พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ใน พทริการาม นครโกสัมพี ทรงปรารภ พระราหุลเถระ ผู้ใคร่ต่อการศึกษาจึงตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำเริ่มต้นว่า มิคํ ติปลฺลตฺถํ ดังนี้. ความพิศดารว่า กาลครั้งหนึ่ง เมื่อพระศาสดาเสด็จเข้าไปอาศัยเมือง อาฬวีประทับอยู่ในอัคคาฬวเจดีย์ อุบาสก อุบาสิกา ภิกษุ และภิกษุณี จำนวน มาก ไปวิหารเพื่อฟังธรรม. ตอนกลางวัน มีการฟังธรรม ก็แลเมื่อกาลเวลา ล่วงไป อุบาสิกาและภิกษุณีทั้งหลายไม่ไป. มีแต่พวกภิกษุและอุบาสกทั้งหลาย ตั้งแต่นั้น จึงเกิดมีการฟังธรรมตอนกลางคืน ในเวลาเสร็จสิ้นการฟังธรรม ภิกษุทั้งหลายผู้เป็นพระเถระพากันไปยังที่อยู่ของตน ๆ ภิกษุหนุ่มกับพวกอุบาสก นอนที่อุปัฏฐานศาลาคือ โรงฉัน. เมื่อพวกภิกษุหนุ่มและพวกอุบาสกเหล่านั้น เข้าถึงความหลับ บางคนนอนกรนเสียงครืด ๆ นอนกัดฟัน บางคน นอน ครู่เดียวแล้วลุกขึ้น. พวกอุบาสก เห็นประการอันแปลกของภิกษุหนุ่ม จึง กราบทูลแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า.

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบัญญัติสิกขาบทว่า ก็ภิกษุใดนอนร่วมกับ อนุปสัมบัน ภิกษุนั้นต้องอาบัติปาจิตตีย์ ดังนี้แล้วได้เสด็จไปยังนครโกสัมพี.

ในข้อที่ทรงบัญญัติสิกขาบทนั้น ภิกษุทั้งหลายจึงกล่าวกะท่านราหุลว่า อาวุโส ราหุล พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบัญญัติสิกขาบทไว้แล้ว บัดนี้ ท่านจงรู้ที่อยู่ ของตน. ก็เมื่อก่อน ภิกษุทั้งหลายได้สงเคราะห์ท่านราหุลนั้นผู้มายังที่อยู่ของตนๆ เป็นอย่างดีเพราะอาศัยความเคารพในพระผู้มีพระภาคเจ้า และความที่ท่านราหุล นั้นเป็นผู้ใคร่ต่อการศึกษา ได้ลาดเตียงเล็ก ให้จีวรเพื่อหนุนศีรษะ. แต่วันนั้น แม้ที่อยู่ก็ไม่ได้ให้แล้วเพราะกลัวต่อสิกขาบท.

ฝ่ายพระภัทรราหุลก็ไม่ไปยังสำนัก ของพระทศพล ด้วยคิดว่า เป็นพระบิดาของเรา หรือของพระธรรมเสนาบดี ด้วยคิดว่า เป็นอุปัชฌาย์ของเรา หรือของพระมหาโมคคัลลานะด้วยคิดว่า เป็น อาจารย์ของเรา หรือของท่านพระอานนท์ด้วยคิดว่าเป็นอาของเรา ได้เข้าไปยัง เวจกุฏีสำหรับถ่ายของพระทศพล ประดุจเข้าไปยังวิมานของพรหม สำเร็จการ อยู่แล้ว. ก็ประตูกุฏีสำหรับใช้ของพระพุทธเจ้าทั้งหลายที่ปิดสนิทนั้น กระทำ การประพรมด้วยธูปหอม มีพวงของหอมและพวงดอกไม้ห้อย ตามประทีป ตลอดคืนยังรุ่ง.

