วิสตินิบาตชาดก

๑. มาตังคชาดก อานุภาพของมาตังคฤาษี


[๒๐๓๓] ท่านมีปกตินุ่งห่มไม่สมควร ดุจปีศาจเปรอะเปื้อนด้วยฝุ่นละออง สวม ใส่ผ้าขี้ริ้วที่ได้จากกองขยะไว้ที่คอ มาจากไหน ท่านเป็นใคร เป็นผู้ไม่ ควรแก่ทักขิณาทานเลย?

[๒๐๓๔] ข้าวน้ำนี้ท่านจัดไว้เพื่อท่านผู้เรืองยศ พราหมณ์ทั้งหลายย่อมขบเคี้ยว บริโภคและดื่มข้าวน้ำของท่านนั้น ท่านรู้จักข้าพเจ้าว่าเป็นผู้อาศัยโภชนะที่ ผู้อื่นให้เลี้ยงชีวิต ถึงคนจัณฑาลก็ขอจงได้ก้อนข้าวบ้างเถิด.
[๒๐๓๕] ข้าวน้ำของเรานี้ เราจัดไว้เพื่อพราหมณ์ทั้งหลาย ทานวัตถุนี้เราเชื่อว่า ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์แก่ตน ท่านจงหลีกไปเสียจากที่นี้ จะมายืน อยู่ ณ ที่นี้เพื่ออะไร เจ้าคนเลว คนเช่นเราย่อมไม่ให้ทานแก่เจ้า.
[๒๐๓๖] ชนทั้งหลายผู้หวังผลข้าวกล้า ย่อมหว่านพืชลงในที่ดอนบ้าง ในที่ลุ่มบ้าง ในที่ไม่ลุ่ม ไม่ดอนบ้าง ฉันใด ท่านจงให้ทานแก่ปฏิคาหกทั่วไปด้วย ศรัทธา ฉันนั้น เมื่อท่านให้ทานอย่างนี้ ไฉนจะพึงยังทักขิไณยบุคคล ให้ยินดีได้เล่า?
[๒๐๓๗] เราย่อมตั้งไว้ ซึ่งพืชทั้งหลายในเขตเหล่าใด เขตเหล่านั้นเรารู้แจ้งแล้ว ในโลก พราหมณ์เหล่าใดสมบูรณ์ด้วยชาติและมนต์ พราหมณ์เหล่านั้น ชื่อว่าเป็นเขต มีศีลเป็นที่รักในโลกนี้.
[๒๐๓๘] ความเมาเพราะชาติ ความดูหมิ่นท่าน โลภะ โทสะ มทะ และโมหะ กิเลสทั้งหมดนี้เป็นโทษ ไม่ใช่คุณ มีอยู่ในเขตเหล่าใด เขตเหล่านั้น เป็นเขตไม่มีศีล ไม่เป็นที่รักในโลกนี้ ความเมาเพราะชาติก็ดี ความดู หมิ่นท่าน โลภะ โทสะ มทะ และโมหะ กิเลสทั้งหมดนี้เป็นโทษ มิใช่คุณ ไม่มีอยู่ในเขตเหล่าใด เขตเหล่านั้นจัดเป็นเขตมีศีล เป็นที่รัก ในโลกนี้
[๒๐๓๙] คนเฝ้าประตูทั้งสาม คือ อุปโชติยะ ๑ อุปัชฌายะ ๑ ภัณฑกุจฉิ ๑ พา กันไปเสียที่ไหน ท่านทั้งหลายจงลงอาชญาและฆ่าตีคนจัณฑาลผู้ลามกนี้ แล้วลากคอไปเสียให้พ้น.
[๒๐๔๐] ผู้ใดบริภาษฤาษี ผู้นั้นชื่อว่าแกะภูเขาด้วยเล็บ ชื่อว่าเคี้ยวกินก้อนเหล็ก ด้วยฟัน ชื่อว่าพยายามกลืนกินไฟ.
[๒๐๔๑] ฤาษีชื่อว่ามาตังคะผู้มีสัจจะเป็นเครื่องก้าวไปในเบื้องหน้า ครั้นกล่าวคาถา นี้แล้ว เมื่อพราหมณ์ทั้งหลายแลดูอยู่ได้เหาะไปในอากาศ.
[๒๐๔๒] ศีรษะของลูกเราบิดกลับไปอยู่เบื้องหลัง แขนเหยีดตรงไม่ไหวติง นัยน์ตา ขาวเหมือนคนตาย ใครมาทำบุตรของเราให้เป็นอย่างนี้.
[๒๐๔๓] สมณะรูปหนึ่งมีปกตินุ่งห่มไม่สมควร สกปรกดุจปีศาจ เปรอะเปื้อนด้วย ฝุ่นละออง สวมใส่ผ้าขี้ริ้วที่ได้จากกองขยะไว้ที่คอ ได้มา ณ ที่นี้ สมณะรูปนั้นได้ทำบุตรของท่านให้เป็นอย่างนี้.
[๒๐๔๔] ดูกรมาณพทั้งหลาย สมณะผู้มีปัญญาเสมอด้วยแผ่นดิน ท่านไปทางทิศ ไหน ท่านทั้งหลายจงบอกเนื้อความนั้นแก่เรา เราจะไปยังสำนักของ ท่านกระทำคืนโทษนั้นเสีย ไฉนหนอเราจะพึงได้ชีวิตบุตรคืนมา.
[๒๐๔๕] ฤาษีผู้มีปัญญาเสมอด้วยแผ่นดิน ได้ไปแล้วในอากาศในวันเพ็ญพระจันทร์ เต็มดวงท่ามกลางอากาศ แล้วฤาษีผู้มีปฏิญาณในสัจจะ มีคุณธรรมอันดี งามนั้น ท่านไปทางทิศบูรพา.
[๒๐๔๖] ศีรษะของลูกเราบิดกลับไปอยู่เบื้องหลัง แขนเหยียดตรงไม่ไหวติง นัยน์ตาขาวเหมือนคนตาย ใครมาทำบุตรของเราให้เป็นอย่างนี้.
[๒๐๔๗] ยักษ์ทั้งสองตนผู้มีอานุภาพมากมีอยู่แล ยักษ์เหล่านั้นพากันติดตามฤาษี ผู้มีคุณธรรมมาแล้ว รู้ว่าบุตรของท่านมีจิตคิดประทุษร้ายโกรธเคืองจึงทำ บุตรของท่านให้เป็นอย่างนี้แหละ.
[๒๐๔๘] ข้าแต่ภิกษุ ถ้ายักษ์ทั้งหลายได้ทำบุตรของดิฉันให้เป็นอย่างนี้ ขอแต่ท่าน ผู้เป็นพรหมจารีเท่านั้น อย่าโกรธบุตรของดิฉันเลย ดิฉันขอถึงเท้าของ ท่านเป็นที่พึ่ง ดิฉันตามมาด้วยความโศกถึงบุตร.
[๒๐๔๙] ในคราวที่บุตรของท่านด่าเราก็ดี และเมื่อท่านมาอ้อนวอนอยู่ ณ บัดนี้ก็ดี จิตคิดประทุษร้ายหน่อยหนึ่งมิได้มีแก่เราเลย แต่บุตรของท่านเป็นคน ประมาท เพราะความมัวเมาว่าเรียนจบไตรเพท แม้จะเรียนจบไตรเพท แล้ว ก็ยังไม่รู้จักสิ่งที่เป็นประโยชน์.
[๒๐๕๐] ข้าแต่ท่านผู้เป็นภิกษุ ความจำของบุรุษ ย่อมหลงลืมได้โดยครู่เดียวเป็น แน่แท้ ท่านผู้มีปัญญาเสมอแผ่นดิน ขอได้โปรดอดโทษสักครั้งเถิด บัณฑิตทั้งหลายย่อมไม่เป็นผู้มีความโกรธเป็นกำลัง.
[๒๐๕๑] มัณฑัพยกุมารบุตรของท่านผู้มีปัญญาน้อย จงบริโภคก้อนข้าวที่เราฉัน เหลือนี้เถิด ยักษ์ทั้งหลายจะไม่พึงเบียดเบียนบุตรของท่านเลย และบุตร ของท่านจักหายโรคทันที.
[๒๐๕๒] พ่อมัณฑัพยะ เจ้ายังเป็นคนโง่เขลา มีปัญญาน้อย เจ้าเป็นผู้ไม่ฉลาด ในเขตบุญทั้งหลาย ได้ให้ทานในหมู่ชนผู้ประกอบด้วยกิเลสดุจน้ำฝาด ใหญ่ มีกรรมอันเศร้าหมอง ไม่สำรวม. บรรดาทักขิไณยบุคคลของ เจ้าบางพวกเกล้าผมฟูเป็นเซิง นุ่งห่มหนังสือ ปากรกรุงรังไปด้วยหนวด เครา ดังปากบ่อน้ำอันเก่ารกไปด้วยกอหญ้า เจ้าจงดูหมู่ชนที่มีรูปร่าง น่าเกลียดนี้ การเกล้าผมฟูเป็นเซิง หาป้องกันคนผู้มีปัญญาน้อยได้ไม่ ท่านเหล่าใดสำรอกราคะ โทสะ และอวิชชาแล้ว หรือเป็นพระอรหันต์ ผู้มีอาสวะสิ้นแล้ว ทานที่บุคคลถวายในท่านเหล่านั้นย่อมมีผลมาก.
[๒๐๕๓] พระเจ้าเมชฌะ ได้ประทุษร้ายใจในมาตังคบัณฑิตผู้เรืองยศวงศ์กษัตริย์ เมชฌราชพร้อมทั้งบริษัทได้ขาดสูญตั้งแต่นั้นมา.

จบ มาตังคชาดกที่ ๑.

๒. จิตตสัมภูตชาดก ว่าด้วยผลของกรรม


[๒๐๕๔] กรรมทุกอย่างที่นรชนสั่งสมไว้แล้ว ย่อมมีผลเสมอไป ขึ้นชื่อว่ากรรม แม้จนเล็กน้อย ที่จะไม่ให้ผลเป็นอันไม่มี เราได้เห็นตัวของเราผู้ชื่อว่า สัมภูตะมีอานุภาพมาก อันบังเกิดขึ้นด้วยผลบุญ เพราะกรรมของตนเอง กรรมทุกอย่างที่นรชนสั่งสมไว้แล้ว ย่อมมีผลเสมอไป ขึ้นชื่อว่ากรรม แม้จะเล็กน้อย ที่จะไม่ให้ผลเป็นอันไม่มี มโนรถของเราสำเร็จแล้ว แม้ฉันใด มโนรถแม้ของจิตตบัณฑิต พระเชฏฐาของเรา ก็สำเร็จแล้ว ฉันนั้น กระมังหนอ.
[๒๐๕๕] ข้าแต่พระองค์ผู้สมมติภพ กรรมทุกอย่างที่นรชนสั่งสมไว้แล้ว ย่อม มีผลเสมอไป ขึ้นชื่อว่ากรรมแม้จะเล็กน้อย ที่จะไม่ให้ผลเป็นอันไม่มี มโนรถของพระองค์สำเร็จแล้ว แม้ฉันใด ขอพระองค์โปรดทราบแม้ พระจิตตบัณฑิตฉันนั้นเถิด.
[๒๐๕๖] เจ้าหรือคือจิตตะ เจ้าได้ฟังคำนี้มาจากคนอื่น หรือว่าใครบอกเนื้อความนี้ แก่เจ้า คาถานี้เจ้าขับดีแล้ว เราไม่มีความสงสัย เราจะให้บ้านส่วยร้อย ตำบลแก่เจ้า.
[๒๐๕๗] ข้าพระพุทธเจ้าหาใช่จิตตะไม่ ข้าพระพุทธเจ้าฟังคำนี้มาจากคนอื่น และ ฤาษีได้บอกเนื้อความนี้แก่ข้าพระพุทธเจ้าแล้วสั่งว่า เจ้าจงไปขับคาถานี้ ตอบถวายพระราชา พระราชาทรงพอพระทัยแล้ว จะพึงพระราชทานบ้าน ส่วยให้แก่เจ้าบ้านกระมัง?
[๒๐๕๘] ราชบุตรทั้งหลายจงเทียมราชรถของเรา จัดแจงให้ดี ผูกรัดจัดสรรให้ งดงามวิจิตร จงผูกรัดสายประคนมงคลหัตถี นายหัตถาจารย์จงขึ้นประจำ คอ. ตะโพนและสังข์มาตระเตรียมไว้ เจ้าหน้าที่ทั้งหลายจงเทียบยาน พาหนะโดยเร็ว วันนี้แล เราจักไปยังอาศรมซึ่งจักได้พบฤาษีนั่งอยู่.
[๒๐๕๙] ข้าพเจ้าเป็นผู้ได้ลาภดีแล้วหนอ คาถาอันข้าพเจ้าขับดีแล้วในท่ามกลาง บริษัท ข้าพเจ้าได้พบฤาษีผู้ประกอบด้วยศีลแล้วเกิดปีติโสมนัส.
[๒๐๖๐] เชิญท่านผู้เจริญโปรดรับอาสนะ น้ำ และรองเท้าของข้าพเจ้าทั้งหมด เถิด ข้าพเจ้ายินดีต้อนรับท่านผู้เจริญในสิ่งของอันมีค่า ขอท่านผู้เจริญเชิญ รับสักการะอันมีค่าของข้าพเจ้าทั้งหลายด้วยเถิด.
[๒๐๖๑] ขอเชิญพระเชฏฐาทรงสร้างปรางค์ปราสาท อันเป็นที่อยู่น่ารื่นรมย์สำหรับ พระองค์เถิด จงทรงบำรุงบำเรอด้วยหมู่นางนารีทั้งหลาย โปรดให้ โอกาสเพื่ออนุเคราะห์แก่หม่อมฉันเถิด แม้เราทั้งสองก็จะครอบครอง อิสริยสมบัตินี้ร่วมกัน.
[๒๐๖๒] ดูกรมหาบพิตร พระองค์ทรงเห็นผลแห่งสุจริตอย่างเดียว ส่วนอาตมภาพ เห็นผลแห่งสุจริต และทุจริตที่สั่งสมไว้แล้ว เป็นวิบากใหญ่ จึงสำรวม ตนเท่านั้น มิได้ปรารถนาบุตร ปศุสัตว์ หรือทรัพย์. ชีวิตของสัตว์ ทั้งหลายในโลกนี้ มีกำหนดร้อยปีเป็นอย่างมาก ไม่ล่วงกำหนดนั้นไป ได้เลย ย่อมจะเหือดแห้งไป เหมือนไม้อ้อที่ถูกตัดแล้ว มีแต่จะแห้งไป ฉะนั้น. ในชีวิตอันจะต้องเหือดแห้งไปนั้น จะมัวเพลิดเพลินไปใย จะ มัวเล่นคึกคนองไปทำไม ความยินดีจะเป็นประโยชน์อะไร ประโยชน์ อะไรด้วยการแสวงหาทรัพย์ จะมีประโยชน์อะไรด้วยบุตร และภรรยา สำหรับอาตมา ดูกรมหาบพิตร อาตมภาพเป็นผู้พ้นแล้วจากเครื่องผูก. อาตมภาพรู้ชัดอย่างนี้ว่า มัจจุจะไม่รังควานเราเป็นอันไม่มี เมื่อบุคคล ถูกมัจจุราชครอบงำแล้ว ความยินดีจะเป็นประโยชน์อะไร จะมีประโยชน์ อะไรด้วยการแสวงหาทรัพย์. ดูกรมหาบพิตรผู้จอมประชาชนชาติของ นรชนไม่สม่ำเสมอกัน กำเนิดแห่งคนจัณฑาล จัดว่าเลวทรามในระหว่าง มนุษย์ เมื่อชาติก่อนเราทั้งสองได้อยู่ร่วมกันในครรภ์แห่งนางจัณฑาลี เพราะกรรมอันชั่วช้าของตน. เราทั้งสองได้เกิดเป็นคนจัณฑาล ในกรุง อุชเชนีอวันตีชนบท ครั้นจุติจากอัตภาพนั้นแล้ว ได้เกิดเป็นเนื้อสองตัว พี่น้องอยู่ที่ฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา ครั้นจุติจากอัตภาพนั้นแล้วได้เกิดเป็นนก ออกสองตัวพี่น้องอยู่ริมฝั่งรัมมทานที ครั้นจุติจากอัตภาพนั้นแล้ว คราวนี้ อาตมภาพเกิดเป็นพราหมณ์ มหาบพิตรทรงสมภพเป็นกษัตริย์.
[๒๐๖๓] ชีวิตของสัตว์ทั้งหลาย ถูกชรานำเข้าไปสู่ความตาย อายุของสัตว์ ทั้งหลายเป็นของน้อย เมื่อนรชนถูกชรานำเข้าไปสู่ความตาย ย่อมไม่มี ผู้ต้านทาน ดูกรพระเจ้าปัญจาลราช มหาบพิตรจงทรงทำตามคำของ อาตมภาพ อย่าทรงทำกรรมทั้งหลายที่มีทุกข์เป็นกำไรเลย. ชีวิตของสัตว์ ทั้งหลายถูกชรานำเข้าไปสู่ความตาย อายุของสัตว์ทั้งหลายเป็นของน้อย เมื่อนรชนถูกชรานำเข้าไปสู่ความตาย ย่อมไม่มีผู้ต้านทาน ดูกรพระเจ้า ปัญจาลราช มหาบพิตรจงทรงทำตามคำของอาตมภาพ อย่าทรงทำกรรม ทั้งหลายที่มีทุกข์เป็นวิบากเลย ชีวิตของสัตว์ทั้งหลายถูกชรานำเข้าไป สู่ความตาย อายุของสัตว์ทั้งหลายเป็นของน้อย เมื่อนรชนถูกชรานำ เข้าไปสู่ความตาย ย่อมไม่มีผู้ต้านทาน ดูกรพระเจ้าปัญจาลราช มหาบพิตรจงทรงทำตามคำของอาตมภาพ อย่าทรงทำกรรมทั้งหลายอันมี ศีรษะเกลือกกลั้วด้วยกิเลสธุลี. ชีวิตของสัตว์ทั้งหลายถูกชรานำเข้าไป สู่ความตาย อายุของสัตว์ทั้งหลายเป็นของน้อย ชราย่อมกำจัดวรรณะ ของนรชนผู้แก่เฒ่า ดูกรพระเจ้าปัญจาลราช มหาบพิตรจงทรงทำ ตามคำของอาตมภาพ อย่าทรงทำกรรมที่จะให้เข้าถึงนรกเลย.
[๒๐๖๔] ข้าแต่ภิกษุ ถ้อยคำของพระคุณเจ้านี้เป็นคำจริงแท้ทีเดียว ฤาษีกล่าวฉันใด คำนี้ก็เป็นฉันนั้น แต่ว่ากามทั้งหลายของข้าพเจ้ายังมีอยู่มาก กาม เหล่านั้นคนเช่นกับข้าพเจ้าสละได้ยาก. ช้างจมอยู่ท่ามกลางหล่มแล้ว ย่อมไม่อาจจะไปยังที่ควรได้ด้วยตนเอง ฉันใด ข้าพเจ้าจมอยู่ในหล่มคือ กามกิเลส ก็ยังไม่สามารถจะปฏิบัติตามทางของภิกษุได้ ฉันนั้น. ข้าแต่ พระคุณเจ้าผู้เจริญ อนึ่ง บุตรจะพึงมีความสุขได้ด้วยวิธีใด บิดามารดา พร่ำสอนบุตรด้วยวิธีนั้น ฉันใด ข้าพเจ้าละจากโลกนี้ไปแล้ว จะพึง เป็นผู้มีความสุขยืนนานได้ด้วยวิธีใด ขอพระคุณเจ้าโปรดพร่ำสอนข้าพเจ้า ด้วยวิธีนั้นฉันนั้นเถิด.
[๒๐๖๕] ดูกรมหาบพิตรผู้เป็นจอมประชาชน ถ้ามหาบพิตรไม่อาจละกามของมนุษย์ เหล่านี้ได้ไซร้ มหาบพิตรจงทรงเริ่มตั้งพลีกรรมอันชอบธรรมเถิด แต่ การกระทำอันไม่เป็นธรรมขออย่าได้มีในรัฐสีมาของมหาบพิตรเลย. ทูต ทั้งหลายจงไปยังทิศทั้ง ๔ นิมนต์สมณพราหมณ์ทั้งหลายมา มหาบพิตร จงทรงบำรุงสมณพราหมณ์ทั้งหลายด้วยข้าว น้ำ ผ้า เสนาสนะและ คิลานปัจจัย. มหาบพิตรจงเป็นผู้มีพระกมลจิตอันผ่องใส ทรงอังคาส สมณพราหมณ์ให้อิ่มหนำสำราญด้วยข้าว น้ำ ได้ทรงบริจาคทานตาม สติกำลัง และทรงเสวยแล้ว เป็นผู้อันเทวดาและมนุษย์ไม่ติเตียน จงเสด็จเข้าถึงสัคคสถานเถิด. ดูกรมหาบพิตร ก็ถ้าความเมาจะพึง ครอบงำมหาบพิตรผู้อันหมู่นางนารีทั้งหลายแวดล้อมอยู่ มหาบพิตรจงทรง มนสิการคาถานี้ แล้วพึงตรัสคาถานี้ในท่ามกลางบริษัทว่า เมื่อชาติก่อนเรา เป็นคนนอนอยู่กลางแจ้ง อันมารดาจัณฑาลี เมื่อจะไปป่าให้ดื่มน้ำนม มาแล้ว นอนคลุกคลีอยู่กับสุนัขทั้งหลายจนเติบโต มาบัดนี้ คนนั้น ใครๆ เขาก็เรียกกันว่าพระราชา.

จบ จิตตสัมภูตชาดกที่ ๒.

๓. สีวิราชชาดก ว่าด้วยการให้ดวงตาเป็นทาน


[๒๐๖๖] ข้าพระพุทธเจ้าเป็นคนชรา ไม่แลเห็นในที่ไกล มาเพื่อจะทูลขอ พระเนตร ข้าพระพุทธเจ้ามีตาข้างเดียว ข้าพระพุทธเจ้าทูลขอแล้ว ขอพระองค์ทรงโปรดพระราชทานพระเนตรข้างหนึ่งแก่ข้าพระพุทธเจ้า เถิด.
[๒๐๖๗] ดูกรวณิพก ใครเป็นผู้แนะนำท่านจึงมาขอดวงตาฉัน ณ ที่นี้ บัณฑิต ทั้งหลายกล่าวดวงตาใดว่า ยากที่บุรุษจะสละได้ ท่านมาขอดวงตานั้น อันเป็นอวัยวะเบื้องสูง ยากที่เราจะสละได้ง่ายๆ.
[๒๐๖๘] ในเทวโลก เขาเรียกท่านผู้ใดว่า สุชัมบดี ในมนุษยโลก เขาเรียกท่าน ผู้นั้นว่า มฆวา ข้าพระพุทธเจ้าเป็นวณิพก ท่านผู้นั้นแนะนำให้มา ขอพระเนตร ณ ที่นี้. ข้าพระพุทธเจ้าเป็นวณิพก การขอของข้าพระ พุทธเจ้าไม่มีสิ่งใดยิ่งไปกว่า ขอพระองค์ทรงพระราชทานพระเนตร แก่ข้าพระพุทธเจ้า ผู้มาขอเถิด บัณฑิตทั้งหลายกล่าวว่า ดวงตาใดยาก ที่บุรุษจะสละได้ ขอพระองค์โปรดพระราชทานดวงเนตรนั้นที่ไม่มีสิ่ง อื่นจะยิ่งกว่าแก่ข้าพระพุทธเจ้าเถิด. ท่านมาด้วยประโยชน์อันใด ปรารถนาประโยชน์สิ่งใด ความดำริ เหล่านั้นเพื่อประโยชน์นั้นๆ ของท่านจงสำเร็จเถิด ดูกรพราหมณ์ ท่านจงได้ดวงตาเถิด. เมื่อท่านขอข้างเดียว เราจะให้ทั้งสองข้าง ขอท่านนั้นจงเป็นผู้มีนัยน์ตาไปเถิด ท่านปรารถนาสิ่งใดจากเราผู้มุ่งหมาย ขอสิ่งนั้นจงสำเร็จแก่ท่านเถิด.
[๒๐๖๙] ข้าแต่พระองค์ผู้ทรงพระคุณอันประเสริฐ ของข้าพระองค์ทั้งหลาย พระองค์อย่าทรงพระราชทานดวงพระเนตรเลย อย่าทรงทอดทิ้งข้าพระ พุทธเจ้าทั้งปวงเลย ข้าแต่พระมหาราชเจ้า ขอพระองค์พระราชทาน ทรัพย์เถิด แก้วมุกดา แก้วไพฑูรย์ มีเป็นอันมาก ข้าแต่พระ มหาราชเจ้าผู้ทรงพระคุณอันประเสริฐ พระองค์จะพระราชทานรถ ทั้งหลายที่เทียมแล้วม้าอาชาไนย ช้างตัวประเสริฐที่ตบแต่งแล้ว ที่อยู่ และเครื่องบริโภคที่ทำด้วยทองคำเถิด. ข้าแต่พระองค์ผู้ประเสริฐ ขอ พระองค์ทรงพระราชทานเหมือนกับชาวสีพีทั้งปวง ที่มีเครื่องใช้สอย สีรถ แวดล้อมพระองค์อยู่โดยรอบทุกเมื่อ ฉะนั้นเถิด.
[๒๐๗๐] ผู้ใดแลพูดว่าจักให้ แล้วมากลับใจว่าไม่ให้ ผู้นั้นเหมือนกับสวมบ่วง ที่ตกลงยังพื้นดินไว้ที่คอ. ผู้ใดแล พูดว่าจักให้ แล้วมากลับใจว่าไม่ให้ ผู้นั้นเป็นคนลามกกว่าผู้ที่ลามก ทั้งจะต้องเข้าถึงสถานที่ลงอาชญาของ พญายม. ความจริงผู้ขอได้ขอสิ่งใดไว้ ผู้ให้ก็ควรจะให้สิ่งนั้นแหละ ผู้ขอยังไม่ได้ขอสิ่งใดไว้ ผู้ให้ก็อย่าพึงให้สิ่งนั้น พราหมณ์ได้ขอ สิ่งใดไว้กะเรา เราก็จักให้สิ่งนั้นนั่นแหละ.
[๒๐๗๑] ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นจอมประชาชน พระองค์ทรงปรารถนาพระชนมายุ วรรณะ สุขะ และพละอะไรหรือ จึงทรงพระราชทานพระเนตร พระองค์ทรงเป็นราชาแห่งชาวสีพี ไม่มีใครจะประเสริฐยิ่งไปกว่า ทรง พระราชทานพระเนตร เพราะเหตุปรโลกหรืออย่างไร?
[๒๐๗๒] เราให้ดวงตาเป็นทานนั้น เพราะยศก็หาไม่ เราจะได้ปรารถนาบุตร ทรัพย์หรือแว่นแคว้น เพราะผลแห่งการให้ดวงตานี้ก็หาไม่ อีก ประการหนึ่ง ธรรมของสัตบุรุษทั้งหลาย ท่านได้ประพฤติกันมาแล้ว แต่โบราณ เพราะเหตุนี้แหละ ใจของเราจึงยินดีในทาน.
[๒๐๗๓] ดวงตาทั้ง ๒ ข้างจะได้เป็นที่เกลียดชังของเราก็หาไม่ ตนของตนเอง ก็หาได้เป็นที่เกลียดชังของเราไม่ พระสัพพัญญุตญาณเป็นที่รักของเรา เพราะฉะนั้น เราจึงได้ให้ดวงตา.
[๒๐๗๔] ดูกรนายสีวิกะ ท่านเป็นมิตรสหายของเรา ท่านเป็นคนศึกษามาดีแล้ว จงกระทำตามถ้อยคำของเราให้ดี จงควักดวงตาทั้ง ๒ ของเราผู้ปรารถนา อยู่แล้ววางลง ในมือของพราหมณ์วณิพกเถิด.
[๒๐๗๕] พระเจ้าสีวิราชทรงเตือนให้หมอสีวิกะกระทำตามพระราชดำรัสแล้ว หมอ สีวิกะควักดวงพระเนตรของพระราชาส่งให้แก่พราหมณ์ พราหมณ์เป็น ผู้มีจักษุ พระราชาเป็นคนตาบอดเสด็จเข้าที่ประทับ.
[๒๐๗๖] ตั้งแต่นั้นมาสองสามวัน เมื่อพระเนตรทั้ง ๒ มีเนื้องอกขึ้นเต็มแล้ว พระราชาผู้บำรุงสีพีรัฐ จึงตรัสเรียกนายสารถีผู้เฝ้าอยู่นั้นว่า ดูกรนายสารถี ท่านจงเทียมยานเถิด เสร็จแล้วจงบอกให้เราทราบ เราจะไปยังอุทยาน จะไปยังสระโบกขรณี และราวป่า. พอพระเจ้าสีวิราชเข้าไปประทับขัด สมาธิริมขอบสระโบกขรณีแล้ว ท้าวสุชัมบดีสักกเทวราชก็ปรากฏแก่ พระเจ้าสีวิราชนั้น.
[๒๐๗๗] หม่อมฉันเป็นท้าวสักกะจอมแห่งเทพ มาในสำนักของพระองค์แล้ว ข้าแต่พระราชฤาษี ขอพระองค์จงเลือกเอาพรตามที่พระทัยปรารถนาเถิด.
[๒๐๗๘] ข้าแต่ท้าวสักกะ ทรัพย์ กำลังของหม่อมฉันมีพอแล้ว อนึ่ง คลังของ หม่อมฉันก็มีเป็นอันมาก บัดนี้ หม่อมฉันเป็นคนตาบอด พอใจ ความตายเท่านั้น.
[๒๐๗๙] ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นกษัตริย์ ผู้เป็นใหญ่กว่าสัตว์สองเท้า พระองค์จง ตรัสถ้อยคำที่เป็นสัจจะ เมื่อพระองค์ตรัสแต่ถ้อยคำที่เป็นสัจจะ พระ เนตรจักเกิดขึ้นอีก.
[๒๐๘๐] บรรดาวณิพกทั้งหลายผู้มีโคตรต่างๆ กัน มาขอหม่อมฉัน แม้วณิพกใด มาขอหม่อมฉัน แม้วณิพกนั้นก็เป็นที่รักแห่งใจของหม่อมฉัน ด้วยการ กล่าวคำสัตย์นี้ ขอจักษุจงบังเกิดขึ้นแก่หม่อมฉันเถิด.
[๒๐๘๑] พราหมณ์ผู้ใด มาขอหม่อมฉันว่า ขอจงพระราชทานพระเนตรเถิด หม่อมฉันได้ให้ดวงตาทั้งสองแก่พราหมณ์ผู้นั้นซึ่งเป็นวณิพก. ปีติและ โสมนัสเป็นอันมากเกิดขึ้นแก่หม่อมฉันยิ่งนัก ด้วยการกล่าวคำสัตย์นี้ ขอจักษุจงเกิดขึ้นแก่หม่อมฉันเถิด.
[๒๐๘๒] ข้าแต่พระองค์ผู้ทรงบำรุงสีพีรัฐ พระองค์ตรัสพระคาถาแล้วโดยธรรม พระเนตรทั้งสองของพระองค์ จะปรากฏเป็นตาทิพย์เห็นได้ทะลุภาย นอกฝา ภายนอกกำแพง และภูเขาตลอดร้อยโยชน์โดยรอบ.
[๒๐๘๓] ใครหนอในโลกนี้ ถูกขอทรัพย์อันน่าปลื้มใจแล้ว แม้จะเป็นของ พิเศษ แม้จะเป็นของที่รักอย่างดีของตน จะไม่พึงให้ ฉันขอตักเตือน ท่านทั้งหลายผู้เป็นชาวสีพีรัฐทุกๆ คนที่มาประชุมกัน จงดูดวงตาทั้งสอง อันเป็นทิพย์ของเราในวันนี้. ตาทิพย์ของเราเห็นได้ทะลุภายนอกฝา ภายนอกกำแพง และภูเขาตลอดร้อยโยชน์โดยรอบ. ในโลกที่เป็นอยู่ ของสัตว์ทั้งหลายนี้ ไม่มีอะไรที่จะยิ่งไปกว่าการบริจาคทาน เราได้ให้ จักษุที่เป็นของมนุษย์แล้ว เราได้จักษุทิพย์. ดูกรชาวสีพีรัฐทั้งหลาย ท่านทั้งหลายเห็นจักษุทิพย์ที่เราได้นี้แล้ว จงให้ทานเสียก่อนจึงค่อย บริโภคเถิด ท่านทั้งหลายได้ ให้ทานตามสติกำลังและได้บริโภคทานแล้ว ไม่มีใครติเตียนได้ ย่อมเข้าถึงสัคคสถาน.

จบ สีวิราชชาดกที่ ๓.

๔. ศิริมันทชาดก ว่าด้วยปัญญาประเสริฐ


[๒๐๘๔] ท่านอาจารย์เสนก เราขอถามเนื้อความนี้ บรรดาคนสองพวก คือ คนผู้ สมบูรณ์ด้วยปัญญาแต่เสื่อมจากศิริ กับคนที่มียศแต่ไร้ปัญญา นักปราชญ์ กล่าวคนไหนว่าประเสริฐ?
[๒๐๘๕] ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นจอมประชาราษฎร์ คนฉลาด หรือคนโง่ คนบริบูรณ์ ด้วยศิลปะ หรือคนหาศิลปะมิได้ แม้จะมีชาติสูง ก็ย่อมเป็นคนรับใช้ ของคนผู้มีชาติต่ำแต่มียศ ข้าพระพุทธเจ้าเห็นความดังนี้ จึงขอ กราบทูลว่า คนมีปัญญา เป็นคนเลวทราม คนมีศิริแล เป็นคนประเสริฐ พระเจ้าข้า.
[๒๐๘๖] ดูกรมโหสถผู้มีปัญญาไม่ทราม ผู้เห็นธรรมสิ้นเชิง เราถามเจ้าในคน สองพวก คือ คนพาลผู้มียศ กับบัณฑิตผู้ไม่มีโภคะ นักปราชญ์กล่าว คนไหนว่าประเสริฐ.
[๒๐๘๗] คนพาลกระทำกรรมอันชั่วช้า ก็สำคัญว่า สิ่งนี้เท่านั้นประเสริฐ เห็นแต่ เพียงโลกนี้ ไม่เห็นโลกหน้า ต้องได้รับเคราะห์ร้ายในโลกทั้งสอง ข้าพระพุทธเจ้าเห็นข้อความแม้นี้ จึงกราบทูลว่า คนมีปัญญาเท่านั้น ประเสริฐ คนโง่ถึงมียศจะประเสริฐอะไร พระเจ้าข้า.
[๒๐๘๘] ศิลปะนี้ก็ดี พวกพ้องก็ดี ร่างกายก็ดี หาได้จัดโภคสมบัติมาให้ไม่ มหาชนย่อมคบหาโควินทเศรษฐี ผู้มีน้ำลายไหลออกจากคางทั้งสองข้าง ผู้ได้รับความสุข มีศิริต่ำช้า ข้าพระพุทธเจ้าเห็นข้อความแม้นี้ จึง กราบทูลว่า คนมีปัญญา เป็นคนเลวทราม คนมีศิริเท่านั้นเป็นคน ประเสริฐ พระเจ้าข้า.
[๒๐๘๙] คนมีปัญญาน้อย ได้รับความสุขแล้ว ย่อมมัวเมา แม้ถูกความทุกข์ กระทบแล้ว ย่อมถึงความหลง อันสุขทุกข์ที่จรมากระทบเข้าแล้ว ย่อม หวั่นไหว ดุจปลาที่ดิ้นรนอยู่ในที่ร้อน ฉะนั้น ข้าพระพุทธเจ้า เห็นข้อความแม้นี้ จึงกราบทูลว่า คนมีปัญญาเท่านั้นประเสริฐ คนโง่ ถึงมียศจะประเสริฐอะไร พระเจ้าข้า.
[๒๐๙๐] ฝูงนกย่อมพากันบินเร่ร่อนไปมาโดยรอบต้นไม้ ที่มีผลดีในป่า ฉันใด คนเป็นอันมากย่อมคบหาผู้มั่งคั่ง มีทรัพย์ มีโภคสมบัติ เพราะเหตุ ต้องการทรัพย์ ก็ฉันนั้น ข้าพระพุทธเจ้าเห็นข้อความแม้นี้ จึงกราบ ทูลว่า คนมีปัญญา เป็นคนเลวทราม คนมีศิริเท่านั้น เป็นคนประเสริฐ พระเจ้าข้า.
[๒๐๙๑] คนโง่ถึงจะมีกำลังก็หายังประโยชน์ให้สำเร็จไม่ ได้ทรัพย์มาด้วยกรรม อันร้ายแรง นายนิรยบาลทั้งหลาย ย่อมฉุดคร่าเอาคนโง่ ผู้ไม่ฉลาด คร่ำครวญอยู่ ไปสู่นรกอันร้ายกาจ ข้าพระพุทธเจ้าเห็นข้อความแม้นี้ จึงกราบทูลว่าคนมีปัญญาเท่านั้น ประเสริฐ คนโง่ถึงมียศจะประเสริฐ อะไร พระเจ้าข้า.
[๒๐๙๒] แม่น้ำแห่งใดแห่งหนึ่ง ย่อมไหลไปสู่แม่น้ำคงคา แม่น้ำเหล่านั้น ทั้งหมดเทียว ย่อมละทิ้งชื่อและถิ่นเดิม แม่น้ำคงคาไหลไปถึงมหาสมุทร ย่อมไม่ปรากฏชื่อ คนในโลกนี้ที่มีฤทธิ์ยิ่ง ก็ไม่ปรากฏ ฉันนั้นแล ข้าพระพุทธเจ้าเห็นข้อความแม้นี้ จึงกราบทูลว่า คนมีปัญญา เป็นคน เลวทราม คนมีศิริเท่านั้น เป็นคนประเสริฐ พระเจ้าข้า.
[๒๐๙๓] ข้าพระพุทธเจ้าจะกล่าวแก้ปัญหาที่ท่านอาจารย์กล่าว แม่น้ำทั้งหลาย ย่อมไหลไปสู่ทะเลใหญ่ไม่ได้ตลอดกาลทั้งปวง ทะเลนั้นมีกำลังมาก เป็นนิตย์ มหาสมุทรย่อมไม่ล่วงเลยฝั่งไปได้ ฉันใด กิจการที่คนโง่ ประสงค์ ก็ฉันนั้น คนมีศิริย่อมไม่ล่วงเลยคนมีปัญญาไปได้ไม่ว่าในกาล ไหนๆ ข้าพระพุทธเจ้าเห็นข้อความแม้นี้ จึงกราบทูลว่า คนมีปัญญา เท่านั้นประเสริฐ คนโง่ถึงมียศจะประเสริฐอะไร.
[๒๐๙๔] ถ้าแม้คนมียศไม่สำรวมแล้ว อยู่ในที่วินิจฉัย กล่าวข้อความแก่ชน เหล่าอื่น คำพูดของคนนั้นย่อมเจริญงอกงามในท่ามกลางญาติ คนมี ปัญญายังคนผู้มีศิริต่ำช้าให้ทำตามคำของตนไม่ได้ ข้าพระพุทธเจ้าเห็น ข้อความแม้นี้ จึงกราบทูลว่า คนมีปัญญา เป็นคนเลวทราม คนมีศิริ เท่านั้น เป็นคนประเสริฐ พระเจ้าข้า.
[๒๐๙๕] คนโง่หาปัญญามิได้ ย่อมกล่าวมุสา เพราะเหตุแห่งบุคคลอื่น หรือแม้ แห่งตน คนโง่นั้นย่อมถูกนินทาในท่ามกลางบริษัท แม้ภายหลัง เขาก็ต้องไปทุคติ ข้าพระพุทธเจ้าเห็นข้อความแม้นี้ จึงกราบทูลว่า คนมีปัญญาเท่านั้นประเสริฐ คนโง่ถึงมียศจะประเสริฐอะไร พระเจ้าข้า.
[๒๐๙๖] ถ้าคนมีปัญญาดังแผ่นดิน ไม่มีที่อยู่อาศัย ไม่มีทรัพย์ เป็นคนเข็ญใจ กล่าวข้อความ คำพูดของเขานั้นย่อมไม่เจริญงอกงามในท่ามกลางบริษัท อนึ่ง ศิริของคนมีปัญญาย่อมไม่มี ข้าพระพุทธเจ้าเห็นข้อความแม้นี้ จึงกราบทูลว่า คนมีปัญญา เป็นคนเลวทราม คนมีศิริเท่านั้น เป็นคน ประเสริฐ พระเจ้าข้า.
[๒๐๙๗] คนมีปัญญาดังแผ่นดิน ย่อมไม่กล่าวคำเหลาะแหละ เพราะเหตุ แห่งคนอื่น หรือแม้แห่งตน บุคคลนั้นย่อมเป็นผู้อันมหาชนบูชา ในท่ามกลางที่ประชุม แม้ภายหลังเขาก็จะไปสุคติ ข้าพระพุทธเจ้า เห็นข้อความแม้นี้ จึงกราบทูลว่า คนมีปัญญาเท่านั้นประเสริฐ คนโง่ ถึงมียศจะประเสริฐอะไร พระเจ้าข้า.
[๒๐๙๘] ช้าง ม้า โค แก้วมณี กุณฑล และนางนารีทั้งหลายผู้เกิดในตระกูล ที่มั่งคั่ง สิ่งทั้งปวงนั้นย่อมเป็นเครื่องอุปโภคของคนที่มั่งคั่ง คนทั้งหลาย ผู้ไม่มั่งคั่ง ก็ย่อมเป็นเครื่องอุปโภคของคนที่มั่งคั่ง ข้าพระพุทธเจ้า เห็นข้อความแม้นี้ จึงกราบทูลว่า คนมีปัญญาเป็นคนเลวทราม คนมีศิริ เท่านั้นเป็นคนประเสริฐ พระเจ้าข้า.
[๒๐๙๙] ศิริย่อมละคนโง่ผู้ไม่จัดแจงการงาน ไม่มีความคิด มีปัญญาทราม เหมือนงูละทิ้งคราบเก่าไป ฉะนั้น ข้าพระพุทธเจ้าเห็นข้อความแม้นี้ จึงกราบทูลว่า คนมีปัญญาเท่านั้น ประเสริฐคนโง่ถึงมียศจะประเสริฐ อะไร พระเจ้าข้า.
[๒๑๐๐] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระพุทธเจ้าทั้ง ๕ คน เป็นบัณฑิต ทุกคน กราบไหว้บำรุงพระองค์ พระองค์เป็นอิสระครอบงำข้าพระพุทธเจ้า ทั้งหลาย ดุจท้าวสักกเทวราชผู้เป็นเจ้าแห่งหมู่สัตว์ ฉะนั้น ข้าพระ พุทธเจ้าเห็นข้อความแม้นี้ จึงกราบทูลว่า คนมีปัญญา เป็นคนเลวทราม คนมีศิริเท่านั้น เป็นคนประเสริฐ พระเจ้าข้า.
[๒๑๐๑] คนโง่ถึงจะมียศ ก็เป็นทาสของคนมีปัญญา เมื่อกิจการต่างๆ เกิดขึ้น คนฉลาดย่อมจัดแจงกิจอันละเอียดใด คนโง่ย่อมถึงความหลงใหลใน กิจนั้น ข้าพระพุทธเจ้าเห็นข้อความแม้นี้ จึงกราบทูลว่า คนมีปัญญา นั้นแลประเสริฐ คนโง่ถึงมียศจะประเสริฐอะไร พระเจ้าข้า.
[๒๑๐๒] แท้จริง สัตบุรุษทั้งหลายสรรเสริญปัญญาเท่านั้น ศิริเป็นที่ใคร่ของ คนโง่ เพราะมนุษย์ทั้งหลายยินดีในโภคสมบัติ ก็ความรู้ของท่านผู้รู้ ทั้งหลาย ใครๆ ชั่งไม่ได้ ในกาลไหนๆ คนมีศิริย่อมไม่ล่วงเลยคน มีปัญญาไปได้ ไม่ว่าในกาลไหนๆ.
[๒๑๐๓] ดูกรมโหสถผู้เห็นธรรมทั้งสิ้น เราได้ถามปัญหาข้อใดกะเจ้า เจ้าได้ ประกาศปัญหาข้อนั้นแก่เราแล้ว เรายินดีด้วยการแก้ปัญหาของเจ้า เรา ให้โคพันหนึ่ง โคอุสุภราชา ช้าง รถเทียมด้วยม้าอาชาไนย ๑๐ ตัว และบ้านส่วย ๑๖ ตำบล แก่เจ้า.

