโนทัณฑะ หามีโทษมากเหมือนกายทัณฑะไม่. 
      ดูกรคฤหบดี ถ้าแลท่านจะพึงมั่นอยู่ในคำสัตย์เจรจากัน เราทั้งสองพึงเจรจาปราศรัยกันได้ 
ในเรื่องนี้. 
      ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพเจ้าจักมั่นอยู่ในคำสัตย์เจรจากัน ขอเราทั้งสองจงเจรจาปราศรัย 
กันในเรื่องนี้เถิด. 
                พระผู้มีพระภาคทรงย้อนถามปัญหากรรม ๓ 
      [๖๙] ดูกรคฤหบดี ท่านจะสำคัญในความข้อนั้นเป็นไฉน นิครนถ์ในโลกนี้เป็นคน 
อาพาธ มีทุกข์ เป็นไข้หนัก ห้ามน้ำเย็น ดื่มแต่น้ำร้อน เมื่อเขาไม่ได้น้ำเย็นจะต้องตาย 
ดูกรคฤหบดี ก็นิครนถ์นาฏบุตรบัญญัติความเกิดของนิครนถ์ผู้นี้ในที่ไหนเล่า? 
      ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เทวดาชื่อว่ามโนสัตว์มีอยู่ นิครนถ์นั้นย่อมเกิดในเทวดาจำพวกนั้น 
ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เพราะนิครนถ์ผู้นั้นเป็นผู้มีใจเกาะเกี่ยวทำกาละ. 
      ดูกรคฤหบดี ท่านจงมนสิการ ครั้นแล้ว จงพยากรณ์คำหลังกับคำก่อนก็ดี คำก่อนกับ 
คำหลังก็ดี ของท่าน ไม่ต่อกันเลย ดูกรคฤหบดี ก็ท่านกล่าวคำนี้ไว้ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ 
ข้าพเจ้าจะมั่นอยู่ในคำสัตย์เจรจาต่อกัน ของเราทั้งสองจงเจรจาปราศรัยกันในเรื่องนี้เถิด. 
      ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้ก็จริง ถึงอย่างนั้นกายทัณฑะเท่านั้น 
มีโทษมากกว่า ในการทำบาปกรรมในการเป็นไปแห่งบาปกรรม วจีทัณฑะ มโนทัณฑะ หามีโทษ 
มากเหมือนกายทัณฑะไม่. 
      [๗๐] ดูกรคฤหบดี ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน นิครนถ์ในโลกนี้พึงเป็นผู้ 
สำรวมด้วยการสังวรโดยส่วน ๔ คือห้ามน้ำทั้งปวง ประกอบด้วยการห้ามบาปทั้งปวง กำจัดบาป 
ด้วยการห้ามบาปทั้งปวง อันการห้ามบาปทั้งปวงถูกต้องแล้ว เมื่อเขาก้าวไป ถอยกลับ ย่อมถึง 
การฆ่าสัตว์ตัวเล็กๆ เป็นอันมาก ดูกรคฤหบดี ก็นิครนถ์นาฏบุตรบัญญัติวิบากเช่นไรแก่นิครนถ์ 
ผู้นี้? 
      ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ นิครนถ์นาฏบุตรมิได้บัญญัติกรรม อันเป็นไปโดยไม่จงใจว่ามี 
โทษมากเลย. 
      ดูกรคฤหบดี ก็ถ้าจงใจเล่า? 
      ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เป็นกรรมมีโทษมาก. 
      ดูกรคฤหบดี ก็นิครนถ์นาฏบุตรบัญญัติเจตนาลงในส่วนไหน? 
      ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ นิครนถ์นาฏบุตรบัญญัติเจตนาลงในส่วนมโนทัณฑะ. 
      ดูกรคฤหบดี ท่านจงมนสิการ ครั้นแล้ว จงพยากรณ์ คำหลังกับคำก่อนก็ดี คำก่อน 
กับคำหลังก็ดี ของท่าน ไม่ต่อกันเลย ดูกรคฤหบดี ก็ท่านกล่าวคำนี้ไว้ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ 
ข้าพเจ้าจะมั่นอยู่ในคำสัตย์เจรจากัน ขอเราทั้งสองจงเจรจาปราศรัยกันในเรื่องนี้เถิด. 
      ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้ก็จริง ถึงอย่างนั้น กายทัณฑะเท่านั้น 
มีโทษมากกว่า ในการทำบาปกรรม ในการเป็นไปแห่งบาปกรรม วจีทัณฑะ มโนทัณฑะ 
หามีโทษมากเหมือนกายทัณฑะไม่. 
      ดูกรคฤหบดี ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน บ้านนาลันทานี้เป็นบ้านมั่งคั่ง เป็น 
บ้านเจริญ มีชนมาก มีมนุษย์เกลื่อนกล่น? 
      อย่างนั้น พระเจ้าข้า บ้านนาลันทา เป็นบ้านมั่งคั่ง เป็นบ้านเจริญ มีชนมาก 
มีมนุษย์เกลื่อนกล่น. 
      ดูกรคฤหบดี ท่านจะสำคัญความข้อนี้เป็นไฉน ในบ้านนาลันทานี้ พึงมีบุรุษคนหนึ่ง 
เงื้อดาบมา เขาพึงกล่าวอย่างนี้ว่า เราจักทำสัตว์เท่าที่มีอยู่ในบ้านนาลันทานี้ ให้เป็นลานเนื้อ 
อันเดียวกัน ให้เป็นกองเนื้ออันเดียวกัน โดยขณะหนึ่ง โดยครู่หนึ่ง ดูกรคฤหบดี ท่านจะสำคัญ 
ความข้อนั้นเป็นไฉน บุรุษนั้นจะสามารถทำสัตว์เท่าที่มีอยู่ในบ้านนาลันทานี้ ให้เป็นลานเนื้อ 
อันเดียวกัน ให้เป็นกองเนื้ออันเดียวกัน โดยขณะหนึ่ง โดยครู่หนึ่งได้หรือ? 
      ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ บุรุษ ๑๐ คนก็ดี ๒๐ คนก็ดี ๓๐ คนก็ดี ๔๐ คนก็ดี ๕๐ คนก็ดี 
ไม่สามารถจะทำสัตว์เท่าที่มีอยู่ในบ้านนาลันทานี้ ให้เป็นลานเนื้ออันเดียวกัน ให้เป็นกองเนื้อ 
อันเดียวกัน โดยขณะหนึ่ง โดยครู่หนึงได้ พระเจ้าข้า บุรุษผู้ต่ำทรามคนเดียว จะงาม 
อะไรเล่า. 
      ดูกรคฤหบดี ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน สมณะหรือพราหมณ์ผู้มีฤทธิ์ ถึงความ 
เป็นผู้ชำนาญในทางจิต พึงมาในบ้านนาลันทานี้ สมณะหรือพราหมณ์นั้น พึงกล่าวอย่างนี้ว่า 
เราจักทำบ้านนาลันทานี้ให้เป็นเถ้า ด้วยใจคิดประทุษร้ายดวงเดียว ดูกรคฤหบดี ท่านจะสำคัญ 
ความข้อนั้นเป็นไฉน สมณะหรือพราหมณ์ผู้มีฤทธิ์ ถึงความเป็นผู้ชำนาญในทางจิตนั้น จะสามารถ 
ทำบ้านนาลันทานี้ให้เป็นเถ้า ด้วยใจประทุษร้ายดวงหนึ่งได้หรือหนอ? 
      ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ บ้านนาลันทา ๑๐ บ้านก็ดี ๒๐ บ้านก็ดี ๓๐ บ้านก็ดี ๔๐ บ้านก็ดี 
๕๐ บ้านก็ดี สมณะหรือพราหมณ์ผู้มีฤทธิ์ ถึงความเป็นผู้ชำนาญในทางจิตนั้น สามารถจะทำให้ 
เป็นเถ้าได้ด้วยใจประทุษร้ายดวงหนึ่ง บ้านนาลันทาอันต่ำทรามบ้านเดียวจะงามอะไรเล่า. 
>>>> บางคนที่ไม่เชื่อในเรื่องอำนาจทางจิต ผมจะเปรียบเทียบให้ใหม่ว่า กำลังอยู่ในสนามรบ  
นายทหารปืนใหญ่มีปืนใหญ่ที่มีอนุภาพมากทำลายเมืองทั้งเมืองได้  เล็งปืนใหญ่ไปยังบ้านนาลันทา  
นายทหารคนนี้เป็นผู้มีอำนาจในการยิงปืนใหญ่ ถ้านายทหารคนนี้โกรธและขัดใจ  
เพราะการสู้รบด้วยปืนธรรมดาและดาบปลายปืนมันล้าช้าและกลัวว่าฝ่ายตัวเองเสียชีวิตมาก 
จึงกดปุ่มยิงปืนใหญ่ จะเห็นว่าใจเป็นผู้สั่ง 
        หมายเหตุ  *** การอ่านและวิเคราะห์ในส่วนนี้ จะเห็นว่าพระพุทธเจ้าทรงยกเรื่องความเชื่อ 
ของพวกนิครนถ์ ให้เห็นถึงความขัดไม่ตรงกันของความเชื่อที่ตนเองศรัทธาอยู่***<<<< 
      ดูกรคฤหบดี ท่านจงมนสิการ ครั้นแล้วจงพยากรณ์ คำหลังกับคำก่อนก็ดี คำก่อน 
กับคำหลังก็ดี ของท่าน ไม่ต่อกันเลย ดูกรคฤหบดี ก็ท่านกล่าวคำนี้ไว้ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ 
ข้าพเจ้าจะมั่นอยู่ในคำสัตย์เจรจากัน ขอเราทั้งสองจงเจรจาปราศรัยกันในเรื่องนี้เถิด. 
      ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้ก็จริงถึงอย่างนั้น กายทัณฑะเท่านั้น 
มีโทษมากกว่า ในการทำบาปกรรม ในการเป็นไปแห่งบาปกรรม วจีทัณฑะ มโนทัณฑะ 
หามีโทษมากเหมือนกายทัณฑะไม่. 
      ดูกรคฤหบดี ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน ป่าทัณฑกี ป่ากาลิงคะ ป่าเมชฌะ 
ป่ามาตังคะ เกิดเป็นป่าไป ท่านได้ฟังมาแล้วหรือ? 
      อย่างนั้น พระองค์ผู้เจริญ ป่าทัณฑกี ป่ากาลิงคะ ป่าเมชฌะ ป่ามาตังคะ เกิดเป็นป่าไป 
ข้าพเจ้าได้ฟังมาแล้ว. 
      ดูกรคฤหบดี ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน ป่าทัณฑกี ป่ากาลิงคะ ป่าเมชฌะ 
ป่ามาตังคะ เกิดเป็นป่าไป ท่านได้ฟังมาว่าอย่างไร เกิดเป็นป่าไปเพราะเหตุอะไร? 
      ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ได้ฟังมาว่า ป่าทัณฑกี ป่ากาลิงคะ ป่าเมชฌะ 
ป่ามาตังคะ เกิดเป็นป่าไปนั้น เพราะใจประทุษร้าย อันพวกเทวดาทำเพื่อฤาษี. 
      ดูกรคฤหบดี ท่านจงมนสิการ ครั้นแล้วจงพยากรณ์ คำหลังกับคำก่อนก็ดี คำก่อน 
กับคำหลังก็ดี ของท่าน ไม่ต่อกันเลย ดูกรคฤหบดี ก็ท่านได้กล่าวคำนี้ไว้ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ 
ข้าพเจ้าจะมั่นอยู่ในคำสัตย์เจรจากัน ขอเราทั้งสองจงเจรจาปราศรัยกันในเรื่องนี้เถิด. 
                    อุบาลีคฤบดีแสดงตนเป็นอุบาสก 
      [๗๑] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระพุทธเจ้าชื่นชมยินดีต่อพระผู้มีพระภาคด้วยข้ออุปมา 
ข้อแรก แต่ข้าพระพุทธเจ้าปรารถนาจะฟังปฎิภาณการพยากรณ์ปัญหาอันวิจิตร ของพระผู้มีพระภาค 
นี้ ฉะนั้น ข้าพระพุทธเจ้าจึงยังแกล้งทำเป็นดุจถือตรงกันข้ามอยู่ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภาษิต 
ของพระองค์แจ่มแจ้งนัก ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก เปรียบเหมือน 
บุคคลหงายของที่คว่ำ เปิดของที่ปิด บอกทางแก่คนที่หลงทาง หรือตามประทีปในที่มืด ด้วยหวังว่า 
ผู้มีจักษุจักเห็นรูปดังนี้ ฉันใด พระผู้มีพระภาคทรงประกาศพระธรรมโดยอเนกปริยาย ฉันนั้น 
เหมือนกัน ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระพุทธเจ้านี้ขอถึงพระผู้มีพระภาค พระธรรม และพระ 
ภิกษุสงฆ์ว่าเป็นสรณะ ขอพระผู้มีพระภาคจงทรงจำข้าพระพุทธเจ้าว่าเป็นอุบาสก ผู้ถึงสรณะ 
ตลอดชีวิต ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป.( >>>> ยังไม่บรรลุธรรมเป็นโสดาบัน <<<<) 
      [๗๒] ดูกรคฤหบดี ท่านจงใคร่ครวญเสียก่อนแล้วจึงทำ การที่มนุษย์ผู้มีชื่อเสียง 
เช่นท่านใคร่ครวญเสียก่อนแล้วจึงทำเป็นความดี. 
      ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ แม้ด้วยเหตุที่พระผู้มีพระภาคตรัสกะข้าพระพุทธเจ้าอย่างนี้ว่า ดูกร 
คฤหบดี ท่านจงใคร่ครวญเสียก่อนแล้วจึงทำ การที่มนุษย์ผู้มีชื่อเสียงเช่นท่านใคร่ครวญเสียก่อน 
