สัตตกนิบาตชาดก

๑. กุกกุวรรค

๑. กุกกุชาดก ว่าด้วยปฏิปทาของพระราชาผู้เป็นบัณฑิต


[๙๖๙] ช่อฟ้าโดยส่วนสูงประมาณสองศอกคืบ โดยรอบกว้างประมาณแปดคืบ เป็นไม้สีเสียดมีแต่แก่น ไม่มีกระพี้ ตั้งอยู่ได้อย่างไร จึงไม่ตกลงจาก ข้างบน?
[๙๗๐] กลอนสามสิบอันสำเร็จด้วยไม้แก่น ไม่มีกระพี้ เรียงรายตั้งอยู่ได้ส่วน กัน ช่อฟ้าอันกลอนเหล่านั้น และกำลังยึดเหนี่ยวรั้งไว้แน่นหนา ตั้ง อยู่ได้ส่วนกัน จึงไม่ตกลงจากข้างบน ฉันใด.
[๙๗๑] พระราชาผู้เป็นบัณฑิต ก็ฉันนั้น อันกัลยาณมิตรทั้งหลายผู้มีจิตมั่นคง มิ ได้แตกร้าว เป็นคนสะอาด มีปัญญา สงเคราะห์เป็นอย่างดีแล้ว ย่อมไม่ เสื่อมจากศิริ เหมือนช่อฟ้าที่กลอนเหนี่ยวรั้งไว้ ฉะนั้น.
[๙๗๒] บุคคลถือมีดไม่ปอกผลมะนาวที่มีเปลือกอันแข็งออกเสียก่อน ก็จะทำ รสมะนาวให้ขมได้ เมื่อปอกเปลือกออกดีแล้วจะทำให้มะนาวมีรสอร่อย ดีขึ้น แต่เมื่อปอกเปลือกออกไม่หมดดี ก็จะทำให้มีรสไม่อร่อยได้ ฉันใด.
[๙๗๓] แม้พระราชาผู้เป็นบัณฑิต ก็ฉันนั้น พระทัยไม่เหี้ยมโหดแก่ชาวบ้านและ ชาวนิคม รวบรวมทรัพย์ไว้ ทรงประพฤติตามธรรมปฏิบัติอยู่ ไม่ทรง เบียดเบียนประชาชน ทรงทำแต่ความเจริญรุ่งเรืองให้.
[๙๗๔] ดอกบัวเกิดในน้ำอันใสสะอาด มีรากอันขาวเกิดขึ้นในสระโบกขรณี พอต้องแสงอาทิตย์ก็บาน เปือกตม ธุลีและน้ำก็มิได้แปดเปื้อน ฉันใด.
[๙๗๕] พระมหากษัตริย์ก็ฉันนั้น ทรงทำการวินิจฉัยโดยชอบธรรม เว้นอคติ ไม่ตัดสินโดยผลุนผลัน มีการงานบริสุทธิ์ปราศจากกรรมอันชั่วช้า ย่อม ไม่แปดเปื้อนกรรมกิเลส เหมือนดอกบัวที่เกิดในสระโบกขรณี ฉะนั้น.

จบ กุกกุชาดกที่ ๑.

๒. มโนชชาดก คบคนชั่วไม่ได้ความสุขยั่งยืน


[๙๗๖] เหตุใดลูกศรจึงไม่หลุดไปจากแหล่ง และสายจึงหดหู่เข้ามา พระยาเนื้อ ชื่อมโนชะสหายของเรา คงถูกเขาฆ่าตายเป็นแน่.
[๙๗๗] ผิฉะนั้น บัดนี้ เราจะหลีกไปชายป่าตามความสบาย ธรรมดาสหายผู้ ตายแล้วเช่นนี้ไม่มี เราผู้มีชีวิตอยู่พึงได้สหาย.
[๙๗๘] บุคคลผู้คบหากับปาปชน ย่อมไม่ได้ความสุขยืนนาน จงดูพระยาเนื้อ ชื่อมโนชะ มาคบกับสุนัขจิ้งจอก ทำตามคำสอนของสุนัขจิ้งจอก
[๙๗๙] มารดาย่อมไม่ยินดีกับบุตรผู้คบหาปาปชน จงดูแต่พระยาเนื้อชื่อมโนชะ คบกับสุนัขจิ้งจอก นอนจมเลือดอยู่.
[๙๘๐] บุรุษมาถึงความเป็นอย่างนั้นบ้าง จะต้องถึงความเลวทรามต่ำช้า ผู้ใดไม่ ทำตามคำของบุคคลผู้หวังความเกื้อกูล ช่วยชี้ประโยชน์ให้ ผู้นั้นเป็น ผู้เลวทรามต่ำช้า.
[๙๘๑] อนึ่ง ผู้ใดเป็นคนชั้นสูงแต่มาคบหากับคนชั้นต่ำ ผู้นั้นเป็นคนเลวทราม ต่ำช้ากว่าเขาเสียอีก อย่างนี้ จงดูแต่ราชสีห์เป็นสัตว์ชั้นสูงเป็นใหญ่กว่า มฤคชาติ แต่มาคบหากับสุนัขจิ้งจอกผู้ชั่วช้า ต้องตายด้วยกำลังลูกศร ของนายพราน.
[๙๘๒] บุรุษผู้คบหากับคนเลวทราม ย่อมเลวทราม ผู้คบหากับคนที่เสมอกับตน ย่อมไม่เสื่อมในกาลไหนๆ เมื่อจะเข้าไปคบหากับคนที่ดีกว่าตน ควรรีบ เข้าไปคบหา เพราะฉะนั้น จงคบแต่ผู้ที่ดีกว่าตน.

จบ มโนชชาดกที่ ๒.

๓. สุตนชาดก ว่าด้วยเสียเพื่อได้


[๙๘๓] ดูกรมฆเทพผู้สิงสถิตอยู่ ณ ต้นไทรนี้ พระราชารับสั่งให้ส่งอาหารเจือ ด้วยเนื้ออันสะอาดมาให้ท่าน เชิญท่านออกมาบริโภคเสียเถิด.
[๙๘๔] ดูกรมาณพ เชิญท่านนำอาหารพร้อมด้วยกับมาให้เรา ดูกรมาณพ ท่าน ก็มีอาหาร เรามาบริโภคกันเถิด.
[๙๘๕] ดูกรยักษ์ ท่านจะละประโยชน์อันใหญ่เสีย เพราะประโยชน์เล็กน้อย ชนทั้งหลายผู้หวาดเกรงความตาย เขาจักไม่นำอาหารมาให้.
[๙๘๖] ดูกรยักษ์ เมื่อท่านไม่กินเรา คนจะนำอาหารที่สะอาดประณีต ประกอบ ด้วยรสดีมาให้ท่านบริโภคเป็นนิตย์ แต่เมื่อท่านกินเราเสียแล้ว คนที่จะ นำอาหารมาให้ท่านก็จะหาได้ยาก.
[๙๘๗] ดูกรสุตนมาณพ ประโยชน์ที่ท่านกล่าวถึง ย่อมเจริญแก่เราทุกประการ เราอนุญาตให้ท่านกลับไปหามารดาโดยสวัสดี.
[๙๘๘] ดูกรมาณพ ท่านจงถือพระขรรค์ ฉัตรและถาดกลับไปเถิด มารดาของ ท่านจะได้เห็น และท่านก็จะได้เห็นมารดาโดยสวัสดี.
[๙๘๙] ดูกรยักษ์ เมื่อเป็นเช่นนั้น ท่านจงมีความสุขพร้อมด้วยญาติทั้งปวงเถิด ทรัพย์เราก็ได้แล้ว และพระดำรัสสั่งของพระราชาเราก็ได้สนองแล้ว.

จบ สุตนชาดกที่ ๓.

๔. มาตุโปสกคิชฌชาดก เมื่อถึงคราวพินาศความคิดย่อมวิบัติ


[๙๙๐] มารดาและบิดาของเราแก่เฒ่าชราแล้ว นอนอยู่ในถ้ำจักทำอย่างไรหนอ เราก็ติดบ่วงตกอยู่ในอำนาจของนายพราน?
[๙๙๑] ดูกรแร้ง เหตุไรท่านจึงคร่ำครวญอยู่เล่า การคร่ำครวญของท่านเป็นอย่าง ไรหนอ แร้งพูดภาษามนุษย์ เราไม่เคยได้ยินหรือเห็นมาเลย.
[๙๙๒] ข้าพเจ้าเลี้ยงดูมารดาบิดาผู้แก่เฒ่าชรานอนอยู่ในถ้ำ มารดาบิดาท่านจักทำ อย่างไร เพราะข้าพเจ้าตกอยู่ในอำนาจของท่านเสียแล้ว.
[๙๙๓] เขาพูดกันว่า แร้งมองเห็นซากศพได้ไกลถึงร้อยโยชน์ เหตุไฉนท่าน แม้จะมาถึงข่าย และบ่วงก็ไม่รู้สึก.
[๙๙๔] เมื่อใด จะมีความพินาศ สัตว์จะถึงความสิ้นชีวิต เมื่อนั้นถึงแม้จะมา ถึงข่าย และบ่วงก็ไม่รู้สึกเลย.
[๙๙๕] ท่านจงไปเลี้ยงดูมารดาบิดาผู้แก่เฒ่าชรา นอนอยู่ในถ้ำ เราอนุญาตให้ ท่านกลับไปหาพวกญาติโดยสวัสดี.
[๙๙๖] ดูกรนายพราน เมื่อเป็นเช่นนั้น ท่านจงเพลิดเพลินพร้อมด้วยญาติทั้ง ปวงเถิด ข้าพเจ้าจะไปเลี้ยงดูมารดาบิดาผู้แก่เฒ่าชรานอนอยู่ในถ้ำ.

จบ มาตุโปสกคิชฌชาดกที่ ๔.

๕. ทัพพปุปผกชาดก โทษของการโต้เถียงกัน


[๙๙๗] ดูกรสหาย นากผู้เที่ยวไปตามฝั่ง ขอความเจริญจงมีแก่ท่าน ท่านจงตาม ฉันมา จับปลาใหญ่ได้ตัวหนึ่ง มันพาฉันไปด้วยกำลังแรง.
[๙๙๘] ดูกรนากผู้เที่ยวไปในน้ำลึก ขอความเจริญจงมีแก่ท่าน ท่านจงจับปลาให้ มั่นด้วยกำลัง ฉันจักยกปลานั้นขึ้น เหมือนครุฑคาบพระยานาค ฉะนั้น.
[๙๙๙] เราทั้งสองมัวโต้เถียงกันอยู่ ดูกรสหายทัพพปุปผกะ ขอท่านจงฟัง ข้าพเจ้า จงระงับความโต้เถียงกัน ขอการโต้เถียงกันจงระงับเสีย.
[๑๐๐๐] เราเคยเป็นผู้พิพากษาในกาลก่อน พิจารณาอรรถคดีมามากนักแล้ว แน่ะ สหาย เราจะช่วยระงับความโต้เถียง ความโต้เถียงของท่านทั้งสองจะ ระงับ.
[๑๐๐๑] ดูกรนากผู้เที่ยวไปตามฝั่ง ท่านจงคาบเอาท่อนหางไป ท่อนหัวเป็นของ นากผู้เที่ยวไปในน้ำลึก ส่วนท่อนกลางนี้จักเป็นของเราผู้ตัดสิน.
[๑๐๐๒] ท่อนกลางที่สุนัขจิ้งจอกนำเอาไปนั้น จักเป็นอาหารได้หลายวัน ถ้าเรา ไม่โต้แย้งกัน สุนัขจิ้งจอกก็จะนำเอาปลาตะเพียนท่อนกลางไปไม่ได้.
[๑๐๐๓] พระมหากษัตริย์ได้ครอบครองราชสมบัติแล้ว จะพึงทรงยินดีแม้ฉันใด ดิฉันได้เห็นสามี มีหน้าอันเบิกบานในวันนี้ก็ย่อมยินดี ฉันนั้น.
[๑๐๐๔] ท่านเป็นสัตว์เกิดบนบก ไฉนจึงจับเอาปลาในน้ำมาได้ ดูกรท่านผู้ร่วม ใจ ดิฉันถามท่าน จงบอกดิฉันว่า ท่านจับปลานั้นมาได้อย่างไร?
[๑๐๐๕] สัตว์ทั้งหลายย่อมซูบผอมเพราะวิวาทกัน เป็นผู้หมดทรัพย์ก็เพราะวิวาท กัน นากสองตัว เสื่อมจากปลานี้เพราะวิวาทกัน ดูกรนางมายาวี จงกินปลาตะเพียนแดงนี้เสียเถิด.
[๑๐๐๖] ในหมู่มนุษย์มีการวิวาทกันขึ้น ณ ที่ใด หมู่มนุษย์ก็พากันไปหาผู้พิพากษา ณ ที่นั้น เพราะว่าผู้พิพากษาเป็นผู้แนะนำพวกเขา ใช่แต่เท่านั้น เขา ยังจะเสื่อมจากทรัพย์อีก เหมือนนากทั้งสองเสื่อมจากปลาตะเพียน ฉะนั้น พระคลังหลวงย่อมเจริญขึ้น.

จบ ทัพพปุปผกชาดกที่ ๕.

๖. ทสรรณกชาดก ให้แล้วไม่เดือดร้อนภายหลังทำได้ยาก


[๑๐๐๗] บุรุษคนนี้กลืนดาบมีคมกล้า อันเป็นดาบในทสรรณกรัฐ ดื่มกินเลือดผู้ อื่นที่ถูกต้องแล้ว ในท่ามกลางบริษัท เหตุอย่างอื่นที่ทำยากกว่าการกลืน ดาบนี้ ยังมีอีกไหม ฉันถามท่านถึงเหตุที่ทำได้ยากอย่างอื่น ขอท่านจง บอกแก่ฉัน?
[๑๐๐๘] บุรุษกลืนดาบอันดื่มกินเลือดของผู้อื่นที่ถูกต้องได้ เพราะความโลภ ก็ผู้ ใดพูดว่าจะให้สิ่งนั้น สิ่งนี้ คำพูดของผู้นั้นทำได้ยากกว่าการกลืนดาบ นั้น เหตุอย่างอื่นทั้งหมดทำได้ง่ายนัก ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นจอมแห่งชาว มคธ ขอพระองค์โปรดทรงทราบอย่างนี้เถิด.
[๑๐๐๙] อายุรบัณฑิตเป็นผู้ฉลาดในอรรถธรรม ได้แก้ปัญหาแล้ว บัดนี้ ฉันจะ ถามปุกกุสบัณฑิตบ้าง เหตุอย่างอื่นที่ทำยากกว่าคำพูดนั้น ยังมีอยู่หรือ ฉันถามท่านถึงเหตุที่ทำได้ยากอย่างอื่น ขอท่านจงบอกแก่ฉัน?
[๑๐๑๐] ชนทั้งหลายย่อมไม่รักษาคำพูดไว้ คำที่พูดนั้นก็ไม่มีผล ผู้ใดให้ปฏิญญาไว้ ว่า จะให้สิ่งนั้นสิ่งนี้ ไม่อยากได้สิ่งนั้นคืน คำพูดของผู้นั้นทำได้ยากกว่า การกลืนดาบ และกว่าคำพูดว่าจะให้สิ่งนั้น สิ่งนี้นั้นเสียอีก เหตุอย่าง อื่นทั้งหมดทำได้ง่าย ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นจอมแห่งชาวมคธ ขอพระองค์ โปรดทรงทราบอย่างนี้เถิด.
[๑๐๑๑] ปุกกุสบัณฑิตเป็นผู้ฉลาดในอรรถธรรม ได้แก้ปัญหาแล้ว บัดนี้ ฉันจะ ถามเสนกบัณฑิตบ้าง เหตุอย่างอื่นที่ทำยากกว่านั้นยังมีอีกหรือ ฉันถาม ท่านถึงเหตุที่ทำได้ยากอย่างอื่น ขอท่านจงบอกแก่ฉัน?
[๑๐๑๒] บุรุษควรจะให้ทาน จะน้อย หรือมากก็ตาม ก็ผู้ใดให้ของรักของตน แล้ว ย่อมไม่เดือดร้อนภายหลัง ข้อนั้นทำได้ยากกว่าการกลืนดาบ กว่าคำว่าจะให้สิ่งนั้น สิ่งนี้ และกว่าการให้ของรักนั้นเสียอีก เหตุ อย่างอื่นทั้งหมดทำได้ง่าย ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นจอมแห่งชาวมคธ ขอพระ องค์โปรดทรงทราบอย่างนี้เถิด.
[๑๐๑๓] อายุรบัณฑิตได้แก้ปัญหาแก่ฉันแล้ว อนึ่ง ปุกกุสบัณฑิตก็ได้แก้ปัญหา แก่ฉันแล้ว เสนกบัณฑิตแก้ปัญหาครอบงำปัญหาเสียทั้งหมด ฉันใด ฉันก็ให้ทานนั้นแล้ว หาควรจะเดือดร้อนภายหลังไม่ ฉันนั้น.

จบ ทสรรณกชาดกที่ ๖.

๗. เสนกชาดก ผู้มีปัญญาช่วยคนอื่นได้


[๑๐๑๔] ท่านเป็นผู้มีจิตฟุ้งซ่าน มีอินทรีย์กำเริบ หยาดน้ำตาไหลออกจากนัยน์ตา ทั้งสองของท่าน อะไรของท่านหายหรือ หรือว่าท่านปรารถนาอะไรจึงได้ มาในที่นี้ ดูกรพราหมณ์ เชิญท่านพูดไปเถิด?
[๑๐๑๕] (รุกขเทวดาตนหนึ่งกล่าวว่า) เมื่อข้าพเจ้าไปสู่เรือนวันนี้ ภรรยาของ ข้าพเจ้าจะตาย เมื่อข้าพเจ้าไม่ไป ความตายจะมีแก่ข้าพเจ้าเอง ข้าพเจ้า เป็นผู้หวาดเกรงด้วยทุกข์นี้ ข้าแต่เสนกบัณฑิต ขอท่านจงบอกเหตุนี้ แก่ข้าพเจ้าเถิด.
[๑๐๑๖] เราคิดเห็นเหตุเป็นอันมากได้ตลอดแล้ว บรรดาเหตุเหล่านั้น เหตุที่เราจะ บอกเป็นความจริง ดูกรพราหมณ์ เราเข้าใจว่าเมื่อท่านมิได้รู้สึก งูเห่า ตัวหนึ่งเลื้อยเข้าไปในไถ้ข้าวสัตตูของท่าน.
[๑๐๑๗] ท่านจงเอาท่อนไม้เคาะไถ้ดูเถิด จะเห็นงูแลบลิ้นมีน้ำลายไหลเลื้อยออก จากไถ้ ท่านจะสิ้นความสงสัยเคลือบแคลงวันนี้แหละ ท่านจะได้เห็นงู เดี๋ยวนี้แหละ จงแก้ไถ้เถิด.
[๑๐๑๘] พราหมณ์นั้นสลดใจ ได้แก้ไถ้ข้าวสัตตู ณ ท่ามกลางบริษัท ลำดับนั้น งูพิษมากได้แผ่แม่เบี้ยเลื้อยออกมา.
[๑๐๑๙] การที่พระเจ้าชนกได้ทรงเห็นเสนกบัณฑิต ผู้มีปัญญา ให้สำเร็จประ โยชน์กิจทั้งปวง เป็นลาภ อันพระองค์ได้ดีแล้ว ท่านเป็นผู้เปิดหลังคา คือ กิเลสได้แล้วหนอ เป็นผู้เห็นแจ้งในสิ่งทั้งปวง ข้าแต่พราหมณ์ ความรู้ของท่านน่าพิศวงยิ่งนัก ข้าพเจ้ามีทรัพย์อยู่ ๗๐๐ ขอท่านจงรับ ไว้เถิด ข้าพเจ้าขอให้ท่านทั้งหมด ข้าพเจ้าได้ชีวิตในวันนี้ ก็เพราะท่าน อนึ่ง ท่านยังได้ทำความสวัสดีให้แก่ภรรยาของข้าพเจ้าอีกด้วย.
[๑๐๒๐] บัณฑิตทั้งหลายย่อมไม่รับรางวัล เพราะคาถา อันวิจิตรที่ตนกล่าวดีแล้ว ดูกรพราหมณ์ ท่านจงให้ทรัพย์ของท่านที่ใกล้เท้าของเรานี้เสียก่อน แล้ว จงถือเอาไปยังเรือนของตนเถิด.

จบ เสนกชาดกที่ ๗.

๘. อัฏฐิเสนชาดก ว่าด้วยการขอ


[๑๐๒๑] ข้าแต่ท่านอัฏฐิเสนะ วณิพกเหล่าใดที่ข้าพเจ้าไม่รู้จัก วณิพกเหล่านั้นมา หาข้าพเจ้าแล้วเป็นต้องขอ เหตุไรพระผู้เป็นเจ้า จึงไม่ขออะไรๆ ข้าพเจ้า?
[๑๐๒๒] ผู้ขอย่อมไม่เป็นที่รักของผู้ถูกขอ ผู้ถูกขอเมื่อไม่ให้ก็ไม่เป็นที่รักของผู้ขอ เพราะเหตุนั้น อาตมภาพจึงไม่ทูลขออะไรพระองค์ โดยคิดเห็นว่า อาตมภาพอย่าหมางใจกับพระองค์เสียเลย.
[๑๐๒๓] ผู้ใดเป็นอยู่ด้วยการขอ ย่อมไม่ขอสิ่งที่ควรขอ ในเวลาที่ควรขอ ผู้นั้น ย่อมทำให้ผู้อื่นเสื่อมจากบุญ แม้ตัวเองก็หาเลี้ยงชีพไม่สะดวก.
[๑๐๒๔] ส่วนผู้ใดเป็นอยู่ด้วยการขอ ย่อมขอสิ่งที่ควรขอในเวลาที่ควรขอ ผู้นั้น ย่อมทำให้ผู้อื่นได้บุญ แม้ตัวเองก็หาเลี้ยงชีพสะดวกด้วย.
[๑๐๒๕] ผู้มีปัญญาเห็นยาจกมาแล้ว ย่อมไม่โกรธเลย ท่านผู้ประพฤติพรหมจรรย์ เป็นที่พอใจของข้าพเจ้า ท่านต้องการอะไร เชิญบอกมาเถิด ข้าพเจ้าจะให้ ทุกอย่าง.
[๑๐๒๖] ผู้มีปัญญาย่อมไม่ออกปากขอเลย ส่วนผู้ที่ฉลาดควรจะรู้ความต้องการได้ เอง พระอริยะทั้งหลาย ย่อมไม่ออกปากขอ มีแต่ยืนนิ่งอยู่ ด้วย ภิกขาจารวัตรเท่านั้น นี่เป็นอาการขอของพระอริยะทั้งหลาย.
[๑๐๒๗] ข้าแต่ท่านพราหมณ์ ข้าพเจ้าขอถวายโคนมสีแดงพันตัว พร้อมทั้งโคผู้พัน ตัวแก่ท่าน เพราะว่า ผู้ที่มีมารยาทดังพระอริยะ ได้ฟังคาถาอันประกอบ ไปด้วยธรรมของท่านแล้ว จะไม่ถวายแก่ท่านผู้มีมารยาทดังพระอริยะ อย่างไรได้.

จบ อัฏฐิเสนชาดกที่ ๘.

๙. กปิชาดก คุณธรรมของผู้บริหารคณะ


[๑๐๒๘] ผู้คอยจองเวรอยู่ในที่ใด บัณฑิตไม่ควรอยู่ในที่นั้น บุคคลอยู่ในที่มีคน จองเวรเพียงคืนเดียว หรือสองคืน ก็อยู่เป็นทุกข์.
[๑๐๒๙] บุคคลมีจิตเบา คล้อยไปตามเขาง่ายๆ ย่อมกระทำกิจของคนจองเวร เพราะเหตุลิงตัวเดียว ถูกเขาทำความฉิบหายให้ทั้งฝูง.
[๑๐๓๐] คนพาลผู้สำคัญตนว่าเป็นบัณฑิต ปกครองหมู่คณะ ตกอยู่ในอำนาจจิต ของตนแล้ว พึงนอนตาย เหมือนลิงจ่าฝูง นอนตายอยู่ ฉะนั้น.
[๑๐๓๑] อันคนพาลถึงจะมีกำลังปกครองหมู่คณะ ไม่ดีเลย เพราะไม่เป็นประ โยชน์แก่ญาติทั้งหลาย เหมือนนกระทาผู้ตัวไม่เป็นประโยชน์แก่นก ปกครองหมู่คณะทั้งหลาย ฉะนั้น.
[๑๐๓๒] ส่วนนักปราชญ์มีกำลังปกครองหมู่คณะ ดีมาก เพราะว่าเป็นประโยชน์ แก่ญาติทั้งหลาย เหมือนท้าววาสวะผู้เป็นประโยชน์แก่เทวดาชั้นดาวดึงส์ ทั้งหลาย ฉะนั้น.
[๑๐๓๓] ผู้ใดพิจารณาเห็นศีล ปัญญา และสุตะในตน ผู้นั้นย่อมประพฤติประ โยชน์ได้ทั้งสองฝ่าย คือ ทั้งตน และผู้อื่น.
[๑๐๓๔] เพราะฉะนั้น นักปราชญ์พึงพิจารณาดูตน ดุจดูศีล ปัญญาและสุตะ ฉะนั้น พึงบริหารหมู่คณะเถิด หรือจะเป็นผู้อยู่แต่ผู้เดียว ก็พึงเว้นรอบ.

จบ กปิชาดกที่ ๙.

