๑๑. ปโรสตวรรค

๑. ปโรสตชาดก คนมีปัญญาคนเดียวดีกว่าคนโง่เขลาตั้งร้อย

[๑๐๑] คนโง่เขลามาประชุมกัน แม้ตั้งร้อยคนขึ้นไป พวกเขาไม่มีปัญญา พึงเพ่ง ดูอยู่ตั้งร้อยปี ผู้ใดรู้แจ้งเนื้อความแห่งภาษิต ผู้นั้นเป็นบุรุษมีปัญญา คนเดียวเท่านั้น ประเสริฐกว่า.

จบ ปโรสตชาดกที่ ๑.

๒. ปัณณิกชาดก ว่าด้วยที่พึงให้โทษ

[๑๐๒] ผู้ใดเมื่อดิฉันได้รับทุกข์พึงเป็นที่พึ่งได้ ผู้นั้นคือบิดาของดิฉันกลับมาทำ ความประทุษร้ายแก่ดิฉันในป่า ดิฉันจะคร่ำครวญถึงใครในกลางป่า ผู้ใด ควรจะเป็นที่พึ่งของดิฉัน ผู้นั้นกลับมาทำกรรมอย่างสาหัส.

จบ ปัณณิกชาดกที่ ๒.

๓. เวริชาดก การอยู่ร่วมกับมีเวรกัน

[๑๐๓] คนมีเวรกันอยู่ในที่ใด บัณฑิตไม่ควรอยู่ในที่นั้น เพราะเมื่ออยู่ในพวก คนมีเวรกันคืนเดียว หรือสองคืน ก็อยู่เป็นทุกข์.

จบ เวริชาดกที่ ๓.

๔. มิตตวินทชาดก โทษผู้ลุอำนาจความปรารถนา

[๑๐๔] ผู้มีความปรารถนาจัด มี ๔ ก็ต้องการ ๘ มี ๘ ก็ต้องนั้น ๑๖ มี ๑๖ ก็ต้อง การ ๓๒ บัดนี้ มาได้รับกงจักรกรด กงจักรกรดพัดอยู่เหนือศีรษะ ของคนผู้ลุอำนาจความปรารถนา.

จบ มิตตวินทชาดกที่ ๔.

๕. ทุพพลกัฏฐชาดก ว่าด้วยช้างกลัวไม้แห้ง

[๑๐๕] ลมย่อมพัดไม้แห้งที่ทุรพลในป่านี้ แม้มีจำนวนมากมายให้หักลง ดูกร ช้างตัวประเสริฐ ถ้าท่านมากลัวต่อไม้แห้งนั้น ท่านจักซูบผอมเป็นแน่.

จบ ทุพพลกัฏฐชาดกที่ ๕.

๖. อุทัญจนีชาดก ว่าด้วยหญิงโจร

[๑๐๖] หญิงโจรผู้นำของไปด้วยหม้อน้ำ เบียดเบียนฉัน ผู้เคยมีชีวิตอยู่เป็นสุข จะขอน้ำมัน หรือเกลือ ก็ด้วยการกล่าวคำอ่อนหวานฐานเป็นภรรยา.

จบ อุทัญจนีชาดกที่ ๖.

๗. สาลิตตกชาดก ว่าด้วยคนมีศิลปะ

[๑๐๗] ขึ้นชื่อว่าศิลปะแม้อย่างใดอย่างหนึ่ง ย่อมยังประโยชน์ให้สำเร็จโดยแท้ ขอเชิญพระองค์ ทรงทอดพระเนตร บุรุษเปลี้ยได้บ้านส่วยทั้ง ๔ ทิศ ก็เพราะการดีดมูลแพะ.

จบ สาลิตตกชาดกที่ ๗.

๘. พาหิยชาดก เป็นคนควรศึกษาศิลปะ

[๑๐๘] บุคคลควรศึกษาศิลปะทั้งหลาย ชนทั้งหลายที่พอใจในศิลปะนั้นก็มีอยู่ แม้แต่หญิงที่เกิดในจังหวัดชั้นนอก ก็ยังทำให้พระราชาทรงโปรดปรานได้ ด้วยความกระมิดกระเมี้ยนของเธอ.

