เอกาทสกนิบาตชาดก

๑. มาตุโปสกชาดก ว่าด้วยเรื่องพญาช้างผู้เลี้ยงมารดา


[๑๔๙๓] ไม้อ้อยช้าง ไม้มูกมัน ไม้ช้างน้าว หญ้างวงช้าง ข้าวฟ่าง และลูก เดือย งอกงามขึ้นแล้วเพราะพญาช้างนั้นพลัดพรากไป อนึ่ง ต้น กรรณิการ์ทั้งหลายที่เชิงเขาก็เผล็ดดอกบาน.
[๑๔๙๔] พระราชา หรือพระราชกุมาร ประทับนั่งบนคอพญาช้างใด เป็นผู้ไม่มี ความสะดุ้ง ย่อมกำจัดเสียซึ่งปัจจามิตรทั้งหลาย อิสรชนผู้ประดับ ด้วยอาภรณ์อันงดงามผู้หนึ่ง ย่อมเลี้ยงดูพญาช้างนั้นด้วยก้อนข้าว.
[๑๔๙๕] ดูกรพญาช้างตัวประเสริฐ เชิญพ่อรับเอาคำข้าวเถิด อย่าผ่ายผอมเลย ราชกิจมีเป็นอันมาก ท่านจะต้องทำราชกิจเหล่านั้น.
[๑๔๙๖] นางช้างนั้นเป็นกำพร้า ตาบอด ไม่มีผู้นำทางคงจะสดุดตอไม้ล้มลงตรง ภูเขาจัณโฑรณะเป็นแน่.
[๑๔๙๗] ดูกรพญาช้าง นางช้างตาบอดหาผู้นำทางมิได้ คงจะสดุดตอไม้ล้มลงตรง ภูเขาจัณโฑรณะนั้นเป็นอะไรกับท่านหรือ. (เมื่อพราหมณ์เดินทางยืนขออยู่ บัณฑิตทั้งหลายไม่กล่าวควรว่าไป)
[๑๔๙๘] ข้าแต่พระมหาราชา นางช้างตาบอดไม่มีผู้นำทาง คงจะสดุดตอไม้ล้มลง ตรงภูเขาชื่อจัณโฑรณะนั้น เป็นมารดาของข้าพระองค์.
[๑๔๙๙] พญาช้างนี้ย่อมเลี้ยงดูมารดา ท่านทั้งหลายจงปล่อยพญาช้างนั้นเสียเถิด พญาช้างตัวประเสริฐจงอยู่ร่วมกับมารดา พร้อมด้วยญาติทั้งหลายเถิด.
[๑๕๐๐] พญาช้างอันพระเจ้ากาสีทรงปล่อยแล้ว พอหลุดจากเครื่องผูก พักอยู่ ครู่หนึ่ง ได้ไปยังภูเขา จากนั้นเดินไปสู่สระบัวอันเย็นที่เคยซ่องเสพมา แล้วดูดน้ำด้วยงวงมารดมารดา.
[๑๕๐๑] ฝนอะไรนี้ไม่ประเสริฐเลย ย่อมตกโดยกาลที่ไม่ควรตก บุตรเกิดใน ตนของเราเป็นผู้บำรุงเรา ไปเสียแล้ว.
[๑๕๐๒] เชิญท่านลุกขึ้นเถิด จะมัวนอนอยู่ทำไม ฉันผู้เป็นลูกของแม่มาแล้ว พระเจ้ากาสีผู้ทรงพระปรีชาญาณ มีบริวารยศใหญ่หลวงทรงปล่อยมาแล้ว.
[๑๕๐๓] พระราชาพระองค์ใดทรงปล่อยลูกของเราผู้ประพฤติอ่อนน้อมต่อบุคคลผู้ เจริญทุกเมื่อ ขอพระราชาพระองค์นั้นจงทรงพระชนม์ยืนนาน ทรงบำรุง แคว้นกาสีให้เจริญรุ่งเรืองเถิด.

จบ มาตุโปสกชาดกที่ ๑.