๑๐. พกพรหมชาดก ว่าด้วยศีลและพรตของพกพรหม


[๑๐๓๕] ข้าแต่พระโคดม ข้าพระองค์มีอยู่ ๗๒ คน ล้วนได้ทำบุญมาแล้ว มี อำนาจแผ่ทั่วไป ล่วงชาติและชราได้แล้ว การเกิดเป็นพรหมนี้ เป็นที่ สุด สำเร็จได้ด้วยพระเวท ชนเป็นอันมากมุ่งหวังอยากให้เป็นอย่าง พวกข้าพระองค์.
[๑๐๓๖] ดูกรพกพรหม อายุของท่านนี้น้อย ไม่มากเลย ท่านมาสำคัญว่าอายุ ของท่านมากตั้งแสนนิรัพพุทะ (ร้อยคูณแสน ๑๐ ล้านปี) ดูกร พกพรหม เรารู้อายุของท่าน.
[๑๐๓๗] ข้าแต่พระผู้มีพระภาค พระองค์ตรัสว่า พระองค์รู้กำหนดอายุของข้า พระองค์ และตรัสว่ารู้เห็นไม่มีที่สิ้นสุด เป็นผู้ล่วงชาติชราและความโศก ได้แล้ว ขอพระองค์จงตรัสบอกการสมาทานพรต และศีลวัตร ของข้า พระองค์ ครั้งก่อนว่าเป็นอย่างไร ข้าพระองค์ขอทราบตามความเป็นจริง ที่พระองค์ตรัสบอก?
[๑๐๓๘] ท่านได้ช่วยมนุษย์เป็นอันมากผู้ถูกแดดแผดเผา กระหายน้ำจัดให้ได้ดื่ม น้ำ เราระลึกถึงการสมาทานพรต และศีลวัตรครั้งก่อนของท่านนั้นได้ ดุจนอนหลับฝันตื่นขึ้นจำได้ ฉะนั้น.
[๑๐๓๙] ท่านได้ช่วยมหาชน ผู้ถูกหมู่โจรจับไปจะให้เป็นเชลยให้พ้นมาได้ ที่ริม ฝั่งแม่น้ำเอณิ เรายังระลึกถึงการสมาทานพรต และศีลวัตรครั้งก่อน ของท่านนั้นได้ ดุจนอนหลับฝันตื่นขึ้นจำได้ ฉะนั้น.
[๑๐๔๐] ท่านได้ทุ่มเทกำลังเข้าช่วยพวกมนุษย์ ผู้ไปเรือในกระแสแม่น้ำคงคา ให้ พ้นจากนาคราชผู้ตัวดุร้าย มักทำมนุษย์ให้พินาศ เรายังระลึกถึงการ สมาทานพรตและศีลวัตรครั้งก่อน ของท่านนั้นได้ ดุจนอนหลับฝันตื่น ขึ้นจำได้ ฉะนั้น.
[๑๐๔๑] อนึ่ง เราเองมีชื่อว่ากัปปะ ได้เคยเป็นอันเตวาสิกของท่าน ได้รู้แล้วว่า ท่านเป็นดาบสที่มีปัญญาและวัตรดีผู้หนึ่ง เรายังระลึกถึงการสมาทานพรต และศีลวัตรครั้งก่อนของท่านนั้นได้ ดุจนอนหลับฝันตื่นขึ้นจำได้ ฉะนั้น.
[๑๐๔๒] พระองค์ทรงทราบชัดอายุของข้าพระองค์ ได้แน่นอน แม้สิ่งอื่นพระองค์ ก็ทรงทราบ พระองค์เป็นพระพุทธเจ้าอย่างแท้จริง เพราะเหตุนั้นแล พระรัศมีอันรุ่งเรืองของพระองค์นี้ จึงได้ส่องพรหมโลกให้สว่างไสวอยู่.

จบ พกพรหมชาดกที่ ๑๐.

จบ กุกกุวรรคที่ ๑. _________________ รวมชาดกที่มีในวรรคนี้ คือ ๑. กุกกุชาดก ๒. มโนชชาดก ๓. สุตนชาดก ๔. มาตุโปสกคิชฌชาดก ๕. ทัพพปุปผกชาดก ๖. ทสรรณกชาดก ๗. เสนกชาดก ๘. อัฏฐิเสนชาดก ๙. กปิชาดก ๑๐. พกพรหมชาดก. _________________

๒. คันธารวรรค

๑. คันธารชาดก พูดคำมีประโยชน์เขาโกรธไม่ควรกล่าว


[๑๐๔๓] ท่านสละหมู่บ้านอันบริบูรณ์ถึงหมื่นหกพันตำบล และคลังที่เต็มไปด้วย ทรัพย์มาแล้ว บัดนี้ ทำไมยังมาทำการสะสมเพียงก้อนเกลืออีกเล่า?
[๑๐๔๔] ท่านสู้สละคันธารวิสัย อันบริบูรณ์ด้วยทรัพย์มากมาย เลิกการสั่งสม มาแล้ว บัดนี้ ทำไมยังมาสอนข้าพเจ้าให้สั่งสมในที่นี้อีกเล่า?
[๑๐๔๕] ดูกรท่านวิเทหดาบส ข้าพเจ้าย่อมกล่าวแต่คำที่เป็นธรรม ข้าพเจ้าไม่พอ ใจกล่าวคำที่ไม่เป็นธรรม เมื่อข้าพเจ้ากล่าวคำที่เป็นธรรมอยู่ บาปย่อม ไม่เข้ามาติดอยู่เลย.
[๑๐๔๖] บุคคลอื่นได้รับความโกรธเคือง เพราะถ้อยคำอย่างใดอย่างหนึ่ง ถึงหาก ถ้อยคำนั้นจะมีประโยชน์มาก บัณฑิตก็ไม่ควรกล่าว.
[๑๐๔๗] บุคคลทำกรรมที่ไม่สมควร เมื่อถูกตักเตือนอยู่ จะโกรธเคืองก็ตาม ไม่ โกรธเคืองก็ตาม หรือจะทิ้งเสียเหมือนโปรยข้าวลีบก็ตาม เมื่อข้าพเจ้า กล่าวคำที่เป็นธรรมอยู่ บาปย่อมไม่เข้าติดอยู่เลย.
[๑๐๔๘] ถ้าสัตว์เหล่านี้ไม่พึงมีปัญญาของตนเอง หรือไม่พึงได้ศึกษาวินัยดีแล้ว ชนเป็นอันมากก็จะเที่ยวไป เหมือนกระบือตาบอดเที่ยวไปในป่า ฉะนั้น.
[๑๐๔๙] ก็แลบุคคลบางพวกในโลกนี้ ได้ศึกษาวินัยมาเป็นอย่างดีในสำนักอาจารย์ เพราะฉะนั้น เขาทั้งหลาย จึงมีวินัยอันอาจารย์แนะนำแล้ว เป็น นักปราชญ์ มีจิตตั้งมั่นดี เที่ยวไป.

จบ คันธารชาดกที่ ๑.

๒. มหากปิชาดก ว่าด้วยคุณธรรมของหัวหน้า


[๑๐๕๐] ดูกรพระยาลิง ท่านได้ทอดตัวเป็นสะพาน ให้ลิงเหล่านี้ข้ามไปได้ จนมี ความสวัสดี ท่านเป็นอะไรกับลิงเหล่านั้น หรือว่าลิงเหล่านั้นเป็นอะไร กับท่าน?
[๑๐๕๑] ข้าแต่พระองค์ผู้ปราบศัตรู ข้าพระองค์เป็นใหญ่ เป็นนายฝูง ปกครองหมู่ ลิงเหล่านั้น เมื่อเขาเหล่านั้นถูกความโศกครอบงำ เกรงกลัวพระองค์.
[๑๐๕๒] ข้าพระองค์ได้กระโจนไปชั่วระยะร้อยลูกธนู เอาเถาวัลย์ผูกกับตอไม้ไผ่ ข้างหนึ่ง ผูกที่สะเอวข้างหนึ่ง.
[๑๐๕๓] กระโจนกลับมายังต้นมะม่วง เหมือนลมตัดอากาศ แต่ไม่ถึงต้นมะม่วง นั้น ข้าพระองค์เอามือมาทั้งสองเหนี่ยวกิ่งมะม่วงไว้.
[๑๐๕๔] ร่างกายของข้าพระองค์ถูกกิ่งไม้ และเถาวัลย์คร่าไปมา ดุจสายพิณที่เขา ขึงตึงเครียด ฉะนั้น พวกบริวารพากันไต่ข้าพระองค์ไปได้รับความสวัสดี.
[๑๐๕๕] ข้าพระองค์จะถูกจองจำ หรือถูกฆ่า ก็ไม่ครั่นคร้ามเดือดร้อนอย่างไร เพราะข้าพระองค์ได้นำความสุขมาให้แก่หมู่ลิงที่ยกย่องให้ข้าพระองค์เป็น ใหญ่.
[๑๐๕๖] ข้าแต่พระราชาผู้ปราบปรามศัตรู ข้าพระองค์จะแสดงข้ออุปมาถวายพระ องค์ ขอพระองค์จงสดับ ธรรมดาพระราชามหากษัตริย์ผู้ทรงพระปรีชา สามารถ พึงแสวงหาความสุขให้แก่รัฐ สัตว์พาหนะ ทหาร และ พลเมืองถ้วนหน้ากัน.

จบ มหากปิชาดกที่ ๒.

๓. กุมภการชาดก เหตุให้ประพฤติภิกขาจาริยวัตร


[๑๐๕๗] อาตมภาพได้เห็นมะม่วงอันงอกงามออกช่อและผลเขียวไปทั้งต้น ใน ระหว่างป่ามะม่วง เวลากลับ อาตมภาพได้เห็นมะม่วงต้นนั้นหักย่อยยับ เพราะผลเป็นเหตุ จึงได้เที่ยวประพฤติภิกขาจาริยวัตร.
[๑๐๕๘] นางนารีคนหนึ่งสวมกำไรมือหินคู่หนึ่ง เกลี้ยงกลม อันนายช่างผู้ ชำนาญทำแล้วไม่มีเสียงดัง เพราะอาศัยข้างที่สอง จึงเกิดมีเสียงดังขึ้น ได้ อาตมภาพได้เห็นอย่างนี้ จึงได้เที่ยวประพฤติภิกขาจาริยวัตร.
[๑๐๕๙] นกจำนวนมากพากันล้อมลุมตามจิก ตีนกตัวหนึ่งซึ่งกำลังคาบก้อนเนื้ออยู่ ได้ก้อนเนื้อแล้วบินไป เพราะอาหารเป็นเหตุ อาตมภาพได้เห็นอย่างนี้ จึงได้เที่ยวประพฤติภิกขาจาริยวัตร.
[๑๐๖๐] อาตมภาพได้เห็นวัวหนึ่งตัวอยู่ในท่ามกลางฝูง มีวลัยเป็นเครื่องประดับ ประกอบด้วยสีสรรและกำลังมาก ได้ขวิดเอาวัวตัวหนึ่งตาย เพราะกาม เป็นเหตุ อาตมภาพได้เห็นอย่างนี้ จึงได้เที่ยวประพฤติภิกขาจาริยวัตร.
[๑๐๖๑] พระเจ้ากรันฑกะของชาวกลิงครัฐ พระเจ้านัคคชิของชาวคันธารรัฐ พระเจ้าเนมิราชของชาววิเทหรัฐ และพระเจ้าทุมมุขะของชาวปัญจาลรัฐ ทั้งสี่พระองค์นี้ต่างพากันทรงละรัฐออกผนวช หาความห่วงใยมิได้.
[๑๐๖๒] แม้พระราชาเหล่านั้นทุกๆ พระองค์ เปรียบด้วยเทพเจ้า มาพร้อมหน้ากัน ย่อมสง่างามไปด้วยคุณ เหมือนไฟอันงามสว่างไสวฉะนั้น ดูกรนางภัควิ แม้เราเองจะสละกามทั้งหลายตามส่วนของตนๆ แล้วจะออกบวชเที่ยว ไปแต่ผู้เดียว.
[๑๐๖๓] เวลานี้เท่านั้น เวลาอื่นจากนี้เป็นไม่มี ภายหลังบุคคลผู้สอนดิฉันจะไม่มี ข้าแต่ท่านผู้มีส่วนความดี แม้ดิฉันก็จะขอพ้นจากมือของบุรุษเที่ยวไป ผู้เดียว ดังนางนกที่พ้นจากมือของบุรุษ ฉะนั้น.
[๑๐๖๔] เด็กสองคนนั้นย่อมรู้จักว่านี่ข้าวดิบ นี่ข้าวสุก และรู้จักว่านี่เค็ม นี่ไม่ เค็ม ดิฉันเห็นอย่างนี้แล้วจึงออกบวช ท่านจงประพฤติภิกขาจาริยวัตร เถิด ถึงดิฉันก็จะประพฤติภิกขาจาริยวัตรเช่นเดียวกัน.

จบ กุมภการชาดกที่ ๓.

๔. ทัฬหธรรมชาดก ว่าด้วยความกตัญญู


[๑๐๖๕] เมื่อข้าพเจ้าเป็นสาว ได้ทำลายช้างศัตรูนำกิจนั้นไป ได้ช่วยถอนลูกศรที่ เสียบอยู่ที่พระอุระ วิ่งตลุยไล่เหยียบย่ำข้าศึกไปในเวลารบ ยังทำให้ พระเจ้าทัฬหธรรมราชาพอพระทัยไม่ได้.
[๑๐๖๖] พระราชาคงไม่ทราบความเพียรพยายามของข้าพเจ้า ความดีความชอบใน สงคราม และการเป็นทูตเดินส่งข่าวสาส์นเป็นแน่.
[๑๐๖๗] ข้าพเจ้าไม่มีพวกพ้อง ไร้ที่พึ่งอาศัย จักต้องตายแน่ๆ ยังมิหนำซ้ำพระ ราชทานข้าพเจ้าให้แก่ช่างหม้อ ไว้สำหรับขนโคมัย.
[๑๐๖๘] คนบางคนในโลกนี้ ยังมีความหวังอยู่เพียงใด ก็ยังคบหากันอยู่เพียง นั้น เมื่อประโยชน์ที่หวังสิ้นไป คนพาลทั้งหลายย่อละทิ้งเขา เหมือน พระมหากษัตริย์ทอดทิ้งช้างพังโอฏฐิพยาธิ ฉะนั้น.
[๑๐๖๙] ผู้ใดอันคนอื่นทำความยินดีให้แก่ตนก่อน ช่วยเหลือกิจให้สำเร็จทุกอย่าง แล้ว ไม่รู้สึก ประโยชน์ทั้งหลายของบุคคลผู้ช่วยเหลือนั้น ย่อมพินาศ ไปหมด.
[๑๐๗๐] ผู้ใดอันคนอื่นทำความดีให้แก่ตนก่อน ช่วยเหลือกิจให้สำเร็จทุกอย่าง แล้ว ย่อมรู้สึก ประโยชน์ทั้งหลายของบุคคลผู้ช่วยเหลือนั้น ย่อมเจริญ ทวีขึ้น.
[๑๐๗๑] เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าจึงขอพูดกะท่านทั้งหลาย ท่านทั้งหลาย มาประ ชุมกันอยู่ ณ ที่นี้มีประมาณเท่าใด ขอความเจริญจงมีแก่ท่านทั้งหลาย ประมาณเท่านั้น ขอท่านทุกคนจงเป็นผู้มีกตัญญู ท่านทั้งหลายจักประ ดิษฐานอยู่ในสวรรค์ตลอดกาลนาน.

จบ ทัฬหธรรมชาดกที่ ๔.

๕. โสมทัตตชาดก ว่าด้วยความเศร้าโศกถึงผู้เป็นที่รัก


[๑๐๗๒] พ่อโสมทัตช้างมาตังคะ แต่ก่อนเคยออกมาต้อนรับเราผู้กลับจากป่าแต่ที่ ไกล บัดนี้ ไปไหนเสียเล่า เราจึงไม่เห็น?
[๑๐๗๓] โธ่เอ๋ย นี่พ่อโสมทัตนั้นแน่แล้ว มานอนตายอยู่ที่พื้นแผ่นดิน ดัง หน่อเถาย่างทรายที่บุคคลเด็ดทิ้งฉะนั้น พ่อโสมทัตกุญชรชาติตายเสีย แล้วหนอ.
[๑๐๗๔] การที่ท่านมาเศร้าโศกถึงผู้ที่ตายไปแล้วนั้น เป็นการไม่ดีงามแก่ท่านผู้ ออกบวช เป็นสมณะพ้นวิเศษแล้ว.
[๑๐๗๕] ดูกรท้าวสักกะ มนุษย์หรือสัตว์เดียรัจฉานก็ตาม ย่อมเกิดความรักใคร่ กันฝังอยู่ในใจ เพราะการอยู่ร่วมกันโดยแท้ อาตมภาพจึงไม่อาจอด กลั้น ความเศร้าโศกถึงผู้ที่เป็นที่รักใคร่นั้นได้.
[๑๐๗๖] สัตว์เหล่าใดร้องไห้รำพันเพ้อถึงผู้ที่ตาย สัตว์เหล่านั้นก็ต้องตายเหมือน กัน ดูกรฤาษี เพราะเหตุนั้น ท่านอย่าร้องไห้เลย สัตบุรุษกล่าวการ ร้องไห้ ของบุคคลผู้ร้องไห้ถึงผู้ที่ตายไปแล้วว่าไร้ผล.
[๑๐๗๗] ดูกรท่านผู้ประเสริฐ บุคคลผู้ตายไปแล้ว จะพึงกลับเป็นขึ้นอีกเพราะการ ร้องไห้แน่แล้ว เราทั้งหมดก็มาประชุมร้องไห้ถึงญาติของกันและกันเถิด.
[๑๐๗๘] อาตมภาพถูกไฟคือความโศกแผดเผา มหาบพิตรมาช่วยดับความกระวน กระวายทั้งหมดให้หายได้ เหมือนบุคคลเอาน้ำดับไฟไหม้เปรียงฉะนั้น. มหาบพิตร ได้ถอนลูกศรอันปักแน่น อยู่ในหัวใจของอาตมภาพออกแล้ว เมื่ออาตมภาพถูกความโศกครอบงำ มหาบพิตรก็ได้บรรเทาความโศกถึง บุตรนั้นเสียได้. ดูกรท้าวสักกะ อาตมภาพนั้นเป็นผู้มีลูกศรคือความโศก เศร้าอันมหาบพิตรถอนออกแล้ว หายโศก ใจไม่ขุ่นมัว จะไม่เศร้า โศก จะไม่ร้องไห้ต่อไป เพราะได้ฟังคำของมหาบพิตร.

จบ โสมทัตตชาดกที่ ๕.

๖. สุสีมชาดก ว่าด้วยพระเจ้าสุสีมะออกผนวช


[๑๐๗๙] เมื่อก่อนผมดำเกิดบนศีรษะอันเป็นประเทศที่สมควร ดูกรสุสิมะ วันนี้ ท่านเห็นผมเหล่านั้นกลายเป็นสีขาวแล้ว จงประพฤติธรรมเถิด เวลานี้ เป็นการสมควรจะประพฤติพรหมจรรย์แล้ว.
[๑๐๘๐] ข้าแต่พระองค์ผู้ประเสริฐ ผมหงอกของหม่อมฉันเอง ไม่ใช่ของพระองค์ หม่อมฉันถอนออกจากศีรษะของหม่อมฉันเอง หม่อมฉันได้ทูลคำเท็จ ด้วยคิดจะทำประโยชน์แก่ตน ขอพระองค์จงทรงพระราชทานความผิดให้ สักครั้งหนึ่งเถิด เพคะ.
[๑๐๘๑] ข้าแต่พระราชาผู้เป็นจอมประชาชน พระองค์ยังหนุ่ม มีพระโฉมชวนพิศ ยังทรงตั้งอยู่ในปฐมวัย มีพระฉวีวรรณงาม ดังใบกล้วยมีนวลอ่อนๆ เมื่อแรกขึ้นฉะนั้น ขอเชิญพระองค์ดำรงราชสมบัติอยู่ก่อนเถิด เชิญ ทอดพระเนตรหม่อมฉันก่อน อย่าทรงทำให้หม่อมฉันเป็นหม้ายไร้ที่พึ่ง เสียเลย เพคะ.
[๑๐๘๒] เราได้เห็นนางกุมารีรุ่นสาวมีฉวีวรรณอันเกลี้ยงเกลา ร่างกายงาม ทรวด ทรงเฉิดฉายอ่อนละมุนละไม เหมือนเถากาลวัลลี เมื่อต้องลมอ่อนรำเพย พัด ก็โอนเอนไปมา เข้าไปใกล้ชายดั่งยั่วยวนใจชายอยู่.
[๑๐๘๓] สมัยต่อมา เราได้เห็นนารีคนนั้นถึงความชรามีอายุล่วงไป ๘๐-๙๐ ปี ถือไม้เท้าสั่นงันงก มีกายคดน้อมลงดุจกลอนเรือน เดินก้มหน้าอยู่.
[๑๐๘๔] เรากำลังตริตรองถึงความพอใจและโทษของรูปทั้งหลายนั้นแลอยู่ จึงหลีก ออกไปนอนอยู่ท่ามกลางที่นอนแต่ผู้เดียว เราพิจารณาเห็นว่า แม้เราเอง ก็จักต้องเป็นอย่างนั้นบ้าง จึงมิได้ยินดีในการอยู่ในเรือนเลย ถึงเวลาที่ เราจะประพฤติพรหมจรรย์แล้ว.
[๑๐๘๕] ความยินดีของบุคคลผู้อยู่ครอบครองเรือนนี้แหละ เป็นเชือกเครื่องเหนี่ยว รั้งไว้ ธีรชนตัดเชือกนี้แล้ว หาความอาลัยใยดีมิได้ ละทิ้งกามสุขแล้ว ออกบวช.

จบสุสีมชาดกที่ ๖.

๗. โกฏสิมพลิชาดก ว่าด้วยการระวังภัยที่ยังไม่มาถึง


[๑๐๘๖] เราได้จับนาคราชยาวถึงพันวามาแล้ว ท่านยังทรงนาคราชนั้นและเราซึ่งมี กายใหญ่ไว้ได้ ไม่หวั่นไหว.
[๑๐๘๗] ดูกรโกฏสิมพลีเทพบุตร ก็ท่านทรงนางนกตัวเล็กนี้ ซึ่งมีเนื้อน้อยกว่า เรา กลัวหวั่นไหวอยู่ เพราะเหตุอะไร?
[๑๐๘๘] ดูกรพระยาครุฑ ท่านมีเนื้อเป็นภักษาหาร นกนี้มีผลไม้เป็นภักษาหาร นางนกนี้จักไปจิกกินพืชเมล็ดต้นไทร เมล็ดต้นกร่าง เมล็ดต้นมะเดื่อ และเมล็ดต้นโพธิ แล้วมาถ่ายวัจจะลงบนค่าคบไม้ของเรา.
[๑๐๘๙] ต้นไม้เหล่านั้นจักเจริญงอกงามขึ้น ไม่มีลมมากระทบข้างของเราได้ ต้น ไม้เหล่านั้นจักปกคลุมเรา ทำเราไม่ให้เป็นต้นไม้ไปเสีย.
[๑๐๙๐] ต้นไม้ทั้งหลายแม้ชนิดอื่น เป็นหมู่ไม้มีรากประกอบด้วยลำต้นมีอยู่ นก ตัวนี้นำเอาพืชมาถ่ายไว้ ทำให้พินาศ.
[๑๐๙๑] เพราะว่าต้นไม้ทั้งหลายมีต้นไทรเป็นต้น งอกงามขึ้นปกคลุมไม้ซึ่งเป็นเจ้า ป่า แม้ที่มีลำต้นใหญ่ได้ ดูกรพระยาครุฑ เหตุนี้แหละ เราได้มองเห็น ภัยในอนาคต จึงได้หวั่นไหว.
[๑๐๙๒] นักปราชญ์พึงรังเกียจสิ่งที่น่ารังเกียจ พึงระวังภัยที่ยังไม่มาถึง นักปราชญ์ ย่อมพิจารณาดูโลกทั้งสอง เพราะภัยในอนาคต.

จบ โกฏสิมพลิชาดกที่ ๗.

๘. ธูมการีชาดก เศร้าโศกเพราะได้ใหม่ลืมเก่า


[๑๐๙๓] พระเจ้ายุธิฏฐิละผู้ทรงพอพระทัยในธรรม ได้ตรัสถามวิธูรบัณฑิตว่า ดูกร พราหมณ์ ท่านรู้บ้างไหมว่า ใครผู้เดียวเศร้าโศกเป็นอันมาก?
[๑๐๙๔] พราหมณ์วาเสฏฐโคตรผู้เป็นใหญ่ในฝูงแพะมากด้วยกัน ไม่เกียจคร้านทั้ง กลางคืนกลางวัน เมื่ออยู่ในป่า ได้ก่อไฟให้เกิดควัน.
[๑๐๙๕] ชะมดทั้งหลายถูกเหลือบยุงรบกวน ก็พากันเข้าไปอาศัยอยู่ในสำนักของ พราหมณ์ธูมการีตลอดฤดูฝน เพราะกลิ่นควันของพราหมณ์นั้น.
[๑๐๙๖] พราหมณ์นั้นเอาใจใส่อยู่กับพวกชะมด ไม่เอาใจใส่ถึงพวกแพะ ว่าจะ มาเข้าคอกหรือไม่มา แพะของเขาเหล่านั้นได้หายไป.
[๑๐๙๗] พอถึงสารทสมัย และในป่ามียุงซาลงแล้ว พวกชะมดก็พากันเข้าไปสู่ ภูเขาทางที่กันดาร และต้นแม่น้ำทั้งหลาย ฯ
[๑๐๙๘] พราหมณ์เห็นพวกชะมดหนีไปหมด และแพะทั้งหลายหายไป ก็ซูบผอม มีผิวพรรณซูบซีด เป็นโรคผอมเหลือง.
[๑๐๙๙] เป็นอย่างนี้แหละ ผู้ใดละเลยคนเก่าเสียมากระทำความรักกับคนใหม่ ผู้นั้นเป็นคนเดียว เศร้าโศกอยู่มาก เหมือนพราหมณ์ธูมการี ฉะนั้น.

จบ ธูมการีชาดกที่ ๘.