แล้วจึงทำเป็นความดีนี้ ข้าพระพุทธเจ้ายิ่งชื่นชมยินดีต่อพระผู้มีพระภาคมากขึ้น ข้าแต่พระองค์ 
ผู้เจริญ ด้วยว่าพวกอัญญเดียรถีย์ได้ข้าพระพุทธเจ้าเป็นสาวกแล้ว จะพึงยกธงปฏากเที่ยวไปตลอด 
บ้านนาลันทาทั้งสิ้น ซึ่งเป็นเหตุจะได้รู้กันว่า อุบาลีคฤหบดี ถึงความเป็นสาวกของพวกเราดังนี้ 
แต่พระผู้มีพระภาคตรัสกะข้าพระพุทธเจ้าอย่างนี้ว่า ดูกรคฤหบดี ท่านจงใคร่ครวญเสียก่อนแล้ว 
จึงทำ ด้วยว่ามนุษย์ผู้มีชื่อเสียงเช่นท่าน ใคร่ครวญเสียก่อนแล้วจึงทำเป็นความดี ดังนี้ ข้าแต่ 
พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระพุทธเจ้านี้ขอถึงพระผู้มีพระภาค พระธรรมและพระภิกษุสงฆ์ ว่าเป็นสรณะ 
เป็นครั้งที่ ๒ ขอพระผู้มีพระภาคจงทรงจำข้าพระพุทธเจ้าว่า เป็นอุบาสก ผู้ถึงสรณะตลอดชีวิต 
ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป. 
      [๗๓] ดูกรคฤหบดี ตระกูลของท่านเป็นดุจบ่อน้ำของพวกนิครนถ์มานานแล้ว ท่านพึง 
สำคัญบิณฑบาตอันท่านพึงให้แก่นิครนถ์เหล่านั้นผู้เข้าไปถึง. 
      ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ แม้ด้วยเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคตรัสกะข้าพระพุทธเจ้าอย่างนี้ว่า 
ดูกรคฤหบดี ตระกูลของท่านเป็นดุจบ่อน้ำของพวกนิครนถ์มานานแล้ว ท่านพึงสำคัญบิณฑบาต 
อันท่านพึงให้แก่นิครนถ์เหล่านั้นผู้เข้าไปถึงนี้ ข้าพระพุทธเจ้ายิ่งชื่นชมยินดีต่อพระผู้มีพระภาค 
มากขึ้น ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระพุทธเจ้าได้ฟังคำนี้มาว่า พระสมณโคดมตรัสอย่างนี้ว่า 
ควรให้ทานแก่เราเท่านั้น ไม่ควรให้ทานแก่คนเหล่าอื่น ควรให้ทานแก่สาวกทั้งหลายของเราเท่านั้น 
ไม่ควรให้ทานแก่สาวกของผู้อื่น ทานที่บุคคลให้แก่เราเท่านั้นมีผลมาก ทานที่บุคคลให้แก่สาวก 
ของผู้อื่นไม่มีผลมาก แต่ความจริง พระผู้มีพระภาคยังทรงชักชวนข้าพระพุทธเจ้าในการให้ทาน 
แม้ในพวกนิครนถ์ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็แต่ว่าข้าพระพุทธเจ้าจักทราบกาลอันควรในการให้ทาน 
นี้ ข้าพระพุทธเจ้านี้ ขอถึงพระผู้มีพระภาค พระธรรมและพระภิกษุสงฆ์ว่าเป็นสรณะ เป็นครั้ง 
ที่ ๓  ขอพระผู้มีพระภาคจงทรงจำข้าพระพุทธเจ้าว่าเป็นอุบาสกผู้ถึงสรณะตลอดชีวิต ตั้งแต่วันนี้ 
เป็นต้นไป. 
                       ทรงแสดงอนุบุพพิกถา 
      [๗๔] ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสอนุบุพพิกถาแก่อุบาลีคฤหบดีคือ ทรงประกาศ 
ทานกถา ศีลกถา สัคคกถา โทษแห่งกามอันต่ำทราม เศร้าหมอง อานิสงส์ในเนกขัมมะ 
เมื่อใดพระผู้มีพระภาคได้ทรงทราบอุบาลีคฤหบดีว่ามีจิตควร มีจิตอ่อน มีจิตปราศจากนิวรณ์ 
มีจิตสูง มีจิตผ่องใส เมื่อนั้น จึงทรงประกาศพระธรรมเทศนา ที่พระพุทธเจ้าทั้งหลายทรงยกขึ้น 
แสดงด้วยพระองค์เอง คือ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค เปรียบเหมือนผ้าขาวสะอาดปราศจากดำ 
ควรได้รับน้ำย้อมด้วยดี ฉันใด ธรรมจักษุอันปราศจากธุลี ปราศจากมลทิน เกิดขึ้นแก่อุบาลี 
คฤหบดีที่อาสนะนั้นเองว่า สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งมวลล้วนมีความ 
ดับไปเป็นธรรมดา ฉันนั้นเหมือนกัน. 
    ( >>>>เป็นบุคคลบรรลุธรรม โดยการชี้นำของพระพุทธเจ้าโดยตรง <<<<) 
      ลำดับนั้น อุบาลีคฤหบดีมีธรรมอันเห็นแล้ว มีธรรมอันบรรลุแล้ว มีธรรมอันรู้แจ้งแล้ว 
มีธรรมอันหยั่งลงมั่นแล้ว ข้ามวิจิกิจฉาแล้ว ปราศจากความเคลือบแคลง ถึงความเป็นผู้แกล้วกล้า 
ไม่ต้องเชื่อผู้อื่นในคำสอนของพระศาสดา ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ 
ข้าพระพุทธเจ้าขอทูลลาไป ณ บัดนี้ ข้าพระพุทธเจ้ามีกิจมาก มีธุระที่จะต้องทำมาก. 
      ดูกรคฤหบดี ท่านจงรู้กาลอันสมควร ณ บัดนี้เถิด. 
      [๗๕] ครั้งนั้นแล อุบาลีคฤหบดีชื่นชมยินดีภาษิตของพระผู้มีพระภาคแล้ว ลุกจาก 
อาสนะ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคทำประทักษิณ แล้วเข้าไปยังนิเวศน์ของตน เรียกนายประตูมา 
ว่า ดูกรนายประตูผู้สหาย ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป เราปิดประตูแก่พวกนิครนถ์ แก่พวกนางนิครนถ์ 
และเปิดประตูเพื่อพระผู้มีพระภาค เพื่อสาวกของพระผู้มีพระภาค คือ ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก 
อุบาสิกา ถ้านิครนถ์คนใดคนหนึ่งมา ท่านพึงว่ากะนิครนถ์คนนั้นอย่างนี้ว่า จงหยุดท่านผู้เจริญ อย่า 
เข้าไปเลยตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป อุบาลีคฤหบดีเข้าถึงความเป็นสาวกของพระสมณโคดมแล้ว ท่าน 
ปิดประตูแก่พวกนิครนถ์ แก่พวกนางนิครนถ์ ท่านเปิดประตูเพื่อพระผู้มีพระภาค สาวกของ 
พระผู้มีพระภาค คือ ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา ท่านผู้เจริญ ถ้าท่านมีความต้องการด้วยอาหาร 
ท่านจงหยุดอยู่ที่นี่แหละ ชนทั้งหลายจักนำมาเพื่อท่านในที่นี้ นายประตูรับคำอุบาลีคฤหบดีแล้ว. 
      [๗๖] ทีฆตปัสสีนิครนถ์ได้ฟังข่าวว่า อุบาลีคฤหบดีเข้าถึงความเป็นสาวกของพระสมณ- 
โคดมแล้ว ลำดับนั้น จึงเข้าไปหานิครนถ์นาฏบุตรถึงที่อยู่ ได้กล่าวกะนิครนถ์นาฏบุตรว่า 
ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้าได้ฟังข่าวนี้มาว่า อุบาลีคฤหบดีเข้าถึงความเป็นสาวกของพระสมณโคดม 
แล้ว. 
      นิ. ดูกรตปัสสี ข้อที่อุบาลีคฤหบดีจะพึงเข้าถึงความเป็นสาวกของพระสมณโคดมนั้น 
มิใช่ฐานะ มิใช่โอกาส แต่ข้อที่พระสมณโคดมจะพึงเข้าถึงความเป็นสาวกของอุบาลีคฤหบดีนั้น 
เป็นฐานะที่จะมีได้. 
      ทีฆตปัสสีนิครนถ์ได้กล่าวกะนิครนถ์นาฏบุตรเป็นครั้งที่ ๒ ว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้า 
ได้ฟังข่าวนี้มาว่า อุบาลีคฤหบดีเข้าถึงความเป็นสาวกของพระสมณโคดมแล้ว. 
      นิ. ดูกรตปัสสี ข้อที่อุบาลีคฤหบดีจะพึงเข้าถึงความเป็นสาวกของพระสมณโคดมนั้น 
มิใช่ฐานะ มิใช่โอกาส แต่ข้อที่พระสมณโคดมจะพึงเข้าถึงความเป็นสาวกของอุบาลีคฤหบดีนั้น 
เป็นฐานะที่จะมีได้. 
      ทีฆตปัสสีนิครนถ์ ได้กล่าวกะนิครนถ์นาฏบุตรเป็นครั้งที่ ๓ ว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ 
ข้าพเจ้าได้ฟังข่าวนี้มาว่า อุบาลีคฤหบดีเข้าถึงความเป็นสาวกของพระสมณโคดมแล้ว. 
      นิ. ดูกรตปัสสี ข้อที่อุบาลีคฤหบดีจะพึงเข้าถึงความเป็นสาวกของพระสมณโคดมนั้น 
มิใช่ฐานะ มิใช่โอกาส แต่ข้อที่พระสมณโคดมจะพึงเข้าถึงความเป็นสาวกของอุบาลีคฤหบดีนั้น 
เป็นฐานะที่จะมีได้. 
      ที. ข้าแต่ท่านผู้เจริญ เอาเถอะ ข้าพเจ้าจะไป เพียงจะทราบว่าอุบาลีคฤหบดีเข้าถึงความ 
เป็นสาวกของพระสมณโคดมแล้ว หรือหาไม่? 
      นิ. ดูกรตปัสสี ท่านจงไป จงรู้ว่า อุบาลีคฤหบดีเข้าถึงความเป็นสาวกของพระ 
สมณโคดม หรือหาไม่? 
                      ห้ามพวกเดียรถีย์เข้าบ้าน 
      [๗๗] ครั้งนั้น ทีฆตปัสสีนิครนถ์ จึงเข้าไปยังนิเวศน์ของอุบาลีคฤหบดี นายประตู 
ได้เห็นทีฆตปัสสีนิครนถ์มาแต่ไกลเทียว ครั้นแล้วจึงกล่าวว่า จงหยุดเถิดท่านผู้เจริญ อย่าเข้า 
มาเลย ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป อุบาลีคฤหบดีเข้าถึงความเป็นสาวกของพระสมณโคดมแล้ว 
ท่านปิดประตูแก่พวกนิครนถ์ แก่พวกนางนิครนถ์เปิดประตูเพื่อพระผู้มีพระภาคและสาวกของ 
พระผู้มีพระภาค คือ ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา ท่านผู้เจริญ ถ้าท่านมีความต้องการอาหาร 
จงหยุดอยู่ที่นี้แหละ ชนทั้งหลายจักนำมาเพื่อท่าน ณ ที่นี้. 
      ทีฆตปัสสีกล่าวว่า ผู้มีอายุ เรายังไม่ต้องการอาหารดอก  แล้วกลับจากที่นั้น เข้าไปหา 
นิครนถ์นาฏบุตรถึงที่อยู่ แล้วได้กล่าวว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ข้อที่อุบาลีคฤหบดีเข้าถึงความเป็น 
สาวกของพระโคดมนั้น เป็นความจริงทีเดียว ข้าพเจ้าไม่ได้คำที่ข้าพเจ้ากล่าวว่า ข้อที่อุบาลี 
คฤหบดีพึงยกวาทะแก่พระสมณโคดมนั้น ข้าพเจ้าไม่ชอบใจเลย ด้วยว่า พระสมณโคดมเป็น 
คนมีมายา ย่อมรู้มายาเป็นเครื่องกลับใจสาวกของพวกอัญญเดียรถีย์ ดังนี้ จากท่าน ข้าแต่ 
ท่านผู้เจริญ อุบาลีคฤหบดีของท่านถูกพระสมณโคดม กลับใจด้วยมายาอันเป็นเครื่องกลับใจ 
เสียแล้ว. 
      นิ. ดูกรตปัสสี ข้อที่อุบาลีคฤหบดีจะพึงเข้าถึงความเป็นสาวกของพระสมณโคดมนั้น 
มิใช่ฐานะ มิใช่โอกาส แต่ข้อที่พระสมณโคดมจะพึงเข้าถึงความเป็นสาวกของอุบาลีคฤหบดีนั้น 
เป็นฐานะที่จะมีได้. 
      ทีฆตปัสสีนิครนถ์ ได้กล่าวเป็นครั้งที่ ๒ ว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ข้อที่อุบาลีคฤหบดีเข้า 
ถึงความเป็นสาวกของพระสมณโคดมนั้น เป็นความจริงทีเดียว ข้าพเจ้าไม่ได้คำที่ข้าพเจ้ากล่าวว่า 
ข้อที่อุบาลีคฤหบดีจะพึงยกวาทะแก่พระสมณโคดมนั้น ข้าพเจ้าไม่ชอบใจเลย ด้วยว่าพระ- 
*สมณโคดมเป็นคนมีมายา ย่อมรู้มายาเป็นเครื่องกลับใจสาวกของพวกอัญญเดียรถีย์ ดังนี้ จากท่าน 
ข้าแต่ท่านผู้เจริญ อุบาลีคฤหบดีของท่านถูกพระสมณโคดมกลับใจ ด้วยมายาอันเป็นเครื่อง 
กลับใจเสียแล้ว. 
      นิ. ดูกรตปัสสี ข้อที่อุบาลีคฤหบดีจะพึงเข้าถึงความเป็นสาวกของพระสมณโคดมนั้น 
มิใช่ฐานะ มิใช่โอกาส แต่ข้อที่พระสมณโคดมจะพึงเข้าถึงความเป็นสาวกของอุบาลีคฤหบดีนั้น 
