จัมเปยยกจริยาที่ ๓

(ยกมาจากจริยาปิฏก เล่ม 33/3) ว่าด้วยจริยาวัตรของจัมเปยยกนาคราช [๑๓] อีกเรื่องหนึ่ง ในกาลเมื่อเราเป็นพระยานาคชื่อจัมเปยยกะมีฤทธิ์มาก แม้ในกาลนั้น เราเป็นผู้ประพฤติธรรมเพียบพร้อมด้วยศีลวัตร หมอ งูได้จับเราผู้ประพฤติธรรม รักษาอุโบสถให้เล่นรำอยู่ที่ใกล้ประตู พระราชวัง หมองูนั้นคิดเอาสีเช่นใด คือ สีเขียว สีเหลือง หรือ สีแดง เราย่อมเปลี่ยนไปตามจิตของเขา แปลงกายให้เหมือนที่เขา คิดเราได้ทำน้ำให้เป็นบกบ้าง ได้ทำบกให้เป็นน้ำ ถ้าแหละเรา โกรธเคืองต่อหมองูนั้น ก็พึงทำเขาให้เป็นเถ้าโดยฉับพลัน ถ้าเรา จักเป็นไปตามอำนาจจิตเราก็จักเสื่อมจากศีล เมื่อเราเสื่อมจากศีล ประโยชน์อันสูงสุดจะไม่สำเร็จ กายของเรานี้จงแตกไป จงกระจัด กระจายอยู่ ณ ที่นี้ เหมือนแกลบกระจัดกระจายอยู่ก็ตามเถิด เราจะ ไม่ทำลายศีล ฉะนี้แล. จบจัมเปยยกจริยาที่ ๓

อรรถกถาจัมเปยยนาคจริยาที่ ๓

พึงทราบวินิจฉัยในอรรถกถาจัมเปยยนาคจริยาที่ ๓ ดังต่อไปนี้. บทว่า จมฺเปยฺยโก พระยานาคชื่อว่าจัมเปยยกะ คือ แม่น้ำชื่อว่าจัมปา อยู่ใน ระหว่างแคว้นอังคะและมคธะ. ใต้แม่น้ำนั้นแม้นาคพิภพก็ชื่อว่าจัมปา เพราะ เกิดไม่ไกลกัน. นาคราชชื่อว่าจัมเปยยกะเกิดที่นาคพิภพนั้น. บทว่า ตทาปิ ธมฺมิโก อาสึ แม้ในกาลนั้นเราเป็นผู้ประพฤติธรรม คือแม้ในกาลที่เรา เป็นนาคราชชื่อว่า จัมเปยยกะนั้นก็ได้เป็นผู้ประพฤติธรรม.