๙. ชาครชาดก ว่าด้วยผู้หลับและตื่น


[๑๑๐๐] ในโลกนี้ ใครเป็นผู้หลับในระหว่างสัตว์ทั้งหลายผู้ตื่นอยู่ ใครเป็นผู้ตื่น ในระหว่างสัตว์ทั้งหลายผู้หลับอยู่ ใครหนอรู้แจ้งปัญหาข้อนี้ ใครหนอจะ แก้ปัญหาข้อนั้นของเราได้?
[๑๑๐๑] ข้าพเจ้าเป็นผู้หลับในระหว่างสัตว์ทั้งหลายผู้ตื่นอยู่ ข้าพเจ้าเป็นผู้ตื่นใน ระหว่างสัตว์ทั้งหลายผู้หลับอยู่ ข้าพเจ้ารู้แจ้งปัญหาข้อนั้นของท่าน จะ แก้ปัญหาข้อนั้นของท่านได้.
[๑๑๐๒] ท่านเป็นผู้หลับในระหว่างสัตว์ทั้งหลายผู้ตื่นอยู่อย่างไร ท่านเป็นผู้ตื่นใน ระหว่างสัตว์ทั้งหลายผู้หลับอยู่อย่างไร ท่านรู้แจ้งปัญหาข้อนี้อย่างไร ท่านจะแก้ปัญหาข้อนี้ของข้าพเจ้าอย่างไร?
[๑๑๐๓] ดูกรเทวดา ข้าพเจ้าตื่นอยู่ในระหว่างสัตว์ทั้งหลายผู้หลับอยู่ด้วยความ ประมาท ไม่รู้ทั่วถึงธรรม ๒ ประการ คือ สัญญมะ ๑ ทมะ ๑.
[๑๑๐๔] ดูกรเทวดา ข้าพเจ้าหลับอยู่ในระหว่างพระอริยเจ้าทั้งหลายผู้สละราคะ โทสะ และอวิชชา ตื่นอยู่.
[๑๑๐๕] ข้าพเจ้าเป็นผู้หลับในระหว่างสัตว์ทั้งหลายผู้ตื่นอยู่อย่างนี้ ข้าพเจ้าเป็นผู้ ตื่นในระหว่างสัตว์ทั้งหลายผู้หลับอยู่อย่างนี้ ข้าพเจ้ารู้แจ้งปัญหาข้อนี้ อย่างนี้ ข้าพเจ้าแก้ปัญหาของท่านอย่างนี้.
[๑๑๐๖] ถูกแล้ว ท่านเป็นผู้หลับในระหว่างสัตว์ทั้งหลายผู้ตื่นอยู่ เป็นผู้ตื่นอยู่ใน ระหว่างสัตว์ทั้งหลายผู้หลับอยู่ ท่านรู้แจ้งปัญหาข้อนั้นของข้าพเจ้าถูก แล้ว ท่านแก้ปัญหาข้อนั้นของข้าพเจ้าดีแล้ว.

จบ ชาครชาดกที่ ๙.

๑๐. กุมมาสปิณฑชาดก ว่าด้วยอานิสงส์ถวายขนมกุมมาส


[๑๑๐๗] ได้ยินว่า การทำสามีจิกรรมในพระปัจเจกพุทธเจ้าชื่อว่าอโนมทัสสี มี คุณไม่น้อยเลย เชิญดูผลแห่งก้อนขนมกุมมาสแห้ง ไม่มีรสเค็ม. ส่งผล ให้เราได้ช้าง ม้า วัว ทรัพย์ ข้าวเปลือกเป็นอันมากนี้ ตลอดทั้งแผ่น ดินทั้งสิ้น และนางนารีเหล่านี้เปรียบด้วยนางอัปสร เชิญดูผลแห่งก้อน ขนมกุมมาส.
[๑๑๐๘] ข้าแต่พระองค์ผู้ประเสริฐ ผู้มีอัธยาศัยเป็นกุศล ผู้บำรุงรัฐให้เจริญ พระองค์ตรัสคาถาเพลงขับเสมอๆ ขอพระองค์ผู้มีพระทัยเปี่ยมด้วยปีติ อันแรงกล้า ได้โปรดตรัสบอกใจความแห่งคาถาเพลงขับที่หม่อมฉันทูล ถามนั้นเถิด.
[๑๑๐๙] เราเกิดในตระกูลหนึ่งในนครนี้แหละ เป็นลูกจ้างทำงานให้คนอื่น ถึง จะเป็นลูกจ้างทำการงานเลี้ยงชีวิต แต่เราก็มีศีลสังวร. วันนั้นเราออก ไปทำงาน ได้เห็นสมณะ ๔ รูป ผู้ประกอบไปด้วยอาจาระและศีล เป็นผู้ เยือกเย็น ไม่มีอาสวะ. เรามีจิตเลื่อมใสในสมณะเหล่านั้น จึงนิมนต์ให้ท่านนั่งบนอาสนะที่ลาด ด้วยใบไม้แล้ว ได้ถวายขนมกุมมาสแก่ท่านด้วยมือของตน. ผลแห่งกุศล กรรมนั้นของเราเป็นเช่นนี้ เราจึงได้เสวยราชสมบัตินี้ อันมีแผ่นดินแผ่ ไพศาลไปด้วยสมบัติทุกชนิด.
[๑๑๑๐] ข้าแต่พระองค์ผู้มีอัธยาศัยเป็นกุศล พระองค์ทรงประทานเสียก่อน จึงค่อย เสวยเอง พระองค์อย่าทรงประมาทในบุญทั้งหลายมีทานเป็นต้น พระองค์ จงทรงยังจักร ๔ มีการอยู่ในประเทศอันสมควรเป็นต้นให้เป็นไป อย่าได้ ทรงตั้งอยู่ในอธรรมเลย จงทรงดำรงอยู่ในทศพิธราชธรรมเถิด.
[๑๑๑๑] ดูกรพระราชธิดาของพระเจ้าโกศลผู้เลอโฉม เรานั้นจักประพฤติตามทางที่ พระอริยเจ้าประพฤติมาแล้วนั้นแลเสมอๆ พระอรหันต์ทั้งหลายเป็นที่ พอใจของเราแท้ เราปรารถนาจะได้เห็นท่าน.
[๑๑๑๒] ดูกรนางเทวีผู้เป็นพระราชธิดาที่รักของพระเจ้าโกศล เจ้างดงามอยู่ใน ท่ามกลางหมู่นารี เปรียบเหมือนนางเทพอัปสรฉะนั้น เจ้าได้ทำกรรมดี งามอะไรไว้ เจ้าเป็นผู้มีผิวพรรณผุดผ่องอย่างนี้ เพราะกรรมอะไร?
[๑๑๑๓] ข้าแต่พระมหากษัตริย์ หม่อมฉันเป็นทาสีทำการรับใช้ของตระกูลกฏุมพี เป็นผู้สำรวมระวัง เป็นอยู่โดยธรรม มีศีล มีความเห็นชอบธรรม. คราวนั้น หม่อมฉันมีจิตโสมนัส ได้ถวายอาหารที่เป็นส่วนของหม่อม ฉัน แก่พระปัจเจกพุทธเจ้าผู้กำลังเที่ยวบิณฑบาตอยู่ ด้วยมือตนเอง ผลแห่งกรรมนั้นของหม่อมฉัน เป็นเช่นนี้.

จบ กุมมาสปิณฑชาดกที่ ๑๐.

๑๑. ปรันตปชาดก ลางบอกความชั่วและภัยที่จะมาถึง


[๑๑๑๔] ความชั่วและภัยจักมาถึงเรา เพราะกิ่งไม้ไหวคราวนั้น จะเป็นด้วยมนุษย์ หรือเนื้อทำให้ไหว ก็ไม่ปรากฏ.
[๑๑๑๕] ความกระสันถึงนางพราหมณีผู้หวาดกลัวซึ่งอยู่ไม่ไกลนัก จักทำให้เรา ผอมเหลือง เหมือนกิ่งไม้ทำนายปรันตปะให้ผอมเหลือง ฉะนั้น.
[๑๑๑๖] ภรรยาที่รักของเราอยู่ในบ้านเมืองพาราณสี มีรูปงาม จักเศร้าโศกถึงเรา ความเศร้าโศกจักทำให้นางผอมเหลือง เหมือนกิ่งไม้ทำนายปรันตปะให้ ผอมเหลือง ฉะนั้น.
[๑๑๑๗] หางตาที่เจ้าชำเลืองมาก็ดี การที่เจ้ายิ้มแย้มก็ดี เสียงที่เจ้าพูดก็ดี จักทำ เราให้ผอมเหลือง เหมือนกิ่งไม้ทำนายปรันตปะให้ผอมเหลือง ฉะนั้น.
[๑๑๑๘] เสียงกิ่งไม้นั้นได้มาปรากฏแก่ท่านแล้ว เสียงนั้นชะรอยจะมาบอกท่านได้ แน่แล้ว ผู้ใดสั่นกิ่งไม้นั้น ผู้นั้นได้มาบอกเหตุนั้นแน่แล้ว.
[๑๑๑๙] การที่เราผู้โง่เขลาคิดไว้ว่า กิ่งไม้ที่มนุษย์ หรือเนื้อทำให้ไหวในคราวนั้น ได้มาถึงเราเข้าแล้ว ฯ
[๑๑๒๐] ท่านได้รู้ด้วยประการนั้นแล้ว ยังลวงฆ่าพระชนกของเราแล้ว เอากิ่งไม้ ปกปิดไว้ บัดนี้ ภัยจักตกมาถึงท่านบ้างละ.

จบ ปรันตปชาดกที่ ๑๑.

จบ คันธารวรรคที่ ๒. _________________ รวมชาดกที่มีในวรรคนี้ คือ ๑. คันธารชาดก ๒. มหากปิชาดก ๓. กุมภการชาดก๔. ทัฬหธรรมชาดก ๕. โสมทัตตชาดก ๖. สุสีมชาดก ๗. โกฏสิมพลิชาดก๘. ธูมการีชาดก ๙. ชาครชาดก ๑๐. กุมมาสบิณฑชาดก ๑๑. ปรันตปชาดก. รวมวรรคในสัตตกนิบาตนี้มี ๒ วรรค คือ ๑. กุกกุวรรค ๒. คันธารวรรค. จบ สัตตกนิบาต. _________________

อัฏฐกนิบาตชาดก

๑. กัจจานิวรรค

๑. กัจจานิชาดก ในกาลไหนๆ ธรรมย่อมไม่ตาย


[๑๑๒๑] ดูกรแม่กัจจานี เธอสระผม นุ่งห่มผ้าขาวสะอาด ยกถาดสำรับขึ้นสู่ เตากระโหลกหัวผี ยีแป้ง ล้างงา ซาวข้าวสารทำไม ข้าวสุกคลุกงา จักมีไว้เพราะเหตุอะไร?
[๑๑๒๒] ดูกรพราหมณ์ ข้าวสุกคลุกงาซึ่งทำให้สุกดีนี้ มีไว้เพื่อจะบริโภค ก็หาไม่ ธรรม คือ ความอ่อนน้อมต่อผู้ใหญ่ และสุจริตธรรม ๓ ประการได้ สูญไปเสียแล้ว วันนี้ ดิฉันจักกระทำการบูชาแก่ธรรมนั้น ในท่ามกลาง ป่าช้า.
[๑๑๒๓] ดูกรแม่กัจจานี เธอจงใคร่ครวญเสียก่อนแล้ว จึงทำการงาน ใครบอก แก่เธอว่า ธรรมสูญเสียแล้ว ธรรมอันประเสริฐเหมือนท้าวสหัสนัย เทวราชผู้มีอาณุภาพหาผู้เปรียบมิได้ ย่อมไม่ตายในกาลไหนๆ.
[๑๑๒๔] ข้าแต่ท่านผู้ประเสริฐ ในข้อที่ว่าธรรมสูญนี้ ดิฉันมั่นใจเอาเอง ในข้อ ที่ว่า ธรรมไม่มี ดิฉันยังสงสัย เดี๋ยวนี้คนผู้ชั่วช้าย่อมมีความสุข เช่น ลูกสะใภ้ของดิฉันเป็นหมัน เขาทุบตีขับไล่ดิฉันแล้วคลอดลูก บัดนี้ เขา เป็นใหญ่ในตระกูลทั้งหมด ดิฉันถูกทอดทิ้ง ไม่มีที่พึ่ง อยู่แต่ลำพังผู้ เดียว.
[๑๑๒๕] เรายังเป็นอยู่ ยังไม่ตาย มา ณ ที่นี้เพื่อประโยชน์แก่เธอโดยตรง ลูก สะใภ้คนใดทุบตีขับไล่เธอออกแล้วคลอดลูก เราจะกระทำลูกสะใภ้คน นั้นพร้อมกับลูก ให้ละเอียดเป็นเถ้าธุลี.
[๑๑๒๖] ข้าแต่ท้าวเทวราช พระองค์ทรงยินดีเสด็จมาในที่นี้ เพื่อประโยชน์แก่ หม่อมฉันโดยตรงอย่างนี้ ขอให้หม่อมฉัน บุตร ลูกสะใภ้ และหลานจง ยินดีสมัครสมานอยู่เรือนร่วมกันเถิด.
[๑๑๒๗] ดูกรแม่กาติยานี เธอยินดีอย่างนั้นก็ตามใจเธอ ถึงจะถูกทุบตีขับไล่ก็ไม่ ละธรรม คือเมตตาในพวกเด็กๆ ขอให้เธอ บุตร ลูกสะใภ้ และ หลาน จงยินดีสมัครสมานอยู่เรือนร่วมกันเถิด.
[๑๑๒๘] นางกาติยานี ยินดีสมัครสมานกับลูกสะใภ้ อยู่เรือนร่วมกันแล้ว ลูก และหลานต่างช่วยกันบำรุง เพราะท้าวสักกเทวราชทรงอนุเคราะห์.

จบ กัจจานิชาดกที่ ๑.

๒. อัฏฐสัททชาดก ว่าด้วยนิพพาน


[๑๑๒๙]
สระมงคลโบกขรณีนี้ แต่ก่อนเป็นที่ลุ่มลึก มีน้ำมาก ปลาก็มาก เป็น ที่อยู่อาศัยของพระยานกยาง เป็นที่อยู่แห่งบิดาของเรา บัดนี้ น้ำแห้ง วันนี้พวกเราจะพากันเลี้ยงชีพด้วยกบ แม้พวกเราจะถูกความบีบคั้นถึง เพียงนี้ ก็จะไม่ละที่อยู่.
[๑๑๓๐] ใครจะทำลายนัยน์ตาข้างที่สองของนายพันธุระ ผู้มีอาวุธในมือให้แตกได้ ใครจักกระทำลูก และรังของเรา และตัวเราให้มีความสวัสดีได้?
[๑๑๓๑] ดูกรมหาบพิตร คติของกระพี้ไม้นั้นมีอยู่เพียงใด กระพี้ไม้ทั้งหมด แมลงภู่เจาะกินสิ้นแล้วเพียงนั้น แมลงภู่หมดอาหารแล้ว ย่อมไม่ยินดี ในไม้แก่น.
[๑๑๓๒] ไฉนหนอ เราจึงจะจากที่นี่ไปให้พ้นจากราชนิเวศน์เสียได้ บันเทิงใจ ชมต้นไม้ กิ่งไม้ที่มีดอก ทำรังอาศัยอยู่ตามประสาของเรา.
[๑๑๓๓] ไฉนหนอ เราจึงจะจากที่นี่ไปให้พ้นจากราชนิเวศน์เสียได้ จักนำหน้าฝูง ไปดื่มน้ำที่ดีเลิศได้.
[๑๑๓๔] นายพรานภรตะชาวพาหิกรัฐ นำเราผู้มัวเมาด้วยกามทั้งหลาย ผู้กำหนัด หมกมุ่นอยู่ในกามมาแล้ว ลิงนั้นกล่าวว่า ขอความเจริญจงมีแก่ท่าน ขอท่านจงปล่อยข้าพเจ้าเถิด.
[๑๑๓๕] เมื่อความมือตื้อปรากฏเบื้องบนภูเขาอันแข็งคม นางกินนรีนั้นได้กล่าว กะเราด้วยถ้อยคำอันไพเราะอ่อนหวานว่า ท่านอย่าจรดเท้าลงบนแผ่นดิน.
[๑๑๓๖] เราเห็นนิพพานอันเป็นที่สิ้นชาติ ไม่ต้องเวียนมายังกำเนิดคัพกไสยาอีก ต่อไป โดยไม่ต้องสงสัย ความเกิดของเรานี้เป็นชาติมีในที่สุดกำเนิด คัพภไสยาก็มีในภายหลัง สงสารเพื่อภพใหม่ต่อไปของเราสิ้นสุดแล้ว.

จบ อัฏฐสัททชาดกที่ ๒.

๓. สุลสาชาดก ผู้รอบรู้เหตุผลย่อมรอดพ้นศัตรู


[๑๑๓๗] สร้อยคอทองคำนี้ แก้วมุกดา แก้วไพฑูรย์มีมาก ท่านจงนำเอาทรัพย์นี้ ไปทั้งหมด ขอความเจริญจงมีแก่ท่าน และจงประกาศข้าพเจ้าว่า เป็น ทาสีเถิดฯ
[๑๑๓๘] แน่ะแม่คนงาม เจ้าจงเปลื้องเครื่องประดับออก อย่ามัวร่ำไรให้มากเลย เราไม่รู้อะไรทั้งนั้น เรานำเจ้ามาเพื่อทรัพย์เท่านั้น.
[๑๑๓๙] ฉันมานึกถึงตัวเอง นับตั้งแต่น้อยคุ้มใหญ่ ฉันไม่ได้รู้จักรักชายอื่นยิ่งไป กว่าท่านเลย.
[๑๑๔๐] ขอเชิญท่านนั่งลง ฉันจักขอกอดรัดท่านให้สมรัก และจักกระทำ ประทักษิณท่านเสียก่อน เพราะว่าต่อแต่นี้ไป การคบหากันระหว่างฉัน กับท่านจะไม่มีอีก.
[๑๑๔๑] ชายจะเป็นบัณฑิตในที่ทุกแห่งก็หาไม่ แม้หญิงก็เป็นบัณฑิตมีปัญญา เฉลียวฉลาดในที่นั้นๆ ได้.
[๑๑๔๒] ชายจะเป็นบัณฑิตในที่ทุกแห่งก็หาไม่ แม้หญิงก็เป็นบัณฑิตมีปัญญาดำริ เหตุผลได้รวดเร็ว.
[๑๑๔๓] นางสุลสาหญิงแพศยายืนอยู่ ณ ที่ใกล้โจร คิดอุบายจะฆ่าโจร ได้ฆ่าโจร สัตตุกะตายได้รวดเร็ว เหมือนนายพรานเนื้อผู้ฉลาดฆ่าเนื้อได้เร็วพลัน เมื่อมีธนูบริบูรณ์มากแล้ว ฉะนั้น.
[๑๑๔๔] ในโลกนี้ ผู้ใดไม่รู้เหตุผลที่เกิดขึ้นได้ฉับพลัน ผู้นั้นมีปัญญาเขลาย่อม ถูกฆ่าตาย เหมือนโจรถูกฆ่าตายที่ซอกภูเขา ฉะนั้น.
[๑๑๔๕] ในโลกนี้ ผู้ใดย่อมรอบรู้เหตุผลที่เกิดขึ้นได้ฉับพลัน ผู้นั้นย่อมพ้นจาก ความเบียดเบียนของศัตรูได้ เหมือนนางสุลสาหญิงแพศยาหลุดพ้นไป จากโจรสัตตุกะ ฉะนั้น.

จบ สุลสาชาดกที่ ๓.

๔. สุมังคลชาดก ว่าด้วยคุณธรรมของกษัตริย์


[๑๑๔๖] พระเจ้าแผ่นดินทรงรู้ว่า เรากำลังกริ้วจัดไม่พึงลงอาชญา อันไม่สมควร แก่ตนโดยไม่ใช่ฐานะก่อน พึงเพิกถอนความทุกข์ของผู้อื่นอย่างร้ายแรง ไว้.
[๑๑๔๗] เมื่อใด พึงรู้ว่าจิตของตนผ่องใส พึงใคร่ครวญ ความผิดที่ผู้อื่นทำไว้ พึงพิจารณาให้เห็นแจ่มแจ้งด้วยตนเองว่า นี่ส่วนประโยชน์ นี่ส่วนโทษ เมื่อนั้น จึงปรับไหมบุคคลนั้นๆ ตามสมควร.
[๑๑๔๘] อนึ่ง พระเจ้าแผ่นดินพระองค์ใด ไม่ถูกอคติครอบงำ ย่อมแนะนำผู้อื่น ที่ควรแนะนำ และไม่ควรแนะนำได้ พระเจ้าแผ่นดินพระองค์นั้นชื่อว่า ไม่เผาผู้อื่น และพระองค์เอง พระเจ้าแผ่นดินพระองค์ใดในโลกนี้ ทรงลงอาชญาสมควรแก่โทษ พระเจ้าแผ่นดินพระองค์นั้น อันคุณงาม ความดีคุ้มครองแล้ว ย่อมไม่เสื่อมจากศิริ.
[๑๑๔๙] กษัตริย์เหล่าใดถูกอคติครอบงำ ไม่ทรงพิจารณาเสียก่อนแล้วทำไป ทรง ลงอาชญาโดยผลุนผลัน กษัตริย์เหล่านั้นประกอบไปด้วยโทษน่าติเตียน ย่อมละทิ้งชีวิตไป และพ้นไปจากโลกนี้แล้ว ก็ย่อมไปสู่ทุคติ.
[๑๑๕๐] พระราชาเหล่าใด ทรงยินดีแล้วในทศพิธราชธรรม อันพระอริยเจ้าประกาศ ไว้ พระราชาเหล่านั้นเป็นผู้ประเสริฐด้วยกาย วาจา และใจ พระราชา เหล่านั้นทรงดำรงมั่นอยู่แล้วในขันติ โสรัจจะ และสมาธิ ย่อมถึงโลก ทั้งสองโดยวิธีอย่างนั้น.
[๑๑๕๑] เราเป็นพระราชาผู้เป็นใหญ่ของสัตว์และมนุษย์ทั้งหลาย ถ้าเราโกรธ ขึ้นมา เราก็ตั้งตนไว้ในแบบอย่างที่โบราณราชแต่งตั้งไว้ คอยห้ามปราม ประชาชนอยู่อย่างนั้น ลงอาชญาโดยอุบายอันแยบคายด้วยความเอ็นดู.
[๑๑๕๒] ข้าแต่กษัตริย์ผู้ชนาธิปัติ บริวารสมบัติและปัญญามิได้ละพระองค์ในกาล ไหนๆ เลย พระองค์มิได้มักกริ้วโกรธ มีพระหฤทัยผ่องใสอยู่เป็นนิจ ขอพระองค์ทรงปราศจากทุกข์ บำรุงพระชนม์ชีพยืนอยู่ตลอดร้อยพรรษา เถิด.
[๑๑๕๓] ข้าแต่กษัตริย์ ขอพระองค์ทรงประกอบด้วยคุณธรรมเหล่านี้ คือ โบราณ ราชวัตร มั่นคงทรงอนุญาตให้หนูเตือนได้ ไม่ทรงกริ้วโกรธมีความสุข สำราญ ไม่เดือดร้อน ปกครองแผ่นดินให้ร่มเย็น แม้จุติจากโลกนี้ไปแล้ว ก็จงทรงถึงสุคติเถิด.
[๑๑๕๔] พระเจ้าธรรมิกราชทรงฉลาดในอุบาย เมื่อครองราชสมบัติด้วยอุบายอัน เป็นธรรม คือ กุศลกรรมบถ ๑๐ อันบัณฑิตแนะนำกล่าวไว้ดีแล้วอย่างนี้ พึงยังมหาชนผู้กำเริบร้อนกายและจิตให้ดับหายไป เหมือนมหาเมฆยัง แผ่นดินให้ชุ่มชื่นด้วยน้ำ ฉะนั้น.

จบ สุมังคลชาดกที่ ๔.

๕. คังคมาลชาดก กามทั้งหลายเกิดจากความดำริ


[๑๑๕๕] แผ่นดินร้อนเหมือนถ่านไฟ ดาดาษไปด้วยทรายอันร้อนเหมือนเถ้ารึง เมื่อเป็นเช่นนี้ เจ้ายังทำเป็นทองไม่รู้ร้อน ขับเพลงอยู่ได้ แดดไม่เผาเจ้า ดอกหรือ? เบื้องบนก็ร้อน เบื้องล่างก็ร้อน เมื่อเป็นเช่นนี้ เจ้ายังทำ เป็นทองไม่รู้ร้อน ขับเพลงอยู่ได้ แดดไม่เผาเจ้าดอกหรือ?
[๑๑๕๖] ข้าแต่พระราชา แดดหาเผาข้าพระองค์ไม่ แต่ว่าวัตถุกาม และกิเลสกาม ย่อมเผาข้าพระองค์ เพราะว่าความประสงค์หลายๆ อย่าง มีอยู่ ความ ประสงค์เหล่านั้นย่อมเผาข้าพระองค์ แดดหาได้เผาข้าพระองค์ไม่.
[๑๑๕๗] ดูกรกาม เราได้เห็นมูลรากของเจ้าแล้ว เจ้าเกิดจากความดำริ เราจักไม่ ดำริถึงเจ้าอีกละ เจ้าจักไม่เกิดด้วยอาการอย่างนี้.
[๑๑๕๘] กามแม้น้อยก็ไม่พอแก่มหาชน มหาชนย่อมไม่อิ่มด้วยกามแม้มาก น่า สลดใจที่พวกคนพาลพากันบ่นว่า รูป เสียง เหล่านี้จงมีแก่เรา กุลบุตร ผู้ประกอบความเพียร พึงเว้นให้ขาดเถิด.
[๑๑๕๙] การที่พระเจ้าอุทัยได้ถึงความเป็นใหญ่เป็นโตนี้ เป็นแผลแห่งกรรมมี ประมาณน้อยของเรา มาณพใดละกามราคะออกบวชแล้ว มาณพนั้นชื่อ ว่าได้ลาภดีแล้ว.
[๑๑๖๐] สัตว์ทั้งหลายย่อมละกรรมชั่วด้วยตบะ แต่สัตว์เหล่านั้น จะละความเป็น คน เอาหม้อตักน้ำให้เขาอาบด้วยตบะได้หรือ แน่ะคังคมาละ การที่ท่าน ข่มขี่ด้วยตบะ แล้วร้องเรียกโอรสของเราโดยชื่อว่าพรหมทัตต์วันนี้นั้น ไม่เป็นการสมควรเลย.
[๑๑๖๑] เสด็จแม่ เราทั้งหลายพร้อมทั้งพระราชา และอำมาตย์ พากันไหว้ พระปัจเจกพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้านั้น เป็นผู้อันชนทั้งปวงไหว้แล้ว เชิญเสด็จแม่ ทอดพระเนตรดูผลแห่งขันติและโสรัจจะในปัจจุบันเถิด.
[๑๑๖๒] ท่านทั้งหลายอย่าได้กล่าวอะไรๆ กะท่านคังคมาละผู้เป็นปัจเจกมุนี ศึกษา อยู่ในคลองมุนี ความจริง พระปัจเจกมุนีคังคมาละนี้ ข้ามห้วงน้ำที่ พระปัจเจกมุนีทั้งหลายข้ามแล้ว หมดความเศร้าโศกเที่ยวไป.

จบ คังคมาลชาดกที่ ๕.

