เอกราชจริยาที่ ๑๔

ว่าด้วยพระจริยาวัตรของพระเจ้าเอกราช [๓๔] อีกเรื่องหนึ่ง ในกาลเมื่อเราเป็นพระราชา ปรากฏพระนามว่าเอกราช ในกาลนั้น เราอธิษฐานศีลอันบริสุทธิ์ยิ่งปกครองแผ่นดินใหญ่ สมาทานกุศลกรรมบถ ๑๐ ประการประพฤติโดยไม่มีเศษ สงเคราะห์ มหาชนด้วยสังคหวัตถุ ๔ ประการ เมื่อเราเป็นผู้ไม่ประมาทใน ประโยชน์โลกนี้และโลกหน้า ด้วยอาการอย่างนี้ พระเจ้าโกศล พระนามว่าทัพพเสนะ ยกกองทัพมาชิงเอาพระนครเราได้ ทรงทำ ข้าราชการ ชาวนิคม พร้อมด้วยทหาร ชาวชนบทให้อยู่ในเงื้อม พระหัตถ์ทั้งหมดแล้ว ตรัสสั่งให้ฝังเราเสียในหลุม เราเห็นพระเจ้า ทัพพเสนะกับหมู่อำมาตย์ ชิงเอาราชสมบัติอันมั่งคั่งภายในพระนคร ของเรา เหมือนบุตรสุดที่รัก ฉะนั้น ผู้เสมอด้วยเมตตาของเราไม่มี นี้เป็นเมตตาบารมีของเรา ฉะนี้แล. จบเอกราชจริยาที่ ๑๕

อรรถกถาเอกราชจริยาที่ ๑๔

พึงทราบวินิจฉัยในอรรถกถาเอกราชจริยาที่ ๑๔ ดังต่อไปนี้. บทว่า เอกราชาติ วิสฺสุโต คือปรากฏในพื้นชมพูทวีปโดยพระนามที่กำหนดไว้ นี้ว่า เอกราช.

ในครั้งนั้น พระมหาสัตว์ทรงอุบัติเป็นโอรสพระเจ้ากรุงพาราณสี. ครั้นทรงเจริญวัยถึงความสำเร็จศิลปะทุกแขนง ครั้นพระบิดาสวรรคต จึง ครองราชสมบัติมีพระนามประกาศว่า เอกราช เพราะทรงบำเพ็ญบารมี ด้วยการประกอบคุณวิเศษอันไม่ทั่วไปแก่ผู้อื่นมีศีลอาจาระ ศรัทธาและสุตะ อันเป็นกุศลเป็นต้น และด้วยความเป็นหัวหน้าเพราะไม่มีใครเป็นที่สองใน พื้นชมพูทวีป.

บทว่า ปรมํ สีลํ อธิฏฺฐาย คืออธิษฐานศีล อันได้แก่ กุศลกรรมบถ ๑๐ อันบริสุทธิ์สูงสุด กล่าวคือสำรวมทางกาย ทางวาจา บริสุทธิ์ด้วยดี และประพฤติชอบทางใจบริสุทธิ์ด้วยดี ด้วยการสมาทานและ ด้วยการไม่ก้าวล่วง. บทว่า ปสาสามิ มหามหึ ความว่า ปกครองแผ่นดิน ใหญ่ คือครองราชสมบัติในแคว้นกาสีประมาณ ๓๐๐ โยชน์. บทว่า ทสกุสลกมฺมปเถ คือสมาทานกุศลกรรมบถ ๑๐ ประการ มีการเว้นจากการฆ่าสัตว์ จนถึงเห็นชอบ หรือประพฤติกุศลกรรมเหล่านั้น ไม่มีส่วนเหลือ. บทว่า จตูหิ สงฺคหวตฺถูหิ ความว่า ในกาลเมื่อเรา ปรากฏชื่อว่า เอกราช สงเคราะห์มหาชนด้วยธรรมเป็นเหตุสงเคราะห์ คือ สังคหวัตถุ ๔ เหล่านี้ได้แก่ ทาน ปิยวาจา อรรถจริยา สมานัตตตา. บทว่า เอวํ คือเมื่อเราเป็นผู้ไม่ประมาทด้วยอาการนี้ตามที่กล่าว แล้ว คือการยังศีลคือกุศลกรรมบถ ๑๐ ให้บริบูรณ์ การสงเคราะห์มหาชน ด้วยสังคหวัตถุ . บทว่า อิธ โลเก ปรตฺถ จ ความว่า เมื่อเราเป็น ผู้ไม่ประมาท คือมีสติในประโยชน์ปัจจุบันและโลกหน้า. บทว่า ทพฺพเสโน ได้แก่พระเจ้าโกศลพระนามว่าทัพพเสนะ. บทว่า อุปคนฺตฺวา ความว่า พระเจ้าโกศลเข้าไปชิงราชสมบัติของเราด้วยการยกกองทัพ ๔ เหล่ามาครอบ ครอง. บทว่า อจฺฉินฺทนฺโต ปุรํ มม คือยึดกรุงพาราณสีของเราด้วย กำลัง. ในบทนั้นมีเรื่องราวตามลำดับดังต่อไปนี้.