จบ ศิริมันทชาดกที่ ๔.

๕. โรหนมิคชาดก ว่าด้วยความรักในสายเลือด


[๒๑๐๔] ดูกรน้องจิตตกะ ฝูงเนื้อเหล่านั้นกลัวความตายจึงพากันหนีกลับไป ถึงเธอ ก็จงไปเสียเถิด อย่าห่วงใยพี่เลย เนื้อทั้งหลายจักมีชีวิตอยู่กับเธอ.
[๒๑๐๕] พี่โรหนะ ฉันจะไม่ไป ถึงใครจะคร่าเอาหัวใจของฉันไป ฉันจักไม่ทิ้งพี่ไป ฉันจักยอมทิ้งชีวิตไว้ในที่นี้. ก็มารดาบิดาทั้งสองของเรานั้น ท่านตาบอด เมื่อไม่มีผู้นำ จักต้อง ตายแน่ เธอจงไปเถิด อย่าห่วงใยพี่เลย เนื้อทั้งหลายจักมีชีวิตอยู่ กับเธอ. พี่โรหนะ ฉันจะไม่ไป ถึงใครจะมาคร่าเอาหัวใจของฉันไป ฉันจักไม่ ทิ้งพี่ผู้ถูกมัดไป ฉันจักยอมทิ้งชีวิตไว้ในที่นี้.
[๒๑๐๖] เจ้าเป็นคนขลาด จงหนีไปเสียเถิด พี่ติดอยู่ในหลักเหล็ก เธอจงไป เสียเถิด อย่าห่วงใยพี่เลย เนื้อทั้งหลายจักมีชีวิตอยู่กับเธอ.
[๒๑๐๗] พี่โรหนะ ฉันจะไม่ไป ถึงใครจะมาคร่าเอาหัวใจของฉันไป ฉันจักไม่ ละทิ้งพี่ ฉันจักยอมทิ้งชีวิตไว้ในที่นี้. ก็มารดาบิดาทั้งสองของเรานั้น ท่านตาบอด เมื่อไม่มีผู้นำ จักต้องตาย แน่ เธอจงไปเถิด อย่าห่วงใยพี่เลย เนื้อทั้งหลายจักมีชีวิตอยู่กับเธอ. พี่โรหนะ ฉันจะไม่ไป ถึงใครจะมาคร่าเอาหัวใจของฉันไป ฉันจะไม่ละ ทิ้งพี่ผู้ถูกมัดไป ฉันจักยอมทิ้งชีวิตไว้ในที่นี้.
[๒๑๐๘] วันนี้ นายพรานคนใด จักฆ่าเราด้วยลูกศร หรือหอก นายพรานคนนั้น มีรูปร้ายกาจ ถืออาวุธเดินมาแล้ว.
[๒๑๐๙] นางสุตนามฤคีนั้น ถูกภัยบีบคั้นคุกคามหนีไป ครู่หนึ่งแล้วกลับเข้ามา หาความตาย ถึงนางจะมีขวัญอ่อนก็ได้ทำกรรมที่ทำได้แสนยาก.
[๒๑๑๐] เนื้อทั้ง ๒ นี้เป็นอะไรกับท่านหนอ พ้นไปแล้วยังกลับเข้ามาหาเครื่อง ผูกอีก ไม่ปรารถนาจะละทิ้งท่านไป แม้เพราะเหตุแห่งชีวิต?
[๒๑๑๑] ดูกรนายพราน เนื้อทั้ง ๒ นี้เป็นน้องชาย น้องสาวของข้าพเจ้า ร่วมท้อง มารดาเดียวกัน ไม่ปรารถนาละข้าพเจ้าไป แม้เพราะเหตุแห่งชีวิต.
[๒๑๑๒] ข้าแต่นายพราน มารดาบิดาทั้งสองของ เราท่านตาบอด เมื่อไม่มีผู้นำ จักต้องตายแน่ โปรดให้ชีวิตแก่เราทั้ง ๕ เถิด โปรดปล่อยพี่ชาย เสียเถิด.
[๒๑๑๓] ข้าพเจ้าจะปล่อยเนื้อ ผู้เลี้ยงมารดาบิดาเท่านั้น มารดาบิดาได้เห็น พระยาเนื้อหลุดจากบ่วงไปแล้ว ก็จงยินดีเถิด.
[๒๑๑๔] ข้าแต่นายพราน ท่านจงยินดีเพลิดเพลินกับพวกญาติทั้งปวง เหมือน ข้าพเจ้าเห็นพระยาเนื้อที่หลุดจากบ่วงแล้ว ชื่นชม ยินดี ในวันนี้ ฉะนั้น.
[๒๑๑๕] ดูกรลูกรัก เมื่อชีวิตเข้าไปใกล้ความตายแล้ว เจ้าหลุดมาได้อย่างไร ไฉนนายพรานจึงได้ปล่อยจากบ่วงเหล็กมาเล่า?
[๒๑๑๖] น้องจิตตกะกล่าววาจาไพเราะหู เป็นที่จับอกจับใจดื่มด่ำในหทัย ช่วย ข้าพเจ้าให้หลุดมาได้ด้วยวาจาสุภาษิต. น้องสุตนาได้กล่าววาจาไพเราะหู จับอกจับใจดื่มด่ำในหทัย ช่วยข้าพเจ้าให้หลุดมาได้ด้วยวาจาสุภาษิต. นายพรานได้ฟังวาจาไพเราะหู เป็นที่จับอกจับใจดื่มด่ำในหทัย ได้ฟัง วาจาสุภาษิต จึงได้ปล่อยข้าพเจ้ามา.
[๒๑๑๗] เราได้เห็นลูกโรหนะมาได้แล้ว ย่อมชื่นชม ยินดี ในวันนี้ ฉันใด ขอให้ นายพรานพร้อมทั้งบุตรและภรรยา จงมีความชมชื่น ยินดี ฉันนั้นเถิด.
[๒๑๑๘] ดูกรนายพราน เจ้าได้พูดไว้ว่า จะนำเอาเนื้อและหนังมามิใช่หรือ เออ ก็เหตุอะไรเล่า เจ้าจึงไม่นำเอาเนื้อและหนังมา?
[๒๑๑๙] เนื้อนั้นได้มาติดบ่วงเหล็กถึงมือแล้ว แต่มีเนื้อ ๒ ตัวไม่ได้ติดบ่วงเข้า มายืนอยู่ใกล้เนื้อตัวนั้น ข้าพระองค์ได้เกิดความสังเวชใจ ความอัศจรรย์ ใจ ขนพองสยองเกล้าว่า ถ้าเราฆ่าเนื้อตัวนี้ เราจักต้องทิ้งชีวิตในวันนี้.
[๒๑๒๐] ดูกรนายพราน เนื้อเหล่านั้นเป็นเช่นไร เป็นเนื้อมีธรรมอย่างไร มีสี สรรอย่างไร มีศีลอย่างไร ท่านจึงได้สรรเสริญเนื้อเหล่านั้นนัก?
[๒๑๒๑] เนื่อเหล่านั้นมีเขาขาว ขนสะอาด หนังเปรียบด้วยทองคำ เท้าแดง ตาสุกใส เป็นที่น่ารื่นรมย์ใจ.
[๒๑๒๒] ข้าแต่พระองค์ผู้สมมติเทพ เนื้อเหล่านั้นเป็นเช่นนี้ เป็นเนื้อมีธรรม เช่นนี้ เป็นเนื้อเลี้ยงบิดามารดา ข้าพระพุทธเจ้าจึงมิได้นำพระยาเนื้อนั้น มาถวายพระองค์ พระเจ้าข้า.
[๒๑๒๓] ดูกรนายพราน เราให้ทองคำ ๑๐๐ แท่ง กุณฑลแก้วมณีอันมีค่ามาก เตียง ๔ เหลี่ยมมีสีคล้ายดอกผักตบ และภรรยาผู้มีรูปร่างเหมือนกัน ๒ คน กับโค ๑๐๐ ตัว แก่ท่าน เราจักปกครองราชสมบัติโดยธรรม ท่าน เป็นผู้มีอุปการะแก่เรามาก ดูกรนายพราน ท่านจงเลี้ยงดูบุตรและภรรยา ด้วยกสิกรรม พาณิชกรรม การให้กู้หนี้ และด้วยการแสวงหาอันเป็น สัมมาชีพเถิด อย่าได้กระทำบาปอีกเลย.

จบ โรหนมิคชาดกที่ ๕.

๖. หังสชาดก ว่าด้วยหงส์สุมุขะผู้ภักดี


[๒๑๒๔] ดูกรสุมุขะ ผู้มีผิวพรรณงามดังทองคำ หงส์เหล่านี้ถูกภัยคุกคามแล้ว มีตัว งอบินหนีไป ท่านจงหนีไปตามปรารถนาเถิด. หมู่ญาติทั้งหลายละทิ้งเรา ติดอยู่ในบ่วงผู้เดียว ไม่ห่วงใย พากันบินหนีไป ท่านผู้เดียวจะห่วงอยู่ ทำไม? ดูกรสุมุขะผู้ประเสริฐ ท่านควรจะบินหนีเอาตัวรอด เพราะ ความเป็นสหายในเราผู้ติดบ่วงย่อมไม่มี ท่านอย่าทำความเพียรให้เสื่อม เสียเพราะความไม่มีทุกข์เลย จงรีบบินหนีไปตามความปรารถนาเถิด.
[๒๑๒๕] ข้าแต่ท้าวธตรฐมหาราช ถึงพระองค์จะถูกทุกข์ครอบงำ ข้าพระพุทธเจ้า ก็จักไม่ละทิ้งพระองค์ไป ข้าพระพุทธเจ้าจักเป็น หรือจักตายก็จักร่วมอยู่ กับพระองค์.
[๒๑๒๖] ดูกรสุมุขะ ท่านกล่าวคำใด คำนั้นเป็นคำดีงามของพระอริยเจ้า อนึ่งเล่า เราเมื่อจะทดลองท่านจึงได้พูดกะท่านว่า จงบินหนีไป.
[๒๑๒๗] ข้าแต่พระองค์ผู้ประเสริฐสูงสุดกว่าหงส์ทั้งหลาย นกตัวสัญจรไปใน อากาศ ย่อมบินไปสู่ทางโดยที่มิใช่ทางได้ พระองค์ไม่ทรงทราบบ่วงแต่ ที่ไกลดอกหรือ?
[๒๑๒๘] คราวใด จะมีความเสื่อม คราวนั้น เมื่อถึงคราวจะสิ้นชีพ สัตว์แม้จะ ติดบ่วง ติดข่ายก็ย่อมไม่รู้สึก.
[๒๑๒๙] ดูกรสุมุขะ ผู้มีผิวพรรณงามดังทองคำ หงส์เหล่านี้ถูกภัยคุกคามแล้ว มี ตัวงอพากันบินหนีไป ท่านเท่านั้นมัวพะวงอยู่. หงส์เหล่านั้นกินและดื่ม แล้วก็พากันบินหนีไป มิได้แลเหลียวถึงใคร ก็ท่านผู้เดียวจะมาเฝ้าอยู่ ทำไมเล่า? หงส์ตัวนี้เป็นอะไรกับท่านหนอ ท่านพ้นแล้วจากบ่วง ทำไมจึงมาเป็นห่วงหงส์ผู้ติดบ่วงอยู่เล่า หงส์ทั้งหลายเขาพากันทอดทิ้ง ไปแล้ว ท่านผู้เดียวมาพะวงอยู่ทำไม?
[๒๑๓๐] หงส์ตัวนั้นเป็นราชาของเรา เป็นมิตรสหายเสมอด้วยชีวิตของเรา เรา จักไม่ทอดทิ้งท่านไปจนตราบเท่าจนวันตาย.
[๒๑๓๑] ท่านปรารถนาจะสละชีวิต เพราะเหตุแห่งสหาย เราจักปล่อยสหายของ ท่านไป ขอพญาหงส์จงไปตามความประสงค์ของท่านเถิด.
[๒๑๓๒] ดูกรนายพราน วันนี้ ข้าพเจ้าได้เห็นพญาหงส์ตัวเป็นใหญ่ในหมู่ทิชาชาติ พ้นจากบ่วงแล้วย่อมชื่นชม ยินดี ฉันใด ขอท่านพร้อมกับหมู่ญาติ ทั้งปวง จงชื่นชม ยินดี ฉันนั้นเถิด.
[๒๑๓๓] พระองค์ผู้ทรงพระเจริญ ทรงเกษมสำราญดีหรือ โรคาพยาธิมิได้เบียด เบียนพระองค์หรือ รัฐสีมาอาณาจักรของพระองค์นี้สมบูรณ์ดีหรือ พระองค์ปกครองประชาราษฎรโดยธรรมหรือ?
[๒๑๓๔] ดูกรพญาหงส์ เราเกษมสำราญดี ทั้งโรคาพยาธิก็มิได้เบียดเบียน รัฐสีมา อาณาจักรของเรานี้ก็สมบูรณ์ดี เราปกครองราษฎรโดยธรรม.
[๒๑๓๕] โทษผิดอะไรๆ ในหมู่อำมาตย์ของพระองค์ไม่มีอยู่หรือ หมู่ศัตรูห่าง ไกลจากพระองค์ เหมือนเงาย่อมไม่เจริญทางทิศทักษิณ แลหรือ?
[๒๑๓๖] โทษผิดอะไรๆ ในหมู่อำมาตย์ของเราไม่มีเลย อนึ่ง หมู่ศัตรูก็ห่างไกล จากเรา เหมือนเงาย่อมไม่เจริญทางด้านทิศทักษิณ ฉะนั้น.
[๒๑๓๗] พระมเหสีของพระองค์ มิได้ทรงประพฤติล่วงละเมิดพระทัย ทรงเชื่อฟัง ทรงปราศรัยน่ารัก พร้อมพรักไปด้วยปุตตสมบัติ รูปสมบัติ และ ยศสมบัติ ยังเป็นที่โปรดปรานของพระองค์หรือ?
[๒๑๓๘] มเหสีของเราเป็นเช่นนั้น ทรงเชื่อฟังถ้อยคำ ทรงปราศรัยน่ารัก พร้อม พรักไปด้วยปุตตสมบัติ รูปสมบัติ และยศสมบัติ ยังเป็นที่โปรดปราน ของเราอยู่.
[๒๑๓๙] พระโอรสของพระองค์มีมากพระองค์ ทรงอุบัติมาเป็นศรีสวัสดี ใน รัฐสีมาอันเจริญ ทรงสมบูรณ์ด้วยพระปรีชาเฉลียวฉลาด ย่อมทรงบันเทิง พระทัยแต่ที่นั้นๆ อยู่แลหรือ?
[๒๑๔๐] ดูกรพระยาหงส์ธตรฐ เราปรากฏว่ามีโอรสถึง ๑๐๑ คน ขอท่านได้โปรด ชี้แจงกิจที่ควรแก่โอรสเหล่านั้นด้วยเถิด โอรสเหล่านั้นจะไม่ดูหมิ่นถ้อย คำของท่านเลย.
[๒๑๔๑] ถ้าแม้ว่า บุคคลประกอบด้วยชาติ หรือวินัย แต่กระทำความเพียรในภาย หลัง เมื่อกิจที่จำต้องทำเกิดขึ้น ย่อมต้องจมอยู่ในห้วงอันตราย. ช่อง ทางรั่วไหลแห่งโภคสมบัติเป็นต้น ก็จะเกิดใหญ่โตขึ้นกับบุคคลผู้มีปัญญา ง่อนแง่นนั้น บุคคลนั้นย่อมมองเห็นได้แต่รูปที่หยาบๆ เหมือนความมืด ในราตรี ฉะนั้น. บุคคลผู้ประกอบความเพียรในสิ่งอันไม่เป็นสาระว่าเป็น สาระ ก็ย่อมไม่ประสบความรู้เลยทีเดียว ย่อมจะจมลงในห้วงอันตราย อย่างเดียว เหมือนกวางวิ่งโลดโผนไปในซอกผา ตกจมเหวลงไปใน ระหว่างทาง ฉะนั้น. ถึงหากว่า นรชนจะเป็นผู้มีชาติเลวทราม แต่เป็นผู้มี ความขยันหมั่นเพียร มีปัญญา ประกอบด้วยอาจาระและศีล ย่อมจะรุ่ง เรือง เหมือนกองไฟในกลางคืน ฉะนั้น ขอพระองค์ทรงทำข้อนั้นนั่นแล ให้เป็นเครื่องเปรียบเทียบ แล้วทรงยังพระโอรสทั้งหลายให้ดำรงอยู่ใน วิชา บุคคลผู้มีปัญญาย่อมงอกงาม เหมือนพืชในนางอกงามขึ้นเพราะ น้ำฝน ฉะนั้น.

จบ หังสชาดกที่ ๖

๗. สัตติคุมพชาดก ว่าด้วยพี่น้องก็ยังต่างใจกัน


[๒๑๔๒] พระมหาราชาผู้เป็นจอมแห่งชนชาวปัญจาลรัฐ เป็นดุจพรานเนื้อ เสด็จ ออกมาสู่ป่าพร้อมด้วยเสนา พลัดจากหมู่เสนาไป. ท้าวเธอได้ทอด พระเนตรเห็นหมู่บ้านที่เขาทำไว้ เป็นที่อยู่อาศัยของโจรทั้งหลายในป่านั้น สุวโปดกออกจากหมู่บ้านนั้นแล้ว กลับมาพูดคำหยาบคายกับพ่อครัว ว่า มีบุรุษหนุ่มน้อย มีรถม้าเป็นพาหนะ มีกุลฑลเกลี้ยงเกลาดี มีกรอบ หน้าแดงงดงามเหมือนพระอาทิตย์ส่องแสงสว่างในกลางวัน ฉะนั้น. เมื่อ ถึงเวลาเที่ยงวัน พระราชากำลังบรรทมหลับพร้อมกับนายสารถี เอาซิ พวกเราจงรีบไปชิงเอาทรัพย์ทั้งหมด ของท้าวเธอเสีย. เวลานี้ก็เงียบ สงัดดุจกลางคืน พระราชากำลังบรรทมหลับพร้อมกับนายสารถี พวก เราจงไปแย่งเอาผ้าและกุลฑลแก้วมณี แล้วฆ่าเสียเอากิ่งไม่ปิดไว้.
[๒๑๔๓] ดูกรสุวโปดกสัตติคุมพะ เจ้าเป็นบ้าไปกระมังจึงได้พูดอย่างนั้น เพราะ ว่า พระราชาทั้งหลายถึงจะเสด็จมาแต่ไกล ก็ย่อมทรงเดชานุภาพเหมือน ดังไฟสว่างไสว ฉะนั้น.
[๒๑๔๔] ดูกรนายปติโกลุมพะ ท่านเมาแล้วย่อมเก่งกาจมากมิใช่หรือ เมื่อมารดา ของเราเปลือยกาย ไฉนท่านจึงเกลียดเล่าหนอ?
[๒๑๔๕] ดูกรสารถีผู้เพื่อนยาก จงรีบลุกขึ้นเทียมรถ เราไม่ชอบใจนก เราจงไป อาศรมอื่นกันเถิด.
[๒๑๔๖] ข้าแต่พระมหาราชา ราชรถได้เทียมแล้ว และม้าราชพาหนะมีกำลัง ก็ได้จัดเทียมแล้ว เชิญพระองค์เสด็จขึ้นประทับเถิด จะได้เสด็จไปยัง อาศรมอื่น พระเจ้าข้า.
[๒๑๔๗] พวกโจรในอาศรมนี้พากันไปเสียที่ไหนหมดเล่า พระเจ้าปัญจาลราชนั้น หลุดพ้นไปได้ เพราะพวกโจรเหล่านั้นไม่เห็น. ท่านทั้งหลายจงจับ เกาทัณฑ์ หอก และโตมร พระเจ้าปัญจาลราช กำลังหนีไป ท่านทั้งหลาย อย่าได้ปล่อยให้มีชีวิตอยู่ได้เลย.
[๒๑๔๘] ครั้งนั้น ปุบผกะสุวโปดกผู้มีจะงอยปากแดง ยินดีต้อนรับพระราชาว่า ข้าแต่พระมหาราชา พระองค์เสด็จมาดีแล้ว อนึ่ง พระองค์มิได้เสด็จมา ร้าย พระองค์ผู้ทรงอิสรภาพเสด็จมาถึงแล้วโดยลำดับ ของสิ่งใดมีอยู่ใน อาศรมนี้ ขอพระองค์ทรงเลือกเสวยของสิ่งนั้น. ผลมะพลับ ผลมะหาด ผลมะซาง ผลหมากเม่า อันเป็นผลไม้มีรสหวานเล็กน้อย ขอพระองค์ จงเลือกเสวยแต่ที่ดีๆ ข้าแต่พระมหาราชา น้ำนี้เย็น นำมาแต่ซอกภูเขา ขอเชิญพระองค์ทรงดื่มถ้าทรงปรารถนา. ฤาษีทั้งหลายในอาศรมนี้พากัน ไปป่าเพื่อแสวงหาผลาผล เชิญเสด็จลุกขึ้นไปทรงเลือกหยิบเอาเองเถิด เพราะข้าพระองค์ไม่มีมือที่จะทูลถวายได้.
[๒๑๔๙] นกแขกเต้าตัวนี้เจริญดีหนอ ประกอบด้วยคุณธรรมอย่างยิ่ง ส่วนนก แขกเต้าตัวโน้นพูดถ้อยคำหยาบคายว่า จงจับมัดพระราชานี้ฆ่าเสีย อย่า ให้รอดชีวิตไปได้เลย เมื่อนกแขกเต้านั้นรำพันเพ้ออยู่อย่างนี้ เราได้มา ถึงอาศรมนี้โดยสวัสดี.
[๒๑๕๐] ข้าแต่พระมหาราชา ข้าพระองค์ทั้งสองเป็นพี่น้องร่วมท้องมารดาเดียวกัน ได้เจริญเติบโตที่ต้นไม้เดียวกัน แต่ต่างพลัดกันไปอยู่คนละเขตแดน. สัตติคุมพะเจริญอยู่ในสำนักของพวกโจร ส่วนข้าพระองค์เจริญอยู่ใน สำนักของฤาษีในอาศรมนี้ สัตติคุมพะนั้นเข้าอยู่ในสำนักของอสัตบุรุษ ข้าพระองค์อยู่ในสำนักของสัตบุรุษ ฉะนั้น ข้าพระองค์ทั้งสองจึงต่างกัน โดยธรรม.
[๒๑๕๑] การฆ่าก็ดี การจองจำก็ดี การหลอกลวงด้วยของปลอมก็ดี การหลอก ลวงด้วยอาการตรงๆ ก็ดี การปล้นฆ่าชาวบ้านก็ดี การกระทำกรรมอัน อันแสนสาหัสก็ดี มีอยู่ในที่ใด สัตติคุมพะนั้นย่อมศึกษาสิ่งเหล่านั้น ในที่นั้น. ข้าแต่พระองค์ผู้ภารตวงศ์ ในอาศรมของฤาษีนี้มีแต่สัจจะ ธรรมะ ความไม่เบียดเบียน ความสำรวม และความฝึกอินทรีย์ ข้าพระองค์เป็นผู้เจริญแล้วบนตักของฤาษีทั้งหลาย ผู้มีปกติให้อาสนะ และน้ำ.
[๒๑๕๒] ข้าแต่พระราชา บุคคลคบคนใดๆ เป็นสัตบุรุษ อสัตบุรุษ มีศีล หรือ ไม่มีศีล บุคคลนั้นย่อมไปสู่อำนาจของบุคคลนั้นนั่นเทียว. บุคคลคบคน เช่นใดเป็นมิตร หรือเข้าไปคบสนิทคนเช่นใด ก็ย่อมเป็นคนเช่นนั้น เพราะการอยู่ร่วมกันเป็นเช่นนั้น. อาจารย์คบอันเตวาสิก ย่อมทำ อันเตวาสิกผู้ยังไม่แปดเปื้อนให้แปดเปื้อนได้ อาจารย์ถูกอันเตวาสิกพา เปื้อนแล้ว พาอาจารย์อื่นให้เปื้อนอีก เหมือนลูกศรที่เปื้อนยาพิษแล้ว ย่อมทำแล่งลูกศรให้เปื้อน ฉะนั้น. นักปราชญ์ไม่พึงมีสหายลามกเลย ทีเดียว เพราะกลัวแต่การแปดเปื้อนด้วยบาปธรรม นรชนใดห่อปลาเน่า ด้วยใบหญ้าคา แม้ใบหญ้าคาของนรชนนั้น ก็ย่อมมีกลิ่นเน่าฟุ้งไป ฉันใด การเข้าไปคบคนพาล ก็ฉันนั้นเหมือนกัน. นรชนใด ห่อกฤษณา ด้วยใบไม้ แม้ใบไม้ของนรชนนั้น ก็ย่อมหอมฟุ้งไป ฉันใด การเข้าไป คบนักปราชญ์ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน เพราะเหตุนั้น บัณฑิตรู้ความเปลี่ยน แปลงของตนดุจห่อใบไม้แล้ว ไม่ควรเข้าไปคบพวกอสัตบุรุษ ควรคบ แต่พวกสัตบุรุษ ด้วยว่า อสัตบุรุษย่อมนำไปสู่นรก สัตบุรุษย่อมพาให้ ถึงสุคติ.

จบ สัตติคุมพชาดกที่ ๗.

๘. ภัลลาติยชาดก ว่าด้วยอายุของกินนร


[๒๑๕๓] ได้มีพระราชาทรงพระนามว่า ภัลลติยะ ทรงละรัฐสีมา เสด็จประพาส ป่าล่ามฤค ท้าวเธอเสด็จไปถึงคันธมาทน์วรคีรี มีพรรณดอกไม้บาน สะพรั่ง ซึ่งกินนรเลือกเก็บอยู่เนืองๆ มีกินนรสองสามีภรรยายืนกัน อยู่ ณ ที่ใด ท้าวเธอประสงค์จะตรัสถาม จึงทรงห้ามหมู่สุนัข และเก็บ แล่งธนูไว้แล้วเสด็จเข้าไปใกล้ ณ ที่นั้น. ตรัสถามว่า ล่วงฤดูหนาว แล้ว เหตุไร เจ้าทั้งสองจึงมายืนกระซิบกระซาบกันอยู่เนืองๆ ที่ริมฝั่ง เหมวดี ณ ที่นี้เล่า เราขอถามเจ้าทั้งสองผู้มีเพศเหมือนกายมนุษย์ ชน ทั้งหลายในมนุษยโลก จะรู้จักเจ้าทั้งสองว่า เป็นอะไร?
[๒๑๕๔] ข้าแต่ท่านพราน เราทั้งสองเป็นมฤค มีเพศพรรณปรากฏเหมือนมนุษย์ เที่ยวอยู่ตามแม่น้ำเหล่านี้ คือ มาลาคิรีนที ปัณฑรกนที ติกูฏนที ซึ่งมี น้ำใสเย็นสนิท ชาวโลกรู้จักเราทั้งสองว่า เป็นกินนร.
[๒๑๕๕] เจ้าทั้งสองเหมือนได้รับความทุกข์ร้อนเสียเหลือเกิน ปริเทวนาอยู่ เจ้าทั้งสองมีความรักกัน ได้สวมกอดกันสมความรักแล้ว เราขอถาม เจ้าทั้งสองผู้มีเพศพรรณดังกายมนุษย์ เหตุไร เจ้าทั้งสองจึงร้องไห้อยู่ใน ป่านี้ ไม่สร่างซาเลย? เจ้าทั้งสองเหมือนได้รับความทุกข์ร้อนเสียเหลือ เกิน ปริเทวนาอยู่ เจ้าทั้งสองมีความรักกัน ได้สวมกอดกันสมความรัก แล้ว เราขอถามเจ้าทั้งสองผู้มีเพศพรรณดังกายมนุษย์ เหตุไร เจ้าทั้งสอง จึงมาบ่นเพ้ออยู่ในป่านี้ ไม่สร่างซาเลย? เจ้าทั้งสองเหมือนได้รับความ ทุกข์ร้อนเสียเหลือเกิน ปริเทวนาอยู่ เจ้าทั้งสองมีความรักกัน ได้สวม กอดกันสมความรักแล้ว เราขอถามเจ้าทั้งสองผู้มีเพศพรรณดังกายมนุษย์ เหตุไร เจ้าทั้งสองจึงเศร้าโศกอยู่ในป่านี้ไม่สร่างซาเลย?
[๒๑๕๖] ข้าแต่ท่านพราน เราทั้งสองไม่อยากจะจากกัน ก็ต้องจากกันแยกกันอยู่ สิ้นราตรีหนึ่ง เมื่อมาระลึกถึงกันและกัน ก็เดือดร้อนเศร้าโศกถึงกัน ตลอดราตรีหนึ่งว่า ราตรีนั้นจักไม่มีอีก.
[๒๑๕๗] เจ้าทั้งสองคิดถึงทรัพย์ที่หายไปหรือ หรือว่าคิดถึงบิดามารดาผู้ล่วงลับไป แล้ว จึงได้เดือดร้อนอยู่สิ้นราตรีหนึ่ง เราขอถามเจ้าทั้งสองผู้มีเพศ พรรณดังกายมนุษย์ เหตุไร เจ้าทั้งสองจึงต้องจากกันไป?
[๒๑๕๘] ท่านเห็นนทีนี้แห่งใด มีกระแสอันเชี่ยวไหลมาในระหว่างหุบหิน ปกคลุม ไปด้วยหมู่ไม้ต่างๆ พรรณ ในฤดูฝน กินนรสามีผู้เป็นที่รักของดิฉัน ได้ ข้ามแม่น้ำนั้นไปด้วยสำคัญว่า ดิฉันคงจะติดตามมาข้างหลัง ส่วนดิฉันมัว เลือกเก็บดอกปรู ดอกลำดวน ดอกมะลิซ้อน และดอกคัดเค้าที่บานๆ ด้วย คิดว่า สามีที่รักของเราจะได้ทัดทรงดอกไม้ ส่วนเราก็จะได้สอดแซมดอกไม้ เข้าไปนอนแนบสามีที่รักนั้น. อนึ่ง ดิฉันมัวเลือกเก็บดอกไม้บานไม่รู้โรย ดอกราชพฤกษ์ ดอกแคฝอย ดอกย่านทราย ด้วยคิดว่า สามีที่รักของ เราจะทัดทรงดอกไม้ ส่วนเราก็จักได้สอดแซมดอกไม้เข้าไปนอนแนบ สามีที่รักนั้น. อนึ่ง ดิฉันมัวเลือกเก็บดอกสาลพฤกษ์ซึ่งกำลังบานดี ร้อยเป็นพวงมาลัย ด้วยคิดว่า สามีที่รักของเราจะได้สวมใส่พวงมาลัย ส่วนเราก็จักได้สวมใส่พวงมาลัยเข้าไปนอนแนบสามีที่รักนั้น. อนึ่ง ดิฉันมัวเลือกเก็บดอกสาลพฤกษ์ซึ่งกำลังบานดีแล้วร้อยกรองทำเป็นพวงๆ ด้วยคิดว่า คืนวันนี้ เราทั้งสองจะอยู่ ณ ที่แห่งใด พวงดอกรังนี้จักเป็น เครื่องปูลาด ณ ที่นั้น. อนึ่ง ดิฉันมัวเลินเล่อบดกฤษณาดำ และจันทน์ แดงด้วยศิลา ด้วยคิดว่า สามีที่รักของเราจักได้ประพรมร่างกาย ส่วน เราประพรมร่างกายแล้วจะเข้าไปนอนแนบสามีที่รักนั้น. ครั้งนั้น น้ำมี กระแสอันเชี่ยว ไหลมาพัดเอาดอกสาลพฤกษ์ ดอกสน ดอกกรรณิการ์ ทั้งหลายไปโดยครู่เดียวนั้น น้ำก็ขึ้นเต็มฝั่ง ถึงเวลาเย็น ดิฉันข้ามแม่น้ำ ไปไม่ได้. คราวนั้น เราทั้งสองยืนกันอยู่คนละฝั่งแม่น้ำ มองเห็นหน้ากัน และกันก็หัวเราครั้งหนึ่ง มองไม่เห็นหน้ากันก็ร้องไห้เสียครั้งหนึ่ง คืนวันนั้น ได้ผ่านเราทั้งสองไปโดยยาก. ข้าแต่ท่านพราน เมื่อพระอาทิตย์ ขึ้นเวลาเช้า เราทั้งสองท่องข้ามแม่น้ำอันยุบแห้ง มาสวมกอดกันและกัน ร้องไห้อยู่คราวหนึ่ง หัวเราะอยู่คราวหนึ่ง. ข้าแต่ท่านพรานผู้ภูมิบาล เมื่อครั้งก่อน เราทั้งสองได้พรากกันอยู่นานถึง ๖๙๗ ปี ชีวิตของท่านนี้ มีกำหนดเพียง ๑๐๐ ปีเท่านั้น เมื่อเป็นเช่นนี้ ใครหนอจะพึงอยู่ปราศจาก ภรรยาสุดที่รักเสียเล่า?
[๒๑๕๙] ดูกรสหาย อายุของพวกท่านมีประมาณเท่าไร ถ้าท่านทั้งสองรู้ ก็ขอจง บอกอายุของพวกท่านแก่เรา ขอท่านทั้งหลายอย่าได้บิดพริ้ว จงบอก อายุพวกท่านแก่เรา ตามที่ได้ยินได้ฟังมาจากวุฒบุคคล หรือจากตำหรับ ตำรา?
[๒๑๖๐] ข้าแต่ท่านพราน อายุของเราทั้งสองประมาณ ๑,๐๐๐ ปี อนึ่ง ในระหว่าง อายุนั้น โรคร้ายย่อมไม่มี มีความทุกข์น้อย มีความสุขยิ่งๆ ขึ้นไป เราทั้งสองยังไม่คลายความรักกันและกัน ก็ต้องละทิ้งชีวิตไป.
[๒๑๖๑] พระเจ้าภัลลาติยะ ได้ทรงสดับถ้อยคำของกินนรทั้งสองนี้แล้ว ทรง พระดำริว่า ชีวิตเป็นของน้อย จึงเสด็จกลับ ไม่เสด็จล่าเนื้อ ได้ทรง บำเพ็ญทาน เสวยราชสมบัติสืบมา.
[๒๑๖๒] มหาบพิตรทั้งหลาย ได้ทรงสดับเรื่องราวของกินนรทั้งสองนี้แล้ว จง บันเทิงพระทัยเถิด อย่าได้ทรงทำความทะเลาะกันเลย กรรมอันเป็นโทษ ของตน อย่าได้ทำให้มหาบพิตรทั้งสองต้องเดือดร้อน เหมือนกรรมอัน เป็นโทษของตนทำให้กินนรสองสามีภรรยาเดือดร้อยอยู่ราตรีหนึ่ง ฉะนั้น. มหาบพิตรทั้งสองได้สดับเรื่องราวของกินนรทั้งสองนี้แล้ว จงบันเทิง พระทัยเถิด อย่าได้ทรงทำความวิวาทบาดหมางกันเลย กรรมอันเป็นโทษ ของตน อย่าได้ทำให้มหาบพิตรเดือดร้อน เหมือนกรรมอันเป็นโทษของ ตนทำให้กินนรสองสามีภรรยาเดือดร้อนอยู่หนึ่งราตรี ฉะนั้น.
[๒๑๖๓] หม่อมฉันมีใจเลื่อมใส ตั้งใจฟังธรรมเทศนาของพระองค์ที่พระองค์ทรง แสดงประกอบไปด้วยเหตุต่างๆ ประกอบไปด้วยประโยชน์ พระองค์ ทรงเปล่งพระสุรเสียงอันไพเราะ ดับความกระวนกระวายใจของหม่อม ฉันได้ ข้าแต่พระสมณเจ้า ผู้ทรงนำความสุขมาให้หม่อมฉัน ขอ พระองค์จงมีพระชนม์ชีพยืนนานเถิด.

จบ ภัลลาติยชาดกที่ ๘.

๙. โสมนัสสชาดก ว่าด้วยการใคร่ครวญก่อนแล้วทำ


[๒๑๖๔] ใครมาตีมาด่าท่านหรือ ทำไมท่านจึงเสียใจ น้อยใจ เศร้าโศกอยู่ วันนี้ บิดามารดาของท่านมาร้องไห้กระมัง หรือว่าวันนี้ ใครมารังแกท่านให้นอน เหนือแผ่นดิน?
[๒๑๖๕] ขอถวายพระพรพระจอมภูมิบาล อาตมภาพดีใจมากที่ได้เห็นมหาบพิตร อาตมภาพเข้ามาอาศัยมหาบพิตร ไม่ได้เบียดเบียนใคร ขอถวายพระพร อาตมภาพถูกพระราชโอรสของมหาบพิตรเบียดเบียน.
[๒๑๖๖] พวกนายประตู พนักงานตำรวจดาบ และนายเพชฌฆาตทั้งหลาย จง ไปตามวิธีของตนๆ จงไปยังภายในพระราชฐาน ฆ่าเจ้าโสมนัสสกุมาร เสีย แล้วตัดเอาศีรษะมา. ทูตทั้งหลายที่พระราชาสั่งไปได้กราบทูลพระ กุมารว่า ข้าแต่พระขัตติโยรส พระองค์ถูกพระอิศราชบิดาทรงตัดขาดแล้ว พระองค์ต้องโทษถึงประหารชีวิต พระเจ้าข้า. พระราชโอรสนั้นทรงกรรแสงอยู่ ประนมนิ้วทั้งสิบขึ้นอ้อนวอนว่า แม้เรา อยากจะขอเฝ้าพระราชบิดา ผู้เป็นจอมประชาราษฎร์ ขอท่านทั้งหลาย จงนำเราผู้ยังมีชีวิตไปเฝ้าพระราชบิดาเถิด. ทูตทั้งหลายได้ฟังพระดำรัสของพระราชกุมารแล้ว ได้พาพระราชโอรส ไปเฝ้าพระราชา. ฝ่ายพระโอรส ครั้นเห็นพระราชบิดาจึงกราบทูลไปแต่ไกลว่า ข้าแต่พระ ราชบิดา ผู้เป็นจอมประชาราชษฎร์ พวกนายประตู พนักงานตำรวจดาบ และเพชฌฆาตทั้งหลาย พากันมาเพื่อจะฆ่าเกล้ากระหม่อมเสีย เกล้า กระหม่อมขอกราบทูลถาม ขอได้ทรงพระกรุณาโปรดบอกเนื้อความนั้น แก่เกล้ากระหม่อม วันนี้ เกล้ากระหม่อมมีความผิดในเรื่องนี้เป็น ประการใดหรือ พระเจ้าข้า?
[๒๑๖๗] ทิพจักขุดาบสผู้ไม่ประมาท ทำกิจรดน้ำและบำเรอไฟทั้งเวลาเย็นเวลาเช้า ทุกเมื่อ เหตุไร เจ้าจึงเรียกทิพจักขุดาบส ผู้สำรวมอินทรีย์ เป็นพรหมจารี เช่นนั้นว่า คฤหบดี ดังนี้เล่า?
[๒๑๖๘] ขอเดชะ กุลุปกดาบสผู้นี้ มีสิ่งของเก็บไว้หลายอย่าง คือ ผลสมอพิเภก เผือก มัน และผลไม้ทั้งหลาย กุลุปกดาบส ผู้นี้เป็นผู้ไม่ประมาท เก็บ รักษาสิ่งของเหล่านั้นไว้ เพราะเหตุนั้น เกล้ากระหม่อมจึงเรียกดาบส นั้นว่าคฤหบดี.
[๒๑๖๙] ดูกรเจ้าโสมนัสสกุมาร เรื่องนี้เจ้าพูดจริง ดาบสผู้นี้มีสิ่งของเก็บไว้ หลายอย่าง ดาบสผู้นี้เป็นผู้ไม่ประมาท เก็บรักษาสิ่งของเหล่านั้นไว้ เพราะฉะนั้น ดาบสผู้นี้จึงชื่อว่า พราหมณคฤหบดี.
[๒๑๗๐] บริษัททั้งหลายทั้งชาวนิคม และชาวชนบท ที่มาประชุมกันถ้วนทุกคน ขอจงฟังข้าพเจ้า พระราชาผู้เป็นจอมประชาราษฎร์นี้เป็นพาล ได้ฟังคำ ชฏิลโกงแล้วรับสั่งให้ฆ่าเราเสีย โดยหาเหตุมิได้เลย.
[๒๑๗๑] เมื่อรากยังมั่นคงเจริญงอกงามแผ่ไพศาลอยู่ ไม้ไผ่ที่แตกเป็นกอใหญ่แล้ว ก็แสนยากที่จะถอนให้หมดสิ้นไปได้ ข้าแต่พระราชบิดาผู้เป็นจอมประชา ราษฎร์ เกล้ากระหม่อมฉันขอถวายบังคมพระยุคลบาทของพระองค์ ขอ พระราชทานพระบรมราชานุญาตเกล้ากระหม่อม เกล้ากระหม่อมจักออก บวช พระเจ้าข้า.
[๒๑๗๒] ดูกรพ่อโสมนัสสกุมาร พ่อจงเสวยโภคสมบัติอันไพบูลย์เถิด อนึ่ง ฉัน จะยกอิสริยยศทั้งหมดให้แก่พ่อ พ่อจงเป็นพระราชาของชาวกุรุรัฐใน วันนี้เถิด อย่าบวชเลย เพราะการบวชเป็นทุกข์.
[๒๑๗๓] ขอเดชะ บรรดาโภคสมบัติของพระองค์ซึ่งมีอยู่ในราชธานีนี้ สิ่งไรเล่า ที่ เกล้ากระหม่อมควรบริโภคมีอยู่หรือ เมื่อชาติก่อนเกล้ากระหม่อมเคย รื่นรมย์ อยู่ในเทวโลก ด้วยรูป เสียง กลิ่น รส และผัสสะทั้งหลาย ที่น่ารื่นรมย์ใจ. ขอเดชะ เกล้ากระหม่อมเคยบริโภคสมบัติมาแล้วใน ไตรทิพย์ เคยมีหมู่นางอัปสรแวดล้อมมาแล้ว เกล้ากระหม่อมมารู้ว่า พระองค์ทรงเขลาอันคนอื่นจะต้องนำไป แล้วจะพึงอยู่ในราชสกุล เช่นนั้นไม่ได้เลย.
[๒๑๗๔] ดูกรพ่อโสมนัส ถ้าหากว่า ฉันเป็นคนเขลาอันคนอื่นจะต้องนำไป พ่อ จงงดโทษให้แก่ฉันสักครั้งหนึ่งเถิด ถ้าแม้ว่า โทษเช่นนี้จะพึงมีอีก พ่อจง กระทำตามอัธยาศัยเถิด.
[๒๑๗๕] กรรมที่บุคคลใดไม่พิจารณา ให้ถี่ถ้วนเสียก่อนแล้วทำลงไป ผลชั่วร้าย ย่อมมีแก่บุคคลนั้น เหมือนความวิบัติแห่งยาแก้โรค ฉะนั้น. ส่วนกรรม ที่บุคคลใดพิจารณาถี่ถ้วนก่อนแล้วทำลงไป ผลอันเจริญก็ย่อมมีแก่บุคคล นั้น เหมือนความถึงพร้อมแห่งยาแก้โรค ฉะนั้น. คฤหัสถ์ผู้บริโภคกาม เป็นคนเกียจคร้าน ไม่ดี บรรพชิตไม่สำรวม ไม่งาม พระราชาไม่ทรง ใคร่ครวญเสียก่อนแล้วทำลงไป ไม่ดี บัณฑิตมีความโกรธเป็นเจ้าเรือน ก็ไม่ดี ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นอธิบดีแห่งทิศ กษัตริย์ทรงใคร่ครวญเสียก่อน แล้วจึงควรทำ ยังไม่ทรงใคร่ครวญเสียก่อนแล้วไม่ควรทำ พระเกียรติยศ ของพระราชาผู้ทรงใคร่ครวญเสียก่อนแล้วทำลงไป ย่อมเจริญ. ข้าแต่ พระจอมภูมิบาล อิสรชนควรใคร่ครวญเสียก่อนแล้วจึงลงอาชญากรรม ที่ทำด้วยความรีบร้อนย่อมให้เดือดร้อน อนึ่ง ความตั้งตนไว้โดยชอบ และประโยชน์ของนรชน ย่อมไม่ตามเดือดร้อนในภายหลัง. แท้จริง ชนเหล่าใด จำแนก แจกแจง (เลือกเฟ้น) แล้ว กระทำกรรมทั้งหลายที่ ไม่ตามเดือดร้อนภายหลังในโลก กรรมของชนเหล่านั้น ท่านผู้รู้สรรเสริญ มีความสุขเป็นกำไร อันพระพุทธเจ้าอนุมัติแล้ว. ขอเดชะ ข้าแต่ พระองค์ผู้เป็นจอมประชาชน นายประตู ตำรวจดาบ และพวกเพชฌฆาต พากันไปจะฆ่าเกล้ากระหม่อมฉัน พวกนั้นรุมกันฉุดคร่าเกล้ากระหม่อม ฉัน ผู้กำลังนั่งอยู่บนพระเพลาแห่งพระราชมารดามาโดยพลัน. ข้าแต่ พระราชบิดา แท้จริง เกล้ากระหม่อมฉันถึงแล้วซึ่งมรณภัยอันเผ็ดร้อน คับแคบ ฝืดเคืองเหลือเกิน วันนี้ เกล้ากระหม่อมฉันได้มีชีวิตอันเป็น ที่รักหวานซาบซึ้งใจ รอดพ้นจากการถูกประหารมาได้แสนยาก จึงน้อม ใจต่อบรรพชาอย่างเดียว.
[๒๑๗๖] ดูกรสุธรรมาเทวี พ่อโสมนัสสกุมารโอรสของเธอนี้ ยังรุ่นหนุ่ม น่าเอ็นดู วันนี้ ฉันอ้อนวอนเขาไว้ ก็ไม่ได้สมปรารถนา แม้เธอก็ควรจะอ้อนวอน โอรสของเธอดูบ้าง.
[๒๑๗๗] ดูกรพระลูกรัก เจ้าจงยินดีด้วยภิกขาจาริยวัตรเถิด จงใคร่ครวญในธรรม ทั้งหลายแล้ว ละเว้นบรรพชาของคนมิจฉาทิฏฐิเสียเถิด เจ้าจงวาง อาชญาในสรรพสัตว์ ไม่ถูกติเตียนแล้ว จงเข้าถึงพรหมสถานเถิด. ดูกรสุธรรมาเทวี เธอพูดคำเช่นใด คำเช่นนั้น น่าอัศจรรย์จริงหนอ ฉัน ได้รับทุกข์อยู่แล้ว เธอยังกลับเพิ่มทุกข์ให้อีก ฉันขอร้องเธอให้ช่วย อ้อนวอนลูก เธอกลับสนับสนุนให้โสมนัสสกุมารเกิดอุตสาหะยิ่งขึ้น.
[๒๑๗๘] พระอริยเจ้าเหล่าใด พ้นวิเศษแล้ว บริโภคปัจจัยอันหาโทษมิได้ ดับรอบ แล้ว เที่ยวไปในโลกนี้ หม่อมฉันไม่อาจจะห้ามโอรสผู้ดำเนินไปตาม มรรคาของพระอริยเจ้าเหล่านั้นได้.
[๒๑๗๙] ชนเหล่าใด มีปัญญา เป็นพหูสูต ตรึกตรองเหตุการณ์ถี่ถ้วนมาก พระ นางสุธรรมาเทวีนี้ เป็นผู้มีความขวนขวายน้อย ปราศจากความโศกเศร้า ได้สดับคำสุภาษิตของชนเหล่าใด ชนเหล่านั้นควรจะคบหาแท้ทีเดียว.