๖. เจติยราชชาดก ว่าด้วยเชฏฐาปจายนธรรม


[๑๑๖๓] เชฏฐาปจายนธรรม อันบุคคลใดทำลายแล้ว ย่อมทำลายบุคคลนั้นเสีย โดยแท้ เชฏฐาปจายนธรรมอันบุคคลใดไม่ทำลายแล้ว ย่อมไม่ทำลาย บุคคลนั้นสักหน่วยหนึ่ง เพราะเหตุนั้นแล พระองค์ไม่ควรทำลาย เชฏฐาปจายนธรรมเลย เชฏฐาปจายนธรรมที่พระองค์ทำลายแล้ว อย่า ได้กลับมาทำลายพระองค์เลย.
[๑๑๖๔] เมื่อพระองค์ยังตรัสคำกลับกลอกอยู่ เทวดาทั้งหลายก็จะพากันหลีกหนี ไปเสีย พระโอฐจักมีกลิ่นบูดเน่าเหม็นฟุ้งไป ผู้ใดรู้อยู่ เมื่อถูกถามปัญหา แล้ว แกล้งแก้ปัญหานั้นไปเสียอย่างอื่น ผู้นั้นย่อมต้องพลัดตกลงจาก ฐานะของตน ข้าแต่พระเจ้าเจติยราช ถ้าพระองค์ตรัสสัจจวาจา พระองค์ ก็จะประทับอยู่ในพระราชวังตามเดิมได้ ถ้าพระองค์ยังตรัสมุสาอยู่ ก็จะ ประทับอยู่ได้ที่พื้นดินเท่านั้น.
[๑๑๖๕] พระราชาพระองค์ใดทรงทราบอยู่ เมื่อถูกถามปัญหาแล้ว แกล้งตรัสแก้ ปัญหานั้นเสียอย่างอื่น ในแว่นแคว้นของพระราชาพระองค์นั้น ฝนย่อม ตกในเวลาไม่ใช่ฤดูกาล ย่อมไม่ตกตามฤดูกาล ข้าแต่พระเจ้าเจติยราช ถ้าพระองค์ตรัสสัจจวาจา พระองค์ก็จะประทับอยู่ในพระราชวังตามเดิมได้ ถ้าพระองค์ตรัสมุสาอยู่ ก็จะถูกแผ่นดินสูบ.
[๑๑๖๖] ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นใหญ่ในทิศ พระราชาพระองค์ใดทรงทราบอยู่ เมื่อ ถูกถามปัญหาแล้วแกล้งตรัสแก้ปัญหานั้นไปเสียอย่างอื่น พระชิวหาของ พระราชาพระองค์นั้น จะเป็นแฉกเหมือนลิ้นงู ฉะนั้น ข้าแต่พระเจ้า เจติยราช ถ้าพระองค์ตรัสสัจจวาจา พระองค์ก็จะประทับอยู่ใน พระราชวังตามเดิมได้ ถ้าพระองค์ยังตรัสมุสาอยู่ ก็จะถูกแผ่นดินสูบ ลึกลงไปอีก.
[๑๑๖๗] ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นใหญ่ในทิศ พระราชาพระองค์ใดทรงทราบอยู่ เมื่อ ถูกถามปัญหาแล้ว แกล้งตรัสแก้ปัญหานั้นไปเสียอย่างอื่น พระชิวหา ของพระราชาพระองค์นั้น จะไม่มีเหมือนปลาฉะนั้น ข้าแต่พระเจ้าเจติย ราช ถ้าพระองค์ตรัสสัจจวาจา พระองค์ก็จะประทับอยู่ในพระราชวัง ตามเดิมได้ ถ้าพระองค์ยังตรัสมุสาอยู่ ก็จะถูกแผ่นดินสูบลึกยิ่งกว่านี้ ไปอีก.
[๑๑๖๘] พระราชาพระองค์ใดทรงทราบอยู่ เมื่อถูกถามปัญหาแล้ว แกล้งตรัสแก้ ปัญหานั้นไปเสียอย่างอื่น พระราชาพระองค์นั้นจะมีแต่พระธิดาเท่านั้น มาเกิด หามีพระโอรสมาเกิดในราชสกุลไม่ ข้าแต่พระเจ้าเจติยราช ถ้าพระองค์ตรัสสัจจวาจา พระองค์ก็จะประทับอยู่ในพระราชวังตามเดิม ได้ ถ้าพระองค์ยังตรัสมุสาอยู่ ก็จะถูกแผ่นดินสูบลึกยิ่งไปกว่านี้อีก.
[๑๑๖๙] พระราชาพระองค์ใดทรงทราบอยู่ เมื่อถูกถามปัญหาแล้ว แกล้งตรัสแก้ ปัญหานั้นไปเสียอย่างอื่น พระราชาพระองค์นั้นจะไม่มีพระราชโอรส ถ้ามีก็พากันหลีกหนีไปยังทิศน้อย ทิศใหญ่ ข้าแต่พระเจ้าเจติยราช ถ้า พระองค์ตรัสสัจจวาจา พระองค์ก็จะประทับอยู่ในพระราชวังตามเดิมได้ ถ้าพระองค์ยังตรัสมุสาอยู่ ก็จะถูกแผ่นดินสูบลึกยิ่งกว่านั้นลงไปอีก.
[๑๑๗๐] พระเจ้าเจติยราชนั้น แต่ก่อนเคยเสด็จเที่ยวไปได้ในอากาศ ภายหลังถูก พระฤาษีสาปแล้วเสื่อมอำนาจ ถึงกำหนดเวลาของตนแล้วก็ถูกแผ่นดิน สูบ เพราะเหตุนั้นแหละ บัณฑิตทั้งหลายจึงไม่สรรเสริญฉันทาคติ บุคคล ไม่พึงเป็นผู้มีจิตถูกฉันทาคติเป็นต้นประทุษร้าย พึงกล่าวแต่คำสัจเท่านั้น.

จบ เจติยราชชาดกที่ ๖.

๗. อินทริยชาดก ว่าด้วยดี ๔ ชั้น


[๑๑๗๑] ดูกรนารทะ บุรุษใดตกอยู่ในอำนาจแห่งอินทรีย์เพราะกาม บุรุษนั้นละ โลกทั้งสองไปแล้ว ย่อมเกิดในอบายมีนรกเป็นต้น แม้เมื่อยังเป็นอยู่ก็ ย่อมซูบซีดไป.
[๑๑๗๒] ทุกข์เกิดในลำดับแห่งสุข สุขเกิดในลำดับแห่งทุกข์ ส่วนท่านนั้นประ สบความทุกข์มากกว่าสุข ท่านจงหวังความสุขอันประเสริฐเถิด.
[๑๑๗๓] ในเวลาเกิดความลำบาก บุคคลใดอดทนต่อความลำบากได้ บุคคลนั้น ย่อมไม่เป็นไปตามความลำบาก บุคคลนั้นเป็นนักปราชญ์ ย่อมบรรลุสุข ปราศจากเครื่องประกอบ อันเป็นที่สุดแห่งความลำบาก.
[๑๑๗๔] ท่านไม่ควรเคลื่อนจากธรรม เพราะปรารถนากามทั้งหลาย เพราะเหตุใช่ ประโยชน์ เพราะเหตุเป็นประโยชน์ ถึงท่านจะทำสุขในฌานที่สำเร็จ แล้วให้นิราศไป ก็ไม่ควรจะเคลื่อนจากธรรมเลย.
[๑๑๗๕] ความขยันของคฤหบดีผู้อยู่ครองเรือนดีชั้นหนึ่ง การแบ่งปันโภคทรัพย์ ให้แก่สมณพราหมณ์ ผู้ตั้งอยู่ในธรรมแล้วบริโภคด้วยตนเอง ดีชั้น สอง เมื่อได้ประโยชน์ไม่ระเริงใจด้วยความมัวเมา ดีชั้นสาม เมื่อเวลา เสื่อมประโยชน์ ไม่มีความลำบากใจ ดีชั้นสี่.
[๑๑๗๖] เทวิลดาบสผู้สงบระงับ ได้พร่ำสอนความเป็นบัณฑิตกะนารทดาบสนั้น ด้วยคำมีประมาณเท่านี้ว่า บุคคลผู้เลวกว่าผู้ที่ตกอยู่ในอำนาจอินทรีย์ ไม่มีเลย.
[๑๑๗๗] ข้าแต่พระเจ้าสีวิราช พระองค์เกือบจะถึงความพินาศอยู่ในเงื้อมมือของ ศัตรูทั้งหลายเทียว เหมือนข้าพระองค์ไม่กระทำกรรมที่ควรกระทำ ไม่ ศึกษาศิลปวิทยา ไม่ทำความขวนขวายเพื่อให้เกิดโภคทรัพย์ ไม่ทำ อาวาหวิวาหะ ไม่รักษาศีล ไม่กล่าววาจาอ่อนหวาน ทำยศเหล่านี้ให้ เสื่อมไป จึงมาบังเกิดเป็นเปรต เพราะกรรมของตน.
[๑๑๗๘] ข้าพระองค์นั้นปฏิบัติชอบแล้ว พึงยังโภคะให้เกิดขึ้น เหมือนบุรุษชำนะ แล้วพันคน ไม่มีพวกพ้วงที่พึ่งอาศัย ล่วงเสียจากอริยธรรม มีอาการ เหมือนเปรต ฉะนั้น.
[๑๑๗๙] ข้าพระองค์ทำสัตว์ทั้งหลาย ผู้ใคร่ต่อความสุขให้ได้รับความทุกข์ จึงได้ มาถึงส่วนอันนี้ ข้าพระองค์นั้นดำรงอยู่ เหมือนบุคคลอันกองถ่านไฟ ล้อมรอบด้าน ย่อมไม่ได้ประสบความสุขเลย.

จบ อินทริยชาดกที่ ๗.

๘. อาทิตตชาดก ว่าด้วยการให้ทานกับการรบ


[๑๑๘๐] เมื่อเรือนถูกไฟไหม้ บุคคลผู้เป็นเจ้าของขนเอาสิ่งของอันใดออกได้ สิ่ง ของอันนั้นย่อมเป็นประโยชน์แก่เจ้าของนั้น แต่ของที่ถูกไฟไหม้ย่อมไม่ เป็นประโยชน์แก่เขา.
[๑๑๘๑] โลกถูกชราและมรณะเผาแล้วอย่างนี้ บุคคลพึงนำออกเสียด้วยการให้ทาน ทานที่ให้แล้วจะน้อยก็ตามมากก็ตาม ชื่อว่าเป็นอันนำออกดีแล้ว.
[๑๑๘๒] คนใดให้ทานแก่ท่านผู้มีธรรมอันได้แล้ว ผู้บรรลุธรรมด้วยความเพียรและ ความหมั่น คนนั้นล่วงเลยเวตรณีนรกของพระยายมไปได้แล้ว จะเข้า ถึงทิพยสถาน.
[๑๑๘๓] ท่านผู้รู้กล่าวทานกับการรบว่ามีสภาพเสมอกัน นักรบแม้จะมีน้อยก็ชำนะ คนมากได้ เจตนาเครื่องบริจาคก็เหมือนกัน แม้จะน้อย ย่อมชำนะหมู่ กิเลสแม้มากได้ ถ้าบุคคลเชื่อกรรมและผลแห่งกรรม ย่อมให้ทานแม้ น้อย เขาก็เป็นสุขในโลกหน้า เพราะการบริจาคมีประมาณน้อยนั้น.
[๑๑๘๔] การเลือกทักขิณาทานและพระทักขิไณยบุคคลแล้วจึงให้ทาน พระสุคต ทรงสรรเสริญ ทานที่บุคคลถวายในพระทักขิไณยบุคคล มีพระพุทธเจ้า เป็นต้น ซึ่งมีอยู่ในสัตว์โลกนี้ ย่อมมีผลมาก เหมือนพืชที่หว่านลงใน นาดี ฉะนั้น.
[๑๑๘๕] บุคคลใดไม่เบียดเบียนสัตว์ทั้งหลายเที่ยวไปอยู่ ไม่ทำบาป เพราะกลัวคน อื่นจะติเตียน บัณฑิตทั้งหลายย่อมสรรเสริญบุคคลผู้กลัวบาปนั้น ย่อม ไม่สรรเสริญบุคคลผู้กล้าในการทำบาป เพราะว่าสัตบุรุษทั้งหลายย่อมไม่ ทำบาป เพราะความกลัวถูกติเตียน.
[๑๑๘๖] บุคคลย่อมเกิดในสกุลกษัตริย์เพราะพรหมจรรย์อย่างต่ำ เกิดในเทวโลก เพราะพรหมจรรย์อย่างกลาง และบริสุทธิ์ได้เพราะพรหมจรรย์อย่างสูง.
[๑๑๘๗] ทานท่านผู้รู้สรรเสริญโดยส่วนมากก็จริง แต่ว่าบทแห่งธรรมแลประเสริฐ กว่าทาน เพราะว่าสัตบุรุษทั้งหลายในครั้งก่อน หรือว่าก่อนกว่านั้นอีก ผู้มีปัญญาเจริญสมถวิปัสสนาแล้วได้บรรลุนิพพานนั่นเทียว.

จบ อาทิตตชาดกที่ ๘.

๙. อัฏฐานชาดก ว่าด้วยสิ่งที่เป็นไปไม่ได้


[๑๑๘๘] เมื่อใด แม่น้ำคงคาดาดาษด้วยดอกบัวก็ดี นกดุเหว่าสีขาวเหมือนสังข์ก็ ดี ต้นหว้าพึงให้ผลเป็นตาลก็ดี เมื่อนั้นเราทั้งสองพึงอยู่ร่วมกันได้แน่.
[๑๑๘๙] เมื่อใด ผ้าสามชนิดจะพึงสำเร็จได้ด้วยขนเต่า ใช้เป็นเครื่องกันหนาว ในคราวน้ำค้างตกได้ เมื่อนั้น เราทั้งสองพึงอยู่ร่วมกันได้แน่.
[๑๑๙๐] เมื่อใด เท้ายุงทั้งหลายจะพึงทำเป็นป้อมมั่นคงดีไม่หวั่นไหว อาจจะทน บุรุษผู้ขึ้นรบได้ตั้งร้อย เมื่อนั้น เราทั้งสองพึงอยู่ร่วมกันได้แน่.
[๑๑๙๑] เมื่อใด เขากระต่ายจะพึงทำเป็นบันไดเพื่อขึ้นไปสวรรค์ได้ เมื่อนั้น เรา ทั้งสองพึงอยู่ร่วมกันได้แน่.
[๑๑๙๒] เมื่อใด หนูทั้งหลายจะพึงไต่บันไดขึ้นไปกัดพระจันทร์ และขับไล่ราหู ให้หนีไปได้ เมื่อนั้น เราทั้งสองพึงอยู่ร่วมกันได้แน่.
[๑๑๙๓] เมื่อใด แมลงวันทั้งหลายเที่ยวไปเป็นหมู่ๆ ดื่มเหล้าหมดหม้อเมาแล้ว จะพึงเข้าไปอยู่ในโรงถ่านเพลิง เมื่อนั้นเราทั้งสองพึงอยู่ร่วมกันได้แน่.
[๑๑๙๔] เมื่อใด ลาพึงมีริมฝีปากงาม สีเหมือนผลมะพลับ มีหน้างามเหมือนแว่น ทอง จะเป็นสัตว์ฉลาดในการฟ้อนรำขับร้องได้ เมื่อนั้น เราทั้งสองพึง อยู่ร่วมกันได้แน่.
[๑๑๙๕] เมื่อใด กากับนกเค้าพึงปรารถนาสมบัติให้แก่กันและกัน ปรึกษา ปรองดองกันอยู่ในที่ลับได้ เมื่อนั้น เราทั้งสองพึงอยู่ร่วมกันได้แน่.
[๑๑๙๖] เมื่อใด รากไม้และใบไม้อย่างละเอียด พึงเป็นร่มมั่นคงป้องกันฝนได้ เมื่อนั้น เราทั้งสองพึงอยู่ร่วมกันได้แน่.
[๑๑๙๗] เมื่อใด นกตัวเล็กๆ พึงเอาจะงอยปากคาบภูเขาคันธมาทน์บินไปได้ เมื่อนั้น เราทั้งสองพึงอยู่ร่วมกันได้แน่.
[๑๑๙๘] เมื่อใด เด็กๆ พึงจับเรือใหญ่อันประกอบด้วยเครื่องยนต์และใบพัด กำลังแล่นไปในสมุทรไว้ได้ เมื่อนั้น เราทั้งสองพึงอยู่ร่วมกันได้แน่.

จบ อัฏฐานชาดกที่ ๙.

๑๐. ทีปิชาดก ว่าด้วยคนร้ายไม่ต้องการเหตุผล


[๑๑๙๙] คุณลุงครับ ท่านพออดทนหรือ พอจะเยียวยาอัตภาพไปได้อยู่หรือ ท่าน มีความสุขดีหรือ มารดาของฉันได้ถามถึงความสุขของท่าน เราทั้งหลาย ปรารถนาความสุขแก่ท่านเหมือนกัน.
[๑๒๐๐] แน่ะแม่แพะ เจ้ามารังแกเหยียบหางของเราได้ วันนี้เจ้าสำคัญว่า จะพึง พ้นความตายด้วยวาทะว่าลุงหรือ?
[๑๒๐๑] ท่านนั่งผินหน้าตรงทิศบูรพา ฉันก็ได้มานั่งอยู่ตรงหน้าท่าน ไฉน ฉันจะ เข้าไปเหยียบหางของท่าน ซึ่งอยู่เบื้องหลังได้เล่า.
[๑๒๐๒] ทวีปทั้งสี่ ทั้งมหาสมุทรและภูเขา มีประมาณเท่าใด เราเอาหางของเรา วงที่มีประมาณเท่านั้นไว้หมด เจ้าจะงดเว้นที่ที่เราเอาหางวงไว้นั้นได้ อย่างไร?
[๑๒๐๓] ในกาลก่อน มารดาบิดาก็ดี พี่น้องทั้งหลายก็ดี ได้บอกความเรื่องนี้แก่ ฉันแล้ว ว่าหางของท่านผู้ประทุษร้ายยาว ฉันจึงมาทางอากาศ.
[๑๒๐๔] แน่ะแม่แพะ ก็เพราะว่าฝูงเนื้อเห็นเจ้ามาในอากาศ จึงพากันหนีไปเสีย ภักษาหารของเรา เจ้าทำให้พินาศหมดแล้ว.
[๑๒๐๕] เมื่อแม่แพะวิงวอนอยู่อย่างนี้ เสือเหลืองผู้มีเลือดเป็นภักษาหารก็ขม้ำคอ วาจาสุภาษิตมิได้มีในบุคคลประทุษร้าย.
[๑๒๐๖] เหตุผล สภาพธรรม วาจาสุภาษิต มิได้มีในบุคคลผู้ประทุษร้ายเลย บุคคลพึงพยายามหลีกไปให้พ้นบุคคลผู้ประทุษร้าย ก็บุคคลผู้ประทุษร้าย นั้น ย่อมไม่ยินดีคำสุภาษิตของสัตบุรุษทั้งหลาย.

จบ ทีปิชาดกที่ ๑๐.

จบ กัจจานิวรรค. _________________ รวมชาดกที่มีในวรรคนี้ คือ ๑. กัจจานิชาดก ๒. อัฏฐสัททชาดก ๓. สุลสาชาดก ๔. สุมังคลชาดก ๕. คังคมาลชาดก๖. เจติยราชชาดก ๗. อินทริยชาดก ๘. อาทิตตชาดก ๙. อัฏฐานชาดก๑๐. ทีปิชาดก. จบ อัฏฐกนิบาตชาดก. _________________

นวกนิบาตชาดก

๑.คิชฌชาดก ผู้ไม่ทำตามคำสอนย่อมพินาศ


[๑๒๐๗] ทางบนคิชฌบรรพตชื่อว่า ปริสังกุปถะ เป็นของเก่าแก่ แร้งเลี้ยงดู มารดาบิดาผู้ชราอยู่ที่ทางนั้น.
[๑๒๐๘] โดยมากไปเที่ยวหามันข้นงูเหลือมมาให้มารดาบิดาเหล่านั้นกิน ฝ่ายบิดา รู้ว่าแร้งสุปัตผู้ลูกมีปีกแข็งแล้ว กล้าหาญ มักร่อนขึ้นไปสูง เที่ยวไป ไกลๆ จึงได้กล่าวสอนลูกว่า.
[๑๒๐๙] ลูกเอ๋ย เมื่อใด เจ้ารู้ว่าแผ่นดินอันทะเลล้อมรอบ กลมดังกงจักร ลอย อยู่บนน้ำเหมือนใบบัว เมื่อนั้น เจ้าจงกลับเสียจากที่นั้น อย่าบินต่อ จากนั้นไปอีกเลย.
[๑๒๑๐] แร้งสุปัตเป็นสัตว์มีกำลังมาก ปีกแข็ง ร่างกายสมบูรณ์ บินขึ้นไปถึง อากาศเบื้องบนโดยกำลังเร็ว เมื่อเหลียวกลับมาแลดูภูเขา และป่าไม้ ทั้งหลาย ฯ
[๑๒๑๑] ก็ได้แลเห็นแผ่นดินอันทะเลล้อมรอบ กลมดังกงจักร เหมือนกับคำที่ตน ได้ฟังมาจากสำนักแร้งผู้บิดา ฉะนั้น.
[๑๒๑๒] แร้งสุปัตนั้น ได้บินล่วงเลยที่นั้นขึ้นไปเบื้องหน้าอีก ยอดลมแรงได้ ประหารแร้งสุปัตผู้มีกำลังมากนั้นให้เป็นจุรณ์.
[๑๒๑๓] แร้งสุปัตบินเกินไป ไม่สามารถจะกลับจากที่นั้นได้อีก ตกอยู่ในอำนาจ ของลมเวรัพภาวาต ถึงความพินาศแล้ว.
[๑๒๑๔] เมื่อแร้งสุปัตไม่ทำตามโอวาทของบิดา บุตรภรรยา และแร้งอื่นๆ ที่ อาศัยเลี้ยงชีพ ก็พากันถึงความพินาศไปด้วยทั้งหมด.
[๑๒๑๕] แม้ในศาสนานี้ก็เหมือนกัน ภิกษุใดไม่เชื่อถ้อยฟังคำของผู้ใหญ่ ภิกษุ นั้นเป็นผู้ชื่อว่าล่วงศาสนา ดุจแร้งล่วงเขตแดน ฉะนั้น ผู้ไม่ทำตามคำ สอนของท่านผู้ใหญ่ ย่อมถึงความพินาศทั้งหมด.

จบ คิชฌชาดกที่ ๑.

๒. โกสัมพิยชาดก อยู่คนเดียวดีกว่าร่วมกับคนพาล


[๑๒๑๖] คนพาลมีเสียงอื้ออึงเหมือนกันหมด สักคนหนึ่งก็ไม่รู้สึกตนว่าเป็นคน พาล เมื่อสงฆ์แตกกัน ก็ไม่รู้เหตุอื่นโดยยิ่งกว่าสงฆ์แตกกันเพราะเรา.
[๑๒๑๗] เพราะเป็นคนมีสติหลงลืม ยังพูดว่าตนเป็นบัณฑิต มีวาจาเป็นโคจร ช่าง พูด ย่อมปรารถนาจะให้เสียงออกจากปากอยู่เพียงใด ก็พูดไปเพียงนั้น เขาถูกความทะเลาะนำไปแล้ว ยังไม่รู้ว่าการทะเลาะนั้นเป็นโทษ.
[๑๒๑๘] ก็ชนเหล่าใดเข้าไปผูกความโกรธนั้นไว้ว่า คนโน้นด่าเรา คนโน้นได้ตี เรา คนโน้นได้ชำนะเรา คนโน้นได้ลักของๆ เรา เวรของชนเหล่านั้น ย่อมไม่ระงับเลย.
[๑๒๑๙] ส่วนชนเหล่าใดไม่เข้าไปผูกความโกรธนั้นไว้ว่า คนโน้นด่าเรา คนโน้น ได้ตีเรา คนโน้นได้ชำนะเรา คนโน้นได้ลักของๆ เรา เวรของชน เหล่านั้นย่อมระงับไป.
[๑๒๒๐] ในกาลไหนๆ เวรในโลกนี้ย่อมไม่ระงับเพราะเวรเลย แต่ย่อมระงับ เพราะความไม่มีเวร ธรรมนี้เป็นของเก่า.
[๑๒๒๑] ก็ชนเหล่าอื่นย่อมไม่รู้สึกว่า พวกเราจะพากันยุบยับในท่ามกลางสงฆ์นี้ ฝ่ายชนเหล่าใดในหมู่นั้นย่อมรู้สึกได้ ความหมายมั่นกันย่อมสงบระงับ ไป เพราะการทำไว้ในใจโดยแยบคายของชนเหล่านั้น.
[๑๒๒๒] คนที่ปล้นแว่นแคว้น ชิงทรัพย์สมบัติตัดกระดูกกัน ปลงชีวิตกัน ก็ ยังกลับสามัคคีกันได้ เหตุไรเธอทั้งหลายจึงไม่สามัคคีกันเล่า?
[๑๒๒๓] ถ้าจะพึงได้สหายผู้มีปัญญา เป็นนักปราชญ์เที่ยวไปร่วมกัน ผู้มีปกติ อยู่ด้วยกรรมดี พึงครอบงำอันตรายทั้งปวงเสีย แล้วดีใจ มีสติเที่ยวไป กับสหายนั้น.
[๑๒๒๔] ถ้าไม่พึงได้สหายผู้มีปัญญา เป็นนักปราชญ์เที่ยวไปร่วมกัน ผู้มีปกติ อยู่ด้วยกรรมดี พึงเที่ยวไปแต่ผู้เดียว เหมือนพระราชาทรงสละ แว่นแคว้นเสด็จไปแต่พระองค์เดียว หรือเหมือนช้างมาตังคะเที่ยวไปใน ป่าแต่เชือกเดียว ฉะนั้น.
[๑๒๒๕] การเที่ยวไปผู้เดียวประเสริฐกว่า เพราะคุณเครื่องความเป็นสหายย่อมไม่ มีในคนพาล ควรเที่ยวไปแต่ผู้เดียวแต่ไม่ควรทำบาป เหมือนช้างมาตังคะ มีความขวนขวายน้อย เที่ยวไปในป่า ไม่ทำกรรมชั่ว ฉะนั้น.

จบ โกสัมพิยชาดกที่ ๒.