ได้ยินว่า ครั้งนั้นพระมหาสัตว์ทรงให้สร้างโรงทาน ๖ แห่งคือที่ พระทวาร ๔ ด้านของพระนคร ท่ามกลางพระนคร ๑ ที่ประตูพระ นิเวศน์ ๑ ทรงให้ทานแก่คนยากจนและคนเดินทางเป็นต้น ทรงรักษาศีล ทรงรักษาอุโบสถ ทรงถึงพร้อมด้วยขันติ เมตตาและความเอ็นดู ทรงยินดี สรรพสัตว์ดุจมารดาบิดายินดีบุตรที่นั่งบนตัก ทรงครองราชสมบัติโดยธรรม. อำมาตย์ของพระองค์คนหนึ่ง คิดขบถภายในพระนครปรากฏขึ้นในภายหลัง. พวกอำมาตย์พากันกราบทูลแด่พระราชา. พระราชาทรงคอยสังเกตทรงรู้ชัด ด้วยพระองค์ จึงตรัสให้เรียกอำมาตย์นั้นมารับสั่งว่า อ้ายคนอันธพาล เจ้าทำกรรมไม่สมควร เจ้าไม่ควรอยู่ในแว่นแคว้นของเรา จงถือเอาทรัพย์ และพาลูกเมียไปอยู่ที่อื่น แล้วทรงขับไล่ออกจากแว่นแคว้น. อำมาตย์นั้นไปโกศลชนบท เข้ารับราชการกะพระเจ้าโกศลพระนาม ว่าทัพพเสนะ ได้ทำความคุ้นเคยกับพระราชานั้นโดยลำดับ วันหนึ่งทูล พระราชาว่า ข้าแต่พระองค์กรุงพาราณสีเช่นกับรังผึ้งไม่มีตัวผึ้ง พระราชา ก็อ่อนแอ พระองค์สามารถยึดราชสมบัตินั้นได้โดยง่ายทีเดียว พระราชา ทัพพเสนะไม่ทรงเชื่อคำของอำมาตย์นั้น เพราะพระเจ้ากรุงพาราณสีทรง อานุภาพมาก จึงทรงส่งพวกมนุษย์ให้ไปทำการปล้นมีการฆ่าชาวบ้านเป็นต้น ในแคว้นกาสี ทรงสดับว่าพระโพธิสัตว์ทรงให้ทรัพย์แก่โจรเหล่านั้นแล้ว ทรงปล่อย ครั้นทรงทราบว่าพระราชาเป็นผู้ประกอบด้วยธรรมอย่างยิ่ง ทรงดำริว่า เราจักยึดราชสมบัติในกรุงพาราณสี จึงยกกองทัพเสด็จออกไป. ลำดับนั้น ทหารของพระเจ้ากรุงพาราณสีได้ข่าวว่า พระเจ้าโกศลยกกองทัพ มา จึงกราบทูลแด่พระราชาของตนว่า พวกข้าพระพุทธเจ้าจะจับโบย พระราชานั้นตอนยังไม่ล่วงล้ำรัฐสีมาของเรา. พระโพธิสัตว์ทรงห้ามว่า ท่านทั้งหลาย การทำคนอื่นให้ลำบากเพราะ อาศัยเราไม่มี. ผู้ต้องการราชสมบัติจงยึดราชสมบัติเถิด. พวกท่านอย่าไปเลย. พระเจ้าโกศลเสด็จเข้าไปถึงท่ามกลางชนบท. พวกทหารทูลแด่พระราชา เหมือนอย่างนั้นอีก. พระราชาทรงห้ามโดยนัยก่อน. พระเจ้าทัพพเสนะ ประทับยืนอยู่นอกพระนคร ทรงส่งสาส์นถึงพระเจ้าเอกราชว่า จะมอบ ราชสมบัติให้หรือจะรบ. พระเจ้าเอกราชทรงส่งสาส์นตอบไปว่า เราไม่ต้อง การรบจงเอาราชสมบัติไปเถิด. พวกทหารทูลอีกว่า ข้าแต่พระองค์ พวก ข้าพระองค์จะไม่ให้พระเจ้าโกศลเข้าพระนครได้. จะช่วยกันโบยพระเจ้าโกศลนั้นนอกพระนครแล้วจับมาถวายพระเจ้าข้า. พระราชาทรงห้ามเหมือน ก่อนทรงรับสั่งไม่ให้ปิดประตูพระนคร ประทับนั่งท่ามกลางบัลลังก์บนพื้น ใหญ่. พระเจ้าทัพพเสนะเสด็จเข้าพระนครด้วยกองทัพใหญ่ ไม่ทรงเห็น ข้าศึกต่อต้านแม้แต่คนเดียวเสด็จไปยังพระราชนิเวศน์ ยึดราชสมบัติทั้งหมด ให้อยู่ในเงื้อมพระหัตถ์ เสด็จขึ้นสู่พื้นใหญ่รับสั่งให้จับพระโพธิสัตว์ผู้ไม่มี ความผิดฝังในหลุม.

ดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า:- พระเจ้าทัพพเสนะยกกองทัพมาชิงเอา พระนครเราได้ ทรงทำข้าราชการ ชาวนิคม พร้อมด้วยทหาร ชาวชนบท ให้อยู่ในเงื้อม พระหัตถ์ทั้งหมดแล้ว ตรัสสั่งให้ฝังเราเสีย ในหลุม. ในบทเหล่านั้น บทว่า ราชูปชีเว ได้อำมาตย์ราชบริษัทพราหมณ์ คหบดีเป็นต้น อาศัยพระราชาเลี้ยงชีพ. บทว่า นิคเม คือนิคม. บทว่า สพลฏฺเฐ ชื่อว่า พลฏฺฐา เพราะตั้งกองพลเนื่องด้วยเหล่าทหาร. มีเหล่า ช้างเป็นต้น. พร้อมด้วยทหาร. บทว่า สรฏฺฐเก คือชาวชนบท. อธิบายว่า พระเจ้าทัพพเสนะ ทรงทำข้าราชการชาวนิคมและอื่นๆ ให้อยู่ในเงื้อม พระหัตถ์ทั้งหมดแล้ว. บทว่า กาสุยา นิขณี มมํ ความว่า พระเจ้า ทัพพเสนะยึดราชสมบัติของเรา พร้อมด้วยพลพาหนะจนหมดสิ้นแล้ว ยัง รับสั่งให้ฝังเราในหลุมแค่คอ. แม้ในชาดกก็กล่าวว่า ฝังในหลุมมีความว่า:- พระเจ้าเอกราชเมื่อก่อนทรงเสวยกามคุณยอดเยี่ยมบริบูรณ์ประทับอยู่ บัดนี้พระองค์ ถูกฝังในหลุมนรก มิได้ทรงสละวรรณะและ พละเดิม. แต่ในอรรถกถาชาดกกล่าวไว้ว่า

พระเจ้าทัพพเสนะรับสั่งให้ใส่ สาแหรกแขวนเอาพระเศียรลงข้างล่างที่ธรณีประตูทางทิศเหนือ. พระมหาสัตว์ทรงเจริญเมตตาปรารภพระราชาโจรแล้ว ทรงกระทำ กสิณบริกรรมยังฌานและอภิญญาให้เกิด ทรงผุดขึ้นจากทรายประทับนั่ง ขัดสมาธิบนอากาศ.

ดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า:- เราเห็นพระเจ้าทัพพเสนะกับหมู่อำมาตย์ ชิงเอาราชสมบัติอันมั่งคั่งภายในพระนครของ เราเหมือนบุตรสุดที่รัก. ในบทเหล่านั้น บทว่า อมจฺจมณฺฑลํ คือผู้ที่ปฏิบัติร่วมกับพระราชา ในราชกิจนั้นๆ ชื่อว่าอำมาตย์ หรือพร้อมกับหมู่อำมาตย์เหล่านั้น. บทว่า ผีตํ คือราชสมบัติอันมั่งคั่งด้วยพลพาหนะ ด้วยชาวพระนครและชาวชนบท เป็นต้น อธิบายว่า เราเห็นพระราชาผู้เป็นศัตรูชิงเอาราชสมบัติอันมั่งคั่ง ด้วยนางกำนัล ทาสหญิง ทาสชาย และบริวาร และด้วยของใช้มีผ้าและ เครื่องประดับเป็นต้น ภายในพระนครของเราเหมือนบุตรสุดที่รักของตน ด้วยเมตตาใด ผู้เสมอด้วยเมตตานั้นของเราไม่มีในสกลโลก เพราะฉะนั้น ที่เป็นอย่างนี้นี่เป็นเมตตาบารมีของเรา ถึงความเป็นปรมัตถบารมี.