จบ พาหิยชาดกที่ ๘.

๙. กุณฑกปูวชาดก ว่าด้วยมีอย่างไรกินอย่างนั้น

[๑๐๙] บุรุษกินอย่างไร เทวดาของบุรุษนั้นก็กินอย่างนั้น ท่านจงนำเอาขนมรำ นั้นมา อย่าให้ส่วนของเราเสียไปเลย.

จบ กุณฑกปูวชาดกที่ ๙.

๑๐. สัพพสังหารกปัญหา ว่าด้วยการพูดของหญิง ๒ ประเภท

[๑๑๐] กลิ่นเครื่องอบทั้งปวงไม่มี มีแต่กลิ่นดอกประยงล้วนฟุ้งไป หญิงนักเลง คนนี้ ย่อมกล่าวคำเหลาะแหละ หญิงผู้ใหญ่กล่าวคำจริง.

จบ สัพสังหารกปัญหาที่ ๑๐.

จบ ปโรสตวรรคที่ ๑๑. _________________ รวมชาดกที่มีในวรรคนี้ คือ ๑. ปโรสตชาดก ๒. ปัณณิกชาดก ๓. เวริชาดก ๔. มิตตวินทชาดก ๕. ทุพพลกัฏฐชาดก ๖. อุทัญจนีชาดก ๗. สาลิตตกชาดก ๘. พาหิยชาดก ๙. กุณฑกปูวชาดก ๑๐. สัพพสังหารกปัญหา. _________________

๑๒. หังสิวรรค

๑. คัทรภปัญหา ว่าด้วยลากับม้าอัสดร

[๑๑๑] ข้าแต่พระราชาผู้ประเสริฐ ถ้าพระองค์ทรงสำคัญอย่างนี้ว่าบิดาประเสริฐ กว่าบุตรไซร้ มิฉะนั้น ลาตัวนี้ก็ประเสริฐกว่าม้าอัสดรของพระองค์ เพราะว่าลาเป็นพ่อม้าอัสดร.

จบ คัทรภปัญหาที่ ๑.

๒. อมราเทวีปัญหา บอกใบ้หนทางไปบ้าน

[๑๑๒] ร้านขายข้าวสัตตู ร้านขายน้ำส้มพะอูม และต้นทองหลางใบมนซึ่งมีดอก บานแล้ว มีอยู่ ณ ที่ใด ท่านจงไป ณ ที่นั้นเถิด ฉันให้ของด้วยมือใด ฉันย่อมกล่าวด้วยมือนั้น ฉันไม่ได้ของด้วยมือใด ฉันไม่กล่าวด้วยมือนั้น นี่เป็นหนทางของบ้านชื่อว่ายวมัชฌกคาม ท่านจงรู้ทางที่ฉันกล่าวปกปิด นี้เองเถิด.

จบ อมราเทวีปัญหา ที่ ๒.

๓. สิคลชาดก ว่าด้วยพราหมณ์เชื่อสุนัข

[๑๑๓] ดูกรพราหมณ์ ท่านเชื่อสุนัขผู้ดื่มสุราหรือ เพียง ๑๐๐ เบี้ยก็ไม่มี อย่าว่า ถึง ๒๐๐ กหาปณะเลย?

จบ สิคาลชาดกที่ ๖.

๔. มิตจินติชาดก ว่าด้วยปลาช่วยปลาให้พ้นข่าย

[๑๑๔] ปลา ๒ ตัวคือ ปลาพหูจินตี และปลาอัปปจินตี ติดอยู่ในข่าย ปลาชื่อ มิตจินตีได้ช่วยให้พ้นจากข่าย ปลาทั้ง ๒ ตัวจึงได้มาพร้อมกันกับปลา จินตี ในแม่น้ำนั้น.

จบ มิตจินติชาดกที่ ๔.