๓. มหาสุวราชชาดก ว่าด้วยสหายย่อมไม่ละทิ้งสหาย


[๑๒๒๖] เมื่อใด ต้นไม้มีผลบริบูรณ์ เมื่อนั้น ฝูงนกย่อมพากันมามั่วสุมบริโภค ผลไม้ต้นนั้น ครั้นรู้ว่าต้นไม้นั้นสิ้นผลแล้ว ฝูงนกก็พากันจากต้นไม้นั้น บินไปสู่ทิศน้อยทิศใหญ่.
[๑๒๒๗] ดูกรนกแขกเต้าผู้มีจะงอยปากแดง ท่านจงเที่ยวจาริกไปเถิด อย่ามาตาย เสียเลย ทำไมท่านจึงซบเซาอยู่ที่ต้นไม้แห้ง แน่ะนกแขกเต้าผู้มีขนเขียว ดังไพรสณฑ์ในฤดูฝน ขอเชิญท่านบอกเถิด เหตุไรท่านจึงไม่ทิ้งต้นไม้ แห้งไป?
[๑๒๒๘] ดูกรพญาหงส์ ชนเหล่าใดเป็นเพื่อนของเพื่อนทั้งหลาย ในคราวร่วม สุขทุกข์จนตลอดชีวิต ชนเหล่านั้นเป็นสัตบุรุษ ระลึกถึงธรรมของ สัตบุรุษ ย่อมละทิ้งสหายผู้สิ้นทรัพย์ หรือยังไม่สิ้นทรัพย์ไปไม่ได้เลย.
[๑๒๒๙] ดูกรพญาหงส์ เราก็เป็นผู้หนึ่งในบรรดาสัตบุรุษทั้งหลาย ต้นไม้นี้เป็น ทั้งญาติเป็นทั้งเพื่อนของเรา เราต้องการเพียงเพื่อเป็นอยู่ จึงไม่อาจละทิ้ง ต้นไม้นั้นไปได้ การที่จะละทิ้งไปเพราะมารู้ว่าต้นไม้นั้นสิ้นผลแล้ว ไม่ ยุติธรรมเลย.
[๑๒๓๐] ดูกรปักษี ความเป็นสหาย ความไมตรี ความสนิทสนมกัน ท่านทำ ได้เป็นอย่างดีแล้ว ถ้าท่านชอบธรรมนี้ ท่านก็เป็นผู้ควรที่วิญญูชนทั้ง หลายพึงสรรเสริญ.
[๑๒๓๑] ดูกรนกแขกเต้าผู้มีปีกเป็นยาน มีคอโค้งเป็นสง่า เราจะให้พรแก่ท่าน ท่านจงเลือกเอาพรตามใจปรารถนาเถิด.
[๑๒๓๒] ดูกรพญาหงส์ ถ้าท่านจะให้พรแก่เรา ขอต้นไม้นี้พึงได้มีอายุต่อไป ต้นไม้นั้นจงมีกิ่งมีผลงอกงามดี มีผลมีรสหวาน เหมือนน้ำผึ้งตั้งอยู่อย่าง งามสง่าเถิด.
[๑๒๓๓] ดูกรสหาย ท่านจงดูต้นไม้นั้นมีผลมากมาย ขอให้ท่านได้อยู่ร่วมกับต้นมะ เดื่อของท่าน ขอให้ต้นมะเดื่อนั้นจงมีกิ่งก้านมีผลงอกงามดีมีผลมีรส หวานเหมือนน้ำผึ้งตั้งอยู่อย่างงามสง่า.
[๑๒๓๔] ข้าแต่ท้าวสักกะ ขอให้พระองค์ทรงพระเจริญสุขพร้อมกับพระญาติทั้ง ปวง เหมือนข้าพระบาทมีความสุข เพราะได้เห็นต้นไม้เผล็ดผลในวันนี้ ฉะนั้นเถิด.
[๑๒๓๕] ท้าวสักกเทวราช ได้ฟังคำของนกแขกเต้า ทรงทำต้นไม้ให้มีผลแล้ว เสด็จกลับไปสู่เทพนันทวันพร้อมกับมเหสี.

จบ มหาสุวราชชาดกที่ ๓.

๔. จุลลสุวกราชชาดก ว่าด้วยผู้รักษาไมตรี


[๑๒๓๖] ต้นไม้ทั้งหลายมีใบเขียว มีผลดก มีอยู่เป็นอันมาก เหตุไรพญานก แขกเต้าจึงมีใจยินดีในไม้แห้งผุเล่า?
[๑๒๓๗] เราได้กินผลแห่งต้นไม้นี้นับได้หลายปีมาแล้ว ถึงเราจะรู้ว่าต้นไม้นั้นไม่มี ผลแล้ว ก็ต้องรักษาไมตรีให้เหมือนในกาลก่อน.
[๑๒๓๘] นกทั้งหลายย่อมละทิ้งต้นไม้แห้งผุ ไม่มีใบ ไม่มีผลไป แน่ะนกแขกเต้า ท่านเห็นโทษอะไรหรือ?
[๑๒๓๙] นกเหล่าใด คบหากันเพราะต้องการผลไม้ ครั้นรู้ว่าต้นไม้นี้ไม่มีผลแล้ว ก็ละทิ้งต้นไม้นั้นไปเสีย นกเหล่านั้นโง่เขลา มีความรู้เพื่อประโยชน์ ของตนเท่านั้น มักทำฝักใฝ่แห่งมิตรภาพให้ตกไป.
[๑๒๔๐] ดูกรปักษี ความเป็นสหาย ความไมตรี ความสนิทสนมกัน ท่านทำ ไว้เป็นอย่างดีแล้ว ถ้าท่านชอบธรรมนี้ ท่านก็เป็นผู้ควรที่วิญญูชน ทั้งหลายพึงสรรเสริญ.
[๑๒๔๑] ดูกรนกแขกเต้าผู้มีปีกเป็นยาน มีคอโค้งเป็นสง่า เราจะให้พรแก่ท่าน ท่านจงเลือกเอาพรตามใจปรารถนาเถิด.
[๑๒๔๒] ไฉนข้าพเจ้าจะพึงได้เห็นต้นไม้นั้นกลับมีใบมีผลอีกเล่า ข้าพเจ้าจะยินดี ที่สุด เหมือนคนจนได้ขุมทรัพย์ ฉะนั้น.
[๑๒๔๓] ลำดับนั้น ท้าวสักกเทวราชทรงวักน้ำอมฤตมาประพรมต้นไม้นั้น กิ่งก้าน แห่งต้นไม้นั้นก็งอกงาม มีร่มเงาชุ่มชื่นน่ารื่นรมย์ใจ.
[๑๒๔๔] ข้าแต่ท้าวสักกเทวราช ขอพระองค์ทรงพระเจริญสุขพร้อมด้วยพระญาติ ทั้งปวง เหมือนข้าพระบาทมีความสุข เพราะได้เห็นต้นไม้เมล็ดผลใน วันนี้ ฉะนั้นเถิด.
[๑๒๔๕] ท้าวสักกเทวราชได้ทรงฟังคำของนกแขกเต้า ทรงทำต้นไม้ให้มีผล แล้ว เสด็จกลับไปสู่เทพนันทวันพร้อมกับพระมเหสี.

จบ จุลลสุวกราชชาดกที่ ๔.

๕. หริตจชาดก ว่าด้วยกิเลสที่มีกำลังกล้า


[๑๒๔๖] ข้าแต่มหาพราหมณ์ โยมได้ยินเขาพูดกันว่า หาริตดาบสบริโภคกาม คำนี้ ไม่เป็นจริงกระมัง ท่านยังเป็นผู้บริสุทธิ์อยู่แลหรือ?
[๑๒๔๗] ขอถวายพระพรมหาบพิตร คำที่พระองค์ทรงสดับมาแล้วอย่างใด คำนั้น ก็เป็นจริงอย่างนั้น อาตมภาพเป็นผู้หมกมุ่นอยู่ในอารมณ์อันเป็นที่ตั้งแห่ง ความหลง เดินทางผิดแล้ว.
[๑๒๔๘] ปัญญาอันละเอียด คิดสิ่งที่เป็นประโยชน์ ไม่เป็นเครื่องให้ใจบรรเทา ราคะที่เกิดแล้วของท่าน มีไว้เพื่อประโยชน์อะไร?
[๑๒๔๙] ขอถวายพระพรมหาบพิตร กิเลส ๔ อย่างนี้ คือ ราคะ โทสะ โมหะ มทะ เป็นของมีกำลังกล้าหยาบคายในโลก เมื่อกิเลสเหล่าใดรึงรัดแล้ว ปัญญา ก็ย่อมหยั่งไม่ถึง.
[๑๒๕๐] โยมได้ยกย่องท่านแล้วว่า หาริตดาบสเป็นพระอรหันต์ สมบูรณ์ด้วย ศีล ประพฤติบริสุทธิ์ เป็นบัณฑิต มีปัญญา.
[๑๒๕๑] ขอถวายพระพรมหาบพิตร วิตกอันลามก เป็นไปด้วยการยึดถือนิมิต ว่างาม ประกอบด้วยราคะ ย่อมเบียดเบียนแม้ผู้มีปัญญายินดีแล้วใน คุณธรรมของฤาษี.
[๑๒๕๒] ราคะนี้เกิดขึ้นในสรีระ เกิดขึ้นมาแล้วเป็นของทำลายวรรณะ ท่านจงละ ราคะนั้นเสีย โยมขอนอบน้อมท่าน ท่านเป็นผู้อันชนหมู่มากยกย่อง แล้วว่าเป็นคนมีปัญญา.
[๑๒๕๓] กามเหล่านั้นทำแต่ความมืดให้ มีทุกข์มาก มีพิษใหญ่หลวง อาตมภาพจัก ค้นหามูลรากแห่งกามเหล่านั้น จักตัดราคะพร้อมทั้งเครื่องผูกเสีย.
[๑๒๕๔] ครั้นหาริตฤาษีกล่าวอย่างนี้แล้ว มีความบากบั่นอย่างแท้จริง คลายกาม ราคะได้แล้ว ได้เป็นผู้เข้าถึงพรหมโลก.

จบ หริตจชาดกที่ ๕.

๖. ปทกุศลมาณวชาดก ว่าด้วยภัยที่เกิดแต่ที่พึ่งอาศัย


[๑๒๕๕] แม่น้ำคงคา ย่อมพัดพาเอามาณพชื่อปาฏลีผู้มีถ้อยคำอันไพเราะ ได้ศึกษา มามาก ให้ลอยไป ข้าแต่นายผู้ถูกน้ำพัดไป ขอความเจริญจงมีแก่ท่าน ขอท่านจงให้เพลงขับบทน้อยๆ แก่ข้าพเจ้าสักบทหนึ่งเถิด.
[๑๒๕๖] ชนทั้งหลายย่อมรดบุคคล ผู้ที่ได้รับความทุกข์ด้วยน้ำใด ชนทั้งหลาย ย่อมรดบุคคลผู้เร่าร้อนด้วยน้ำใด เราก็จักตายในท่ามกลางน้ำนั้น ภัย เกิดขึ้นแต่ที่พึ่งอาศัยแล้ว.
[๑๒๕๗] พืชทั้งหลายงอกงามขึ้นได้บนแผ่นดินใด สัตว์ทั้งหลายดำรงอยู่ได้บน แผ่นดินใด แผ่นดินนั้นก็ทำลายศีรษะของเราแตก ภัยเกิดขึ้นแต่ที่พึ่ง อาศัยแล้ว.
[๑๒๕๘] ชนทั้งหลายย่อมหุงข้าวด้วยไฟใด และกำจัดความหนาวด้วยไฟใด ไฟ นั้นก็มาลวกตัวของเรา ภัยเกิดขึ้นแต่ที่พึ่งอาศัยแล้ว.
[๑๒๕๙] พราหมณ์และกษัตริย์ทั้งหลายเป็นจำนวนมาก ย่อมเลี้ยงชีพด้วยข้าวสุข ใด ข้าวสุขที่เรากินแล้ว ก็มาทำเราให้ถึงความพินาศ ภัยเกิดขึ้นแต่ที่พึ่ง อาศัยแล้ว.
[๑๒๖๐] บัณฑิตทั้งหลายย่อมปรารถนาลมในเดือนท้ายแห่งฤดูร้อน ลมนั้นมาพัด ประหารตัวเรา ภัยเกิดขึ้นแต่ที่พึ่งอาศัยแล้ว.
[๑๒๖๑] นกทั้งหลายพากันอาศัยต้นไม้ใด ต้นไม้นั้นก็พ่นไฟออกมา นกทั้งหลาย พากันหลบหนีไป ภัยเกิดขึ้นแต่ที่พึ่งอาศัยแล้ว.
[๑๒๖๒] เรานำเอาหญิงใดผู้มีความโสมนัส ผู้ทัดทรงดอกไม้ มีกายอันประพรม ด้วยจันทน์เหลืองมา หญิงนั้นขับไล่เราให้ออกจากเรือน ภัยเกิดขึ้นแต่ ที่พึ่งอาศัยแล้ว.
[๑๒๖๓] เราชื่นชมยินดีด้วยบุตรใด และเราปรารถนาความเจริญให้แก่บุตรใด บุตร นั้นก็มาขับไล่เราออกจากเรือน ภัยเกิดขึ้นแต่ที่พึ่งอาศัยแล้ว.
[๑๒๖๔] ชาวชนบท และชาวนิคมผู้มาประชุมกันแล้วขอจงฟังข้าพเจ้า น้ำมีในที่ ใด ไฟก็มีในที่นั้น ความเกษมสำราญบังเกิดขึ้นแต่ที่ใด ภัยก็บังเกิด ขึ้นแต่ที่นั้น พระราชา และพราหมณ์ปุโรหิต ย่อมพากันปล้นรัฐเสีย เอง ท่านทั้งหลายจงพากันรักษาตนของตนอยู่เถิด ภัยเกิดขึ้นแต่ที่พึ่ง อาศัยแล้ว.

จบ ปทกุศลมาณวชาดกที่ ๖.

๗. โลมสกัสสปชาดก ว่าด้วยตบะเป็นคุณธรรมอันประเสริฐ


[๑๒๖๕] ถ้าท่านนำเอาฤาษีชื่อโลมสกัสสปะมาบูชายัญได้ ท่านพึงได้เป็นพระราชา เสมอด้วยพระอินทร์ไม่รู้แก่ไม่รู้ตายเลย.
[๑๒๖๖] อาตมาไม่ปรารถนาแผ่นดินซึ่งมีสมุทรล้อมรอบ มีสาครเป็นขอบเขต พร้อมกับความนินทา ดูกรไสยหะ ท่านจงทราบอย่างนี้เถิด.
[๑๒๖๗] ดูกรพราหมณ์ เราติเตียนการได้ยศ การได้ทรัพย์ และความประพฤติ อันไม่เป็นธรรม มีแต่จะให้ถึงความพินาศ.
[๑๒๖๘] ถึงแม้จะเป็นบรรพชิตต้องอุ้มบาตรหาเลี้ยงชีพ ความเป็นอยู่นั่นแหละดี กว่า การแสวงหาโดยไม่เป็นธรรมจะดีอะไร.
[๑๒๖๙] ถึงแม้จะเป็นบรรพชิตต้องอุ้มบาตรหาเลี้ยงชีพ แต่ไม่เบียดเบียนผู้อื่น ความเป็นอยู่นั่นแหละประเสริฐกว่าความเป็นพระราชาในโลก.
[๑๒๗๐] พระจันทร์มีกำลัง พระอาทิตย์มีกำลัง สมณะและพราหมณ์มีกำลัง ฝั่ง แห่งสมุทรก็มีกำลัง หญิงก็มีกำลังยิ่งกว่ากำลังทั้งหลาย.
[๑๒๗๑] เพราะพระนางจันทวดีทำให้ฤาษีชื่อโลมสกัสสปะ ผู้มีตบะกล้ามาบูชายัญ เพื่อประโยชน์แก่พระราชบิดาได้.
[๑๒๗๒] กรรมที่บุคคลทำด้วยความโลภนั้น เป็นกรรมเผ็ดร้อน มีกามเป็นเหตุ เราจักค้นหามูลรากแห่งกรรมนั้น จักตัดราคะพร้อมทั้งเครื่องผูกเสีย.
[๑๒๗๓] ดูกรมหาบพิตร อาตมภาพติเตียนกามคุณทั้งหลายในโลกมากมาย ตบะ ธรรมเท่านั้นเป็นคุณธรรมอันประเสริฐกว่ากามคุณทั้งหลาย อาตมภาพจัก เลิกละกามคุณทั้งหลายเสียแล้ว บำเพ็ญตบะ รัฐก็ดี พระนางจันทวดี ก็ดี จงเป็นของพระองค์ตามเดิมเถิด.

จบ โลมสกัสสปชาดกที่ ๗.

๘. จักกวากชาดก ว่าด้วยความเป็นอยู่ของนกจักรพราก


[๑๒๗๔] ข้าพเจ้าขอถามนกทั้งหลาย ผู้มีสีดังคลุมด้วยผ้าย้อมน้ำฝาด มีใจเพลิด เพลินเที่ยวอยู่ นกทั้งหลายย่อมสรรเสริญชาติของนกอะไรในหมู่มนุษย์ ทั้งหลาย ขอเชิญท่านทั้งสองบอกนกนั้นแก่ข้าพเจ้าเถิด?
[๑๒๗๕] ดูกรท่านผู้เบียดเบียนมนุษย์ ในหมู่มนุษย์ทั้งหลาย นกทั้งหลายย่อมกล่าว ถึงข้าพเจ้าผู้มีชื่อว่านกจักรพราก ติดต่อกันมาว่า ในบรรดานกทั้งหลาย เขายกย่องกันว่า เราเป็นนกที่มีความงดงาม (เราเป็นนกมีรูปร่างงดงาม เที่ยวอยู่ที่สระ) เรามิได้ทำบาปแม้เพราะเหตุแห่งอาหาร.
[๑๒๗๖] ดูกรนกจักรพราก ท่านทั้งหลายกินผลไม้อะไรที่สระนี้ หรือว่าท่านกินเนื้อ ที่ไหน หรือว่าท่านกินโภชนาหารอะไร กำลังและวรรณะของท่านจึงไม่ เสื่อมทรามผิดรูปไป?
[๑๒๗๗] ดูกรกา ที่สระนี้จะมีผลไม้ก็หาไม่ เนื้อที่นกจักรพรากจะกิน ก็มิได้มีที่ ไหน เราจะกินแต่สาหร่ายกับน้ำ (เรามิได้ทำบาปแม้เพราะเหตุแห่งอาหาร) เราเป็นนกมีรูปร่างงดงามเที่ยวอยู่ที่สระนี้.
[๑๒๗๘] ดูกรนกจักรพราก อาหารที่ท่านกินนี้เราไม่ชอบใจ อาหารที่ท่านกินใน ภพนี้อย่างไร ท่านก็คล้ายกันกับอาหารนั้น ครั้งก่อนเราเคยเป็นอย่างนี้มา แล้ว แต่บัดนี้เรากลายเป็นอย่างอื่นไป ด้วยเหตุนี้แหละ เราจึงเกิด ความสงสัยในสีกายของท่าน.
[๑๒๗๙] แม้เราได้กินเนื้อ ผลไม้ และข้าวคลุกด้วยเกลือเจือด้วยน้ำมัน เรา ได้กินอาหารมีรสที่เขากินกันในหมู่มนุษย์ จึงได้กล้าหาญเข้าต่อสู่สงคราม ได้ ดูกรนกจักรพราก แต่สีสันวรรณะของเราหาได้เหมือนของท่านไม่.
[๑๒๘๐] ดูกรกา ท่านเป็นผู้กินอาหารไม่บริสุทธิ์ มักจะโฉบลงในขณะที่เขา พลั้งเผลอ จะได้กินข้าวน้ำก็โดยยาก ผลไม้ทั้งหลายท่านก็ไม่ชอบใจกิน หรือเนื้อในกลางป่าช้าท่านก็ไม่ชอบใจกิน.
[๑๒๘๑] ดูกรกา ผู้ใดอาศัยบริโภคโภคสมบัติด้วยกรรมอันสาหัส มักจะโฉบ ลงในขณะที่เขาพลั้งเผลอ ภายหลังสภาวธรรมก็ย่อมติเตียนผู้นั้น ผู้นั้น ถูกสภาวธรรมติเตียนแล้ว ก็ย่อมละทิ้งสีและกำลังเสีย.
[๑๒๘๒] ถ้าผู้ใดได้บริโภคอาหารแม้สักนิดหน่อย ซึ่งเป็นของเย็นไม่เบียดเบียน ผู้อื่นด้วยกรรมอันผลุนผลัน กำลังกายและวรรณะก็ย่อมมีแก่ผู้นั้น วรรณะทั้งปวงจะได้มีแก่ผู้นั้นด้วยอาหารมีประการต่างๆ เท่านั้นก็หาไม่.

จบ จักกวากชาดกที่ ๘.

๙. หลิททราคชาดก ว่าด้วยลักษณะของผู้ที่จะคบ


[๑๒๘๓] ความอดทนด้วยดีอยู่ในป่า อันมีที่นอนและที่นั่งสงัดเงียบ จะมีผล ดีอะไร ส่วนชนเหล่าใดอดทนอยู่ในบ้าน ชนเหล่านั้นเป็นผู้ประเสริฐ กว่าท่าน.
[๑๒๘๔] คุณพ่อครับ ผมออกจากป่าไปถึงบ้านแล้ว จะพึงคบหาบุรุษมีศีล อย่างไร มีวัตรอย่างไร ผมถามคุณพ่อแล้ว ขอคุณพ่อช่วยบอกข้อนั้น แก่ผมด้วย?
[๑๒๘๕] ลูกเอ๋ย ผู้ใดพึงคุ้นเคยกับเจ้า อดทนต่อความวิสาสะของเจ้าได้ เป็นผู้ตั้งใจฟังคำพูดของเจ้า และอดทนต่อคำพูดของเจ้าได้ เจ้าไปจากที่ นี้แล้วจงคบผู้นั้นเถิด.
[๑๒๘๖] ผู้ใดไม่มีกรรมชั่วด้วยกาย วาจา ใจ เจ้าไปจากที่นี้แล้วจงตั้งตน เหมือนลูกที่เกิดแต่อกของผู้นั้น แล้วจงคบผู้นั้นเถิด.
[๑๒๘๗] อนึ่ง ผู้ใดย่อมประพฤติโดยธรรม แม้เมื่อประพฤติอยู่ก็ไม่ถือตัว เจ้า ไปจากที่นี้แล้วจงคบผู้นั้นผู้กระทำกรรมอันบริสุทธิ์มีปัญญาเถิด.
[๑๒๘๘] ลูกเอ๋ย เจ้าอย่าคบบุรุษผู้มีจิตกลับกลอกดุจผ้าที่ย้อมด้วยน้ำขมิ้น รัก ง่ายหน่ายเร็ว ถึงแม้ว่าพื้นชมพูทวีปจะพึงไร้มนุษย์.
[๑๒๘๙] เจ้าจงเว้นคนเช่นนั้นเสียให้ห่างไกล เหมือนบุคคลผู้ละเว้นอสรพิษ ที่ดุร้าย เหมือนบุคคลผู้ละเว้นหนทางที่เปื้อนคูถ และเหมือนบุคคลผู้ไป ด้วยยานละเว้นหนทางขรุขระ ฉะนั้น.
[๑๒๙๐] ลูกเอ๋ย ความฉิบหายย่อมเจริญแก่บุคคลผู้คบหาคนพาล เจ้าอย่า สมาคมกับคนพาลเลย การอยู่ร่วมกับคนพาล เป็นทุกข์ทุกเมื่อ ดังอยู่ ร่วมกับศัตรู ฉะนั้น.
[๑๒๙๑] ลูกเอ๋ย เพราะเหตุนั้น พ่อจึงขอร้องเจ้า ขอเจ้าจงกระทำตามถ้อย คำของพ่อ เจ้าอย่าสมาคมกับคนพาลเลย เพราะการสมาคมกับคนพาล เป็นทุกข์.

จบ หลิททราคชาดกที่ ๙.

๑๐. สมุคคชาดก เปรียบหญิงมีอาการคล้ายก้นเหว


[๑๒๙๒] ดูกรท่านผู้เจริญ ท่านทั้งสามคนพากันมาจากที่ไหนหนอ ท่าน ทั้งหลายมาดีแล้ว เชิญมานั่งที่อาสนะนี้เถิด ท่านผู้เจริญทั้งหลายเห็นจะ จะสุขสบายดี ไม่มีความป่วยไข้กระมัง นานมาแล้ว ท่านทั้งหลายพึ่ง มาในที่นี้?
[๑๒๙๓] เราคนเดียวเท่านั้นมาถึงที่นี้ในวันนี้เอง อนึ่ง ใครที่จะเป็นคนที่สอง ของเราก็ไม่มี ข้าแต่พระฤาษี คำที่ท่านกล่าวว่า ดูกรท่านผู้เจริญ ท่าน ทั้งสามคนพากันมาจากที่ไหนหนอ ดังนี้ หมายถึงอะไร?
[๑๒๙๔] ท่านคนหนึ่ง และภรรยาที่รักของท่านที่ท่านใส่ไว้ในสมุคคนหนึ่ง ภรรยา ที่ท่านรักษาไว้ในท้องของท่านทุกเมื่อ ยินดีอยู่กับวิชาธรชื่อว่าวายุบุตร ภายในท้องของท่านนั้นอีกคนหนึ่ง.
[๑๒๙๕] อสูรนั้นอันฤาษีชี้แจงให้ฟังแล้ว ก็เกิดความสลดใจ จึงคายสมุค ออกมา ณ ที่นั้น ได้เห็นภรรยาผู้ทัดทรงดอกไม้อันสะอาด ยินดีอยู่กับ วิชาธรชื่อว่าวายุบุตร ในสมุคที่อยู่ในท้องของตนนั้น.
[๑๒๙๖] เหตุอันนี้ ท่านผู้ประพฤติตบะชั้นสูงเห็นดีแล้ว นรชนเหล่าใดเป็น คนเลวทราม ตกอยู่ในอำนาจแห่งความชื่นชมยินดี นรชนเหล่านั้นได้ แก่ตัวเราเอง เพราะว่าภรรยาที่เรารักษาไว้ในท้องเพียงดังชีวิต กลับมา ประทุษร้ายเรา ไปชื่นชมยินดีกะบุรุษอื่น.
[๑๒๙๗] ภรรยานั้นเราบำรุงบำเรอทั้งกลางวันกลางคืน ดุจไฟอันโชติช่วงที่ดาบสผู้มี ตบะอยู่ในป่าบำเรอฉะนั้น ภรรยานั้นก้าวล่วงธรรมมาประพฤติสิ่งที่ไม่ เป็นธรรม กายเชยชิดสนิทสนมกับภรรยาผู้ร่าเริง เราไม่ควรทำเลย.
[๑๒๙๘] เรามาสำคัญเสียว่า ภรรยาอยู่ในท่ามกลางสรีระ และมาสำคัญหญิง ผู้ไม่มีความสงบไม่สำรวมว่า หญิงนี้เป็นภรรยาของเรา ภรรยาของเรานั้น ก้าวล่วงธรรมมาประพฤติสิ่งที่ไม่เป็นธรรม การเชยชิดสนิทสนมกับภรรยา ผู้ร่าเริง เราไม่ควรทำเลย.
[๑๒๙๙] บัณฑิตจะพึงวางใจอย่างไรได้ว่า หญิงนี้เรารักษาไว้ดีแล้ว วิธีที่จะ ป้องกันรักษาหญิงผู้มีหลายใจ ไม่พึงมีโดยแท้ เพราะว่าหญิงเหล่านั้นมี อาการคล้ายก้นเหวที่เรียกกันว่าบาดาล บุรุษผู้ประมาทในหญิงเหล่านั้น ย่อมถึงความพินาศทั้งนั้น.
[๑๓๐๐] เพราะเหตุนั้นแหละ ชนเหล่าใดไม่เที่ยงคลุกคลีกับมาตุคาม ชนเหล่า นั้นมีความสุขปราศจากความโศก ความประพฤติไม่คลุกคลีกับมาตุคามนี้ เป็นคุณนำความสุขมาให้ บุคคลผู้ปรารถนาความเกษมอันอุดม ไม่พึงทำ ความเชยชิดสนิทสนมกับมาตุคามเลย.