เป็นฐานะที่จะมีได้ และกล่าวต่อไปว่า เอาเถอะ ตปัสสี เราจะไปเพียงจะรู้เองทีเดียวว่า อุบาลี 
คฤหบดี เข้าถึงความเป็นสาวกของพระสมณโคดมจริงหรือไม่? 
      [๗๘] ลำดับนั้น นิครนถ์นาฏบุตร พร้อมด้วยนิครนถ์บริษัทเป็นอันมาก เข้าไปยัง 
นิเวศน์ของอุบาลีคฤหบดี นายประตูได้เห็นนิครนถ์นาฏบุตรมาแต่ไกล ได้กล่าวว่า จงหยุดเถิด 
ท่านผู้เจริญ อย่าเข้ามา ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป อุบาลีคฤหบดีเข้าถึงความเป็นสาวกของพระ- 
สมณโคดมแล้ว ท่านปิดประตูแก่พวกนิครนถ์ แก่พวกนางนิครนถ์แล้ว ท่านเปิดประตูเพื่อ 
พระผู้มีพระภาคและสาวกของพระผู้มีพระภาค คือ ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา ท่านผู้เจริญ 
ถ้าท่านต้องการอาหาร จงหยุดอยู่ที่นี่แหละ ชนทั้งหลายจักนำมาเพื่อท่าน ณ ที่นี้. 
      นิ. นายประตูผู้เป็นสหาย ถ้าอย่างนั้น ท่านจงเข้าไปหาอุบาลีคฤหบดี แล้วจงกล่าว 
อย่างนี้ว่า นิครนถ์นาฏบุตรพร้อมด้วยนิครนถ์บริษัทเป็นอันมาก มายืนอยู่ที่ซุ้มประตูข้างนอก 
เขาอยากจะพบท่าน นายประตูรับคำนิครนถ์นาฏบุตรแล้ว เข้าไปหาอุบาลีคฤหบดี แล้วได้เรียนว่า 
ข้าแต่ท่านผู้เจริญ นิครนถ์นาฏบุตรพร้อมด้วยนิครนถ์บริษัทเป็นอันมาก มายืนอยู่ที่ซุ้มประตู 
ข้างนอก เขาอยากจะพบท่าน. 
      อุ. ดูกรนายประตูผู้เป็นสหาย ถ้าอย่างนั้น ท่านจงปูลาดอาสนะไว้ที่ศาลาประตูกลาง. 
นายประตูรับคำอุบาลีคฤหบดีแล้ว ปูลาดอาสนะไว้ที่ศาลาประตูกลาง แล้วเข้าไปหาอุบาลีคฤหบดี 
แล้วได้เรียนว่า ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้าปูอาสนะไว้ที่ศาลาประตูกลางแล้ว ท่านย่อมสำคัญกาล 
อันควร ณ บัดนี้. ลำดับนั้น อุบาลีคฤหบดี เข้าไปยังศาลาประตูกลาง แล้วนั่งบนอาสนะอันเลิศ 
ประเสริฐอุดม และประณีต อันมีอยู่ ณ ที่นั้นเสียเอง แล้วเรียกนายประตูมาว่า นายประตู 
ผู้เป็นสหาย ถ้าอย่างนั้น ท่านจงเข้าไปหานิครนถ์นาฏบุตร จงกล่าวอย่างนี้ว่า ท่านผู้เจริญ 
อุบาลีคฤหบดีกล่าวอย่างนี้ว่า เชิญท่านเข้าไปเถิด ถ้าท่านจำนง. นายประตูรับคำอุบาลีคฤหบดีแล้ว 
เข้าไปนิครนถ์นาฏบุตร แล้วได้กล่าวว่า ท่านผู้เจริญ อุบาลีคฤหบดีกล่าวอย่างนี้ว่า ท่านผู้เจริญ 
เชิญท่านเข้าไปเถิด ถ้าท่านจำนง. ลำดับนั้น นิครนถ์นาฏบุตรพร้อมด้วยนิครนถ์บริษัทเป็น 
อันมาก เข้าไปยังศาลาประตูกลาง. 
      [๗๙] ครั้งนั้นแล ได้ยินว่า แต่ก่อนอุบาลีคฤหบดีเห็นนาฏบุตรมาแต่ไกลเท่าใด แล้ว 
ต้อนรับแต่ที่เท่านั้น เอาผ้าห่มกวาดอาสนะที่เลิศ ประเสริฐอุดม และประณีต อันมีอยู่ ณ ที่นั้น 
แล้วกำหนดให้นั่ง บัดนี้ ท่านอุบาลีคฤหบดีนั่งบนอาสนะที่เลิศ ประเสริฐ อุดม และประณีต 
อันมีอยู่ ณ ที่นั้นเสียเอง แล้วได้กล่าวกะนิครนถ์นาฏบุตรว่า ท่านคฤหบดีผู้เจริญ อาสนะมีอยู่ 
ถ้าท่านหวังเชิญนั่งเถิด. เมื่ออุบาลีคฤหบดีกล่าวอย่างนี้แล้ว นิครนถ์นาฏบุตรได้กล่าวว่า ท่าน 
เป็นบ้าเสียแล้วหรือ คฤหบดี ท่านเป็นคนเขลาเสียแล้วหรือ คฤหบดี ท่านกล่าวว่า ข้าแต่ท่าน 
ผู้เจริญ ข้าพเจ้าจะไป จักยกวาทะแก่พระสมณโคดม ครั้นไปแล้ว กลับถูกวาทะดุจไม้ขื่อ 
อันใหญ่สวมมาแล้วหรือ ดูกรคฤหบดี เปรียบเหมือนบุรุษผู้นำอัณฑะไป ถูกควักอัณฑะออก 
กลับมา ฉันใด ดูกรคฤหบดี อนึ่ง เปรียบเหมือนบุรุษนำดวงตาไป ถูกควักดวงตากลับมา 
ฉันใด ดูกรคฤหบดี ท่านก็ฉันนั้นแล กล่าวว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้าจะไป จักยกวาทะ 
แก่พระสมณโคดม ครั้นไปแล้ว กลับถูกวาทะดุจไม้ขื่ออันใหญ่สวมมาแล้ว ท่านถูกพระสมณะ- 
โคดมกลับใจ ด้วยมายาเป็นเครื่องกลับใจเสียแล้วหรือ. 
                        มายาเครื่องกลับใจ 
      [๘๐] อุ. ท่านผู้เจริญ มายาอันเป็นเครื่องกลับใจนี้ดี ท่านผู้เจริญ มายาอันนี้เป็น 
เครื่องกลับใจนี้งาม ท่านผู้เจริญ ญาติสาโลหิตผู้เป็นที่รักของข้าพเจ้าจะพึงกลับใจได้ด้วยมายา 
เครื่องกลับใจนี้ ข้อนั้นจะพึงเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูลเพื่อความสุขแก่ญาติสาโลหิตผู้เป็นที่รัก 
ของข้าพเจ้า สิ้นกาลนาน ท่านผู้เจริญ แม้ถ้ากษัตริย์ทั้งปวงจะพึงกลับใจได้ด้วยมายาเครื่อง 
กลับใจนี้ ข้อนั้นจะพึงเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุขแก่กษัตริย์แม้ทั้งปวง สิ้น 
กาลนาน ท่านผู้เจริญ แม้ถ้าพราหมณ์ทั้งปวงจะพึงกลับใจได้ด้วยมายาเครื่องกลับใจนี้ ข้อนั้น 
จะพึงเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูลเพื่อความสุขแก่พราหมณ์แม้ทั้งปวง สิ้นกาลนาน ท่านผู้เจริญ 
แม้ถ้าแพศย์ทั้งปวงจะพึงกลับใจได้ด้วยมายาเครื่องกลับใจนี้ ข้อนั้นจะพึงเป็นไปเพื่อประโยชน์ 
เกื้อกูล เพื่อความสุขแก่แพศย์แม้ทั้งปวง สิ้นกาลนาน ท่านผู้เจริญแม้ถ้าศูทรทั้งปวงจะพึง 
กลับใจได้ด้วยมายาเครื่องกลับใจนี้ ข้อนั้นจะพึงเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุขแก่ศูทร 
แม้ทั้งปวง สิ้นกาลนาน ท่านผู้เจริญ แม้ถ้าโลกพร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก หมู่สัตว์ 
พร้อมทั้งสมณะ พราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ จะพึงกลับใจได้ด้วยมายาเครื่องกลับใจนี้ ข้อนั้น 
จะพึงเป็นประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุขแก่โลก พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก แก่ 
หมู่สัตว์พร้อมสมณะ พราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ สิ้นกาลนาน ท่านผู้เจริญ ถ้าอย่างนั้น 
ข้าพเจ้าจักทำอุปมาแก่ท่าน วิญญูชนบางพวกในโลกนี้ ย่อมรู้อรรถแห่งภาษิตได้ แม้ด้วยการ 
เปรียบเทียบ. 
      [๘๑] ท่านผู้เจริญ เรื่องเคยมีมาแล้ว นางมาณวิกาสาว เป็นภริยาของพราหมณ์แก่ 
ผู้เฒ่าผู้ใหญ่คนหนึ่ง มีครรภ์ใกล้จะคลอด. ครั้งนั้น นางมาณวิกานั้นได้กล่าวกะพราหมณ์นั้นว่า 
ท่านพราหมณ์ ท่านจงไปซื้อลูกวานรจากตลาดมาไว้ จักได้เป็นเพื่อนเล่นของลูกเรา ท่านผู้เจริญ. 
เมื่อนางมาณวิกากล่าวอย่างนี้แล้ว พราหมณ์นั้นได้กล่าวว่า นางผู้เจริญ จงรอจนกว่าเธอจะคลอด 
เสียก่อนเถิด ถ้าเธอคลอดลูกเป็นชาย ฉันจักซื้อลูกวานรตัวผู้จากตลาดมาให้เธอ จักได้เป็น 
เพื่อนเล่นของลูกชายของเธอ แต่ถ้าเธอคลอดลูกเป็นหญิง ฉันจักซื้อลูกวานรตัวเมียจากตลาด 
มาให้เธอ จักได้เป็นเพื่อนเล่นของลูกหญิงของเธอ. 
      ท่านผู้เจริญ นางมาณวิกานั้นได้กล่าวเป็นครั้งที่ ๒ ว่า ท่านพราหมณ์ ท่านจงไปซื้อ 
ลูกวานรจากตลาดมาไว้ จักได้เป็นเพื่อนเล่นของลูกเรา ท่านผู้เจริญ. พราหมณ์ก็ได้กล่าวเป็น 
ครั้งที่ ๒ ว่า นางผู้เจริญ จงรอจนกว่าเธอจะคลอดเสียก่อนเถิด ถ้าเธอคลอดลูกเป็นชาย 
ฉันจักซื้อลูกวานรตัวผู้จากตลาดมาให้เธอ จักได้เป็นเพื่อนเล่นของลูกชายของเธอ แต่ถ้าเธอ 
คลอดลูกเป็นผู้หญิง ฉันจักซื้อลูกวานรตัวเมียจากตลาดมาให้เธอ เพื่อจักได้เป็นเพื่อนเล่นของ 
ลูกหญิงของเธอ. ท่านผู้เจริญ นางมาณวิกาได้กล่าวเป็นครั้งที่ ๓ ว่า ท่านพราหมณ์ ท่านจงไปซื้อ 
ลูกวานรจากตลาดมาไว้ จักได้เป็นเพื่อนเล่นของลูกเรา ท่านผู้เจริญ. ลำดับนั้น พราหมณ์ผู้นั้น 
กำหนัดมาก มีจิตปฏิพัทธ์ในนางมาณวิกานั้น จึงซื้อลูกวานรมาจากตลาด แล้วได้กล่าวว่า 
นางผู้เจริญ ฉันซื้อลูกวานรจากตลาดมาให้เธอแล้ว จักเป็นเพื่อนเล่นของลูกเธอ. เมื่อพราหมณ์ 
กล่าวอย่างนี้แล้ว นางมาณวิกานั้นได้กล่าวว่า ท่านพราหมณ์ ท่านจงไป จงอุ้มลูกวานรตัวนี้ 
เข้าไปหาบุตรช่างย้อมผู้ชำนาญการย้อม แล้วจงกล่าวอย่างนี้ว่า แน่ะเพื่อนผู้ชำนาญการย้อม 
ฉันอยากจะให้ท่านย้อมลูกวานรตัวนี้ให้เป็นสีน้ำย้อม ให้น้ำย้อมจับดี ทุบแล้วทุบอีกให้เกลี้ยงดี 
ทั้งสองข้าง. ลำดับนั้น พราหมณ์นั้นกำหนัดมาก มีจิตปฏิพัทธ์ในนางมาณวิกานั้น จึงอุ้มลูกวานร 
เข้าไปหาบุตรช่างย้อม ผู้ชำนาญการย้อม แล้วได้กล่าวว่า แน่ะเพื่อนผู้ชำนาญการย้อม ฉันอยาก 
จะให้ท่านย้อมลูกวานรนี้ให้เป็นสีน้ำย้อม ให้น้ำย้อมจับดี ทุบแล้วทุบอีกให้เกลี้ยงดีทั้งสองข้าง. 
เมื่อพราหมณ์กล่าวอย่างนี้ บุตรช่างย้อมผู้ชำนาญการย้อมได้กล่าวว่า ท่านผู้เจริญ  ลูกวานรของ 
ท่านตัวนี้ ควรแต่จะย้อมเท่านั้น แต่ไม่ควรจะทุบ ไม่ควรจะขัดสี ฉันใด. ท่านผู้เจริญ 
วาทะของนิครนถ์ผู้เขลา ก็ฉันนั้น  ควรเป็นที่ยินดีของคนเขลาเท่านั้น ไม่ควรเป็นที่ยินดี 
ไม่ควรซักไซร้ ไม่ควรพิจารณาของบัณฑิตทั้งหลาย. 
      ท่านผู้เจริญ ครั้นสมัยต่อมา พราหมณ์นั้นถือคู่ผ้าใหม่เข้าไปหาบุตรช่างย้อม ผู้ชำนาญ 
การย้อม แล้วได้กล่าวว่า แน่ะเพื่อนผู้ชำนาญการย้อม ฉันอยากจะให้ท่านย้อมคู่ผ้าใหม่นี้ให้เป็น 
สีน้ำย้อม ให้น้ำย้อมจับดี ทุบแล้วทุบอีกให้เกลี้ยงดีทั้งสองข้าง. เมื่อพราหมณ์กล่าวอย่างนี้แล้ว 
บุตรช่างย้อมผู้ชำนาญการย้อมได้กล่าวว่า ท่านผู้เจริญ คู่ผ้าใหม่ของท่านนี้ ควรจะย้อม ควรจะทุบ 
ควรจะขัดสี ฉันใด. ท่านผู้เจริญ วาทะของพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น 
ก็ฉันนั้น ควรเป็นที่ยินดีของบัณฑิตทั้งหลายเท่านั้น แต่ไม่ควรซักไซร้ และไม่ควรพิจารณาของ 
คนเขลาทั้งหลาย. 
      นิ. ดูกรคฤหบดี บริษัทพร้อมทั้งพระราชา รู้จักท่านอย่างนี้ว่า อุบาลีคฤหบดีเป็นสาวก 
ของนิครนถ์นาฏบุตร 
 จากคุณ : Vicha2 [ 23 พ.ย. 2543 / 20:12:34 น. ]  
     [ IP Address : 203.151.36.3 ] 
 