๕. อนุสาสิกชาดก ว่าด้วยดีแต่สอนผู้อื่น

[๑๑๕] นางนกสาลิกาตัวใด สั่งสอนนกตัวอื่นอยู่เนืองๆ ตัวเองมีปกติเที่ยวไป ด้วยละโมบ นางนกสาลิกาตัวนั้นถูกล้อบดแล้วมีปีกหักนอนอยู่.

จบ อนุสาสิกชาดกที่ ๕.

๖. ทุพพจชาดก ได้รับโทษเพราะทำเกินไป

[๑๑๖] ท่านอาจารย์ ท่านได้ทำเกินไป การกระทำของท่านนั้นไม่ชอบใจแม้แก่ ข้าพเจ้า ท่านโดดพ้นหอกเล่มที่ ๔ แล้ว ถูกหอกเล่มที่ ๕ เสียบเข้าแล้ว.

จบ ทุพพจชาดกที่ ๖.

๗. ติตติรชาดก ว่าด้วยตายเพราะปาก

[๑๑๗] วาจาที่ดังเกินไป ความเป็นผู้มีกำลังแรงเกินไป บุคคลกล่าวล่วงเวลา ย่อมฆ่าบุคคลผู้มีปัญญาทรามเสีย ดุจวาจาที่ฆ่านกกระทาผู้ขันดังเกินไป ฉะนั้น.

จบ ติตติรชาดกที่ ๗.

๘. วัฏฏกชาดก ว่าด้วยการใช้ความคิด

[๑๑๘] บุรุษเมื่อไม่คิดก็ย่อมไม่ได้ผลพิเศษ ท่านจงดูผลแห่งอุบายที่เราคิดเถิด เราพ้นแล้วจากการฆ่าและจองจำ ก็ด้วยอุบายนั้น.

จบ วัฏฏกชาดกที่ ๘.

๙. อกาลราวิชาดก ว่าด้วยไก่ขันไม่ถูกเวลา

[๑๑๙] ไก่ตัวนี้ไม่ได้เติบโตอยู่กับพ่อแม่ ไม่ได้อยู่ในสำนักอาจารย์ ย่อมไม่รู้จัก กาลที่ควรขัน และไม่ควรขัน.

จบ อกาลราวิชาดกที่ ๙.

๑๐. พันธนโมกขชาดก ว่าด้วยการหลุดพ้นจากเครื่องผูกมัด

[๑๒๐] คนพาลทั้งหลายผู้ไม่ถูกผูกมัด กล่าวขึ้นในที่ใด ก็ย่อมถูกผูกมัดในที่นั้น ส่วนบัณฑิต แม้ถูกผูกมัดแล้ว กล่าวขึ้นในที่ใด ก็หลุดพ้นได้ในที่นั้น.

จบ พันธนโมกขชาดกที่ ๑๐.

จบ หังสิวรรคที่ ๑๒. _________________ รวมชาดกที่มีในวรรคนี้ คือ ๑. คัทรภปัญหา ๒. อมราเทวีปัญหา ๓. สิคาลชาดก ๔. มิตจินติชาดก ๕. อนุสาสิกชาดก ๖. ทุพพจชาดก ๗. ติตติรชาดก ๘. วัฏฏกชาดก ๙. อกาลราวิชาดก ๑๐. พันธนโมกขชาดก. _________________

๑๓. กุสนาฬิวรรค

๑. กุสนาฬิชาดก ว่าด้วยประโยชน์ของการผูกมิตร

[๑๒๑] บุคคลผู้เสมอกัน ประเสริฐกว่ากัน หรือเลวกว่ากัน พึงกระทำมิตร ธรรมเถิด เพราะมิตรเหล่านั้น เมื่อความเสื่อมเกิดขึ้น ก็พึงทำประโยชน์ อันอุดมให้ได้ ดุจเราผู้เป็นรุกขเทวดาและกุสนาฬิเทวดา คบหาเป็น มิตรกัน ฉะนั้น.

จบ กุสนาฬิชาดกที่ ๑.