จบ สมุคคชาดกที่ ๑๐.

๑๑. ปูติมังสชาดก โทษของการมองในเวลาที่ไม่ควรมอง


[๑๓๐๑] ดูกรสหาย การมองดูของสุนัขจิ้งจอกชื่อว่าปูติมังสะ เราไม่พอใจ เสียเลย พึงละเว้นจากสหายเช่นนี้เสียให้ห่างไกล.
[๑๓๐๒] นางสุนัขจิ้งจอกชื่อว่าเวนินี้เป็นบ้าไปได้ ย่อมพรรณนาถึงนางแพะ ผู้เป็นสหายให้ผัวฟัง ครั้นนางแพะถอยหลังกลับไปไม่มา ก็นั่งซบเซา ถึงนางแพะผู้มาแล้วถอยหลังกลับไปเสีย.
[๑๓๐๓] ดูกรสหาย ท่านนั้นแหละบ้า มีปัญญาทราม ไม่มีปัญญาเครื่องใคร่ ครวญ ท่านทำอุบายล่อลวงว่าตาย ย่อมมองดูโดยกาลอันไม่ควร.
[๑๓๐๔] บัณฑิตไม่ควรมองดูในกาลอันไม่ควร ควรมองดูแต่ในกาลอันควร ผู้ใด มองดูในกาลอันไม่ควร ผู้นั้นย่อมซบเซา ดังสุนัขจิ้งจอกชื่อปูติมังสะ ฉะนั้น.
[๑๓๐๕] ดูกรสหาย ฉันมีความรัก ท่านจงให้ความอิ่มแก่ฉัน สามีของฉัน กลับฟื้นขึ้น ถ้าท่านรักฉันจงมาไปกับฉันเถิด.
[๑๓๐๖] ดูกรสหาย ท่านมีความรักฉันจริง ฉันจะให้ความอิ่มเอิบแก่ท่าน ฉันจักมาพร้อมด้วยบริวารเป็นอันมาก ท่านจงจัดแจงโภชนาหารไว้เถิด.
[๑๓๐๗] บริวารของท่านเช่นไร ฉันจักจัดแจงโภชนาหารเพื่อบริวารเหล่าใด ก็ บริวารเหล่านั้นทั้งหมดมีชื่อว่าอย่างไร ฉันถามท่านถึงบริวารท่าน จงบอก ฉันไปเถิด.
[๑๓๐๘] บริวารของฉันเช่นนี้ คือ สุนัขชื่อมาลิยะ ๑ ชื่อจตุรักขะ ๑ ชื่อปิงคิยะ ๑ ชื่อชัมพุกะ ๑ ท่านจงจัดแจงโภชนาหารไว้เพื่อบริวารเหล่านั้นเถิด.
[๑๓๐๙] เมื่อท่านออกจากเรือนไป แม้สิ่งของก็จักพินาศหมด คำพูดของสหาย มิได้มีความรังเกียจ ท่านจงอยู่ในที่นี้เถิด อย่าไปเลย.

จบ ปูติมังสชาดกที่ ๑๑.

๑๒. ทัททรชาดก คนอกตัญญู ไม่รู้จักบุญคุณคนอื่น


[๑๓๑๐] ผู้ใดเจ้าให้ข้าวหุงกิน กลับกินลูกทั้งสองของเจ้าซึ่งมิได้มีความผิดเลย เจ้าจงวางเขี้ยวลงบนผู้นั้น อย่าปล่อยให้มันมีชีวิตอยู่ต่อไปเลย.
[๑๓๑๑] บุรุษผู้มีความหยาบช้าร้ายแรง ผู้ลบหลู่ชิ้นผ้าที่ตนนุ่งอยู่ ฉันไม่ขอเห็น มันเลย ฉันจะวางเขี้ยวลงในบุรุษใดเล่า?
[๑๓๑๒] อันบุรุษผู้อกตัญญู มักคอยแสวงหาโอกาสอยู่เป็นนิตย์ ถึงจะพึงให้แผ่น ดินทั้งปวง ก็ไม่พึงทำให้บุรุษนั้นชื่นชมยินดีได้เลย.
[๑๓๑๓] ดูกรเสือโคร่งชื่อสุพาหุ เพราะเหตุไรหนอท่านจึงรีบด่วนกลับมาพร้อมกับ มาณพ กิจที่เป็นประโยชน์อะไรของท่านมีอยู่ในที่นี้ เราขอถามท่านถึง กิจอันเป็นประโยชน์นั้น ท่านจงบอกแก่เรา?
[๑๓๑๔] นกกระทาผู้มีรูปงามตัวใด ซึ่งเป็นสหายของท่าน เราสงสัยว่านกกระทา ตัวนั้นจะถูกฆ่าเสียแล้วในวันนี้ เราได้ฟังเหตุอันเกี่ยวเนื่องด้วยการ กระทำของบุรุษนั้น จึงมิได้สำคัญว่านกกระทาตัวนั้นจะอยู่เป็นสุขในวันนี้.
[๑๓๑๕] ท่านได้ฟังเหตุอะไรอันเกี่ยวเนื่องด้วยการกระทำของบุรุษนี้ ในความ ประพฤติเลี้ยงชีพของบุรุษนี้ หรือท่านได้ฟังคำปฏิญาณอะไรของบุรุษนี้ จึงสงสัยว่า นกกระทาถูกมาณพนี้ ฆ่าเสียแล้ว
[๑๓๑๖] การค้าขายอันเป็นของชาวเมืองกลิงครัฐ บุรุษนี้ก็ได้ประพฤติมาแล้ว แม้ หนทางที่มีหลักตอ บุรุษนี้ก็ได้ประพฤติท่องเที่ยวไปด้วยการจ้างออน การ ฟ้อนรำขับร้องร่วมกับคนฟ้อนทั้งหลาย บุรุษนี้ก็ได้ประพฤติมา ถึงการ รบกันด้วยท่อนไม้ในท่ามกลางมหรสพ บุรุษนี้นี้ก็ได้เคยรบมาแล้ว.
[๑๓๑๗] นกทั้งหลายบุรุษนี้ก็ได้ดักมาแล้ว การตวงข้าวเปลือกด้วยเครื่องตวง บุรุษ นี้ก็ได้ตวงมาแล้ว สกาบุรุษนี้ก็ได้ชนะมาแล้ว ความสำรวมระวังบุรุษนี้ ก็ก้าวล่วงเสีย เลือดที่ไหลออกมาตั้งครึ่งคืนบุรุษนี้ก็คัดให้หยุดได้ มือ ทั้งสองของบุรุษนี้มีความร้อนในเวลารับก้อนข้าว.
[๑๓๑๘] เราได้ฟังเหตุทั้งหลาย อันเกี่ยวเนื่องด้วยการกระทำของบุรุษนี้ ในความ ประพฤติเลี้ยงชีวิตของบุรุษนี้มาดังนี้ว่า กลุ่มขนนกกระทาก็ยังประกฏอยู่ บนชฎาของบุรุษนี้ วัวทั้งหลายบุรุษนี้ก็ได้ฆ่ากินแล้ว ไฉนจะไม่ฆ่านก กระทากินเล่า.

จบ ทัททรชาดกที่ ๑๒.

______________ รวมชาดกที่มีในวรรคนี้ คือ ๑. คิชฌชาดก๒. โกสัมพิยชาดก ๓. มหาสุวราชชาดก ๔. จุลลสุวกราชชาดก ๕. หริตจชาดก ๖. ปทกุสลมาณวชาดก ๗. โลมสกัสสปชาดก ๘. จักกวากชาดก ๙. หลิททราคชาดก ๑๐. สมุคคชาดก ๑๑. ปูติมังสชาดก ๑๒. ทัททรชาดก. จบ นวกนิบาตชาดก. _________________

ทสกนิบาตชาดก

๑. จตุทวารชาดก ว่าด้วยจักรกรดพัดบนศีรษะ


[๑๓๑๙] เมืองนี้มีประตู ๔ ประตู มีกำแพงมั่นคงล้วนแล้วไปด้วยเหล็กแดง ข้าพเจ้า ถูกล้อมไว้ด้วยกำแพง ข้าพเจ้าได้ทำบาปอะไรไว้?
[๑๓๒๐] ประตูทั้งหมดจึงปิดแน่น ข้าพเจ้าถูกขังเหมือนนก ข้าแต่เทวดา เหตุ เป็นมาอย่างไร ข้าพเจ้าจึงลูกจักรกรดพัดศีรษะ?
[๑๓๒๑] ท่านได้ทรัพย์มากมายถึงสองล้านแล้ว มิได้ทำตามคำชอบของญาติ ทั้งหลายผู้เอ็นดู.
[๑๓๒๒] ท่านแล่นเรือไปสู่สมุทรซึ่งอาจยังเรือให้โลดขึ้นได้ เป็นสาครมีสิทธิ์น้อย ได้ประสบนางเวมานิกเปรต ๔ นาง จาก ๔ นางเป็น ๘ นาง จาก ๘ นางเป็น ๑๖ นาง.
[๑๓๒๓] ถึงจะได้ประสบนางเวมานิกเปรตจาก ๑๖ นางเป็น ๓๒ นาง ก็ยังปรารถนา ยิ่งไปกว่านั้น จึงได้ประสบจักรนี้ จักรกรดย่อมพัดผันบนศีรษะของ คนผู้ถูกความอยากครอบงำ.
[๑๓๒๔] ความอยากเป็นของสูงใหญ่ไพศาล ยากที่จะให้เต็มได้ มักให้ถึงความ วิบัติ ชนเหล่าใดย่อมยินดีไปตามความอยาก ชนเหล่านั้นต้องเป็นผู้ทรง จักรกรดไว้.
[๑๓๒๕] อนึ่ง ชนเหล่าใดละทิ้งสิ่งของมากมายเสีย ไม่พิจารณาหนทางให้ถ่องแท้ ไม่ใคร่ครวญเหตุนั้นให้ถี่ถ้วน ชนเหล่านั้นต้องเป็นผู้ทรงจักรกรดไว้.
[๑๓๒๖] ผู้ใดพึงพิจารณาถึงการงาน และโภคะอันไพบูลย์ ไม่ส้องเสพความอยาก อันประกอบด้วยความฉิบหาย ทำตามถ้อยคำของผู้เอ็นดูทั้งหลาย ผู้เช่น นั้นไม่พึงถูกจักรกรดพัดผัน.
[๑๓๒๗] ข้าแต่เทวดา จักรกรดจักตั้งอยู่บนศีรษะของข้าพเจ้านานสักเท่าไรหนอ สักกี่พันปี ข้าพเจ้าขอถามความนั้น ขอท่านได้โปรดบอกแก่ข้าพเจ้า เถิด?
[๑๓๒๘] ดูกรมิตตวินทุกะ ท่านจงฟังเรา ท่านจะต้องทนทุกข์ทรมานไปอีกนาน จักรกรดจะพัดผันอยู่บนศีรษะของท่าน เมื่อท่านยังมีชีวิตอยู่ จะพ้น จักรกรดนั้นไปไม่ได้.

จบ จตุทวารชาดกที่ ๑.

๒. กัณหชาดก ว่าด้วยขอพร


[๑๓๒๙] บุรุษนี้ดำจริงหนอ บริโภคโภชนะก็ดำ อยู่ในภูมิประเทศก็ดำ ไม่เป็น ที่ชอบใจของเราเลย.
[๑๓๓๐] คนไม่ชื่อว่าเป็นคนดำเพราะผิวหนัง เพราะคนที่มีแก่นภายในจึงชื่อว่าเป็น พราหมณ์ ผู้ใดมีบาปกรรม ผู้นั้นแหละชื่อว่าเป็นคนดำ นะท้าวสุชัมบดี.
[๑๓๓๑] ดูกรท่านพราหมณ์ คำนั้นท่านกล่าวดีแล้ว สมควรเป็นสุภาษิต ข้าพเจ้าจะ ให้พรแก่ท่านอย่างหนึ่ง ตามแต่ใจท่านปรารถนา.
[๑๓๓๒] ข้าแต่ท้าวสักกะผู้เป็นใหญ่กว่าภูตทั้งปวง ถ้าจะโปรดประทานพรแก่ ข้าพระองค์ ข้าพระองค์ปรารถนาให้ความประพฤติของตน อย่าให้มี ความโกรธ อย่าให้มีโทสะ อย่าให้มีความโลภ อย่าให้มีความสิเนหา ขอได้ทรงโปรดประทานพร ๔ ประการนี้แก่ข้าพระองค์เถิด.
[๑๓๓๓] ดูกรท่านพราหมณ์ ท่านเห็นโทษในความโกรธ ในโทสะ ในโลภะ และในสิเนหาเป็นอย่างไรหรือ ข้าพเจ้าขอถามความนั้น ขอท่านจงบอก แก่ข้าพเจ้าเถิด?
[๑๓๓๔] ความโกรธเกิดแต่ความไม่อดทน ทีแรกเป็นของน้อย แต่ภายหลังเป็น ของมาก ย่อมเจริญขึ้นโดยลำดับ ความโกรธมักทำความเกี่ยวข้อง มี ความคับแค้นมาก เพราะฉะนั้น ข้าพระองค์จึงไม่ชอบใจความโกรธ.
[๑๓๓๕] วาจาของผู้ประกอบด้วยโทสะ เป็นวาจาหยาบคาย ถัดจากนั้นก็เกิด ปรามาสถูกต้องกัน ต่อจากนั้นก็ชกต่อยกันด้วยมือ ต่อไปก็หยิบท่อน ไม้เข้าทุบตีกัน จนถึงจับศาตราเข้าฟันแทงกันเป็นที่สุด โทสะเกิดแต่ ความโกรธ เพราะฉะนั้น ข้าพระองค์จึงไม่ชอบใจโทสะ.
[๑๓๓๖] ความโลภเป็นอาการหยาบ เป็นเหตุให้เที่ยวปล้นขู่เอาสิ่งของแสดงของ ปลอมเปลี่ยนเอาของคนอื่น ทำอุบายล่อลวง บาปธรรมทั้งหลายนี้ มี ปรากฏอยู่เพราะโลภธรรม เพราะฉะนั้น ข้าพระองค์จึงไม่ชอบใจโลภะ.
[๑๓๓๗] กิเลสเครื่องร้อยรัดทั้งหลาย อันสิเนหาผูกรัดเข้าอีก เป็นของสำเร็จด้วย ใจ นอนเนื่องอยู่เป็นอันมาก ย่อมทำให้บุคคลเดือดร้อนยิ่งนัก เพราะ ฉะนั้น ข้าพระองค์จึงไม่ชอบใจความสิเนหา.
[๑๓๓๘] ดูกรท่านพราหมณ์ คำนั้นท่านกล่าวดีแล้ว สมควรเป็นสุภาษิต ข้าพเจ้า จะให้พรแก่ท่านอย่างหนึ่ง ตามแต่ใจท่านปรารถนา.
[๑๓๓๙] ข้าแต่ท้าวสักกะผู้เป็นใหญ่กว่าภูตทั้งปวง ถ้าจะโปรดประทานพรแก่ ข้าพระองค์ ขออาพาธทั้งหลายอันเป็นของร้ายแรง ซึ่งจะทำอันตรายตบะ กรรมได้ อย่าพึงบังเกิดแก่ข้าพระองค์ผู้อยู่ในป่า ซึ่งอยู่แต่ผู้เดียว เป็นนิตย์.
[๑๓๔๐] ดูกรท่านพราหมณ์ คำนั้นท่านกล่าวดีแล้ว สมควรเป็นสุภาษิต ข้าพเจ้า จะให้พรแก่ท่านอย่างหนึ่ง ตามแต่ใจท่านปรารถนา.
[๑๓๔๑] ข้าแต่ท้าวสักกะผู้เป็นใหญ่กว่าภูตทั้งปวง ถ้าจะโปรดประทานพรแก่ข้า พระองค์ ขอใจหรือร่างกายของข้าพระองค์ อย่าเข้าไปกระทบกระทั่ง ใครๆ ในกาลไหนๆ เลย ขอได้ทรงโปรดประทานพรนี้เถิด.

จบ กัณหชาดกที่ ๒.

๓. จตุโปสถชาดก ว่าด้วยสมณะ


[๑๓๔๒] ผู้ใด ไม่ทำความโกรธในบุคคลผู้ควรโกรธ ผู้นั้นเป็นสัตบุรุษ ย่อมไม่ โกรธ ณ ในกาลไหนๆ บุคคลนั้นแม้จะโกรธ ก็ไม่ทำความโกรธให้ ปรากฏ นักปราชญ์ทั้งหลายกล่าวบุคคลนั้นแล ว่าเป็นสมณะในโลก.
[๑๓๔๓] นรชนใดมีท้องพร่อง ย่อมทนความหิวได้ นรชนนั้นเป็นผู้ฝึกตน แล้ว มีตบะ มีข้าวและน้ำพอประมาณ ย่อมไม่ทำบาปเพราะเหตุแห่ง อาหาร นักปราชญ์ทั้งหลายกล่าวนรชนนั้นแล ว่าเป็นสมณะในโลก.
[๑๓๔๔] บุคคลละการเล่นและความยินดีทั้งปวงได้เด็ดขาด ไม่กล่าวคำเหลาะแหละ นิดหน่อยในโลก เว้นจากการแต่งเนื้อแต่งตัว และเว้นจากเมถุนธรรม นักปราชญ์ทั้งหลายกล่าวบุคคลนั้นแล ว่าเป็นสมณะในโลก.
[๑๓๔๕] บุคคลใด ละสิ่งที่เขาหวงแหน และโลภธรรมทั้งปวงเสีย ด้วยปัญญา เครื่องกำหนดรู้ นักปราชญ์ทั้งหลายกล่าวบุคคลนั้นแล ผู้ฝึกตนแล้ว มีจิตตั้งมั่น ไม่มีตัณหา ไม่มีความหวังว่า เป็นสมณะในโลก.
[๑๓๔๖] ดูกรท่านผู้มีปัญญาสามารถจะรู้เหตุและมิใช่เหตุที่ควรทำ เราขอถามท่าน ความทุ่มเถียงกันในถ้อยคำทั้งหลาย บังเกิดมีแก่เราทั้งหลาย ขอท่าน โปรดช่วยตัดเสียซึ่งความสงสัยความเคลือบแคลงในวันนี้ ขอได้โปรด ช่วยเราทั้งหมดให้ข้ามพ้นความสงสัยนั้นในวันนี้?
[๑๓๔๗] บัณฑิตเหล่าใดเป็นผู้สามารถเห็นเนื้อความ บัณฑิตเหล่านั้นจึงจะกล่าวได้ โดยแยบคายในกาลนั้น ข้าแต่พระองค์ผู้จอมประชานิกร ท่านผู้ฉลาด ทั้งหลาย จะพึงวินิจฉัยเนื้อความแห่งถ้อยคำทั้งหลาย ที่ยังไม่ได้กล่าว แล้วได้อย่างไรหนอ?
[๑๓๔๘] พญานาคกล่าวอย่างไร พญาครุฑกล่าวอย่างไร ท้าวสักกะผู้เป็นพระราชา ของคนธรรพ์ตรัสอย่างไร และพระราชาผู้ประเสริฐของชาวกุรุรัฐตรัส อย่างไร?
[๑๓๔๙] พญานาคกล่าวสรรเสริญขันติ พญาครุฑกล่าวยกย่องการไม่ประหาร ท้าว สักกะผู้เป็นพระราชาของคนธรรพ์ตรัสชมการละความยินดี พระราชา ผู้ประเสริฐของชาวกุรุรัฐ ตรัสสรรเสริญความไม่กังวล.
[๑๓๕๐] คำเหล่านี้ทั้งหมดเป็นสุภาษิต ในถ้อยคำของท่านทั้ง ๔ นี้ ไม่มีคำทุพภาษิต แม้นิดหน่อยเลย คุณทั้ง ๔ มีขันติเป็นต้นนี้ ตั้งมั่นอยู่ในผู้ใด ก็เปรียบ ได้กับกำรถ หยั่งเข้าเป็นอันดีที่ดุมรถ ฉะนั้น นักปราชญ์ทั้งหลายกล่าว บุคคลผู้พร้อมเพรียงด้วยธรรม ๔ ประการนั้นแล ว่าเป็นสมณะในโลก.
[๑๓๕๑] ท่านนั้นแลเป็นผู้ประเสริฐ ไม่มีผู้อื่นยิ่งกว่า เป็นผู้ถึงธรรม รู้แจ้งธรรม มีปัญญาดี พิจารณาปัญหาด้วยปัญญา เป็นนักปราชญ์ ตัดความสงสัย ความเคลือบแคลงทั้งหลายเสีย ได้ตัดความสงสัยความเคลือบแคลง ทั้งหลายสำเร็จแล้ว ดุจนายช่างงาตัดงาช้างด้วยเครื่องมืออันคมฉะนั้น
[๑๓๕๒] ดูกรท่านผู้เป็นปราชญ์ ข้าพเจ้าพอใจด้วยการพยากรณ์ปัญหาของท่าน จึง ขอให้ผ้าผืนนี้ซึ่งมีสีสดใสดุจสีอุบลเขียว ไม่หม่นหมองหาค่ามิได้ มีสี เสมอด้วยควันไฟ เพื่อเป็นธรรมบูชาแก่ท่าน.
[๑๓๕๓] ดูกรท่านผู้เป็นปราชญ์ ข้าพเจ้าพอใจด้วยการพยากรณ์ปัญหาของท่าน จึง ขอให้ดอกไม้ทองมีกลีบตั้งร้อยอันแย้มบาน มีเกสร ประดับด้วยรัตนะ จำนวนพัน เพื่อเป็นธรรมบูชาแก่ท่าน.
[๑๓๕๔] ดูกรท่านผู้เป็นปราชญ์ ข้าพเจ้าพอใจด้วยการพยากรณ์ปัญหาของท่าน จึง ขอให้แก้วมณีอันหาค่ามิได้ งามผ่องใส คล้องอยู่ที่คอ เป็นแก้วมณี เครื่องประดับคอของข้าพเจ้า เพื่อเป็นธรรมบูชาแก่ท่าน.
[๑๓๕๕] ดูกรท่านผู้เป็นปราชญ์ ข้าพเจ้าพอใจด้วยการพยากรณ์ปัญหาของท่าน จึง ขอให้โคนม โคผู้ และช้าง อย่างละพัน รถเทียมด้วยม้าอาชาไนย ๑๐ คัน และบ้านส่วย ๑๖ ตำบลแก่ท่าน.
[๑๓๕๖] พญานาคในกาลนั้น เป็นพระสารีบุตร พญาครุฑเป็นพระโมคคัลลานะ ท้าวสักกเทวราชเป็นพระอนุรุทธะ พระเจ้าโกรัพยะเป็นพระอานนท์ บัณฑิต วิธูรบัณฑิตเป็นพระโพธิสัตว์นั่นเอง ขอท่านทั้งหลายจงจำ ชาดกไว้อย่างนี้.

จบ จตุโปสถชาดกที่ ๓.

๔. สังขชาดก ว่าด้วยอานิสงส์ถวายรองเท้า


[๑๓๕๗] ข้าแต่สังขพราหมณ์ ท่านเป็นพหูสูต ได้ฟังธรรมมาแล้ว และสมณะ พราหมณ์ทั้งหลาย ท่านก็ได้เห็นมาแล้ว เหตุไร ท่านจึงแสดงคำพร่ำเพ้อ ในขณะอันไม่สมควร คนอื่นนอกจากข้าพเจ้า ใครเล่าที่จะมาเจรจากับ ท่านได้?
[๑๓๕๘] นางเทพธิดามีหน้างาม เลอโฉม ประดับเครื่องประดับทอง ยกถาดทอง เต็มด้วยอาหารทิพย์ มาร้องเชิญให้ข้าพเจ้าบริโภค นางเป็นผู้มีศรัทธา และปลื้มใจ ข้าพเจ้าตอบกะนางว่า ไม่บริโภค.
[๑๓๕๙] ข้าแต่ท่านพราหมณ์ บุรุษผู้ปรารถนาความสุขได้พบเห็นเทวดาเช่นนั้นแล้ว ควรถามให้ได้ความ ขอท่านจงลุกขึ้นประนมมือ ถามเทวดานั้นว่า ท่าน เป็นเทวดาหรือมนุษย์?
[๑๓๖๐] เพราะเหตุว่า ท่านมามองดูข้าพเจ้าด้วยสายตาอันแสดงความรัก ร้อง เชิญให้ข้าพเจ้าบริโภคอาหาร ดูกรนางผู้มีอานุภาพมาก ข้าพเจ้าขอถาม ท่าน ท่านเป็นเทวดาหรือมนุษย์?
[๑๓๖๑] ข้าแต่ท่านสังขพราหมณ์ ข้าพเจ้าเป็นเทวดาผู้มีอานุภาพมากมาในกลาง สมุทรนี้ ก็เพราะเป็นผู้มีความเอ็นดู จะได้มีจิตประทุษร้ายก็หาไม่ ข้าพเจ้ามาในที่นี้เพื่อประโยชน์แก่ท่านนั่นเอง.
[๑๓๖๒] ข้าแต่ท่านสังขพราหมณ์ ในสมุทรนี้มีข้าวน้ำ ที่นอน ที่นั่ง และยาน พาหนะ มากมายหลายอย่าง ใจของท่านปรารถนาสิ่งใด ข้าพเจ้าจะให้ สิ่งนั้นทุกอย่างแก่ท่าน.
[๑๓๖๓] ข้าแต่เทพธิดาผู้มีร่างกายสวยงาม ตะโพกผึ่งผาย คิ้วงาม เอวบางร่างน้อย ยัญ และการเส้นสรวงของข้าพเจ้าอย่างใด อย่างหนึ่งที่มีอยู่ ท่านเป็น ผู้สามารถรู้วิบากแห่งกรรมของข้าพเจ้าทุกอย่าง การที่ข้าพเจ้าได้ที่พึ่งใน มหาสมุทรนี้ เป็นวิบากแห่งกรรมอะไร?
[๑๓๖๔] ข้าแต่ท่านสังขพราหมณ์ ท่านได้ถวายรองเท้ากะพระภิกษุรูปหนึ่ง ผู้เดิน กระโหย่งเท้า เดินสะดุ้งลำบากในหนทางอันร้อน ทักขิณานั้นอำนวยผล สิ่งที่น่าปรารถนาแก่ท่านในวันนี้.
[๑๓๖๕] ขอเรือต่อด้วยแผ่นกระดาน น้ำไม่รั่ว มีใบสำหรับพาเรือให้แล่นไป จงบังเกิดมี เพราะในสมุทรนี้ ไม่มีพื้นที่สำหรับยานพาหนะอย่างอื่น ขอท่านได้ส่งข้าพเจ้าให้ถึงเมืองโมลินีในวันนี้เถิด.
[๑๓๖๖] นางเทพธิดานั้น มีจิตชื่นชมโสมนัสปราโมทย์ นิรมิตเรืออันงดงามแล้ว พาสังขพราหมณ์กับบุรุษคนใช้มาส่งถึงเมืองอันเป็นที่รื่นรมย์ยินดีอย่างยิ่ง.