 
 ความคิดเห็นที่ 2 : (Vicha3) 
>>>> ผมจะกล่าวถึงอภัยราชกุมารต่อ ถึงแม้แสดงตนเป็นอุบาสกแล้วก็ตาม 
แต่ยังมีความสงสัยลังเลอยู่  จึงยังเอาธรรมของลัทธิอื่นมาเปรียบเทียบอยู่ 
ด้วยความสงสัยลังเล จึงต้องบุกป่าฝ่าดงไปเฝ้าพระพุทธเจ้า ดังมีในพระไตรปิฏก <<<< 

                                     อภยสูตร 
                  ความไม่รู้ความไม่เห็นมีเหตุมีปัจจัย 
      [๖๒๗] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ 
      สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ภูเขาคิชฌกูฏ ใกล้พระนครราชคฤห์ ครั้งนั้น 
อภัยราชกุมารเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้ว ประทับนั่ง 
ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ตรัสทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า 
      [๖๒๘] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ปุรณกัสสปกล่าวอย่างนี้ว่า เหตุไม่มี ปัจจัยไม่มี 
เพื่อความไม่รู้ เพื่อความไม่เห็น ความไม่รู้ ความไม่เห็น ไม่มีเหตุ ไม่มีปัจจัย เหตุไม่มี 
ปัจจัยไม่มี เพื่อความรู้ เพื่อความเห็น ความรู้ ความเห็น ไม่มีเหตุ ไม่มีปัจจัย ดังนี้ ใน 
เรื่องนี้ พระผู้มีพระภาคตรัสไว้อย่างไร? 
      [๖๒๙] พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า ดูกรราชกุมาร เหตุมี ปัจจัยมี เพื่อความไม่รู้ 
เพื่อความไม่เห็น ความไม่รู้ ความไม่เห็น มีเหตุ มีปัจจัย เหตุมี ปัจจัยมี เพื่อความรู้ 
เพื่อความเห็น ความรู้ ความเห็น มีเหตุ มีปัจจัย. 
      [๖๓๐] อ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เหตุเป็นไฉน ปัจจัยเป็นไฉน เพื่อความไม่รู้ 
เพื่อความไม่เห็น ความไม่รู้ ความไม่เห็น มีเหตุ มีปัจจัย อย่างไร? 
      [๖๓๑] พ. ดูกรราชกุมาร สมัยใด บุคคลมีใจฟุ้งซ่านด้วยกามราคะ อันกามราคะ 
เหนี่ยวรั้งไป และย่อมไม่รู้ ไม่เห็น อุบายเป็นเครื่องสลัดออก ซึ่งกามราคะที่บังเกิดขึ้นแล้ว 
ตามความเป็นจริง แม้ข้อนี้แล ก็เป็นเหตุ เป็นปัจจัย เพื่อความไม่รู้ เพื่อความไม่เห็น ความ 
ไม่รู้ ความไม่เห็น มีเหตุ มีปัจจัย แม้ด้วยประการฉะนี้. 
      [๖๓๒] ดูกรราชกุมาร อีกประการหนึ่ง สมัยใด บุคคลมีใจฟุ้งซ่านด้วยพยาบาท ... 
      [๖๓๓] ดูกรราชกุมาร อีกประการหนึ่ง สมัยใด บุคคลมีใจฟุ้งซ่านด้วยถีนมิทธะ ... 
      [๖๓๔] ดูกรราชกุมาร อีกประการหนึ่ง สมัยใด บุคคลมีใจฟุ้งซ่านด้วยอุทธัจจ- 
*กุกกุจจะ ... 
      [๖๓๕] ดูกรราชกุมาร อีกประการหนึ่ง สมัยใด บุคคลมีใจฟุ้งซ่านด้วยวิจิกิจฉา 
อันวิจิกิจฉาเหนี่ยวรั้งไป และย่อมไม่รู้ ไม่เห็นอุบายเป็นเครื่องสลัดออก ซึ่งวิจิกิจฉาที่บังเกิดขึ้นแล้ว 
ตามความเป็นจริง แม้ข้อนี้แล ก็เป็นเหตุ เป็นปัจจัย เพื่อความไม่รู้ เพื่อความไม่เห็น ความ 
ไม่รู้ ความไม่เห็น มีเหตุ มีปัจจัย ด้วยประการฉะนี้. 
      [๖๓๖] อ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมปริยายนี้ชื่ออะไร? 
      พ. ดูกรราชกุมาร ธรรมเหล่านี้ชื่อนิวรณ์. 
      อ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ นิวรณ์เป็นอย่างนี้ ข้าแต่พระสุคต นิวรณ์เป็นอย่างนี้ ข้า 
แต่พระองค์ผู้เจริญ บุคคลถูกนิวรณ์แม้อย่างเดียว ครอบงำแล้ว ไม่พึงรู้ ไม่พึงเห็นตามความ 
เป็นจริงได้ จะกล่าวไปไยถึงการถูกนิวรณ์ทั้ง ๕ ครอบงำเล่า. 
      [๖๓๗] อ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็เหตุเป็นไฉน ปัจจัยเป็นไฉน เพื่อความรู้ 
เพื่อความเห็น ความรู้ ความเห็น มีเหตุ มีปัจจัยอย่างไร? 
      [๖๓๘] พ. ดูกรราชกุมาร ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญสติสัมโพชฌงค์ อันอาศัย 
วิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ เธอเจริญสติสัมโพชฌงค์อยู่ ย่อมรู้ ย่อม 
เห็นตามความเป็นจริง ด้วยจิตนั้น แม้ข้อนี้แล ก็เป็นเหตุ เป็นปัจจัย เพื่อความรู้ เพื่อความ 
เห็น ความรู้ ความเห็น มีเหตุ มีปัจจัย ด้วยประการฉะนี้. 
      [๖๓๙] ดูกรราชกุมาร อีกประการหนึ่ง ฯลฯ ภิกษุย่อมเจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์ อัน 
อาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ เธอเจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์อยู่ 
ย่อมรู้ ย่อมเห็นตามความเป็นจริง ด้วยจิตนั้น แม้ข้อนี้แล ก็เป็นเหตุ เป็นปัจจัย เพื่อความรู้ 
เพื่อความเห็น ความรู้ ความเห็น มีเหตุ มีปัจจัย ด้วยประการนี้. 
      [๖๔๐] อ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมปริยายนี้ชื่ออะไร? 
      พ. ดูกรราชกุมาร ธรรมเหล่านี้ชื่อโพชฌงค์. 
      อ. ข้าแต่พระผู้มีพระภาค โพชฌงค์เป็นอย่างนี้ ข้าแต่พระสุคต โพชฌงค์เป็นอย่างนี้ 
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ บุคคลผู้ประกอบด้วยโพชฌงค์แม้อย่างเดียว พึงรู้ พึงเห็นตามความเป็น 
จริงได้ จะกล่าวไปไยถึงการที่ประกอบด้วยโพชฌงค์ทั้ง ๗ เล่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อข้า 
พระองค์ขึ้นภูเขาคิชฌกูฏ แม้ความเหน็ดเหนื่อยกาย ความเหน็ดเหนื่อยใจ ของข้าพระองค์ ก็ 
สงบระงับแล้ว และธรรมอันข้าพระองค์ก็ได้บรรลุแล้ว. 
                                  จบ สูตรที่ ๖ 
>>>> จะเห็นความต่างกันของการบรรลุธรรมของท่านอุปาลิกับท่านอภัยราชบุตรมีดังนี้ 
ท่านอุปาลิอุบาสก บรรลุธรรมด้วยพุทธานุภาพของพระองค์โดยตรงโดยการชี้ให้เห็นโดยตรง  
ต่างกับอภัยราชบุตรพระองค์หาใช้พุทธานุภาพนั้นไม่ เพียงแต่กล่าวธรรมไปตามธรรม 
อภัยราชบุตรก็บรรลุธรรม ดังนั้น  ในปัจจุบันนี้ ธรรมที่เป็นไปตามธรรมยังมีอยู่ในพระไตรปิฏก 
ดังนั้นการบรรลุธรรมก็ย่อมยังมีอยู่  พระอริยะปัจจุบันย่อมยังมีอยู่หาได้หมดไปไม่ 
ดังที่บางท่านเข้าใจ <<<<  (เรืองของท่านอภัยราชกุมารยังมีต่อ จะ Post หลังสุด) 
                               (มีต่อตอนที่ 4)