๒. ชุณหชาดก ว่าด้วยการคบบัณฑิตและคบคนพาล


[๑๕๐๔] ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นจอมแห่งชน ขอพระองค์ทรงสดับคำของข้าพระองค์ ข้าพระองค์มาถึงในที่นี้ด้วยประโยชน์ในพระเจ้าชุณหะ ข้าแต่พระองค์ผู้ ประเสริฐกว่าสัตว์ ๒ เท้าทั้งหลาย เมื่อพราหมณ์เดินทางยืนขออยู่ บัณฑิตทั้งหลายไม่กล่าวว่า ควรไป.
[๑๕๐๕] ดูกรพราหมณ์ ข้าพเจ้ากำลังรอฟังอยู่ ท่านมาถึงในที่นี้ด้วยประโยชน์ อันใด จงบอกประโยชน์อันนั้น หรือว่าท่านปรารถนาประโยชน์อะไร ในข้าพเจ้าจึงมาในที่นี้ เชิญท่านพราหมณ์บอกมาเถิด.
[๑๕๐๖] ขอพระองค์โปรดพระราชทานบ้านส่วย ๕ ตำบลแก่ข้าพระองค์ ทาสี ๑๐๐ คน โค ๗๐๐ ทองเนื้อดี ๑๐๐๐ แท่ง ขอได้ทรงโปรดประทาน ภรรยาผู้พริ้มเพราแก่ข้าพระองค์ ๒ คน.
[๑๕๐๗] ดูกรพราหมณ์ ตบะอันมีกำลังกล้าของท่านมีอยู่หรือ หรือว่ามนต์ขลัง ของท่านมีอยู่ หรือว่ายักษ์บางพวกผู้เชื่อฟังถ้อยคำของท่านมีอยู่ หรือ ว่าท่านยังจำได้ถึงประโยชน์ที่ท่านทำแล้วแก่เรา?
[๑๕๐๘] ตบะของข้าพระองค์มิได้มี แม้มนต์ของข้าพระองค์ก็มิได้มี ยักษ์บางพวกผู้ เชื่อฟังถ้อยคำของข้าพระองค์ก็ไม่มี อนึ่ง ข้าพระองค์ก็จำไม่ได้ถึงประ โยชน์ ที่ข้าพระองค์ทำแล้วแก่พระองค์ ก็แต่ว่า เมื่อก่อนได้มีการพบปะ กันเท่านั้นเอง.
[๑๕๐๙] ข้าพเจ้ารู้อยู่ว่า การเห็นนี้เป็นการเห็นครั้งแรก นอกจากนี้ข้าพเจ้าจำ ไม่ได้ถึงการพบกันในครั้งใดเลย ข้าพเจ้าถามถึงเรื่องนั้น ขอท่านจง บอกแก่ข้าพเจ้าว่า เราได้เคยพบกันเมื่อไรหรือที่ไหน?
[๑๕๑๐] ข้าแต่พระองค์ผู้สมมติเทพ พระองค์และข้าพระองค์ได้อยู่กันมาแล้วใน เมืองตักกสิลา อันเป็นเมืองที่รื่นรมย์ของพระเจ้าคันธารราช พระองค์ กับข้าพระองค์ได้กระทบไหล่กันในความมืด มีหมอกทึบในนครนั้น ข้า แต่พระองค์ผู้เป็นจอมประชาชน พระองค์และข้าพระองค์ยืนกันอยู่ในที่ ตรงนั้น เจรจาปราศรัยด้วยคำอันให้ระลึกถึงกันที่ตรงนั้นแล เป็นการ พบกันแห่งพระองค์และข้าพระองค์ ภายหลังจากนั้นมิได้มี ก่อนแต่ นั้นก็ไม่มี.
[๑๕๑๑] ดูกรพราหมณ์ การสมาคมกับสัปบุรุษย่อมมีในหมู่มนุษย์บางครั้งบาง คราว บัณฑิตทั้งหลายย่อมไม่ทำการพบปะกัน ความสนิทสนม หรือ คุณที่กระทำไว้แล้วในกาลก่อนให้เสื่อมสูญไป.
[๑๕๑๒] ส่วนคนพาลทั้งหลาย ย่อมทำการพบปะกัน ความสนิทสนม หรือคุณที่ เขาทำไว้ในกาลก่อนให้เสื่อมสูญไป คุณที่ทำไว้ในคนพาลทั้งหลาย ถึง จะมากมายก็ย่อมเสื่อมไปหมด เพราะว่าคนพาลทั้งหลายเป็นคนอกตัญญู.
[๑๕๑๓] ส่วนนักปราชญ์ทั้งหลาย ย่อมไม่ทำการพบปะกัน ความสนิทสนม หรือ คุณที่เขาทำไว้ในกาลก่อน ให้เสื่อมสูญไป คุณที่ทำไว้ในนักปราชญ์ ทั้งหลาย ถึงจะน้อยก็ย่อมไม่เสื่อมหายไป เพราะว่านักปราชญ์ทั้งหลาย เป็นผู้มีความกตัญญูดี ข้าพเจ้าจะให้บ้านส่วย ๕ ตำบลแก่ท่าน ทาสี ๑๐๐ คน โค ๗๐๐ ทองเนื้อดี ๑๐๐๐ แท่ง และภรรยาผู้พริ้มเพรา ๒ คน มีชาติและตระกูลเสมอกัน แก่ท่าน.
[๑๕๑๔] ข้าแต่พระราชา การสมาคมกับสัตบุรุษย่อมเป็นอย่างนี้ ข้าแต่พระองค์ ผู้เป็นใหญ่ในกาสิกรัฐ ข้าพระองค์บริบูรณ์ไปด้วยสมบัติ มีบ้านส่วย เป็นต้น เหมือนพระจันทร์ตั้งอยู่ท่ามกลางแห่งหมู่ดาวทั้งหลาย ฉะนั้น การสังคมกับพระองค์นั่นแล เป็นอันว่าข้าพระองค์ได้แล้วในวันนี้เอง.