มีเรื่องย่อว่า พระโพธิสัตว์ในกาลนั้นบังเกิดในนาคพิภพชื่อว่าจัมปา เป็นนาคราชชื่อว่าจัมเปยยภะ มีฤทธิ์มากมีอานุภาพมาก. นาคราชนั้นครอง นาคราชสมบัติอยู่ในนาคพิภพนั้น เสวยอิสสริยสมบัติเช่นเดียวกับโภคสมบัติ ของเทวราช เพราะไม่มีโอกาสได้บำเพ็ญบารมี จึงดำริว่า ประโยชน์อะไร ด้วยกำเนิดเดียรัจฉานนี้. เราจักเข้าอยู่ประจำอุโบสถ พ้นจากนี้แล้ว จัก บำเพ็ญบารมีให้ดีทีเดียว ตั้งแต่นั้นมาก็รักษาอุโบสถในปราสาทของตนนั่น เอง. นางนาคมาณวิกาแต่งตัวแล้วมาหาพระโพธิสัตว์. พระโพธิสัตว์ดำริว่า อยู่ที่ปราสาทนี้จักเป็นอันตรายแก่ศีลของเรา จึงออกจากปราสาทไปอยู่ใน สวน. แม้ในสวนนั้นพวกนางนาคมาณวิกาก็มาหาอีก. พระโพธิสัตว์ดำริว่า ในสวนนี้ ศีลของเราก็จักเศร้าหมอง. เราจักออกจากนาคพิภพนี้ไปยังมนุษยโลก แล้วอยู่จำอุโบสถ. ตั้งแต่นั้นมาพระโพธิสัตว์ก็ออกจากนาคพิภพในวัน อุโบสถ สละร่างกายให้เป็นทานโดยอธิษฐานว่า ผู้ต้องการหนังเป็นต้นของ เรา จงเอาหนังไปเถิด. หรือประสงค์จะเอาไปทำกีฬางู ก็จงทำเถิด แล้ว นอนขดขนดอยู่บนยอดจอมปลวก ใกล้ทางไม่ไกลบ้านชายแดนแห่งหนึ่ง อยู่ประจำอุโบสถในวัน ๑๔ ค่ำ และ ๑๕ ค่ำ. ในวันค่ำหนึ่งจึงไปนาคพิภพ. เมื่อพระโพธิสัตว์รักษาอุโบสอยู่อย่างนี้ กาลเวลาล่วงไปยาวนาน. ลำดับนั้น อัครมเหสีชื่อสุมนา กล่าวกะพระโพธิสัตว์ว่า ข้าแต่พระองค์ พระองค์เสด็จ ไปมนุษยโลกเข้าจำอุโบสถ. ก็มนุษยโลกนั้นเต็มไปด้วยภัยอันตราย จึงประทับ อยู่ ณ ฝั่งโบกขรณีอันเป็นมงคล ทรงบอกนิมิต ๓ ประการแก่นางสุมนาว่า แม่นางผู้เจริญ หากใครทำร้ายเราให้ลำบาก น้ำในสระโบกขรณีนี้จักขุ่น. หากครุฑจับ. น้ำจักเดือดพล่าน. หากหมองูจับ. น้ำจักมีสีแดงแล้วอธิษฐาน อุโบสถในวัน ๑๔ ค่ำ จึงออกจากนาคพิภพไปนอนบนยอดจอมปลวกนั้น ยังจอมปลวกให้งดงามด้วยความงามของร่างพระโพธิสัตว์. เพราะร่างของ พระโพธิสัตว์ขาว ดุจพวงเงิน. ยอดศีรษะดุจลูกคลีทำด้วยผ้ากัมพลสีแดง. ร่างกายประมาณหัวงอนไถ. เมื่อครั้งพระภูริทัตประมาณขาอ่อน. เมื่อครั้ง พระสังขปาละประมาณเรือโกลนลำหนึ่ง. ในกาลนั้นมาณพชาวกรุงพาราณสีคนหนึ่ง ไปเมื่องตักกสิลา เรียน มนต์อาลัมพายน์ คือ มนต์สะกดจิต เรียนจบแล้วก็กลับบ้านของตน มาตาม ทางนั้นเห็นพระมหาสัตว์ คิดว่า เรื่องอะไรที่เราจะกลับบ้านมือเปล่า จับ นาคนี้ไปแสดงการเล่นในหมู่บ้านนิคม และราชธานี ก็จะได้ทรัพย์แล้วจึง ค่อยไป ได้หยิบโอสถทิพย์ ร่ายทิพยมนต์เข้าไปหานาคราช. นาคราชตั้งแต่ ได้ยินทิพยมนต์ ได้เป็นดุจซี่เหล็กร้อนยอนเข้าไปในหูของพระมหาสัตว์ ดุจปลายหงอนถูกขยี้. พระมหาสัตว์ยกศีรษะออกจากระหว่างขนดมองดูนั่น ใครหนอ เห็นหมองู จึงดำริว่า พิษของเราแรงกล้า หากเราโกรธจักพ่นลม ออกจากจมูก ร่างกายของหมองูนี้ ก็จะกระจุยกระจายดุจแกลบ. ที่นั้นศีล ของเราก็จะขาด. เราจักไม่มองดูหมองูละ. พระมหาสัตว์หลับตาสอดศีรษะ เข้าไประหว่างขนด. พราหมณ์หมองู เคี้ยวโอสถร่ายมนต์ พ่นน้ำลายลง