 จากคุณ : Vicha3 [ 23 พ.ย. 2543 / 20:16:01 น. ]  
     [ IP Address : 203.151.36.3 ] 
 
 
 ความคิดเห็นที่ 3 : (Vicha2_1) 
ตกตอนที่สองไปผมต่อไว้ให้ 
      นิ. ดูกรคฤหบดี บริษัทพร้อมทั้งพระราชา รู้จักท่านอย่างนี้ว่า อุบาลีคฤหบดีเป็นสาวก 
ของนิครนถ์นาฏบุตร ดังนี้ เราทั้งหลายจะทรงจำท่านว่าเป็นสาวกของใครเล่า? 
                   อุบาลีคฤหบดีประกาศตนเป็นสาวก 
      [๘๒] เมื่อนิครนถ์นาฏบุตรกล่าวอย่างนี้แล้ว อุบาลีคฤหบดี ลุกจากอาสนะ ทำผ้าห่ม 
เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง ประนมอัญชลีไปทางที่พระผู้มีพระภาคประทับ แล้วได้กล่าวกะนิครนถ์นาฏบุตร 
ว่า ท่านผู้เจริญ ถ้าอย่างนั้น ท่านจงฟังพระคุณของพระผู้มีพระภาคที่ข้าพเจ้าเป็นสาวก ข้าพเจ้า 
เป็นสาวกของพระผู้มีพระภาค ผู้เป็นนักปราชญ์ ปราศจากโมหะ ทรงทำลายกิเลสเครื่องตรึงใจ 
ได้ ทรงชำนะมาร ไม่มีทุกข์ มีจิตเสมอด้วยดี  มีมารยาทอันเจริญ มีพระปัญญาดี ทรงข้าม 
กิเลสอันปราศจากความเสมอได้ ปราศจากมลทิน ข้าพเจ้าเป็นสาวกของพระผู้มีพระภาค ผู้ไม่มี 
ความสงสัย มีพระทัยดี ทรงคายโลกามิสได้แล้ว  ทรงบันเทิง ทรงมีสมณธรรมอันทำสำเร็จแล้ว 
ทรงเกิดเป็นมนุษย์ มีพระสรีระเป็นที่สุด เป็นพระไม่มีผู้เปรียบได้  ปราศจากธุลี  ข้าพเจ้า 
เป็นสาวกของพระผู้มีพระภาค ผู้ไม่มีความสงสัย ทรงเฉียบแหลม ทรงแนะนำสัตว์ เป็นสารถี 
อันประเสริฐ ไม่มีผู้อื่นยิ่งไปกว่า มีธรรมอันงามหมดความเคลือบแคลง ทรงทำแสงสว่าง 
ทรงตัดมานะเสียได้  ทรงมีพระวิริยะ ข้าพเจ้าเป็นสาวกของพระผู้มีพระภาค ผู้องอาจ ไม่มีใคร 
ประมาณได้ มีพระคุณลึกซึ้ง บรรลุถึงญาณ ทรงทำความเกษม ทรงมีพระญาณ ทรงตั้งอยู่ในธรรม 
ทรงสำรวมพระองค์ดี ทรงล่วงกิเลสเป็นเครื่องข้อง ผู้พ้นแล้ว ข้าพเจ้าเป็นสาวกของ 
พระผู้มีพระภาค ผู้ประเสริฐ ทรงมีเสนาสนะอันสงัด มีสังโยชน์สิ้นแล้ว ผู้พ้นแล้ว ทรงมี 
พระปัญญาเครื่องคิดอ่าน ทรงมีพระญาณเครื่องรู้ ผู้ลดธงคือมานะเสียได้ ปราศจากราคะ 
ผู้ฝึกแล้ว ผู้ไม่มีธรรมเครื่องหน่วง ข้าพเจ้าเป็นสาวกของพระผู้มีพระภาค ผู้เป็นพระฤาษีที่ ๗ 
ผู้ไม่ลวงโลก ทรงไตรวิชชา เป็นสัตว์ประเสริฐ ทรงล้างกิเลสแล้ว ทรงฉลาด ประสมอักษร 
ให้เป็นบทคาถา ทรงระงับแล้ว มีพระญาณอันรู้แล้ว ทรงให้ธรรมทานก่อนทั้งหมด ทรงสามารถ 
ข้าพเจ้าเป็นสาวกของพระผู้มีพระภาค ผู้เป็นพระอริยะ มีพระองค์อบรมแล้ว ทรงบรรลุคุณ 
ที่ควรบรรลุ ทรงแสดงอรรถให้พิสดาร ทรงมีสติ ทรงเห็นแจ้ง ไม่ทรงยุบลง ไม่ทรงฟูขึ้น 
ไม่ทรงหวั่นไหว ทรงบรรลุความเป็นผู้ชำนาญ ข้าพเจ้าเป็นสาวกของพระผู้มีพระภาค ผู้เสด็จไปดี 
ทรงมีฌาน ไม่ทรงปล่อยจิตไปตาม ทรงบริสุทธิ์ ไม่ทรงสะดุ้ง ปราศจากความกลัว สงัดทั่ว 
ทรงบรรลุธรรมอันเลิศ ทรงข้ามได้เอง ทรงยังสัตว์อื่นให้ข้ามได้ ข้าพเจ้าเป็นสาวกของ 
พระผู้มีพระภาค ผู้สงบแล้ว มีพระปัญญากว้างใหญ่เสมอด้วยแผ่นดิน มีพระปัญญาใหญ่หลวง 
ปราศจากโลภ ทรงดำเนินปฏิปทาเหมือนพระพุทธเจ้าในปางก่อน เสด็จไปดีแล้ว ไม่มีบุคคล 
เปรียบ ไม่มีผู้เสมอเหมือน ทรงแกล้วกล้า ผู้ละเอียดสุขุม ข้าพเจ้าเป็นสาวกของพระผู้มีพระภาค 
ผู้ตัดตัณหาได้ขาด ทรงตื่นอยู่ ปราศจากควัน ผู้อันตัณหาและทิฏฐิไม่ฉาบทาได้ ผู้ควรรับการบูชา 
ทรงได้พระนามว่ายักขะ ๑- เป็นอุดมบุคคล มีพระคุณไม่มีใครชั่งได้ เป็นผู้ใหญ่ ทรงถึงยศอย่าง 
ยอดเยี่ยม. 
      [๘๓] นิ. ดูกรคฤหบดี ท่านประมวลถ้อยคำสำหรับพรรณนาคุณของพระสมณโคดม 
ไว้แต่เมื่อไร? 
      อุ. ดูกรท่านผู้เจริญ เปรียบเหมือนช่างดอกไม้ หรือลูกมือช่างดอกไม้คนขยัน พึง 
ร้อยกรองดอกไม้ต่างๆ กองใหญ่ ให้เป็นพวงมาลาอันวิจิตรได้ ฉันใด พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น 
ก็ฉันนั้น ทรงมีพระคุณควรพรรณนาเป็นอเนก ทรงมีพระคุณควรพรรณนาตั้งหลายร้อย ก็ใครจัก 
ไม่ทำการพรรณนาพระคุณของพระองค์ผู้ควรพรรณนาพระคุณได้เล่า. 
      ครั้นเมื่อนิครนถ์นาฏบุตรทนดูสักการะของพระผู้มีพระภาคไม่ได้ โลหิตอันอุ่นได้พลุ่ง 
ออกจากปากในที่นั้นเอง ดังนี้แล. 
                      จบ อุปาลิวาทสูตร ที่ ๖. 
>>>> นิครนถ์นาฏบุตร หลังจากได้รับบทเรียนอันเจ็บปวดในเรื่อง อุปาลิอุบาสก แล้วตั้งแต่นั้นมา 
ก็จะพยายามห้ามไม่ให้ สาวกไปโต้วาทะกับพระพุทธเจ้า เพราะกลัวจะกลับใจไปนับถือ 
พระพุทธเจ้าแต่ยังกล่าวตำหนิ หรือกล่าวตู่พระพุทธเจ้า เพื่อไม่ให้ชาวบ้านและสาวกตนเอง 
ไปศรัทธาพระพุทธเจ้า <<<< 
                                    (ยังมีต่อตอนที่ 3)
 จากคุณ : Vicha2_1 [ 23 พ.ย. 2543 / 20:25:14 น. ]  
     [ IP Address : 203.151.36.3 ] 
 