ก็พระภัทรราหุลอาศัยสมบัตินี้ของกุฏีนั้น จึงเข้าไปอยู่ใน กุฏีนั้น. อนึ่ง เพราะภิกษุทั้งหลายกล่าวว่า ท่านจงรู้ที่อยู่ และเพราะความเป็น ผู้ใคร่ต่อการศึกษาโดยเคารพในโอวาท จึงเข้าไปอยู่ในกุฏีนั้น ก็ในระหว่าง ๆ ภิกษุทั้งหลายเห็นท่านผู้มีอายุนั้นมาแต่ไกล เพื่อต้องการจะทดลองท่านผู้มีอายุ นั้น จึงทิ้งกำไม้กวาดหรือภาชนะสำหรับทิ้งหยากเ ยื่อไว้ข้างใน. เมื่อท่านผู้มี อายุนั้นมาถึง จึงกล่าวว่า อาวุโส ใครทิ้งสิ่งนี้. ในการกระทำนั้น เมื่อภิกษุบาง พวกกล่าวว่า ท่านราหุลมาทางนี้. แต่ท่านราหุลนั้นไม่กล่าวว่า ท่านผู้เจริญ ผมไม่รู้เรื่องนี้ กลับเก็บงำสิ่งนั้นแล้วขอขมาว่า ท่านผู้เจริญ ขอท่านทั้งหลาย จงอดโทษแก่กระผม แล้วจึงไป. ท่านราหุลนี้เป็นผู้ใคร่ต่อการศึกษาอย่างนี้. ท่านราหุลนั้นอาศัยความเป็นผู้ใคร่ต่อการศึกษานั้นนั่นเอง จึงเข้าไปอยู่ในกุฏี นั้น.

ครั้นเวลาก่อนอรุณทีเดียว พระศาสดาประทับยืนที่ประตูเวจกุฏีแล้ว ทรงพระกาสะ (ไอ) ขึ้น ส่วนท่านผู้มีอายุนั้นก็ไอขึ้น พระศาสดาตรัสถามว่า ใครนั่น ? ท่านพระราหุลกราบทูลว่า ข้าพระองค์ราหุล แล้วออกมาถวายบังคม พระศาสดาตรัสถามว่า ราหุล เพราะเหตุไรเธอจึงนอนที่นี้ ? พระราหุลกราบ ทูลว่า เพราะไม่มีที่อยู่ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ด้วยว่าเมื่อก่อน ภิกษุทั้งหลาย กระทำความสงเคราะห์แก่ข้าพระองค์ บัดนี้ไม่ให้ที่อยู่เพราะกลัวตนต้องอาบัติ ข้าพระองค์นั้นคิดว่า ที่นี้เป็นที่ไม่เบียดเสียดผู้อื่น ด้วยเหตุนี้ จึงนอนในที่นี้.

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าเกิดธรรมสังเวชขึ้นว่า เบื้องต้น ภิกษุทั้งหลาย สละราหุลได้อย่างนี้ ( ต่อไป ) ให้เด็กในตระกูลทั้งหลายอื่นบวชแล้ว จักกระทำ อย่างไร. ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าให้ภิกษุทั้งหลายประชุมกันแต่เช้าตรู่ แล้วตรัสถามพระธรรมเสนาบดีว่า สารีบุตร ก็เธอรู้ไหมว่า วันนี้ราหุลอยู่ที่ ไหน ? พระสารีบุตรกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ไม่ทราบ พระเจ้าข้า. พระศาสดาตรัสว่า สารีบุตร วันนี้ราหุลอยู่ที่เวจกุฏี ดูก่อนสารีบุตร ท่านทั้งหลายเมื่อละราหุลได้อย่างนี้ (ต่อไปภายหน้า) ให้เด็กในตระกูล ทั้งหลายเหล่าอื่นบวชแล้ว จักกระทำอย่างไร แม้เมื่อเป็นอย่างนั้น กุลบุตรผู้ บวชในพระศาสนานี้จักเป็นผู้ไม่มีที่พึ่ง บัดนี้ ตั้งแต่นี้ไป ท่านทั้งหลายจงให้ อนุปสัมปันทั้งหลายอยู่ในสำนักของตนวันหนึ่ง สองวัน ในวันที่สามรู้ที่เป็นที่ อยู่ของอนุปสัมปันเหล่านั้นแล้วจงให้อยู่ภายนอก ดังนี้ แล้วทรงบัญญัติสิกขาบทอีก ทรงกระทำให้เป็นอนุบัญญัติข้อนี้.

สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายนั่งประชุมกันในโรงธรรมสภา แล้วกล่าวคุณ ของพระราหุลว่า ดูเอาเถิดท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ราหุลนี้ใคร่ต่อการศึกษาเป็น กำหนด ชื่อว่าผู้ถูกภิกษุทั้งหลายกล่าวว่า ท่านจงรู้ที่อยู่ของท่าน ก็ไม่โต้ตอบ แม้ภิกษุรูปหนึ่งว่า เราเป็นโอรสของพระทศพล ท่านทั้งหลายเป็นใคร พวก ท่านนั่นแหละจงออกไป ดังนี้แล้ว ได้สำเร็จการอยู่ในเวจกุฏี. เมื่อภิกษุเหล่า นั้นพากันกล่าวอยู่อย่างนี้ พระศาสดาเสด็จเข้าไปยังโรงธรรมสภาประทับนั่งบน อาสนะที่ตกแต่งไว้แล้วตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย บัดนี้ พวกเธอนั่งสนทนากันด้วย เรื่องอะไรหนอ. ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พวกข้าพระองค์นั่งสนทนากันด้วยสิกขากามกถา ว่าด้วยความใคร่ต่อการศึกษาของพระราหุล มิใช่ด้วยเรื่องอื่น พระเจ้าข้า. พระศาสดาตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ราหุลเป็นผู้ใคร่ต่อการศึกษา ในบัดนี้เท่านั้นหามิได้ แม้ในกาลก่อน แม้ บังเกิดในกำเนิดเดียรัจฉาน ก็เป็นผู้ใคร่ต่อการศึกษาเหมือนกัน แล้วทรงนำ อดีตนิทานมาดังต่อไปนี้

ในอดีตกาล พระเจ้ามคธราชพระองค์หนึ่งครองราชสมบัติอยู่ใน พระนครราชคฤห์ ในกาลนั้น พระโพธิสัตว์บังเกิดในกำเนิดมฤค อันหมู่มฤค แวดล้อมอยู่ในป่า. ครั้งนั้น แม่เนื้อผู้เป็นน้องสาวของพระโพธิสัตว์นั้นนำบุตร น้อยของตนเข้าไปแล้วกล่าวว่า ข้าแต่พี่ ท่านจงให้หลานของท่านนี้ ศึกษา มารยาของเนื้อ. พระโพธิสัตว์รับคำแล้วกล่าวว่า ดูก่อนพ่อ เจ้าจงไป ใน เวลาชื่อโน้น เจ้าจงมาศึกษา. เนื้อผู้เป็นหลานนั้นไม่ล่วงเลยเวลาที่ลุงบอกเข้า ไปหาลุงนั้นแล้วศึกษามารยาของเนื้อ.