จบ ชุณหชาดกที่ ๒.

๓. ธรรมเทวปุตตชาดก ว่าด้วยเรื่องธรรมชนะอธรรม


[๑๕๑๕] ดูกรอธรรมเทพบุตร ข้าพเจ้าเป็นผู้ไม่ค้ายศ ไม่ค้าบุญ สมณะและพราหมณ์ สรรเสริญทุกเมื่อ ข้าพเจ้าเป็นผู้มีธรรม อันเทวดาและมนุษย์บูชาแล้ว คู่ควรแก่หนทาง ท่านจงให้หนทางแก่เรา.
[๑๕๑๖] ดูกรธรรมเทพบุตร เราผู้ชื่อว่าอธรรมขึ้นสู่ยามแห่งอธรรมอันมั่นคง ไม่ เคยกลัวใคร มีกำลังเข้มแข็ง เราจะพึงให้ทางที่ไม่เคยให้ใครแก่ท่านใน วันนี้ เพราะเหตุอะไรเล่า?
[๑๕๑๗] ธรรมแลปรากฏก่อน ภายหลังอธรรมจึงเกิดขึ้นในโลก เราเป็นผู้เจริญ กว่า ประเสริฐกว่า ทั้งเก่ากว่า ขอจงให้ทางแก่เราเถิด น้องเอ๋ย.
[๑๕๑๘] เราจะไม่ให้หนทางแก่ท่าน เพราะการขอร้องหรือเพราะความเป็นผู้สมควร ในวันนี้เราทั้งสองจงมารบกัน แล้วหนทางจะเป็นของผู้ชนะในการรบ.
[๑๕๑๙] เราผู้ชื่อว่าธรรม เป็นผู้ฤาชาปรากฏไปทั่วทุกทิศ มีกำลังมาก มียศประมาณ ไม่ได้ ไม่มีผู้เสมอเหมือน ประกอบด้วยคุณทั้งปวง อธรรมเอ๋ย ท่าน จักชนะได้อย่างไร?
[๑๕๒๐] เขาเอาฆ้อนเหล็กตีทองอย่างเดียว หาได้เอาทองตีเหล็กไม่ ถ้าหากว่าเรา ผู้ชื่อว่าอธรรม ฆ่าท่านผู้ชื่อว่าธรรมในวันนี้ได้ เหล็กจะน่าดู น่าชมเหมือน ทองคำ ฉะนั้น.
[๑๕๒๑] ดูกรอธรรมเทพบุตร ถ้าหากว่าท่านเป็นผู้มีกำลังในการรบไซร้ ผู้หลัก ผู้ใหญ่ และครูของท่านมิได้มี เราจะย่อมให้หนทางอันเป็นที่รักด้วย อาการอันไม่เป็นที่รักของท่าน ทั้งจะขออดทนถ้อยคำชั่วๆ ของท่าน.
[๑๕๒๒] อธรรมเทพบุตรได้ฟังคำนี้แล้ว ก็เป็นผู้มีศีรษะลงเบื้องต่ำ มีเท้าขึ้นเบื้อง สูง ตกลงจากรถ รำพันเพ้อว่าเราปรารถนาจะรบก็ไม่ได้รบ อธรรม เทพบุตรถูกตัดรอนเสียแล้ว ด้วยเหตุมีประมาณเท่านี้.
[๑๕๒๓] ธรรมเทพบุตรผู้มีขันติเป็นกำลัง มีจิตเที่ยงตรง มีกำลังมาก มีความบาก บั่นอย่างแท้จริง ชำนะกำลังรบ ได้ฆ่าอธรรมเทพบุตรฝังเสียในแผ่นดิน แล้ว ขึ้นสู่รถของตนไปโดยหนทางนั่นเทียว.
[๑๕๒๔] มารดา บิดา และสมณพราหมณ์ ไม่ได้รับความนับถือในเรือนของชน เหล่าใด ชนเหล่านั้น ครั้นทอดทิ้งร่างกายไว้ในโลกนี้ ตายไปแล้วย่อม ต้องพากันไปสู่นรก เหมือนอธรรมเทพบุตรผู้มีศีรษะลงในเบื้องต่ำตกไป แล้วฉะนั้น.
[๑๕๒๕] มารดา บิดา และสมณพราหมณ์ ได้รับความนับถือเป็นอย่างดีในเรือน ของชนเหล่าใด ชนเหล่านั้น ครั้นทอดทิ้งร่างกายไว้ในโลกนี้ ตายไปแล้ว ย่อมพากันไปสุคติ เหมือนธรรมเทพบุตรขึ้นสู่รถของตนไปสู่เทวโลก ฉะนั้น.