 
 ความคิดเห็นที่ 4 : (Vicha4) 
>>>> ผมจะกล่าวถึงความตกต่ำของลัทธินิครนถ์ต่อ(ผมหาได้มีเจตนาซ้ำเติมไม่ แต่เป็นไป 
เพื่อการวิเคราะห์ศึกษา ซึ่งเหตุและผลปรากฏชัดอยู่แล้วในเนื้อเรื่อง ถ้าอ่านอย่างละเอียด 
ถึงแม้จะใช้เวลาสักหน่อยและอาจต้องอ่าน 2 ถึง 3 รอบ) ดังมีในพระไตรปิฏก<<<< 

                                   สีหสูตร 
      [๑๐๒] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ กูฏาคารศาลา ป่า 
มหาวัน ใกล้นครเวสาลี สมัยนั้นแล เจ้าลิจฉวีผู้มีชื่อเสียงเป็นจำนวนมาก นั่ง 
ประชุมกันที่สัณฐาคาร กล่าวสรรเสริญ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ โดย 
อเนกปริยาย ฯ 
      ก็สมัยนั้นแล สีหเสนาบดี สาวกของนิครนถ์นั่งอยู่ในบริษัทนั้น ลำดับนั้น 
สีหเสนาบดีได้มีความคิดดังนี้ว่า พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น จักเป็นพระอรหันต 
สัมมาสัมพุทธเจ้าโดยไม่ต้องสงสัย จริงอย่างนั้น เจ้าลิจฉวีผู้มีชื่อจำนวนมาก 
ประชุมกันที่สัณฐาคาร กล่าวสรรเสริญพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์โดย 
อเนกปริยาย ผิฉะนั้น เราพึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า 
พระองค์นั้นเถิด ลำดับนั้น สีหเสนาบดีเข้าไปหานิครนถ์นาฏบุตรถึงที่อยู่ ครั้น 
แล้ว จึงกล่าวกะนิครนถ์นาฏบุตรว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้าปรารถนาจะเข้า 
ไปเฝ้าพระสมณโคดม ฯ 
      นิครนถ์นาฏบุตรกล่าวว่า ดูกรสีหะ ก็ท่านเป็นกิริยวาท จักเข้าไปเฝ้า 
พระสมณโคดมผู้เป็นอกิริยวาททำไม เพราะพระสมณโคดมเป็นอกิริยวาท จึงแสดง 
ธรรมเพื่ออกิริยวาท และแนะนำพวกสาวกด้วยอกิริยวาทนั้น ครั้งนั้น การตระ 
เตรียมที่จะเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคของสีหเสนาบดี ระงับไป ฯ 
      แม้ครั้งที่สอง เจ้าลิฉวีผู้มีชื่อเสียงเป็นจำนวนมาก ได้นั่งประชุมกันที่ 
สัณฐาคาร กล่าวสรรเสริญพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ โดยอเนกปริยาย 
แม้ครั้งที่สอง สีหเสนาบดีก็มีความคิดดังนี้ว่า พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น จัก 
เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าโดยไม่ต้องสงสัย ... การตระเตรียมที่จะเข้าไป 
เฝ้าพระผู้มีพระภาคของสีหเสนาบดีระงับไป ฯ 
      แม้ครั้งที่สาม เจ้าลิจฉวีผู้มีชื่อเสียงเป็นจำนวนมาก นั่งประชุมกันที่ 
สัณฐาคาร กล่าวสรรเสริญพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ โดยอเนกปริยาย 
แม้ครั้งที่สาม สีหเสนาบดีก็มีความคิดดังนี้ว่า พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น จัก 
เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าโดยไม่ต้องสงสัย จริงอย่างนั้น เจ้าลิจฉวีผู้มี 
ชื่อเสียงเป็นจำนวนมาก นั่งประชุมกันที่สัณฐาคาร กล่าวสรรเสริญพระพุทธ 
พระธรรม พระสงฆ์ โดยอเนกปริยาย พวกนิครนถ์ทั้งหลาย เราจะลาหรือไม่ลา 
จักทำอะไรเราได้ ผิฉะนั้นเราจะไม่ลาละ พึงเข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมา 
สัมพุทธเจ้าพระองค์นั้นเถิด ฯ 
      ลำดับนั้น สีหเสนาบดีออกจากกรุงเวสาลี ในเวลายังวัน พร้อมด้วยรถ 
ประมาณ ๕๐๐ คัน เพื่อเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ครั้นไปด้วยยานเท่าที่ยานจะ 
ไปได้ แล้วลงจากยานเดินตรงเข้าไปยังอาราม แล้วเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ 
ประทับ ถวายบังคมแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้กราบทูลพระผู้มี 
พระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ได้สดับมาดังนี้ว่า พระสมณ 
โคดมเป็นอกิริยวาท ย่อมแสดงธรรมเพื่ออกิริยวาท และแนะนำสาวกด้วย 
อกิริยวาทนั้น ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ชนเหล่าใดกล่าวอย่างนี้ว่า พระสมณโคดม 
เป็นอกิริยวาท ย่อมแสดงธรรมเพื่ออกิริยวาท และแนะนำสาวกด้วยอกิริยวาทนั้น 
คนเหล่านั้นจะชื่อว่ากล่าวตามที่พระผู้มีพระภาคตรัสแล้ว มิใช่กล่าวตู่พระผู้มี 
พระภาคด้วยคำอันไม่จริง และพยากรณ์ธรรมสมควรแก่ธรรมหรือ การคล้อยตาม 
วาทะอันชอบแก่เหตุไรๆ จะไม่มาถึงฐานะอันสมควรติเตียนแลหรือ เพราะ 
ข้าพระองค์ไม่ประสงค์จะกล่าวตู่พระผู้มีพระภาคเลย ฯ 
      พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรสีหะ เหตุที่เขากล่าวหาเราว่า พระสมณ 
โคดมเป็นอกิริยวาท ผู้กล่าวกรรมอันบุคคลทำอยู่ว่า ไม่เป็นอันทำ แสดงธรรม- 
เพื่ออกิริยวาท และแนะนำสาวกทั้งหลายด้วยอกิริยาวาท ดังนี้ ชื่อว่ากล่าวชอบ 
นั้น มีอยู่ ฯ 
      เหตุที่เขากล่าวหาเราว่า พระสมณโคดมเป็นกิริยวาท ผู้กล่าวกรรมอัน 
บุคคลทำอยู่ว่า เป็นอันทำ ย่อมแสดงธรรมเพื่อกิริยวาทและแนะนำสาวกทั้งหลาย 
ด้วยกิริยวาท ดังนี้ ชื่อว่ากล่าวชอบนั้น มีอยู่ ฯ 
      เหตุที่เขากล่าวหาเราว่า พระสมณโคดมเป็นอุจเฉทวาท ผู้กล่าวความ 
ขาดสูญ ย่อมแสดงธรรมเพื่ออุจเฉทวาท และแนะนำสาวกทั้งหลายด้วยอุจเฉทวาท 
ดังนี้ ชื่อว่ากล่าวชอบนั้น มีอยู่ ฯ 
      เหตุที่เขากล่าวหาเราว่า พระสมณโคดมเป็นเชคุจฉี คนช่างเกลียด 
ย่อมแสดงธรรมเพื่อเชคุจฉี และแนะนำสาวกทั้งหลายด้วยเชคุจฉี ดังนี้ ชื่อว่า 
กล่าวชอบนั้น มีอยู่ ฯ 
      เหตุที่เขากล่าวหาเราว่า พระสมณโคดมเป็นเวนยิกะ คนกำจัด ย่อม 
แสดงธรรมเพื่อกำจัด และแนะนำสาวกทั้งหลายด้วยการกำจัด ดังนี้ ชื่อว่ากล่าว 
ชอบนั้น มีอยู่ ฯ 
      เหตุที่เขากล่าวหาเราว่า พระสมณโคดมเป็นตปัสสี คนเผาผลาญ ย่อม 
แสดงธรรมเพื่อเผาผลาญ และแนะนำสาวกทั้งหลายด้วยการเผาผลาญ ดังนี้ 
ชื่อว่ากล่าวชอบนั้น มีอยู่ ฯ 
      เหตุที่เขากล่าวหาเราว่า พระสมณโคดมเป็นอัปปคัพภะ ไม่ผุดไม่เกิด 
ย่อมแสดงธรรมเพื่อไม่ผุดไม่เกิด และแนะนำพวกสาวกทั้งหลายด้วยการไม่ผุดไม่ 
เกิด ดังนี้ ชื่อว่ากล่าวชอบนั้น มีอยู่ ฯ 
      เหตุที่เขากล่าวหาเราว่า พระสมณโคดมเป็นอัสสัตถะ คนใจเบา ย่อม 
แสดงธรรมเพื่อความใจเบา และแนะนำสาวกทั้งหลาย ด้วยการใจเบา ดังนี้ 
ชื่อว่ากล่าวชอบนั้น มีอยู่ ฯ 
      ดูกรสีหะ เหตุที่เขากล่าวหาเราว่า พระสมณโคดมเป็นอกิริยวาท ย่อม 
แสดงธรรมเพื่ออกิริยวาท และแนะนำพวกสาวกด้วยอกิริยวาท ดังนี้ ชื่อว่ากล่าว 
ชอบนั้น เป็นไฉน ดูกรสีหะ เพราะเรากล่าวการไม่ทำกายทุจริต วจีทุจริต มโน 
ทุจริต เรากล่าวการไม่ทำซึ่งธรรมอันเป็นบาปอกุศลหลายอย่าง นี้แลเป็นเหตุที่ 
เขากล่าวหาเราว่า พระสมณโคดมเป็นอกิริยวาท ย่อมแสดงธรรมเพื่ออกิริยวาท 
และแนะนำสาวกทั้งหลายด้วยอกิริยวาท ดังนี้ ชื่อว่ากล่าวชอบ ฯ 
      ดูกรสีหะ เหตุที่เขากล่าวหาเราว่า พระสมณโคดมเป็นกิริยวาท ย่อม 
แสดงธรรมเพื่อกิริยวาท และแนะนำพวกสาวกด้วยกิริยวาท ดังนี้ ชื่อว่ากล่าว 
ชอบนั้น เป็นไฉน ดูกรสีหะ เพราะเรากล่าวการทำกายสุจริต วจีสุจริต มโน 
สุจริต กล่าวการทำกุศลธรรมหลายอย่าง นี้แลเป็นเหตุที่เขากล่าวหาเราว่า พระ 
สมณโคดมเป็นกิริยวาท ย่อมแสดงธรรมเพื่อกิริยวาท และแนะนำสาวกทั้งหลาย 
ด้วยกิริยวาท ดังนี้ ชื่อว่ากล่าวชอบ ฯ 
      ดูกรสีหะ ก็เหตุที่เขากล่าวหาเราว่า พระสมณโคดมเป็นอุจเฉทวาท ย่อม 
แสดงธรรมเพื่ออุจเฉทวาท และแนะนำสาวกทั้งหลายด้วยอุจเฉทวาท ดังนี้ ชื่อ 
ว่ากล่าวชอบนั้น เป็นไฉน ดูกรสีหะ เพราะเรากล่าวความขาดสูญแห่งราคะ 
โทสะ โมหะ และธรรมอันเป็นบาปอกุศลหลายอย่าง นี้แลเป็นเหตุที่เขากล่าว 
หาเราว่าพระสมณโคดมเป็นอุจเฉทวาท ย่อมแสดงธรรมเพื่ออุจเฉทวาทและแนะนำ 
สาวกทั้งหลายด้วยอุจเฉทวาท ดังนี้ ชื่อว่ากล่าวชอบ ฯ 
      ดูกรสีหะ เหตุที่เขากล่าวหาเราว่า พระสมณโคดมเป็นคนช่างเกลียด 
ย่อมแสดงธรรมเพื่อความช่างเกลียด และแนะนำสาวกทั้งหลายด้วยความ 
ช่างเกลียด ดังนี้ ชื่อว่ากล่าวชอบนั้นเป็นไฉน ดูกรสีหะ เพราะเราเกลียดชัง 
กายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต และเกลียดชังการเข้าถึงธรรมอันเป็นบาปอกุศล 
หลายอย่าง นี้แลเป็นเหตุที่เขากล่าวหาเราว่า พระสมณโคดมเป็นคนช่างเกลียด 
ย่อมแสดงธรรมเพื่อความช่างเกลียด และแนะนำสาวกด้วยความช่างเกลียด ดังนี้ 
ชื่อว่ากล่าวชอบ ฯ 
      ดูกรสีหะ เหตุที่เขากล่าวหาเราว่า พระสมณโคดมเป็นคนกำจัด ย่อม 
แสดงธรรมเพื่อกำจัด และแนะนำสาวกทั้งหลายด้วยการกำจัด ดังนี้ ชื่อว่ากล่าว 
ชอบนั้น เป็นไฉน ดูกรสีหะ เพราะเราแสดงธรรมเพื่อกำจัดราคะ โทสะ 
โมหะ และธรรมอันเป็นบาปอกุศลหลายอย่าง นี้แลเป็นเหตุที่เขากล่าวหาเราว่า 
พระสมณโคดมเป็นคนกำจัด ย่อมแสดงธรรมเพื่อกำจัด และแนะนำสาวก 
ทั้งหลายด้วยการกำจัด ดังนี้ ชื่อว่ากล่าวชอบ ฯ 
      ดูกรสีหะ เหตุที่เขากล่าวหาเราว่า พระสมณโคดมเป็นคนเผาผลาญ 
ย่อมแสดงธรรมเพื่อความเผาผลาญ และแนะนำสาวกทั้งหลายด้วยการเผาผลาญ 
ดังนี้ ชื่อว่ากล่าวชอบนั้น เป็นไฉน ดูกรสีหะ เพราะเรากล่าวธรรมอันเป็นบาป 
อกุศล คือ กายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต ว่าเป็นธรรมควรเผาผลาญ 
ดูกรสีหะ ผู้ใดแลละธรรมอันเป็นบาปอกุศลที่ควรเผาผลาญได้แล้ว ตัดรากขาด 
แล้ว ทำให้เป็นเหมือนตาลยอดด้วน ทำไม่ให้มี ไม่ให้เกิดอีกต่อไปเป็นธรรมดา 
เรากล่าวผู้นั้นว่า เป็นผู้เผาผลาญ ดูกรสีหะ ตถาคตละธรรมอันเป็นบาปอกุศล 
ได้แล้ว ตัดรากขาดแล้ว ทำให้เป็นเหมือนตาลยอดด้วน ทำไม่ให้มี ไม่ให้เกิด 
อีกต่อไปเป็นธรรมดา นี้แลเป็นเหตุที่เขากล่าวหาเราว่า พระสมณโคดมเป็นคน 
เผาผลาญ ย่อมแสดงธรรมเพื่อความเผาผลาญ และแนะนำสาวกทั้งหลายด้วย 
การเผาผลาญ ดังนี้ ชื่อว่า กล่าวชอบ ฯ 
      ดูกรสีหะ ก็เหตุที่เขากล่าวหาเราว่า พระสมณโคดมเป็นคนไม่ผุดไม่เกิด 
ย่อมแสดงธรรมเพื่อความไม่ผุดไม่เกิด และแนะนำสาวกทั้งหลายด้วยการไม่ผุด 
ไม่เกิด ดังนี้ ชื่อว่ากล่าวชอบนั้น เป็นไฉน ดูกรสีหะ ผู้ใดแลละการนอน 
ในครรภ์ การเกิดในภพใหม่ได้แล้ว ตัดรากขาดแล้ว ทำให้เป็นเหมือนตาล 
ยอดด้วน ทำไม่ให้มี ไม่ให้เกิดอีกต่อไปเป็นธรรมดา เรากล่าวผู้นั้นว่า ผู้ไม่ผุด 
ไม่เกิด ตถาคตละการนอนในครรภ์ การเกิดในภพใหม่ได้แล้ว ตัดรากขาดแล้ว 
ทำให้เป็นเหมือนตาลยอดด้วน ทำไม่ให้มี ไม่ให้เกิดอีกต่อไปเป็นธรรมดา นี้แล 
เป็นเหตุที่เขากล่าวหาเราว่า พระสมณโคดมเป็นคนไม่ผุดไม่เกิด ย่อมแสดงธรรม 
เพื่อความไม่ผุดไม่เกิด และแนะนำสาวกทั้งหลายด้วยการไม่ผุดไม่เกิด ดังนี้ 
ชื่อว่ากล่าวชอบ ฯ 
      ดูกรสีหะ ก็เหตุที่เขากล่าวหาเราว่า พระสมณโคดมเป็นคนใจเบา 
ย่อมแสดงธรรมเพื่อความใจเบา และแนะนำสาวกทั้งหลายด้วยการใจเบา ดังนี้ 
ชื่อว่ากล่าวชอบนั้น เป็นไฉน ดูกรสีหะ เพราะเราเป็นคนใจเบา ย่อมแสดงธรรม 
เพื่อความใจเบา ด้วยความใจเบา๑- อย่างยิ่ง และแนะนำสาวกทั้งหลายด้วยการ 
ใจเบา นี้แลเป็นเหตุที่เขากล่าวหาเราว่า พระสมณโคดมเป็นคนใจเบา ย่อม 
แสดงธรรมเพื่อความใจเบา และแนะนำสาวกทั้งหลายด้วยการใจเบา ดังนี้ ชื่อว่า 
กล่าวชอบ ฯ 
      ครั้นพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว สีหเสนาบดีได้กราบทูลพระผู้มี 
พระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก ฯลฯ ข้าแต่ 
พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาคโปรดทรงจำข้าพระองค์ว่าเป็นอุบาสก ผู้ถึง 
สรณะตลอดชีวิต ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป ฯ 
      พ. ดูกรสีหะ ท่านจงใคร่ครวญเสียก่อนแล้วจึงกระทำ การใคร่ครวญ 
ก่อนแล้วกระทำ เป็นความดีของคนที่มีชื่อเสียงเช่นท่าน ฯ 
      สี. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์พอใจชื่นใจอย่างล้นเหลือต่อ 
พระผู้มีพระภาค แม้ด้วยพระดำรัสที่ตรัสกะข้าพระองค์ว่า ดูกรสีหะ ท่านจง 
ใคร่ครวญเสียก่อนแล้วจึงกระทำ การใคร่ครวญก่อนแล้วกระทำ เป็นความดีของ 
คนที่มีชื่อเสียงเช่นท่าน เพราะพวกอัญญเดียรถีย์ได้ข้าพระองค์เป็นสาวกแล้ว 
พึงยกธงเที่ยวประกาศทั่วเมืองเวสาลีว่า สีหเสนาบดียอมเป็นสาวกพวกเราแล้ว 
แต่พระผู้มีพระภาคกลับตรัสกะข้าพระองค์อย่างนี้ว่า ดูกรสีหะ ท่านจงใคร่ครวญ 
เสียก่อนแล้วจึงกระทำ การใคร่ครวญก่อนแล้วกระทำ เป็นความดีของคนที่มีชื่อ 
@๑. เบาจากกิเลสด้วยมรรค ๔ ผล ๔ 
เสียงเช่นท่าน ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ขอถึงพระผู้มีพระภาค กับทั้ง 
พระธรรมและภิกษุสงฆ์ว่าเป็นสรณะ เป็นครั้งที่สอง ขอพระผู้มีพระภาคโปรด 
ทรงจำข้าพระองค์ไว้ว่า เป็นอุบาสกผู้ถึงสรณะตลอดชีวิต ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป ฯ 
      พ. ดูกรสีหะ ตระกูลของท่านเป็นเสมือนบ่อน้ำของพวกนิครนถ์มา 
นานแล้ว ท่านควรสำคัญบิณฑบาตที่ท่านจะพึงให้แก่พวกนิครนถ์เหล่านั้นผู้เข้า 
ไปแล้ว ฯ 
      สี. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์พอใจชื่นใจอย่างล้นเหลือต่อ 
พระผู้มีพระภาค แม้ด้วยพระดำรัสที่ตรัสกะข้าพระองค์ว่า ดูกรสีหะ ตระกูล 
ของท่านเป็นเสมือนบ่อน้ำของพวกนิครนถ์มานานแล้ว ท่านควรสำคัญบิณฑบาต 
ที่ท่านจะพึงให้แก่พวกนิครนถ์เหล่านั้นผู้เข้าไปแล้ว ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้า 
พระองค์ได้สดับมาดังนี้ว่า พระสมณโคดมตรัสอย่างนี้ว่า ควรให้ทานแก่เราเท่านั้น 
ไม่ควรให้แก่ผู้อื่น ควรให้ทานแก่สาวกของเราเท่านั้น ไม่ควรให้แก่สาวกของ 
พวกอื่น ทานที่ให้แก่เราเท่านั้นมีผลมาก ให้แก่พวกอื่นไม่มีผลมาก ให้แก่สาวก 
ของเราเท่านั้นมีผลมาก ให้แก่สาวกของพวกอื่นไม่มีผลมาก แต่พระผู้มีพระภาค 
กลับตรัสชักชวนข้าพระองค์ในการให้ทานแม้ในพวกนิครนถ์ด้วย อนึ่ง ข้าพระองค์ 
จักรู้กาลอันควร ที่จะให้ทานนี้ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์นี้ขอถึง 
พระผู้มีพระภาค กับทั้งพระธรรม และภิกษุสงฆ์ว่าเป็นสรณะ เป็นครั้งที่สาม 
ขอพระผู้มีพระภาคโปรดทรงจำข้าพระองค์ว่าเป็นอุบาสก ผู้ถึงสรณะตลอดชีวิต 
ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป ฯ 
      ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคตรัสอนุปุพพิกถาโปรดสีหเสนาบดี คือ 
ทรงประกาศทานกถา ศีลกถา สัคคกถา โทษแห่งกามอันต่ำทรามเศร้าหมอง 
และอานิสงส์ในเนกขัมมะ เมื่อใด พระผู้มีพระภาคทรงทราบว่า สีหเสนาบดี 
มีจิตควร อ่อน ปราศจากนิวรณ์ บันเทิง เลื่อมใสแล้ว เมื่อนั้น จึงทรง 
ประกาศพระธรรมเทศนาที่พระพุทธเจ้าทั้งหลายทรงยกขึ้นแสดงเอง คือ ทุกข์ 
สมุทัย นิโรธ มรรค ธรรมจักษุอันปราศจากธุลี ปราศจากมลทิน เกิดขึ้นแก่ 
สีหเสนาบดี ณ ที่นั่งนั้นเองว่า สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้น 
ทั้งมวลล้วนมีความดับไปเป็นธรรมดา เปรียบเหมือนผ้าที่สะอาดปราศจากดำ 
จะพึงย้อมติดดี ฉะนั้น ฯ 
      ครั้งนั้นแล สีหเสนาบดีผู้เห็นธรรมแล้ว บรรลุธรรมแล้ว รู้แจ้งธรรม 
แล้ว หยั่งซึ้งถึงธรรมแล้ว ข้ามพ้นความสงสัยได้แล้ว ปราศจากความ 
เคลือบแคลงแล้ว ถึงความเป็นผู้แกล้วกล้า ไม่ต้องเชื่อผู้อื่น ในพระศาสนา 
ของพระศาสดา ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระ 
ผู้มีพระภาคพร้อมด้วยภิกษุสงฆ์รับนิมนต์ฉันอาหารบิณฑบาตในวันพรุ่งนี้ พระผู้มี 
พระภาคทรงรับโดยดุษณีภาพ ฯ 
      ครั้งนั้นแล สีหเสนาบดีทราบว่า พระผู้มีพระภาคทรงรับนิมนต์แล้ว 
ลุกจากที่นั่ง ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาค กระทำประทักษิณแล้วหลีกไป ครั้งนั้น 
แล สีหเสนาบดีเรียกชายคนหนึ่งมาบอกว่า พ่อมหาจำเริญ พ่อจงไปหาเนื้อ 
เลือกเอาเฉพาะที่ขายทั่วไป พอล่วงราตรีนั้น สีหเสนาบดีสั่งให้จัดขาทนียโภชนี 
ยาหารอันประณีตไว้ในนิเวศน์ของตนแล้ว ให้ไปกราบทูลเวลาภัตตาหารแด่ 
พระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ถึงเวลาแล้วพระเจ้าข้า ภัตตาหารใน 
นิเวศน์ของท่านสีหเสนาบดีสำเร็จแล้ว ฯ 
      ครั้งนั้น ในเวลาเช้า พระผู้มีพระภาคทรงครองอันตรวาสก ทรงถือบาตร 
และจีวร เสด็จเข้าไปยังนิเวศน์ของสีหเสนาบดี ประทับนั่งบนอาสนะที่ปูไว้ 
พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์ ก็สมัยนั้น นิครนถ์เป็นจำนวนมาก พากันประคองแขน 
คร่ำครวญตามถนนต่างๆ ตามสี่แยกต่างๆ ในกรุงเวสาลีว่า วันนี้ สีหเสนาบดี 
ฆ่าสัตว์อ้วนพีปรุงเป็นภัตตาหารถวายพระสมณโคดม พระสมณโคดมทั้งที่รู้ 
ทรงฉันอุทิศมังสะที่เขาอาศัยตนทำ ฯ 
      ลำดับนั้น บุรุษคนหนึ่งเข้าไปหาสีหเสนาบดีกระซิบบอกว่า พระเดช 
พระคุณได้โปรดทราบ นิครนถ์เป็นจำนวนมากเหล่านี้ พากันประคองแขน 
คร่ำครวญตามถนนต่างๆ ตามสี่แยกต่างๆ ในกรุงเวสาลีว่า วันนี้ สีหเสนาบดี 
ฆ่าสัตว์อ้วนพีปรุงเป็นภัตตาหารถวายพระสมณโคดม พระสมณโคดมทั้งที่รู้อยู่ 
ทรงฉันอุทิศมังสะที่เขาอาศัยตนทำ ฯ 
      สีหเสนาบดีกล่าวว่า อย่าเลย เพราะเป็นเวลานานมาแล้วที่พระคุณเจ้า 
เหล่านั้น ใคร่จะกล่าวโทษพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ แต่ท่านเหล่านี้ไม่ 
กระดากอายเสียเลย ย่อมกล่าวตู่พระผู้มีพระภาคด้วยคำอันไม่เป็นจริง เป็นคำ 
ไม่มี คำเปล่า คำเท็จ และเราเองก็หาได้แกล้งปลงชีวิตสัตว์ แม้เพราะเหตุแห่ง 
ชีวิตไม่ ลำดับนั้น สีหเสนาบดีได้อังคาสพระภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข 
ให้อิ่มหนำสำราญด้วยขาทนียโภชนียาหารอันประณีตด้วยมือของตน และเมื่อ 
พระผู้มีพระภาคฉันเสร็จแล้ว ชักพระหัตถ์ออกจากบาตรแล้ว สีหเสนาบดี 
นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว พระผู้มีพระภาคได้ทรงชี้แจง สีหเสนาบดี 
ผู้นั่งเรียบร้อยแล้ว ให้เห็นแจ้ง ให้สมาทาน ให้อาจหาญ รื่นเริงด้วยธรรมีกถา 
แล้วเสด็จลุกจากที่นั่งหลีกไป ฯ 
   (มีต่อตอนที่ 5)