๒. ทุมเมธชาดก คนโง่ได้ยศไม่เป็นประโยชน์

[๑๒๒] ผู้มีปัญญาทรามได้ยศแล้ว ย่อมประพฤติสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์แก่ตน ย่อมปฏิบัติเพื่อความเบียดเบียนตนและคนอื่น ฯ

จบ ทุมเมธชาดกที่ ๒.

๓. นังคลีสชาดก คนพาลกล่าวคำที่ไม่ควรกล่าว

[๑๒๓] คนพาล ย่อมกล่าวคำที่ไม่ควรกล่าวทุกอย่างได้ในทุกแห่ง คนพาลนี้ ไม่รู้จักเนยข้น และงอนไถ ย่อมสำคัญเนยข้นและนมสดว่าเหมือน งอนไถ.

จบ นังคลีสชาดกที่ ๓.

๔. อัมพชาดก บัณฑิตควรพยายามร่ำไป

[๑๒๔] บุรุษผู้เป็นบัณฑิตควรพยายามร่ำไป ไม่ควรเบื่อหน่าย จงดูผลแห่ง ความพยายาม ผลมะม่วงทั้งหลายที่หล่นให้บริโภคอยู่ก็ด้วยความพยายาม ทั้งนั้น ไม่ใช่ของที่ได้บินมาเลย.

จบ อัมพชาดกที่ ๔.

๕. กฏาหกชาดก ว่าด้วยคนขี้โอ่

[๑๒๕] ผู้ใดไปสู่ชนบทอื่น ผู้นั้นพึงกล่าวอวดแม้มากมาย ดูกรกฏหกะ เจ้าของเงินจะติดตามมาประทุษร้ายเอา เชิญท่านบริโภคอาหารเสีย เถิด.

จบ กฏาหกชาดกที่ ๕.

๖. อสิลักขณชาดก ว่าด้วยเหตุอย่างเดียวคนได้ผลต่างกัน

[๑๒๖] เหตุอย่างเดียวกันนั่นและ เป็นผลดีแก่คนคนหนึ่ง แต่เป็นผลร้ายแก่ อีกคนหนึ่งได้ เพราะฉะนั้น เหตุอย่างเดียวกัน มิใช่ว่าจะเป็นผลดีไป ทั้งหมด และมิใช่ว่าจะเป็นผลร้ายไปทั้งหมด.

จบ อสิลักขณชาดกที่ ๖.

๗. กลัณฑุกชาดก ว่าด้วยสกุลของนายกลัณฑุกะ

[๑๒๗] สกุลของท่านไม่ใช่สกุลสูง เราผู้เที่ยวอยู่ในป่าก็ยังรู้ได้ นายของท่าน ทราบแน่แล้วพึงจับท่านไป ดูกรนายกลัณฑุกะ ท่านจงดื่มน้ำนมเสียเถิด.

จบ กลัณฑุกชาดกที่ ๗.

๘. มูสิกชาดก ว่าด้วยผู้เอาธรรมบังหน้า

[๑๒๘] ผู้ใดและทำธรรมให้เป็นธง แต่ซ่อนความประพฤติไม่ดีไว้ล่อผู้อื่นให้ ตายใจ ความประพฤติของผู้นั้นชื่อว่า เป็นความประพฤติของแมว.

จบ มูสิกชาดกที่ ๘.

๙. อัคคิกชาดก ว่าด้วยท่านอัคคิกะ

[๑๒๙] แหยมนี้ไม่มีอยู่เพราะเหตุแห่งบุญ มีอยู่เพราะเหตุจะกินผู้อื่น ฝูงหนู ย่อมไม่ถึงวิธีนับชื่ออังคุฏฐิ พอทีเถอะท่านอัคคิกะ.

จบ อัคคิกชาดกที่ ๙.

๑๐. โกสิยชาดก ว่าด้วยถ้อยคำกับการกินไม่สมกัน [๑๓๐] ดูกรท่านผู้โกสิยะ ท่านจงกินยาให้สมกับที่ท่านอ้างว่าป่วย หรือจงทำ การงานให้สมกับอาหารที่ท่านบริโภค เพราะถ้อยคำกับการกินของท่าน ทั้ง ๒ ประการ ไม่สมกัน.