วันหนึ่งเนื้อนั้นเที่ยวไปในป่า ติดบ่วง จึงร้องบอกให้รู้ว่าติดบ่วง หมู่เนื้อพากันหนีไปบอกแก่มารดาของเนื้อนั้นว่า บุตรของท่านติดบ่วง. แม่เนื้อนั้นจึงไปยังสำนักของพี่ชายแล้วถามว่า พี่ท่าน ให้หลานศึกษามารยาของเนื้อแล้วหรือ ? พระโพธิสัตว์กล่าวว่า เจ้าอย่า รังเกียจกรรมอันลามกอะไร ๆ ของบุตร เราให้บุตรของเจ้านั้นศึกษามารยาของ เนื้ออย่างดีแล้ว บัดนี้ บุตรของเจ้านั้นละทิ้งบ่วงนั้นแล้วหนีไป จักกลับมา แล้ว กล่าวคาถานี้ว่า ดูก่อนน้องหญิง ฉันยังเนื้อหลานชายผู้มี ๘ กีบ นอนโดยอาการ ๓ ท่า มีเล่ห์กลมารยาหลายอย่าง ดื่ม กินนํ้าในเวลาเที่ยงคืน ให้เล่าเรียนมารยาของเนื้อดีแล้ว โดยประการที่เนื้อหลานชาย กลั้นลมหายใจได้ โดย ช่องนาสิกข้างหนึ่งแนบติดอยู่กับพื้นดิน ทำเล่ห์กลลวงนายพราน ด้วยอุบาย ๖ ประการฉะนั้น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า มิคํ ได้แก่ เนื้อผู้เป็นหลาน. บทว่า ติปลฺลตฺถํ ความว่า การนอน เรียกว่า ปัลลัตถะ ชื่อว่าผู้มีการนอน ๓ ท่า เพราะมีการนอนโดยอาการ ๓ อย่างคือ โดยข้างทั้งสอง และโดยอาการอย่าง โคนอนตรงอีกอย่างหนึ่ง เพราะมีการนอน ๓ ท่า. ซึ่งเนื้อนั้นผู้มีการนอน ๓ ท่า. บทว่า อเนกมายํ ได้แก่ มีมารยามาก คือมีการลวงมาก. บทว่า อฏฺ€าขุรํ ได้แก่ ผู้ประกอบด้วยกีบ ๘ กีบ โดยเท้าข้างหนึ่ง ๆ มี ๒ กีบ. บทว่า อฑฺฒรตฺตาปปายึ ความว่า เนื้อชื่อว่าดื่มนํ้าในเวลาเที่ยงคืน เพราะ เลยยามแรกไปแล้ว ในเวลามัชฌิยาม จึงมาจากป่าแล้วดื่มนํ้า เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า ผู้ดื่มนํ้าในเวลาเที่ยงคืน. ซึ่งเนื้อนั้น. อธิบายว่า เนื้อผู้ดื่มนํ้าในเวลา เที่ยงคืน. เราให้เนื้อหลานชายของเราเรียนมารยาของเนื้อดีแล้ว. ถามว่า ให้ เรียนอย่างไร ? ตอบว่า ดูก่อนน้องหญิง เราให้เรียนโดยประการที่เนื้อหลาน ชายหายใจที่พื้นดิน โดยช่องนาสิกข้างหนึ่งลวงนายพรานด้วยเล่ห์กล ๖ ประการ. ท่านกล่าวคำอธิบายนี้ไว้ว่า ก็เราให้บุตรของเจ้าเรียนเอาแล้ว โดยประการที่ เนื้อหลานชายกลั้นลมในช่องจมูกด้านบนข้างหนึ่ง แล้วหายใจที่พื้นดินนั้นนั่น แหละ โดยช่องจมูกด้านล่างข้างหนึ่งซึ่งแนบติดดิน จึงครอบงำ อธิบายว่า จึงลวงนายพรานด้วยเล่ห์กล ๖ ประการ คือโดยส่วน ๖ ส่วน. เล่ห์กล ๖ ประการเป็นไฉน ? เล่ห์กล ๖ ประการ คือโดยการเหยียด ๔ เท้านอนตะแคง ๑ โดยใช้กีบทั้งหลายตะกุยหญ้าและดินร่วน ๑ โดยทำลิ้นห้อยออกมา ๑ โดย กระทำท้องให้พอง ๑ โดยการปล่อยอุจจาระ ๑ ปัสสาวะ ให้ลาดออกมา ๑ โดย การกลั้นลม ๑ . อีกนัยหนึ่ง ท่านแสดงว่า ดูก่อนน้องหญิง เราให้เนื้อหลาน ชายนั้นเรียนมารยาของเนื้อ โดยประการที่เขาจะลวงทำให้นายพรานเกิดความ หมายรู้ว่า เนื้อนี้ตายแล้วโดยเล่ห์กล ๖ ประการนี้ คือโดยตะกุยเอาดินร่วนมา ไว้ตรงหน้า ๑ โดยการโน้มตัวไป ๑ โดยการเที่ยวรนไปทั้งสองข้าง ๑ โดย การทำท้องให้พองขึ้น ๑ โดยการทำท้องให้แฟบลง ๑ อีกนัยหนึ่ง เราให้เนื้อ หลานชายนั้นเรียนเอาแล้ว โดยประการที่เนื้อหลานชายนั้นหายใจที่พื้นดินโดย ช่องจมูกข้างหนึ่ง ทำกลด้วยเล่ห์กล ๖ ประการ คือทำเล่ห์กลด้วยเหตุ ๖ ประการซึ่งได้แสดงไว้ในนัยแม้ทั้งสอง อธิบายว่าจักกระทำเล่ห์กล คือจักลวงนายพราน. พระโพธิสัตว์เรียกเนื้อผู้เป็นน้องสาวว่า โภติ นางผู้เจริญ. ด้วยบทว่า ภาคิเนยฺโย นี้ พระโพธิสัตว์ หมายถึงเนื้อหลานชายผู้ลวงด้วยเหตุ ๖ ประการ ด้วยประการอย่างนี้.