 จากคุณ : Vicha4 [ 23 พ.ย. 2543 / 20:27:26 น. ]  
     [ IP Address : 203.151.36.3 ] 
 
 
 ความคิดเห็นที่ 5 : (Vicha5) 
>>>> เพราะในเหตุการณ์ ที่บังเกิดในลัทธินิครนถ์   เป็นเหตุการณ์หนึ่งที่ทำให้ 
พระสัทธรรมสามารถดำเนินมาได้จนถึงปัจจุบัน แต่ไม่ทราบว่าพระสัทธรรมในปัจจุบัน 
จะดำเนินไปในอนาคตได้นานสักเท่าไร เพราะปัจจุบันนี้ชาวพุทธเริ่มมีพฤติกรรมเหมือน 
ชาวนิครนถ์มากขึ้น แต่ด้วยธรรมของพระพุทธองค์ที่ทรงสอนนั้นเพื่อ ความสงบ 
เพื่อความสามคีในธรรม  เพื่อการปล่อยวาง มีใช่เพื่ออวด มิใช้เพื่อยกตนข่มผู้อื่น 
และมีใช่ยกตนเป็นใหญ่ในธรรมว่าเป็นเฉพาะของกลุ่มตน ถ้าชาวพุทธ ยังสำนึกและ 
ระลึกถึงธรรมตรงนี้อยู่ พระสัทธรรมคงยังดำเนินต่อไปได้อีกนาน 
ตามที่ท่านผู้รู้พยากรณ์ไว้ว่า จะอยู่จนครบ 5000 ปี   ผมจะเอาธรรมมาแสดงต่อว่า  
เหตุที่เกิดขึ้นในลัทธินิครนถ์ทำให้สัทธรรมในพุทธศาสนาตั้งมั่นขึ้นได้อย่างไร 
ดังมีในพระไตรปิฏก <<<< 

                         ๑๐. สังคีติสูตร (๓๓) 
                         ------------ 
      [๒๒๑] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้- 
      สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเสด็จเที่ยวจาริกไปในแคว้นมัลละ พร้อมด้วย 
พระภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ประมาณ ๕๐๐ รูป ได้เสด็จถึงนครของพวกมัลลกษัตริย์อัน 
มีนามว่า ปาวา ได้ยินว่า สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ สวนมะม่วง 
ของนายจุนทกัมมารบุตร เขตนครปาวา ฯ 
      [๒๒๒] ก็โดยสมัยนั้นแล ท้องพระโรงหลังใหม่ อันมีนามว่า อุพภตกะ 
ของพวกเจ้ามัลละแห่งนครปาวา สร้างสำเร็จแล้วไม่นาน ยังไม่ทันที่สมณพราหมณ์ 
หรือใครๆ ที่เป็นมนุษย์จะได้อยู่อาศัย พวกเจ้ามัลละแห่งนครปาวาได้สดับข่าวว่า 
พระผู้มีพระภาคได้เสด็จเที่ยวจาริกไปในแคว้นมัลละ พร้อมด้วยพระภิกษุสงฆ์หมู่ 
ใหญ่ประมาณ ๕๐๐ รูป เสด็จถึงนครปาวาโดยลำดับ กำลังประทับอยู่ ณ สวน 
มะม่วงของนายจุนทกัมมารบุตร เขตนครปาวา ฯ 
      ครั้งนั้นแล พวกเจ้ามัลละแห่งนครปาวา ได้พากันเข้าไปเฝ้าพระผู้มี 
พระภาคถึงที่ประทับ ครั้นแล้วถวายบังคมพระผู้มีพระภาค นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง 
ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า 
      ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ท้องพระโรงหลังใหม่ อันมีนามว่าอุพภตกะ ของ 
พวกเจ้ามัลละแห่งนครปาวา สร้างสำเร็จแล้วไม่นาน ยังไม่ทันที่สมณพราหมณ์ 
หรือใครๆ ที่เป็นมนุษย์จะได้อยู่อาศัย ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาค 
จงเสด็จประทับ ณ ท้องพระโรงนั้นก่อนเถิด พระผู้มีพระภาคเสด็จประทับก่อนแล้ว 
ภายหลังพวกเจ้ามัลละแห่งนครปาวาจึงจักใช้สอย การเสด็จประทับก่อนของพระผู้มี 
พระภาคนั้น พึงเป็นไปเพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อความสุขแก่พวกเจ้ามัลละ 
แห่งนครปาวาสิ้นกาลนาน พระผู้มีพระภาคทรงรับด้วยดุษณีภาพแล้ว ฯ 
      ครั้นพวกเจ้ามัลละแห่งนครปาวา ได้ทราบการทรงรับของพระผู้มีพระภาค 
แล้ว จึงลุกจากอาสนะ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคทำประทักษิณแล้ว พากันไปยัง 
ท้องพระโรง ครั้นแล้วจึงปูลาดท้องพระโรงให้พร้อมสรรพ แต่งตั้งอาสนะ ให้ตั้ง 
หม้อน้ำ ตามประทีปน้ำมัน แล้วพากันเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวาย 
บังคมพระผู้มีพระภาค ได้ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาค 
ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ท้องพระโรงพวกข้าพระองค์ปูลาดพร้อมสรรพแล้ว 
อาสนะก็แต่งตั้งไว้แล้ว หม้อน้ำก็ให้ตั้งไว้แล้ว ประทีปน้ำมันก็ตามไว้แล้ว 
พระเจ้าข้า พระผู้มีพระภาคย่อมทรงทราบกาลอันควรในบัดนี้ ฯ 
      [๒๒๓] ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคทรงครองอันตรวาสกแล้ว ทรง 
ถือบาตรจีวรเสด็จไปยังท้องพระโรง พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์ ทรงล้างพระบาทแล้ว 
เสด็จเข้าไปยังท้องพระโรง ประทับนั่งพิงเสากลาง ผินพระพักตร์ไปทางทิศบูรพา 
แม้พระภิกษุสงฆ์ก็ล้างเท้าแล้วพากันเข้าไปยังท้องพระโรง นั่งพิงฝาด้านหลัง ผิน 
หน้าไปทางทิศบูรพา แวดล้อมพระผู้มีพระภาค แม้พวกเจ้ามัลละแห่งนครปาวา 
ก็พากันล้างเท้าแล้วเข้าไปยังท้องพระโรง นั่งพิงฝาด้านบูรพา ผินหน้าไปทางทิศ 
ปัจฉิมแวดล้อมพระผู้มีพระภาค ฯ 
      ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคทรงยังพวกเจ้ามัลละแห่งนครปาวาให้เห็นแจ้ง 
ให้สมาทาน ให้อาจหาญ ให้รื่นเริง ด้วยธรรมีกถาตลอดราตรีเป็นอันมาก แล้ว 
ทรงส่งไปด้วยพระดำรัสว่า ดูกรวาเสฏฐะทั้งหลาย ราตรีล่วงมากแล้ว บัดนี้พวก 
ท่านจงสำคัญเวลาอันสมควรเถิด พวกเจ้ามัลละแห่งนครปาวาได้พร้อมกันรับ 
พระดำรัสของพระผู้มีพระภาคว่า อย่างนั้น พระเจ้าข้า แล้วพากันลุกขึ้นจากอาสนะ 
ถวายบังคมพระผู้มีพระภาค กระทำประทักษิณแล้วหลีกไป ฯ 
      [๒๒๔] ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาค เมื่อพวกเจ้ามัลละแห่งนครปาวา 
หลีกไปแล้วไม่นาน ได้ทรงเหลียวดูหมู่ภิกษุผู้นิ่งอยู่แล้วได้รับสั่งกะท่านพระสารี- 
บุตรว่า ดูกรสารีบุตร ภิกษุสงฆ์ปราศจากถีนะและมิทธะ สารีบุตรจงแสดงธรรมีกถา 
แก่ภิกษุทั้งหลาย เราเมื่อยหลัง ฉะนั้น เราพึงพักผ่อน ท่านพระสารีบุตรได้ 
รับพระดำรัสของพระผู้มีพระภาคด้วยคำว่า อย่างนั้น พระเจ้าข้า ดังนี้ ลำดับนั้น 
แล พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ปูผ้าสังฆาฏิเป็นสี่ชั้น แล้วทรงสำเร็จสีหไสยา 
โดยพระปรัศว์เบื้องขวา ทรงเหลื่อมพระบาทด้วยพระบาท มีพระสติสัมปชัญญะ 
ทรงกระทำความหมายในอันที่จะเสด็จลุกขึ้นไว้ในพระทัย ฯ 
      [๒๒๕] ก็โดยสมัยนั้นแล นิครนถ์นาฏบุตรทำกาละแล้วที่นครปาวาไม่ 
นานนัก เพราะกาลกิริยาของนิครนถ์นาฏบุตรนั้น พวกนิครนถ์จึงแตกกัน เกิด 
แยกกันเป็นสองพวก เกิดบาดหมางกัน เกิดการทะเลาะวิวาทกันขึ้น เสียดแทง 
กันและกันด้วยหอกคือปากอยู่ว่า ท่านไม่รู้ทั่วถึงธรรมวินัยนี้ ข้าพเจ้ารู้ทั่วถึง ท่าน 
จักรู้ทั่วถึงธรรมวินัยนี้ได้อย่างไร ท่านปฏิบัติผิด ข้าพเจ้าปฏิบัติถูก ถ้อยคำของ 
ข้าพเจ้าเป็นประโยชน์ ของท่านไม่เป็นประโยชน์ คำที่ควรจะกล่าวก่อน ท่าน 
กลับกล่าวภายหลัง คำที่ควรจะกล่าวภายหลัง ท่านกลับกล่าวก่อน ข้อที่ท่านช่ำชอง 
มาผันแปรไปแล้ว ข้าพเจ้าจับผิดวาทะของท่านได้แล้ว ข้าพเจ้าข่มท่านได้แล้ว 
ท่านจงถอนวาทะเสีย มิฉะนั้นจงแก้ไขเสีย ถ้าสามารถ ดังนี้ เห็นจะมีแต่ความ 
ตายอย่างเดียวเท่านั้นจะเป็นไปในพวกนิครนถ์ ผู้เป็นสาวกของนาฏบุตร ถึงพวก 
สาวกของนิครนถ์นาฏบุตรที่เป็นคฤหัสถ์ผู้นุ่งขาวห่มขาวก็มีอาการเบื่อหน่าย คลาย 
ความรัก รู้สึกท้อถอยในพวกนิครนถ์ผู้เป็นสาวกของนาฏบุตร ทั้งนี้เพราะธรรมวินัย 
อันนิครนถ์นาฏบุตรกล่าวไว้ไม่ดี ประกาศไว้ไม่ดี ไม่เป็นธรรมที่จะนำผู้ปฏิบัติให้ 
ออกจากทุกข์ได้ ไม่เป็นไปเพื่อความสงบระงับ มิใช่ธรรมที่ท่านผู้เป็นพระสัมมา- 
สัมพุทธเจ้าประกาศไว้ เป็นธรรมวินัยมีที่พำนักอันทำลายเสียแล้ว เป็นธรรมวินัย 
ไม่มีที่พึ่งอาศัย ฯ 
      ครั้งนั้นแล ท่านพระสารีบุตรได้เล่ากะภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย 
นิครนถ์นาฏบุตรทำกาละแล้วที่พระนครปาวาไม่นานนัก เพราะกาลกิริยาของนิครนถ์ 
นาฏบุตรนั้น พวกนิครนถ์จึงแตกกัน เกิดแยกกันเป็นสองพวก เกิดบาดหมางกัน 
เกิดการทะเลาะวิวาทกันขึ้น เสียดแทงกันและกันด้วยหอกคือปากอยู่ว่า ท่านไม่รู้ทั่ว 
ถึงธรรมวินัยนี้ ข้าพเจ้ารู้ทั่วถึง ท่านจักรู้ทั่วถึงธรรมวินัยนี้ได้อย่างไร ท่านปฏิบัติผิด 
ข้าพเจ้าปฏิบัติถูก ถ้อยคำของข้าพเจ้าเป็นประโยชน์ ของท่านไม่เป็นประโยชน์ คำที่ 
ควรจะกล่าวก่อน ท่านกลับกล่าวภายหลัง คำที่ควรจะกล่าวภายหลัง ท่านกลับกล่าว 
ก่อน ข้อที่ท่านเคยช่ำชองมาผันแปรไปแล้ว ข้าพเจ้าจับผิดวาทะของท่านได้แล้ว 
ข้าพเจ้าข่มท่านได้แล้ว ท่านจงถอนวาทะเสีย มิฉะนั้น จงแก้ไขเสีย ถ้าสามารถ 
ดังนี้ เห็นจะมีแต่ความตายอย่างเดียวเท่านั้นจะเป็นไปในพวกนิครนถ์ ผู้เป็นสาวก 
ของนาฏบุตร ถึงพวกสาวกของนิครนถ์นาฏบุตรที่เป็นคฤหัสถ์ผู้นุ่งขาวห่มขาว ก็มี 
อาการเบื่อหน่าย คลายความรัก รู้สึกท้อถอยในพวกนิครนถ์ ผู้เป็นสาวกของ 
นาฏบุตร ทั้งนี้ เพราะธรรมวินัยอันนิครนถ์นาฏบุตรกล่าวไว้ไม่ดี ประกาศไว้ไม่ดี 
ไม่เป็นธรรมที่จะนำผู้ปฏิบัติให้ออกจากทุกข์ได้ ไม่เป็นไปเพื่อความสงบระงับ มิใช่ 
ธรรมที่ท่านผู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าประกาศไว้ เป็นธรรมวินัยมีที่พำนักอันทำลาย 
เสียแล้ว เป็นธรรมวินัยไม่มีที่พึงอาศัย ฯ 
      ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ข้อนี้ย่อมเป็นเช่นดังกล่าวมาสำหรับในธรรมวินัยที่ 
กล่าวไว้ไม่ดี ประกาศไว้ไม่ดี ไม่เป็นธรรมที่จะนำผู้ปฏิบัติให้ออกจากทุกข์ได้ 
ไม่เป็นไปเพื่อความสงบระงับ มิใช่ธรรมที่ท่านผู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าประกาศไว้ 
ผู้มีอายุทั้งหลาย ส่วนธรรมนี้แล อันพระผู้มีพระภาคของเราทั้งหลาย ตรัสไว้ดี 
แล้ว ประกาศไว้ดีแล้ว เป็นธรรมที่จะนำผู้ปฏิบัติให้ออกจากทุกข์ได้ เป็นไปเพื่อ 
ความสงบระงับ เป็นธรรมอันพระสัมมาสัมพุทธเจ้าประกาศไว้แล้ว พวกเราทั้งหมด 
ด้วยกัน พึงสังคายนา ไม่พึงกล่าวแก่งแย่งกันในธรรมนั้น การที่พรหมจรรย์นี้จะ 
พึงยั่งยืนตั้งอยู่นาน นั้นพึงเป็นไปเพื่อประโยชน์แก่ชนมาก เพื่อความสุขแก่ชน 
มาก เพื่อความอนุเคราะห์แก่โลก เพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อความสุข 
แก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ผู้มีอายุทั้งหลาย ก็ธรรมอะไรเล่าที่พระผู้มีพระภาค 
ตรัสไว้ดีแล้ว ประกาศไว้ดีแล้ว เป็นธรรมที่จะนำผู้ปฏิบัติให้ออกจากทุกข์ได้ เป็น 
ไปเพื่อความสงบระงับ เป็นธรรมอันพระสัมมาสัมพุทธเจ้าประกาศไว้แล้ว พวก 
เราทั้งหมดด้วยกัน พึงสังคายนา ไม่พึงกล่าวแก่งแย่งกันในธรรมนั้น การที่พรหม- 
จรรย์นี้จะพึงยั่งยืนตั้งอยู่นาน นั้นพึงเป็นไปเพื่อประโยชน์แก่ชนมาก เพื่อความสุข 
แก่ชนมาก เพื่อความอนุเคราะห์แก่โลก เพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อความ 
สุข แก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ฯ 
      [๒๒๖] ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ธรรมหนึ่ง ที่พระผู้มีพระภาค ผู้ทรงรู้เห็น 
เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ตรัสไว้โดยชอบแล้วมีอยู่แล พวก 
เราทั้งหมดด้วยกันพึงสังคายนา ไม่พึงกล่าวแก่งแย่งกันในธรรมนั้น การที่ 
พรหมจรรย์นี้จะพึงยั่งยืนตั้งอยู่นาน นั้นพึงเป็นไปเพื่อประโยชน์แก่ชนมาก เพื่อ 
ความสุขแก่ชนมาก เพื่อความอนุเคราะห์แก่โลก เพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล 
เพื่อความสุขแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ธรรมหนึ่งเป็นไฉน สัตว์ทั้งหมดตั้งอยู่ 
ได้เพราะอาหาร สัตว์ทั้งหมดตั้งอยู่ได้เพราะสังขาร ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ธรรม 
หนึ่งนี้แล อันพระผู้มีพระภาคผู้ทรงรู้ทรงเห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า 
พระองค์นั้น ตรัสไว้โดยชอบแล้ว พวกเราทั้งหมดด้วยกันพึงสังคายนา ไม่พึง 
กล่าวแก่งแย่งกันในธรรมนั้น การที่พรหมจรรย์นี้จะพึงยั่งยืนตั้งอยู่นาน นั้นพึงเป็น 
ไปเพื่อประโยชน์แก่ชนมาก เพื่อความสุขแก่ชนมาก เพื่อความอนุเคราะห์แก่โลก 
เพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อความสุข แก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ฯ 
      [๒๒๗] ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ธรรม ๒ ที่พระผู้มีพระภาคผู้ทรงรู้เห็น 
เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า พระองค์นั้น ตรัสไว้โดยชอบแล้วมีอยู่แล 
พวกเราทั้งหมดด้วยกัน พึงสังคายนา ไม่พึงกล่าวแก่งแย่งกันในธรรมนั้น การที่ 
พรหมจรรย์นี้พึงยั่งยืนตั้งอยู่นาน นั้นพึงเป็นไปเพื่อประโยชน์แก่ชนมาก เพื่อ 
ความสุขแก่ชนมาก เพื่อความอนุเคราะห์แก่โลก เพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล 
เพื่อความสุขแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ธรรม ๒ เป็นไฉน นามและรูป ๑ 
อวิชชาและภวตัณหา ๑ ภวทิฐิและวิภวทิฐิ ๑ ความไม่ละอายและความไม่เกรง 
กลัว ๑ ความละอายและความเกรงกลัว ๑ ความเป็นผู้ว่ายากและความเป็นผู้มี 
มิตรชั่ว ๑ ความเป็นผู้ว่าง่ายและความเป็นผู้มีมิตรดี ๑ ความเป็นผู้ฉลาดในอาบัติ 
และความเป็นผู้ฉลาดในการออกจากอาบัติ ๑ ความเป็นผู้ฉลาดในสมาบัติและ 
ความเป็นผู้ฉลาดในการออกจากสมาบัติ ๑ ความเป็นผู้ฉลาดในธาตุและความเป็น 
ผู้ฉลาดในมนสิการ ๑ ความเป็นผู้ฉลาดในอายตนะและความเป็นผู้ฉลาดใน 
ปฏิจจสมุปบาท ๑ ความเป็นผู้ฉลาดในฐานะ [คือเหตุที่เป็นได้] และความเป็นผู้ฉลาด 
ในอัฏฐานะ [คือเหตุที่เป็นไปไม่ได้] ๑ การกล่าววาจาอ่อนหวานและการต้อนรับ ๑ 
ความไม่เบียดเบียนและความสะอาด ๑ ความเป็นผู้มีสติหลงลืมและความเป็นผู้ไม่ 
มีสัมปชัญญะ ๑ สติและสัมปชัญญะ ๑ ความเป็นผู้ไม่คุ้มครองทวารในอินทรีย์ 
ทั้งหลาย และความเป็นผู้ไม่รู้จักประมาณในโภชนะ ๑ ความเป็นผู้คุ้มครองทวารใน 
อินทรีย์ทั้งหลาย และความเป็นผู้รู้จักประมาณในโภชนะ ๑ กำลังที่เกิดแต่การ 
พิจารณาและกำลังที่เกิดแต่การอบรม ๑ กำลังคือสติและกำลังคือสมาธิ ๑ สมถะ 
และวิปัสสนา ๑ นิมิตที่เกิดเพราะสมถะและนิมิตที่เกิดเพราะความเพียร ๑ ความ 
เพียรและความไม่ฟุ้งซ่าน ๑ ความวิบัติแห่งศีล และความวิบัติแห่งทิฐิ ๑ ความ 
ถึงพร้อมแห่งศีล และความถึงพร้อมแห่งทิฐิ ๑ ความหมดจดแห่งศีลและความหมด 
จดแห่งทิฐิ ๑ ความหมดจดแห่งทิฐิและความเพียรของผู้มีทิฐิ ๑ ความสลดใจและ 
ความเพียรโดยแยบคายของผู้สลดใจแล้วในธรรมเป็นที่ตั้งแห่งความสลดใจ ๑ 
ความเป็นผู้ไม่สันโดษในธรรมอันเป็นกุศลและความเป็นผู้ไม่ท้อถอยในการตั้งความ 
เพียร ๑ วิชชาและวิมุตติ ๑ ญาณในความสิ้นไปและญาณในความไม่เกิด ๑ ดูกรผู้มี 
อายุทั้งหลาย ธรรมมีประเภทละ ๒ๆ เหล่านี้แล อันพระผู้มีพระภาคผู้ทรงรู้ทรง 
เห็นเป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้นตรัสไว้โดยชอบแล้ว พวกเราทั้ง 
หมดด้วยกันพึงสังคายนา ไม่พึงกล่าวแก่งแย่งกันในธรรมนั้น การที่พรหมจรรย์นี้ 
จะพึงยั่งยืนตั้งอยู่นาน นั้นพึงเป็นไปเพื่อประโยชน์แก่ชนมาก เพื่อความสุขแก่ชน 
มาก เพื่อความอนุเคราะห์แก่โลก เพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อความสุข 
แก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ฯ 
                          จบ หมวด ๒ 
>>>> จบการเอาธรรมมาแสดงโดยบริบูรณ์ แทบไม่ต้องอธิบายอะไรเลยเพราะ 
ในเนื้อพระไตรปิฏกมีครบทั้งเหตุและผลอยู่แล้ว ขอบคุณท่านที่พยายามอ่านมาจนจบ <<<< 
***ผมขอโทษผู้คุมระบบด้วยนะครับที่ผมส่งข้อมากเกินไป***