บนร่างของพระมหาสัตว์. ด้วยอานุภาพของโอสถและมนต์ ได้เป็นดุจพุพอง ผุดขึ้นในที่ที่น้ำลายถูกต้อง. ลำดับนั้นพราหมณ์หมองู จึงจับที่หางฉุดออกมาให้นอนเหยียด เอา ไม้ตีนแพะกดไว้ทำให้อ่อนกำลังแล้วจับศีรษะให้มั่น. พระมหาสัตว์อ้าปาก. หมองูจึงพ่นน้ำลายลงในปากของพระมหาสัตว์ ทำลายฟันด้วยกำลังมนต์ โอสถ. เลือดเต็มปาก. พระมหาสัตว์อดกลั้นทุกข์ถึงปานนี้ เพราะเกรงศีล ของตนจะขาด จึงหลับตาไม่ทำแม้เพียงแลดู. หมองูนั้นคิดว่า เราทำนาคราช ให้หมดกำลังจึงขยำทั่วร่าง ดุจจะทำให้กระดูกตั้งแต่หางแหลกเหลว พันผ้า สำลี เอาด้ายมัด จับที่หาง เอาผ้าทุบ. โลหิตเปื้อนทั่วร่างพระมหาสัตว์. พระมหาสัตว์อดกลั้นเวทนาอันสาหัส. ลำดับนั้น หมองูรู้ว่าพระมหาสัตว์หมดกำลัง จึงเอาเถาวัลย์ทำตะกร้า จับพระมหาสัตว์ใส่ลงในตะกร้านำไปยังบ้านชายแดน ให้เล่นกีฬาท่ามกลาง มหาชน. พระมหาสัตว์ฟ้อนทำตามพราหมณ์ต้องการให้ทำ ในสีมีสีเขียว เป็นต้น ในสัณฐานมีสี่เหลี่ยมเป็นต้น ในประมาณมีละเอียดและหยาบเป็น ต้น. ทำพังพานร้อยหนึ่งบ้าง พันหนึ่งบ้าง. มหาชนชอบใจได้ให้ทรัพย์ เป็นอันมาก. วันเดียวเท่านั้นได้กหาปณะพันหนึ่ง และบริขารมีค่าพันหนึ่ง. พราหมณ์คิดมาแต่ต้นแล้วว่า ได้ทรัพย์พันหนึ่งแล้วจะปล่อย. แต่ครั้นได้ ทรัพย์นั้นแล้ว คิดว่า ในบ้านชายแดนเท่านั้นเรายังได้ทรัพย์ถึงเพียงนี้ เมื่อ เราแสดงแก่พระราชาและมหาอำมาตย์ของพระราชา จักได้ทรัพย์มากเพียงไร. จึงหาเกวียนและยานน้อยที่สบายบรรทุกบริขารลงในเกวียน ตนเองนั่งบน ยานน้อยที่สบาย คิดว่า เราจะให้พระมหาสัตว์เล่นกีฬาในบ้าน นิคม และ ราชธานี ด้วยบริวารอันใหญ่ ครั้นให้เล่นในราชสำนักของพระเจ้าอุคคเสนะ ในกรุงพาราณสีแล้วก็จะปล่อย จึงได้เดินทางไป. พราหมณ์นั้นได้ฆ่ากบให้ นาคราช. นาคราชไม่กิน ด้วยคิดว่า พราหมณ์จักฆ่ากบเพราะอาศัยเราบ่อยๆ. ทีนั้นพราหมณ์จึงให้น้ำผึ้งและข้าวตอกแก่พระมหาสัตว์. พระมหาสัตว์ไม่กิน แม้น้ำผึ้งและข้าวตอกเหล่านั้นด้วยคิดว่า หากเราถือเอาอาหาร. จักต้องตาย ภายในตะกร้านี้แหละ. พราหมณ์ได้ไปถึงกรุงพาราณสีประมาณ ๑ เดือน ให้พระโพธิสัตว์ เล่นกีฬาที่ประตูบ้านได้ทรัพย์เป็นอันมาก. แม้พระราชาก็รับสั่งให้เรียก พราหมณ์นั้นมา ตรัสว่า จงให้เล่นกีฬาให้เราดู. พราหมณ์ทูลรับพระดำรัส ว่า ขอเดชะข้าพระองค์จะให้เล่นกีฬาถวายพระองค์ในวัน ๑๕ ค่ำ พระเจ้า ข้า. พระราชารับสั่งให้ตีกลองป่าวประกาศว่า พรุ่งนี้นาคราชจักฟ้อนที่พระลานหลวง ขอให้มหาชนจงมาประชุมดูเถิด วันรุ่งขึ้นรับสั่งให้ตกแต่งพระลานหลวง แล้วตรัสเรียกหาพราหมณ์ให้เข้าเฝ้า. พราหมณ์จึงนำพระมหาสัตว์ในตะกร้าแก้วไปวางตะกร้าไว้ ณ ที่ลาดอันวิจิตรนั่งอยู่. พระราชาก็เสด็จ ลงจากปราสาทแวดล้อมด้วยมหาชนประทับนั่งเหนือราชอาสน์. พราหมณ์ นำพระมหาสัตว์ออกมาแล้วให้ฟ้อน. พระมหาสัตว์แสดงไปตามที่พราหมณ์คิด ให้แสดง. มหาชนไม่อาจทรงภาวะของตนไว้ได้. ต่างยกผ้าพันผืนโบกไปมา แล้วฝนตกเบื้องบนพระมหาสัตว์.

ดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ตทาปิ มํ ธมฺมจารึ แม้ในกาลนั้นเราเป็นผู้ประพฤติธรรมเป็นอาทิ. ในบทเหล่านั้น บทว่า ตทาปิ คือแม้ในกาลที่เราเป็นนาคราช ชื่อว่า จัมเปยยกะ. บทว่า ธมฺมจารึ คือประพฤติกุสลกรรมบถ ๑๐. ชื่อว่าผู้ ประพฤติธรรม เพราะไม่ประพฤติสิ่งที่เป็นอธรรมแม้แต่น้อย. บทว่า อุปวุฏฺฐ- อุโปสถํ คือเข้าจำอุโบสถด้วยการรักษาอริยอุโบสถศีล ประกอบด้วยองค์ ๘. บทว่า ราชทฺวารมฺหิ กีฬติ คือให้เล่นอยู่ที่ประตูพระราชวัง ของพระเจ้า อุคคเสนะในกรุงพาราณสี. บทว่า ยํ ยํ โส วณฺณํ จินฺตยิ คือพราหมณ์ หมองูนั้นคิดว่า จงเป็นสีเขียวเป็นต้นเช่นใด. ดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัส ไว้ว่า นีลํ ว ปีตโลหิตํ สีเขียว สีเหลือง สีแดง เป็นอาทิ. ในบทเหล่านั้น บทว่า นีลํ ว. วา ศัพท์ เป็นความไม่แน่นอน. วา ศัพท์ ทำเสียงให้สั้นเป็น ว ศัพท์ เพื่อสะกดด้วยในการแต่งคาถา. ด้วย วา ศัพท์นั้น ท่านสงเคราะห์เอาความต่างของสี มีสีขาวเป็นต้น ความต่าง ของสัณฐานมีสันฐานกลมเป็นต้น ความต่างของประมาณมีละเอียดและ หยาบเป็นต้น. บทว่า ตสฺส จิตฺตานุวตฺตนฺโต คือเปลี่ยนไปตามความคิด ของหมองูนั้น. บทว่า จินฺติตสนฺนิโภ แปลงกายให้เหมือนเขาคิด พระ- ผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงว่า เราช่วยจูงใจชนผู้เพ่งดูด้วยอาการที่หมองูคิด ให้ทำ. อานุภาพของเรามิใช่แสดงอาการตามที่หมองูคิดอย่างเดียว ที่แท้เรา ทำน้ำให้เป็นบกบ้าง ทำบกให้เป็นน้ำบ้าง. เราสามารถทำแผ่นดินใหญ่อันเป็น บกให้เป็นน้ำได้ สามารถทำแม้น้ำให้เป็นแผ่นดินได้. อานุภาพใหญ่ด้วย ประการฉะนี้. บทว่า ยทิหํ ตสฺส กุปฺเปยฺยํ คือหากเราโกรธเคืองต่อ หมองูนั้น. บทว่า ขเณน ฉาริกํ กเร คือพึงทำให้เป็นเถ้าในขณะเกิด ความโกรธนั่นแล. พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงแสดงความที่พระองค์สามารถกำจัด ความฉิบหายอันจะเกิดขึ้นแก่พระองค์ในกาลนั้น บัดนี้ เพื่อทรงแสดงถึงความ ประสงค์ที่พระองค์ไม่ทำการกำจัด จึงตรัสพระดำรัสมีอาทิว่า ยทิ จิตฺตวสี เหสฺสํ ดังนี้. บทนั้นมีความดังต่อไปนี้ ถ้าเราจักเป็นไปในอำนาจของจิต แม้ด้วยเหตุ เพียงโกรธแล้วมองดูด้วยคิดว่า หมองูนี้เบียดเบียนเราเหลือเกิน. คงไม่รู้จัก อานุภาพของเรา. เอาละเราจักแสดงอานุภาพของเราให้หมองูเห็นดังนี้ ทีนั้น หมองูก็จักกระจุยกระจายดุจแกลบไปฉะนั้น. เราก็จักเสื่อมจากศีลตามที่เรา ได้สมาทานไว้. ก็เมื่อเราเสื่อมจากศีลมีศีลขาด ประโยชน์อันใดที่เราปรารถนา ไว้ตั้งแต่บาทมูลของพระทศพลพระนามว่าทีปังกร ประโยชน์อันสูงสุด คือ ความเป็นพระพุทธเจ้านั้นก็จะไม่สำเร็จ. บทว่า กามํ ภิชฺชตุ ยํ กาโย คือ กายมีความไม่เที่ยง ต้องขัดสี ต้องบีบนวด ต้องทำลายและต้องกำจัดเป็น ธรรมดา สะสมขึ้นด้วยข้าวสุกและขนม คือมหาภูตรูป ๔ นี้จงแตกคือ พินาศไป จงกระจุยกระจายไปเหมือนแกลบที่ซัดไปในลมแรงในที่นี้ก็ตาม เถิด. บทว่า เนว สีลํ ปภินฺเทยฺยํ, วิกิรนฺเต ภุสํ วิย คือพระโพธิ- สัตว์คิดว่า แม้เมื่อร่างกายนี้กระจัดกระจายไปเหมือนแกลบ เราก็จะไม่ทำลายศีลอันเป็นเหตุแห่งความสำเร็จประโยชน์สูงสุด. เราจะไม่คำนึงถึงร่าง กายและชีวิต จะบำเพ็ญศีลบารมีเท่านั้น แล้วจะอดกลั้นทุกข์เช่นนั้นใน กาลนั้น ท่านแสดงไว้ดังนี้.