จบ สังขชาดกที่ ๔.

๕. จุลลโพธิชาดก ว่าด้วยความโกรธ


[๑๓๖๗] ดูกรพราหมณ์ ผู้ใดมาพาเอานางปริพาชิกาผู้มีนัยน์ตางามน่ารัก มีใบหน้า ยิ้มแย้มของท่านไปด้วยพลการ ท่านจะทำอย่างไร?
[๑๓๖๘] ถ้าความโกรธบังเกิดขึ้นแก่อาตมภาพแล้ว ยังไม่เสื่อมคลายไป เมื่อ อาตมภาพยังมีชีวิตอยู่ก็ยังไม่หาย อาตมภาพจะห้ามกันเสียโดยพลันที เดียว ดังฝนห่าใหญ่ชำระล้างธุลี ฉะนั้น.
[๑๓๖๙] ท่านกล่าวอวดอ้างไว้ในวันก่อนอย่างไรหนอ วันนี้เป็นเหมือนว่ามีกำลัง ทำเป็นไม่เห็น นั่งนิ่งเย็บสังฆาฏิอยู่ในบัดนี้.
[๑๓๗๐] ความโกรธบังเกิดแก่อาตมภาพแล้ว ยังไม่ได้เสื่อมคลายไป เมื่อ อาตมภาพยังมีชีวิตอยู่ก็ยังไม่หาย อาตมภาพจะห้ามกันเสียโดยพลันที เดียว ดังฝนห่าใหญ่ชำระล้างธุลี ฉะนั้น.
[๑๓๗๑] ความโกรธบังเกิดขึ้นแก่ท่านแล้ว ยังไม่ได้เสื่อมคลายไปอย่างไร เมื่อ ท่านยังมีชีวิตอยู่ ความโกรธยังไม่หายอย่างไร ท่านได้ห้ามความโกรธ ดัง ฝนห่าใหญ่ชำระล้างธุลี ฉะนั้น เป็นไฉน?
[๑๓๗๒] เมื่อความโกรธเกิดขึ้นแล้ว บุคคลย่อมไม่เห็นประโยชน์ตน ประโยชน์ผู้ อื่น เมื่อความโกรธไม่เกิดขึ้น บุคคลย่อมเห็นได้ดี ความโกรธนั้นเกิด ขึ้นแก่อาตมภาพแล้ว ยังไม่เสื่อมคลายไป ความโกรธเป็นอารมณ์ของ คนไร้ปัญญา.
[๑๓๗๓] ชนทั้งหลายย่อมยินดีด้วยความโกรธที่เกิดขึ้นแล้ว ชื่อว่าเป็นศัตรูหา ทุกข์ให้แก่ตนเอง ความโกรธนั้นเกิดขึ้นแก่อาตมภาพแล้ว ยังไม่เสื่อม คลายไป ความโกรธเป็นอารมณ์ของคนไร้ปัญญา.
[๑๓๗๔] อนึ่ง เมื่อความโกรธเกิดขึ้น บุคคลไม่รู้จักประโยชน์ตน ความโกรธนั้น เกิดขึ้นแก่อาตมภาพแล้ว ยังไม่เสื่อมคลายไป ความโกรธเป็นอารมณ์ ของคนไร้ปัญญา.
[๑๓๗๕] บุคคลถูกความโกรธครอบงำแล้ว ย่อมละทิ้งกุศลเสีย ย่อมซัดส่าย ประโยชน์แม้มากมายได้ เขาประกอบด้วยเสนา คือ กิเลสหมู่ใหญ่ที่ น่ากลัว มีกำลัง สามารถปราบผู้อื่นให้อยู่ในอำนาจได้ ความโกรธนั้น ยังไม่เสื่อมคลายไปจากอาตมภาพ ขอถวายพระพร.
[๑๓๗๖] ธรรมดาไฟย่อมเกิดขึ้นที่ไม้สีไฟอันบุคคลสีอยู่ ไฟเกิดขึ้นแต่ไม้ใด ย่อม เผาไม้นั้นเองให้ไหม้.
[๑๓๗๗] ความโกรธย่อมเกิดขึ้นแก่คนโง่เขลา เบาปัญญา ไม่รู้จริง เพราะความ แข่งดี แม้เขาก็ถูกความโกรธนั้นแหละเผาลน.
[๑๓๗๘] ความโกรธย่อมเจริญขึ้นแก่ผู้ใด ดุจไฟเจริญขึ้นในกองหญ้าและไม้ ฉะนั้น ยศของบุคคลนั้นย่อมเสื่อมไป เหมือนพระจันทร์ข้างแรม ฉะนั้น.
[๑๓๗๙] ความโกรธของผู้ใดย่อมสงบลง เหมือนไฟหมดเชื้อ ฉะนั้น ยศของผู้นั้น ย่อมเต็มเปี่ยม เหมือนพระจันทร์ข้างขึ้น ฉะนั้น.

จบ จุลลโพธิชาดกที่ ๕.

๖. มัณฑัพยชาดก ว่าด้วยความรักที่มีต่อบุตร


[๑๓๘๐] เราเป็นผู้ต้องการบุญ ได้มีจิตเลื่อมใสประพฤติพรหมจรรย์อยู่เพียง ๗ วัน เท่านั้น ต่อจากนั้นมา แม้เราจะไม่มีความใคร่บรรพชา ก็ได้ประพฤติ พรหมจรรย์ของเราอยู่ได้ถึง ๕๐ ปีกว่า ด้วยความสัจนี้ ขอความสวัสดี จงมีแก่ยัญญทัตตกุมาร พิษจงคลาย ยัญญทัตตกุมาร จงรอดชีวิตเถิด.
[๑๓๘๑] เพราะเหตุที่เราเห็นแขกในเวลาที่มาถึงบ้าน เพื่อจะพักอยู่ บางครั้งไม่ พอใจจะให้เลย แม้สมณพราหมณ์ผู้เป็นพหูสูต ก็ไม่ทราบความไม่พอใจ ของเขา แม้เราไม่ประสงค์จะให้ก็ให้ได้ ด้วยความสัจนี้ ขอความสวัสดี จงมีแก่ยัญญทัตตกุมาร พิษจงคลาย ยัญญทัตตกุมาร จงรอดชีวิตเถิด.
[๑๓๘๒] ลูกรัก อสรพิษที่ออกจากโพรงกัดเจ้านั้น มีเดชมาก ไม่เป็นที่รักของ แม่ในวันนี้เลย อสรพิษนั้นกับบิดาของเจ้า ไม่แปลกอะไรกันเลย ด้วย ความสัจนี้ ขอความสวัสดีจงมีแก่ยัญญทัตตกุมาร พิษจงคลาย ยัญญ ทัตตกุมาร จงรอดชีวิตเถิด.
[๑๓๘๓] ก็นักพรตทั้งหลายเป็นผู้สงบระงับ ฝึกฝนตนแล้ว ย่อมเว้นรอบ นอก จากท่านกัณหะแล้วที่จะเป็นผู้ทนฝืนใจ ประพฤติพรหมจรรย์ ไม่มีเลย ดูกรท่านทีปายนะ ท่านเกลียดชังอะไร จึงสู่ฝืนใจประพฤติพรหมจรรย์ อยู่ได้.
[๑๓๘๔] บุคคลออกบวชด้วยศรัทธาแล้ว กลับเข้าบ้านอีก เป็นคนเหลวไหล เป็นคนกลับกลอก เราเกลียดต่อถ้อยคำเช่นนี้ จึงสู้ฝืนใจ ประพฤติ พรหมจรรย์อยู่ นี้เป็นฐานะที่วิญญูชนสรรเสริญ และเป็นฐานะของ สัตบุรุษทั้งหลาย เราเป็นผู้กระทำบุญด้วยเหตุนี้แหละ.
[๑๓๘๕] ท่านเลี้ยงสมณะ พราหมณ์และคนเดินทาง ให้อิ่มหนำสำราญด้วยข้าว และน้ำ เรือนของท่าน บริบูรณ์ด้วยข้าวและน้ำเป็นเหมือนบ่อน้ำ เออ ก็ท่านเกลียดต่อถ้อยคำอะไร แม้ไม่ประสงค์ ก็ให้ทานนี้ได้?
[๑๓๘๖] มารดาบิดาและปู่ย่าตายายของดิฉัน เป็นผู้มีศรัทธา เป็นทานบดี รู้ความ ประสงค์ของผู้ขอ ดิฉันอนุวัตรตามธรรมเนียมของตระกูลนั้น กำหนดใจ ไว้ว่า อย่าได้เป็นคนตัดธรรมเนียมแห่งตระกูลนี้เสียเลย ดิฉันเกลียด ถ้อยคำเช่นนี้ แม้ไม่ประสงค์ก็ให้ทานนี้ได้.
[๑๓๘๗] ดูกรนางผู้มีร่างกายงาม เรานำเจ้าผู้ยังเป็นสาวน้อย ฯ ยังไม่มีปัญญา สามารถที่จะจับจ่ายมาแต่ตระกูลญาติ แม้เจ้าไม่ได้แสดงความไม่รักใคร่เรา เจ้าปฏิบัติเราเว้นจากความรักใคร่ เออก็นางผู้เจริญ การที่เจ้าอยู่ร่วมกับ เราเห็นปานนี้ได้ เพราะเหตุอะไร?
[๑๓๘๘] ตั้งแต่ไหนแต่ไรมา อันภรรยาที่มีสามีบ่อยๆ มิได้มีอยู่ในตระกูลนี้ ดิฉันได้อนุวัตรตามธรรมเนียมของตระกูลนั้น กำหนดใจไว้ว่า ขออย่า ให้เป็นคนตัดธรรมเนียมของตระกูลในภายหลังเลย ดิฉันเกลียดต่อถ้อย คำเช่นนี้ แม้ไม่ประสงค์ก็ปฏิบัติท่านได้.
[๑๓๘๙] ดูกรท่านมัณฑัพยะ วันนี้ดิฉันพูดถ้อยคำที่ไม่ควรจะพูด ขอท่านจงอด โทษถ้อยคำนั้นให้แก่ดิฉัน เพราะเหตุแห่งบุตรเถิด สิ่งอื่นอะไรๆ ใน โลกนี้ ที่จะรักยิ่งไปกว่าบุตรมิได้มี ยัญญทัตตกุมารของเรานี้รอดชีวิตแล้ว.

จบ มัณฑัพยชาดกที่ ๖.

๗. นิโครธชาดก ว่าด้วยการคบคนดี


[๑๓๙๐] ข้าแต่พระองค์ผู้ทรงพระนามว่านิโครธ ท่านสาขะเสนาบดีพูดว่า เราไม่ รู้จักคนนี้เลยว่าเป็นใครกัน หรือเป็นเพื่อนของใคร พระองค์จะทรงเข้า พระทัยอย่างไร?
[๑๓๙๑] ลำดับนั้น บุรุษผู้ทำตามคำของท่านสาขะเสนาบดี เข้าจับคอตบหน้าข้า พระองค์ ขับไสออกไป.
[๑๓๙๒] ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นจอมประชานิกร กรรมอันไม่ประเสริฐเช่นนี้ อัน ท่านสาขะเสนาบดี ผู้เป็นเพื่อนเก่าของพระองค์ เป็นคนมีความคิดทราม เป็นคนอกตัญญู ประทุษร้ายมิตรได้ทำแล้ว.
[๑๓๙๓] ดูกรสหาย เรื่องนี้เราไม่รู้เลย ใครก็ไม่ได้บอกแก่เรา ท่านมาบอกแก่ เราว่า ท่านสาขะเสนาบดีฉุดคร่าท่าน.
[๑๓๙๔] ท่านเป็นคนทำเพื่อให้มีชีวิตอยู่สบายดี ท่านเป็นคนให้อิศริยยศ คือ ความเป็นใหญ่ ในหมู่มนุษย์แก่เราและสาขะเสนาบดีทั้งสองคน เราได้ รับความสำเร็จเพราะท่านในเรื่องนี้ เราไม่มีความสงสัยเลย.
[๑๓๙๕] กรรมที่บุคคลทำในอสัตบุรุษ ย่อมฉิบหายไม่งอกงาม เหมือนพืชที่ บุคคลหว่านลงในไฟ ย่อมถูกไฟไหม้ ไม่งอกงามฉะนั้น.
[๑๓๙๖] ส่วนกรรมที่บุคคลทำในคนกตัญญู มีศีล มีความประพฤติประเสริฐ ย่อม ไม่ฉิบหายไป เหมือนพืชที่บุคคลหว่านลงในนาดีฉะนั้น.
[๑๓๙๗] ราชบุรุษทั้งหลาย จงฆ่าสาขะเสนาบดีผู้ชั่วช้า มักหลอกลวง มีความคิด อย่างอสัตบุรุษคนนี้เสีย ด้วยหอกทั้งหลาย เราไม่ปรารถนาให้เขามี ชีวิตอยู่เลย.
[๑๓๙๘] ข้าแต่พระมหาราชา ขอพระองค์ได้โปรดอดโทษให้แก่เขาเถิด ชีวิตของ คนตายแล้วไม่อาจจะนำกลับคืนมาได้ ขอได้ทรงโปรดอดโทษ แก่ อสัตบุรุษเถิด พระพุทธเจ้าข้า ข้าพระบาทไม่ปรารถนาให้ฆ่าเขา.
[๑๓๙๙] ควรคบหาแต่นิโครธเท่านั้น ไม่ควรเข้าไปอาศัยเจ้าสาขะอยู่ ความตาย ในสำนักท่านนิโครธประเสริฐกว่า ความเป็นอยู่ในสำนักเจ้าสาขะจะ ประเสริฐอะไร.

จบ นิโครธชาดกที่ ๗.

๘. ตักกลชาดก ว่าด้วยการเลี้ยงดูบิดามารดา


[๑๔๐๐] พ่อจ๋า มันนก มันเทศ มันมือเสือ ผักทอดยอด ก็มิได้มี พ่อต้องการ อะไร จึงขุดหลุม อยู่คนเดียวในป่ากลางป่าช้าเช่นนี้เล่า?
[๑๔๐๑] ลูกเอ๋ย ปู่ของเจ้าทุพพลภาพมากแล้ว ถูกกองทุกข์อันเกิดจากโรคภัย หลายอย่างเบียดเบียน วันนี้พ่อจะฝังปู่ของเจ้านั้นเสียในหลุม เพราะ พ่อไม่ปรารถนา จะให้ปู่ของเจ้ามีชีวิตอยู่อย่างลำบากเลย ลูกเอ๋ย.
[๑๔๐๒] พ่อได้ความดำริอันลามกนี้แล้ว ได้กระทำกรรมที่หยาบช้า อันล่วงเสีย ซึ่งประโยชน์ พ่อจ๋า แม้เมื่อพ่อแก่ลงแล้ว ก็จักได้รับกรรมเช่นนี้เพราะ ลูกบ้าง แม้ลูกเองก็จะอนุวัตรตามธรรมเนียมของตระกูลนั้น จักฝังพ่อ เสียในหลุมบ้าง.
[๑๔๐๓] ลูกเอ๋ย เจ้ามากล่าวกระทบกระเทียบขู่เข็ญพ่อ ด้วยถ้อยคำหยาบคาย เจ้าเป็นลูกเกิดแต่อกของพ่อ แต่หามีความอนุเคราะห์เกื้อกูลแก่พ่อไม่.
[๑๔๐๔] พ่อจ๋า มิใช่ฉันจะไม่มีความอนุเคราะห์เกื้อกูลแก่พ่อ ฉันเป็นผู้มีความ อนุเคราะห์เกื้อกูลแก่พ่อ แต่เพราะฉันไม่กล้าพอที่จะห้ามพ่อ ผู้ทำบาป กรรมโดยตรงได้ จึงได้พูดกระทบกระเทียบเช่นนั้น.
[๑๔๐๕] พ่อจ๋า ผู้ใดเป็นคนมีธรรมอันลามก เบียดเบียนมารดาหรือบิดาผู้ไม่ประทุษ ร้าย ผู้นั้นครั้นตายไปภายหน้า ต้องเข้าถึงนรกโดยไม่ต้องสงสัย.
[๑๔๐๖] พ่อจ๋า ผู้ใดบำรุงเลี้ยงมารดาบิดาด้วยข้าวน้ำ ผู้นั้นครั้นตายไปภายหน้า ย่อมเข้าถึงสุคติ โดยไม่ต้องสงสัย.
[๑๔๐๗] ลูกเอ๋ย เจ้าจะเป็นผู้ไม่เกื้อกูลอนุเคราะห์แก่พ่อก็หาไม่ เจ้าชื่อว่าเป็นผู้ เกื้อกูลอนุเคราะห์แก่พ่อ แต่พ่อถูกแม่ของเจ้าว่ากล่าว จึงได้กระทำกรรม อันหยาบช้าเช่นนี้.
[๑๔๐๘] หญิงชั่วเป็นภรรยาของพ่อ เป็นแม่บังเกิดเกล้าของฉัน พ่อจงขับไล่ไป เสียจากเรือนของตน เพราะแม่จะนำทุกข์อย่างอื่นมาให้พ่ออีก.
[๑๔๐๙] หญิงชั่วผู้เป็นภรรยาของพ่อ เป็นแม่บังเกิดเกล้าของฉัน เป็นหญิงมี บาปธรรม ถูกทรมาน ดังช้างพัง ที่นายควาญฝึกให้อยู่ในอำนาจแล้ว จงกลับมาเรือนเถิด.

จบ ตักกลชาดกที่ ๘.

๙. มหาธรรมปาลชาดก ว่าด้วยเหตุที่ไม่ตายในวัยหนุ่ม


[๑๔๑๐] อะไรเป็นวัตรของท่าน อะไรเป็นพรหมจรรย์ของท่าน การที่คนหนุ่มๆ ในตระกูลของท่านไม่ตายนี้ เป็นผลของกรรมอะไรที่ท่านได้ประพฤติมา เป็นอย่างดีแล้ว ดูกรพราหมณ์ ขอท่านช่วยบอกเนื้อความนี้แก่เรา เหตุไรหนอคนหนุ่มๆ ของท่านจึงไม่ตาย?
[๑๔๑๑] พวกเราประพฤติธรรม ไม่กล่าวมุสา งดเว้นกรรมชั่ว งดเว้นกรรมอัน ไม่ประเสริฐทั้งปวง เพราะเหตุนี้แหละ คนหนุ่มๆ ของพวกเราจึงไม่ ตาย.
[๑๔๑๒] พวกเราได้ฟังธรรมของอสัตบุรุษ และสัตบุรุษแล้ว ไม่ชอบใจธรรมของ อสัตบุรุษเลย ละทิ้งอสัตบุรุษเสีย แต่ไม่ละทิ้งสัตบุรุษ เพราะเหตุนี้ แหละ คนหนุ่มๆ ของพวกเราจึงไม่ตาย.
[๑๔๑๓] ก่อนจะให้ทาน พวกเราก็เป็นผู้ตั้งใจดี แม้กำลังให้ก็ชื่นชมยินดี ครั้น ให้แล้วก็ไม่เดือดร้อน ในภายหลัง เพราะเหตุนี้แหละ คนหนุ่มๆ ของ พวกเราจึงไม่ตาย.
[๑๔๑๔] พวกเราเลี้ยงดูสมณะ พราหมณ์ คนเดินทาง วณิพก ยาจก และคน ขัดสนทั้งหลาย ให้อิ่มหนำสำราญด้วยข้าวน้ำ เพราะเหตุนี้แหละ คนหนุ่มๆ ของพวกเราจึงไม่ตาย.
[๑๔๑๕] พวกเราไม่นอกใจภรรยา ถึงภรรยาก็ไม่นอกใจพวกเรา พวกเราประพฤติ พรหมจรรย์นอกจากภรรยาของตน เพราะเหตุนี้แหละ คนหนุ่มๆ ของ พวกเราจึงไม่ตาย.
[๑๔๑๖] เราทุกคนงดเว้นจากปาณาติบาต งดเว้นสิ่งที่เขาไม่ให้ในโลก ไม่กล่าว มุสา ไม่ดื่มน้ำเมา เพราะเหตุนี้แหละ คนหนุ่มๆ ของพวกเราจึงไม่ ตาย.
[๑๔๑๗] บุตรของพวกเราเกิดในหญิงที่ดีเหล่านั้น เป็นผู้ฉลาดเฉลียว มีปัญญามาก เป็นพหูสูต เรียนจบไตรเพท เพราะเหตุนี้แหละ คนหนุ่มๆ ของ พวกเราจึงไม่ตาย.
[๑๔๑๘] มารดาบิดา พี่น้องหญิงชาย บุตรภรรยา และเราทุกคนประพฤติธรรม เพราะเหตุแห่งโลกหน้า เพราะเหตุนี้แหละ คนหนุ่มๆ ของพวกเราจึง ไม่ตาย.
[๑๔๑๙] ทาส ทาสี คนอาศัยเลี้ยงชีพ คนใช้ และกรรมกรทั้งหมด ก็ประพฤติ ธรรมเพราะเหตุแห่งโลกหน้า เพราะเหตุนี้แหละ คนหนุ่มๆ ของพวก เราจึงไม่ตาย.
[๑๔๒๐] ธรรมแลย่อมรักษาผู้ประพฤติธรรม ธรรมที่บุคคลประพฤติดีแล้ว ย่อม นำสุขมาให้ นี้เป็นอานิสงส์ในธรรมที่ประพฤติดีแล้ว ผู้ประพฤติธรรม ย่อมไม่ไปสู่ทุคติ.
[๑๔๒๑] ธรรมแลย่อมรักษาผู้ประพฤติธรรม เหมือนร่มใหญ่ในฤดูฝนฉะนั้น ธรรม ปาละบุตรของเรา อันธรรมคุ้มครองแล้ว กระดูกที่ท่านนำเอามานี้เป็น กระดูกสัตว์อื่น บุตรของเรายังมีความสุข.

จบ มหาธรรมปาลชาดกที่ ๙.

๑๐. กุกกุฏชาดก ว่าด้วยพ้นศัตรูเพราะรู้เท่าทัน


[๑๔๒๒] บุคคลไม่พึงคุ้นเคยในคนทำบาป คนมักพูดเหลาะแหละ คนมีปัญญาคิด แต่ประโยชน์ตน และคนทำเป็นสงบแต่ภายนอก.
[๑๔๒๓] มีบุรุษพวกหนึ่ง มีปกติเหมือนโคกระหายน้ำ ทำทีเหมือนจะกล้ำกลืน มิตรด้วยวาจา แต่ไม่ใช้ด้วยการงาน ไม่ควรคุ้นเคยในคนเช่นนั้น.
[๑๔๒๔] บุรุษพวกหนึ่ง เป็นคนชูมือเปล่า พัวพันอยู่ แต่ด้วยวาจาเป็นมนุษย์ กระพี้ ไม่มีความกตัญญู ไม่ควรคุ้นเคยในคนเช่นนั้น.
[๑๔๒๕] บุคคลไม่ควรคุ้นเคยต่อหญิง หรือบุรุษ ผู้มีจิตกลับกลอก ไม่ทำความ ข้องเกี่ยวให้แจ้งชัด.
[๑๔๒๖] ไม่ควรคุ้นเคยกับบุคคลผู้หยั่งลงสู่กรรม อันไม่ประเสริฐ เป็นคนไม่แน่ นอน กำจัดคนไม่เลือก เหมือนดาบที่เขาลับแล้วปกปิดไว้ ฉะนั้น.
[๑๔๒๗] คนบางพวกในโลกนี้ คอยเพ่งโทษ เข้าไปหาด้วยอุบายต่างๆ ด้วยคำ พูดอันคมคายซึ่งไม่ตรงกับน้ำใจ ด้วยสามารถแห่งมิตรเทียม แม้คนเช่น นี้ ก็ไม่ควรคุ้นเคย.
[๑๔๒๘] คนมีปัญญาทรามเช่นนั้น พบเห็นอามิส หรือทรัพย์เข้า ณ ที่ใด ย่อม คิดประทุษร้าย และย่อมละทิ้งเพื่อนนั้นไป แม้คนเช่นนั้น ก็ไม่ควร คุ้นเคย.
[๑๔๒๙] มีคนเป็นจำนวนมาก ที่ปลอมเป็นมิตรคบหา บุคคลพึงละบุรุษชั่วเหล่า นั้นเสีย เหมือนไก่ละเหยี่ยว ฉะนั้น.
[๑๔๓๐] อนึ่ง บุคคลใดไม่รู้เท่าทันเหตุที่เกิดขึ้นได้ฉับพลัน หลงไปตามอำนาจ ศัตรู บุคคลนั้น ย่อมเดือดร้อนในภายหลัง.
[๑๔๓๑] ส่วนบุคคลใดรู้เท่าทันเหตุที่เกิดขึ้นได้ ฉับพลัน บุคคลนั้นย่อมพ้นจาก ความเบียดเบียนของศัตรู เหมือนไก่พ้นจากเหยี่ยว ฉะนั้น.
[๑๔๓๒] นรชนผู้มีปัญญาเครื่องพิจารณา ควรละเว้นบุคคลผู้ไม่ตั้งอยู่ในธรรม มัก ทำการกำจัดอยู่เป็นนิตย์ ดังแร้วที่เขาดักไว้ในป่าเช่นนั้นเสียให้ห่างไกล เหมือนไก่ในป่าไผ่ละเว้นเหยี่ยว ฉะนั้น.

