พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ในพระวิหารเชตวันทรงปรารภภิกษุผู้ถูกไฟ ไหม้บรรณศาลา จึงตรัสพระธรรมเทศนานี้มีคำเริ่มต้นว่า ยนฺนิสฺสิตา ดังนี้. ได้ยินว่า ภิกษุนั้นเรียนพระกรรมฐานในสำนักของพระศาสดา แล้ว ออกจากพระเชตวันวิหารเข้าไปอาศัยปัจจันตคามแห่งหนึ่งในโกศลชนบท อยู่ ในเสนาสนะป่าแห่งหนึ่ง. ลำดับนั้น บรรณศาลาของภิกษุนั้นถูกไฟไหม้ ใน เดือนแรกนั่นเอง ภิกษุนั้นคิดว่า บรรณศาลาของเราถูกไฟไหม้เสียแล้ว เราจัก อยู่ลำบาก จึงบอกแก่คนทั้งหลาย คนทั้งหลายอ้างการงานนั้น ๆ อย่างนี้ว่า บัดนี้ นาของพวกเราแห้ง พวกเราระบายนํ้าเข้านาแล้วจักทำให้ เมื่อระบายนํ้า เข้านาแล้วหว่านพืช เมื่อหว่านพืชแล้วทำรั้ว เมื่อทำรั้วแล้วสางพืช เก็บเกี่ยว นวด ดังนี้ให้กาลเวลาล่วงเลยไป ๓ เดือน ภิกษุนั้นอยู่ลำบากในที่แจ้งตลอด ๓ เดือน จึงไม่อาจเจริญกรรมฐานยังคุณวิเศษให้บังเกิด ก็ครั้นปวารณาแล้ว ก็ไปยังสำนักของพระศาสดา ถวายบังคมแล้วนั่ง ณ ส่วนข้างหนึ่ง. พระศาสดาทรงทำปฏิสันถารกับภิกษุนั้นแล้วตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุ เธออยู่จำพรรษาโดยสะดวกหรือ ? กรรมฐานของเธอถึงที่สุดแล้วหรือ ? ภิกษุ นั้นกราบทูลเรื่องราวนั้นแล้วกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ กรรมฐานของ ข้าพระองค์ไม่ถึงที่สุด เพราะไม่มีเสนาสนะอันเป็นสัปปายะ. พระศาสดาตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ ในกาลก่อน แม้สัตว์เดียรัจฉานทั้งหลายก็ยังรู้ที่อันเป็นสัปปายะ และไม่เป็นสัปปายะของตน เพราะเหตุไร เธอจึงไม่รู้ แล้วทรงนำอดีตนิทาน มาดังต่อไปนี้

ในอดีตกาล เมื่อพระเจ้าพรหมทัตครองราชสมบัติในนครพาราณสี พระโพธิสัตว์บังเกิดในกำเนิดนก อันหมู่นกห้อมล้อม อาศัยต้นไม้ใหญ่อัน สมบูรณ์ด้วยกิ่งและค่าคบอยู่ในราวป่า ครั้นวันหนึ่ง จุรณตกในที่กิ่งทั้งหลายของ ต้นไม้นั้นเสียดสีกันไปมา ควันเกิดขึ้น. พระโพธิสัตว์เห็นดังนั้นจึงคิดว่า กิ่งทั้ง สองนี้เมื่อเสียดสีกันอยู่อย่างนี้จักเกิดไฟ ไฟนั้นตกลงไปติดใบไม้เก่า ๆ จำเดิม แต่นั้นไฟจักเผาต้นไม้แม้นี้ พวกเราไม่อาจอยู่ในที่นี้ พวกเราหนีจากที่นี้ไปอยู่ ที่อื่น จึงจะควร พระโพธิสัตว์จึงกล่าวคาถานี้แก่หมู่นกว่า นกทั้งหลายอาศัยต้นไม้ใด ต้นไม้นั้นย่อมทิ้งไฟ ลงมา นกทั้งหลายจงพากันหนีไปอยู่เสียที่อื่นเถิด ภัย เกิดจากที่พึ่งของเราแล้ว.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ชคติรุหํ ความว่า ปฐพีเรียกว่า ชคติ ต้นไม้เรียกว่า ชคติรุหะ เพราะต้นไม้เกิดที่ปฐพีนั้น. บทว่า วิหงฺคมา ความว่า อากาศเรียกวิหะ นกทั้งหลายเรียกว่า วิหังคมะ เพราะไปในอากาศนั้น. บทว่า ทิสา ภชถ ความว่า ท่านทั้งหลายเมื่อจะละต้นไม้นี้หนีไปจากที่นี้ จงไป ยังทิศทั้ง ๔ พระโพธิสัตว์เรียกนกทั้งหลายว่า วังกังคา เพราะว่า นกเหล่า นั้นกระทำคอซึ่งไปตรงให้คดในบางครั้ง เพราะฉะนั้นจึง เรียกว่า วังกังคา. อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า วังถังคา เพราะวังกะคือปีกทั้งหลายเกิดที่ข้างทั้งสองของนก เหล่านั้น ดังนี้ก็มี. บทว่า ชาตํ สรณโต ภยํ ความว่า ภัยบังเกิดจาก ต้นไม้อันเป็นที่พึ่งอาศัยของพวกเรานั่นแล มาเถิดพวกเราพากันไปที่อื่น.

นกทั้งหลายที่เป็นบัณฑิตกระทำตามคำของพระโพธิสัตว์ พากันบินขึ้น พร้อมกันกับพระโพธิสัตว์นั้น ไปอยู่ที่อื่น ส่วนนกทั้งหลายที่ไม่เป็นบัณฑิตพากัน กล่าวอย่างนี้ว่า พระโพธิสัตว์นี้เห็นว่ามีจระเข้ในนํ้าเพียงหยดเดียว จึงไม่เชื่อ ถือคำของพระโพธิสัตว์นั้น คงอยู่ในที่นั้นนั่นเอง แต่นั้นไม่นานนัก ไฟบังเกิด ขึ้นจับติดต้นไม้นั้นแหละ ตามอาการที่พระโพธิสัตว์คิดแล้วนั่นแล เมื่อควัน และเปลวไฟตั้งขึ้น นกทั้งหลาย (มีตา) มืดมัวเพราะควัน จึงไม่อาจไปที่ไหน ได้ พากันตกลงในไฟถึงความพินาศ.

พระศาสดาตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ ในกาลก่อนแม้สัตว์เดียรัจฉานทั้งหลาย อยู่บนยอดไม้ ก็ยังรู้ความสบายและไม่สบายของตนอย่างนี้ เพราะเหตุไร เธอ จึงไม่รู้ดังนี้. ครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้วจึงทรงประกาศสัจจะทั้งหลาย ในเวลาจบสัจจะ ภิกษุนั้นตั้งอยู่ในโสดาปัตติผล ฝ่ายพระศาสดาก็ทรงสืบ อนุสนธิประชุมชาดกว่า นกทั้งหลายที่ทำตามคำของพระโพธิสัตว์ ใน ครั้งนั้น ได้เป็นพุทธบริษัทในบัดนี้ ส่วนนกผู้เป็นบัณฑิต ได้เป็น เราเองแล.

จบสกุณชาดกที่ ๖

กลับที่เดิม