จบ โกสิยชาดกที่ ๑๐.

จบ กุสนาฬิวรรคที่ ๑๓. __________________ รวมชาดกที่มีในวรรคนี้ คือ ๑. กุสนาฬิชาดก ๒. ทุมเมธชาดก ๓. นังคลีสชาดก ๔. อัมพชาดก ๕. กฏาหกชาดก ๖. อสิลักขณชาดก ๗. กลัณฑุกชาดก ๘. มูสิกชาดก ๙. อัคคิกชาดก ๑๐. โกสิยชาดก.

๑๔. อสัมปทานวรรค

๑. อสัมปทานชาดก การไม่รับของทำให้เกิดการแตกร้าว

[๑๓๑] ความไมตรีของผู้ใดผู้หนึ่งซึ่งเป็นคนพาล ย่อมเป็นโทษแตกร้าวจากกัน เพราะไม่รับของไว้ เพราะฉะนั้น เราจึงรับเอาข้าวลีบกึ่ง มานะไว้ ด้วยมาคิดว่า ความไมตรีของเราอย่าได้แตกร้าวเสียเลย ขอให้ไมตรีของ เรานี้ ดำรงยั่งยืนต่อไปเถิด.

จบ อสัมปทานชาดกที่ ๑.

๒. ปัญจภีรุกชาดก ว่าด้วยความสวัสดี

[๑๓๒] เราไม่ตกอยู่ในอำนาจของพวกผีเสื้อน้ำ เพราะความเพียรมั่นคง ดำรง อยู่ในคำแนะนำของผู้ฉลาด และเป็นผู้ขลาดต่อภัย ความสวัสดีจากภัย ใหญ่นั้น เกิดขึ้นแล้วแก่เรา.

จบ ปัญจภีรุกชาดกที่ ๒.

๓. ฆตาสนชาดก ว่าด้วยภัยเกิดจากที่พึ่ง

[๑๓๓] ความเกษมมีอยู่บนหลังน้ำใด บนหลังน้ำนั้น มีข้าศึกมารบกวน ไฟลุก โพลงอยู่ ณ ท่ามกลางน้ำ วันนี้ การอยู่ของพวกเราที่ต้นไม้อันเกิดที่ แผ่นดินนี้ไม่มี ท่านทั้งหลายจงพากันหลีกไปเสียยังทิศทั้งหลายเถิด วันนี้ ภัยเกิดขึ้นจากที่พึ่งของพวกเรา.

จบ ฆตาสนชาดกที่ ๓.

๔. ฌานโสธนชาดก ว่าด้วยสุขเกิดจากสมาบัติ

[๑๓๔] สัตว์เหล่าใดเป็นผู้มีสัญญา แม้สัตว์เหล่านั้นก็ชื่อว่าเป็นทุคตะ สัตว์เหล่าใดเป็นผู้ไม่มีสัญญา ถึงสัตว์เหล่านั้นก็ชื่อว่า เป็นทุคตะ ท่าน จงละเว้นความเป็นสัญญีสัตว์และอสัญญีสัตว์ทั้ง ๒ นี้เสีย สุขอันเกิด จากสมาบัตินั้น เป็นของไม่มีกิเลสเครื่องยั่วยวน.

จบ ฌานโสธนชาดกที่ ๔.

๕. จันทาภชาดก ว่าด้วยผู้เข้าถึงอาภัสสรพรหม

[๑๓๕] ในโลกนี้ ผู้ใดหยั่งลงสู่แสงจันทร์และแสงอาทิตย์ด้วยปัญญา ผู้นั้นย่อม เข้าถึงอาภัสสรพรหมโลก ด้วยฌานอันไม่มีวิตก

จบ จันทาภชาดกที่ ๕.