จบ กุกกุฏชาดกที่ ๑๐.

๑๑. มัฏฐกุณฑลิชาดก คนร้องไห้ถึงคนตายเป็นคนโง่เขลา


[๑๔๓๓] ท่านประดับแล้วด้วยอาภรณ์ต่างๆ มีต่างหูเกลี้ยงเกลา ทัดทรงระเบียบ ดอกไม้ ลูบไล้กระแจะจันทน์สีเหลือง ท่านมีทุกข์อะไรหรือ จึงมากอด อกคร่ำครวญอยู่ในกลางป่า?
[๑๔๓๔] เรือนรถงามแพรวพราวแล้วไปด้วยทองคำ ของเรามีอยู่แล้ว เราหาล้อ ทั้งสองของรถนั้นยังไม่ได้ ด้วยความทุกข์อันนี้ เราจะตายเป็นแน่ๆ.
[๑๔๓๕] ท่านต้องการรถชนิดไร รถทำด้วยทองคำ แก้วมณี โลหะ หรือรูปิยะ จงบอกรถชนิดนั้นแก่เราเถิด เราจักทำให้ท่าน จะหาล้อทั้งคู่ให้ท่าน?
[๑๔๓๖] ลำดับนั้น มาณพจึงบอกแก่พราหมณ์นั้นว่า พระจันทร์และพระอาทิตย์ ย่อมงามผ่องใสอยู่ในวิถีทั้งสอง รถทองของเราย่อมจะงามด้วยพระจันทร์ และพระอาทิตย์นั้น อันเป็นล้อทั้งคู่.
[๑๔๓๗] ดูกรมาณพ ท่านเป็นคนพาลแท้ เพราะท่านปรารถนาสิ่งที่เขาไม่พึง ปรารถนากัน เราสำคัญว่าท่านจักตายเสียเปล่า ท่านจักไม่ได้พระจันทร์ พระอาทิตย์เลย.
[๑๔๓๘] แม้ความอุทัยและอัสดงของพระจันทร์และพระอาทิตย์นั้น ก็ยังปรากฏ อยู่ สีสรรวรรณะ และวิถีทางของพระจันทร์และพระอาทิตย์ทั้งสอง ก็ ยังปรากฏอยู่ ส่วนบุคคลผู้ล่วงลับไปแล้ว ย่อมไม่ปรากฏเลย เราทั้งสอง ผู้คร่ำครวญอยู่ ใครเล่าหนอจะเป็นคนโง่เขลายิ่งกว่ากัน?
[๑๔๓๙] ดูกรมาณพ ท่านพูดจริง บรรดาเราทั้งสองผู้คร่ำครวญอยู่ เรานี่แหละ คนโง่เขลายิ่งกว่าท่าน เราปรารถนาผู้ตายไปยังปรโลกแล้ว เหมือนเด็ก ร้องไห้อยากได้พระจันทร์ฉะนั้น.
[๑๔๔๐] ท่านมารดาเราผู้เร่าร้อนให้สงบระงับ ดับความกระวนกระวายทั้งปวงได้ เหมือนบุคคลดับไฟ ที่ติดเปรียงด้วยน้ำฉะนั้น.
[๑๔๔๑] ท่านได้ถอนลูกศรที่เสียบแทงหทัยของเรา ออกไปแล้ว ได้บรรเทาความ โศกถึงบุตรของเรา ผู้ถูกความโศกครอบงำแล้วหนอ.
[๑๔๔๒] ดูกรมาณพ เราเป็นผู้ถอนลูกศรได้แล้ว ปราศจากความโศก ไม่มีความ ขุ่นมัว เราจะไม่เศร้าโศก จะไม่ร้องไห้ เพราะได้ฟังถ้อยคำของท่าน.

จบ มัฏฐกุณฑลิชาดกที่ ๑๑.

๑๒. พิลารโกสิยชาดก ให้ทานไม่ได้เพราะเหตุ ๒ อย่าง


[๑๔๔๓] สัตบุรุษทั้งหลายแม้ไม่หุงกินเอง ได้โภชนะมาแล้ว ย่อมปรารถนาจะให้ ท่านหุงโภชนะ ไว้มิใช่หรือ ไม่พึงให้โภชนะนั้น ไม่สมควรแก่ท่าน.
[๑๔๔๔] บุคคลให้ทานไม่ได้ด้วยเหตุ ๒ อย่างคือ ความตระหนี่ ๑ ความประมาท ๑ บัณฑิตผู้รู้แจ้ง เมื่อต้องการบุญพึงให้ทานแท้.
[๑๔๔๕] คนผู้ตระหนี่กลัวยากจน ย่อมไม่ให้อะไรๆ แก่ผู้ใดเลย ความกลัวจน นั่นแลจะเป็นภัยแก่คนผู้ไม่ให้ คนตระหนี่ย่อมกลัวความอยากข้าว อยากน้ำ ความกลัวนั้นแหละ จะกลับมาถูกต้องคนพาลทั้งในโลกนี้ และโลกหน้า.
[๑๔๔๖] เพราะเหตุนั้น บัณฑิตพึงครอบงำมลทิน กำจัดตระหนี่เสียแล้ว พึงให้ ทานเถิด เพราะบุญย่อมเป็นที่พึ่งของสัตว์ทั้งหลายในโลกหน้า.
[๑๔๔๗] ทานผู้ให้ได้ยาก เพราะต้องครอบงำความตระหนี่ก่อน แล้วจึงให้ได้ อสัตบุรุษทั้งหลาย ย่อมไม่ทำทานตามที่สัตบุรุษทำแล้ว ธรรมของ สัตบุรุษอันคนอื่นรู้ได้ยาก.
[๑๔๔๘] เพราะเหตุนั้น คติจากโลกนี้ของสัตบุรุษ กับอสัตบุรุษจึงต่างกัน อสัตบุรุษย่อมไปนรก สัตบุรุษย่อมไปสวรรค์.
[๑๔๔๙] บัณฑิตพวกหนึ่ง ย่อมให้ไทยธรรมแม้มีส่วนเล็กน้อยได้ สัตว์พวกหนึ่ง แม้มีไทยธรรมมาก ก็ให้ไม่ได้ ทักขิณาทานที่บุคคลให้จากของเล็กน้อย ก็นับว่าเสมอด้วยการให้จำนวนพัน.
[๑๔๕๐] แม้ผู้ใดเที่ยวไปขออาหารมา ผู้นั้นชื่อว่า ประพฤติธรรม อนึ่ง บุคคล ผู้เลี้ยงบุตรและภรรยาของตน เมื่อไทยธรรมมีน้อยก็เฉลี่ย ให้แก่สมณะ และพราหมณ์ บุคคลนั้นชื่อว่า ประพฤติธรรม ยัญที่คนตั้งแสนฆ่าสัตว์ มาบูชาแก่คนผู้ควรบูชาจำนวนพัน ยัญของคนเช่นนั้น ย่อมไม่ถึงแม้ เสี้ยวแห่งผลทาน ของคนเข็ญใจผู้ยังไทยธรรมให้เกิดโดยชอบให้อยู่.
[๑๔๕๑] เพราะเหตุไร ยัญนี้ก็ไพบูลย์ มีค่ามาก จึงไม่เท่าค่าแห่งผลทานของ บุคคลที่ให้โดยชอบธรรมเล่า ไฉนยัญที่คนตั้งแสนฆ่าสัตว์มาบูชา แก่ แก่คนที่ควรบูชาจำนวนพันๆ จึงไม่เท่าแม้ส่วนเสี้ยวแห่งผลทาน ของ คนเข็ญใจผู้ยังไทยธรรม ให้เกิดโดยชอบให้อยู่?
[๑๔๕๒] เพราะว่า คนบางพวกตั้งอยู่ในกายกรรมเป็นต้น อันไม่เสมอกัน ทำสัตว์ให้ลำบากบ้าง ฆ่าให้ตายบ้าง ทำให้เศร้าโศกบ้าง แล้วจึงให้ทาน ทักขิณาทานนั้น มีหน้าชุ่มไปด้วยน้ำตา พร้อมทั้งอาชญา จึงไม่เท่าถึง ส่วนเสี้ยวแห่งผลทานที่บุคคลให้แล้วโดยชอบธรรม เพราะอย่างนี้ ยัญที่คนตั้งแสนฆ่าสัตว์มาบูชายัญ แก่คนที่ควรบูชาจำนวนพันๆ จึงไม่ เท่าถึงส่วนเสี้ยวแห่งผลทาน ของคนเข็ญใจผู้ยังไทยธรรมให้เกิดโดยชอบ ให้อยู่.

จบ พิลารโกสิยชาดกที่ ๑๒.

๑๓. จักกวากชาดก ว่าด้วยนกจักรพราก


[๑๔๕๓] ดูกรนกจักรพราก ท่านมีสีสวย รูปงาม ร่างกายแน่นแฟ้น มีสีแดงดัง ทอง ทรวดทรงงาม ใบหน้าผุดผ่อง.
[๑๔๕๔] ท่านจับอยู่ที่ฝั่งคงคา เห็นจะได้กินอาหารอย่างนี้ คือ ปลากา ปลากะบอก ปลาหมอ ปลาเค้า ปลาตะเพียน กระมัง?
[๑๔๕๕] ดูกรสหาย นอกจากสาหร่ายและแหนแล้ว เรามิได้ถือเอาเนื้อสัตว์บก หรือสัตว์น้ำมากินเป็นอาหารเลย นั่นเป็นอาหารของเรา.
[๑๔๕๖] เราไม่เชื่อว่า นกจักรพรากกินอาหารอย่างนั้นเลย เพื่อนเอ๋ย แม้เรากิน อาหารที่คลุกเคล้าด้วยเกลือและน้ำมันในบ้าน.
[๑๔๕๗] ปรุงด้วยเนื้ออันสะอาด ซึ่งเขาทำกินกันในหมู่มนุษย์ ดูกรนกจักรพราก ถึงกระนั้น สีของเราก็ไม่เหมือนท่าน.
[๑๔๕๘] ท่านเบียดเบียนสัตว์ทั้งหลาย จึงต้องคอยมองดูผู้ที่ผูกเวรในตน แม้จะ กินก็สะดุ้งกลัว เพราะเหตุนั้น สีกายของท่านจึงเป็นเช่นนี้.
[๑๔๕๙] ดูกรกา ท่านเป็นผู้ถูกคนทั่วโลกโกรธเคือง อาหารที่ท่านได้มาด้วยกรรม อันลามก ก็หาอิ่มท้องไม่ เพราะเหตุนั้น สีกายของท่าน จึงเป็นเช่น นี้.
[๑๔๖๐] ดูกรสหาย ส่วนเรามิได้เบียดเบียนสัตว์ทั้งปวงมากิน มีความขวนขวาย น้อย ไม่มีใครรังเกียจ ใจไม่ห่อเหี่ยว ภัยแต่ที่ไหนๆ ก็มิได้มี.
[๑๔๖๑] ท่านนั้นจงทำอานุภาพ ละปกติคือความทุศีลของตนเสีย ไม่เบียดเบียน ใครเที่ยวไปในโลก จักเป็นที่รักใคร่ของสัตว์โลกเหมือนเรา ฉะนั้น.
[๑๔๖๒] ผู้ใดไม่ฆ่าเอง ไม่ใช้ให้ผู้อื่นฆ่า ไม่ทำทรัพย์ให้เสื่อมเอง ไม่ใช้ผู้อื่น ทำให้เสื่อม มีเมตตาจิตในสัตว์ทั่วไป ผู้นั้นย่อมไม่มีเวรกับใคร.

จบ จักกวากชาดกที่ ๑๓.

๑๔. ภูริปัญหาชาดก ว่าด้วยคนไม่ดี ๔ จำพวก


[๑๔๖๓] ดูกรท่านผู้มีปัญญากว้างขวาง ได้ยินว่า คำที่ท่านอาจารย์เสนกกล่าวนั้น เป็นความจริง ท่านเป็นผู้มีปัญญา มีศิริ มีความเพียร มีความคิดมั่นคง แม้ท่านเป็นผู้มีปัญญา มีศิริ มีความเพียร มีความคิดมั่นคงเช่นนั้น ก็ป้องกันความเข้าถึงอำนาจแห่งความฉิบหายไม่ได้ ท่านจึงต้องกินข้าว แดงไม่มีแกง.
[๑๔๖๔] เราทำความสุขเดิมของเราให้เจริญได้ด้วยความยาก เมื่อพิจารณากาล อันควรและไม่ควร จึงหลบอยู่ตามความพอใจ เปิดช่องประโยชน์ให้แก่ตน ด้วยเหตุนั้น เราได้ยินดีด้วยข้าวแดง.
[๑๔๖๕] ก็เรารู้จักกาลเพื่อกระทำความเพียร ยังประโยชน์ให้เจริญด้วยความรู้ของ ตนเอง อาจอยู่ เหมือนความองอาจแห่งราชสีห์ ฉะนั้น ท่านจักได้เห็น เราพร้อมด้วยความสำเร็จนั้นอีก.
[๑๔๖๖] ก็บุคคลบางพวก แม้จะมีความสุขก็ไม่ทำบาป บุคคลอีกพวกหนึ่งไม่ ทำบาป เพราะเกรงกลัวต่อการเกี่ยวข้องด้วยความติเตียน ท่านเป็นคน สามารถ มีความคิดกว้างขวาง เหตุไร จึงไม่ทำทุกข์ให้เกิดแก่เรา?
[๑๔๖๗] บัณฑิตทั้งหลาย ย่อมไม่ประพฤติกรรมอันเป็นบาป เพราะเหตุแห่งความสุข ของตน ถูกทุกข์กระทบแล้ว แม้จะพลาดพลั้งลงไปก็สงบอยู่ได้ ไม่ ละทิ้งธรรมเพราะความรักและความชัง.
[๑๔๖๘] บุคคลควรถอนตนผู้เข็ญใจขึ้น ด้วยเพศที่อ่อนแอหรือแข็งแรงอย่างใด อย่างหนึ่ง ภายหลังจึงประพฤติธรรม.
[๑๔๖๙] บุคคลนอน หรือนั่งที่ร่มเงาแห่งต้นไม้ใด ไม่พึงหักรานกิ่งแห่งต้นไม้ นั้น เพราะบุคคลผู้ประทุษร้ายมิตรเป็นคนชั่วช้า.
[๑๔๗๐] บุรุษรู้แจ้งธรรมแต่สำนักอาจารย์ใด อนึ่ง การที่สัตบุรุษทั้งหลาย กำจัด ความสงสัยของบุรุษนั้นนั่นและ ชื่อว่าเป็นดังเกาะหรือเป็นที่พึ่งพา ของ บุรุษนั้น คนมีปัญญาไม่พึงละมิตรภาพ กับอาจารย์เช่นนั้น.
[๑๔๗๑] คฤหัสถ์ผู้บริโภคกามคุณ เป็นคนเกียจคร้าน ไม่ดี บรรพชิต ผู้ไม่สำรวม ระวัง ไม่ดี พระราชาไม่ทรงพิจารณาเสียก่อน แล้วประกอบราชกิจ ไม่ดี บัณฑิตมักโกรธ ก็ไม่ดี.
[๑๔๗๒] ข้าแต่พระราชา กษัตริย์ควรพิจารณาก่อน แล้วจึงค่อยประกอบราชกิจ ไม่พิจารณาก่อนไม่ควรประกอบราชกิจ พระยศและพระเกียรติ ย่อม เจริญแก่พระราชาผู้ทรงพิจารณาเสียก่อน แล้วจึงประกอบราชกิจ.

จบ ภูริปัญหาชาดกที่ ๑๔.

๑๕. มหามังคลชาดก ว่าด้วยมงคล


[๑๔๗๓] นรชนรู้วิชาอะไรก็ดี รู้สุตะทั้งหลายอะไรก็ดี กระซิบถามกันว่า อะไร เป็นมงคล ในเวลาปรารถนามงคล นรชนนั้นจะทำอย่างไร จึงจะเป็นผู้ อันความสวัสดีคุ้มครองแล้ว ทั้งในโลกนี้ และโลกหน้าฯ
[๑๔๗๔] เทวดาและพรหมทั้งปวง ทีฆชาติและสรรพสัตว์ทั้งหลาย บุคคลใด อ่อนน้อมอยู่เป็นนิตย์ ด้วยเมตตา บัณฑิตทั้งหลาย กล่าวเมตตา ของ บุคคลนั้นแลว่า เป็นสวัสดิมงคลในสัตว์ทั้งหลาย.
[๑๔๗๕] ผู้ใดประพฤติถ่อมตนแก่สัตว์โลกทั้งปวง แก่หญิงและชาย พร้อมทั้งเด็ก เป็นผู้อดทนต่อถ้อยคำชั่วร้าย ไม่กล่าวลำเลิกถึงเรื่องเก่าๆ บัณฑิต ทั้งหลายกล่าวความอดกลั้น ของผู้นั้นว่า เป็นสวัสดิมงคล.
[๑๔๗๖] ผู้ใดเป็นผู้มีปัญญาดี มีความรู้ปรุโปร่งในเมื่อเหตุเกิดขึ้น ไม่ดูหมิ่น มิตรสหายทั้งหลายด้วย ศิลป สกุล ทรัพย์ และด้วยชาติ บัณฑิต ทั้งหลายกล่าวการไม่ดูหมิ่นสหายของผู้นั้นว่า เป็นสวัสดิมงคลในสหาย ทั้งหลาย.
[๑๔๗๗] สัตบุรุษทั้งหลายเป็นผู้ชอบพอคุ้นเคยกัน เป็นมิตรแท้ของผู้ใด ผู้มีคำพูด มั่นคง อนึ่ง ผู้ใดเป็นผู้ไม่ประทุษร้ายมิตร แบ่งปันทรัพย์ของตน ให้ แก่มิตร บัณฑิตทั้งหลายกล่าวการได้ประโยชน์เพราะอาศัยมิตร และการ แบ่งปันของผู้นั้นว่า เป็นความสวัสดิมงคลในมิตรทั้งหลาย.
[๑๔๗๘] ภรรยาของผู้ใดมีวัยเสมอกัน อยู่รวมกันด้วยความปรองดอง ประพฤติ ตามใจกัน เป็นคนใคร่ธรรม ไม่เป็นหญิงหมัน มีศีลโดยสมควรแก่สกุล รู้จักปรนนิบัติสามี บัณฑิตทั้งหลาย กล่าวคุณความดีในภรรยาของผู้นั้น ว่าเป็นสวัสดิมงคลในภรรยาทั้งหลาย.
[๑๔๗๙] พระราชาเป็นเจ้าแผ่นดิน ทรงพระอิศริยยศใหญ่ ทรงทราบความสะอาด และความขยันหมั่นเพียรของราชเสวกคนใด และทรงทราบราชเสวก คนใด ด้วยความเป็นผู้ไม่ร้าวรานกับพระองค์ และทรงทราบราชเสวก คนใดว่ามีใจจงรักภักดีต่อเรา บัณฑิตทั้งหลายกล่าวคุณความดีของราช เสวกนั้นๆ ว่าเป็นสวัสดิมงคล ในพระราชาทั้งหลาย.
[๑๔๘๐] บุคคลใดมีศรัทธาให้ข้าวน้ำ ให้ดอกไม้ของหอม และเครื่องลูบไล้ มีจิต เลื่อมใสอนุโมทนา บัณฑิตทั้งหลายกล่าวคุณข้อนั้นของบุคคลนั้นแล ว่าเป็นความสวัสดีในสวรรค์ทั้งหลาย.
[๑๔๘๑] สัตบุรุษทั้งหลายผู้รู้แจ้งด้วยญาณ ผู้ยินดีแล้ว ในสัมมาปฏิบัติ เป็น พหูสูต แสวงหาคุณ เป็นผู้มีศีล ยังบุคคลใดให้บริสุทธิ์ด้วยอริยธรรม บัณฑิตทั้งหลายยกย่องคุณความดีของสัตบุรุษนั้น ว่าเป็นความสวัสดีใน ท่ามกลางพระอรหันต์.
[๑๔๘๒] ความสวัสดีเหล่านี้แล ผู้รู้สรรเสริญแล้ว มีสุขเป็นผลกำไรในโลก นรชน ผู้มีปัญญา พึงเสพความสวัสดีเหล่านั้นไว้ในโลกนี้ ก็ในมงคลมีประเภท คือ ทิฏฐมงคล สุตมงคล และมุตมงคล มงคลสักนิดหนึ่งที่จะเป็น มงคลจริงๆ ไม่มีเลย.

จบ มหามังคลชาดกที่ ๑๕.

๑๖. ฆตปัณฑิตชาดก ว่าด้วยความดับความโศก


[๑๔๘๓] ข้าแต่พระองค์ผู้กัณหวงศ์ เชิญพระองค์เสด็จลุกขึ้นเถิด จะมัวทรง บรรทมอยู่ทำไม ความเจริญอะไรจะมีแก่พระองค์ด้วยพระสุบินเล่า พระภาดาของพระองค์แม้ใด เสมอด้วยพระหทัย และเสมอด้วย พระเนตรข้างขวา ลมกระทบดวงหทัยของพระภาดานั้น ข้าแต่พระเจ้า เกสวะ ฆตบัณฑิตทรงเพ้อไป.
[๑๔๘๔] พระเจ้าเกสวะทรงสดับคำของโรหิเณยยอำมาตย์ นั้นแล้ว อัดอั้น พระหฤทัยด้วยความเศร้าโศก ถึงพระภาดา มีพระวรกายกระสับกระส่าย เสด็จลุกขึ้น.
[๑๔๘๕] เหตุไรหนอ เจ้าจึงเป็นเหมือนคนบ้า เที่ยวบ่นเพ้ออยู่ทั่วนครทาวราวดี นี้ว่า กระต่าย กระต่าย ใครมาลักเอากระต่ายของเจ้าไปหรือ?
[๑๔๘๖] เจ้าปรารถนากระต่ายทอง กระต่ายเงิน กระต่ายแก้วมณี กระต่าย สังขสิลา หรือกระต่ายแก้วประพาฬประการใด จงบอกแก่เรา เรา จะให้เขาทำให้เจ้า. ถ้าแม้เจ้าไม่ชอบกระต่ายเหล่านี้ แม้กระต่ายอื่นๆ มีอยู่ในป่า เราจะให้เขานำเอากระต่ายเหล่านั้นมาให้ เจ้าต้องการ กระต่ายชนิดใดเล่า?
[๑๔๘๗] ข้าแต่พระเจ้าเกสวะ กระต่ายเหล่าใดที่อาศัยอยู่บนแผ่นดิน หม่อมฉัน ไม่ปรารถนากระต่ายเหล่านั้น หม่อมฉันปรารถนากระต่ายจากดวงจันทร์ ขอพระองค์ได้ทรงโปรดสอยกระต่ายนั้นมาให้หม่อมฉันเถิด.
[๑๔๘๘] น้องรัก เจ้าปรารถนาสิ่งที่เขาไม่พึงปรารถนากัน อยากได้กระต่ายจาก ดวงจันทร์ จะละชีวิตไปเสียเป็นแน่.
[๑๔๘๙] ข้าแต่พระองค์ผู้กัณหวงศ์ ถ้าพระองค์ทรงทราบและตรัสสอนผู้อื่น อย่างนี้ เหตุไรพระองค์จึงทรงเศร้าโศกถึงพระราชโอรส ผู้สิ้นพระชนม์ ไปแล้ว ในกาลก่อน จนกระทั่งถึงวันนี้เล่า?
[๑๔๙๐] มนุษย์ หรือเทวดาไม่พึงได้ฐานะอันใด คือความมุ่งหวังว่า บุตรของเรา ที่เกิดมาแล้วอย่าตายเลย พระองค์ทรงปรารถนาข้า ฐานะนั้นอยู่ จะพึง ทรงได้ฐานะที่ไม่ควรได้แต่ที่ไหน ข้าแต่พระองค์ผู้กัณหวงศ์ พระองค์ ทรงเศร้าโศกถึงพระโอรสองค์ใด ผู้ไปรโลกแล้ว พระองค์ก็ไม่สามารถ จะนำพระโอรสนั้นมาได้ด้วยมนต์ ยารากไม้ โอสถ หรือ พระราชทรัพย์ เลย.
[๑๔๙๑] บุรุษผู้เป็นบัณฑิตเช่นนี้ เป็นอำมาตย์ ของพระราชาพระองค์ใด พระ ราชาพระองค์นั้น จะมีความโศกมาแต่ไหน เหมือนฆตบัณฑิต ดับความ โศกของเราในวันนี้. ฆตบัณฑิตได้รดเรา ผู้เร่าร้อนให้สงบระงับ ดับความกระวนกระวายทั้งปวงได้ เหมือนบุคคลดับไฟที่ติดเปรียง ด้วยน้ำ ฉะนั้น. ฆตบัณฑิตได้ถอนลูกศรที่เสียบแทงหทัยของเราออกแล้ว ได้บันเทาความโศก ถึงบุตรของเราผู้ถูกความเศร้าโศกครอบงำแล้วหนอ. เราเป็นผู้ถอนลูกศรออกได้แล้ว ปราศจากความโศก ไม่ขุ่นมัว จะไม่เศร้าโศก จะไม่ร้องไห้ เพราะได้ฟังคำของเจ้า นะน้องชาย.
[๑๔๙๒] ผู้มีปัญญา มีใจกรุณา ย่อมทำผู้ที่เศร้าโศก ให้หลุดพ้นจากความเศร้าโศก ได้ เหมือนฆตบัณฑิตทำพระเชฏฐาผู้เศร้าโศก ให้หลุดพ้นจากความ เศร้าโศก ฉะนั้น.

จบ ฆตปัณฑิตชาดกที่ ๑๖.

_________________ รวมชาดกที่มีในวรรคนี้ คือ ๑. จตุทวารชาดก๒. กัณหชาดก ๓. จตุโปสถชาดก ๔. สังขชาดก ๕. จุลลโพธิชาดก ๖. มัณฑัพยชาดก ๗. นิโครธชาดก๘. ตักกลชาดก ๙. มหาธรรมปาลชาดก ๑๐. กุกกุฏชาดก ๑๑. มัฏฐกุณฑลิชาดก ๑๒. พิลารโกสิยชาดก ๑๓. จักกวากชาดก ๑๔. ภูริปัญหาชาดก ๑๕. มหามังคลชาดก ๑๖. ฆตปัณฑิตชาดก จบ ทสกนิบาตชาดก. _________________

กลับที่เดิม