จบ โสมนัสสชาดกที่ ๙.

๑๐. จัมเปยยชาดก บำเพ็ญตบะเพื่อต้องการเกิดเป็นมนุษย์


[๒๑๘๐] ท่านเป็นใคร งามผ่องใสดุจสายฟ้า และอุปมาเหมือนดาวประจำรุ่ง เรา ไม่รู้จักท่านว่า เป็นเทวดาหรือคนธรรพ์ หรือเป็นหญิงมนุษย์?
[๒๑๘๑] ข้าแต่พระมหาราชา หม่อมฉันหาใช่เทวดา คนธรรพ์ หรือหญิงมนุษย์ไม่ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ หม่อมฉันเป็นนางนาคกัญญา อาศัยเหตุอย่างหนึ่ง จึงได้มาในพระนครนี้.
[๒๑๘๒] ดูกรนางนาคกัญญา ท่านมีอาการเหมือนคนมีจิตฟั่นเฟือน มีอินทรีย์อัน เศร้าหมอง หยาดน้ำตาไหลออกจากเบ้าตาทั้งสองของท่าน อะไรของ ท่านหาย หรือว่าท่านปรารถนาอะไรจึงได้มาในเมืองนี้ เชิญท่านบอกเถิด?
[๒๑๘๓] ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นจอมประชาชน มหาชนเขาร้องเรียกสัตว์ใดว่า อุรค ชาติผู้มีเดชสูง มหาชนเขาร้องเรียกสัตว์นั้นว่า นาค บุรุษคนนี้จับนาค นั้นมาต้องการเลี้ยงชีพ นาคนั่นแหละเป็นสามีของหม่อมฉัน ขอพระ องค์ได้ทรงพระกรุณาโปรดปล่อยนาคนั้นเสียจากที่คุมขังเถิด เพคะ.
[๒๑๘๔] ดูกรนางนาคกัญญา นาคราชนี้ประกอบไปด้วยกำลังอันแรงกล้า ไฉนจึง มาถึงเงื้อมมือของชายวณิพกได้เล่า เราจะใคร่รู้ถึงการที่นาคราชถูกกระทำ จนถูกจับมาได้ ขอท่านจงบอกความข้อนั้นแก่เราเถิด?
[๒๑๘๕] แท้จริง นาคราชนั้นประกอบด้วยกำลังอันแรงกล้า พึงทำแม้นครให้เป็น ภัสมธุลีไปได้ แต่เพราะนาคราชนั้น เคารพ นบนอบธรรม ฉะนั้น จึงได้ บากบั่นบำเพ็ญตบะ.
[๒๑๘๖] ข้าแต่พระราชา นาคราชอธิษฐานรักษาอุโบสถในดิถีที่ ๑๔ และดิถีที่ ๑๕ นอนอยู่ใกล้ทางสี่แพร่ง บุรุษหมองูจับนาคราชนั้นมาต้องการเลี้ยงชีพ นาคราชนี้เป็นสามีของหม่อมฉัน ขอพระองค์ได้ทรงพระกรุณาโปรด ปล่อยนาคราชนั้นจากที่คุมขังเถิด เพคะ.
[๒๑๘๗] สนมนารีถึงหมื่นหกพันนาง ล้วนสวมใส่กุณฑลแก้วมณี บรรดาลวารี เป็นห้องไสยาสน์ แม้สนมนารีเหล่านั้นก็ยึดถือนาคราชนั้นเป็นที่พึ่ง. ขอพระองค์ได้ทรงพระกรุณาโปรดปล่อยนาคราชนั้นโดยธรรม ปราศจาก กรรมอันสาหัสเถิด ด้วยบ้านส่วยร้อยบ้าน ทองร้อยแท่ง และโคร้อย ตัว ขอนาคราชผู้ต้องการบุญ จงเหยียดกายตรงเที่ยวไป จงพ้นจากที่ คุมขังเถิด เพคะ.
[๒๑๘๘] เราจะปล่อยนาคราชนี้ไปโดยธรรม ปราศจากกรรมอันสาหัส ด้วยบ้านส่วย ร้อยบ้าน ทองคำร้อยแท่ง โคร้อยตัว นาคราชผู้ต้องการบุญ จงเหยียด กายตรงเที่ยวไป จงพ้นจากที่คุมขัง. ดูกรนายพราน ฉันจะให้ทอง ๑๐๐ แท่ง กุณฑลแก้วมณีราคามาก บัลลังก์ สี่เหลี่ยมสีดังดอกผักตบ ภรรยารูปงาม ๒ คน และโคอุสุภะ ๑๐๐ ตัว แก่ท่าน ขอนาคราชตัวต้องการบุญ จงเหยียดกายตรงเที่ยวไป จงพ้นจาก ที่คุมขังเถิด.
[๒๑๘๙] ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นจอมประชาชน แม้จะมิทรงพระราชทานสิ่งไรเลย เพียงแต่รับสั่งให้ปล่อยเท่านั้น ข้าพระพุทธเจ้าก็จะปล่อยนาคราชนั้น จากที่คุมขังทันที ขอนาคราชตัวต้องการบุญ จงเหยียดกายตรงเที่ยวไป จงพ้นจากที่คุมขังเถิด.
[๒๑๙๐] จัมเปยยนาคราชหลุดพ้นได้แล้ว จึงกราบทูลพระราชาว่า ข้าแต่พระเจ้า กาสิกราช ข้าพระพุทธเจ้าขอถวายบังคมพระองค์ ข้าแต่พระองค์ผู้ทรง ผดุงกาสิกรัฐให้รุ่งเรือง ข้าพระพุทธเจ้าขอถวายบังคมพระองค์ ข้าพระ พุทธเจ้าประนมอัญชลีแด่พระองค์ ขอเชิญเสด็จทอดพระเนตรนิเวศน์ ของข้าพระพุทธเจ้าเถิด พระเจ้าข้า.
[๒๑๙๑] ดูกรนาคราช แท้จริง คนทั้งหลายเขากล่าวถึงเหตุที่มนุษย์จะพึงคุ้นเคย กับอมนุษย์ว่า พึงคุ้นเคยกันได้ยาก ก็ถ้าท่านขอร้องเราถึงเรื่องนั้น เรา ก็อยากจะไปดูนิเวศน์ของท่าน.
[๒๑๙๒] ข้าแต่พระราชา ถึงแม้ว่า ลมจะพึงพัดภูเขาไปก็ดี พระจันทร์ และพระ อาทิตย์จะพึงเผาผลาญแผ่นดินก็ดี แม่น้ำทุกสายพึงไหลทวนกระแสก็ดี ถึงกระนั้น ข้าพระพุทธเจ้าก็จะไม่กล่าวคำเท็จเลย. ข้าแต่พระราชา ท้องฟ้า จะทำลายไป ทะเลจะเหือดแห้งไป มหาปฐพีมีนามว่าภูตธราและพสุนธรา จะพึงม้วนได้ เมรุบรรพตอันหนาแน่นด้วยศิลาจะพึงถอนไปทั้งราก ถึง กระนั้น ข้าพระพุทธเจ้าจะไม่กล่าวคำเท็จเลย.
[๒๑๙๓] ดูกรนาคราช แท้จริง คนทั้งหลายเขากล่าวถึงเหตุที่มนุษย์จะพึงคุ้นเคย กับอมนุษย์ว่า พึงคุ้นเคยกันได้ยาก ก็ถ้าท่านขอร้องเราถึงเรื่องนั้น เรา ก็อยากจะไปดูนิเวศน์ของท่าน.
[๒๑๙๔] ท่านเป็นผู้มีพิษร้ายแรงยิ่ง มีเดชมาก ทั้งโกรธง่าย ท่านหลุดพ้นจากที่ คุมขังไปได้ก็เพราะเหตุแห่งเรา ท่านควรจะรู้คุณที่เราทำให้แก่ท่าน.
[๒๑๙๕] ข้าพระพุทธเจ้าถูกคุมขังอยู่ในกระโปรง เกือบจะถึงความตาย จักไม่รู้จัก อุปการคุณที่พระองค์ทรงกระทำแล้วเช่นนั้น ก็ขอให้ข้าพระพุทธเจ้าจง หมกไหม้อยู่ในนรกอันแสนร้ายกาจ อย่าได้รับความสำราญกายสักหน่อย หนึ่งเลย.
[๒๑๙๖] คำปฏิญาณของท่านนั้น จงเป็นคำสัตย์จริง ท่านอย่าได้มีความโกรธ อย่า ผูกโกรธไว้ อนึ่ง ขอสุบรรณทั้งหลายจงละเว้นนาคสกุลของท่านทั้งมวล เหมือนไฟในฤดูร้อน ฉะนั้น.
[๒๑๙๗] ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นจอมประชาชน พระองค์ทรงเอ็นดูนาคสกุล เหมือน มารดาผู้เอ็นดูบุตรคนเดียวผู้เป็นสุดที่รัก ฉะนั้น. ข้าพระพุทธเจ้ากับ นาคสกุล จะขอกระทำเวยยาวฏิกกรรมอย่างยอดยิ่งแด่พระองค์.
[๒๑๙๘] เจ้าพนักงานรถ จงตระเตรียมราชรถอันงามวิจิตร จงเทียมอัสดรอันเกิด ในกัมโพชกรัฐซึ่งฝึกหัดอย่างดีแล้ว และเจ้าพนักงานช้างจงผูกช้างตัว ประเสริฐทั้งหลาย ให้งามไปด้วยสุวรรณหัตถาภรณ์ เราจะไปดูนิเวศน์ ของนาคราช.
[๒๑๙๙] พนักงานเภรี ตะโพน บัณเฑาะว์ และแตรสังข์ของพระเจ้าอุคคเสนราช มาพร้อมหน้ากัน พระราชาทรงแวดล้อมด้วยสนมนารี เสด็จไปในท่าม กลางหมู่สนมนารีงามสง่ายิ่งนัก.
[๒๒๐๐] พระเจ้ากาสีวัฒนราช ได้ทอดพระเนตรเห็นภูมิภาคอันงามวิจิตรลาดแล้ว ด้วยทรายทองทั้งสุวรรณปราสาทก็ปูลาดไปด้วยแผ่นกระดานแก้วไพฑูรย์. พระองค์เสด็จเข้าไปสู่นิเวศน์ของจัมเปยยนาคราชอันประดับประดาแล้ว งามโอภาสดุจแสงพระอาทิตย์ มีรัศมีดังสายฟ้าในกลุ่มเมฆ พระเจ้า กาสิกราชทรงทอดพระเนตรจนทั่วนิเวศน์ของจัมเปยยนาคราช อันดาดาษ ไปด้วยรุกขชาตินานาชนิด หอมฟุ้งไปด้วยกลิ่นทิพย์ต่างๆ เมื่อพระเจ้า กาสิกราชเสด็จเข้าไปในนิเวศน์ของจัมเปยยนาคราช ทิพยดนตรีก็บรรเลง และเหล่านางนาคกัญญาต่างก็ฟ้อนรำขับร้องถวาย. พระเจ้ากาสิกราช เสด็จขึ้นนิเวศน์ ซึ่งมีหมู่นางนาคกัญญาตามเสด็จ ทรงพอพระทัยประทับ นั่งบนพระแท่นทองอันมีพนัก ไล้ทาด้วยแก่นจันทน์ทิพย์.
[๒๒๐๑] พระเจ้ากาสิกราชนั้น ครั้นเสวยสมบัติและทรงรื่นรมย์อยู่ในนาคพิภพ นั้นแล้ว ได้ตรัสถามจัมเปยยนาคราชว่า วิมานอันประเสริฐของท่าน เหล่านี้ มีรัศมีดังพระอาทิตย์งามผุดผ่อง วิมานเช่นนี้ไม่มีในมนุษยโลก ดูกรพญานาคราช ท่านบำเพ็ญตบะธรรมเพื่อประโยชน์อะไร? นาง นาคกัญญาเหล่านั้นล้วนสวมใส่กำไลทอง นุ่งห่มเรียบร้อย มีนิ้วมือกลม กลึง ฝ่ามือฝ่าเท้าแดงงาม ผิวพรรณไม่ทราม พากันยกทิพยปานะถวาย ให้พระองค์ทรงเสวย เหล่านารีเช่นนี้จะได้มีอยู่ในมนุษยโลกก็หาไม่ ดูกรพญานาคราช ท่านบำเพ็ญตบะธรรมเพื่อประโยชน์อะไร? อนึ่ง มหา นทีอันชุ่มชื่น ดาษดื่นไปด้วยปลาที่มีเกล็ดนานาชนิด มีนกเงือกร่ำร้อง อยู่อึงมี่ มีท่าราบเรียบ แม่น้ำเช่นนี้จะได้มีอยู่ในมนุษยโลกก็หาไม่ ดูกร พระยานาคราช ท่านบำเพ็ญตบะธรรมเพื่อประโยชน์อะไร? ฝูงนก กระเรียน ฝูงนกยูง ฝูงหงส์ และฝูงนกดุเหว่าทิพย์ ร่ำร้องเสียงไพเราะ จับใจ ต่างก็โผผินบินจับอยู่บนต้นไม้ ทิพยสกุณาเช่นนี้จะได้มีใน มนุษยโลกก็หาไม่ ดูกรพญานาคราช ท่านบำเพ็ญตบะธรรมเพื่อ ประโยชน์อะไร? ต้นมะม่วง ต้นสาละ หมากเหม้าควาย ต้นหว้า ต้นราชพฤกษ์ และแคฝอย ผลิตดอกออกผลเป็นพวงๆ ทิพยรุกขชาติ เช่นนี้จะได้มีอยู่ในมนุษยโลกก็หาไม่ ดูกรพระยานาคราช ท่านบำเพ็ญ ตบะธรรมเพื่อประโยชน์อะไร? อนึ่ง ทิพยสุคนธ์รอบๆ สระโบกขรณี เหล่านี้ หอมฟุ้งอยู่เป็นนิตย์ ทิพยสุคนธ์เช่นนี้จะได้มีอยู่ในมนุษยโลก ก็หาไม่ ดูกรพญานาคราช ท่านบำเพ็ญตบะธรรมเพื่อประโยชน์อะไร?
[๒๒๐๒] ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นจอมประชาชน ข้าพระพุทธเจ้าบำเพ็ญตบะธรรม เพราะเหตุแห่งบุตรทรัพย์ หรือแม้เพราะเหตุแห่งอายุก็หาไม่ แต่เพราะ ข้าพระพุทธเจ้าปรารถนากำเนิดมนุษย์ ฉะนั้น จึงได้บากบั่นบำเพ็ญตบะ ธรรม.
[๒๒๐๓] ท่านมีดวงเนตรแดง มีรัศมีส่องแสงสว่าง ประดับตกแต่งแล้ว ปลงเกสา และมัสสุแล้ว ประพรมด้วยจุรณ์จันทน์แดง ฉายแสงไปทั่วทิศ ดัง คนธรรพราช ฉะนั้น. ท่านเป็นผู้ประกอบด้วยเทวฤทธิ์ มีอานุภาพมาก เพรียบพร้อมไปด้วยสรรพกามารมณ์ ดูกรพระยานาคราช เราขอถาม เนื้อความนี้กะท่าน มนุษยโลกประเสริฐกว่านาคพิภพนี้ ด้วยเหตุไร?
[๒๒๐๔] ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นจอมประชาชน เว้นมนุษยโลกเสียแล้ว ความบริสุทธิ์ หรือความสำรวมย่อมไม่มีเลย ข้าพระพุทธเจ้าบำเพ็ญตบะธรรมด้วยตั้งใจ ว่า เราได้กำเนิดมนุษย์แล้วจักทำที่สุดแห่งชาติและมรณะได้.
[๒๒๐๕] ชนเหล่าใด มีปัญญา เป็นพหูสูต ตรึกตรองเหตุการณ์ถี่ถ้วนมาก ชน เหล่านั้น ควรคบหาแท้ทีเดียว ดูกรพระยานาคราช เราได้เห็นนางนาค กัญญาทั้งหลายของท่าน และตัวท่านแล้ว จักทำบุญให้มาก.
[๒๒๐๖] ชนเหล่าใด มีปัญญา เป็นพหูสูต ตรึกตรองเหตุการณ์ถี่ถ้วนมาก ชน เหล่านั้นควรคบหาแท้ทีเดียว ข้าแต่พระมหาราชา พระองค์ได้ทอดพระ เนตรเห็นนางนาคกัญญา และตัวข้าพระพุทธเจ้าแล้ว ขอจงทรงบำเพ็ญ บุญให้มากเถิด.
[๒๒๐๗] กองเงิน และกองทองของข้าพระพุทธเจ้านี้มากมาย สูงประมาณเท่า ต้นตาล พระองค์จงรับสั่งให้พวกราชบุรุษขนไปจากนาคพิภพนี้ แล้วจง รับสั่งให้สร้างพระราชวังด้วยทองคำ ให้สร้างกำแพงด้วยเงินเถิด. นี้ กองแก้วมุกดาอันเจือปนด้วยแก้วไพฑูรย์ห้าพันเล่มเกวียน พระองค์ จงรับสั่งให้ราชบุรุษขนไปจากนาคพิภพนี้ แล้วให้ลาดลง ณ ภูมิภาค ภายในพระราชฐาน ภูมิภาคภายในพระราชฐานก็จักปราศจากเปือกตม และละอองธุลี. ข้าแต่พระราชาผู้ประเสริฐ ผู้ทรงพระปรีชาอันล้ำเลิศ ขอพระองค์โปรดเสวยราชสมบัติ ครอบครองพระนครพาราณสีอันมั่งคั่ง สมบูรณ์ สง่างามล้ำเลิศ ดุจทิพยวิมานเห็นปานฉะนี้เถิด พระเจ้าข้า.

จบ จัมเปยยชาดกที่ ๑๐.

๑๑. มหาปโลภนชาดก ว่าด้วยหญิงเป็นมลทินของพรหมจรรย์


[๒๒๐๘] เทพบุตรผู้มีฤทธิมาก จุติจากพรหมโลกแล้วมาเกิดเป็นโอรสของพระราชา ผู้ทรงดำรงอยู่ในพระราชสมบัติอันเพรียบพร้อมด้วยสรรพกามคุณก็ดี ความสำคัญในกามก็ดี มิได้มีในพรหมโลก พระราชกุมารนั้นจึงเกลียด ชังกามทั้งหลาย ด้วยสัญญาอันเกิดในพรหมโลกนั้น. พระราชบิดารับ สั่งให้สร้างฌานาคารไว้ภายในพระราชฐาน สำหรับพระราชกุมารนั้นทรง หลีกเร้นบำเพ็ญฌานในอาคารนั้นพระองค์เดียว. พระราชาทรงอัดอั้นตัน พระทัยด้วยความโศกถึงพระโอรส ทรงปริเทวนาการว่า ลูกคนเดียว ของเรานี้ ไม่บริโภคกามารมณ์เลย. อุบายที่จะทำให้ลูกเราบริโภค กามารมณ์นี้ มีอยู่อย่างไรบ้างหนอ หรือว่าเราจะรู้เหตุที่จะทำให้ลูกเราพัว พันอยู่ในอารมณ์ได้ หรือว่าผู้ใดจะประเล้าประโลมลูกเราให้ปรารถนา กามารมณ์ได้อย่างไรบ้าง?
[๒๒๐๙] ภายในพระราชฐานนั้นเอง มีกุมารีคนหนึ่งมีฉวีวรรณงดงาม รูปร่าง สะสวย ฉลาดในการฟ้อนรำขับร้อง และชำนาญในการดีดสีตีเป่า เธอเข้าไปในพระราชฐานนั้นแล้วกราบทูลพระราชาว่า เกล้ากระหม่อมฉัน พึงประเล้าประโลมพระราชกุมารนั้นได้ ถ้าพระราชกุมารนั้นจะเป็น พระสวามีของเกล้ากระหม่อมฉัน.
[๒๒๑๐] พระราชาจึงตรัสกะนางกุมาริกาผู้กล่าวยืนยันเช่นนี้ว่า เธอจงประเล้า ประโลมลูกของเรา ลูกของเราจักเป็นสามีของเจ้า.
[๒๒๑๑] นางกุมารีนั้นได้เข้าไปภายในพระราชฐานแล้ว จึงกล่าวเป็นคาถาหัวเราะ จับจิตใจ ยั่วยวนชวนให้รักใคร่ เปลี่ยนแปลงขับรำอันประกอบด้วย กามารมณ์มากอย่าง.
[๒๒๑๒] กามฉันทะก็บังเกิดแก่พระราชกุมารนั้น เพราะได้ทรงสดับเสียงของ นางกุมารีผู้ขับกล่อมอยู่ พระราชกุมารจึงตรัสถามคนที่อยู่ใกล้เคียงดูว่า โอ นั่นเสียงใคร หรือใครนั่นมาขับร้องเสียงสูงต่ำจับจิตใจยั่วยวนชวน ให้รักใคร่ เพราะหูของเรานัก?
[๒๒๑๓] ขอเดชะเสียงนี้น่ายินดี ให้สนุกสนานได้มิใช่น้อย ถ้าพระองค์พึง บริโภคกามคุณไซร้ กามทั้งหลายจะพึงพอพระทัยพระองค์เป็นอย่างยิ่ง.
[๒๒๑๔] เชิญมาภายในนี้ จงมาขับร้องใกล้ๆ เรา เลื่อนเข้ามาขับใกล้ตำหนักของ เรา จงขับกล่อมใกล้ที่บรรทมของเรา.
[๒๒๑๕] นางกุมารีนั้น เข้าไปขับกล่อมภายนอกฝาห้องบรรทม แล้วเลื่อนเข้าไป ณ ตำหนักฌานาคารโดยลำดับ จนผูกพระราชกุมารไว้ได้ เหมือนนาย หัตถาจารย์จับคชสารป่ามัดไว้ ฉะนั้น.
[๒๒๑๖] เพราะรู้กามรสแห่งนางกุมารีนั้น อธรรม คือ ความริษยา ได้เกิดขึ้นแก่ พระราชกุมารว่า เราเท่านั้นพึงได้บริโภคกาม อย่าได้มีบุรุษคนอื่นเลย. ต่อแต่นั้นมา พระราชกุมารทรงถือเอาดาบเล่มหนึ่งแล้ว เสด็จไปเพื่อ จะฆ่าบุรุษทั้งหลายเสีย ด้วยทรงคิดว่า เราจักบริโภคกามแต่คนเดียว อย่าพึงมีบุรุษคนอื่นอยู่เลย.
[๒๒๑๗] ต่อมานั้น ชาวชนบททั้งปวงจึงมาประชุม ถวายเรื่องราวร้องทุกข์ว่า ข้าแต่พระมหาราชา พระราชโอรสของพระองค์นี้ ทรงเบียดเบียนผู้หา โทษมิได้ พระเจ้าข้า.
[๒๒๑๘] จอมขัตติยราชทรงเนรเทศพระราชกุมารออกไปจากรัฐสีมาของพระองค์ แล้ว มีพระราชโองการว่า อาณาเขตของเรามีอยู่เพียงใด เจ้าอย่าอยู่ใน อาณาเขตของเราเพียงนั้น.
[๒๒๑๙] ครั้งนั้น พระราชกุมารทรงพาชายาไปจนบรรลุถึงสมุทรนทีแห่งหนึ่ง ทรง สร้างบรรณศาลาแล้ว จึงเสด็จเข้าไปสู่ป่าเพื่อแสวงหาผลาผล.
[๒๒๒๐] ครั้งนั้น มีฤาษีตนหนึ่ง มาถึงบรรณศาลานั้น โดยทางเบื้องบนสมุทร เข้าไปยังบรรณศาลาของพระราชกุมาร ในเวลาที่นางกุมารีจัดแจง ภัตตาหารไว้แล้ว.
[๒๒๒๑] ชายาของพระราชกุมาร ประเล้าประโลมฤาษีนั้น ดูเถิดกรรมที่นางกุมารี กระทำนั้นหยาบช้าเพียงไร ฤาษีนั้นได้เคลื่อนจากพรหมจรรย์ เสื่อม จากฤทธิ์.
[๒๒๒๒] ฝ่ายพระราชโอรสแสวงหามูลและผลาผลในป่าได้จำนวนมากแล้ว จึง หาบหามเข้ามายังอาศรมในเวลาเย็น.
[๒๒๒๓] ฝ่ายฤาษีพอเห็นขัตติยราชกุมาร จึงรีบเข้าไปยังฝั่งสมุทร ด้วยตั้งใจไว้ว่า เราจักไปทางเวหาส์แต่ต้องจมลงในมหรรณพนั่นเอง.
[๒๒๒๔] ฝ่ายว่าขัตติยราชกุมาร ได้ทอดพระเนตรเห็นฤาษีจมลงในมหรรณพ จึง ได้ตรัสพระคาถานี้ ด้วยทรงพระอนุเคราะห์ต่อฤาษีนั้นว่า.
[๒๒๒๕] ตัวท่านเองมาด้วยฤทธิ์บนน้ำอันไม่แตกแยก ครั้นถึงความระคนด้วยสตรี แล้ว ต้องจมลงในมหรรณพ. ธรรมดาสตรีมีปกติหมุนเวียน มีมายา มาก มักทำพรหมจรรย์ให้กำเริบ ย่อมทำนักพรตให้จมลง ท่านรู้แจ้ง ฉะนี้แล้ว พึงเว้นเสียให้ห่างไกล. สตรีทั้งหลายมีวาจาไพเราะ มีสัมภาส อ่อนหวาน ยากที่จะให้เต็มได้ เสมอด้วยแม่น้ำ ย่อมทำนักพรตให้จม ลง ท่านจะรู้แจ้ง ฉะนี้แล้ว พึงเว้นเสียให้ห่างไกล. สตรีทั้งหลายย่อม เข้าไปซ่องเสพบุรุษใด ด้วยความพอใจหรือด้วยทรัพย์ก็ตาม ย่อมพลัน ตามเผาผลาญบุรุษนั้น เหมือนไฟป่าเผาสถานที่ตนเอง ฉะนั้น.
[๒๒๒๖] ความเบื่อหน่ายได้เกิดมีแก่ฤาษี เพราะได้ฟังถ้อยคำของขัตติยราชกุมาร ฤาษีนั้นกลับได้ทางเก่า แล้วก็เหาะขึ้นไปยังเวหาส์.
[๒๒๒๗] ฝ่ายขัตติยราชกุมารผู้ทรงพระปรีชา ได้ทอดพระเนตรเห็นฤาษีกำลังเหาะ ไปยังเวหาส์ จึงได้ความสลดจิต น้อมพระทัยบรรพชา. ต่อแต่นั้น ขัตติยราชกุมารก็ทรงบรรพชาสำรอกกามราคะแล้ว ได้เข้าถึงพรหมโลก.

จบ มหาปโลภชาดกที่ ๑๑.

๑๒. ปัญจปัณฑิตชาดก ว่าด้วยความลับไม่ควรเปิดเผย


[๒๒๒๘] ท่านทั้งหลายผู้เป็นบัณฑิตทั้ง ๕ คน มาพร้อมกันแล้ว ปัญหาย่อม แจ่มแจ้งแก่เรา ท่านทั้งหลายจงฟังปัญหานั้น บุคคลควรเปิดเผยข้อความ ที่ควรติเตียน หรือควรสรรเสริญ อันเป็นความลับ แก่ใคร?
[๒๒๒๙] ข้าแต่พระจอมภูมิบาล พระองค์จงตรัสเปิดเผยก่อน พระองค์เป็นผู้ ชุบเลี้ยงพวกข้าพระองค์ ทรงอดทนต่อกรณียกิจอันหนัก เชิญตรัสก่อน ข้าแต่จอมประชาชน ข้าพระองค์ผู้เป็นนักปราชญ์ทั้ง ๕ คน จักพิจารณา สิ่งที่พอพระทัย และเหตุที่ชอบพระทัยของพระองค์ แล้วจักกราบทูล ในภายหลัง.
[๒๒๓๐] สามีควรเปิดเผยข้อความที่ควรติเตียน หรือควรสรรเสริญ อันเป็นเนื้อ ความลับ แก่ภรรยาผู้มีศีล ไม่ยอมให้บุรุษอื่นลักสัมผัส คล้อยตามอำนาจ ความพอใจของสามี เป็นที่รักที่พอใจของสามี.
[๒๒๓๑] บุคคลควรเปิดเผยข้อความที่ควรติเตียน หรือควรสรรเสริญ อันเป็นเนื้อ ความลับ แก่สหายผู้เป็นที่ระลึก เป็นคติ และเป็นที่พึ่งของสหาย ผู้ ได้รับความทุกข์ลำบากได้.
[๒๒๓๒] บุคคลควรเปิดเผยข้อความที่ควรติเตียน หรือควรสรรเสริญ อันเป็นเนื้อ ความลับ แก่พี่น้องซึ่งเป็นพี่ใหญ่ พี่กลาง หรือน้อง ถ้าเขาตั้งใจอยู่ ในศีล มีจิตตั้งมั่น.
[๒๒๓๓] บิดาควรเปิดเผยข้อความที่ควรติเตียน หรือควรสรรเสริญ อันเป็น เนื้อความลับ แก่บุตรผู้ดำเนินไปตามใจของบิดา เป็นอนุชาตบุตรมี ปัญญาไม่ทรามกว่าบิดา.
[๒๒๓๔] ข้าแต่พระจอมประชาราษฎร์ ผู้ประเสริฐกว่ามนุษย์นิกร บุตรควรเปิด เผยข้อความที่ควรติเตียน หรือควรสรรเสริญ อันเป็นเนื้อความลับ แก่ มารดาผู้เลี้ยงดูบุตรด้วยความพอใจ รักใคร่.
[๒๒๓๕] การปกปิดความลับเอาไว้นั่นแหละเป็นความดี การเปิดเผยความลับ บัณฑิตไม่สรรเสริญเลย นักปราชญ์พึงอดกลั้น ในเมื่อประโยชน์ยัง ไม่สำเร็จ เมื่อประโยชน์สำเร็จแล้วพึงกล่าวตามสบาย.
[๒๒๓๖] ข้าแต่พระราชาผู้ประเสริฐ พระองค์ทรงมีพระมนัสวิปริตไปอย่างไรหรือ ข้าแต่พระจอมประชากร เกล้ากระหม่อมฉัน ขอฟังพระดำรัสของ พระองค์ พระองค์ทรงดำริอย่างไรหรือ จึงทรงโทมนัส ข้าแต่สมมติเทพ ความผิดของเกล้ากระหม่อมฉันไม่มีเลยหรือ?
[๒๒๓๗] มโหสถจะถูกฆ่าเพราะปัญหา เพราะมโหสถผู้มีปัญญาดังแผ่นดิน ฉันสั่ง ให้ฆ่าแล้ว ฉันคิดถึงเรื่องนั้นจึงโทมนัส ดูกรพระเทวี ความผิดของ เธอไม่มีเลย?
[๒๒๓๘] เจ้าไปตั้งหัวค่ำมาเอาจนบัดนี้ ใจของเจ้ารังเกียจเพราะได้ฟังอะไรหรือ ดูกรเจ้าผู้มีปัญญาดังแผ่นดิน ใครได้พูดอะไรแก่เจ้า เราจะขอฟังคำของ เจ้า เชิญเจ้าบอกแก่เรา?
[๒๒๓๙] มโหสถจะถูกฆ่าเพราะปัญหา ข้าแต่พระจอมประชานิกร ในกาลใด พระองค์เสด็จอยู่ในที่ลับ ได้ตรัสความลับกับพระอัครมเหสี เมื่อหัวค่ำ ความลับของพระองค์นั้นได้เปิดเผยแล้ว ข้าพระบาทได้ฟังแล้ว ในกาลนั้น.
[๒๒๔๐] เสนกบัณฑิตได้ทำกรรมอันลามก อันไม่ใช่กรรมของสัตบุรุษในสวน ไม้รัง อยู่ในที่ลับแล้วได้บอกเรื่องนั้นแก่สหายคนหนึ่ง กรรมอันลามก นั้นเป็นความลับ อันเสนกบัณฑิตได้เปิดเผยแล้ว ข้าพระบาทได้ฟังแล้ว.
[๒๒๔๑] ข้าแต่พระจอมประชานิกร โรคเรื้อนเกิดขึ้นแก่ปุกกุสบุรุษของพระองค์ เป็นโรคที่ไม่สมควรจะใกล้ชิดพระราชา ปุกกุสะอยู่ในที่ลับ ได้แจ้ง เรื่องนี้แก่น้องชาย ความลับอันนั้นอันปุกกุสะเปิดเผยแล้ว ข้าพระบาท ได้ฟังแล้ว.
[๒๒๔๒] กามินท์นี้เป็นคนอาพาธ ลามก ถูกยักษ์ชื่อนรเทพสิงแล้ว อยู่ในที่ลับได้ แจ้งเรื่องนี้แก่บุตร ความลับนั้นอันกามินท์ได้เปิดเผยแล้ว ข้าพระบาท ได้ฟังแล้ว.
[๒๒๔๓] ท้าวสักกเทวราชได้ประทานมณีรัตน์อันโอฬารมีคด ๘ คด แก่พระอัยกา ของพระองค์เดี๋ยวนี้ มณีรัตน์นั้นได้ตกถึงมือของเทวินท์แล้ว ก็เทวินท์ อยู่ในที่ลับ ได้แจ้งเรื่องนั้นแก่มารดา ความลับนั้นอันเทวินท์ได้เปิดเผย แล้ว ข้าพระบาทได้ฟังแล้ว.
[๒๒๔๔] การปกปิด ความลับเอาไว้นั่นแหละ เป็นความดี การเปิดเผยความลับ บัณฑิตไม่สรรเสริญเลย นักปราชญ์พึงอดกลั้นไว้ในเมื่อประโยชน์ยังไม่ สำเร็จ เมื่อประโยชน์สำเร็จแล้วพึงกล่าวตามสบาย. ไม่ควรเปิดเผย ความลับเลย ควรรักษาความลับนั้นไว้ เหมือนรักษาขุมทรัพย์ ฉะนั้น ความลับอันบุคคลผู้รู้แจ่มแจ้งไม่เปิดเผยได้นั่นแหละเป็นความดี. บัณฑิต ไม่ควรบอกความลับแก่สตรี และแก่คนที่ไม่ใช่มิตร กับอย่าบอกความ ในใจแก่คนที่ถูกอามิสลากไป และแก่คนที่ไม่ใช่มิตร บัณฑิตย่อมอดทน คำด่า คำบริภาษ และการประหารของคนผู้รู้ความลับ ซึ่งคนอื่นไม่รู้ เพราะกลัวจะขยายความลับที่คิดไว้ เหมือนคนที่เป็นทาส อดทนต่อคำด่า ว่าเป็นต้นของนาย ฉะนั้น. ชนทั้งหลายรู้ความลับที่ปรึกษากันของคนๆ หนึ่ง เพียงใด ความสะดุ้งหวาดกลัวของคนนั้น ย่อมเกิดขึ้น เพียงนั้น. เพราะเหตุนั้น จึงไม่ควรเปิดเผยความลับเลย บุคคลจะพูดความลับใน เวลากลางวัน ควรหาโอกาสที่เงียบสงัด เมื่อจะพูดความลับในเวลาค่ำ คืน อย่าปล่อยเสียงให้เกินขอบเขต เพราะว่า คนแอบฟังจะได้ยิน ความลับที่ปรึกษากัน เพราะฉะนั้น ความลับที่ปรึกษากัน ก็จะพลันถึง ความแพร่งพรายทันที.

จบ ปัญจปัณฑิตชาดกที่ ๑๒.