จบ ธรรมเทวปุตตชาดกที่ ๓.

๔. อุทยชาดก ว่าด้วยบารมี ๑๐ ทัศ


[๑๕๒๖] ดูกรพระนาง ผู้มีพระวรกายงามหาที่ติมิได้ มีช่วงพระเพลากลมกล่อม ทรงวัตถาภรณ์อันสะอาด เสด็จขึ้นสู่ปราสาทประทับนั่งอยู่พระองค์เดียว ดูกรพระนางผู้มีพระเนตรงามดังเนตรนางกินนร หม่อมฉันขอวิงวอน พระนาง เราทั้งสองควรอยู่ร่วมกันตลอดคืนหนึ่งนี้.
[๑๕๒๗] นครนี้มีคูรายรอบ มีป้อมแลซุ้มประตูมั่นคง มีหมู่ทหารถือกระบี่รักษา ยากที่ใครๆ จะเข้าได้. ทหารของนักรบหนุ่มก็ไม่มีมาเลย เมื่อเป็นเช่นนี้ ท่านปรารถนามาพบข้าพเจ้าด้วยเหตุอะไรหนอ.
[๑๕๒๘] ดูกรพระนางผู้เลอโฉม หม่อมฉันเป็นเทพบุตรมาในตำหนักของพระนาง ดูกรพระนางผู้เจริญ เชิญพระนางชื่นชมกับหม่อมฉันเถิด หม่อมฉัน จะถวายถาดทอง อันเต็มด้วยเหรียญทองแก่นาง.
[๑๕๒๙] นอกจากเจ้าชายอุทัยแล้ว ข้าพเจ้าไม่พึงปรารถนาเทวดา ยักษ์ หรือมนุษย์ ผู้อื่นเลย ดูกรเทพบุตรผู้มีอานุภาพมาก ท่านจงไปเสียเถิด อย่ากลับมา อีกเลย.
[๑๕๓๐] ความยินดีอันใดเป็นที่สุดของผู้บริโภคกาม สัตว์ทั้งหลายประพฤติไม่ สมควร เพราะเหตุแห่งความยินดีอันใด พระนางอย่าพลาดความยินดี ในทางอันสะอาดของพระนางนั้นเลย หม่อมฉันขอถวายถาดเงิน อันเต็ม ด้วยเหรียญเงินแก่พระนาง.
[๑๕๓๑] ธรรมดาชายหมายจะให้หญิงเอออวยด้วยทรัพย์ ย่อมประมูลราคาขึ้นจน ให้พอใจ ของท่านตรงกันข้าม ท่านประมูลราคาโดยลดลงดังที่เห็น ประจักษ์อยู่.
[๑๕๓๒] ดูกรพระนางผู้มีพระวรกายงาม อายุและวรรณะของหมู่มนุษย์ในมนุษย โลกย่อมเสื่อมลง ด้วยเหตุนั้นแล แม้ทรัพย์สำหรับพระนางก็จำต้อง ลดลง เพราะวันนี้พระนางชราลงกว่าวันก่อน. ดูกรพระราชบุตรีผู้มี พระยศ เมื่อหม่อมฉันกำลังเพ่งมองอยู่อย่างนี้ พระฉวีวรรณของพระนาง ย่อมเสื่อมไป เพราะวันคืนล่วงไปๆ ดูกรพระราชบุตรีผู้มีปรีชา เพราะ เหตุนั้น พระนางพึงประพฤติพรหมจรรย์เสียวันนี้ทีเดียว จะได้มี พระฉวีวรรณงดงามยิ่งขึ้นอีก.
[๑๕๓๓] เทวดาทั้งหลายไม่แก่เหมือนมนุษย์หรือ เส้นเอ็นในร่างกายของเทวดา เหล่านั้นไม่มีหรือ ดูกรเทพบุตร ข้าพเจ้าขอถามท่านผู้มีอานุภาพมาก ร่างกายของเทวดาเป็นอย่างไร?
[๑๕๓๔] เทวดาทั้งหลายไม่แก่เหมือนมนุษย์ เส้นเอ็นในร่างกายของเทวดาเหล่า นั้นไม่มี ฉวีวรรณอันเป็นทิพย์ของเทวดาเหล่านั้น ผุดผ่องยิ่งขึ้นทุกๆ วัน และโภคสมบัติก็ไพบูลย์ขึ้น.