พระโพธิสัตว์เมื่อแสดงความที่เนื้อหลานชายเรียนมารยาของเนื้อดีแล้ว จึงปลอบโยนเนื้อผู้น้องสาวให้เบาใจ ด้วยประการอย่างนี้ ลูกเนื้อแม้นั้นติด บ่วง ไม่ดิ้นรนเลย นอนเหยียดเท้าทั้ง ๔ ไปทางด้านข้างที่ผาสุกมาก ณ ที่พื้น ดิน เอากีบทั้งหลายนั่นแหละคุ้ยในที่ที่ใกล้ ๆ เท้าทั้ง ๔ ทำดินร่วนและหญ้าให้ กระจุยขึ้น ปล่อยอุจจาระปัสสาวะออกมาทำให้หัวตกลิ้นห้อย กระทำสรีระให้ เปรอะเปื้อนด้วยนํ้าลาย ทำให้ตัวพองขึ้นด้วยการอั้นลม ทำนัยน์ตาทั้งสองให้ เหลือก ทำลมให้เดินทางช่องนาสิกล่าง กลั้นลมทางช่องนาสิกบน ทำหัวให้ แข็ง แสดงอาการของเนื้อที่ตายแล้ว ฝ่ายแมลงวันหัวเขียวก็ตอมเนื้อนั้น กาทั้งหลายพากันแอบอยู่ในที่นั้น ๆ นายพรานมาเอามือดีดท้องคิดว่า เนื้อจัก ติดบ่วงแต่เช้าตรู่นัก จึงเกิดจะเน่า (ขึ้นมา) จึงแก้เชือกที่ผูกเนื้อนั้นออก คิด ว่า บัดนี้ เราจักแล่เนื้อนั้นในที่นี้แหละ เอาแต่เนื้อไป เป็นผู้ไม่สงสัย เริ่ม เก็บเอากิ่งไม้และใบไม้. ฝ่ายลูกเนื้อลุกขึ้นยืนด้วยเท้าทั้ง ๔ สลัดกายเหยียด คอ แล้วได้ไปยังสำนักของมารดาโดยเร็ว ประดุจเมฆฝนถูกลมพายุใหญ่พัด ขาดไปฉะนั้น.

ฝ่ายพระบรมศาสดาตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ราหุลเป็นผู้ใคร่ต่อ การศึกษาในบัดนี้เท่านั้น ก็หามิได้ แม้ในกาลก่อนก็เป็นผู้ใคร่ต่อการศึกษา เหมือนกัน ครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้ มาสืบต่ออนุสนธิแล้ว จึงทรง ประชุมชาดกว่า ลูกเนื้อผู้เป็นหลานในครั้งนั้น ได้เป็นราหุลในบัดนี้ ฝ่ายมารดาในครั้งนั้น ได้เป็นนางอุบลวรรณาในบัดนี้ ส่วนเนื้อ ผู้เป็นลุงในครั้งนั้น ได้เป็นเราแล.

จบติปัลลัตถมิคชาดกที่ ๖

กลับที่เดิม