๑๓. หัตถิปาลชาดก ว่าด้วยกาลเวลาไม่คอยใคร


[๒๒๔๕] นานทีเดียว ข้าพเจ้าเพิ่งได้พบท่านพราหมณ์ผู้มีผิวพรรณดังเทพเจ้า มุ่น ชฎาใหญ่ ทรงไว้ซึ่งหาบคอน มีฟันเขลอะ มีธุลีบนเศียร. นานที เดียว ข้าพเจ้าเพิ่งได้พบท่านฤาษีผู้ยินดีในคุณธรรม นุ่งห่มผ้าย้อมน้ำ ฝาด ผ้าคากรอง ปกปิดโดยรอบ. ขอท่านผู้เจริญจงรับอาสนะ น้ำ ผ้า เช็ดเท้า และน้ำมันทาเท้าของข้าพเจ้า ข้าพเจ้าขอต้อนรับท่านด้วยสิ่ง ของมีค่ามาก ได้กรุณารับของมีค่ามากของข้าพเจ้าเถิด.
[๒๒๔๖] ลูกรัก เจ้าจงเรียนวิชาและจงแสวงหาทรัพย์ จงปลูกฝังบุตรธิดาให้ดำรง อยู่ในเรือนเสียก่อน แล้วจงบริโภคกลิ่นรสและวัตถุกามทั้งปวงเถิด กิจ ที่จะอยู่ป่า เมื่อเวลาแก่สำเร็จประโยชน์ดี มุนีใดบวชในกาลเช่นนี้ได้ มุนีนั้นพระอริยเจ้าสรรเสริญ.
[๒๒๔๗] วิชาเป็นของไม่จริง และลาภ คือ ทรัพย์ก็ไม่จริง ใครๆ จะห้ามความ ชราด้วยลาภ คือ บุตรไม่ได้เลย สัตบุรุษทั้งหลายสอนให้ปล่อยกลิ่น และรสทั้งหลายเสีย ความอุบัติแห่งผลย่อมมีได้เพราะกรรมของตน.
[๒๒๔๘] คำของท่านที่ว่า ความอุบัติแห่งผลย่อมมีได้เพราะกรรมของตนนั้น เป็น คำจริงแท้แน่นอน อนึ่ง บิดามารดาของท่านนี้ แก่เฒ่าแล้วหวังจะเห็น ท่านมีอายุยืน ๑๐๐ ปี ไม่มีโรค.
[๒๒๔๙] ข้าแต่พระราชาผู้ประเสริฐกว่านรชน ความเป็นสหายกับความตาย ความ ไมตรีกับความแก่ พึงมีแก่ผู้ใด หรือแม้ผู้ใดพึงรู้ว่าจักไม่ตาย มารดา บิดาพึงเห็นผู้นั้นมีอายุยืน ๑๐๐ ปี ไม่มีโรคเบียดเบียน ได้ในบางคราว บุรุษเอาเรือมาจอดไว้ที่ท่าน้ำ รับคนฝั่งนี้ส่งถึงฝั่งโน้น แล้วย้อนกลับรับ คนฝั่งโน้นพามาส่งถึงฝั่งนี้ ฉันใด ชราและพยาธิก็ย่อมนำเอาชีวิตสัตว์ ไปสู่อำนาจแห่งมัจจุราชอยู่เนืองๆ ฉันนั้น.
[๒๒๕๐] กามทั้งหลายเป็นดังเปือกตม เป็นเครื่องให้จมลง และเป็นเครื่องนำไป ซึ่งน้ำใจสัตว์ ข้ามได้ยาก เป็นที่ตั้งแห่งมฤตยู สัตว์ทั้งหลาย ผู้ข้องอยู่ ในกามอันเป็นดังเปือกตม เป็นเครื่องให้จมลงนี้ เป็นสัตว์มีจิตเลวทราม ย่อมข้ามถึงฝั่งไม่ได้. เมื่อครั้งก่อน อัตภาพของพระองค์นี้ ได้กระทำ กรรมอันหยาบช้า ผลแห่งกรรมนั้นข้าพระองค์ถือไว้มั่นแล้ว ข้าพระองค์ จะพ้นไปจากผลแห่งกรรมนี้ไม่ได้เลย ข้าพระองค์จักปิดกั้นรักษาอัตภาพ นั้นอย่างรอบคอบ ขออัตภาพนี้อย่าได้ทำกรรมอันหยาบช้าอีกเลย.
[๒๒๕๑] ข้าแต่พระเจ้าเอสุการี ประโยชน์ของข้าพระองค์ ย่อมพินาศไปเสียแล้ว เหมือนบุรุษเลี้ยงโคไม่เห็นโคที่หายไปในป่า ฉะนั้น ข้าแต่พระราชา ข้าพระองค์ได้เห็นทางแห่งบรรพชิตทั้งหลาย แล้วไฉนจะไม่แสวงหาการ บรรพชาเล่า?
[๒๒๕๒] บุรุษกล่าวผัดเพี้ยนการงานที่ควรจะทำในวันนี้ว่า ควรทำในวันพรุ่งนี้ การ งานที่ควรจะทำในวันพรุ่งนี้ว่า ควรทำในวันต่อไป ย่อมเสื่อมจากการ งานนั้น ธีรชนคนใดรู้ว่า สิ่งใดเป็นอนาคต สิ่งนั้นไม่มีแล้ว พึง บรรเทาความพอใจที่เกิดขึ้นเสีย.
[๒๒๕๓] ข้าพระองค์ได้เห็นหญิงสาวคนหนึ่ง รูปร่างงามพอประมาณ มีดวงเนตร เหมือนดอกการเกต มัจจุราชมาฉุดคร่าพาหญิงสาวคนนั้นซึ่งกำลังตั้งอยู่ ในปฐมวัย ยังไม่ทันได้บริโภคสมบัติไป. อนึ่ง ชายหนุ่มมีทรวดทรง งาม มีใบหน้าผ่องใส น่าดูน่าชม มีวรรณะเรืองรองดังทองคำ มีหนวด เคราละเอียดอ่อนดังเกสรดอกคำฝอย แม้ชายหนุ่มเห็นปานนี้ก็ย่อมไปสู่ อำนาจแห่งมฤตยู ขอเดชะ ข้าพระองค์จะละกามและเรือนเสียแล้ว จักบวช ขอได้โปรดทรงพระกรุณาอนุญาตข้าพระองค์เถิด.
[๒๒๕๔] ดูกรแม่วาเสฏฐี ต้นไม้จะได้นามโวหารว่า ต้นไม้ได้ ก็เพราะมีกิ่งและ ใบ ชาวโลกเขาเรียกต้นไม้ที่ไม่มีกิ่งและใบว่า เป็นตอไม้ วันนี้ เราผู้มี บุตรละทิ้งไปเสียแล้ว เวลานี้ เราสมควรจะบวชเที่ยวภิกขาจารไป.
[๒๒๕๕] นกกระเรียนทั้งหลายบินไปในอากาศได้คล่องแคล่ว ฉันใด หงส์ทั้งหลาย เมื่อสิ้นฤดูฝนแล้ว พึงทำลายใยที่แมลงมุมทำไว้ แล้วออกไปได้ ฉันนั้น บุตรและสามีของเราพากันไปหมด ไฉนเราจะไม่ปฏิบัติตามบุตรและสามี ของเราเล่า.
[๒๒๕๖] แร้งเหล่านี้ กินเนื้อและสำรอกออกหมดแล้ว ย่อมพากันบินไปได้ ฝ่ายแร้งเหล่าใด กินเนื้อแล้วไม่สำรอกเนื้อออกเสีย แร้งเหล่านั้น ก็พา กันตกอยู่ในเงื้อมมือของหม่อมฉัน. ข้าแต่พระราชา พราหมณ์ได้คลายกาม ทั้งหลายออกทิ้งแล้ว ส่วนพระองค์นั้นกลับรับเอากามนั้นไว้บริโภคอีก บุรุษผู้บริโภคสิ่งที่ผู้อื่นคายออกแล้ว ไม่พึงได้รับความสรรเสริญเลย.
[๒๒๕๗] ดูกรพระนางปัญจาลีผู้เจริญ บุรุษผู้มีกำลังช่วยฉุดบุรุษทุพพลภาพ ผู้จมอยู่ ในเปือกตมขึ้นได้ ฉันใด เธอก็ช่วยผยุงฉันให้ขึ้นจากกามได้ด้วยคาถา อันเป็นสุภาษิต ฉันนั้นแล.
[๒๒๕๘] พระเจ้าเอสุการีมหาราชา ผู้เป็นอธิบดีในทิศ ทรงภาษิตคาถานี้แล้ว ทรง ละรัฐสีมาเสด็จออกบรรพชา ดุจช้างตัวประเสริฐสลัดเครื่องผูกให้ขาด ไปได้ ฉะนั้น.
[๒๒๕๙] ก็พระราชาผู้กล้าหาญ ประเสริฐที่สุดกว่านรชน ทรงพอพระทัยใน บรรพชาเพศ ละรัฐสีมาไปแล้ว ขอพระนางเจ้าโปรดเป็นพระราชาแห่ง ข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลายเถิด พระนางเจ้า อันข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลาย คุ้มครองแล้ว โปรดเสวยราชสมบัติเหมือนพระราชาเถิด.
[๒๒๖๐] ก็พระราชาผู้กล้าหาญ ประเสริฐที่สุดกว่านรชน ทรงพอพระทัยใน บรรพชาเพศ ละรัฐสีมาไปแล้ว แม้เราก็จักละกามทั้งหลายอันน่ารื่นรมย์ ใจ เที่ยวไปในโลกแต่ผู้เดียว ก็พระราชาผู้กล้าหาญ ประเสริฐที่สุด กว่านรชน ทรงพอพระทัยในบรรพชาเพศ ละรัฐสีมาไปแล้ว แม้เรา ก็จักละกามทั้งหลายอันตั้งอยู่เป็นถ่องแถว แล้วเที่ยวไปในโลกแต่ผู้เดียว กาลย่อมล่วงไปๆ ราตรีย่อมผ่านไปๆ ชั้นแห่งวัยย่อมละลำดับไป แม้ เราก็จักละกามทั้งหลายอันน่ารื่นรมย์ใจ เที่ยวไปในโลกแต่ผู้เดียว. กาล ย่อมล่วงไปๆ ราตรีย่อมผ่านไปๆ ชั้นแห่งวัยย่อมละลำดับไป แม้เราก็จัก ละกามทั้งหลายอันตั้งอยู่เป็นถ่องแถว เที่ยวไปในโลกแต่ผู้เดียว. กาล ย่อมล่วงไปๆ ราตรีย่อมผ่านไปๆ ชั้นแห่งวัยย่อมละลำดับไป แม้เรา ก็จักเป็นผู้เย็นใจ ก้าวล่วงความข้องทั้งปวง เที่ยวไปในโลกแต่ผู้เดียว.

จบ หัตถิปาลชาดกที่ ๑๓.

๑๔. อโยฆรชาดก ว่าด้วยอำนาจของมัจจุราช


[๒๒๖๑] สัตว์ถือปฏิสนธิกลางคืนก็ตาม ย่อมอยู่ในครรภ์มารดาก่อน สัตว์นั้น ย่อมเกิดขึ้นเพราะกำลังลม ย่อมไปสู่ความเป็นกลละเป็นต้น ย่อมไม่ กลับมาสู่ความเป็นกลละเป็นต้นอีก.
[๒๒๖๒] นรชนผู้ประกอบด้วยกำลังกาย หรือกำลังทหารก็ตาม จะสู้รบกับชราและ มรณะแล้วไม่แก่ ไม่ตาย ไม่มีเลย เพราะว่า ชีวิตของสัตว์นี้ทั้งมวล ถูก ความเกิดและความแก่เบียดเบียน เพราะเหตุนั้น ข้าพระพุทธเจ้าจึงคิด ว่า จะบวชประพฤติธรรม.
[๒๒๖๓] พระราชาผู้เป็นอธิบดีแห่งรัฐทั้งหลาย ย่อมจะข่มขี่หมู่เสนาประกอบด้วย องค์ ๔ อันน่าสพึงกลัว เอาชัยชนะได้ แต่ไม่สามารถจะชนะเสนาแห่ง มัจจุราชได้ เพราะเหตุนั้น ข้าพระพุทธเจ้าจึงคิดว่า จะบวชประพฤติ ธรรม.
[๒๒๖๔] พระราชาบางจำพวกแวดล้อมด้วยพลช้าง พลม้า พลรถ และพลเดินเท้า ย่อมพ้นจากเงื้อมมือของข้าศึก แต่ก็ไม่อาจจะพ้นจากสำนักของมัจจุราช ได้ เพราะเหตุนั้น ข้าพระพุทธเจ้าจึงคิดว่า จะบวชประพฤติธรรม.
[๒๒๖๕] พระราชาทั้งหลายผู้กล้าหาญ ย่อมหักราญพระนครแห่งราชศัตรูให้ ย่อยยับได้ และกำจัดมหาชนได้ ด้วยพลช้าง พลม้า พลรถ และพล เดินเท้า แต่ไม่สามารถจะหักราญเสนาแห่งมัจจุราชได้ เพราะเหตุนั้น ข้าพระพุทธเจ้าจึงคิดว่า จะบวชประพฤติธรรม
[๒๒๖๖] คชสารทั้งหลายเชือกตกมัน มีมันไหลเยิ้มแตกซาบซ่าน ย่อมย่ำยีนคร ทั้งหลาย และเข่นฆ่าประชาชนได้ แต่ไม่สามารถจะย่ำยีเสนาแห่ง มัจจุราชได้ เพราะเหตุนั้น ข้าพระพุทธเจ้าจึงคิดว่า จะบวชประพฤติธรรม.
[๒๒๖๗] นายขมังธนูทั้งหลาย แม้มีมืออันได้ฝึกฝนมาดีแล้ว สามารถยิงธนูได้ไกล และยิงไม่พลาด ก็ไม่สามารถจะยิงต่อต้านมัจจุราชได้ เพราะเหตุนั้น ข้าพระพุทธเจ้าจึงคิดว่า จะบวชประพฤติธรรม.
[๒๒๖๘] สระทั้งหลาย และมหาปฐพีกับทั้งภูเขาราวป่า ย่อมเสื่อมสิ้นไป สังขาร ทั้งปวงนั้น จะตั้งอยู่นานสักเท่าไร ก็ย่อมเสื่อมสิ้นไป เพราะสังขาร ทั้งปวงนั้น ครั้นถึงการกำหนดแล้วย่อมจะแตกทำลายไป เพราะเหตุ นั้น ข้าพระพุทธเจ้าจึงคิดว่า จะบวชประพฤติธรรม.
[๒๒๖๙] แท้จริง ชีวิตของสัตว์ทั้งมวล ทั้งเป็นสตรีและบุรุษในโลกนี้ เป็นของ หวั่นไหว เหมือนแผ่นผ้าของนักเลงสุรา และต้นไม้เกิดใกล้ฝั่ง เป็นของ หวั่นไหว ไม่ยั่งยืนฉะนั้น เพราะเหตุนั้น ข้าพระพุทธเจ้าจึงคิดว่า จะบวช ประพฤติธรรม.
[๒๒๗๐] ผลไม้ที่สุกแล้วย่อมหล่นล่วง ฉันใด สัตว์ทั้งหลาย ทั้งหนุ่มทั้งแก่ ทั้ง ปานกลาง ทั้งหญิง ทั้งชาย ย่อมเป็นผู้มีสรีระทำลายหล่นไป ฉันนั้น เพราะเหตุนั้น ข้าพระพุทธเจ้าจึงคิดว่า จะบวชประพฤติธรรม.
[๒๒๗๑] พระจันทร์ ผู้เป็นราชาแห่งดวงดาวเป็นฉันใด วัยนี้หาเป็นฉันนั้นไม่ เพราะส่วนใดล่วงลงไปแล้ว ส่วนนั้นก็เป็นอันล่วงไปแล้ว ในบัดนี้ แม้ความยินดีในกามคุณของคนแก่ย่อมไม่มี ความสุขจะมีมาแต่ไหน เพราะเหตุนั้น ข้าพระพุทธเจ้าจึงคิดว่า จะบวชประพฤติธรรม.
[๒๒๗๒] ยักษ์ก็ดี ปีศาจก็ดี หรือเปรตก็ดี โกรธเคืองแล้วย่อมเข้าสิงมนุษย์ได้ แต่ไม่สามารถจะเข้าสิงมัจจุราชได้ เพราะเหตุนั้น ข้าพระพุทธเจ้าจึงคิด ว่า จะบวชประพฤติธรรม.
[๒๒๗๓] มนุษย์ทั้งหลายย่อมกระทำการบวงสรวงยักษ์ ปีศาจ หรือเปรตทั้งหลาย ผู้โกรธเคืองแล้วได้ แต่ไม่สามารถจะบวงสรวงแก่มัจจุราชได้ เพราะ เหตุนั้น ข้าพระพุทธเจ้าจึงคิดว่า จะบวชประพฤติธรรม.
[๒๒๗๔] พระราชาทรงรู้โทษแล้ว ย่อมลงอาชญากะบุคคลผู้กระทำความผิด ผู้ ประทุษร้ายต่อราชสมบัติ และผู้เบียดเบียนประชาชน ตามสมควร แต่ ไม่สามารถจะลงอาชญามัจจุราชได้ เพราะเหตุนั้น ข้าพระพุทธเจ้าจึง คิดว่า จะบวชประพฤติธรรม.
[๒๒๗๕] ชนทั้งหลายผู้กระทำความผิดก็ดี ผู้ประทุษร้ายราชสมบัติก็ดี ผู้เบียดเบียน ประชาชนก็ดี ย่อมจะยังพระราชาให้ทรงพระกรุณาได้ แต่หาทำให้ มัจจุราชกรุณาได้ไม่ เพราะเหตุนั้น ข้าพระพุทธเจ้าจึงคิดว่า จะบวช ประพฤติธรรม.
[๒๒๗๖] มัจจุราชมิได้มีความอาลัยใยดีว่า ผู้นี้เป็นกษัตริย์ ผู้นี้เป็นพราหมณ์ ผู้นี้มั่งคั่ง ผู้นี้มีกำลัง ผู้นี้มีเดชานุภาพ เพราะเหตุนั้น ข้าพระพุทธเจ้า จึงคิดว่า จะบวชประพฤติธรรม.
[๒๒๗๗] ราชสีห์ก็ดี เสือโคร่งก็ดี เสือเหลืองก็ดี ย่อมข่มขี่เคี้ยวกินสัตว์ผู้ดิ้นรน อยู่ได้ แต่ไม่สามารถจะเคี้ยวกินมัจจุราชได้ เพราะเหตุนั้น ข้าพระพุทธเจ้า จึงคิดว่า จะบวชประพฤติธรรม.
[๒๒๗๘] นักเล่นกลทั้งหลาย เมื่อกระทำกลมายา ณ ท่ามกลางสนาม ย่อมลวง นัยน์ตาของประชาชนในที่นั้นๆ ให้หลงเชื่อได้ แต่ไม่สามารถจะลวง มัจจุราชให้หลงเชื่อได้ เพราะเหตุนั้น ข้าพระพุทธเจ้าจึงคิดว่า จะบวช ประพฤติธรรม.
[๒๒๗๙] อสรพิษที่มีพิษร้าย โกรธขึ้นมาแล้วย่อมขบกัดมนุษย์ให้ถึงตายได้ แต่ ไม่สามารถจะขบกัดมัจจุราชได้ เพราะเหตุนั้น ข้าพระพุทธเจ้าจึงคิดว่า จะบวชประพฤติธรรม.
[๒๒๘๐] อสรพิษโกรธขึ้นแล้วขบกัดผู้ใด หมอทั้งหลาย ย่อมถอนพิษที่ผู้นั้นได้ แต่จะถอนพิษ ของผู้ถูกมัจจุราชประทุษร้ายหาไม่ได้ เพราะเหตุนั้น ข้าพระพุทธเจ้าจึงคิดว่า จะบวชประพฤติธรรม.
[๒๒๘๑] แพทย์ผู้มีชื่อเสียงเหล่านี้ คือ แพทย์ธรรมมนตรี แพทย์เวตตรุณ แพทย์โภชะ กำจัดพิษพระยานาคได้ แต่แพทย์เหล่านั้นต้องทำ กาลกิริยานอนตาย เพราะเหตุนั้น ข้าพระพุทธเจ้าจึงคิดว่า จะบวช ประพฤติธรรม.
[๒๒๘๒] พวกวิชาธร เมื่อร่ายวิชาชื่อโฆระ ย่อมหายตัวไปได้ด้วยโอสถทั้งหลาย แต่จะหายตัวไม่ให้มัจจุราชเห็นไม่ได้เลย เพราะเหตุนั้น ข้าพระพุทธเจ้า จึงคิดว่า จะบวชประพฤติธรรม.
[๒๒๘๓] ธรรมแล ย่อมรักษาผู้ประพฤติธรรม ธรรมที่บุคคลประพฤติดีแล้ว ย่อม นำความสุขมาให้ นี้เป็นอานิสงส์ในธรรมที่ประพฤติดีแล้ว ผู้มีปกติ ประพฤติธรรม ย่อมไม่ไปสู่ทุคติ.
[๒๒๘๔] สภาพทั้ง ๒ คือ ธรรมและอธรรม มีวิบากไม่เสมอกัน อธรรมย่อมนำ ไปสู่นรก ธรรมย่อมให้ถึงสุคติ.

จบ อโยฆรชาดกที่ ๑๔.

__________________ รวมชาดกที่มีในวรรคนี้ คือ ๑. มาตังคชาดก ๒. จิตตสัมภูตชาดก ๓. สีวิราชชาดก ๔. ศิริมันทชาดก รวมชาดกที่มีในวรรคนี้ ๕. โรหนมิคชาดก๖. หังสชาดก ๗. สัตติคุมพชาดก๘. ภัลลาติยชาดก ๙. โสมนัสสชาดก ๑๐. จัมเปยยชาดก ๑๑. มหาโลภนชาดก ๑๒. ปัญจปัณฑิตชาดก ๑๓. หัตถิปาลชาดก ๑๔. อโยฆรชาดก. จบ วีสตินิบาตชาดก. _________________

ติงสตินิบาตชาดก

๑. กิงฉันทชาดก ว่าด้วยโทษที่ฉกฉวยเอาประโยชน์ของคนอื่น


[๒๒๘๕] ดูกรพราหมณ์ ท่านมีความพอใจอะไร มีความประสงค์อะไร ปรารถนา อะไร แสวงหาอะไร ด้วยต้องการอะไร จึงมานั่งอยู่แต่ผู้เดียวในเวลา ร้อน?
[๒๒๘๖] หม้อน้ำใหญ่มีรูปทรงงดงาม ฉันใด ผลมะม่วงสุกอันมีสีกลิ่นและรส อย่างดีเยี่ยม ก็มีอุปมัย ฉันนั้น. เราได้เห็นผลมะม่วงนั้น อันกระแสน้ำ พัดลอยมาในท่ามกลางแม่น้ำ ได้เอามือทั้งสองหยิบมาวางไว้ในเรือนไฟ. แต่นั้นก็วางไว้บนใบตอง ทำวิกัปด้วยมีดเองแล้วฉัน ความหิวและความ กระหายของเราหายไป. เราหมดความกระวนกระวายใจ พอมะม่วงหมด เราต้องอดทนต่อความทุกข์ ย่อมไม่ได้ประสบความพอใจในผลไม้ไรๆ อื่น. ผลมะม่วงซึ่งมีรสอร่อยหวานจับใจ ลอยมาในห้วงน้ำใหญ่ เราก็ เก็บขึ้นมาจากแม่น้ำ จักทำให้เราซูบผอม นำความตายมาให้เราเป็นแน่ เราได้บอกเหตุที่เราหิวกระหายแก่ท่านหมดสิ้นแล้ว. เรานั่งอยู่ที่แม่น้ำ น่ารื่นรมย์กว้างใหญ่ มีปลาโลมาขนาดใหญ่อาศัยอยู่ ดูกรท่านผู้มีอายุ ยืนอยู่เฉพาะหน้า มีร่างกายงดงามเอวกลมดี เกลี้ยงเกลาดังแผ่นทองใบ และเหมือนนางพยัคฆีที่สัญจรอยู่ตามซอกเขา ท่านเป็นใคร หรือว่าท่าน มา ณ ที่นี้เพื่ออะไร ขอท่านจงบอกความนั้นแก่เราเถิด? นางเทพนารี ในเทวโลก ที่เป็นบริจาริกาแห่งทวยเทพทั้งหลายก็ตาม สตรีที่มีรูป งดงามในมนุษยโลกก็ตาม ที่จะมีรูปงามเสมอด้วยท่านไม่มี ท่านผู้มีขา งาม เราถามท่านแล้ว ขอจงบอกชื่อและเผ่าพันธุ์เถิด?
[๒๒๘๗] ดูกรพราหมณ์ ท่านนั่งอยู่ที่แม่น้ำใด ชื่อว่าโกสิกี น่ารื่นรมย์ ข้าพเจ้า อาศัยอยู่ที่แม่น้ำนั้น อันมีกระแสไหลเชี่ยว. มีลำห้วยและลำธาร ไหล มาจากเขาหลายแห่ง เกลื่อนกล่นไปด้วยหมู่ไม้นานาพรรณ ย่อมไหล ตรงมารวมอยู่ที่ข้าพเจ้าทั้งนั้น. ใช่แต่เท่านั้น ยังมีน้ำที่ไหลมาจากป่า มี กระแสเชี่ยวสีเขียวปัด อีกมากหลาย และน้ำที่พวกนาคกระทำให้มีสี วิจิตรต่างๆ ย่อมไหลมาตามกระแสน้ำ. แม่น้ำเหล่านั้น ย่อมพัดเอาผล มะม่วง ผลชมพู่ ผลขนุนสำมะลอ ผลกระทุ่ม ผลตาล และผลมะเดื่อ เป็นอันมากมาเนืองๆ ผลไม้ชนิดใดชนิดหนึ่งที่ฝั่งทั้งสองตกลงในน้ำแล้ว ย่อมตกอยู่ในอำนาจแห่งกระแสน้ำของข้าพเจ้าโดยไม่ต้องสงสัย. ดูกร ท่านผู้เป็นปราชญ์ มีปัญญามาก ผู้เป็นใหญ่กว่าชน ท่านรู้อย่างนี้แล้ว จงฟังข้าพเจ้า ท่านอย่าชอบใจความข้องด้วยตัณหาเลย จงห้ามเสียเถิด. ดูกรพระราชฤาษี ผู้ผดุงรัฐให้เจริญ ข้าพเจ้าไม่เข้าใจว่า ท่านจะเจริญ รุ่งเรืองได้อย่างไร เมื่อท่านซูบผอม รอความตายอยู่. พรหม คนธรรพ์ เทวดา และฤาษีทั้งหลายในโลกนี้ ผู้มีตนอันสำรวมแล้ว เรืองตบะ เริ่มตั้งความเพียร ผู้เรืองยศ ย่อมรู้ความที่บุคคลผู้เป็นไปในอำนาจแห่ง ตัณหา โดยไม่ต้องสงสัยเลย.
[๒๒๘๘] บาปย่อมไม่เจริญแก่นรชนผู้รู้ความสลาย และความเคลื่อนแห่งชีวิต อย่างนี้ ชื่อว่าผู้รู้ธรรมทั้งปวง. ถ้านรชนนั้นไม่คิดฆ่าคนอื่น. ดูกรท่าน ผู้อันหมู่ฤาษีรู้กันดีแล้ว ผู้กล่าวคำอันงดงาม ท่านปรากฏว่าทำประโยชน์ ให้แก่โลกอย่างนี้ ไฉนจึงแสวงหาบาปกรรมให้แก่ตน? ดูกรท่านผู้มี ตะโพกอันผึ่งผาย ถ้าเราจักตายอยู่ที่ฝั่งแม่น้ำของท่าน เมื่อเราตายแล้ว ความติเตียนก็จะมาถึงท่านโดยไม่ต้องสงสัย. ดูกรท่านผู้มีสะเอวกลม กลึง เพราะฉะนั้นแล ท่านจงรักษาบาปกรรมไว้เถิด อย่าให้คนทั้งปวง ติเตียนท่านได้ภายหลัง ในเมื่อเราตายไปแล้ว.
[๒๒๘๙] เหตุนั้น ข้าพเจ้าทราบแล้ว ท่านจงอดกลั้นไว้ก่อน ข้าพเจ้าจะยอมตน และให้มะม่วงแก่ท่าน เพราะท่านละกามคุณที่ละได้ยาก แล้วตั้งไว้ซึ่ง ความสงบ และสุจริตธรรม. บุคคลใดละสังโยชน์ในก่อน แล้วตั้งอยู่ ในสังโยชน์ในภายหลัง ประพฤติอธรรมอยู่ บาปย่อมพอกพูนแก่บุคคล นั้น. มาเถิด ข้าพเจ้าจะนำท่านไปยังสวนมะม่วง แต่ท่านจะต้องมีความ ขวนขวายน้อย ข้าพเจ้าจะนำท่านไปในสวนมะม่วงอันร่มเย็น ท่านจง เป็นผู้มีความขวนขวายอยู่เถิด. ดูกรท่านผู้ปราบปรามข้าศึก สวนนั้น เกลื่อนกล่นไปด้วยหมู่นกที่มัวเมาอยู่ในรสดอกไม้ มีนกกระเรียน นกยูง นกเขาซึ่งมีสร้อยคออันน่าชม มีหมู่หงส์ส่งเสียงร้องขรม ฝูงนกดุเหว่า ที่ร้องปลุกสัตว์ทั้งหลายอยู่ในสวนมะม่วงนั้น. ผลมะม่วงในสวนนั้นดก เป็นพวงๆ ดุจฟ่อนฟาง ปลายกิ่งห้อยโน้มลงมา มีทั้งต้นคำ ต้นสน ต้นกระทุ่ม และผลตาลสุกห้อยอยู่เรียงราย.
[๒๒๙๐] ท่านทรงทิพมาลา ผ้าโพกศีรษะ และเครื่องอาภรณ์ล้วนแต่เป็นทิพย์ มีทองต้นแขน ลูบไล้ด้วยจุรณจันทน์ กลางคืน หญิง ๑๖,๐๐๐ คน เป็น บริจาริกาบำเรอท่านอยู่ แต่กลางวัน ท่านเสวยทุกขเวทนา ท่านมีอานุภาพ มากอย่างนี้ ไม่เคยปรากฏมี ท่านขนลุกขนพอง. เมื่อก่อนท่านได้ทำ บาปกรรมอะไรอันนำทุกข์มาให้แก่ตน ในมนุษยโลก ท่านจึงต้องกิน เนื้อของตนอยู่ ในบัดนี้?
[๒๒๙๑] ข้าพเจ้าเรียนไตรเพทจบแล้ว หมกมุ่นอยู่ในกามทั้งหลาย ได้ประพฤติ เพื่อสิ่งมิใช่ประโยชน์แก่ผู้อื่นตลอดกาลนาน. ผู้ที่กินเนื้อหลังของคนอื่น ย่อมควักเนื้อข้างหลังตนเองกิน เหมือนข้าพเจ้ากินเนื้อหลังของตนอยู่ ทุกวันนี้ ฉะนั้นแล.

จบ กิงฉันทชาดกที่ ๑.

๒. กุมภชาดก ว่าด้วยโทษของสุรา


[๒๒๙๒] ท่านเป็นใคร มาจากไตรทิพย์หรือ จึงเปล่งรัศมีสว่างไสวอยู่ในนภากาศ เหมือนพระจันทร์ส่องสว่างในกลางคืน ฉะนั้น? ท่านเหยียบลมหนาว ในอากาศได้ เดินและยืนในอากาศได้ ฤทธิ์ของเทวดาทั้งหลาย ผู้ไม่ ต้องเดินทางไกล ท่านทำให้เป็นที่ตั้ง และให้เจริญดีแล้วเป็นไฉน? ท่านเป็นใคร มายืนอยู่ในอากาศร้องขายหม้ออยู่ หรือว่าหม้อของท่านนี้ เพื่อประโยชน์อะไร ดูกรพราหมณ์ ขอท่านจงบอกเนื้อความนั้นแก่ ข้าพเจ้าเถิด?
[๒๒๙๓] หม้อใบนี้ ไม่ใช่หม้อเนยใส ไม่ใช่หม้อน้ำมัน ไม่ใช่หม้อน้ำอ้อย ไม่ใช่ หม้อน้ำผึ้ง โทษของหม้อใบนี้มีน้อย ท่านจงฟังโทษเป็นอันมากที่มีอยู่ใน หม้อใบนี้. บุคคลดื่มสุราแล้วเดินโซเซล้มไปยังบ่อ ถ้ำ หลุมน้ำครำ และ หลุมโสโครก พึงบริโภคของที่ไม่ควรบริโภคแม้มากได้ ท่านจงช่วยซื้อ หม้อใบนี้ซึ่งเต็มไปด้วยสุรานั้นไว้ บุคคลดื่มสุราแล้ว ไม่เป็นใหญ่ในใจ ย่อมเที่ยวไปเหมือนโคกินกากสุรา ฉะนั้น หาที่พึงมิได้ ย่อมฟ้อนรำขับร้อง ได้ ท่านช่วยซื้อหม้อใบนี้ซึ่งเต็มด้วยสุรานั้นไว้. บุคคลดื่มสุราแล้ว แก้ ผ้าเปลือยกายเที่ยวไปตามตรอกตามถนนในบ้านเหมือนชีเปลือย มีจิต ลุ่มหลง นอนตื่นสาย ท่านช่วยซื้อหม้อใบนี้ซึ่งเต็มไปด้วยน้ำชนิดนั้นไว้. บุคคลดื่มสุราแล้ว ลุกขึ้นเซไปมา โคลงศีรษะ และยกแขนขึ้นรำ เหมือน รูปหุ่นไม้ ฉะนั้น ท่านช่วยซื้อหม้อใบนี้ซึ่งเต็มไปด้วยสุรานั้นไว้. บุคคล ดื่มสุราแล้ว นอนจนถูกไฟไหม้ และกินอาหารที่เหลือเดนสุนัขได้ ย่อม ถึงการถูกจองจำ ถูกฆ่า และความเสื่อมแห่งโภคะ ท่านช่วยซื้อหม้อ ใบนี้ซึ่งเต็มด้วยสุรานั้นไว้. บุคคลดื่มสุราแล้ว พูดคำที่ไม่ควรพูดได้ เปลือยกายนั่งในที่ประชุมได้ เปรอะเปื้อนจมอยู่ในอาเจียนของตน ถึง ความพินาศ ท่านช่วยซื้อหม้อใบนี้ซึ่งเต็มไปด้วยสุรานั้นไว้ บุคคลดื่ม สุราแล้ว ฮึกเหิม นัยน์ตาแดงกล่ำ สำคัญใจว่า แผ่นดินทั้งหมดเป็น ของเราเท่านั้น พระราชาแม้มีมหาสมุทร ๔ เป็นขอบขัณฑสีมา ก็ไม่ เสมอเรา ท่านช่วยซื้อหม้อใบนี้ซึ่งเต็มไปด้วยสุรานั้นไว้. บุคคลดื่มสุรา แล้ว ถือตัวจัด ก่อความทะเลาะวิวาท ส่อเสียด กล่าวร้าย เปลือยกาย วิ่งไป คลุกคลีหมกอยู่กะพวกนักเลงเก่า ท่านช่วยซื้อหม้อใบนี้ซึ่งเต็ม ไปด้วยสุรานั้นไว้. สุรานี้ทำตระกูลทั้งหลายในโลกนี้ อันมั่นคงบริบูรณ์ มีเงินทองตั้งหลายพัน ให้ขาดทายาทได้ ท่านช่วยซื้อหม้อใบนี้ซึ่งเต็มไป ด้วยสุรานั้นไว้. ข้าวเปลือก ทรัพย์ เงิน ทอง ไร่ นา โค กระบือ ในสกุลใดย่อมพินาศไป ตระกูลที่มั่งมีทั้งหลาย ขาดสูญไปเพราะดื่มสุรา ท่านช่วยซื้อหม้อใบนี้ซึ่งเต็มไปด้วยสุรานั้นไว้. บุคคลดื่มสุราแล้ว เป็น คนหยาบช้า ด่าบิดามารดาได้ แม้ถึงเป็นพ่อผัวก็พึงหยอกลูกสะใภ้ได้ ท่านช่วยซื้อหม้อใบนี้ซึ่งเต็มไปด้วยสุรานั้นไว้ หญิงดื่มสุราแล้ว เป็น คนหยาบช้า ด่าพ่อผัวแม่ผัว และสามีได้ แม้เป็นทาส เป็นคนใช้พึงรับ เป็นสามีของตนได้ ท่านช่วยซื้อหม้อใบนี้ซึ่งเต็มไปด้วยสุรานั้นไว้. บุคคลดื่มสุราแล้ว พึงประหารสมณะ หรือพราหมณ์ผู้ตั้งอยู่ในธรรมได้ พึงไปสู่อบายอันมีกรรมนั้นเป็นเหตุ ท่านช่วยซื้อหม้อใบนี้ซึ่งเต็มไปด้วย สุรานั้นไว้. บุคคลดื่มสุราแล้ว ย่อมประพฤติทุจริตด้วยกาย วาจา และ ใจ ครั้นแล้ว ต้องไปตกนรก ท่านช่วยซื้อหม้อใบนี้ซึ่งเต็มไปด้วยสุรา นั้นไว้. ชนทั้งหลาย แม้จะยอมสละเงินเป็นอันมาก มาอ้อนวอนบุรุษ ใดผู้ยังไม่ได้ดื่มสุราก่อนให้พูดเท็จ ย่อมไม่ได้ บุรุษดื่มสุรานั้นแล้ว ย่อมพูดเท็จได้ ท่านช่วยซื้อหม้อใบนี้ซึ่งเต็มด้วยสุรานั้นไว้. บุคคลดื่ม สุราแล้ว ถูกใช้ไปในกรณียกิจรีบร้อนเกิดขึ้น ถูกซักถามก็ไม่รู้เนื้อความ ท่านช่วยซื้อหม้อใบนี้ซึ่งเต็มด้วยสุรานั้นไว้. บุคคลแม้จะมีใจละอาย ครั้นเมาสุราแล้ว ก็ย่อมจะทำความไม่ละอายให้ปรากฏได้ แม้จะเป็นคน หนักแน่นอยู่บ้าง ก็อดพูดมากไม่ได้ ท่านช่วยซื้อหม้อใบนี้ซึ่งเต็มด้วย สุรานั้นไว้. บุคคลดื่มสุราแล้ว นอนดังลูกสุกรอดอาหาร ย่อมถึงความ นอนเป็นทุกข์ที่พื้นดิน เขาต้องถึงความมีผิวพรรณทราม และความ ติเตียน ท่านช่วยซื้อหม้อใบนี้ซึ่งเต็มด้วยสุรานั้นไว้. บุคคลดื่มสุราแล้ว ย่อมนอนคอตก หาเป็นเหมือนโคที่ถูกลงประตักฉะนั้นไม่ ฤทธิ์สุราย่อม ทำให้คนอดทนได้ (ไม่กินข้าวกินน้ำ) ท่านช่วยซื้อหม้อใบนี้ซึ่งเต็มด้วย สุรานั้นไว้. มนุษย์ทั้งหลายย่อมเว้นสุราอันเปรียบด้วยงูมีพิษร้าย ใครคน ไหนในโลก ควรจะดื่มสุราอันเสมอด้วยพิษงู ท่านช่วยซื้อหม้อใบนี้ซึ่ง เต็มด้วยสุรานั้นไว้. โอรสทั้งหลายของท้าวอันธกเวณฑะ ดื่มสุราแล้ว พาหญิงไปบำเรออยู่ริมฝั่งสมุทร ประหารกันและกันด้วยสาก ท่านช่วย ซื้อหม้อใบนี้ซึ่งเต็มด้วยสุรานั้นไว้. พวกอสูรดื่มสุราแล้ว เมาจนถึงจุติ จากไตรทิพย์ สำคัญตัวว่าเที่ยง มีมารยา ข้าแต่พระมหาราชา เมื่อรู้ว่า สุราเช่นนั้นเป็นน้ำเมา หาประโยชน์มิได้ จะดื่มทำไม? ในหม้อนี้ ไม่มีเนยข้น หรือน้ำผึ้ง พระองค์รู้อย่างนี้แล้ว จงขายเสีย ข้าแต่ท่าน สรรพมิตร สิ่งที่อยู่ในหม้อนี้ ข้าพระพุทธเจ้าได้กราบทูลแก่พระองค์ แล้ว ด้วยประการฉะนี้.
[๒๒๙๔] ท่านมิใช่เป็นบิดา หรือมารดาของข้าพเจ้า ท่านเป็นคนชนิดใดชนิดหนึ่ง มีความอนุเคราะห์ เพื่อประโยชน์เกื้อกูล ปรารถนาประโยชน์อย่างยิ่ง ตั้งแต่วันนี้ไป ข้าพเจ้าจักทำตามคำของท่าน. ข้าพเจ้าขอให้บ้านส่วย ๕ ตำบล ทาสี ๑๐๐ โค ๗๐๐ รถเทียมด้วยม้าอาชาไชย ๑๐ คัน แก่ท่าน ขอท่านผู้ปรารถนาประโยชน์ เป็นอาจารย์ของข้าพเจ้าเถิด.
[๒๒๙๕] ข้าแต่พระราชา ทาสี บ้านส่วย โค และรถอันเทียมด้วยม้าอาชาไนย จงเป็นของพระองค์ตามเดิมเถิด ข้าพเจ้าเป็นท้าวสักกะจอมเทพ ชาว ไตรทิพย์. พระองค์จงเสวยพระกระยาหาร เนยใส และข้าวปายาส พึงเสวยขนมกุมมาสอันโอชารส ดูกรพระองค์ผู้เป็นจอมประชาชน พระองค์ยินดีในธรรม ไม่ถูกใครๆ ติเตียนด้วยอาการอย่างนี้แล้ว จงเข้า ถึงสัคคสถาน.

จบ กุมภชาดกที่ ๒.