[๑๕๓๕] หมู่ชนเป็นอันมากในโลกนี้ กลัวอะไรเล่าจึงไม่ไปเทวโลกกัน ก็หนทาง ไปเทวโลกบัณฑิตทั้งหลายกล่าวไว้หลายด้าน ดูกรเทพบุตรผู้มีอานุภาพ มาก ข้าพเจ้าขอถามท่านว่า บุคคลตั้งอยู่ในหนทางไหน จึงจะไม่กลัว ปรโลก?
[๑๕๓๖] บุคคลผู้ตั้งวาจา และใจไว้โดยชอบ ไม่กระทำบาปด้วยกาย อยู่ครองเรือน อันมีข้าวและน้ำมาก เป็นผู้มีศรัทธา อ่อนโยน จำแนกแจกทาน รู้ความ ประสงค์ ชอบสงเคราะห์ มีถ้อยคำกลมกล่อม อ่อนหวาน ผู้ตั้งอยู่ใน คุณธรรมดังกล่าวมานี้ ไม่พึงกลัวปรโลก.
[๑๕๓๗] ข้าแต่เทพบุตร ท่านพร่ำสอนข้าพเจ้าเหมือนมารดาบิดา ข้าแต่ท่านผู้มีผิว พรรณงามยิ่ง ข้าพเจ้าขอถาม ท่านเป็นใครหนอ มีร่างกายสง่างาม?
[๑๕๓๘] ดูกรพระนางผู้เลอโฉม ข้าพเจ้าเป็นพระเจ้าอุทัย มาในที่นี้เพื่อต้องการ จะเปลื้องข้อผูกพัน ข้าพเจ้าบอกพระนางแล้ว จะขอลาไป ข้าพเจ้าพ้น จากข้อผูกพันของพระนางแล้ว.
[๑๕๓๙] ข้าแต่พระลูกเจ้า ถ้าพระองค์เป็นพระเจ้าอุทัยเสด็จมา ณ ที่นี้เพื่อต้องการ จะเปลื้องข้อผูกพันไซร้ ข้าแต่พระราชบุตร ขอเชิญพระองค์จงโปรด พร่ำสอนหม่อมฉัน ด้วยวิธีที่เราทั้งสองจะได้พบกันอีกใหม่เถิด เพค๊ะ.
[๑๕๔๐] วัยล่วงไปเร็วยิ่งนัก ขณะก็เช่นนั้นเหมือนกัน ความตั้งอยู่ยั่งยืนไม่มี สัตว์ทั้งหลายย่อมจุติไปแน่แท้ สรีระไม่ยั่งยืน ย่อมเสื่อมถอย ดูกร พระนางอุทัย เธออย่าประมาท จงประพฤติธรรม. พื้นแผ่นดินทั้งสิ้น เต็มไปด้วยทรัพย์ ถ้าพึงเป็นของๆ พระราชาพระองค์เดียว ไม่มีผู้อื่น ครอบครอง ถึงกระนั้น ผู้ที่ยังไม่ปราศจากความกำหนัดก็ต้องทิ้งสมบัติ นั้นไป ดูกรพระนางอุทัย เธออย่าประมาท จงประพฤติธรรม. มารดา บิดา พี่ชายน้องชาย พี่สาวน้องสาว ภรรยาและสามี พร้อมทั้งทรัพย์ แม้เขาเหล่านั้นต่างก็จะละทิ้งกันไป ดูกรพระนางอุทัย เธออย่าประมาท จงประพฤติธรรม. ดูกรพระนางอุทัยเธอพึงทราบว่า ร่างกายเป็นอาหาร ของสัตว์อื่นๆ พึงทราบว่าสุคติและทุคติในสงสารเป็นที่พักชั่วคราว เธออย่าประมาท จงประพฤติธรรม.
[๑๕๔๑] เทพบุตรพูดดีจริง ชีวิตของสัตว์ทั้งหลายน้อย ทั้งลำเค็ญ ทั้งนิดหน่อย ทั้งประกอบไปด้วยทุกข์ หม่อมฉันจักสละสุรุธนนครแคว้นกาสีออกบวช อยู่ลำพังผู้เดียว.

จบ อุทยชาดกที่ ๔.