๖. สุวรรณหังสชาดก โลภมากลาภหาย

[๑๓๖] บุคคลได้สิ่งใด ควรยินดีด้วยสิ่งนั้น เพราะความโลภเกินประมาณ เป็นความลามก นางพราหมณีจับพระยาหงส์ได้แล้ว ก็เสื่อมจาก ทองคำ.

จบ สุวรรณหังสชาดกที่ ๖.

๗. พัพชาดก ว่าด้วยวิธีให้แมวตาย

[๑๓๗] แมวตัวที่ ๑ ได้หนูหรือเนื้อในที่ใด แมวตัวที่ ๒ ที่ ๓ และ ที่ ๔ ก็ เกิดขึ้นในที่นั้น แมวเหล่านั้นได้พากันเอาอกฟาดปล่องแก้วผลึกนี้ แล้ว ถึงความสิ้นชีวิตทั้งหมด.

จบ พัพพุชาดกที่ ๗.

๘. โคธชาดก ว่าด้วยฤาษีหลอกกินเหี้ย

[๑๓๘] ดูกรท่านผู้มีปัญญาทราม ประโยชน์อะไรแก่ท่านด้วยชฎาทั้งหลาย ประโยชน์อะไรแก่ท่านด้วยหนังเสือ ภายในของท่านขรุขระ ท่านย่อม ขัดสีแต่ภายนอก.

จบ โคธชาดกที่ ๘.

๙. อุภโตภัฏฐชาดก ว่าด้วยผู้เสียหายหมดทุกอย่าง

[๑๓๙] ตาของท่านก็แตก ผ้าของท่านก็หาย ภรรยาของท่านก็ทะเลาะกับหญิง เพื่อนบ้าน ท่านมีการงานเสีย ๒ ทาง คือ ทั้งทางน้ำและทางบก.

จบ อุภโตภัฏฐชาดกที่ ๙.

๑๐. กากชาดก ว่าด้วยกาไม่มีมันเหลว

[๑๔๐] ขึ้นชื่อว่ากาทั้งหลาย มีใจหวาดเสียวอยู่เป็นนิตย์ เป็นผู้เบียดเบียนสัตว์ ทั้งปวง เพราะฉะนั้น กาทั้งหลายผู้เป็นญาติของเราจึงไม่มีมันเหลว.

จบ กากชาดกที่ ๑๐.

จบ อสัมปทานวรรคที่ ๑๔. _________________ รวมชาดกที่มีในวรรคนี้ คือ ๑. อสัมปทานชาดก ๒. ปัญจภีรุกชาดก ๓. ฆตาสนชาดก ๔. ฌานโสธนชาดก ๕. จันทาภชาดก ๖. สุวรรณหังสชาดก ๗. พัพพุชาดก ๘. โคธชาดก ๙. อุภโตภัฏฐชาดก ๑๐. กากชาดก. _________________

๑๕. กกัณฏกวรรค

๑. โคธชาดก คบคนชั่วไม่มีความสุข

[๑๔๑] ผู้คบคนชั่ว ย่อมไม่ได้ความสุขโดยส่วนเดียว เขาย่อมทำตนให้ถึง ความพินาศ เหมือนตระกูลเหี้ย ไม่ได้ความสุขจากกิ้งก่า ฉะนั้น.

จบ โคธชาดกที่ ๑.

๒. สิคาลชาดก ว่าด้วยทำอุบายนอนตาย

[๑๔๒] เหตุที่ท่านทำเป็นเหมือนนอนตายนี้ รู้ได้ยากอยู่ เพราะว่า เมื่อเราคาบ ปลายไม้ฆ้อนฉุดไป ไม้ฆ้อนก็ไม่หลุดจากมือของท่าน.

จบ สิคาลชาดกที่ ๒.

๓. วิโรจนชาดก ว่าด้วยผู้ถูกเยาะเย้ย

[๑๔๓] มันสมองของท่านไหลออกแล้ว กระหม่อมของท่านก็ถูกทำลายแล้ว ซี่โครงของท่านหักพังไปสิ้นแล้ว วันนี้ ท่านย่อมรุ่งเรืองแท้.

จบ วิโรจนชาดกที่ ๓.