๓. ชัยทิศชาดก ว่าด้วยโปริสาทกับพระเจ้าชัยทิศ


[๒๒๙๖] ในเวลาที่เราบริโภคอาหารในวันที่ ๗ ภักษาหารเป็นอันมากเกิดขึ้นแล้ว แก่เรา ในวันนี้ นานนักหนอ ท่านเป็นใคร มาจากไหน ขอเชิญท่านบอก ขอท่านจงบอกถึงชาติตระกูลตามที่รู้กันเถิด?
[๒๒๙๗] เราเป็นพระเจ้าปัญจาลราช มีนามว่าชัยทิศ ถ้าท่านได้ยินชื่อก็คงรู้จัก เราออกมาล่าเนื้อ เที่ยวมาตามข้างภูเขา และป่า ท่านจงกินเนื้อกวางนี้ เถิด ขอจงปล่อยเราเสียในวันนี้เถิด.
[๒๒๙๘] พระองค์ เอาของของข้าพระองค์เองมาแลกเปลี่ยน กวางที่พระองค์ ตรัสถึงนั้นเป็นอาหารของข้าพระองค์ ข้าพระองค์กินพระองค์แล้ว อยาก จะกินเนื้อกวาง ก็จักกินได้ในภายหลัง เวลานี้ ไม่ใช่เวลาขอร้อง.
[๒๒๙๙] ถ้าความพ้นของเราย่อมไม่มีด้วยการแลกเปลี่ยน ขอให้เราได้กลับไปยัง พระนครเสียก่อน เราผลัดไว้แก่พราหมณ์ว่า จะให้ทรัพย์ เราจักรักษา คำสัตย์กลับมาหาท่านอีก.
[๒๓๐๐] ดูกรพระราชา พระองค์ใกล้จะถึงสวรรคตอยู่แล้ว ยังทรงเดือดร้อนถึง กรรมอะไรอยู่ ขอจงตรัสบอกกรรมนั้นแก่ข้าพระองค์ ข้าพระองค์อาจจะ อนุญาตให้เสด็จกลับไปก่อนได้?
[๒๓๐๑] ความหวังในทรัพย์ เราได้ทำไว้แก่พราหมณ์ ความผัดเพี้ยนเป็นข้อผูก มัดตัว ยังพ้นไปไม่ได้ เพราะเราผัดไว้ว่า จะให้ทรัพย์แก่พราหมณ์ เรา จักรักษาคำสัตย์กลับมาหาท่านอีก.
[๒๓๐๒] ความหวังในทรัพย์ พระองค์ได้ทำไว้แก่พราหมณ์ ความผัดเพี้ยนเป็นข้อ ผูกมัดตัว ยังพ้นไปไม่ได้ เพราะได้ผัดเพี้ยนไว้แก่พราหมณ์ว่า จะ พระราชทานทรัพย์ พระองค์จงรักษาคำสัตย์ไว้เสด็จกลับมาอีกเถิด.
[๒๓๐๓] ก็พระเจ้าชัยทิศนั้น หลุดพ้นจากเงื้อมมือของโปริสาท แล้วรีบเสด็จ กลับไปยังพระราชมณเฑียรของพระองค์ เพราะได้ทรงผัดเพี้ยนไว้แก่ พราหมณ์ว่า จะพระราชทานทรัพย์ ได้รับสั่งให้หาพระราชโอรสพระนาม ว่าอลีนสัตตุ ตรัสว่า เจ้าจงอภิเษกปกครองรัฐสีมา ในวันนี้ จงประพฤติ ธรรมในรัฐสีมา และในประชาชนทั้งหลาย บุคคลไม่ประพฤติธรรม อย่า ได้มีในแว่นแคว้นของเจ้า เราจะไปในสำนักโปริสาท.
[๒๓๐๔] ขอเดชะ ข้าพระองค์ได้ทำความไม่พอพระทัยอะไรในใต้ฝ่าพระบาท ข้าพระองค์ปรารถนาจะได้สดับความที่พระองค์จะให้ขึ้นครองราชสมบัติ ในวันนี้ ข้าพระองค์ไม่ปรารถนาแม้ราชสมบัติเว้นจากใต้ฝ่าพระบาท เลย.
[๒๓๐๕] ลูกรัก พ่อไม่ได้นึกถึงความผิดทางกายกรรม และวจีกรรมของเธอเลย แต่พ่อได้ทำความตกลงไว้กับโปริสาท พ่อรักษาคำสัตย์ จึงต้องกลับ ไปอีก.
[๒๓๐๖] ข้าพระบาทจักไปแทนเอง ขอใต้ฝ่าพระบาท จงประทับอยู่ ณ ที่นี้ การที่จะ รอดชีวิตหลุดพ้นจากสำนักนายโปริสาทนั้นไม่มีเลย ข้าแต่พระราชบิดา ถ้าใต้ฝ่าพระบาทจะเสด็จไปจริงๆ แม้ข้าพระบาทก็จะตามเสด็จไปด้วย เราทั้งสองจะไม่ยอมอยู่.
[๒๓๐๗] ลูกรัก นั่นเป็นธรรมของสัตบุรุษโดยแท้จริง แต่เมื่อไร นายโปริสาทข่มขี่ ทำลายเผาเธอกินเสียที่โคนไม้ นั่นเป็นความด่างพร้อยของพ่อ ข้อนี้ แหละ เป็นทุกข์ยิ่งกว่าความตายของพ่อเสียอีก.
[๒๓๐๘] ข้าพระบาท ขอเอาชีวิตของข้าพระบาทแลกพระชนมชีพของใต้ฝ่าพระบาท ไว้ ใต้ฝ่าพระบาทอย่าเสด็จไปในสำนักของโปริสาทเลย ข้าพระบาท จะขอเอาชีวิต ของข้า พระบาท แลกพระชนมชีพ ใต้ฝ่า พระบาทนี้ แหละไว้ เพราะฉะนั้น ข้าพระบาทขอยอมตายแทนใต้ฝ่าพระบาท พระเจ้าข้า.
[๒๓๐๙] ลำดับนั้นแล พระราชโอรสผู้ทรงพระปรีชา ถวายบังคมพระยุคลบาท พระชนกชนนี พระชนนีทรงเสียพระทัยล้มลง ณ พื้นปฐมพี พระชนก ทรงยกพระพาหาทั้ง ๒ คร่ำครวญอยู่.
[๒๓๑๐] พระชนกทรงทราบว่า พระโอรสเสด็จล่วงหน้าไปก่อนแล้ว ทรงประคอง อัญชลีกราบไหว้เทวดาทั้งหลายทรงอ้อนวอนว่า ขอโสมราชา วรุณราชา พระปชาบดี พระจันทร์ และพระอาทิตย์ช่วยคุ้มครองเจ้า ขอให้เจ้าได้ รับอนุญาตจากสำนักของนายโปริสาทกลับมาโดยสวัสดีเถิด ลูกรัก.
[๒๓๑๑] มารดาของบุรุษชื่อว่ารามะ ผู้ไปสู่นครของพระเจ้าทัณฑกิราชได้คุ้มครอง ทำความสวัสดีแก่บุรุษผู้เป็นบุตรอย่างใด แม่ขอทำความสวัสดีอย่างนั้น แก่เจ้าด้วยคำสัตย์นี้ ขอทวยเทพจงช่วยคุ้มครอง ขอให้เจ้าได้รับอนุญาต กลับมาโดยสวัสดีเถิด ลูกเอ๋ย.
[๒๓๑๒] ข้าพเจ้าระลึกไม่ได้เลยว่า เคยคิดร้ายในที่แจ้ง หรือในที่ลับในพระเชฏฐา อลีนสัตตุ ด้วยคำสัตย์นี้ ขอทวยเทพจงช่วยคุ้มครอง ขอให้พระเชฏฐา ได้รับอนุญาตกลับมาโดยสวัสดีเถิด.
[๒๓๑๓] ข้าแต่พระสวามี พระองค์ไม่เคยประพฤตินอกใจหม่อมฉันเลย ฉะนั้น จึงเป็นที่รักของหม่อมฉันด้วยใจจริง ด้วยคำสัตย์นี้ ขอทวยเทพจงช่วย คุ้มครอง ขอให้พระองค์ได้รับอนุญาตกลับมาโดยสวัสดีเถิด.
[๒๓๑๔] ท่านผู้มีร่างกายอันสูงใหญ่ มีหน้าอันงดงามมาจากที่ไหน ท่านไม่รู้จัก เราผู้ดุร้าย ซึ่งอยู่ในป่านี้มีนามว่าโปริสาทดอกหรือ ใครที่ไม่รู้จักความ สวัสดีของตนดอก จึงได้มา ณ ที่นี้?
[๒๓๑๕] ดูกรท่านพราน เรารู้ว่าท่านเป็นผู้กินเนื้อมนุษย์เป็นอาหาร แต่ไม่รู้ว่าท่าน อยู่ในป่านี้ เราเป็นโอรสของพระเจ้าชัยทิศ วันนี้ ท่านจงกินเราแทน เพื่อปลดเปลื้องพระชนกให้พ้นไป.
[๒๓๑๖] เรารู้ว่าท่านเป็นโอรสของพระเจ้าชัยทิศ พระพักตร์และผิวพรรณของท่าน ทั้ง ๒ คล้ายๆ กัน กรรมที่ท่านผู้ยอมตายแทนเพื่อปลดเปลื้องพระชนก ให้พ้นไปทำแล้วนี้ เป็นของทำได้ยากยิ่งนัก.
[๒๓๑๗] กรรมที่บุคคลยอมตายแทน เพื่อปลดเปลื้องบิดา หรือเพราะเหตุแห่ง มารดาในโลกนี้ เป็นเหตุให้ไปสู่ปรโลก ทั้งจะเพรียบพร้อมด้วยความสุข และอารมณ์อันงามเลิศ เราไม่เห็นว่าจะทำได้ยากสักน้อยเลย.
[๒๓๑๘] เราระลึกไม่ได้เลยว่า เราจะกระทำความชั่วเพื่อตนเองทั้งในที่แจ้ง และ ที่ลับ เพราะว่า เราเป็นผู้มีชาติและมรณะอันกำหนดไว้แล้วว่า ในโลกนี้ ของเรา ฉันใด ในปรโลก ก็ฉันนั้น. ดูกรท่านผู้มีอานุภาพมาก เชิญท่าน กินเนื้อเรา ในวันนี้ เสียบัดนี้เถิด เชิญท่านทำกิจเถิด สรีระนี้เราสละแล้ว เราจะทำเป็นพลัดตกมาจากยอดไม้ ท่านชอบใจเนื้อส่วนใดๆ ก็เชิญ ท่านกินเนื้อส่วนนั้นๆ ของเราเถิด.
[๒๓๑๙] ดูกรพระราชโอรส เรื่องนี้ท่านเต็มใจจริง ท่านจึงสละชีวิตเพื่อปลดเปลื้อง พระชนกได้ เพราะเหตุนั้นแหละ ท่านจงรีบไปหักไม้มาก่อไฟเถิด.
[๒๓๒๐] ลำดับนั้น พระราชโอรสผู้มีปัญญา ได้นำเอาฟืนมาก่อไฟกองใหญ่ขึ้น แล้ว แจ้งให้ยักษ์ทราบว่า บัดนี้ ได้ก่อไปเสร็จแล้ว.
[๒๓๒๑] เมื่อกี้นี้ ท่านทำการขู่เข็ญว่า จะกินเราในวันนี้ ทำไมหวาดเกรงเรามอง ดูอยู่บ่อยๆ เราได้ทำตามคำของท่านเสร็จแล้ว เมื่อพอใจจะกินก็เชิญกิน เสียซิท่าน.
[๒๓๒๒] ผู้ที่ตั้งอยู่ในธรรม มีวาจาสัตย์ รู้ความประสงค์ของผู้ขอเช่นท่าน ใครจะ นำมากินเป็นภักษาหารได้ ผู้ใดกินผู้มีวาจาสัตย์เช่นท่าน ศีรษะของผู้นั้น ก็จะพึงแตกออก ๗ เสี่ยง.
[๒๓๒๓] ดูกรยักษ์ สสบัณฑิตสำคัญท้าวสักกะนี้ว่า เป็นพราหมณ์ จึงยอมให้พัก อยู่เพื่อจะให้สรีระของตน ด้วยเหตุนั้นแล จันทิมเทพบุตร จึงมีภาพ กระต่ายปรากฏสมประสงค์ของโลกอยู่ทุกวันนี้.
[๒๓๒๔] พระจันทร์ พระอาทิตย์ พ้นแล้วจากปากแห่งราหู ย่อมไพโรจน์ใน วันเพ็ญ ฉันใด ดูกรท่านผู้มีอานุภาพมาก ท่านก็ฉันนั้น หลุดพ้นไป จากเราผู้กินเนื้อมนุษย์เป็นอาหารแล้ว ยังพระชนกชนนีให้ปลื้มพระทัย จงรุ่งโรจน์ในกบิลรัฐ อนึ่ง พระประยูรญาติของท่านจงยินดีกันทั่วหน้า.
[๒๓๒๕] ลำดับนั้นแล พระราชโอรสอลีนสัตตุผู้มีพระปัญญา ทรงประคองอัญชลี ไหว้ยักษ์โปริสาท ได้รับอนุญาตแล้ว มีความสุขสวัสดี หาโรคมิได้ เสด็จกลับมายังกบิลรัฐ.
[๒๓๒๖] ชาวนิคมชนบทถ้วนหน้า ทั้งพลช้าง พลรถ และพลเดินเท้าต่างพากัน มาถวายบังคมพระราชโอรสนั้น พร้อมกันกราบทูลขึ้นว่า ข้าพระองค์ ทั้งหลายขอถวายบังคมพระองค์ พระองค์ทรงทำกิจซึ่งยากที่ทรงทำได้.

จบ ชัยทิศชาดกที่ ๓.

๔. ฉัททันตชาดก ว่าด้วยพญาช้างฉัททันต์


[๒๓๒๗] ดูกรพระน้องนาง ผู้มีอวัยวะงามอร่ามดังทอง มีผิวพรรณเหลืองงามเลิศ พระเนตรทั้งสองแจ่มใส เหตุไรหนอ พระน้องจึงเศร้าโศกซูบไป ดุจ ดอกไม้ที่ถูกขยี้ ฉะนั้น?
[๒๓๒๘] ข้าแต่พระมหาราชเจ้า หม่อมฉันแพ้พระครรภ์ โดยการแพ้พระครรภ์เป็น เหตุให้หม่อมฉันฝันเห็นสิ่งที่หาไม่ได้ง่าย.
[๒๓๒๙] กามสมบัติของมนุษย์เหล่าใดเหล่าหนึ่งในโลกนี้ และในสวนนันทนวัน กามสมบัติทั้งหมดนั้น เป็นของฉันทั้งสิ้น ฉันจะให้แก่เธอได้ทั้งนั้น.
[๒๓๓๐] ข้าแต่พระองค์ผู้สมมติเทพ นายพรานป่าเหล่าใดเหล่าหนึ่งในแว่นแคว้น ของพระองค์จงมาประชุมพร้อมกัน หม่อมฉันจะแจ้งเหตุที่แพ้พระครรภ์ ของหม่อมฉันให้นายพรานป่าเหล่านั้นทราบ.
[๒๓๓๑] ดูกรพระเทวี นายพรานป่าเหล่านี้ ล้วนแต่มีฝีมือ เป็นคนแกล้วกล้า ชำนาญป่า รู้จักชนิดของเนื้อ ย่อมสละชีวิตเพื่อประโยชน์ของเราได้.
[๒๓๓๒] ท่านทั้งหลายผู้เป็นเชื้อแถวของนายพราน ที่มาพร้อมกันอยู่ ณ ที่นี้ จงฟัง ฉัน ฉันฝันเห็นช้างเผือกผ่องงามีรัศมี ๖ ประการ ฉันต้องการงาช้างคู่นั้น เมื่อไม่ได้ชีวิตก็หาไม่.
[๒๓๓๓] บิดาหรือปู่ทวด ของข้าพระองค์ทั้งหลายก็ยังไม่เคยได้ เห็นทั้งยังไม่เคย ได้ยินว่า พญาช้างที่มีงา มีรัศมี ๖ ประการ พระนางเจ้าทรงนิมิตเห็น พญาช้างมีลักษะเช่นไร ขอได้ตรัสบอกพญาช้างที่มีลักษณะเช่นนั้น แก่พระองค์ทั้งหลายเถิด พระเจ้าข้า.
[๒๓๓๔] ทิศใหญ่ ๔ ทิศน้อย ๔ เบื้องบน ๑ เบื้องล่าง ๑ ทิศทั้ง ๑๐ นี้ พระองค์ ทรงฝันเห็นพญาช้าง ซึ่งมีงามีรัศมี ๖ ประการอยู่ทิศไหน พระเจ้าข้า.?
[๒๓๓๕] จากที่นี้ตรงไปทิศอุดร ข้ามภูเขาสูงใหญ่ ๗ ลูก ภูเขาใหญ่ชื่อสุวรรณปัส มีพรรณไม้ผลิดอกอยู่ไสว มีฝูงกินนรเที่ยววิ่งเล่นอยู่ ท่านจงขึ้นไปบน ภูเขาอันเป็นที่อยู่แห่งหมู่กินนรทั้งหลายแล้วมองลงมาตามเชิงเขา ทันใด นั้น จะได้เห็นต้นไทรใหญ่ที่มีสีเทียมเมฆ มีย่านไทร ๘,๐๐๐ ห้อยย้อยอยู่. ที่โคนต้นไทรนั้น มีพญาช้างเผือกผ่องงามีรัศมี ๖ ประการอาศัยอยู่ ยากที่คนอื่นจะจับได้ มีช้างประมาณ ๘,๐๐๐ เชือกล้วนมีงางอนงาม วิ่ง ไล่ประหารเร็วดังลมพัด รักษาพญาช้างนั้นอยู่. ช้างเหล่านั้นย่อมบันลือ เสียงน่าหวาดกลัว ย่อมโกรธแม้ต่อลมที่พัดถูกตัว ถ้าเห็นมนุษย์ ณ ที่นั้น เป็นต้องขยี้เสียให้เป็นภัสมธุลี แม้แต่ละอองก็ไม่ถูกต้องพญาช้างได้เลย.
[๒๓๓๖] ข้าแต่พระราชเทวี เครื่องอาภรณ์ที่แล้วไปด้วยเงิน แก้วมุกดา แก้วมณี และแก้วไพฑูรย์มีอยู่ในราชสกุลมากมาย เหตุไร พระแม่เจ้าจึงทรง ประสงค์เอางาช้างมาทำเป็นเครื่องประดับเล่า พระแม่เจ้าทรงปรารถนา จะให้ฆ่าพญาช้าง ซึ่งมีงามีรัศมี ๖ ประการเสีย หรือว่าจะให้พญาช้างฆ่า พวกเชื้อแถวของนายพรานเสียกระมัง?
[๒๓๓๗] ดูกรนายพราน ฉันริษยาด้วย เสียใจด้วย เพราะนึกถึงความหลังก็ ตรอมใจ ขอท่านจงทำตามความประสงค์ของฉัน ฉันจักให้บ้านส่วยแก่ ท่าน ๕ ตำบล.
[๒๓๓๘] พญาช้างนั้นอยู่ที่ไหน ยืนที่ไหน ทางไหนที่พญาช้างไปอาบน้ำ พญาช้าง อาบน้ำด้วยประการอย่างไร ข้าพระองค์จะรู้จักคติแห่งพญาช้างได้อย่างไร?
[๒๓๓๙] ในที่ๆ พญาช้างอยู่นั้น มีสระอยู่ใกล้ๆ น่ารื่นรมย์ มีท่าราบเรียบ น้ำมากมาย สะพรั่งไปด้วยพรรณไม้ดอก มีหมู่ภมรมาคลึงเคล้า พญาช้าง นั้น ลงอาบที่สระนั้นแหละ ชำระศีรษะแล้วห้อยพวงดอกอุบล มีร่างกาย เผือกผ่องดังดอกบัวขาบ บันเทิงใจให้มเหสีชื่อว่าสรรพภัททา เดินหน้า กลับไปยังที่อยู่ของตน.
[๒๓๔๐] นายพรานนั้น ยึดเอาพระราชดำรัสของพระนางซึ่งประทับยืนอยู่ ณ ที่นั้นเอง แล้วถือเอาแล่งลูกธนูข้ามภูเขาใหญ่ทั้ง ๗ ลูกไปจนถึงลูกที่ชื่อสุวรรณปัส อันสูงโดด. ขึ้นไปถึงภูเขาอันเป็นที่อยู่ของหมู่กินนรแล้ว มองลงมา ยังเชิงเขา ได้เห็นต้นไทรใหญ่มีสีเทียมเมฆ มีย่านไทร ๘,๐๐๐ ห้อยย้อย อยู่ ณ ที่นั้น ทันใดนั้นเอง ก็ได้เห็นพญาช้างเผือกผ่องงามีรัศมี ๖ ประการ ยากที่คนเหล่าอื่นจะจับได้ มีช้างประมาณ ๘,๐๐๐ เชือก ล้วนแต่มีงางอนงาม วิ่งไล่เร็วดุจลมพัด รักษาพญาช้างอยู่. และได้เห็นสระโบกขรณีอัน น่ารื่นรมย์อยู่ใกล้ๆ ที่อยู่ของพญาช้างนั้น ทั้งท่าน้ำก็ราบเรียบน้ำมากมาย มีพรรณไม้ดอกบานสะพรั่ง มีหมู่ภมรเที่ยวเคล้าคลึงอยู่ แลเห็นที่ที่พญา ช้างลงอาบน้ำ. จนกระทั้งที่ๆ พญาช้างเดิน ยืนอยู่ และทางที่พญาช้างลง อาบนั้นก็แลเห็น นายพรานผู้มีใจลามก ถูกพระนางสุภัททาผู้ตกอยู่ใน อำนาจจิตทรงใช้มา ก็มาตระเตรียมหลุม.
[๒๓๔๑] นายพรานผู้กระทำกรรมอันชั่วช้า ขุดหลุมเอากระดานปิดเสร็จแล้ว สอด ธนูเข้าไว้ เอาลูกธนูลูกใหญ่ยิงพญาช้างซึ่งมายืนอยู่ข้างหลุมของตน. พระยาช้างถูกยิงแล้วก็ร้องก้องโกญจนาท ช้างทุกๆ เชือกพากันบันลือ อื้ออึงวิ่งไปทั้ง ๘ ทิศ ทำหญ้าและไม้ให้เป็นจุณไป. พญาช้างฉัททันต์เอา เท้ากระชุ่นดินด้วยคิดว่า จักฆ่ามันเสีย แต่ได้เห็นผ้ากาสาวพัสตร์ อัน เป็นธงชัยของฤาษี ทั้งที่ได้รับความทุกข์ ก็เกิดความรู้สึกว่า ธงชัยแห่ง พระอรหันต์อันสัตบุรุษไม่พึงทำลาย.
[๒๓๔๒] ผู้ใดยังไม่หมดกิเลส ปราศจากทมะและสัจจะ ผู้นั้นไม่ควรจะนุ่งห่มผ้า กาสาวะ. ส่วนผู้ใดคลายกิเลสได้แล้ว ตั้งมั่นอยู่ในศีล ประกอบด้วย ทมะและสัจจะ ผู้นั้นย่อมควรนุ่งห่มผ้ากาสาวะแท้.
[๒๓๔๓] พญาช้างถูกลูกศรใหญ่เสียบเข้าแล้ว ไม่มีจิตคิดประทุษร้าย ได้ถามนาย พรานว่า เพื่อนเอ๋ย ท่านประสงค์อะไร เพราะเหตุไร หรือว่าใคร ใช้ให้ท่านมาฆ่าเรา?
[๒๓๔๔] ดูกรพญาช้างผู้เจริญ พระนางสุภัททาพระมเหสีของพระเจ้ากาสิกราช อันประชาชนสักการะบูชาอยู่ในราชสกุล พระนางได้ทรงนิมิตเห็นท่าน และได้โปรดให้ทำสักการะแก่ข้าพเจ้าแล้ว ตรัสบอกข้าพเจ้าว่า มีพระ ประสงค์งาทั้งคู่ของท่าน.
[๒๓๔๕] ที่จริง พระนางสุภัททาทรงทราบอยู่ว่างางามๆ แห่งบิดาและปู่ทวดของเรา มีอยู่เป็นอันมาก แต่พระนางเป็นคนพาล โกรธเคือง ผูกเวร ต้องการจะ ฆ่าเรา. ดูกรนายพราน ท่านจงลุกขึ้นเถิด จงหยิบเลื่อยมาตัดงาคู่นี้เถิด ประเดี๋ยวเราจะตายเสียก่อน ท่านจงกราบทูลพระนางสุภัททาผู้ยังผูกโกรธ ว่า พญาช้างตายแล้ว เชิญพระนางรับงาคู่นี้ไว้เถิด.
[๒๓๔๖] นายพรานนั้น ลุกขึ้นจับเลื่อย เลื่อยงาพญาช้างทั้งคู่อันงดงามหาที่เปรียบ มิได้ในพื้นปฐพีแล้ว รีบถือหลีกออกจากที่นั้นไป.
[๒๓๔๗] ช้างเหล่านั้นตกใจ ได้รับความเสียใจ เพราะพญาช้างถูกยิงพากันวิ่งไปยัง ทิศทั้ง ๘ เมื่อไม่เห็นปัจจามิตรของพญาช้าง ก็พากันกลับมายังที่อยู่ของ พญาช้าง.
[๒๓๔๘] ช้างเหล่านั้นพากันคร่ำครวญร่ำไห้อยู่ ณ ที่นั้น ต่างสูบเอาฝุ่นพ่นขึ้นบน กระพองของตนๆ ยกนางสรรพภัททาผู้เป็นมเหสีให้เป็นหัวหน้า พากัน กลับยังที่อยู่ของตนทั้งหมด.
[๒๓๔๙] นายพรานนั้น ถือเอางาพญาช้างทั้งคู่อันงดงาม หาที่เปรียบในพื้นปฐพีมิได้ ซึ่งแผ่รัศมีดุจสีทองไปรอบๆ มาถึงยังพระนครกาสีแล้ว น้อมนำงาทั้งคู่ เข้าไปถวายพระนางสุภัททากราบทูลว่า พญาช้างล้มแล้ว ขอเชิญพระนาง ทอดพระเนตรงาทั้งคู่นี้เถิด.
[๒๓๕๐] พระนางสุภัททาผู้เป็นพาล ครั้นทอดพระเนตรงาพญาช้างทั้งคู่ ผู้เป็นสามี ที่รักในชาติก่อนแล้ว หทัยของพระนางก็แตกทำลาย ณ ที่นั้นเอง เพราะ เหตุนั้นเอง พระนางจึงได้สวรรคต.
[๒๓๕๑] พระศาสดาได้บรรลุสัมโพธิญาณแล้ว มีพระอานุภาพมาก ได้ทรงทำการแย้ม ในท่ามกลางบริษัท ภิกษุทั้งหลายผู้มีจิตหลุดพ้นดีแล้ว พากันทูลถามว่า พระพุทธเจ้าทั้งหลาย ย่อมไม่ทรงทำการแย้มให้ปรากฏ เมื่อไม่มีเหตุ? พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ท่านทั้งหลายจงดูนางกุมารีสาวคนนั้น นุ่งห่ม ผ้ากาสาวพัสตร์ ประพฤติอนาคาริยวัตร นางกุมารีคนนั้นแล เป็นนาง สุภัททาในกาลนั้น เราตถาคตเป็นพญาช้างในกาลนั้น. นายพรานถือเอา งาทั้งคู่อันงดงามของพญาช้าง หาที่เปรียบในพื้นปฐพีมิได้ กลับมายัง พระนครกาสีในกาลนั้น เป็นพระเทวทัต. พระพุทธเจ้าผู้ปราศจากความ กระวนกระวาย ความเศร้าโศก และกิเลสดุจลูกศร ตรัสรู้ยิ่งด้วยพระองค์ เองแล้ว ได้ตรัสฉัททันตชาดกนี้ อันเป็นของเก่า ไม่รู้จักสิ้นสูญ ซึ่ง พระองค์ท่องเที่ยวไปแล้วตลอดกาลนาน เป็นบุรพจรรยาทั้งสูงทั้งต่ำว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย คราวครั้งนั้น เราเป็นพญาช้างฉัททันต์อยู่ที่สระฉัททันต์ นั้น ท่านทั้งหลายจงทรงจำชาดกไว้ ด้วยประการฉะนี้แล.

จบ ฉันทันตชาดกที่ ๔.

๕. สัมภวชาดก ว่าด้วยคนผู้รุ่งโรจน์ได้เพราะปัญญา


[๒๓๕๒] ดูกรท่านอาจารย์สุจีรตะ เราทั้งหลายได้ราชสมบัติ และความเป็นใหญ่ แล้ว ยังปรารถนาจะได้บุตรคนใหญ่ เพื่อครองแผ่นดินนี้ โดยธรรม ไม่ใช่โดยอธรรม อธรรมเราไม่พอใจ การประพฤติธรรมเป็นกิจของพระ ราชาแท้. เราทั้งหลายจะไม่ถูกนินทาในโลกนี้ และในโลกหน้าด้วยเหตุใด และจะได้รับเกียรติยศ ในเทวดาและมนุษย์ด้วยเหตุใด. ขอท่านจง บอกเหตุนั้นๆ แก่เรา ดูกรท่านพราหมณ์ เราปรารถนาจะปฏิบัติตามอรรถ และธรรม เราถามท่านแล้วขอจงบอกอรรถ และธรรมนั้นด้วยเถิด?
[๒๓๕๓] ข้าแต่พระราชา พระองค์ทรงปรารถนาจะทรงปฏิบัติตามอรรถและธรรมใด นอกจากวิธูรพราหมณ์แล้ว ไม่มีใครสมควรที่จะชี้แจงซึ่งอรรถและธรรม นั้นได้.
[๒๓๕๔] ดูกรท่านอาจารย์สุจีรตะ มาเถิดท่าน เราจะส่งท่านไปยังสำนักของวิธูร พราหมณ์ ท่านจงนำเอาทองคำแท่งนี้ไปมอบให้ เพื่อรับคำอธิบายอรรถ และธรรม.
[๒๓๕๕] มหาพราหมณ์ผู้ภารทวาชโคตรนั้น ได้ไปถึงสำนักของวิธูรพราหมณ์แล้ว เห็นท่านกำลังบริโภคอาหารอยู่ในเรือนของตน.
[๒๓๕๖] พระเจ้าโกรัพยราชผู้เรืองพระยศ ทรงส่งเราให้เป็นทูตมา พระเจ้ายุธิฏฐิละ ได้ตรัสถามอรรถและธรรม ได้ตรัสแล้วดังกล่าวมา ท่านอาจารย์วิธูร ข้าพเจ้าถามท่านแล้ว ขอได้กรุณาบอกอรรถและธรรมนั้นด้วย.
[๒๓๕๗] ดูกรพราหมณ์ เราคิดว่า จักกั้นแม่น้ำคงคา แต่ไม่อาจจะกั้นแม่น้ำใหญ่นั้น ได้ เพราะเหตุนั้น โอกาสนั้นจักมีได้อย่างไร? เมื่อท่านถามถึงอรรถและ ธรรม เราจึงไม่อาจจะบอกได้. แต่ภัทรการะผู้เป็นบุตรเกิดแต่อกของ เรามีอยู่ เชิญท่านไปถามอรรถและธรรมกะเธอดูเถิด พราหมณ์.
[๒๓๕๘] มหาพราหมณ์ผู้ภารทวาชโคตรนั้น ได้ไปถึงสำนักของภัทรการะ เห็นท่าน กำลังนั่งอยู่ในเรือนของตน.
[๒๓๕๙] พระเจ้าโกรัพยาราชผู้เรืองพระยศ ทรงส่งเราเป็นทูตมาพระเจ้ายุธิฏฐิละได้ ตรัสถามอรรถและธรรม ได้ตรัสแล้วดังกล่าวมา ดูกรภัทรการมาณพ ขอได้กรุณาบอกอรรถและธรรมนั้นแก่เราด้วย.
[๒๓๖๐] ข้าพเจ้าเป็นเหมือนคนทิ้งหาบเนื้อแล้ววิ่งตามเหี้ยไป ถึงจะถูกถามอรรถ และธรรมก็ไม่อาจจะบอกแก่ท่านได้ ข้าแต่ท่านพราหมณ์สุจีรตะ น้อง ชายของข้าพเจ้าชื่อว่าสญชัยมีอยู่ เชิญท่านไปถามอรรถและธรรมกะเธอ ดูเถิด.
[๒๓๖๑] มหาพราหมณ์ผู้ภารทวาชโคตรนั้น ได้ไปถึงยังสำนักของสญชัยกุมาร ได้เห็นสญชัยกุมารกำลังนั่งอยู่ในบริษัทของตน.
[๒๓๖๒] พระเจ้าโกรัพยราชผู้เรืองพระยศ ทรงส่งเราเป็นทูตมา พระเจ้ายุธิฏฐิละ ได้ตรัสถามอรรถและธรรม ได้ตรัสแล้วดังกล่าวมา ดูกรสญชัยกุมาร ขอได้กรุณาบอกอรรถและธรรมนั้นแก่เราด้วย.
[๒๓๖๓] ข้าแต่ท่านสุจีรตพราหมณ์ มัจจุราชย่อมกลืนกินข้าพเจ้าทั้งเช้าและเย็น ถึงข้าพเจ้าถูกถาม ก็ไม่อาจจะบอกอรรถและธรรมแก่ท่านได้. แต่ว่าน้อง ชายของข้าพเจ้าชื่อว่าสัมภวะมีอยู่ เชิญท่านไปถามอรรถและธรรมกะเธอ ดูเถิด.
[๒๓๖๔] ดูกรท่านผู้เจริญ ธรรมนี้น่าอัศจรรย์จริงหนอย่อมไม่พอใจเรา ชนทั้ง ๓ คือ บิดาและบุตร ๒ คน ไม่มีปัญญารู้แจ้งธรรมนี้เลย. ถูกถามแล้ว ก็ไม่อาจ จะบอกอรรถและธรรมได้ เด็กถูกถามอรรถและธรรมแล้ว จะรู้ได้ อย่างไรหนอ?
[๒๓๖๕] ดูกรท่านพราหมณ์ ท่านยังไม่ได้ถามสัมภวกุมาร อย่าเพิ่งเข้าใจว่าเธอ เป็นเด็ก ท่านถามสัมภวกุมารแล้ว จะพึงรู้อรรถและธรรมได้. พระจันทร์ ปราศจากมลทิน โคจรไปในอากาศย่อมสว่างไสวล่วงหมู่ดาวทั้งปวง ใน โลกนี้ด้วยรัศมี ฉันใด. สัมภวกุมารแม้ยังเป็นเด็ก ก็ฉันนั้น ย่อม ไพโรจน์ล่วงบัณฑิตทั้งหลาย เพราะประกอบด้วยปัญญา ท่านยังไม่ได้ ถามสัมภวกุมาร อย่าเพิ่งเข้าใจเธอว่าเป็นเด็ก ท่านถามสัมภวกุมาร แล้วจะพึงรู้อรรถและธรรมได้. ดูกรท่านพราหมณ์ เดือนห้าในคิมหันตฤดู ย่อมสวยงามยิ่งกว่าเดือนอื่นๆ ด้วยต้นไม้และดอกไม้ ฉันใด. สัมภวกุมาร แม้ยังเป็นเด็ก ก็ฉันนั้น ย่อมไพโรจน์ล่วงบัณฑิตทั้งหลาย เพราะประกอบ ด้วยปัญญา ดูกรท่านพราหมณ์ ท่านยังไม่ได้ถามสัมภวกุมาร อย่าเพิ่ง เข้าใจเธอว่าเป็นเด็ก ท่านถามสัมภวกุมารแล้ว จะพึงรู้อรรถและธรรม ได้ ดูกรท่านพราหมณ์ หิมวันตบรรพตชื่อว่าคันธมาทน์ ดารดาษไปด้วย ไม้ต่างๆ พรรณ เป็นที่อยู่อาศัยแห่งทวยเทพ ย่อมสง่างามและหอม ตลบไปทั่วทิศด้วยทิพยโอสถ ฉันใด. สัมภวกุมารแม้ยังเป็นเด็ก ก็ฉัน นั้น ย่อมไพโรจน์ล่วงบัณฑิตทั้งหลาย เพราะประกอบด้วยปัญญา ดูกร ท่านพราหมณ์ ท่านยังไม่ได้ถามสัมภวกุมาร อย่าเพิ่งเข้าใจเธอว่าเป็นเด็ก ท่านถามสัมภวกุมารแล้ว จะพึงรู้อรรถและธรรมได้. ไฟป่ามีเปลวรุ่งเรือง ไหม้ลามไปในป่า ไม่อิ่มมีแนวทางดำคุเรื่อยไปมีเปรียงเป็นอาหาร มีควัน เป็นธง ไหม้แนวไพรสูงๆ เวลากลางคืนสว่างลุกโชนอยู่บนยอดภูเขา ฉันใด. สัมภวกุมารแม้ยังเป็นเด็ก ก็ฉันนั้น ย่อมไพโรจน์ล่วงบัณฑิต ทั้งหลาย เพราะประกอบด้วยปัญญา ดูกรท่านพราหมณ์ ท่านยังไม่ได้ถาม สัมภวกุมาร อย่าเพิ่งเข้าใจเธอว่าเป็นเด็ก ท่านถามสัมภวกุมารแล้ว จะ พึงรู้อรรถและธรรมได้. ม้าดีจะรู้ได้เพราะฝีเท้า โคพลิพัทธ์จะรู้ได้เพราะ เข็นภาระไป แม่โคนมจะรู้ได้เพราะน้ำนมดี และบัณฑิตจะรู้ได้เมื่อเจรจา ฉันใด. สัมภวกุมารแม้ยังเป็นเด็กก็ฉันนั้น ย่อมไพโรจน์ล่วงบัณฑิต ทั้งหลาย เพราะประกอบด้วยปัญญา ดูกรท่านพราหมณ์ ท่านยังไม่ได้ถาม สัมภวกุมาร อย่าเพิ่งเข้าใจว่าเธอยังเป็นเด็ก ท่านถามสัมภวกุมารแล้ว จะพึงรู้อรรถและธรรมได้.
[๒๓๖๖] มหาพราหมณ์ภวรทวาชโคตรนั้น ได้ไปยังสำนักของสัมภวกุมาร เห็นเธอ กำลังเล่นอยู่นอกบ้าน จึงกล่าวว่า.
[๒๓๖๗] พระเจ้าโกรัพยราชผู้เรืองพระยศ ทรงส่งเราเป็นทูตมา พระเจ้ายุธิฏฐิละ ได้ตรัสถามอรรถและธรรม ได้ตรัสแล้วดังกล่าวมา ดูกรสัมภวกุมาร ท่านถูกถามแล้ว ขอจงบอกอรรถและธรรมนั้นเถิด.
[๒๓๖๘] เชิญฟัง ข้าพเจ้าจักแก้ปัญหาแก่ท่านอย่างนักปราชญ์ พระราชาย่อมทรง ทราบอรรถและธรรมนั้นได้ แต่จักทรงทำตามหรือไม่ ไม่ทราบ?
[๒๓๖๙] ข้าแต่ท่านสุจีรตพราหมณ์ บุคคลผู้ถูกพระราชาตรัสถามแล้ว พึงทูลกิจที่ ควรทำในวันนี้ให้ทำในวันพรุ่งนี้ พระเจ้ายุธิฏฐิละอย่าได้ทรงทำตาม ใน เมื่อประโยชน์เกิดขึ้น ข้าแต่ท่านสุจีรตะ เมื่อบุคคลถูกพระราชาตรัสถาม พึงกราบทูลธรรมภายในเท่านั้น ไม่พึงให้เสด็จไปยังหนทางผิด ดุจคน โง่ไม่มีความคิดฉะนั้น. กษัตริย์ไม่พึงทรงลืมพระองค์ ไม่พึงทรงประพฤติ ธรรม ไม่พึงทรงข้ามไปในที่มิใช่ท่า ไม่พึงทรงขวนขวายในสิ่งอันไม่ เป็นประโยชน์. กษัตริย์พระองค์ใด ทรงทราบว่าควรจะทำฐานะเหล่านี้ กษัตริย์พระองค์นั้นย่อมทรงพระเจริญทุกเมื่อ ดังพระจันทร์ในสุกรปักษ์ ฉะนั้น. ย่อมเป็นที่รักใคร่ของพระประยูรญาติทั้งหลายด้วย ย่อมทรง รุ่งโรจน์ในหมู่มิตรด้วย ท้าวเธอมีพระปรีชา เมื่อสวรรคตแล้ว ย่อมเข้า ถึงโลกสวรรค์.

จบ สัมภวชาดกที่ ๕.

๖. มหากปีชาดก ผลบาปของผู้ทำร้ายผู้มีคุณ


[๒๓๗๐] มีพระราชาแห่งชนชาวกาสีผู้ครองรัฐสีมา ในพระนครพาราณสี ทรง แวดล้อมด้วยมิตรและอำมาตย์ ได้เสด็จไปยังมิคาชินอุทยาน. ณ ที่นั้น ได้ทอดพระเนตรเห็นพราหมณ์ซึ่งเป็นโรคเรื้อนด่าง เป็นจุดตามตัว มากไปด้วยกลากเกลื้อนเรี่ยราดด้วยเนื้อที่หลุดออกมาจากปากแผล เช่น กับดอกทองกวาวที่บาน ซูบผอม สะพรั่งไปด้วยเส้นเอ็น. ครั้นทอด- พระเนตรเห็นคนถึงความลำบากน่าสงสารยิ่งนักแล้ว ทรงหวาดพระทัย จึงตรัสถามว่า ท่านเป็นยักษ์ประเภทไหนในจำพวกยักษ์ทั้งหลาย? อนึ่ง มือและเท้าของท่านขาว ยิ่งกว่านั้นศีรษะก็ขาวโพลน ตัวของท่านก็ด่าง พร้อย มากไปด้วยเกลื้อนกลาก. หลังของท่านก็เป็นปุ่มเป็นปมดุจ เถาวัลย์อันยุ่ง อวัยวะของท่านดุจเถาวัลย์ข้อดำ ดูไม่เหมือนกับคนอื่น. เท้าเปรอะเปื้อนน่าหวาดเสียว ซูบผอม สะพรั่งไปด้วยเส้นเอ็น หิวระหาย ร่างกายซูบซีด ท่านมาจากไหน และจะไปไหน? ดูน่าเกลียดรูปร่างไม่ น่าดู ผิวพรรณทราม ดูน่ากลัว แม้มารดาบังเกิดเกล้าของท่าน ก็ไม่ ปรารถนาจะเหลียวแลเสียเลย. ในชาติก่อนท่านได้ทำกรรมอะไร ได้เบียด เบียนผู้ที่ไม่ควรเบียดเบียนไว้อย่างไร ได้เข้าถึงทุกข์อันนี้เพราะทำกรรม อันหยาบช้าอันใดไว้?
[๒๓๗๑] ขอเชิญพระองค์ทรงสดับ ข้าพระองค์จักกราบทูลอย่างคนที่ฉลาดทูล เพราะว่าบัณฑิตทั้งหลายในโลกนี้ ย่อมสรรเสริญคนที่พูดจริง. ข้าพระ องค์ผู้เดียวเที่ยวตามหาโคได้หลงทางเข้าไปในป่าหิมพานต์แสนจะกันดาร เงียบสงัด อันหมู่กุญชรต่างๆ อาศัยอยู่. ข้าพระองค์ได้หลงทางเข้าไป ในป่าทึบ อันหมู่มฤคร้ายกาจท่องเที่ยวไปมา ต้องทนหิวกระหายเที่ยวไป ในป่านั้นตลอด ๗ วัน ณ ป่านั้นข้าพระองค์กำลังหิวจัด ได้เห็นต้น มะพลับต้นหนึ่งตั้งอยู่หมิ่นเหม่ เอนไปทางปากเหวมีผลดกดื่น. จึงเก็บ เอาผลที่ลมพัดหล่นมากินผลเหล่านั้นพอใจข้าพระองค์ยิ่งนัก เมื่อยังไม่ อิ่มจึงปีนขึ้นไปบนต้น ด้วยหวังใจว่ากินให้สบายบนต้นนั้น ข้าพระองค์ กินผลที่หนึ่งแล้ว ก็ปรารถนาจะกินผลที่สองต่อไป ทันใดนั้น กิ่งนั้นก็ หักลงดุจถูกขวานฟันฉะนั้น. ข้าพระองค์ศีรษะปักลง เท้าชี้ฟ้า ตกลง ไปในเหวซึ่งไม่มีที่ยึดที่เกาะเลย พร้อมด้วยกิ่งไม้นั่นเอง. ข้าพระองค์ หยั่งไม่ถึงเพราะน้ำลึก ต้องไปนอนไร้ความเพลิดเพลินอยู่ในเหวนั้น ๑๐ ราตรีเต็มๆ. ภายหลังมีลิงตัวหนึ่งมีหางดังหางโค เที่ยวไปตามซอกเขา เที่ยวไต่ไปตามกิ่งไม้หาผลไม้กิน ได้มาถึงที่นั้น มันเห็นข้าพระองค์ผอม เหลือง ก็เกิดความสงสารในข้าพระองค์ขึ้น. จึงถามว่า พ่อชื่อไร ทำไมจึงมาทนทุกข์อยู่ที่นี่อย่างนี้ เป็นมนุษย์หรือมนุษย์ ขอได้โปรด แนะนำตนให้ข้าพเจ้าทราบด้วย? ข้าพระองค์จึงได้ประนมอัญชลีไหว้ลิง ตัวนั้นแล้วกล่าวว่า เราเป็นมนุษย์ผู้ถึงซึ่งความหายนะ เราไม่มีหนทาง ที่จะไปจากที่นี้ได้ เพราะเหตุนั้น เราจึงขอบอกให้ท่านทราบไว้ ขอท่าน จงมีความเจริญ อนึ่ง ขอท่านจงเป็นที่พึ่งพาของเราด้วย. ลิงผู้ตัวองอาจ เที่ยวไปหาก้อนหินก้อนใหญ่ในภูเขามา แล้วผูกเชือกไว้ที่ก้อนหินร้อง บอกว่า. มาเถิดท่านขึ้นมาเกาะหลังข้าพเจ้า เอามือทั้ง ๒ กอดคอไว้ ข้าพเจ้าจักพาท่านกระโดดขึ้นจากเหวทันที. ข้าพระองค์ได้ฟังคำของพญา พานรินทร์ผู้ตัวมีศิรินั้นแล้ว จึงขึ้นเกาะหลังเอามือทั้ง ๒ โอบคอไว้. ลำดับนั้น พญาวานรผู้ตัวมีเดชกำลัง ก็พาข้าพระองค์กระโดดขึ้นจาก เหวโดยความยากลำบากทันที. ครั้นขึ้นมาได้แล้วพญาวานรผู้ตัวองอาจได้ ขอร้องข้าพระองค์ว่า แน่ะสหาย ขอท่านจงช่วยคุ้มครองข้าพเจ้า ข้าพเจ้าจักงีบสักหน่อย. ราชสีห์ เสือโคร่ง หมีและเสือดาว พึงเบียด เบียนข้าพเจ้าผู้ตัวหลับไป. ท่านเห็นพวกมันแล้วจงป้องกันไว้. เพราะ ข้าพระองค์ช่วยป้องกันให้อย่างนั้น พญาวานรจึงหลับไปสักครู่หนึ่ง ในกาลครั้งนั้น ข้าพระองค์ก็ไม่มีความคิด กลับได้ความเห็นอันเลวทราม ว่า ลิงนี้ก็เป็นอาหารของมนุษย์ทั้งหลาย เหมือนเนื้อในป่าเหล่า อื่นเช่นกัน ถ้ากระไร เราพึงฆ่าลิงนี้กินแก้หิวเถิด. อนึ่ง อิ่มแล้วจัก จักถือเอาเนื้อไปเป็นสะเบียงเดินทาง เราจักต้องผ่านทางกันดาร เนื้อก็ จักได้เป็นสะเบียงของเรา. ทันใดนั้น ข้าพระองค์จึงหยิบเอาหินมาทุ่ม ศีรษะลิง การประหารของข้าพระองค์ผู้ลำบากเพราะอดอาหาร มีกำลัง น้อย. ด้วยกำลังก้อนหินที่ข้าพระองค์ทุ่มลง ลิงนั้นผลุดลุกขึ้นทั้งๆ ที่ ตัวอาบไปด้วยเลือด ร้องไห้น้ำตาไหลพรู มองดูข้าพระองค์. พลางก็ กล่าวขึ้นว่า นายอย่าทำข้าพเจ้าเลย ขอท่านจงมีความเจริญ แต่ท่านได้ ทำกรรมอันหยาบช้าเช่นนี้ ก็แลท่านมีอายุยืนมาได้ สมควรจะห้ามปราม คนอื่น. แน่ะท่านผู้ทำกรรมอันยากที่บุคคลจะทำลงได้ น่าอดสูใจจริงๆ ข้าพเจ้าช่วยให้ท่านขึ้นมาจากเหวลึกซึ่งยากที่จะขึ้นมาได้. ท่านดุจว่าเรา นำมาจากปรโลก ยังสำคัญข้าพเจ้าว่า ควรจะฆ่าเสีย ด้วยจิตอันเป็นบาป กรรม ซึ่งเป็นเหตุให้ท่านคิดชั่ว. เวทนาอันเผ็ดร้อนอย่าได้ต้องท่านผู้ตั้ง อยู่ในอธรรมเลย อนึ่ง บาปกรรมก็อย่าได้ตามฆ่าท่านอย่างขุยไผ่เลย. แน่ะท่านผู้มีธรรมอันเลว หาความสำรวมมิได้ ความคุ้นเคยของข้าพเจ้า จะไม่มีอยู่ในท่านเลย มาเถิด ท่านจงเดินไปห่างๆ เรา พอมองเห็น หลังกันเท่านั้น. ท่านพ้นจากเงื้อมมือแห่งสัตว์ร้าย ถึงทางเดินของมนุษย์ แล้ว แน่ะท่านผู้ไม่ตั้งอยู่ในธรรม นี่ทาง ท่านจงไปตามสบายโดยทาง นั้นเถิด. วานรครั้นกล่าวอย่างนี้แล้ว ก็ล้างเลือดที่ศีรษะเช็ดน้ำตาเสร็จ แล้ว กระโดดขึ้นไปยังภูเขา. ข้าพระองค์เป็นผู้อันวานรนั้นอนุเคราะห์ แล้ว ถูกความกระวนกระวายเบียดเบียน มีตัวอันร้อน ได้ลงไปยัง ห้วงน้ำแห่งหนึ่งเพื่อจะดื่มกินน้ำ. ห้วงน้ำก็เดือดพล่านดุจต้มด้วยไฟ นองไปด้วยเลือด คล้ายกับน้ำเลือด น้ำหนอง ฉะนั้น ทุกสิ่งทุกอย่าง ปรากฏแก่ข้าพระองค์นั้น. หยาดน้ำซึ่งตกถูกที่กายของข้าพระองค์มีเท่าใด ฝีก็ผุดขึ้นเท่านั้น มีสัณฐานเหมือนมะตูมครึ่งลูก. น้ำเลือดน้ำหนองก็ ไหลออกจากแผลฝีของข้าพระองค์ซึ่งแตกแล้ว ข้าพระองค์จะเดินไปทาง ไหนในคามนิคมทั้งหลาย. พวกหญิง และชายพากันถือท่อนไม้ห้ามกัน ข้าพระองค์ ผู้ฟุ้งไปด้วยกลิ่นเหม็นว่า อย่าเข้ามาข้างนี้นะ บัดนี้ ข้าพระ องค์ได้เสวยทุกขเวทนาเห็นปานนี้อยู่ ๗ ปี ซึ่งเป็นผลกรรมชั่วของตน ในปางก่อน. เพราะเหตุนั้น ข้าพระองค์จึงกราบทูลให้พระองค์ทรงทราบ ขอความเจริญจงมีแก่ท่านทั้งหลายเท่าที่มาประชุมกันอยู่ในที่นี้ ขอพระ องค์อย่าได้ประทุษร้ายต่อมิตร เพราะว่าผู้ประทุษร้ายมิตรเป็นคนเลว. ในโลกนี้ ผู้ที่ประทุษร้ายต่อมิตร ย่อมเป็นโรคเรื้อน เกลื้อนกลาก เมื่อตายไปแล้ว ย่อมเข้าถึงนรก.