๕. ปานียชาดก ว่าด้วยการทำบาปแล้วรังเกียจบาปที่ทำ


[๑๕๔๒] อาตมภาพเป็นมิตรของชายคนหนึ่ง ได้บริโภคน้ำของมิตรที่เขาไม่ได้ให้ เพราะเหตุนั้นภายหลังอาตมภาพรังเกียจว่า เราทำบาปนั้นไว้แล้วอย่าได้ กระทำบาปอีกเลย เพราะเหตุนั้น อาตมภาพจึงออกบวช.
[๑๕๔๓] ความพอใจบังเกิดขึ้นแก่อาตมภาพ เพราะเห็นภรรยาของผู้อื่น เพราะ เหตุนั้น ภายหลังอาตมภาพรังเกียจว่า เราได้ทำบาปนั้นไว้แล้วอย่าได้ กระทำบาปนั้นอีกเลย เพราะเหตุนั้นอาตมภาพจึงออกบวช.
[๑๕๔๔] ขอถวายพระพรมหาบพิตร โจรทั้งหลายจับโยมบิดาของอาตมภาพไว้ใน ป่า อาตมภาพถูกโจรเหล่านั้นถาม รู้อยู่ได้แกล้งพูดถึงโยมบิดานั้นเป็น อย่างอื่นไป เพราะเหตุนั้น ภายหลังอาตมภาพรังเกียจว่า เราได้ทำบาป นั้นไว้แล้วอย่าได้ทำบาปนั้นอีกเลย เพราะเหตุนั้นอาตมภาพจึงออกบวช.
[๑๕๔๕] เมื่อพลีกรรมชื่อโสมยาคะปรากฏขึ้นแล้ว มนุษย์ทั้งหลายก็พากันกระทำ ปาณาติบาต อาตมภาพได้ยอมอนุญาตให้แก่พวกเขา เพราะเหตุนั้น ภายหลังอาตมภาพรังเกียจว่า เราได้ทำบาปนั้นไว้แล้วอย่าได้ทำบาปนั้น อีกเลย เพราะเหตุนั้น อาตมภาพจึงออกบวช.
[๑๕๔๖] ในกาลก่อน ชนทั้งหลายในหมู่บ้านของอาตมภาพ สำคัญสุราและเมรัย ว่าเป็นน้ำหวานจึงได้พากันดื่มน้ำเมา เพื่อความฉิบหายแก่ชนเป็นอันมาก อาตมภาพยอมอนุญาตให้แก่เขา เพราะเหตุนั้น ภายหลังอาตมภาพ รังเกียจว่าเราได้ทำบาปนั้นไว้แล้ว อย่าได้ทำบาปนั้นอีกเลย เพราะเหตุ นั้น อาตมภาพจึงออกบวช.
[๑๕๔๗] น่าติเตียนแท้ ซึ่งกามเป็นอันมาก มีกลิ่นเหม็น มีเสี้ยนหนามมาก เราส้อง เสพอยู่ ไม่ได้รับความสุขเช่นนั้น.
[๑๕๔๘] กามทั้งหลายมีความพอใจมาก สุขอื่นยิ่งกว่ากามไม่มี ชนเหล่าใดส้อง เสพกามทั้งหลาย ชนเหล่านั้นย่อมเข้าถึงสวรรค์.
[๑๕๔๙] กามทั้งหลายมีความพอใจน้อย ทุกข์อื่นยิ่งกว่ากามไม่มี ชนเหล่าใด ส้องเสพกามทั้งหลาย ชนเหล่านั้นย่อมเข้าถึงนรก.
[๑๕๕๐] เหมือนดาบที่ลับคมดีแล้วเชือด เหมือนกระบี่ที่ขัดดีแล้วแทง เหมือน หอกที่พุ่งปักอก (เจ็บปานใด) กามทั้งหลายเป็นทุกข์ยิ่งกว่านั้น.
[๑๕๕๑] หลุมถ่านเพลิงลุกโพลงแล้ว ลึกกว่าชั่วบุรุษ ผาลที่เขาเผาร้อนอยู่ตลอดวัน (ร้อนปานใด) กามทั้งหลายเป็นทุกข์ยิ่งกว่านั้น.
[๑๕๕๒] เหมือนยาพิษชนิดร้ายแรง น้ำมันที่เดือดพล่าน ทองแดงที่กำลังละลาย คว้าง (ร้อนปานใด) กามทั้งหลายเป็นทุกข์ยิ่งกว่านั้น.

จบ ปานียชาดกที่ ๕.

