พระบรมศาสดา เมื่อประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร ทรงปรารภภิกษุผู้ว่ายากเหมือนกัน ตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำเริ่มต้นว่า ธเม ธเม ดังนี้.
            ในอดีตกาลครั้งพระเจ้าพรหมทัต เสวยราชสมบัติอยู่ในกรุงพาราณสี พระโพธิสัตว์บังเกิดในตระกูลคนเป่าสังข์. เมื่อมีงาน ในกรุงพาราณสีอย่างเอิกเกริก ก็พาบิดาไปทำการเป่าสังข์ ได้ทรัพย์ ในเวลากลับก็กล่าวห้ามบิดาผู้ทำการเป่าสังข์อยู่ไม่ ขาดระยะ ใกล้ ๆ ดงโจร.
            บิดากลับพูดว่า จักไล่พวกโจรให้หนี ไปด้วยเสียงสังข์ แล้วเป่าเรื่อยไปไม่ขาดระยะ. พวกโจรก็พา กันมารุมแย่งทรัพย์ไปหมด ทำนองเดียวกับเรื่องก่อนนั่นแหละ พระโพธิสัตว์กล่าวคาถา โดยนัยเดียวกับเรื่องก่อน ความว่า "ท่านจะเป่าก็จงเป่าเถิด. แต่อย่าเป่าจน เกินประมาณ เพราะการเป่าเกินประมาณ เป็น การชั่วช้าของเรา โภคะที่เราได้มาเพราะการเป่า สังข์ ได้ฉิบหายไปเพราะท่านเป่าสังข์เกิน ประมาณ ดังนี้.
            บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เต ตาโต วิธมี ธมํ ความว่า บิดาของเราเป่าสังข์บ่อย ๆ เลยเป่าเอาทรัพย์ที่ได้ไว้เพราะการ เป่าสังข์ทั้งนั้น หมดไป พินาศไป.
            พระบรมศาสดาครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ทรงสืบอนุสนธิประชุมชาดกว่า บิดาในครั้งนั้นได้มาเป็นภิกษุ ผู้ว่ายากในบัดนี้ ส่วนบุตรในครั้งนั้น ได้มาเป็นเราตถาคต ฉะนี้แล.
            จบ อรรถกถาสังขธมนชาดกที่ ๑๐