จบ มหากปิชาดกที่ ๖.

๗. ทกรักขสชาดก ว่าด้วยผีเสื้อน้ำ


[๒๓๗๒] ถ้าผีเสื้อน้ำผู้ตนแสวงหาเครื่องเซ่น ด้วยมนุษย์พึงจับเรือของพระนาง สลากเทวีพระราชชนนีพระนางนันทาเทวีอัครมเหสี พระติขินนกุมารราช อนุชา ธนุเสขกุมารผู้สหาย เกวัฏพราหมณ์ปุโรหิต มโหสถบัณฑิต และ พระองค์รวมเป็น ๗ ผู้แล่นเรือไปในทะเล พระองค์จะพระราชทาน ใครอย่างไร ให้ตามลำดับแก่ผีเสื้อน้ำ พระเจ้าข้า.
[๒๓๗๓] ข้าพเจ้าจะให้พระราชมารดาก่อน ให้มเหสี ให้กนิษฐาภาดา ต่อแต่นั้น ไปก็จะให้สหาย ให้พราหมณ์ปุโรหิตเป็นลำดับที่ ๕ ให้ตนเองเป็นที่ ๖ มโหสถให้ไม่ได้เลย.
[๒๓๗๔] ก็พระราชชนนีของพระองค์ เป็นผู้บำรุงเลี้ยงทรงอนุเคราะห์ตลอดราตรี นาน เมื่อฉัพภิพราหมณ์ประทุษร้ายในพระองค์ พระราชมารดาเป็นผู้ ฉลาด ทรงเห็นประโยชน์ ทำรูปเปรียบอื่น ปลดเปลื้องพระองค์จาก การถูกปลงพระชนม์ พระองค์จะพระราชทานพระชนนีผู้มีพระทัยคงที่ ประทานพระชนม์ชีพให้ ทรงให้เจริญ ณ ระหว่างพระทรวง ทรงพระ ครรภ์นั้นแก่ผีเสื้อน้ำด้วยโทษอะไร.
[๒๓๗๕] พระราชมารดาทรงเป็นเหมือนหญิงสาวทรงเครื่องประดับซึ่งไม่สมควรจะ ประดับ ตรัสสรวลเสเฮฮากะพวกรักษาประตูและพวกฝึกหัดม้า จนเกิน เวลาอันควร อนึ่ง พระราชมารดาของเรา ย่อมสั่งทูตทั้งหลายถึงอริราช ศัตรูเอง ข้าพเจ้าจะให้พระราชมารดาแก่ผีเสื้อน้ำด้วยโทษอันนั้น.
[๒๓๗๖] พระนางอุพพรีเทวีผู้ประเสริฐกว่าหมู่สนมนารี มีพระเสาวนีย์น่ารักยิ่งนัก ทรงประพฤติตาม ทรงมีศีลาจารวัตร ดุจเงามีปกติไปตาม ไม่ทรงพิโรธ ง่ายๆ ทรงมีบุญบารมี เฉลียวฉลาด ทรงเห็นประโยชน์ พระองค์จะ พระราชทานพระราชเทวีแก่ผีเสื้อน้ำด้วยโทษอะไร.
[๒๓๗๗] นางอุพพรีนั้นรู้ว่า ข้าพเจ้า ถึงพร้อมด้วยความยินดีในการเล่นอันกระทำ ความพินาศ ก็ขอทรัพย์ที่ข้าพเจ้าให้แก่บุตรธิดาของตนและชายาอื่นๆ ข้าพเจ้ามีความกำหนัดมากก็ให้ทรัพย์ทั้งประณีตและทรามเป็นอันมาก ครั้นสละสิ่งที่สละได้ยากแล้ว ภายหลังก็เศร้าโศกเสียใจ ข้าพเจ้าจะให้ นางอุพพรีแก่ผีเสื้อน้ำโดยโทษนั้น.
[๒๓๗๘] พระกนิษฐาภาดา ทรงบำรุงชาวนาชนบททั้งหลาย ให้เจริญรุ่งเรือง เชิญ พระองค์ผู้ประทับอยู่ ณ ประเทศอื่นมาสู่พระนครนี้ ทรงอนุเคราะห์พระ องค์ ครอบงำพระราชาทั้งหลาย เอาทรัพย์เป็นอันมากมาแต่ราชสมบัติ อื่น เป็นผู้ประเสริฐกว่านายขมังธนูทั้งหลาย ทรงกล้าหาญกว่าผู้มีความ คิดหลักแหลมทั้งหลาย พระองค์จะพระราชทานพระกนิษฐภาดาแก่ผีเสื้อ น้ำ ด้วยโทษอะไร.
[๒๓๗๙] กนิษฐภาดาของข้าพเจ้าดูหมิ่นข้าพเจ้าว่า ชาวชนบททั้งหลาย เจริญก็ เพราะเขา ข้าพเจ้ากลับมาได้ก็เพราะเขา อนุเคราะห์ข้าพเจ้าครอบงำ พระราชาทั้งหลาย นำเอาทรัพย์เป็นอันมากมาแต่ราชสมบัติอื่น เป็น เลิศกว่านายขมังธนูทั้งหลาย กล้าหาญกว่าผู้มีความคิดหลักแหลมทั้งหลาย ข้าพเจ้านี้เป็นพระราชาเด็กๆ ได้ความสุขก็เพราะเขา อนึ่ง เมื่อก่อน เขามาบำรุงข้าพเจ้าแต่เช้า แต่บัดนี้เขาไม่มาอย่างก่อน ข้าพเจ้าจะให้ กนิษฐภาดาแก่ผีเสื้อน้ำด้วยโทษนั้น.
[๒๓๘๐] พระองค์ประสูติวันเดียวกันกับธนุเสขกุมาร ทั้งสองพระองค์เป็นชาว ปัญจาลนคร เกิดในกรุงปัญจาละ เป็นสหายมีวัยเสมอกัน ธนุเสข กุมารเป็นผู้ติดตามพระองค์ โดยเสด็จจาริกไปยังชนบทร่วมสุขร่วมทุกข์ กับพระองค์ ขวนขวายจัดแจงในกิจทุกอย่างของพระองค์ทั้งกลางวัน กลางคืน พระองค์จะพระราชทานพระสหายแก่ผีเสื้อน้ำด้วยโทษอะไร.
[๒๓๘๑] ข้าแต่ผู้เป็นเจ้า ธนุเสขกุมารนี้ เป็นผู้หัวร่อต่อกระซิกกับข้าพเจ้า ด้วย ความประพฤติมาแต่ก่อน แม้วันนี้ เขาก็ยังซิกซี้เฮฮาเกินเวลาด้วยกิริยา นั้นอีก ข้าแต่ผู้เป็นเจ้า ข้าพเจ้าจะปรึกษาหารือกันในที่ลับกับนางอุพพรี เทวีบ้าง ข้าพเจ้าไม่ทันเรียกก็เข้ามา มิให้ข้าพเจ้ารู้ตัวก่อน ถึงจะได้รับ อนุญาตให้เข้าเฝ้าได้ไม่กำจัดเวลาและโอกาสก็ตาม ข้าพเจ้าจะให้สหายผู้ ไม่มีความละอายแก่ใจ หาความเอื้อเฟื้อมิได้ แก่ผีเสื้อน้ำด้วยโทษนั้น.
[๒๓๘๒] เกวัฏปุโรหิตเป็นผู้ฉลาดในนิมิตทุกอย่าง รู้เสียงร้องทุกชนิด รู้จบไตรภพ เป็นผู้ฉลาด ในจันทรุปราคาเป็นต้นที่จะเกิดขึ้น รู้ทำนายความฝัน รู้การ ถอยทัพ หรือการรุกเข้าไปต่อสู้ เป็นผู้สามารถรู้โทษหรือคุณในภูมิภาค และอากาศ เป็นผู้รอบรู้ในโคจรแห่งนักษัตร พระองค์จะพระราชทาน เกวัฏพราหมณ์แก่ผีเสื้อน้ำด้วยโทษอะไร.
[๒๓๘๓] ข้าแต่ผู้เป็นเจ้า อาจารย์เกวัฏลืมตาทั้ง ๒ เพ่งดูข้าพเจ้าแม้ในบริษัท เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าจึงจะให้อาจารย์เกวัฏผู้ร้ายกาจดุจมีคิ้วอันเลิกขึ้นแก่ ผีเสื้อน้ำด้วยโทษนั้น.
[๒๓๘๔] พระองค์เป็นผู้อันอำมาตย์แวดล้อม ทรงครอบครองพสุนธรมหิดล มี สมุทรเป็นขอบเขตดุจกุณฑลแห่งสาคร พระองค์มีมหารัฐซึ่งมีสมุทรทั้ง ๔ เป็นขอบเขต ทรงชนะสงครามเสร็จแล้ว มีพระกำลังมาก เป็นเอกราช ในปฐพี มีพระอิสริยยศ ถึงความไพบูลย์ พระสนมนารีจากชนบทต่างๆ ๑๖,๐๐๐ นาง สวมใส่กุณฑลแก้วมณี งามดังเทพกัญญา ดูกรขัตติยราช นักปราชญ์ทั้งหลายกล่าวชีวิตอันสมบูรณ์ด้วยองค์ทั้งปวง อันสำเร็จด้วย สิ่งที่น่าใคร่ทุกอย่าง อันยืนนานอย่างนี้ ของชนทั้งหลายผู้ถึงความสุขว่า เป็นที่รัก เมื่อเป็นเช่นนี้ พระองค์ตามรักษามโหสถบัณฑิตยอมทรงสละ พระชนมชีพซึ่งแสนยากจะพึงสละได้ ด้วยเหตุหรือว่ากรณีอะไร.
[๒๓๘๕] ข้าแต่ผู้เป็นเจ้า จำเดิมแต่มโหสถมาอยู่กับข้าพเจ้าแล้ว ข้าพเจ้าไม่เห็น มโหสถผู้มีปัญญาทำชั่ว แม้แต่สักเล็กน้อยเลย ถ้าแม้ความตายจะพึงมี แก่ข้าพเจ้าเสียก่อนในเวลาหนึ่งมโหสถก็จะพึงยังเหล่าโอรส และนัดดา ทั้งหลายของข้าพเจ้าให้เป็นสุขได้ เพราะมโหสถย่อมมองเห็นประโยชน์ ทั้งปวง ทั้งอนาคต ปัจจุบันและอดีต โดยไม่ผิด ด้วยเหตุนั้น ข้าพเจ้า จึงจะไม่ให้มโหสถผู้มีการงานอันหาความผิดมิได้แก่ผีเสื้อน้ำ.
[๒๓๘๖] ท่านทั้งหลายชาวปัญจาลนคร จงฟังราชภาษิตของพระเจ้าจุฬนีพรหมทัตนี้ พระองค์ทรงตามรักษามโหสถบัณฑิตถึงกับสู้สละพระชนมชีพ ซึ่งแสน ยากที่จะสละได้ คือ พระเจ้าปัญจาลราชทรงสละชีวิตแห่งชนทั้ง ๖ คือ พระราชชนนี พระอัครมเหสี พระกนิษฐภาดา พระสหาย และ พราหมณ์ กับทั้งพระองค์เองแก่ผีเสื้อน้ำ ปัญญามีประโยชน์ใหญ่หลวง ละเอียดลออมีปกติคิดยังประโยชน์ให้สำเร็จ เป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อ กูลในปัจจุบัน และเพื่อความสุขในสัมปรายภพ ด้วยประการฉะนี้แล.

จบ ทกรักขสชาดกที่ ๗.

๘. ปัณฑรกชาดก ไม่ควรบอกความลับแก่คนอื่น


[๒๓๘๗] ภัยเกิดจากตนเอง ย่อมตามถึงบุคคลผู้ไร้ปัญญา พูดพล่อยๆ ไม่ปิดบัง ความรู้ หาความระวังมิได้ ไม่มีการพิจารณา เหมือนครุฑตามถึงเราผู้ ปัณฑรกนาคฉะนั้น. นรชนใดยินดีบอกมนต์ลับที่ตนควรจะรักษา เพราะ ความหลง ภัยย่อมตามถึงนรชนนั้นผู้มีมนต์อันแพร่งพรายแล้วโดยพลัน เหมือนครุฑตามถึงเราผู้ปัณฑรกนาคราชฉะนั้น. มิตรเทียมไม่ควรจะให้รู้ เหตุสำคัญอันลึกลับ ถึงมิตรแท้แต่เป็นคนโง่ หรือมีปัญญาแต่ประพฤติ สิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ ก็ไม่ควรจะให้รู้ความลับเหมือนกัน. เราได้ถึง ความคุ้นเคยกับชีเปลือยด้วยเข้าใจว่า สมณะนี้โลกเขานับถือ มีตนอัน อบรมแล้ว ได้บอกเปิดเผยความลับแก่มัน จึงได้ล่วงเลยประโยชน์ร้อง ไห้อยู่ดุจคนกำพร้าฉะนั้น. ดูกรพญาครุฑผู้ตัวประเสริฐ เราไม่อาจจะ ระวังวาจาลับอย่างยิ่งนี้แก่มันได้ ภัยได้มาถึงเราจากสำนักของมัน เรา จึงได้ล่วงเลยประโยชน์ร้องไห้อยู่ดุจคนกำพร้าฉะนั้น นรชนใดสำคัญว่า ผู้นี้มีใจดี บอกความลับกะคนสกุลทราม นรชนนั้นเป็นคนโง่เขลาทรุด โทรมลงโดยไม่ต้องสงสัย เพราะโทสาคติ ภยาคติ หรือเพราะฉันทาคติ. ผู้ใดปากบอนนับเข้าในพวกอสัตบุรุษ ชอบกล่าวถ้อยคำในที่ประชุมชน นักปราชญ์ทั้งหลายเรียกผู้นั้นว่า ผู้มีปากชั่วร้ายคล้ายอสรพิษ บุคคลควร ระมัดระวังคนเช่นนั้นเสียให้ห่างไกล. เราได้ละทิ้งข้าวน้ำ ผ้าแคว้นกาสี และจรุณจันทน์ สตรีที่เจริญใจ ดอกไม้และเครื่องชะโลมทา ซึ่งเป็น ส่วนกามารมณ์ทั้งปวงไปหมดแล้ว ดูกรพญาครุฑ เราขอถึงท่านเป็นสรณะ ตลอดชีวิต.
[๒๓๘๘] ดูกรบัณฑรกนาคราช บรรดาสัตว์ทั้ง ๓ จำพวก คือ สมณะ ครุฑและ นาค ใครหนอควรจะได้รับความติเตียนในโลกนี้ ที่จริงตัวท่านแหละควร จะได้รับ ท่านถูกครุฑจับเพราะเหตุไร?
[๒๓๘๙] ชีเปลือยเป็นผู้มีอัตภาพที่เรายกย่องว่าเป็นสมณะ เป็นที่รักของเรา ทั้ง เป็นผู้อันเรายกย่องด้วยใจจริง เราจึงบอกเปิดเผยความลับแก่มัน เรา เป็นคนล่วงเลยประโยชน์ร้องไห้อยู่ดุจคนกำพร้าฉะนั้น.
[๒๓๙๐] แท้จริง สัตว์ที่จะไม่ตายไม่มีเลยในแผ่นดิน ธรรมชาติเช่นกับปัญญาไม่ ควรติเตียน คนในโลกนี้ย่อมบรรลุคุณวิเศษที่ยังไม่ได้ เพราะสัจจธรรม ปัญญา และทมะ. มารดาบิดาเป็นยอดเยี่ยมแห่งเผ่าพันธุ์ คนที่สามชื่อ ว่ามีความอนุเคราะห์แก่บุคคลนั้น เมื่อรังเกียจว่ามนต์จะแตก ก็ไม่ควร บอกความลับสำคัญแม้แก่มารดาบิดานั้น. เมื่อรังเกียจว่ามนต์จะแตกก็ไม่ ควรบอกความลับสำคัญแม้แก่มารดา บิดา พี่สาว น้องสาว พี่ชาย น้องชาย สหาย หรือพวกพ้องเลย. ถ้าภรรยาสาวพูดเพราะ ถึงพร้อม ด้วยบุตรธิดา รูปและยศ ห้อมล้อมด้วยหมู่ญาติ พึงกล่าวอ้อนวอน สามีให้บอกความลับ เมื่อรังเกียจว่ามนต์จะแตก ก็ไม่ควรบอกความลับ สำคัญแม้แก่ภรรยานั้น.
[๒๓๙๑] บุคคลไม่ควรเปิดเผยความลับเลย ควรรักษาความลับนั้นไว้เหมือนรักษา ขุมทรัพย์ไว้ฉะนั้น ความลับอันบุคคลอื่นรู้เข้า ทำให้แพร่งพรายแล้ว ไม่ดีเลย. บัณฑิตไม่ควรบอกความลับแก่สตรี ศัตรู คนมุ่งอามิส และ คนผู้มุ่งหมายล้วงดวงใจ. คนใดให้คนโง่เขลารู้ความลับ ถึงแม้คนโง่ เขลานั้นจะเป็นทาสของตน ก็จำต้องอดกลั้นไว้ เพราะกลัวความคิดจะ แตก. คนมีประมาณเท่าใดรู้ความลับที่ปรึกษากันของบุรุษ คนประมาณ เท่านั้น ย่อมขู่ให้บุรุษนั้นหวาดเสียวได้ เพราะเหตุนั้นจึงไม่ควรขยาย ความลับ กลางวันก็ดี กลางคืนก็ดี ควรพูดเปิดเผยความลับในที่สงัด ไม่ควรเปล่งวาจาให้ล่วงเวลา เพราะคนที่คอยแอบฟังก็จะได้ยินข้อความ ที่ปรึกษากัน เพราะเหตุนั้น ข้อความที่ปรึกษากัน ก็จะถึงความแพร่ง พรายทันที.
[๒๓๙๒] ผู้มีความคิดอันลี้ลับในโลกนี้ ย่อมปรากฏแก่เรา เปรียบเหมือนนครอัน ล้วนแล้วด้วย เหล็กใหญ่โต ไม่มีประตู เจริญด้วยเรือนโรง ล้วนแต่ เหล็ก ประกอบด้วยคูอันขุดไว้โดยรอบฉะนั้น. ดูกรนาคราช ผู้มีความคิด อันลี้ลับต้องไม่พูดแพร่งพราย มั่นคงในประโยชน์ของตน ย่อมหลีกจาก ศัตรูเหล่านั้นแต่ไกล เหมือนหมู่มนุษย์หลีกจากอสรพิษแต่ไกลฉะนั้น.
[๒๓๙๓] อเจลกชีเปลือย ละเรือนออกบวช มีศีรษะโล้น เที่ยวไปเพราะเหตุแห่ง อาหาร เราได้ขยายความลับแก่มันซิหนอ เราจึงเป็นผู้ปราศจากประโยชน์ และธรรม. ดูกรพญาครุฑ บุคคลผู้ละสิ่งที่ยึดถือว่าเป็นของเราแล้ว มา ประพฤติเป็นนักบวช มีการทำอย่างไร มีศีลอย่างไร ประพฤติพรต อย่างไร จึงจะชื่อว่าเป็นสมณะ สมณะนั้นมีการทำอย่างไร จึงจะเข้าถึง แดนสวรรค์?
[๒๓๙๔] บุคคลผู้สละสิ่งที่ยึดถือว่าเป็นของเราแล้ว มาประพฤติเป็นนักบวช ต้อง ประกอบด้วยความละอาย ความอดกลั้น ความฝึกตน ความอดทน ไม่โกรธง่าย ละวาจาส่อเสียด จึงจะชื่อว่าเป็นสมณะ สมณะนั้นมีการทำ อย่างนี้ จึงจะเข้าถึงแดนสวรรค์.
[๒๓๙๕] ข้าแต่พญาครุฑ ขอท่านจงปรากฏแก่ข้าพเจ้าเหมือนมารดาที่กกกอดลูก อ่อนที่เกิดแต่ตน แผ่ร่างกายทุกส่วนปกป้องหรือดุจมารดาผู้เอ็นดูบุตร ฉะนั้นเถิด.
[๒๓๙๖] ดูกรนาคราช เอาเถอะ ท่านจงพ้นจากการถูกฆ่าในวันนี้ ก็บุตรมี ๓ จำพวก คือ ศิษย์ ๑ บุตรบุญธรรม ๑ บุตรตัว ๑ บุตรอื่นหามีไม่ ท่านยินดีจะเป็น บุตรจำพวกไหนของเรา.
[๒๓๙๗] พญาครุฑจอมทิชาชาติ กล่าวอย่างนี้โผลงจับที่แผ่นดินแล้วปล่อยพญา นาคไปด้วยกล่าวว่า วันนี้ ท่านรอดพ้นแล้วจากสรรพภัย จงเป็นผู้อัน เราคุ้มครองแล้วทั้งทางบกและทางน้ำ. หมอผู้ฉลาดเป็นที่พึ่งของคนไข้ได้ ฉันใด ห้องน้ำอันเย็นเป็นที่พึ่งของคนหิวกระหาย ฉันใด สถานที่พักเป็น ที่พึ่งของคนเดินทาง ฉันใด เราจะเป็นที่พึ่งของท่านฉันนั้น.
[๒๓๙๘] แน่ะท่านผู้ชลาพุชชาติ ท่านแยกเขี้ยวมองดูดังจะทำกับศัตรูผู้อัณฑชชาติ ภัยนี้มีมาแต่ไหน.
[๒๓๙๙] บุคคลพึงรังเกียจในศัตรูทีเดียว แม้ในมิตรก็ไม่ควรไว้วางใจ ภัยเกิดขึ้นได้ จากที่ที่ไม่มีภัย มิตรย่อมตัดโค่นรากได้ จะพึงไว้วางใจในบุคคลที่ทำการ ทะเลาะกันมาแล้วอย่างไรได้เล่า ผู้ใดดำรงอยู่ด้วยการเตรียมตัวเป็นนิตย์ ผู้นั้นย่อมไม่ยินดีกับศัตรูของตน บุคคลพึงทำให้เป็นที่ไว้วางใจของคนอื่น แต่ไม่ควรจะไว้วางใจคนอื่นเกินไป ตนเองอย่าให้คนอื่นรังเกียจได้ แต่ควรรังเกียจเขา วิญญูชนพึงพากเพียรไปด้วยอาการอันลึกซึ้ง ซึ่งฝ่าย อื่นจะล่วงรู้ไม่ได้.
[๒๔๐๐] สัตว์ทั้ง ๒ ผู้มีเพศพรรณดุจเทวดา สุขุมาลชาติเช่นเดียวกัน บริสุทธิ์ดุจ กองบุญ เคล้าคลึงกันไปดุจม้าเทียมรถ ได้จับมือพากันเข้าไปหากรัม ปิยอเจลก.
[๒๔๐๑] ลำดับนั้น ปัณฑรกนาคราช เข้าไปหาชีเปลือยแต่ลำพังตนเท่านั้น แล้ว ได้กล่าวว่า วันนี้เรารอดพ้นจากความตายล่วงภัยทั้งปวง แล้วคงไม่เป็น ที่รักที่พอใจท่านเสียเลยเป็นแน่.
[๒๔๐๒] พญาครุฑเป็นที่รักของเรายิ่งกว่าปัณฑรกนาคราชอย่างแท้จริง โดยไม่ต้อง สงสัย เรามีความรักใคร่ในพญาครุฑ ทั้งที่รู้ก็ได้ทำกรรมอันลามก ไม่ใช่ ทำเพราะความหลุ่มหลงเลย.
[๒๔๐๓] ความถือว่าสิ่งนี้เป็นที่รัก หรือว่าไม่เป็นที่รักของเรา ย่อมไม่มีแก่บรรพชิต ผู้พิจารณาเห็นโลกนี้ และโลกหน้า ก็ท่านเป็นคนไม่สำรวม แต่ประพฤติ ลวงโลกด้วยเพศของผู้สำรวมดีทั้งหลาย ไม่ได้เป็นอริยะเลย แต่ปลอม ตัวเป็นอริยะ ไม่ใช่คนสำรวม แต่ทำคล้ายคนสำรวม ท่านเป็นคนชาติ เลวทราม มิใช่คนประเสริฐได้ประพฤติบาปทุจริตเป็นอันมาก.
[๒๔๐๔] แน่ะเจ้าคนเลวทราม เจ้าประทุษร้ายต่อผู้มิได้ประทุษร้ายทั้งเป็นคนส่อเสียด ด้วยคำสัตย์นี้ ขอศีรษะของเจ้าจงแตกออกเป็น ๗ เสี่ยง.
[๒๔๐๕] เพราะเหตุนั้นแล บุคคลไม่พึงประทุษร้ายต่อมิตร เพราะผู้ประทุษร้าย ต่อมิตรเป็นคนเลวทรามที่สุด จะหาคนอื่นที่เลวกว่าเป็นไม่มี ชีเปลือย ถูกอสรพิษกำจัดในแผ่นดิน ทั้งที่ได้ปฏิญาณว่าเรามีสังวร ก็ได้ถูกทำลาย แล้วด้วยถ้อยคำของนาคราช

จบ ปัณฑรกชาดกที่ ๘.

๙. สัมพุลาชาดก ว่าด้วยความซื่อสัตย์ของนางสัมพุลา


[๒๔๐๖] ดูกรนางผู้มีลำขาอันอวบอิ่ม เธอเป็นใครมายืนสั่นอยู่ผู้เดียวที่ลำธารเขา ดูกรนางผู้มีกลางตัวอันน่าลูบคลำด้วยฝ่ามือ เราถามท่านแล้ว จงบอกชื่อ และเผ่าพันธุ์แก่เรา. ดูกรนางผู้มีเอวอันกลมกลึง ท่านเป็นใคร หรือว่า เป็นลูกเมียของใคร เป็นผู้งดงามทำให้ป่าน่ารื่นรมย์ เป็นที่อยู่อาศัยแห่ง สีหะและเสือโคร่ง สว่างไสวอยู่ ดูกรนางผู้เจริญ เราคืออสูรตนหนึ่ง ขอไหว้ท่าน ขอความนอบน้อมจงมีแก่ท่าน.
[๒๔๐๗] คนทั้งหลายรู้จักโอรสของพระเจ้ากาสีว่า มีนามโสตถิเสนกุมาร เราชื่อ สัมพุลาเป็นชายาของโสตถิเสนกุมารนั้น ข้าแต่อสูร ท่านจงรู้อย่างนี้ ดูกรท่านผู้เจริญ เราชื่อสัมพุลาขอไหว้ท่าน ขอความนอบน้อมจงมีแก่ท่าน ดูกรท่านผู้เจริญ พระโอรสของพระเจ้าวิเทหราชเดือดร้อนอยู่ในป่า เรามา พยาบาลเธอผู้ถูกโรคเบียดเบียนอยู่ตัวต่อตัว เราเที่ยวแสวงหารวงผึ้งและ เนื้อมฤค เราหาอาหารอย่างใดไป พระสวามีของเราก็ได้เสวยอาหาร อย่างนั้น วันนี้ เธอคงจะหิวเป็นแน่.
[๒๔๐๘] ดูกรนางสัมพุลา เธอจักทำประโยชน์อะไรด้วยราชบุตรผู้เดือดร้อนที่เธอ บำเรออยู่ในป่า เราจะเป็นผัวของเธอ. ดูกรท่านผู้เจริญ รูปของเราผู้อาดูรด้วยความโศก เป็นอัตภาพยากไร้ จะงดงามอะไร ขอท่านจงแสวงหาหญิงอื่นที่มีรูปร่างงามกว่าเราเถิด. มาเถิดเธอ เชิญขึ้นยังภูเขานี้ เธอจงเป็นใหญ่กว่าภรรยา ๔๐๐ คนของเรา จะสำเร็จความประสงค์ทุกอย่าง ดูกรนางผู้มีผิวพรรณเปล่งปลั่งดังดวงดาว เธอปรารถนาสิ่งใดสิ่งหนึ่งในใจมิใช่หรือ สิ่งนั้นของเรามีทุกอย่างมากมาย เชิญมารื่นรมย์กับเราในวันนี้เถิด ดูกรนางสัมพุลา ถ้าเธอจักไม่ยอมเป็น ภรรยาเรา เธอก็จักต้องเป็นภักษาหารของเราในเวลาเช้าพรุ่งนี้เป็น แม่นมั่น ครั้นอสูรผู้มีชฎา ๗ ชั้น หยาบช้า เขี้ยวออกนอกปาก กินคนเป็นอาหาร ได้จับแขนนางสัมพุลาผู้มองไม่เห็นที่พึ่งในป่า. นางสัมพุลาถูกปีศาจ ผู้หยาบช้ามุ่งอามิสครอบงำแล้ว ต้องตกอยู่ในอำนาจของศัตรู เศร้าโศก ถึงพระสวามีเท่านั้น. รำพันว่า แม้ยักษ์จะพึงกินเราเสีย เราก็ไม่มีความ ทุกข์ ทุกข์อยู่แต่ว่าพระหฤทัยของทูลกระหม่อม ของเราจักทรงเคลือบ แคลงเป็นอย่างอื่นไป. เทพเจ้าทั้งหลายคงจะไม่มีอยู่แน่นอน ท้าวโลกบาล ก็คงไม่มีในโลกนี้เป็นแน่ เมื่อยักษ์ผู้ไม่สำรวมทำด้วยอาการหยาบช้า จะหาผู้ช่วยห้ามกันไม่มีเลย.
[๒๔๐๙] หญิงนี้ประเสริฐกว่าหญิงทั้งหลาย สงบเสงี่ยมเรียบร้อยมีเดชฟุ้งเฟื่อง ดุจไฟ แน่ะรากษส ถ้าเจ้าจะกินนางนี้ ศีรษะของเจ้าจะแตกออก ๗ เสี่ยง เจ้าอย่าทำให้นางเดือดร้อน จงปล่อยไปเสีย เพราะนางเป็นหญิงปฏิบัติ สามี.
[๒๔๑๐] พระนางสัมพุลานั้นหลุดพ้นแล้วจากยักษ์กินคน กลับมาสู่อาศรม ดุจแม่ นกซึ่งมีลูกอ่อนเป็นอันตรายบินมายังรัง หรือดังแม่โคนมมายังที่อยู่อันว่าง เปล่าจากลูกน้อย ฉะนั้นพระนางสัมพุลาราชบุตรผู้มียศ เมื่อไม่เห็นพระ สวามีผู้เป็นที่พึ่งในป่า ก็มีพระเนตรพร่าเพราะความร้อน ร่ำไห้อยู่ ณ ที่นั้น เมื่อไม่พบพระราชสวามี พระนางก็วอนไหว้สมณพราหมณ์และฤาษี ทั้งหลายผู้สมบูรณ์ด้วยจรณะว่า ดิฉันขอถึงท่านทั้งหลายเป็นที่พึ่ง. เมื่อไม่ พบพระราชสวามี พระนางก็วอนไหว้ราชสีห์ เสือโคร่ง และหมู่มฤค เหล่าอื่นในป่าว่า ดิฉันขอถึงท่านทั้งหลายว่าเป็นที่พึ่ง. เมื่อไม่พบพระราช สวามี พระนางก็วอนไหว้เทพเจ้า อันเนาสถิตอยู่ที่กอหญ้าลดาชาติและที่ เนาอยู่ ณ ภูเขาราวไพร ตลอดถึงดวงดาวในอากาศว่า ดิฉันขอถึงท่าน ทั้งหลายเป็นที่พึ่ง. เมื่อไม่พบพระราชสวามี พระนางก็วอนไหว้เทพเจ้าผู้มี วรรณะเสมอดอกราชพฤกษ์ ผู้ยังดวงดาวให้รุ่งเรืองงามในราตรีว่า ดิฉัน ขอถึงท่านเป็นที่พึ่ง. เมื่อไม่พบพระราชสวามี พระนางก็วอนไหว้เทพเจ้าอันเนาสถิตอยู่ ณ แม่ น้ำคงคาชื่อภคีรสี อันเป็นที่รับรองแม่น้ำอื่นว่า ดิฉันขอถึงท่านเป็นที่พึ่ง. เมื่อไม่พบพระราชสวามี ดิฉันขอวอนไหว้เทพเจ้าซึ่งสถิตอยู่ ณ ขุนเขา หิมวันต์ อันล้วนแล้วไปด้วยหินว่า ดิฉันขอถึงท่านเป็นที่พึ่ง.
[๒๔๑๑] ดูกรพระราชบุตรีผู้มียศ เธอมาเสียจนค่ำทีเดียวหนอ วันนี้เธอมากับใคร เล่า ใครเป็นที่รักของเจ้ายิ่งกว่าเรา.
[๒๔๑๒] หม่อมฉันถูกศัตรูมันจับไว้ ได้กล่าวคำนี้ว่า ถึงยักษ์จะกินเราเสีย เราก็ ไม่มีความทุกข์ ทุกข์แต่ว่าพระหฤทัยของทูลกระหม่อมของเราจะเคลือบ แคลงเป็นอย่างอื่นไป.
[๒๔๑๓] ความสัตย์ยากที่จะหาได้ในหญิงโจรผู้มีเล่ห์เหลี่ยมมากมาย ความเป็นไป ของหญิงทั้งหลายรู้ได้ยาก เหมือนความเป็นไปของปลาในน้ำฉะนั้น.
[๒๔๑๔] ถ้าความสัตย์ที่หม่อมฉันไม่รู้สึกว่า รักชายอื่นยิ่งกว่าทูลกระหม่อม เป็น ความจริง ขอจงช่วยพิทักษ์รักษาหม่อมฉัน ด้วยสัจวาจานี้ ขอพยาธิของ ทูลกระหม่อมจงระงับหาย.
[๒๔๑๕] แน่ะนางผู้เจริญ กุญชรสูงใหญ่มีมากมายถึง ๗๐๐ มีพลโยธาถืออาวุธขี่ ประจำ คอยพิทักษ์รักษาอยู่ทั้งกลางวันและกลางคืน และพลโยธาที่ถือ ธนูก็มีถึง ๑,๖๐๐ พิทักษ์รักษาอยู่ เธอเห็นศัตรูชนิดไหน?
[๒๔๑๖] ข้าแต่พระราชบิดา เมื่อก่อนพระลูกเจ้าทรงประพฤติแก่หม่อมฉันอย่างไร เดี๋ยวนี้หาเป็นอย่างนั้นไม่ เพราะได้ทรงเห็นสนมนารีผู้ประดับตบแต่งมี ผิวพรรณดุจเกสรบัว มีร่างกายอันอ้อนแอ้น เสียงเพราะดังหงส์ และ เพราะได้ทรงฟังเสียงแย้มหัวและขับกล่อมประโคมของสนมนารีเหล่านั้น. ข้าแต่พระราชบิดา สนมนารีเหล่านั้น ทรงเครื่องประดับล้วนทองคำ มีร่างกายเฉิดโฉม ประดับด้วยเครื่องอลังการนานาชนิดดังสาวสวรรค์ใน มนุษย์ เป็นที่โปรดปรานของพระเจ้าโสตถิเสนะ มีทรวดทรงหาที่ติมิได้ ล้วนเป็นขัตติยกัญญา มาประเล้าประโลมพระเจ้าโสตถิเสนะนั้นอยู่. ข้าแต่พระราชบิดา ถ้าพระเจ้าโสตถิเสนะยกย่องหม่อมฉัน ดังที่หม่อม ฉันเคยเที่ยวแสวงหาผลาผลในป่า มาเลี้ยงดูพระราชสวามีในกาลก่อนอีก ไม่ทรงดูหมิ่นหม่อมฉันไซร้ จะประเสริฐกว่าราชสมบัติในพระนคร พาราณสีนี้. หญิงใดอยู่ในเรือนอันมีข้าวน้ำไพบูลย์ ตกแต่งไว้เรียบร้อย มีเครื่องอาภรณ์อันวิจิตรประดับประดา แม้จะเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยคุณสมบัติ ทุกอย่าง แต่ไม่เป็นที่รักของสามี คอยแต่ประหัตประหาร ความตาย ของหญิงนั้นประเสริฐกว่าการอยู่ครองเรือน. ถ้าแม้หญิงใดเป็นหญิง เข็ญใจไร้เครื่องประดับ มีเสื่อลำแพนเป็นที่นอน แต่เป็นที่รักของสามี หญิงนั้นประเสริฐเสียกว่าหญิงผู้เพรียบพร้อมด้วยคุณสมบัติทุกอย่าง แต่ ไม่เป็นที่รักของสามี.
[๒๔๑๗] ภรรยาผู้เกื้อกูลต่อสามี เป็นหญิงหาได้แสนยาก สามีผู้เกื้อกูลต่อภรรยา ก็หาได้แสนยาก ดูกรเจ้าผู้จอมชน มเหสีของเจ้าเป็นผู้เกื้อกูลเจ้าด้วย มีศีลด้วย เพราะฉะนั้น เจ้าจงประพฤติธรรมต่อนางสัมพุลา.
[๒๔๑๘] ดูกรแม่สัมพุลาผู้เจริญ ถ้าเจ้าได้โภคสมบัติอันไพบูลย์แล้ว แต่มีความหึง หวงครอบงำจนจะถึงมรณะไซร้ พี่และนางราชกัญญาทั้งหมดนี้ จะทำตาม คำของเจ้า.

จบ สัมพุลาชาดกที่ ๙.