๖. ยุธัญชยชาดก ว่าด้วยการผนวชของเจ้าชายยุธัญชัยและยุธิฏฐิละ


[๑๕๕๓] หม่อมฉันขอถวายบังคมพระองค์ ผู้เป็นจอมทัพมีมิตรและอำมาตย์แวด ล้อมแน่นขนัด ข้าแต่พระทูลกระหม่อม หม่อมฉันจักบวช ขอได้โปรด ทรงพระอนุญาตเถิด.
[๑๕๕๔] ถ้าเธอยังบกพร่องด้วยกามทั้งหลาย ฉันจะเพิ่มเติมให้เต็ม ผู้ใดเบียด เบียนเธอ ฉันจักห้ามปราม พ่อยุธัญชัยอย่าเพิ่งบวชเลย.
[๑๕๕๕] หม่อมฉันมิได้บกพร่องด้วยกามทั้งหลายเลย ไม่มีใครเบียดเบียนหม่อม ฉัน แต่หม่อมฉันปรารถนาจะทำที่พึ่ง ที่ชราครอบงำไม่ได้ พระเจ้าข้า.
[๑๕๕๖] พระโอรสกราบทูลวิงวอนพระราชบิดา พระราชบิดาหรือก็ทรงวิงวอน พระราชโอรส พ่อเอ๋ย ชาวนิคมพากันวิงวอนว่า ข้าแต่พระยุธัญชัย อย่าทรงผนวชเลย.
[๑๕๕๗] ข้าแต่พระราชบิดาผู้เป็นจอมทัพ พระองค์อย่าทรงห้ามหม่อมฉันผู้จะ บวชเลย อย่าให้หม่อมฉันมัวเมาอยู่ด้วยกามทั้งหลาย เป็นไปตามอำนาจ ชราเลย พระเจ้าข้า.
[๑๕๕๘] ลูกเอ๋ย แม่ขอร้องเธอ แม่ขอห้ามเธอ แม่ปรารถนาจะเห็นเธอนานๆ อย่าบวชเสียเลยนะพ่อยุธัญชัย.
[๑๕๕๙] น้ำค้างบนยอดหญ้า พระอาทิตย์ขึ้นก็ตกไปฉันใด อายุของมนุษย์ทั้งหลาย ก็ฉันนั้น ขอทูลกระหม่อมแม่อย่าห้ามฉันเลย พระเจ้าข้า.
[๑๕๖๐] ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นจอมเสนา ขอได้โปรดรีบตรัสให้พระมารดาเสด็จขึ้น สู่ยานนี้เสียเถิด พระมารดาอย่าได้ทรงทำอันตรายแก่หม่อมฉันผู้กำลัง รีบด่วนเสียเลย.
[๑๕๖๑] ท่านทั้งหลายจงช่วยวิ่งเต้นด้วยเถิด ขอความเจริญจงมีแก่ท่านเถิด รัมม นครจักเปล่าเปลี่ยวเสียแล้ว พ่อยุธัญชัยพระเจ้าสัพพทัตทรงอนุญาต แล้วละ.
[๑๕๖๒] เจ้าชายองค์ใดเป็นผู้ประเสริฐกว่ามนุษย์ทั้งหลาย ยังกำลังหนุ่มแน่น เปล่งปลั่งดังทองธรรมชาติ เจ้าชายองค์นั้นมีกำลังแข็งแรง มีผ้านุ่งห่ม ย้อมฝาดบวชแล้ว.
[๑๕๖๓] เจ้าชายทั้งสององค์ คือยุธัญชัยกับยุธิฏฐิละทรงละทิ้งพระราชมารดาและ พระราชบิดาแล้ว ทางตัดเครื่องข้องแห่งมัจจุราช เสด็จออกผนวชแล้ว.

จบ ยุธัญชยชาดกที่ ๖.