๔. นังคุฏฐชาดก ว่าด้วยบูชาไฟด้วยหางวัว

[๑๔๔]ดูกรไฟผู้ชาติชั่ว หางวัวสำหรับที่ข้าพเจ้าจะบูชาท่านนี้มีมาก วันนี้ เนื้อวัว ไม่มีจะบูชาท่านผู้ไม่สมควรแก่เนื้อวัว ท่านจงรับแต่หางวัวเถิด.

จบ นังคุฏฐชาดกที่ ๔.

๕. ราธชาดก ว่าด้วยพูดเพ้อเจ้อเพราะความเขลา

[๑๔๕] ดูกรราธะ ท่านไม่รู้จักคนทั้งหลายที่ยังไม่มาในเวลาปฐมยาม ท่านพูด เพ้อเจ้อไปตามความโง่เขลา นางพราหมณีผู้โกสิยโคตรเป็นหญิงไม่ดี หมดความรักใคร่ในบิดาของท่าน.

จบ ราธชาดกที่ ๕.

๖. กากชาดก ว่าด้วยกาวิดน้ำด้วยปาก

[๑๔๖] เออก็คางของเราเมื่อยล้าแล้ว และปากของเราก็ซูบซีด เราพากันเลิก เถอะ อย่าวิดเลย เพราะมหาสมุทรก็ยังเต็มอยู่ตามเดิม.

จบ กากชาดกที่ ๖.

๗. บุปผรัตตชาดก เป็นทุกข์เพราะภรรยาไม่ได้ผ้าย้อมดอกคำ

[๑๔๗] ความทุกข์เพราะถูกเสียบหลาวนี้ก็ดี ความทุกข์ที่ถูกกาจิกเราก็ดี ก็ไม่ เป็นความทุกข์ของเรา ความทุกข์ที่ว่าภรรยาของเราจะไม่ได้นุ่งห่มผ้าย้อม ดอกคำเที่ยวเล่นมหรสพในเดือน ๑๒ นี้ เป็นทุกข์ของเรา.

จบ บุปผรัตตชาดกที่ ๗.

๘. สิคาลชาดก ว่าด้วยสุนัขเข้าอยู่ในท้องช้าง

[๑๔๘] เราจะไม่เข้าไปสู่ท้องช้างบ่อยๆ อีกต่อไปแล้ว เพราะในเวลาที่เข้าไป อยู่ในท้องช้าง เราถูกภัยคุกคามแล้ว.

จบ สิคาลชาดกที่ ๘.

๙. เอกปัณณชาดก ว่าด้วยต้นไม้ใบเดียว

[๑๔๙] ต้นไม้นี้มีเพียงใบเดียว จากพื้นสูงไม่เกิน ๔ นิ้ว ยังมีรสเช่นกับยาพิษ ต้นไม้นี้เติบโตขึ้นจักขมสักเพียงไหน?

จบ เอกปัณณชาดกที่ ๙.

๑๐. สัญชีวชาดก ว่าด้วยโทษที่ยกย่องอสัตบุรุษ

[๑๕๐] ผู้ใดยกย่องอสัตบุรุษ และคบหาอสัตบุรุษ อสัตบุรุษย่อมทำผู้นั้นแหละ ให้เป็นอาหาร เหมือนเสือโคร่งที่ตายแล้ว สัญชีวมาณพร่ายมนต์ให้กลับ ฟื้นขึ้นมา ทำสัญชีวมาณพให้เป็นเหยื่อ ฉะนั้น.

จบ สัญชีวชาดกที่ ๑๐.

จบ กกัณฏกวรรคที่ ๑๕. _________________ รวมชาดกที่มีในวรรคนี้ คือ ๑. โคธชาดก ๒. สิคาลชาดก ๓. วิโรจนชาดก ๔. นังคุฏฐชาดก ๕. ราธชาดก ๖. กากชาดก ๗. บุปผรัตตชาดก ๘. สิคาลชาดก ๙. เอกปัณณชาดก ๑๐. สัญชีวชาดก. _________________

กลับที่เดิม