ก็เมื่อพระมหาสัตว์ตกอยู่ในเงื้อมมือของหมองูครบเดือนพอดี. พระมหาสัตว์อดอาหารตลอดกาลประมาณเท่านั้น. นางสุมนาแลดูสระโบกขรณีด้วย คิดว่า สามีของเราช้าเหลือเกิน. จะมีเหตุอะไรหนอครั้นเห็นน้ำมีสีแดงก็รู้ว่า สามีถูกหมองูจับจึงออกจากนาคพิภพไปใกล้จอมปลวกเห็นที่ที่พระมหาสัตว์ ถูกจับและที่ที่ถูกทรมาน จึงร้องไห้คร่ำครวญไปยังบ้านชายแดนถาม ครั้น ทราบเรื่องราวแล้วก็ไปกรุงพาราณสี ยืนร้องไห้อยู่บนอากาศใกล้ประตูพระราชวัง. พระมหาสัตว์กำลังฟ้อนอยู่ แหงนสู่อากาศเห็นนางสุมนา จึงละอาย เข้าตะกร้านอน. พระราชาในขณะที่พระโพธิสัตว์เข้าตะกร้า ทรงดำริว่า มีเหตุอะไร หนอ ประทับยืนทอดพระเนตรดูข้างโน้นข้างนี้ทรงเห็นนางสุมนายืนอยู่บน อากาศ ตรัสถามว่า ท่านเป็นใคร ครั้นทรงทราบว่า นางเป็นนาคกัญญา ทรงเข้าพระทัยว่า นาคราชคงเห็นนางนาคกัญญานี้ละอายเข้าตะกร้าไปโดย ไม่ต้องสงสัย. ฤทธานุภาพตามที่ได้แสดงนี้เป็นของนาคราชเท่านั้นมิใช่ของ หมองู จึงตรัสถามว่า นาคราชนี้มีอานุภาพมากถึงอย่างนี้ตกไปสู่มือของ พราหมณ์นี้ได้อย่างไร ทรงสดับว่า นาคราชนี้มีศีลประพฤติธรรมเข้าอยู่จำ อุโบสถในวัน ๑๔ ค่ำ ๑๕ ค่ำ มอบร่างกายของตัวให้เป็นทาน นอนอยู่บน ยอดจอมปลวกใกล้ทางหลวง. ถูกหมองูจับในที่นั้น. นาคราชนี้มีนาคกัญญา ตั้งพันเปรียบด้วยนางเทพอัปสร. สมบัติในนาคพิภพเช่นกับสมบัติในเทวโลก. นาคราชนี้มีฤทธิ์มาก มีอานุภาพมาก สามารถพลิกแผ่นดินทั้งสิ้นได้. นาคราชคิดอย่างเดียวว่า ศีลของเราจักขาด จึงยอมรับทุกข์อย่างรุนแรง เห็นปานนี้ พระราชาทรงเกิดสังเวช ทันใดนั้นเองได้พระราชทานทรัพย์ เป็นอันมาก ยศและความอิสระอย่างใหญ่หลวงแก่พราหมณ์ แล้วทรงให้ ปล่อยด้วยพระดำรัสว่า เอาเถิดท่านพราหมณ์ผู้เจริญขอท่านจงปล่อยนาคราช นี้เถิด. พระมหาสัตว์ยังเพศนาคให้หายไปกลายเพศเป็นมาณพ ปรากฏดุจ เทพกุมาร. แม้นางสุมนาก็ลงจากอากาศยืนอยู่ใกล้กับพระโพธิสัตว์นั้นถวาย บังคมพระราชาทูลว่า ข้าแต่มหาราช ขอเชิญพระองค์เสด็จมาทอดพระเนตร ที่อยู่ของข้าพระองค์เถิด.

ดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า:- จัมเปยยกนาคราช พ้นออกมาแล้วจึง ทูลกะพระราชาว่า ข้าแต่พระเจ้ากาสี ขอความ นอบน้อมจงมีแด่พระองค์ ข้าแต่ท่านผู้ยัง แคว้นกาสีให้เจริญ ขอความนอบน้อมจงมีแด่ พระองค์ ข้าพระองค์ขอถวายบังคมแด่พระองค์ ขอพระองค์พึงเห็นนิเวศน์ของข้าพระองค์. พระราชาทรงอนุญาตให้พญานาคกลับไปยังนาคพิภพ.

พระมหาสัตว์พา พระราชาพร้อมด้วยข้าราชบริพารไปยังนาคพิภพแสดงอิสสริยสมบัติของตน อยู่ในนาคพิภพได้ -๓ วัน จึงให้ตีกลองป่าวประกาศว่า พวกข้าราชบริพาร ทั้งหมดจงถือเอาทรัพย์มีเงินและทองเป็นต้นตามความต้องการ. มอบทรัพย์ ถวายพระราชา ๑๐๐ เล่มเกวียน. พระมหาสัตว์ถวายโอวาทด้วยราชธรรมกถา ๑๐ ประการ มีอาทิว่า ข้าแต่มหาราชธรรมดาพระราชาควรทรงบริจาค ทาน. ควรรักษาศีล. ควรจัดการรักษาป้องกันคุ้มครองเป็นธรรมในกิจ ทั้งปวงแล้วส่งเสด็จกลับ. พระราชาเสด็จออกจากนาคพิภพด้วยพระยศ อันใหญ่เสด็จถึงกรุงพาราณสี. ได้ยินว่าตั้งแต่นั้นมาในพื้นชมพูทวีปมีเงิน และทองเป็นอันมาก. พระมหาสัตว์รักษาศีลกระทำอุโบสถกรรมทุกกึ่งเดือน พร้อมด้วยบริษัทได้ไปบังเกิดบนสวรรค์.

หมองูในครั้งนั้นได้เป็นเทวทัตในครั้งนี้. นางสุมนา คือมารดา พระราหุล. อุคคเสนะ คือพระสารีบุตร. จับเปยยกนาคราช คือพระ โลกนาถ.

แม้ในจริยานี้พึงเจาะจงกล่าวถึงบารมีที่เหลือของพระมหาสัตว์นั้น ตามสมควร. อานุภาพอันน่าอัศจรรย์ของพระโพธิสัตว์ในที่นี้มีนัยดังกล่าว แล้วในหนหลังนั่นแล.

จบ อรรถกถาจัมเปยยนาคจริยาที่ ๓

กลับที่เดิม