 จากคุณ : Vicha5 [ 23 พ.ย. 2543 / 20:34:45 น. ]  
     [ IP Address : 203.151.36.3 ] 
 
 
 ความคิดเห็นที่ 6 : (ดังตฤณ) 
เป็นพระสูตรที่สนุกครับ 
อ่านแบบเลือกกระโดดได้เพราะมีข้อความซ้ำเยอะ 
คนที่ยังไม่อ่านไม่ต้องกลัวยาวเกินไปนะครับ 
สาธุกับการคัดเลือกแบบปะติดปะต่อพร้อมการขยายความที่เป็นประโยชน์ของคุณ Vicha ด้วยครับ
 จากคุณ : ดังตฤณ [ 23 พ.ย. 2543 / 22:05:26 น. ]  
     [ IP Address : 203.155.129.168 ] 
 
 
 ความคิดเห็นที่ 7 : (วิลาศินี) 
วันนี้มีเวลาว่างมานั่งอ่านได้แค่ตอนเดียวค่ะ อยากหาวาทะของพระพุทธองค์ที่โต้ตอบเกี่ยวกับมิจฉาทิฏฐิ ไม่ทราบว่ามีในกระทู้นี้หรือเปล่าคะ  
อย่างไรก็ขอสาธุกับความขยันและความตั้งใจอันดีของคุณ Vicha ด้วยค่ะ
 จากคุณ : วิลาศินี [ 25 พ.ย. 2543 / 11:07:35 น. ]  
     [ IP Address : 203.146.170.166 ] 
 
 
 ความคิดเห็นที่ 8 : (ผู้มีนามไม่พึงประสงค์) 
พี่วิชา นี่ดีจริงครับ ไม่เห็นแก่เหน็ดเหนือยเลย 
อุตส่าห์คัดพระสูตรให้พวกผมได้อ่านกัน ดีจริงๆ 
ขอบคุณมากๆครับ 

ผมละชอบมากๆเลย โดยเฉพาะที่ว่า 
"อนึ่ง ตถาคตย่อมรู้วาจาที่จริง ที่แท้ และประกอบด้วยประโยชน์ และวาจานั้นเป็นที่รัก เป็นที่ชอบใจของผู้อื่น ในข้อนั้น ตถาคตย่อมรู้กาลที่จะพยากรณ์วาจานั้น ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะตถาคตมีความเอ็นดูในสัตว์ทั้งหลาย" 

สรุปได้ว่า วาจาที่ควรพูด คือ 
เป็นวาจาจริง  และ พูดแล้วเป็นประโยชน์  และ พูดแล้วเป็นที่ชอบใจของผู้อื่น 

และอีกที่ ตอนที่ว่า 
"ดูกรคฤหบดี ท่านจงใคร่ครวญเสียก่อนแล้วจึงทำ การที่มนุษย์ผู้มีชื่อเสียงเช่นท่านใคร่ครวญเสียก่อนแล้วจึงทำเป็นความดี" 
 

 จากคุณ : ผู้มีนามไม่พึงประสงค์ [ 27 พ.ย. 2543 / 11:46:12 น. ]  
     [ IP Address : 203.148.182.133 ] 
 
 
 ความคิดเห็นที่ 9 : (rising_sun) 
วาจาที่จริง ประกอบด้วยประโยชน์ แม้จะไม่เป็นที่ชอบใจของผู้ฟัง ตถาคตก็พูดนะครับ 
คีย์เวิร์ดจริงๆที่ผมสรุปเองคือ 
"วาจาจริง ประกอบด้วยประโยชน์ ผู้ฟังจะพอใจหรือไม่ก็ตาม ตถาคตก็ทรงเลือกกาลที่จะพูด" 
อยู่ที่กาละเทศะด้วยครับ
 จากคุณ : rising_sun [ 28 พ.ย. 2543 / 22:58:44 น. ]  
     [ IP Address : 203.155.228.77 ] 
 
 


                                                                                                             กลับหน้าแรก