๑๐. ภัณฑุติณฑุกชาดก พระราชาทรงออกสดับฟังข่าวชาวเมือง


[๒๔๑๙] ความไม่ประมาทเป็นทางไม่ตาย ความประมาทเป็นทางแห่งความตาย ผู้ไม่ประมาทย่อมไม่ตาย คนประมาทเป็นเหมือนคนตายแล้ว. เพราะ มัวเมาจึงเกิดความประมาท เพราะความประมาทจึงเกิดความเสื่อม เพราะ ความเสื่อมจึงเกิดโทษ ดูกรท่านผู้มีภาระครอบครองของรัฐ อย่าได้ประมาท เลย. เพราะกษัตริย์เป็นอันมากผู้มีความประมาท ต้องเสื่อมประโยชน์ และรัฐ อนึ่ง ชาวบ้านมีความประมาท ก็เสื่อมจากบ้าน บรรพชิตมีความ ประมาทก็เสื่อมจากอนาคาริยวิสัย. ดูกรพระองค์ผู้เป็นมิ่งขวัญของรัฐ โภคสมบัติทุกอย่างในแว่นแคว้นของกษัตริย์ผู้ประมาทแล้ว ย่อมพินาศ หมด ข้อนั้นท่านกล่าวว่าเป็นความทุกข์ของพระราชา. ดูกรพระมหาราชา ความประมาทนี้ไม่เป็นธรรมของโบราณกษัตริย์ โจรทั้งหลายย่อมกำจัด ชนบทอันบริบูรณ์มั่งคั่ง ของพระราชาผู้ประมาทเกินขอบเขต. พระโอรส ของพระองค์ก็จักไม่มี เงินทองทรัพย์สินก็จักไม่มีเหมือนกัน เมื่อรัฐ ถูกปล้น พระองค์ก็ย่อมเสื่อมจากโภคสมบัติทุกอย่าง ญาติมิตรและสหาย ย่อมไม่นับถือขัตติยราชผู้เสื่อมจากสรรพโภคสมบัติ ในความคิดอ่าน พลช้าง พลม้า พลรถ และพลเดินเท้า ผู้พึ่งโพธิสมภารเป็นอยู่ ย่อมไม่ นับถือในความคิดอ่าน ศิริย่อมละพระราชาผู้ไม่จัดแจงการงาน โง่เขลา มีความคิดอ่านเลวทรามไร้ปัญญาเหมือนงูลอกคราบเก่าออก ฉะนั้น พระ ราชาผู้จัดการงานด้วยหมั่นขยันตามกาล ไม่เกียจคร้าน โภคสมบัติทั้งปวง ย่อมเจริญยิ่งขึ้น เหมือนฝูงโคที่มีโคผู้ฉะนั้น ดูกรพระมหาราชา พระองค์ จงเสด็จเที่ยวฟังเหตุการณ์ในแว่นแคว้น และในชนบท ครั้นได้ทอด พระเนตรเห็นและได้ทรงสดับแล้วแต่นั้นจึงทรงปฏิบัติราชกิจนั้นๆ เถิด.
[๒๔๒๐] ขอให้พระเจ้าปัญจาลราชจงถูกลูกศรเสียบในสงคราม เสวยทุกขเวทนา เหมือนเราถูกหนามแทงแล้ว เสวยทุกขเวทนาอยู่ในวันนี้.
[๒๔๒๑] ท่านเป็นคนแก่ มีจักษุมืดมัว มองเห็นอะไรไม่ถนัด หนามแทงท่านเอง ในเรื่องนี้พระเจ้าพรหมทัตต์มีความผิดอะไรด้วย.
[๒๔๒๒] ดูกรพราหมณ์ เราถูกหนามแทงในหนทางนี้เป็นความผิดของพระเจ้า พรหมทัตต์มากมายเพราะชาวชนบท พระเจ้าพรหมทัตต์มิได้ทรงพิทักษ์ รักษา ถูกพวกราชบุรุษกดขี่ด้วยพลีอันไม่ชอบธรรม กลางคืนถูกโจร ปล้น กลางวันถูกราชบุรุษกดขี่ด้วยพลีอันไม่ชอบธรรม ในแคว้นของ พระราชาโกง มีคนอธรรมมากมาย พ่อเอ๋ย เมื่อภัยเช่นนี้เกิดขึ้น มนุษย์ทั้งหลายอึดอัดเพราะกลัว พากันหาไม้มีหนามในป่ามาทำที่ซุกซ่อน
[๒๔๒๓] ในแคว้นของพระเจ้าพรหมทัตต์ หญิงสาวหาผัวไม่ได้ไปจนแก่ เมื่อไร พระเจ้าพรหมทัตต์ จักสวรรคตเสียที.
[๒๔๒๔] แน่ะยายคนชั่วผู้ไม่ฉลาดในเหตุ แกพูดไม่ดีเลย พระราชาทรงหาผัวให้ นางกุมาริกา ที่ไหนกัน.
[๒๔๒๕] ดูกรพราหมณ์ เราไม่ได้พูดไม่ดี เราฉลาดในเหตุผล เพราะชาวชนบท พระเจ้าพรหมทัตต์ มิได้ทรงพิทักษ์รักษา ถูกกดขี่ด้วยพลีอันไม่ชอบธรรม กลางคืนถูกโจรปล้น กลางวันถูกราชบุรุษกดขี่ด้วยพลีอันไม่ชอบธรรม ในแคว้นของพระราชาโกง มีคนอาธรรม์มากมาย เมื่อการครองชีพลำบาก การเลี้ยงดูลูกเมียก็ลำบาก หญิงสาวจักมีผัวได้ที่ไหน?
[๒๔๒๖] ขอให้พระเจ้าปัญจาลราช จงถูกหอกแทงต้องนอนกลิ้งอยู่ในสงคราม เหมือนโคสาลิยะ ถูกผาลแทงนอนอยู่ดังคนกำพร้าฉะนั้น.
[๒๔๒๗] เจ้าคนชาติชั่ว เจ้าโกรธพระเจ้าพรหมทัตต์ โดยไม่เป็นธรรม เจ้าทำร้าย โคของตนเอง ไฉนจึงมาสาปแช่งพระราชาเล่า.
[๒๔๒๘] ดูกรพราหมณ์ เราโกรธพระเจ้าพรหมทัตต์ โดยชอบธรรมเพราะชาวชนบท พระเจ้าพรหมทัตต์มิได้ทรงพิทักษ์รักษา ถูกราชบุรุษกดขี่ด้วยพลีอันไม่ ชอบธรรม กลางคืนถูกโจรปล้น กลางวันถูกกดขี่ด้วยพลีอันไม่ชอบธรรม ในแคว้นของพระราชาโกง มีคนอธรรมมากมาย แม่ครัวคงหุงต้มใหม่ อีกเป็นแน่ จึงนำข้าวมาส่งในเวลาสาย เรามัวแลดูแม่ครัวมาสั่งข้าวอยู่ โคสาลิยะจึงถูกผาลแทงเอา.
[๒๔๒๙] ขอให้พระเจ้าปัญจาลราช จงถูกฟันด้วยดาบในสงคราม เดือดร้อนอยู่ เหมือนเราถูกแม่โค ถีบในวันนี้จนนมสดของเราหกไปฉะนั้น.
[๒๔๓๐] การที่แม่โคถีบเจ้าให้บาดเจ็บ น้ำนมหกไปนั้น เป็นความผิดอะไรของ พระเจ้าพรหมทัตต์ ท่านจึงติเตียนอยู่.
[๒๔๓๑] ดูกรพราหมณ์ พระเจ้าปัญจาลราชควรได้รับความติเตียน เพราะชาวชนบท พระเจ้าพรหมทัตต์ ไม่ได้ทรงพิทักษ์รักษาถูกราชบุรุษกดขี่ด้วยพลีอันไม่ ชอบธรรม กลางคืนถูกโจรปล้น กลางวันถูกราชบุรุษกดขี่ด้วยพลีอันไม่ ชอบธรรม ในแคว้นของพระราชาโกง มีคนอธรรมมากมาย แม่โคเปรียว ดุร้ายเมื่อก่อนเราไม่ได้รีดนมมัน มาวันนี้ เราถูกพวกราชบุรุษผู้ต้องการ น้ำนมประทุษร้าย จึงต้องรีดนมมันอยู่เดี๋ยวนี้.
[๒๔๓๒] ขอให้พระเจ้าปัญจาลราชจงพลัดพรากจากโอรส วิ่งคร่ำครวญอยู่ เหมือน แม่โคกำพร้า พลัดพรากจากลูกวิ่งคร่ำครวญอยู่ฉะนั้น.
[๒๔๓๓] ในการที่แม่โคของคนเลี้ยงโคเที่ยววิ่งไปมา หรือร่ำร้องอยู่นี้ เป็นความผิด อะไรของพระเจ้าพรหมทัตต์เล่า.
[๒๔๓๔] ดูกรมหาพราหมณ์ ความผิดของพระเจ้าพรหมทัตต์มีซิ เพราะชาวชนบท พระเจ้าพรหมทัตต์มิได้ทรงพิทักษ์รักษา ถูกราชบุรุษกดขี่ด้วยพลีอันไม่ ชอบธรรม กลางคืนถูกโจรปล้น กลางวันถูกกดขี่ด้วยพลีอันไม่ชอบธรรม ในแคว้นของพระราชาโกง มีคนอธรรมมากมาย ลูกโคของพวกเรายังดื่ม นมอยู่ ก็ต้องถูกฆ่าตายเพราะต้องการฝักดาบ นั่นอย่างไร.
[๒๔๓๕] ขอให้พระเจ้าปัญจาลราชพร้อมด้วยราชโอรส ถูกประหารในสนามรบ ฝูงการุมจิกกินเหมือนเราผู้เกิดในป่าถูกฝูงกาชาวบ้านจิกกินในวันนี้ฉะนั้น.
[๒๔๓๖] เฮ้ยกบ พระราชาทั้งหลายในมนุษยโลก จะทรงจัดการพิทักษ์รักษาสัตว์ ทั่วไปไม่ได้อยู่เอง พระราชาไม่ชื่อว่าไม่ทรงประพฤติธรรม ด้วยเหตุที่ พวกกากินสัตว์เป็นเช่นพวกเจ้าเท่านั้น.
[๒๔๓๗] ท่านเป็นพรหมจารีชาติอธรรมหนอ จึงกล่าวสรรเสริญกษัตริย์อยู่ได้ เมื่อประชากรเป็นอันมากถูกปล้นอยู่ ท่านยังบูชาพระราชา ผู้เป็นที่น่า ติเตียนอย่างยิ่ง ดูกรพราหมณ์ ถ้าแว่นแคว้นนี้พึงมีพระราชาดี ก็จะมั่งคั่ง เบิกบานผ่องใส ฝูงกาก็จะได้กินก้อนข้าวที่ดีๆ เป็นพลี ไม่ต้องกินสัตว์ เป็นเช่นพวกเรา.

จบ ภัณฑุติณฑุกชาดกที่ ๑๐.

__________________ รวมชาดกที่มีในวรรคนี้ คือ ๑. กิงฉันทชาดก ๒. กุมภชาดก ๓. ชัยทิศชาดก ๔. ฉัททันตชาดก ๕. สัมภวชาดก ๖. มหากปิชาดก ๗. ทกรักขสชาดก ๘. ปัณฑรกชาดก ๙. สัมพุลาชาดก ๑๐. ภัณฑุติณฑกชาดก. จบ ติงสตินิบาตชาดก. _________________

จัตตาฬีสนิบาตชาดก

๑. เตสกุณชาดก ว่าด้วยนกตอบปัญหาพระราชา


[๒๔๓๘] เราขอถามเจ้าเวสสันดร ดูกรนก ขอความเจริญจงมีแก่เจ้า กิจอะไรที่ บุคคลผู้ประสงค์เสวยราชสมบัติกระทำแล้ว เป็นกิจประเสริฐ?
[๒๔๓๙] นานนักหนอ พระเจ้ากังสราชพระบิดาเรา ผู้ทรงสงเคราะห์ชาวเมือง พาราณสี เป็นผู้ประมาท ได้ตรัสถามเราผู้บุตรซึ่งหาความประมาทมิได้.
[๒๔๔๐] ข้าแต่บรมกษัตริย์ ธรรมดาพระราชาควรทรงห้ามมุสาวาท ความโกรธ และความร่าเริงก่อนทีเดียว แต่นั้นพึงรับสั่งให้กระทำกิจทั้งหลาย คำที่ ข้าพระพุทธเจ้ากล่าวมานั้นนักปราชญ์ทั้งหลายกล่าวว่า เป็นวัตรของพระ ราชา. ข้าแต่พระบิดา เมื่อก่อนพระองค์ทรงรักใคร่และเกลียดชังแล้ว พึงทรงทำกรรมใดกรรมนั้นที่พระองค์ทำแล้ว พึงยังพระองค์ให้เดือดร้อน โดยไม่ต้องสงสัย แต่นั้นพระองค์ไม่ควรทรงกระทำกรรมนั้นอีก. ข้าแต่ พระองค์ผู้ทรงบำรุงรัฐ เมื่อกษัตริย์ประมาทแล้ว โภคสมบัติทุกอย่าง ในแว่นแคว้นย่อมพินาศ ข้อนั้นนักปราชญ์กล่าวว่าเป็นความทุกข์ของ พระราชา. ข้าแต่พระบิดา เทพธิดาชื่อศิริ และชื่อลักขีถูกสูจิบริวาร เศรษฐีถามได้ตอบว่า ข้าพเจ้าย่อมยินดีในบุรุษผู้มีความขยันหมั่นเพียร ไม่มีความริษยา. ข้าแต่พระมหาราชา คนกาลกรรณีผู้ทำลายจักร ย่อม ยินดีในบุรุษผู้ริษยา ผู้มีใจชั่ว ผู้ประทุษร้ายการงาน. ข้าแต่พระมหา ราชา พระองค์จงทรงเป็นผู้มีพระทัยดีต่อคนทั้งปวง จงทรงพิทักษ์รักษา คนทั้งปวง จงทรงบรรเทาเสียซึ่งคนไม่มีราศรี จงเป็นผู้มีคนที่มีราศรีเป็น ที่พึ่งเถิด. ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นใหญ่แห่งชนชาวกาสี บุรุษผู้มีราศรี สมบูรณ์ด้วยความเพียร มีอัธยาศัยใหญ่ ย่อมตัดโคน และยอดของศัตรู ทั้งหลายได้. ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นใหญ่ของประชาชน จริงอยู่ ถึงท้าว สักกะก็ไม่ทรงประมาทในความหมั่นเพียร ท้าวเธอทรงทำความเพียรใน กัลยาณธรรม ทำพระทัยในความหมั่นเพียร. คนธรรพ์ พรหม เทวดา เป็นผู้เป็นอยู่ อาศัยพระราชาเช่นนั้น เมื่อพระราชาทรงอุตสาหะ ไม่ ทรงประมาท เทวดาทั้งหลายย่อมคุ้มครองป้องกัน. ข้าแต่พระบิดา พระองค์จงทรงเป็นผู้ไม่ประมาท ไม่ทรงพระพิโรธแล้ว รับสั่งให้ทำกิจ ทั้งหลาย จงทรงพยายามในกิจทั้งหลาย เพราะคนเกียจคร้าน ย่อมไม่ พบความสุข. ข้อความที่ข้าพระองค์กล่าวแก้แล้วในปัญหาของพระองค์ นั้น ข้อนี้เป็นอนุศาสนี สามารถยังผู้เป็นมิตรให้ถึงความสุข และยัง คนผู้นั้นเป็นศัตรูให้ถึงความทุกข์ได้.
[๒๔๔๑] ดูกรนางนกกุณฑลินี ผู้เป็นเผ่าพันธุ์ของนกมีบรรดาศักดิ์ เจ้าสามารถละ หรือ เจ้าจะเข้าใจได้หรือ กิจอะไร เล่าที่ผู้มุ่งจะครอบครองสมบัติกระทำ แล้วเป็นกิจประเสริฐ?
[๒๔๔๒] ข้าแต่พระบิดา ประโยชน์ทั้งปวงตั้งมั่นอยู่ในเหตุ ๒ ประการเท่านั้น คือ ความได้ลาภที่ยังไม่ได้ ๑ การตามรักษาลาภที่ได้แล้ว ๑. พระองค์จงทรง ทราบอำมาตย์ทั้งหลายผู้เป็นนักปราชญ์ ฉลาดในประโยชน์ ไม่แพร่ง พรายความลับ ไม่เป็นนักเลงสุรา ไม่ทำให้เสื่อมเสีย. อำมาตย์ผู้ใด พึงรักษาพระราชทรัพย์ของพระองค์ให้มีคงที่อยู่ได้ ดุจนายสารถียึดรถ ไว้ พระองค์ควรทรงใช้อำมาตย์ผู้นั้น ให้กระทำกิจทั้งหลายของพระองค์ พระราชาพึงเป็นผู้มีอันโตชนอันสงเคราะห์ดีแล้ว พึงตรวจตราพระราช ทรัพย์ด้วยพระองค์เอง ไม่ควรจัดการทรัพย์และการกู้หนี้ โดยทรงไว้ วางพระทัยในคนอื่น. ควรทรงทราบรายได้รายจ่ายด้วยพระองค์เอง ควร ทรงทราบกิจที่ทำแล้วและยังไม่ทำด้วยพระองค์เอง ควรข่มคนที่ควรข่ม ยกย่องคนที่ควรยกย่อง. ข้าแต่พระองค์ผู้จอมพลรถ พระองค์จงทรง พร่ำสอนเหตุผล แก่ชาวชนบทเอง เจ้าหน้าที่ผู้เก็บภาษีอากร ผู้ไม่ ประกอบด้วยธรรม อย่ายังพระราชทรัพย์และรัฐสีมาของพระองค์ให้ พินาศ. อนึ่ง พระองค์อย่าทรงทำเอง หรืออย่าทรงใช้คนอื่นให้ทำกิจ ทั้งหลายโดยฉับพลัน เพราะว่าการงานที่ทำลงไปโดยฉับพลัน ไม่ดีเลย คนเขลาย่อมเดือดร้อนในภายหลัง. พระองค์อย่าทรงล่วงเลยกุศล อย่า ทรงปล่อยพระทัยให้เกรี้ยวกราดนัก เพราะว่าสกุลที่มั่นคงเป็นอันมาก ได้ถึงความไม่เป็นสกุลเพราะความโกรธ. พระองค์อย่าทรงนึกว่าเราเป็น ใหญ่ แล้วยังมหาชนให้หยั่งลงเพื่อความฉิบหาย กำไรคือความทุกข์อย่า ได้มีแก่หญิงและชายของพระองค์เลย. โภคสมบัติทั้งปวงของพระราชา ผู้ปราศจากความหวาดเสียว แส่หากามารมณ์ ย่อมพินาศหมด ข้อนั้น นักปราชญ์ทั้งหลายกล่าวว่าเป็นความทุกข์ของพระราชา. ข้อความที่หม่อม ฉันกราบทูลในปัญหาของพระองค์นั้น เป็นวัตตบท นี่แหละเป็น อนุศาสนี ข้าแต่พระมหาราชา บัดนี้ พระองค์ยังทรงขยันบำเพ็ญกุศล ไม่ทรงเป็นนักเลง ไม่ทรงทำให้ราชทรัพย์ให้พินาศ จงทรงศีล เพราะว่า คนทุศีลย่อมตกนรก.
[๒๔๔๓] พ่อชัมพุกะ พ่อได้ถามปัญหากะเจ้าโกสิยโคตรและเจ้ากุณฑลินีมาเช่น เดียวกันแล้ว บัดนี้ เจ้าจงบอกกำลังอันอุดมกว่ากำลังทั้งหลาย.
[๒๔๔๔] กำลังในบุรุษผู้มีอัธยาศัยใหญ่ในโลกนี้มี ๕ ประการ ในกำลัง ๕ ประการ นั้น กำลังแขน บัณฑิตกล่าวว่าเป็นกำลังต่ำทราม ข้าแต่พระองค์ผู้ทรง เจริญพระชนม์ กำลังโภคทรัพย์ บัณฑิตกล่าวว่าเป็นกำลังที่ ๒. กำลัง อำมาตย์ บัณฑิตกล่าวว่าเป็นกำลังที่ ๓ กำลังคือมีชาติยิ่งใหญ่เป็น กำลังที่ ๔ โดยแท้ บัณฑิตย่อมยึดเอากำลังทั้งหมดนี้ไว้ได้. กำลังปัญญา บัณฑิตกล่าวว่าเป็นกำลังประเสริฐ ยอดเยี่ยมกว่ากำลังทั้งหลาย เพราะ ว่าบัณฑิตอันกำลังปัญญาสนับสนุนแล้ว ย่อมได้ความเจริญ. ถ้าบุคคลมี ปัญญาทราม แม้ได้แผ่นดินอันสมบูรณ์ เมื่อเขาไม่ปรารถนา คนอื่นผู้ถึง พร้อมด้วยปัญญา ก็ข่มขี่แย่งเอาแผ่นดินนั้นเสีย. ข้าแต่พระจอมแห่งชน ชาวกาสี ถ้าบุคคลแม้เป็นผู้มีชาติสูง ได้ราชสมบัติแล้วเป็นกษัตริย์ แต่ มีปัญญาทราม หาเป็นอยู่ด้วยราชสมบัติทุกอย่างได้ไม่. ปัญญาเป็นเครื่อง วินิจฉัยข้อความที่ได้ศึกษาเล่าเรียนมา ปัญญาเป็นเครื่องเพิ่มพูนเกียรติคุณ และชื่อเสียง คนในโลกนี้ประกอบด้วยปัญญาแล้ว แม้เมื่อทุกข์เกิดขึ้น ก็ย่อมได้รับสุข. ก็คนบางคนไม่ตั้งใจฟังด้วยดี ไม่อาศัยผู้เป็นพหูสูต ผู้ตั้ง อยู่ในธรรม ไม่พิจารณาเหตุผล ย่อมไม่ได้บรรลุปัญญาแล อนึ่ง ผู้ใดรู้ จักจำแนกธรรม ลุกขึ้นในเวลาเช้า ไม่เกียจคร้าน ย่อมบากบั่นตามกาล ผลการงานของผู้นั้นย่อมสำเร็จประโยชน์แห่งการงานของบุคคลผู้มีศีล มิใช่บ่อเกิด ผู้คบหาบุคคลที่มิใช่บ่อเกิด (ลาภยศสุข) ผู้มีปกติเบื่อหน่าย ทำการงาน ย่อมไม่เผล็ดผลโดยชอบ. ส่วนประโยชน์แห่งการงานของ บุคคลผู้ประกอบธรรมอันเป็นภายใน คบหาบุคคลที่เป็นบ่อเกิดอย่างนั้น ไม่มีปกติเบื่อหน่ายทำการงาน ย่อมเผล็ดผลโดยชอบ. ข้าแต่พระบิดา ขอพระองค์ทรงเสวนะปัญญา อันเป็นส่วนแห่งการประกอบความเพียร เป็นเครื่องตามรักษาทรัพย์ที่รวบรวมไว้ และเหตุ ๒ ประการข้างต้นที่ ข้าพระพุทธเจ้ากราบทูลแล้วนั้นเถิด อย่าได้ทรงทำลายทรัพย์เสียด้วยการ งานอันไม่สมควร เพราะคนมีปัญญาทราม ย่อมล่มจมด้วยการงานอันไม่ สมควร ดังเรือนไม้อ้อฉะนั้น.
[๒๔๔๕] ข้าแต่พระมหาราชา ขอพระองค์จงทรงประพฤติธรรม ในพระราชมารดา พระราชบิดา ครั้นทรงประพฤติธรรมในโลกนี้แล้ว จักเสด็จสู่สวรรค์. ขอพระองค์จงทรงประพฤติธรรมในพระราชโอรสและพระอัครมเหสี ครั้น ทรงประพฤติธรรมในโลกนี้แล้ว จักเสด็จสู่สวรรค์. ขอพระองค์จงทรง ประพฤติธรรมในมิตรและอำมาตย์ ครั้นทรงประพฤติธรรมในโลกนี้แล้ว จักเสด็จสู่สวรรค์. ขอพระองค์จงทรงประพฤติธรรมในพาหนะและพล นิกาย ครั้นทรงประพฤติธรรมในโลกนี้แล้ว จักเสด็จสู่สวรรค์. ขอพระองค์ จงทรงประพฤติธรรมในชาวบ้านและชาวนิคม ครั้นทรงประพฤติธรรมใน โลกนี้แล้วจัดเสด็จสู่สวรรค์. ขอพระองค์จงทรงประพฤติธรรมในสมณะ และพราหมณ์ทั้งหลาย ครั้นทรงประพฤติธรรมในโลกนี้แล้ว จักเสด็จสู่ สวรรค์. ขอพระองค์จงทรงประพฤติธรรมในเนื้อและนก ครั้นทรงประพฤติ ธรรมในโลกนี้แล้ว จักเสด็จสู่สวรรค์. ขอพระองค์จงทรงประพฤติธรรม เพราะธรรมที่บุคคลประพฤติแล้ว ย่อมนำความสุขมาให้ ครั้นพระองค์ ทรงประพฤติธรรมในโลกนี้แล้ว จักเสด็จสู่สวรรค์. ข้าแต่พระมหาราชา ขอพระองค์ทรงประพฤติธรรม เพราะว่าพระอินทร์ ทวยเทพพร้อมทั้ง พราหมณ์ ถึงทิพยสถานได้ด้วยธรรมอันตนประพฤติดีแล้ว ข้าแต่บรม กษัตริย์ ขอพระองค์อย่าทรงประมาทธรรมเลย. ข้อความที่ข้าพระองค์ กล่าวแล้วในปัญหาของพระองค์นั้นเป็นวัตตบท ข้อนี้แลเป็นอนุศาสนี ขอพระองค์จงทรงคบหาสมาคมกับผู้มีปัญญา จงมีคุณอันงามทรงทราบข้อ นั้นด้วยพระองค์แล้ว จงทรงปฏิบัติให้ครบถ้วนเถิด

จบ เตสกุณชาดกที่ ๑.

๒. สรภังคชาดก สรภังคดาบสเฉลยปัญหา


[๒๔๔๖] ท่านทั้งหลายผู้ประดับแล้ว สอดใส่กุณฑล นุ่งห่มผ้างดงาม เหน็บพระ ขรรค์มีด้ามประดับด้วยแก้วไพฑูรย์ และแก้วมุกดา เป็นจอมพลรถยืนอยู่ เป็นใครกันหนอ ชนทั้งหลายในมนุษยโลกจะรู้จักท่านทั้งหลายอย่างไร?
[๒๔๔๗] ข้าพเจ้าเป็นกษัตริย์ชื่อว่าอัฏฐกะ ส่วนท่านผู้นี้ คือ พระเจ้าภีมรถะ และท่านผู้นี้ คือพระเจ้ากาลิงคราช มีพระเดช ฟุ้งเฟื่อง ข้าพเจ้า ทั้งหลายมาในที่นี้ เพื่อเยี่ยมท่านฤาษีทั้งหลายผู้สำรวมด้วยดี และเพื่อจะ ขอถามปัญหา.
[๒๔๔๘] ท่านเหาะลอยอยู่ในอากาศเวหา ดังพระจันทร์ลอยเด่นอยู่ท่ามกลางท้อง ฟ้าในวัน ๑๕ ค่ำ ฉะนั้น ดูกรเทพเจ้า อาตมภาพขอถามท่านผู้มีอานุภาพ มาก ชนทั้งหลายในมนุษยโลกจะรู้จักท่านอย่างไร?
[๒๔๔๙] ในเทวโลกเขาเรียกข้าพเจ้าว่า สุชัมบดี ในมนุษยโลกเขาเรียกข้าพเจ้าว่า ท้าวมฆวา ข้าพเจ้านั้น คือ ท้าวเทวราช วันนี้มาถึงที่นี่ เพื่อขอเยี่ยม ท่านฤาษีทั้งหลายผู้สำรวมแล้วด้วยดี.
[๒๔๕๐] ฤาษีทั้งหลายของข้าพเจ้า ผู้มีฤทธิ์มาก ประกอบด้วยอิทธิคุณ มาประชุม พร้อมกันแล้ว ปรากฏไปในที่ไกล ข้าพเจ้ามีจิตเลื่อมใส ขอไหว้พระ คุณเจ้าทั้งหลาย ผู้ประเสริฐกว่ามนุษย์ในชีวโลกนี้.
[๒๔๕๑] กลิ่นแห่งฤาษีทั้งหลายผู้บวชมานาน ย่อมออกจากกายฟุ้งไปตามลมได้ ดูกรท้าวสหัสสเนตร เชิญมหาบพิตรถอยไปเสียจากที่นี่ ดูกรท้าวเทวราช กลิ่นของฤาษีทั้งหลายไม่สะอาด.
[๒๔๕๒] กลิ่นแห่งฤาษีทั้งหลายผู้บวชมานาน จงออกจากกายฟุ้งไปตามลมเถิด ข้าแต่พระคุณเจ้าผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลายย่อมมุ่งหวังกลิ่นนั้น ดังพวง บุปผาชาติอันวิจิตรมีกลิ่นหอม เพราะว่าเทวดาทั้งหลายมิได้มีความสำคัญ ในกลิ่นนี้ ว่าเป็นปฏิกูล.
[๒๔๕๓] ท้าวมฆวาฬสุชัมบดีเทวราช องค์ปุรินททะ ผู้เป็นใหญ่แห่งภูต มีพระ ยศ เป็นจอมแห่งทวยเทพ ทรงย่ำยีหมู่อสูร ทรงรอคอยโอกาส เพื่อ ตรัสถามปัญหา. บรรดาฤาษีผู้เป็นบัณฑิตเหล่านี้ ณ ที่นี้ ใครเล่าหนอ ถูกถามแล้วจักพยากรณ์ปัญหาอันสุขุม ของพระราชา ๓ พระองค์ผู้เป็น ใหญ่ในหมู่มนุษย์ และของท้าววาสวะผู้เป็นจอมแห่งทวยเทพได้?
[๒๔๕๔] ท่านสรภังคฤาษีผู้เรืองตบะนี้ เว้นจากเมถุนธรรมตั้งแต่เกิดมา เป็นบุตร ของปุโรหิตาจารย์ ได้รับฝึกฝนมาเป็นอย่างดี ท่านจักพยากรณ์ปัญหา ของพระราชาเหล่านั้นได้.
[๒๔๕๕] ข้าแต่ท่านโกณฑัญญะ ขอท่านได้โปรดพยากรณ์ปัญหา ฤาษีทั้งหลายผู้ยัง ประโยชน์ให้สำเร็จ พากันขอร้องท่าน ข้าแต่ท่านโกณฑัญญะ ภาระนี้ ย่อมมาถึงท่านผู้เจริญด้วยปัญญา นี่เป็นธรรมดาในหมู่มนุษย์.
[๒๔๕๖] มหาบพิตรผู้เจริญทั้งหลาย อาตมภาพให้โอกาสแล้ว เชิญตรัสถามปัญหา อย่างใดอย่างหนึ่ง ตามพระหฤทัยปรารถนาเถิด ก็อาตมภาพรู้โลกนี้และ โลกหน้าเองแล้ว จักพยากรณ์ปัญหานั้นๆ แก่มหาบพิตรทั้งหลาย.
[๒๔๕๗] ลำดับนั้น ท้าวมฆวาฬสักกเทวราชปุรินททะ ทรงเห็นประโยชน์ ได้ ตรัสตามปัญหาอันเป็นปฐม ดังที่พระทัยปรารถนาว่า บุคคลฆ่าซึ่งอะไรสิ จึงจะไม่เศร้าโศกในกาลไหนๆ ฤาษีทั้งหลาย ย่อมสรรเสริญการละ อะไรบุคคลพึงอดทนคำหยาบที่ใครๆ ในโลกนี้กล่าวแล้ว ข้าแต่ท่าน โกณฑัญญะ ขอท่านได้โปรดบอกความข้อนี้แก่โยมเถิด?
[๒๔๕๘] บุคคลฆ่าความโกรธได้แล้ว จึงจะไม่เศร้าโศกในกาลไหนๆ ฤาษีทั้งหลาย ย่อมสรรเสริญการละความลบหลู่ บุคคลควรอดทนคำหยาบที่ชนทั้งปวง กล่าว สัตบุรุษทั้งหลายกล่าวความอดทนนี้ว่าสูงสุด.
[๒๔๕๙] บุคคลอาจจะอดทนถ้อยคำของคนทั้ง ๒ พวกได้ คือ คนที่เสมอกัน ๑ คนที่ประเสริฐกว่าตน ๑ จะอดทนถ้อยคำของคนเลวกว่าได้อย่างไรหนอ ข้าแต่ท่านโกณฑัญญะ ขอท่านได้โปรดบอกความข้อนี้แก่โยมเถิด?
[๒๔๖๐] บุคคลพึงอดทนถ้อยคำของคนผู้ประเสริฐกว่าได้ เพราะความกลัว พึงอด ทนถ้อยคำของคนที่เสมอกันได้ เพราะการแข่งขันเป็นเหตุ ส่วนผู้ใดใน โลกนี้ พึงอดทนถ้อยคำของคนที่เลวกว่าได้ สัตบุรุษทั้งหลายกล่าวความ อดทนของผู้นั้นว่าสูงสุด.
[๒๔๖๑] ไฉนจึงจะรู้จักคนประเสริฐกว่า คนที่เสมอกัน หรือคนที่เลวกว่า ซึ่งมี สภาพอันอิริยาบถทั้ง ๔ ปกปิดไว้ เพราะว่าสัตบุรุษทั้งหลาย ย่อมเที่ยว ไปด้วยสภาพของคนชั่วได้ เพราะเหตุนั้นแล จึงควรอดทนถ้อยคำของคน ทั้งปวง.
[๒๔๖๒] สัตบุรุษผู้มีความอดทน พึงได้ผลคือความไม่มีการกระทบกระทั่ง เพราะ การสงบระงับเวร เสนาแม้มากพร้อมด้วยพระราชาเมื่อรบอยู่ จะพึงได้ ผลนั้นก็หามิได้ เวรทั้งหลายย่อมระงับด้วยกำลังแห่งขันติ.
[๒๔๖๓] กระผมขออนุโมทนาคำสุภาษิตของท่าน แต่จะขอถามปัญหาอื่นๆ กะท่าน ขอเชิญท่านกล่าวปัญหานั้น โดยมีพระราชา ๔ พระองค์ คือ พระเจ้า ทัณฑกี ๑ พระเจ้านาลิกีระ ๑ พระเจ้าอัชชุนะ ๑ พระเจ้ากลาพุ ๑ ขอ ท่านได้โปรดบอกคติของพระราชาเหล่านั้น ผู้มีบาปกรรมอันหนัก พระ ราชาทั้ง ๔ องค์นั้นเบียดเบียนฤาษีทั้งหลาย พากันบังเกิด ณ ที่ไหน?
[๒๔๖๔] พระเจ้าทัณฑกี ได้เรี่ยรายโทษลง ณ ท่านกีสวัจฉดาบสแล้ว เป็นผู้มีมูล อันขาดแล้ว พร้อมทั้งบริษัท พร้อมทั้งชาวแว่นแคว้น หมกไหม้อยู่ใน นรกชื่อกุกกูละ ถ่านเพลิงปราศจากเปลว ย่อมตกลงบนพระกายของ พระราชานั้น. พระเจ้านาลิกีระได้เบียดเบียนบรรพชิตทั้งหลายผู้สำรวม แล้ว ผู้กล่าวธรรมสงบระงับ ไม่ประทุษร้ายใคร สุนัขทั้งหลายในโลก หน้า ย่อมรุมกันกัดกินพระเจ้านาลิกีระนั้นผู้ดิ้นรนอยู่. อนึ่ง พระเจ้า อัชชุนะ พระเศียรปักพระบาทขึ้น ตกลงในสัตติสูลนรก เพราะเบียด เบียน อังคีรสฤาษีผู้โคดม ผู้มีขันติ มีตบะ ประพฤติพรหมจรรย์มานาน. พระเจ้ากลาพุได้ทรงเชือดเฉือนฤาษีชื่อขันติวาที ผู้สงบระงับ ไม่ประทุษ ร้ายให้เป็นท่อนๆ พระเจ้ากลาพุนั้น ได้บังเกิดหมกไหม้อยู่ในอเวจีนรก อันร้อนใหญ่ มีเวทนากล้า น่ากลัว. บัณฑิตได้ฟังนรกเหล่านี้ และนรก เหล่าอื่นอันชั่วช้ากว่านี้ในที่นี้แล้ว ควรประพฤติธรรมในสมณพราหมณ์ ทั้งหลาย ผู้กระทำอย่างนี้ ย่อมเข้าถึงแดนสวรรค์.
[๒๔๖๕] กระผมขออนุโมทนาคำสุภาษิตของท่าน ขอถามปัญหาข้ออื่นกะท่าน ขอ เชิญท่านกล่าวปัญหานั้น บัณฑิตเรียกคนเช่นไรว่ามีศีล เรียกคนเช่นไร ว่ามีปัญญา เรียกคนเช่นไรว่าสัตบุรุษ ศิริย่อมไม่ละคนเช่นไรหนอ?
[๒๔๖๖] ผู้ใดในโลกนี้ เป็นผู้สำรวมด้วยกาย วาจาและใจ ไม่ทำบาปกรรมอะไรๆ ไม่พูดพร่อยๆ เพราะเหตุแห่งตน บัณฑิตเรียกคนเช่นนั้นว่ามีศีล. ผู้ใด คิดปัญหาอันลึกซึ้งได้ด้วยใจ ไม่ทำกรรมอันหยาบช้าอันหาประโยชน์มิได้ ไม่ละทิ้งทางแห่งประโยชน์อันมาถึงตามกาล บัณฑิตเรียกคนเช่นนั้นว่ามี ปัญญา. ผู้ใดแล เป็นคนกตัญญูกตเวที มีปัญญา มีกัลยาณมิตร และมี ความภักดีมั่นคง ช่วยทำกิจของมิตรผู้ตกยากโดยเต็มใจ บัณฑิตเรียก คนเช่นนั้นว่าสัตบุรุษ. ผู้ใดประกอบด้วยคุณธรรมทั้งปวงเหล่านี้ คือ เป็นผู้มีศรัทธา อ่อนโยน แจกทานด้วยดี รู้ความประสงค์ ศิริย่อมไม่ ละคนเช่นนั้น ผู้สงเคราะห์ มีวาจาอ่อนหวาน สละสลวย.
[๒๔๖๗] กระผมขออนุโมทนาคำสุภาษิตของท่าน ขอถามปัญหาข้ออื่นกะท่าน ขอ เชิญท่านกล่าวปัญหานั้น นักปราชญ์ย่อมกล่าวศีล ศิริ ธรรม ของสัตบุรุษ และปัญญา ว่าข้อไหนประเสริฐกว่ากัน?
[๒๔๖๘] ท่านผู้ฉลาดทั้งหลายย่อมกล่าวว่า ปัญญานั่นแหละประเสริฐสุด ดุจ พระจันทร์ประเสริฐกว่าดวงดาวทั้งหลาย ฉะนั้น ศีล ศิริ และธรรมของ สัตบุรุษ ย่อมเป็นไปตามบุคคลผู้มีปัญญา.
[๒๔๖๙] กระผมขออนุโมทนาคำสุภาษิตของท่าน ขอถามปัญหาข้ออื่นกะท่าน ขอเชิญท่านกล่าวปัญหานั้น บุคคลในโลกนี้ทำอย่างไร ทำด้วยอุบาย อย่างไร ประพฤติอะไร เสพอะไร จึงจะได้ปัญญา ขอท่านได้โปรดบอก ปฏิปทาแห่งปัญญา ณ บัดนี้ว่า นรชนทำอย่างไรจึงจะเป็นผู้มีปัญญา?
[๒๔๗๐] บุคคลควรคบหาท่านผู้รู้ทั้งหลาย ละเอียดละออ เป็นพหูสูต พึงเป็นทั้ง นักเรียน และไต่ถาม พึงตั้งใจฟังคำสุภาษิตโดยเคารพ นรชนทำอย่าง นี้จึงจะเป็นผู้มีปัญญา. ผู้มีปัญญานั้นย่อมพิจารณาเห็นกามคุณทั้งหลาย โดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์และเป็นโรค ผู้เห็นแจ้งอย่างนี้ ย่อมละความพอใจในกามทั้งหลายอันเป็นทุกข์ มีภัยอันใหญ่หลวงเสียได้. ผู้นั้นปราศจากราคะแล้ว กำจัดโทสะได้ พึงเจริญเมตตาจิตไม่มีประมาณ งดอาชญาในสัตว์ทุกจำพวกแล้ว ไม่ถูกติเตียน ย่อมเข้าถึงแดนพรหม.
[๒๔๗๑] การมาของมหาบพิตรผู้มีพระนามว่า อัฏฐกะ ภีมรถะ และกาลิงคราช ผู้มีพระเดชานุภาพฟุ้งเฟื่องไป เป็นการมาที่มีฤทธิ์ใหญ่โต ทุกๆ พระ องค์ทรงละกามราคะได้แล้ว.
[๒๔๗๒] ท่านเป็นผู้รู้จิตผู้อื่น ข้อนั้นเป็นอย่างนั้น กระผมทุกคนละกามราคะได้ แล้ว ขอท่านจงให้โอกาสเพื่อความอนุเคราะห์ตามที่กระผมทั้งหลายจะรู้ ถึงคติของท่านได้.
[๒๔๗๓] อาตมาให้โอกาสเพื่อความอนุเคราะห์ เพราะมหาบพิตรทั้งหลาย ละกาม ราคะได้อย่างนั้นแล้ว จงยังกายให้ซาบซ่านด้วยปีติอันไพบูลย์ ตามที่ มหาบพิตรทั้งหลายจะทรงทราบถึงคติของอาตมา.
[๒๔๗๔] ข้าแต่ท่านผู้มีปัญญาดังแผ่นดิน กระผมทั้งหลายจักทำตามคำสั่งสอนที่ ท่านกล่าวทุกอย่าง กระผมทั้งหลายจะยังกายให้ซาบซ่านด้วยปีติอัน ไพบูลย์ ตามที่กระผมทั้งหลายจะรู้ถึงคติของท่าน.
[๒๔๗๕] ดูกรท่านผู้เจริญทั้งหลาย ฤาษีทั้งหลายผู้มีคุณความดี ทำการบูชานี้แก่ กีสวัจฉดาบสแล้ว จงพากันไปยังที่อยู่ของตนๆ เถิด ท่านทั้งหลายจง เป็นผู้ยินดีในฌาน มีจิตตั้งมั่นทุกเมื่อเถิด ความยินดีนี้ เป็นคุณชาติ ประเสริฐสุดของบรรพชิต.
[๒๔๗๖] ชนเหล่านั้นได้ฟังคาถาอันประกอบด้วยประโยชน์อย่างยิ่ง ที่ฤาษีผู้เป็น บัณฑิตกล่าวดีแล้ว เกิดปีติโสมนัส พากันอนุโมทนาอยู่ เทวดา ทั้งหลายผู้มียศ ต่างก็พากันกลับไปสู่เทพบุรี. คาถาเหล่านี้มีอรรถ พยัญชนะดี อันฤาษีผู้เป็นบัณฑิตกล่าวดีแล้ว คนใดคนหนึ่งฟังคาถา เหล่านี้ให้มีประโยชน์ พึงได้คุณพิเศษทั้งเบื้องต้นและเบื้องปลาย ครั้น แล้วพึงบรรลุถึงสถานที่อันมัจจุราชมองไม่เห็น.
[๒๔๗๗] สาลิสสรดาบสในกาลนั้น เป็นพระสารีบุตร เมณฑิสสรดาบสในกาลนั้น เป็นพระกัสสปะ ปัพพตดาบสในกาลนั้นเป็นพระอนุรุทธะ เทวิลดาบส ในกาลนั้น เป็นพระกัจจายนะ อนุสิสสดาบสในกาลนั้นเป็นพระอานนท์ กีสวัจฉดาบสในกาลนั้น เป็นโกลิตมหาโมคคัลลานะ นารทดาบสใน กาลนั้น เป็นพระอุทายีเถระ บริษัทในกาลนั้น เป็นพุทธบริษัทในบัดนี้ สรภังคดาบสโพธิสัตว์ในกาลนั้น คือตถาคต ท่านทั้งหลายจงทรงจำชาดก ไว้อย่างนี้แล.

จบ สรภังคชาดกที่ ๒.