ก็เมื่อพระมหาสัตว์ทรงแผ่เมตตาปรารภพระราชาโจรนั้น ประทับนั่ง ขัดสมาธิบนอากาศ พระเจ้าทัพพเสนะจึงเกิดความเร่าร้อนในพระวรกาย. พระองค์ทรงส่งเสียงร้องว่า เราถูกไฟไหม้ เราถูกไฟไหม้ ทรงกลิ้งเกลือก ไปมาบนแผ่นดิน. ตรัสว่านี่อะไรกัน พวกราชบุรุษทูลว่า ข้าแต่มหาราช พระองค์รับสั่งให้ฝังพระราชาผู้ทรงธรรมผู้ไม่มีความผิดไว้ในหลุม. ตรัสว่า ถ้าเช่นนั้นพวกท่านรีบไปเอาพระราชานั้นขึ้นเถิด. พวกราชบุรุษไปเห็น พระราชานั้นประทับนั่งขัดสมาธิบนอากาศ จึงกลับมาทูลแด่พระเจ้าทัพพเสนะ. พระเจ้าทัพพเสนะรีบเสด็จไปถวายบังคมขอขมาแล้วตรัสว่า ขอ พระองค์จงครองราชสมบัติของพระองค์เถิด. ข้าพระองค์จักป้องกันพวกโจร แด่พระองค์ แล้วรับสั่งให้ลงอาญาแก่อำมาตย์ชั่ว เสด็จกลับพระนคร.

แม้ พระโพธิสัตว์ก็ทรงมอบราชสมบัติให้แก่พวกอำมาตย์ แล้วทรงบวชเป็นฤๅษี ยังมหาชนให้ตั้งอยู่ในคุณมีศีลเป็นต้น ครั้นสิ้นอายุแล้วก็ไปสู่พรหมโลก.

พระเจ้าทัพพเสนะในครั้งนั้น ได้เป็นพระอานนทเถระในครั้งนี้. พระเจ้าเอกราชคือพระโลกนาถ.

พึงทราบ ทานบารมี ด้วยการสละทรัพย์ ๖๐๐,๐๐๐ ณ โรงทาน ๖ แห่ง ทุกๆ วันของพระโพธิสัตว์นั้น และด้วยการทรงบริจาคราชสมบัติ ทั้งสิ้นแก่พระราชาข้าศึก. ศีลบารมี ด้วยการรักษาศีลและอุโบสถเป็นนิจ และด้วยการสำรวมศีลไม่เหลือเศษของนักบวช. เนกขัมมบารมี ด้วยการ ออกบวชและด้วยการบรรลุฌาน. ปัญญาบารมี ด้วยการไตร่ตรองถึง ประโยชน์และมิใช่ประโยชน์ของสัตว์ทั้งหลาย และด้วยการจัดแจงทานและ ศีลเป็นต้น. วิริยบารมี ด้วยการขมักเขม้นสะสมบุญมีทานเป็นต้น และ ด้วยการบรรเทากามวิตกเป็นต้น. ขันติบารมี ด้วยการอดกลั้นความผิด ของอำมาตย์โหดและของพระเจ้าทัพพเสนะ. สัจจบารมี ด้วยการไม่ผิดพลาด ด้วยการให้เป็นต้นตามปฏิญญา. อธิษฐานบารมี ด้วยการอธิษฐานการ สมาทานไม่หวั่นไหวต่อการให้เป็นต้น. เมตตาบารมี ด้วยการทำสิ่งที่เป็น ประโยชน์ให้แก่ข้าศึกโดยส่วนเดียว และด้วยการยังเมตตาฌานให้เกิด. และ อุเบกขาบารมี เพราะมีพระทัยเสมอในความผิดที่อำมาตย์โหดและพระเจ้า ทัพพเสนะกระทำในอุปการะที่พวกแสวงหาประโยชน์มีอำมาตย์เป็นต้น ของ พระองค์ให้เกิดขึ้น ทรงวางเฉยในคราวที่ถึงความสุขในราชสมบัติ ในคราว ที่ถูกพระราชาข้าศึกฝังในหลุม. สมดังที่ท่านกล่าวไว้ว่า:- ข้าแต่ท่านผู้เป็นจอมชน ท่านจงบรรเทา ความสุขด้วยความทุกข์ หรือจงอดกลั้นความ ทุกข์ด้วยความสุข. สัตบุรุษทั้งหลายย่อมวาง เฉย ในสุขและทุกข์ทั้งสองอย่าง เพราะ เกิดขึ้นแล้ว. ก็เพราะในจริยานี้ เมตตาบารมีเป็นบารมียอดเยี่ยมอย่างยิ่ง. ฉะนั้น เพื่อแสดงความนั้น ท่านจึงยกเมตตาบารมีนั้นเท่านั้นขึ้นสู่บาลี. อนึ่ง ในจริยานี้พึงเจาะจงกล่าวถึงคุณวิเศษ มีความเป็นผู้อนุเคราะห์ เสมอกันเป็นต้นในสรรพสัตว์ของพระมหาสัตว์ ดุจบุตรเกิดในอก ฉะนั้น ด้วยประการฉะนี้.

จบ อรรถกถาเอกราชจริยาที่ ๑๔

กลับที่เดิม