๓. อลัมพุสาชาดก ว่าด้วยอิสิสิงคดาบสถูกทำลายตบะ


[๒๔๗๘] ครั้งนั้น พระอินทร์ผู้เป็นใหญ่ ผู้ทรงครอบงำวัตรภูอสูรเป็นพระบิดา แห่งเทพบุตรผู้ชนะ ประทับนั่งอยู่ ณ สุธรรมาเทวสภา รับสั่งให้เรียกนาง อลัมพุสาเทพกัญญามาแล้วตรัสว่า.
[๒๔๗๙] แน่ะนางอลัมพุสาผู้เจือปนด้วยกิเลส สามารถจะเล้าโลมฤาษีได้ เทวดา ชั้นดาวดึงส์พร้อมด้วยพระอินทร์ขอร้องเจ้า เจ้าจงไปหาอิสิสิงคดาบส เถิด.
[๒๔๘๐] ดาบสองค์นี้มีวัตร ประพฤติพรหมจรรย์ ยินดียิ่งในนิพพาน เป็นผู้รู้ อย่าเพิ่งล่วงเลยพวกเราไปก่อนเลย เจ้าจงห้ามมรรคของเธอเสีย.
[๒๔๘๑] ข้าแต่เทวราช พระองค์ทรงทำอะไร ทรงมุ่งหมายแต่หม่อมฉันเท่านั้น รับสั่งว่า แน่ะเจ้าผู้อาจจะเล้าโลมฤาษีได้ เจ้าจงไปเถิดดังนี้ นางเทพ อัปสรผู้ทัดเทียมหม่อมฉัน และผู้ประเสริฐกว่าหม่อมฉัน ก็มีอยู่ใน นันทนวัน อันหาความเศร้าโศกมิได้ วาระคือการไปจงมีแม้แก่นางเทพ อัปสรเหล่านั้น แม้นางเทพอัปสรเหล่านั้นจงไปประเล้าประโลมเถิด
[๒๔๘๒] เจ้าพูดจริงโดยแท้แล นางเทพอัปสรอื่นๆ ที่ทัดเทียมกับเจ้า และ ประเสริฐกว่าเจ้า มีอยู่ในนันทนวันอันหาความโศกมิได้. ดูกรนางผู้มี อวัยวะงามทุกส่วน ก็แต่ว่า นางเทพอัปสรเหล่านั้นไปถึงชายเข้าแล้ว ย่อมไม่รู้จักการบำเรออย่างยิ่งที่เจ้ารู้. แม่งามเอ๋ย เจ้านั่นแหละจงไป เพราะว่าเจ้าเป็นผู้ประเสริฐกว่าหญิงทั้งหลาย เจ้าจักนำดาบสนั้นมาสู่ อำนาจได้ ด้วยผิวพรรณและรูปร่างของเจ้าเอง.
[๒๔๘๓] หม่อมฉันอันท้าวเทวราชทรงใช้ จักไม่ไปหาได้ไม่ แต่ว่าหม่อมฉันกลัว ที่จะเบียดเบียนดาบสนั้น เพราะท่านเป็นพราหมณ์มีเดชฟุ้งเฟื่อง. ชน ทั้งหลายมิใช่น้อย เบียดเบียนฤาษีแล้วต้องตกนรก ถึงสังสารวัฏเพราะ ความหลง เพราะเหตุนั้น หม่อมฉันขนลุกขนพอง.
[๒๔๘๔] นางอลัมพุสาเทพอัปสร ผู้มีวรรณะน่ารักใคร่ ผู้เจือปนด้วยกิเลส ปรารถนาจะยังอิสิสิงคดาบสให้ผสม ครั้นกราบทูลอย่างนี้แล้วก็หลีกไป. ก็นางอลัมพุสาเทพอัปสรนั้น เข้าไปยังป่าที่อิสิสิงคดาบสรักษา อัน ดาดาษไปด้วยเถาตำลึงโดยรอบประมาณกึ่งโยชน์. นางได้เข้าไปหา อิสิสิงคดาบสผู้กำลังปัดกวาดโรงไฟ ใกล้เวลาอาทิตย์อุทัย ก่อนเวลา อาหารเช้า.
[๒๔๘๕] เธอเป็นใครหนอ มีรัศมีเหมือนสายฟ้า หรือเหมือนดาวประกายพฤกษ์ มีเครื่องประดับแขนงามวิจิตร สวมใส่กุณฑลแก้วมณี. คล้ายกับแสง พระอาทิตย์ มีกลิ่นจุรณจันทร์ วรรณะดังทองคำ ลำขางามดี มีมารยา มากมาย กำลังรุ่นสาวน่าดู น่าชม. เท้าของเธอไม่เว้ากลาง อ่อนละมุน สะอาดตั้งลงด้วยดี การเยื้องกรายของเธอน่ารักใคร่ ดึงจิตใจของเราได้ ทีเดียว. อนึ่ง ลำขาของเธอเรียวงาม เปรียบเสมอด้วยงวงช้าง ตะโพก ของเธอผึ่งผายเกลี้ยงเกลาดังแผ่นทองคำ. นาภีของเธอก็ตั้งอยู่เป็นอย่างดี เหมือนกับฝักดอกอุบล ย่อมปรากฏแต่ที่ไกลคล้ายเกสรดอกอัญชันเชียว. ถันทั้งคู่เกิดที่ทรวงอกหาขั้วมิได้ ทรงไว้ซึ่งขีรรส ไม่หดเหี่ยว เต่งตั้ง ทั้ง ๒ ข้าง เสมอด้วยผลน้ำเต้าครึ่งซีก. คอของเธอดังเนื้อทราย ยาว คล้ายหน้าสุวรรณเภรี มีริมฝีปากเรียบงดงาม เป็นที่ตั้งแห่งมนะที่ ๔ คือ ลิ้น. ฟันของเธอทั้งข้างบนข้างล่างขาวสะอาด เป็นของหาโทษมิได้ ดูงาม นัก นัยย์ตาทั้ง ๒ ข้างของเธอดำขลับ มีสีแดงเป็นที่สุด สีดังเม็ด มะกล่ำ ทั้งยาวทั้งกว้างดูงามนัก ผมที่งอกบนศีรษะของเธอไม่ยาวนัก เกลี้ยงเกลาดี หวีด้วยหวีทองคำ มีกลิ่นหอมฟุ้งด้วยกลิ่นจันทน์. กสิกรรม โครักขกรรม การค้าของพ่อค้า และความบากบั่นของฤาษีทั้งหลายผู้ สำรวมดี มีตบะมีประมาณเท่าใด. เราไม่เห็นบุคคลมีประมาณเท่านั้นใน ปฐพีมณฑลนี้ จะเสมอเหมือนกับเธอ เธอเป็นใคร หรือเป็นบุตรของ ใคร เราจะรู้จักเธอได้อย่างไร?
[๒๔๘๖] ดูกรท่านกัสปะผู้เจริญ เมื่อจิตของท่านเป็นไปอย่างนี้แล้วก็ไม่ใช่กาลที่จะ เป็นปัญหา มาเถิดท่านที่รัก เราทั้งสองจักรื่นรมย์กันในอาสนะของเรา มาเถิดท่าน ฉันจักเคล้าคลึงท่าน ท่านจงเป็นผู้ฉลาดในความยินดีด้วย กามคุณ.
[๒๔๘๗] นางอลัมพุสาเทพอัปสร ผู้มีผิวพรรณน่ารักใคร่ผู้เจือปนด้วยกิเลส ปรารถนาจะให้อิสิสิงคดาบสผสม ครั้นกล่าวอย่างนี้แล้วก็หลีกไป.
[๒๔๘๘] ส่วนอิสิสิงคดาบสนั้นรีบเดินออกไปโดยเร็ว ตัดความก้าวไปช้าเสีย ไป ทันเข้าก็จับที่มวยผมอันอุดมของนางไว้. นางอัปสรผู้มีรูปสวยงาม หมุน กลับมาสวมกอดดาบสนั้น อิสิสิงคดาบสเคลื่อนจากพรหมจรรย์ ตาม ที่ท้าวสักกเทวราชทรงปรารถนา. ภายหลังนางเทพกัญญาก็มีใจยินดี นึก ถึงพระอินทร์ผู้ประทับอยู่ในนันทนวัน ท้าวมฆวาฬเทพกุญชรทรงทราบ ความดำริของนางแล้ว จึงทรงส่งบัลลังก์ทองพร้อมทั้งเครื่องบริวาร. ผ้า เครื่องปกปิดทรวง ๕๐ ผืน เครื่องลาด ๑,๐๐๐ ผืนโดยเร็ว นางอลัมพุสา เทพอัปสรกอดดาบสแนบทรวงอก. บนบัลลังก์นั้นตลอด ๓ ปี ดูเหมือน ครู่เดียวเท่านั้น พราหมณ์ดาบสสร่างเมาแล้วรู้สึกได้โดยล่วงไป ๓ ปี ได้เห็นหมู่ไม้เขียวชะอุ่มโดยรอบเรือนไฟ ผลัดใบใหม่ ดอกบาน อัน ฝูงนกกระเหว่าร้องอยู่อื้ออึง. เธอตรวจดูโดยรอบแล้ว ร้องไห้น้ำตาไหล ปริเทวนาการว่า เรามิได้บูชาไฟ มิได้ร่ายมนต์ อะไรมาบันดาลให้การ บูชาไฟต้องเสื่อมลง. ผู้ใดใครหนอ มาประเล้าประโลมจิตของเราด้วย การบำเรอในก่อน ยังฌานอันเกิดพร้อมกับเดชของเราผู้อยู่ในป่าให้พินาศ ดุจบุคคลยึดเรืออันเต็มด้วยรัตนะต่างๆ ในมหาสมุทรฉะนั้น.
[๒๔๘๙] ดิฉันอันท้าวเทวราชทรงใช้มาเพื่อบำเรอท่าน จึงได้ครอบงำจิตของท่าน ด้วยจิตของดิฉัน ท่านไม่รู้สึกเพราะประมาท.
[๒๔๙๐] เดิมที ท่านกัสสปดาบสผู้บิดา ได้พร่ำสอนเราถึงสิ่งเหล่านี้ว่า ดูกรมาณพ สตรีอันเสมอด้วยนารีผล เจ้าจงรู้จักสตรีเหล่านั้น. ดูกรมาณพ เจ้าจงรู้ จักสตรีผู้มีเขาที่อก เจ้าจงรู้จักสตรีเหล่านั้น บิดาเหมือนเอ็นดูเราเฝ้า พร่ำสอนเราดังนี้. เรามิได้ทำตามคำสั่งสอนของบิดาผู้รู้นั้น วันนี้ เรา ซบเซาอยู่แต่ผู้เดียวในป่าอันหามนุษย์มิได้. เราจักทำอย่างที่เราเป็นผู้เช่น เดิมอีก หรือจักตายเสีย ประโยชน์อะไรด้วยชีวิตที่น่าติเตียน.
[๒๔๙๑] นางอลัมพุสาเทพกัญญารู้จักเดช ความเพียรและปัญญาอันมั่นคงของ อิสิสิงคดาบสนั้นแล้ว ก็ซบศีรษะลงที่เท้าของอิสิสิงคดาบส. กล่าวว่า ข้าแต่ท่านมหาวีระ ขอท่านอย่าได้โกรธดิฉันเลย ข้าแต่ท่านผู้แสวงหา คุณใหญ่ ขอท่านอย่าโกรธดิฉันเลย ดิฉันได้ก่อประโยชน์อันใหญ่แล้ว เพื่อเทวดาชั้นไตรทศผู้มียศ เพราะว่าเทพบุรีทั้งหมดอันท่านได้ทำให้ หวั่นไหวแล้วในคราวนั้น.
[๒๔๙๒] ดูกรนางผู้เจริญ ขอทวยเทพชั้นดาวดึงส์ ท้าววาสวะจอมไตรทศ และ เธอ จงมีความสุขเถิด ดูกรนางเทพกัญญา เชิญไปตามสบายเถิด.
[๒๔๙๓] นางอลัมพุสาเทพกัญญา ซบศีรษะลงที่เท้าแห่งอิสิสิงคดาบส และทำ ประทักษิณแล้ว ประคองอัญชลีหลีกออกไปจากที่นั้น. ขึ้นสู่บัลลังก์ ทองพร้อมด้วยเครื่องบริวาร เครื่องปิดทรวง ๕๐ ผืน และเครื่องลาด ๑,๐๐๐ ผืน แล้วกลับไปในสำนักของเทวดาทั้งหลาย. ท้าวสักกะจอมเทพ ทรงปีติโสมนัสปลาบปลื้มพระทัย ได้พระราชทานพรกะนางเทพกัญญานั้น ซึ่งกำลังมาอยู่ ราวกะว่า ดวงประทีปอันรุ่งเรือง หรือเหมือนสายฟ้า ฉะนั้น.
[๒๔๙๔] ข้าแต่ท้าวสักกะผู้เป็นใหญ่กว่าภูตทั้งปวง ถ้าพระองค์จะประทานพรแก่ หม่อมฉันไซร้ ขออย่าให้หม่อมฉันไปเล้าโลมฤาษีอีกเลย ข้าแต่ท้าวสักกะ หม่อมฉันขอพรอันนี้.

จบ อลัมพุสาชาดกที่ ๓.

๔. สังขปาลชาดก ว่าด้วยสังขปาลนาคราชบำเพ็ญตบะ


[๒๔๙๕] ท่านเป็นผู้มีรูปร่างงดงาม มีดวงตาแจ่มใส ข้าพเจ้าสำคัญว่าท่านผู้เจริญ บวชจากสกุล ไฉนหนอ ท่านผู้มีปัญญาจึงละทรัพย์ และโภคสมบัติออก บวชเป็นบรรพชิตเสียเล่า?
[๒๔๙๖] ดูกรมหาบพิตรผู้จอมนรชน อาตมภาพได้เห็นวิมารของพระยาสังคปาล นาคราชตัวมีอานุภาพมากมาด้วยตนเอง ครั้นเห็นแล้วจึงออกบวชด้วย เชื่อมหาวิบากของบุญทั้งหลาย.
[๒๔๙๗] บรรพชิตทั้งหลายย่อมไม่กล่าวคำเท็จ เพราะความรัก เพราะความกลัว เพราะความชัง ข้าพเจ้าถามท่านแล้ว ขอท่านได้โปรดบอกเนื้อความนั้น แก่ข้าพเจ้า เพราะข้าพเจ้าได้ฟังแล้วจักเกิดความเลื่อมใส.
[๒๔๙๘] ดูกรมหาบพิตร ผู้เป็นอธิบดีในรัฐมณฑล อาตมภาพเดินทางไปค้าขาย ได้เห็นบุตรนายพรานช่วยกันหามนาคตัวมีร่างกายใหญ่โต เดินร่าเริงไป ในหนทาง. ดูกรพระจอมประชานิกร อาตมภาพ มาประจวบเข้ากับ ลูกนายพรานเหล่านั้น ก็กลัวจนขนลุกขนพอง ได้ถามเขาว่า ดูกรพ่อ บุตรนายพราน ท่านทั้งหลายจงนำงูซึ่งมีร่างกายน่ากลัวไปไหน ท่านทั้ง หลายจักทำอะไรกับงูนี้. งูใหญ่มีกายอันเจริญพวกเรานำไปเพื่อจะกิน เนื้อของมันมีรสอร่อยมันและอ่อนนุ่ม ดูกรท่านผู้เป็นบุตรชาววิเทหรัฐ ท่านยังไม่รู้จักรส. เราทั้งหลายไปจากที่นี้ถึงบ้านของตนแล้ว จะเอามีด สับกินเนื้อกันให้สำราญใจ เพราะว่าเราทั้งหลายเป็นศัตรูของพวกงู. ถ้าท่านทั้งหลายจะนำงูใหญ่มีกายอันเจริญนี้ไปเพื่อกิน เราจะให้โค ๑๖ ตัว แก่ท่านทั้งหลาย ขอให้ปล่อยงูนี้เสียจากเครื่องผูกเถิด. ความจริงงูตัวนี้ เป็นอาหารที่ชอบใจของเราทั้งหลายโดยแท้ และเราทั้งหลายเคยกินงูมา มาก ดูกรนายอฬาระผู้เป็นบุตรชาววิเทหรัฐ เราทั้งหลายจะทำตามคำของ ท่าน แต่ว่าท่านจงเป็นมิตรของเราทั้งหลาย. ชนเหล่านั้นก็แก้นาคราช ออกจากเครื่องผูก นาคราชนั้นได้พ้นจากเครื่องผูกซึ่งเขาร้อยไว้ที่จมูกกับ บ่วงนั้นแล้วบ่ายหน้าตรงปาจินทิศหลีกไปได้ครู่หนึ่ง ครั้นบ่ายหน้าตรง ปาจินทิศไปสักครู่หนึ่ง มีดวงตาเต็มไปด้วยน้ำตา เหลียวมาดูอาตมภาพ อาตมภาพได้ตามไปข้างหลังของนาคราชนั้นประคองอัญชลีทั้ง ๑๐ นิ้ว เตือนว่า. จงรีบไปเสียโดยเร็ว ขอพวกศัตรูอย่าจับได้อีกเลย เพราะว่า การสมาคมด้วยพวกพรานบ่อยๆ เป็นทุกข์ ท่านจงไปสู่ที่ที่พวกบุตรนาย พรานจะไม่เห็น. นาคราชนั้นได้ไปสู่ห้วงน้ำใสมีสีเขียวน่ารื่นรมย์ มีท่า ราบเรียบ ปกคลุมไปด้วยไม้หว้า และย่างทราย เป็นสัตว์ปลอดภัย มีปีติ เข้าไปยังนาคพิภพ. ดูกรพระจอมประชานิกร นาคราชนั้น ครั้นเข้าไปสู่ นาคพิภพแล้ว ไม่ช้าก็มีบริวารทิพย์มาปรากฏแก่อาตมภาพ บำรุงอาตมภาพ เหมือนบุตรบำรุงบิดาฉะนั้น กล่าวคำจับใจรื่นหูแก่อาตมภาพว่า. ข้าแต่ ท่านอฬาระ ท่านเป็นเหมือนมารดาบิดาของข้าพเจ้า เป็นดังดวงใจ เป็นผู้ ให้ชีวิต เป็นสหาย ข้าพเจ้าจึงกลับได้ฤทธิ์ของตน ข้าแต่ท่านอฬาระ ขอเชิญท่านไปเยี่ยมนาคพิภพของข้าพเจ้า ซึ่งมีภักษาหารมาก มีข้าวและ น้ำมากมาย ดังเทพนครของท้าววาสวะ ฉะนั้น.
[๒๔๙๙] นาคพิภพนั้นสมบูรณ์ด้วยภูมิภาค พื้นไม่มีกรวด อ่อนนุ่ม งาม มีหญ้า เตี้ยๆ ไม่มีธุลี นำมาซึ่งความเลื่อมใส เป็นที่ละความเศร้าโศกของคนผู้ เข้าไป. ในนาคพิภพนั้นมีสระโบกขรณีอันไม่อากูล เขียวชะอุ่มดังแก้ว ไพฑูรย์ มีต้นมะม่วงน่ารื่นรมย์ทั้ง ๔ ทิศ มีผลสุกกิ่งหนึ่ง ผลอ่อนกิ่ง หนึ่ง เผล็ดผลเป็นนิตย์.
[๒๕๐๐] ดูกรมหาบพิตรผู้ประเสริฐกว่านรชน ในท่ามกลางสวนเหล่านั้น มีนิเวศน์ เลื่อมภัสสรล้วนแล้วไปด้วยทองคำ มีบานประตูแล้วไปด้วยเงิน งาม รุ่งเรืองยิ่ง ดุจสายฟ้าในอากาศฉะนั้น. ขอถวายพระพร ในท่ามกลาง สวนเหล่านั้น เรือนยอดและห้องแล้วไปด้วยแก้วมณี แล้วไปด้วย ทองคำโอฬารวิจิตร เป็นอเนกประการ นิรมิตด้วยดี ติดต่อกันเต็มไป ด้วยนางนาคกัญญาทั้งหลายผู้ประดับแล้ว ล้วนทรงสายสร้อยทองคำ. สังขปาลนาคราชนั้นมีผิวพรรณไม่ทราม ว่องไว ขึ้นสู่ปราสาทมีเสา ประมาณ ๑,๐๐๐ ต้น มีอานุภาพชั่งไม่ได้ เป็นที่อยู่ของมเหสีแห่ง สังขปาลนาคราชนั้น. นารีนางหนึ่งว่องไว ไม่ต้องเตือนยกอาสนะ ล้วน แล้วด้วยแก้วไพฑูรย์ มีค่ามากงดงาม สมบูรณ์ด้วยแก้วมีชาติดังแก้วมณี มาปูลาด. ลำดับนั้น นาคราชจูงมืออาตมภาพให้นั่งบนอาสนะอันเป็น ประธาน กล่าวว่า นี่อาสนะ เชิญท่านนั่งบนอาสนะนี้ เพราะว่าท่านเป็น ที่เคารพคนหนึ่งของข้าพเจ้า ในจำนวนท่านที่เคารพทั้งหลาย. ดูกร พระจอมประชานิกร นารีอีกนางหนึ่งก็ว่องไว ตักเอาน้ำเข้ามาล้างเท้าของ อาตมภาพ ดุจภรรยาล้างเท้าสามีที่รักฉะนั้น มีนารีอีกนางหนึ่งว่องไว ประคองภาชนะทองคำเต็มไปด้วยภัตตาหารน่าบริโภค มีสูปะหลายอย่าง มีพยัญชนะต่างๆ นำเข้ามาให้อาตมภาพ. ขอถวายพระพร นารีเหล่านั้น รู้จักใจสามี พากันบำรุง อาตมภาพผู้บริโภคแล้วด้วยดนตรีทั้งหลาย นาคราชนั้นก็เข้ามาหาอาตมภาพพร้อมด้วยทิพกามคุณมิใช่น้อย ใหญ่ยิ่ง กว่าการฟ้อนรำนั้น.
[๒๕๐๑] ข้าแต่ท่านอฬาระ ภรรยาของข้าพเจ้าทั้ง ๓๐๐ นี้ ล้วนมีเอวอ้อนแอ้น มี รัศมีรุ่งเรืองดังกลีบปทุม นางเหล่านี้ จะเป็นผู้ทำความใคร่ให้ท่าน ข้าพเจ้าขอยกนางเหล่านี้ให้ท่าน ท่านจงให้นางเหล่านั้นบำเรอท่านเถิด.
[๒๕๐๒] อาตมภาพได้เสวยรสอันเป็นทิพย์อยู่ปีหนึ่ง คราวนั้นอาตมภาพได้ไต่ถาม ถึงสมบัติอันยิ่งว่า ท่านพญานาคได้สมบัตินี้ด้วยอุบายอย่างไร ได้ วิมานอันประเสริฐอย่างไร? ได้โดยไม่มีเหตุหรือเกิดเพราะใครน้อมมา ให้แก่ท่าน ท่านกระทำเอง หรือว่าเทวดาให้ ดูกรพญานาคราช ข้าพเจ้าขอถามเนื้อความนั้นกะท่าน ท่านได้วิมานอันประเสริฐอย่างไร?
[๒๕๐๓] ข้าพเจ้าได้วิมานนี้มิใช่โดยไม่มีเหตุ และมิใช่เกิดเพราะใครน้อมมาให้ ข้าพเจ้า ข้าพเจ้ามิได้ทำเอง แม้เทวดาก็มิได้ให้ ข้าพเจ้าได้วิมานนี้ด้วย บุญกรรมอันไม่เป็นบาปของตน.
[๒๕๐๔] พรตของท่านเป็นอย่างไร และพรหมจรรย์ของท่านเป็นไฉน นี้เป็นวิบาก แห่งกรรมอะไรที่ท่านประพฤติดีแล้ว ดูกรพญานาคราช ขอท่านจงบอก เนื้อความนี้แก่ข้าพเจ้า ท่านได้วิมานนี้มาอย่างไรหนอ?
[๒๕๐๕] ข้าพเจ้าเป็นพระราชาใหญ่กว่าชนชาวมคธ มีนามว่า ทุยโยธนะ มี อานุภาพมาก ทราบชัดว่า ชีวิตเป็นของน้อยไม่เที่ยง มีความแปรปรวนไป เป็นธรรมดา. จึงเป็นผู้มีจิตเลื่อมใส ได้ให้ข้าวและน้ำเป็นทานอัน ไพบูลย์โดยเคารพ วังของข้าพเจ้าในครั้งนั้นเป็นดุจบ่อน้ำ สมณพราหมณ์ ทั้งหลายก็อิ่มหนำสำราญในที่นั้น. ข้าพเจ้าได้ให้ดอกไม้ ของหอม เครื่องลูบไล้ ประทีบ ยวดยาน ที่พัก ผ้านุ่งห่ม ที่นอน และข้าวน้ำ เป็นทานโดยเคารพ. นั่นเป็นพรต และเป็นพรหมจรรย์ของข้าพเจ้า นี้ เป็นวิบากแห่งกรรมนั้น ที่ข้าพเจ้าประพฤติดีแล้ว ข้าพเจ้าได้วิมานอันมี ภักษาหารเพียงพอ มีข้าวน้ำมากมาย เพราะวัตรและพรหมจรรย์นั้นแล.
[๒๕๐๖] วิมานนี้บริบูรณ์ด้วยการฟ้อนรำขับร้อง ตั้งอยู่ช้านาน แต่เป็นของไม่ เที่ยง บุตรนายพรานทั้งหลายผู้มีอานุภาพน้อย ไม่มีเดช ไยจึงเบียด เบียนท่านผู้มีอานุภาพมากมีเดชได้? ดูกรพญานาคราช เพราะอาศัยอะไร หรือท่านจึงตกอยู่ในเงื้อมมือของบุตรนายพรานทั้งหลาย ความกลัวใหญ่ ตามถึงท่าน หรือว่าพิษของท่านไม่แล่นไปยังรากเขี้ยว ดูกรพญานาคราช เพราะอาศัยอะไรหรือ ท่านจึงถึงความเศร้าหมองในสำนักของบุตรนาย พรานทั้งหลาย?
[๒๕๐๗] ความกลัวใหญ่มิได้ตามถึงข้าพเจ้า บุตรนายพรานเหล่านั้นไม่สามารถจะ ทำลายเดชของข้าพเจ้า แต่ว่าธรรมของสัตบุรุษทั้งหลายท่านประกาศไว้ ยากที่จะล่วงได้ เหมือนเขตแดนสมุทร ฉะนั้น ข้าแต่ท่านอฬาระ ข้าพเจ้าเข้าจำอุโบสถในวันจาตุททสีปัณณรสีเป็นนิตย์ ต่อมา บุตรนาย พราน ๑๖ คนเป็นคนหยาบช้า ถือเอาเชือกและบ่วงอันมั่นคงมาแล้ว. แทงจมูกเอาเชือกร้อยช่วยกันหามข้าพเจ้าไป ข้าพเจ้าอดทนความทุกข์ เช่นนี้ ไม่ทำอุโบสถให้กำเริบ.
[๒๕๐๘] บุตรนายพรานเหล่านั้น ได้พบท่านผู้สมบูรณ์ด้วยกำลังและผิวพรรณ ที่ ทางเดินคนเดียว ดูกรพญานาคราช ท่านเป็นผู้เจริญด้วยศิริและปัญญา จะบำเพ็ญตบะเพื่อประโยชน์อะไรอีกเล่า?
[๒๕๐๙] ข้าแต่ท่านอฬาระ ข้าพเจ้าบำเพ็ญตบะมิใช่เพราะเหตุแห่งบุตร มิใช่เพราะ เหตุแห่งทรัพย์ และมิใช่เพราะเหตุแห่งอายุ เพราะข้าพเจ้าปรารถนา กำเนิดมนุษย์ จึงบากบั่นบำเพ็ญตบะ.
[๒๕๑๐] ท่านเป็นผู้มีนัยย์ตาแดง มีรัศมีรุ่งเรือง ประดับตบแต่งแล้ว ปลงผม และหนวด ชะโลมทาด้วยจุรณจันทร์แดง ส่องสว่างไปทั่วทิศ ดุจคน ธรรพราชาฉะนั้น. ท่านเป็นผู้ถึงแล้วซึ่งเทวฤทธิ์ มีอานุภาพมาก พร้อมพรั่งไปด้วยกามารมณ์ทั้งปวง ดูกรพญานาคราช ข้าพเจ้าขอถาม เนื้อความนี้กะท่าน เหตุไรมนุษยโลกจึงประเสริฐกว่านาคพิภพนี้?
[๒๕๑๑] ข้าแต่ท่านอฬาระ นอกจากมนุษยโลก ความบริสุทธิ์หรือความสำรวม ย่อมไม่มี ถ้าข้าพเจ้าได้กำเนิดมนุษย์แล้ว จักกระทำที่สุดแห่งชาติและ มรณะ.
[๒๕๑๒] ข้าพเจ้าอยู่ในสำนักของท่านปีหนึ่งแล้ว เป็นผู้ที่ท่านบำรุงด้วยข้าวด้วยน้ำ ข้าพเจ้าขอลาท่าน ดูกรท่านผู้เป็นจอมนาค ข้าพเจ้าจากมนุษยโลกมา เสียนาน.
[๒๕๑๓] ข้าแต่ท่านอฬาระ บุตร ภรรยา และชนบริวารข้าพเจ้าพร่ำสอนเป็นนิตย์ ให้บำรุงท่าน ใครมิได้แช่งด่าท่านแลหรือ ก็การได้พบเห็นท่านเป็นที่รัก ของข้าพเจ้า.
[๒๕๑๔] ดูกรพญานาคราช บุตรผู้เป็นที่รักปฏิบัติมารดาบิดาอยู่ในเรือน แม้ด้วย ประการใด ท่านบำรุงข้าพเจ้าอยู่ในนาคพิภพนี้ ประเสริฐกว่าประการนั้น เพราะว่าจิตของท่านเลื่อมใสข้าพเจ้า.
[๒๕๑๕] แก้วทับทิม อันจะนำทรัพย์มาให้ตามประสงค์ของข้าพเจ้ามีอยู่ ท่านจง ถือเอามณีรัตน์อันโอฬารนั้นไปยังที่อยู่ของตน ได้ทรัพย์แล้วจงเก็บแก้ว มณีนั้น.
[๒๕๑๖] ขอถวายพระพร แม้กามคุณเป็นของมนุษย์ อาตมภาพได้เห็นแล้ว เป็นของไม่เที่ยง มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา อาตมภาพเห็นโทษใน กามคุณทั้งหลาย จึงออกบวชด้วยศรัทธา. ขอถวายพระพร ทั้งคนหนุ่ม คนแก่ย่อมมีสรีระทำลาย ร่วงหล่นไป เปรียบเหมือนผลไม้ฉะนั้น อาตมภาพเห็นคุณข้อนี้ว่า สามัญผลเป็นข้อปฏิบัติอันไม่ผิด ประเสริฐ จึงออกบวช.
[๒๕๑๗] ชนเหล่าใดเป็นพหูสูต ค้นคิดเหตุผลได้มาก ชนเหล่านั้นเป็นคนมีปัญญา บุคคลควรคบหาโดยแท้ทีเดียว ข้าแต่ท่านอฬาระ ข้าพเจ้าได้ฟังคำของ นาคราช และของท่านแล้วจักทำบุญไม่ใช่น้อย.
[๒๕๑๘] ขอถวายพระพร ชนทั้งหลายเป็นพหูสูต ค้นคิดเหตุผลได้มาก ชนเหล่า นั้นเป็นคนมีปัญญา บุคคลควรคบหาโดยแท้ทีเดียว ได้ทรงสดับเรื่อง ราวของนาคราช และของอาตมภาพแล้ว ขอจงทรงบำเพ็ญบุญให้มาก เถิด ขอถวายพระพร.

จบ สังขปาลชาดกที่ ๔

๕. จุลลสุตโสมชาดก ว่าด้วยพระเจ้าจุลลสุตโสมออกบวช


[๒๕๑๙] เราขอบอกชาวเมือง มิตร อำมาตย์ และบริษัททั้งหลายด้วย ผมหงอก เกิดขึ้นบนศีรษะแล้ว บัดนี้ เราชอบใจจะบวช.
[๒๕๒๐] อย่างไรหนอ พระองค์จึงทรงรับสั่งความไม่เจริญแก่ข้าพระพุทธเจ้า ข้า แต่พระองค์ผู้สมมติเทพ พระองค์ทรงปักพระแสงศรที่อกของข้าพระ พุทธเจ้า พระชายาของพระองค์มีอยู่ประมาณ ๗๐๐ พระนางเหล่านั้นของ พระองค์จักเป็นอยู่อย่างไรหนอ?
[๒๕๒๑] นางเหล่านั้นยังสาวจักปรากฏเอง นางเหล่านั้นจักไปพึ่งพิงพระราชาองค์ อื่นก็ได้ ส่วนเราปรารถนาสวรรค์ เพราะฉะนั้น จึงจักบวช.
[๒๕๒๒] ดูกรพ่อสุตโสม แม่ผู้เป็นมารดาของเจ้าชื่อว่าได้แล้วชั่ว เพราะเมื่อแม่ พร่ำเพ้ออยู่ เจ้ายังไม่ห่วงใยจะบวชเสียให้ได้. ดูกรพ่อสุตโสม แม่ได้ คลอดเจ้าซึ่งเป็นผู้ที่แม่ได้มาไม่ดีเสียแล้ว เพราะเมื่อแม่พร่ำเพ้ออยู่ พ่อ ยังไม่ห่วงใยจะบวชเสียให้ได้.
[๒๕๒๓] ดูกรพ่อสุตโสม ธรรมนั่นชื่ออะไร และการบวชชื่ออะไร เพราะว่าเจ้า ละทิ้งเรา ๒ คนผู้แก่เฒ่าแล้ว ไม่ห่วงใยจะบวชเสียให้ได้?
[๒๕๒๔] แม้บุตรและธิดาทั้งหลายของเจ้าก็มากมี ยังเล็กนัก ไม่เจริญวัย กำลัง ฉอเลาะ น่ารักใคร่ เมื่อไม่เห็นเจ้า เข้าใจว่าจะได้รับความลำบากไป ตามๆ กัน.
[๒๕๒๕] ความที่หม่อมฉันตั้งอยู่แม้นานมาแล้ว ก็จะต้องพลัดพรากจากบุตรและ ธิดาเหล่านี้ ซึ่งยังเล็กนัก ไม่เจริญวัย กำลังฉอเลาะ จากทูลกระหม่อม ทั้งสองพระองค์ และสิ่งทั้งปวงไปเป็นของเที่ยงแท้.
[๒๕๒๖] พระทัยของทูลกระหม่อมจะตัดขาดเชียวหรือ หรือจะไม่ทรงพระกรุณา กระหม่อมฉันทั้งหลาย ไยเล่าพระองค์จึงไม่ห่วงใยกระหม่อมฉันทั้งหลาย ผู้คร่ำครวญอยู่ จะเสด็จออกผนวชเสียให้ได้เทียวหรือ เพคะ?
[๒๕๒๗] ใจของเรามิได้ตัดขาด และเราก็มีความกรุณาในเธอทั้งหลาย แต่เรา ปรารถนาสวรรค์ เพราะฉะนั้น จึงจักออกบวช.
[๒๕๒๘] ข้าแต่พระสุตโสมผู้ประเสริฐ หม่อมฉันผู้เป็นอัครมเหสีของพระองค์ ชื่อว่าได้แล้วชั่ว เพราะเหตุไร เมื่อหม่อมฉันพร่ำเพ้ออยู่ พระองค์จึงไม่ ทรงห่วงใย จะทรงผนวชเสียให้ได้. ข้าแต่พระสุตโสมผู้ประเสริฐ หม่อมฉันผู้เป็นอัครมเหสีของพระองค์ชื่อว่าได้แล้วชั่ว เพราะเหตุไร พระองค์จึงมิได้ทรงห่วงใยสัตว์ผู้ถือปฏิสนธิในครรภ์ของหม่อมฉัน จะ ทรงผนวชเสียให้ได้. ครรภ์ของหม่อมฉันแก่แล้ว ขอพระองค์ทรงรออยู่ จนกระทั่งหม่อมฉันประสูติ อย่าให้หม่อมฉันเป็นหม้ายอยู่แต่ผู้เดียว ต้องได้รับทุกข์ในภายหลังเลย.
[๒๕๒๙] ครรภ์ของเธอแก่แล้ว ขอเชิญประสูติพระโอรสซึ่งมีมีผิวพรรณไม่ เลวทรามเถิด ฉันจักละโอรสพร้อมทั้งเธอบวชให้ได้.
[๒๕๓๐] ดูกรแม่จันทาผู้มีดวงตาเสมอด้วยดอกอัญชัน เธออย่าร้องไห้เศร้าโศก ไปเลย จงขึ้นสู่ปราสาทอันประเสริฐเสียเถิด ฉันไม่ห่วงใย จักไปบวช ให้ได้.
[๒๕๓๑] ข้าแต่เสด็จแม่ ใครทำให้เสด็จแม่ทรงพิโรธ เหตุไฉน เสด็จแม่จึงทรง กรรแสงและจ้องมองดูหม่อมฉันยิ่งนัก บรรดาพระประยูรญาติทั้งหลาย ที่เห็นอยู่ หม่อมฉันจะฆ่าใครที่ควรรับสั่งให้ฆ่า?
[๒๕๓๒] ลูกรัก ท่านผู้ใด ผู้ชนะแผ่นดินทำให้แม่ขุ่นเคือง ท่านผู้นั้นเจ้าไม่อาจฆ่า ได้เลย พระบิดาของเจ้าได้ตรัสกะแม่ว่า ฉันไม่มีห่วงใยจักไปบวช.
[๒๕๓๓] เมื่อก่อนเราเคยไปเที่ยวสวนด้วยรถ และรบกันด้วยช้างตกมัน เมื่อ พระราชบิดาทรงผนวชเสียแล้ว บัดนี้ เราจักทำอย่างไร?
[๒๕๓๔] เมื่อพระมารดาของหม่อมฉันทรงกรรแสงอยู่ และเมื่อพระเชฏฐภาดา ไม่ทรงยินยอม หม่อมฉันก็จักยึดพระหัตถ์ทั้ง ๒ ของพระบิดาไว้ เมื่อ หม่อมฉันทั้งหลายไม่ยินยอม พระบิดาจะยังเสด็จไปไม่ได้.
[๒๕๓๕] แม่นมจ๋า เชิญแม่ลุกขึ้นเถิด แม่จงพากุมารนี้ไปเล่นให้รื่นรมย์เสียใน ที่อื่น กุมารนี้อย่าได้ทำอันตรายแก่ฉัน เมื่อฉันปรารถนาสวรรค์.
[๒๕๓๖] ไฉนหนอ พระราชาจึงพระราชทานแก้วมณีอันมีแสงสว่างนี้ เราจะ ประโยชน์ด้วยอะไรด้วยแก้วมณีนี้ เมื่อพระเจ้าสุตโสมทรงผนวชแล้ว เราจักทำแก้วมณีอะไรกัน?
[๒๕๓๗] พระคลังน้อยของพระองค์ยังไพบูลย์ และพระคลังใหญ่ของพระองค์ ก็บริบูรณ์ ปฐพีมณฑลพระองค์ก็ทรงชนะแล้ว ขอพระองค์จงทรงยินดี เถิด อย่าทรงผนวชเลย พระเจ้าข้า.
[๒๕๓๘] คลังน้อยของเราก็ไพบูลย์ คลังใหญ่ของเราก็บริบูรณ์ และปฐพีมณฑล เราก็ชนะแล้ว แต่เราก็จักละสิ่งนั้นๆ ออกบวช.
[๒๕๓๙] ทรัพย์ของข้าพระพุทธเจ้ามีมากมาย ข้าพระพุทธเจ้าไม่สามารถจะนับได้ ข้าพระพุทธเจ้าขอถวายทรัพย์ทั้งหมดนั้นแด่พระองค์ ขอพระองค์จงทรง ยินดี อย่าทรงผนวชเลย พระพุทธเจ้าข้า.
[๒๕๔๐] ดูกรกุลวัฒนเศรษฐี เรารู้ว่าทรัพย์ของท่านมีมาก และท่านก็บูชาเรา แต่ เราปรารถนาสวรรค์ เพราะฉะนั้น เราจึงจักบวช.
[๒๕๔๑] ดูกรพ่อโสมทัต เราเป็นผู้กระสันนัก ความไม่ยินดีย่อมมาครอบงำเรา อันตรายมีมาก เราจักบวชให้ได้ในวันนี้ทีเดียว.
[๒๕๔๒] ข้าแต่พระเจ้าพี่สุตโสม แม้กิจนี้ พระองค์ทรงพอพระทัย ขอพระองค์ทรง ผนวช ณ บัดนี้ ในวันนี้ แม้หม่อมฉันก็จักบวช หม่อมฉันไม่อาจจะอยู่ ห่างพระองค์ได้.
[๒๕๔๓] เธอจะบวชไม่ได้เป็นอันขาด เพราะว่าใครๆ ในพระนครแลคามนิคม ชนบทก็พากันไม่หุงต้ม.
[๒๕๔๔] เมื่อพระเจ้าสุตโสมทรงผนวชเสียแล้ว บัดนี้ ข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลายจัก ทำอย่างไรเล่า พระเจ้าข้า?
[๒๕๔๕] เราเข้าใจว่า ชีวิตนี้ถูกชรานำเข้าไป เป็นของน้อย ดุจน้ำในโคลนฉะนั้น เมื่อชีวิตเป็นของน้อยเหลือเกินอย่างนี้ เวลานี้ไม่ใช่เวลาที่จะประมาทเลย. เราเข้าใจว่าชีวิตนี้ถูกชรานำเข้าไป เป็นของน้อย ดุจน้ำในโคลนฉะนั้น เมื่อชีวิตเป็นของน้อยเหลือเกินอย่างนี้ แต่พวกคนพาลย่อมพากันประ มาท. คนพาลเหล่านั้นอันเครื่องผูกคือตัณหาผูกไว้แล้ว ย่อมยังนรก กำเนิดสัตว์เดียรฉาน เปรตวิสัย และอสุรกายให้เจริญ.
[๒๕๔๖] กลุ่มธุลีตั้งขึ้นไม่ไกลปุปผกปราสาท ชะรอยพระธรรมราชา ผู้เรืองยศ ของพวกเราจะทรงตัดพระเกศาแล้ว.
[๒๕๔๗] พระราชาทรงห้อมล้อมด้วยพระสนมนางใน เสด็จไปเที่ยวยังปราสาทใด นี่คือปราสาทของพระองค์ เกลื่อนกล่นไปด้วยสุวรรณบุบผามาลัย พระ ราชาทรงห้อมล้อมด้วยหมู่พระประยูรญาติ เสด็จเที่ยวไปยังปราสาทใด. นี่คือปราสาทของพระองค์ เกลื่อนกล่นไปด้วยสุวรรณบุบผามาลัย พระราชาทรงห้อมล้อมด้วยพระสนมนางใน เสด็จเที่ยวไปยังกูฏาคารใด. นี่คือกูฏาคารของพระองค์ เกลื่อนกล่นไปด้วยสุวรรณบุบผามาลัย พระ ราชาทรงห้อมล้อมด้วยหมู่พระประยูรญาติ เสด็จเที่ยวไปยังกูฏาคารใด. นี่คือกูฏาคารของพระองค์ เกลื่อนกล่นไปด้วยสุวรรณบุบผามาลัย พระ ราชาทรงห้อมล้อมด้วยพระสนมนางใน เสด็จเที่ยวไปยังสวนอโศกวัน ใด. นี่คือสวนอโศกวันของพระองค์ มีดอกไม้บานสะพรั่ง น่ารื่นรมย์ ตลอดกาลทั้งปวง พระราชาทรงห้อมล้อมด้วยพระประยูรญาติ เสด็จ เที่ยวไปยังสวนอโศกวันใด. นี่คือสวนอโศกวันของพระองค์ มีดอก ไม้บานสะพรั่ง น่ารื่นรมย์ตลอดกาลทั้งปวง พระราชาทรงห้อมล้อมด้วย พระสนมนางใน เสด็จเที่ยวไปยังพระราชอุทยานใด. นี่คือพระราชอุทยาน ของพระองค์ มีดอกไม้บานสะพรั่ง น่ารื่นรมย์ตลอดกาลทั้งปวง พระราชาทรงห้อมล้อมด้วยหมู่พระประยูรญาติ เสด็จเที่ยวไปในพระ อุทยานใด. นี่คือพระราชอุทยานของพระองค์ มีดอกไม้บานสะพรั่ง น่ารื่น รมย์ตลอดกาลทั้งปวง พระราชาทรงห้อมล้อมด้วยพระสนมนางใน เสด็จ เที่ยวไปยังสวนกรรณิการ์ใด. นี่คือ สวนกรรณิการ์ของพระองค์ มีดอก ไม้บานสะพรั่ง น่ารื่นรมย์ตลอดกาลทั้งปวง พระราชาทรงห้อมล้อม ด้วยหมู่พระประยูรญาติ เสด็จเที่ยวไปยังสวนกรรณิการ์ใด. นี่คือสวน กรรณิการ์ของพระองค์ มีดอกบานสะพรั่ง น่ารื่นรมย์ตลอดกาลทั้งปวง พระราชาทรงห้อมล้อมด้วยพระสนมนางใน เสด็จเที่ยวไปยังสวนปาฏ ลิวันใด. นี่คือ สวนปาฏลิวันของพระองค์ มีดอกบานสะพรั่ง น่ารื่น รมย์ตลอดกาลทั้งปวง พระราชาทรงห้อมล้อมด้วยหมู่พระประยูรญาติ เสด็จเที่ยวไปยังสวนปาฏลิวันใด. นี่คือ สวนปาฏลิวันของพระองค์ มี ดอกบานสะพรั่ง น่ารื่นรมย์ตลอดกาลทั้งปวง พระราชาทรงห้อมล้อม ด้วยพระสนมนางใน เสด็จเที่ยวไปยังสวนอัมพวันใด. นี่คือสวน อัมพวันของพระองค์ มีดอกบานสะพรั่ง น่ารื่นรมย์ตลอดกาลทั้งปวง พระราชาทรงห้อมล้อมด้วยหมู่พระประยูรญาติ เสด็จเที่ยวไปยังสวน อัมพวันใด. นี่คือสวนอัมพวันของพระองค์ มีดอกบานสะพรั่ง น่ารื่น รมย์ตลอดกาลทั้งปวง พระราชาห้อมล้อมด้วยพระสนมนางใน เสด็จ เที่ยวไปยังสระโบกขรณีใด. นี่คือ สระโบกขรณีของพระองค์ ดาดาษ ไปด้วยบุบผาชาตินานาชนิด เกลื่อนกล่นไปด้วยฝูงวิหค พระราชา ทรงห้อมล้อมด้วยหมู่พระประยูรญาติ เสด็จเที่ยวไปยังสระโบกขรณีใด. นี่คือ สระโบกขรณีของพระองค์ ดาดาษไปด้วยบุบผาชาตินานาชนิด เกลื่อนกล่นไปด้วยฝูงวิหค.
[๒๕๔๘] พระเจ้าสุตโสมทรงสละราชสมบัตินี้แล้ว เสด็จออกผนวช ทรงผ้า กาสาวพัสตร เที่ยวไปพระองค์เดียว เหมือนช้างเชือกตัวประเสริฐฉะนั้น.
[๒๕๔๙] ท่านทั้งหลายอย่าระลึกถึงความยินดี การเล่นและการร่าเริงในครั้งก่อน เลย กามทั้งหลายอย่าทำลายท่านทั้งหลายได้เลย จริงอยู่ สุทัสสนนคร น่ารื่นรมย์ยิ่งนัก ท่านทั้งหลายจงเจริญ เมตตาจิตหาประมาณมิได้ ทั้งกลางวันกลางคืนเถิด เมื่อเป็นเช่นนี้ ท่านทั้งหลายจะได้ไปสู่เทพบุรี อันเป็นที่อยู่ของท่านมีบุญกรรม.

จบ จุลลสุตโสมชาดกที่ ๕.

_________________ รวมชาดกที่มีในวรรคนี้ คือ ๑. เตสกุณชาดก ๒. สรภังคชาดก ๓. อลัมพุสาชาดก ๔. สังขปาลชาดก ๕. จุลลสุตโสมชาดก. จบ จัตตาฬีสนิบาตชาดก. __________________

กลับที่เดิม