๗. ทสรถชาดก ว่าด้วยผู้มีปัญญาย่อมไม่เศร้าโศกถึงสิ่งที่เสียไปแล้ว


[๑๕๖๔] มานี่แน่ะ เจ้าลักษณ์และนางสีดาทั้งสองจงมาลงน้ำ พระภรตนี้กล่าว อย่างนี้ว่า พระเจ้าทสรถสวรรคตเสียแล้ว.
[๑๕๖๕] พี่ราม ด้วยอานุภาพอะไรเจ้าพี่ไม่เศร้าโศกถึงสิ่งที่ควรเศร้าโศก ความ ทุกข์มิได้ครอบงำพี่เพราะได้ทรงสดับว่า พระราชบิดาสวรรคตเล่า?
[๑๕๖๖] คนเราไม่สามารถจะรักษาชีวิต ที่คนเป็นอันมากพร่ำเพ้อถึง นักปราชญ์ ผู้รู้แจ้งจะทำตนให้เดือดร้อนเพื่ออะไรกัน?
[๑๕๖๗] ทั้งเด็กทั้งผู้ใหญ่ ทั้งพาลทั้งบัณฑิต ทั้งคนมั่งมีทั้งคนยากจน ล้วนบ่าย หน้าไปหามฤตยูทั้งนั้น.
[๑๕๖๘] ผลไม้ที่สุกแล้ว ก็พลันแต่จะหล่นลงเป็นแน่ ฉันใด สัตว์ทั้งหลายเกิดมา แล้ว ก็พลันแต่จะตายเป็นแน่ ฉันนั้น.
[๑๕๖๙] เวลาเช้าเห็นกันอยู่มากคน พอถึงเวลาเย็นบางคนไม่เห็นกัน เวลาเย็น เห็นกันอยู่มากคน พอถึงเวลาเช้าบางคนไม่เห็นกัน.
[๑๕๗๐] ถ้าผู้ที่คร่ำครวญหลงเบียดเบียนตนอยู่ จะพึงได้รับประโยชน์สักเล็กน้อย ไซร้ บัณฑิตผู้มีปรีชาก็จะพึงทำเช่นนั้นบ้าง.
[๑๕๗๑] ผู้เบียดเบียนตนของตนอยู่ ย่อมซูบผอมปราศจากผิวพรรณ สัตว์ผู้ละไป แล้วไม่ได้ช่วยคุ้มครองรักษา ด้วยการร่ำไห้นั้นเลย การร่ำไห้ไร้ประโยชน์.
[๑๕๗๒] คนฉลาดพึงดับไฟที่ไหม้เรือนด้วยน้ำ ฉันใด คนผู้เป็นนักปราชญ์ได้รับ การศึกษามาดี มีปัญญาเฉลียวฉลาด พึงรีบกำจัดความโศกที่เกิดขึ้นโดย ฉับพลัน เหมือนลมพัดปุยนุ่น ฉันนั้น.
[๑๕๗๓] คนๆ เดียวเท่านั้นตายไป คนเดียวเท่านั้นเกิดในตระกูล ส่วนการคบ หากันของสรรพสัตว์ มีความเกี่ยวข้องกันเป็นอย่างยิ่ง.
[๑๕๗๔] เพราะเหตุนั้นแล ความเศร้าโศกแม้จะมากมายก็ไม่ทำจิตใจของนัก ปราชญ์ ผู้เป็นพหูสูต มองเห็นโลกนี้และโลกหน้า รู้ทั่วถึงธรรมให้ เร่าร้อนได้.
[๑๕๗๕] เราจักให้ยศ และโภคสมบัติ แก่ผู้ที่ควรจะได้ จักทะนุบำรุงภรรยา ญาติทั้งหลาย และคนที่เหลือ นี้เป็นกิจของบัณฑิตผู้ปรีชา.
[๑๕๗๖] พระเจ้ารามผู้มีพระศอดุจกลองทอง มีพระพาหาใหญ่ ทรงครอบครอง ราชสมบัติอยู่ตลอด ๑๖,๐๐๐ ปี.

จบ ทสรถชาดกที่ ๗.

๘. สังวรชาดก ว่าด้วยพระราชาผู้มีศีลาจารวัตรที่ดีงาม


[๑๕๗๗] ข้าแต่พระมหาราช พระราชาผู้เป็นจอมแห่งชน ทรงทราบถึงพระศีลา จารวัตรของพระองค์ ทรงยกย่องพระกุมารเหล่านี้มิได้สำคัญพระองค์ด้วย ชนบทอะไรเลย.
[๑๕๗๘] เมื่อพระมหาราชาผู้สมมติเทพ ยังทรงพระชนม์อยู่หรือทิวงคตแล้วก็ตาม พระประยูรญาติผู้เห็นประโยชน์ตนเป็นสำคัญ พากันยอมรับนับถือ พระองค์.
[๑๕๗๙] ข้าแต่พระเจ้าสังวรราช ด้วยพระศีลาจารวัตรข้อไหน พระองค์จึงสถิตอยู่ เหนือพระเชฏฐภาดาผู้ทรงร่วมกำเนิดได้ ด้วยพระศีลาจารวัตรข้อไหน หมู่พระญาติที่ประชุมกันแล้ว จึงไม่ย่ำยีพระองค์ได้?
[๑๕๘๐] ข้าแต่พระราชบุตร หม่อมฉันมิได้ริษยาสมณะทั้งหลายผู้แสวงหาคุณอัน ใหญ่หลวง หม่อมฉันนอบน้อมท่านเหล่านั้นโดยเคารพ ไหว้เท้าของท่าน ผู้คงที่.
[๑๕๘๑] สมณะเหล่านั้น ยินดีแล้วในคุณธรรมของท่านผู้แสวงหาคุณ ย่อมพร่ำ สอนหม่อมฉันผู้ประกอบในคุณธรรม ผู้พอใจฟัง ไม่มีความริษยา.
[๑๕๘๒] หม่อมฉันได้ฟังคำของสมณะ ผู้แสวงหาคุณอันใหญ่หลวง เหล่านั้นแล้ว มิได้ดูหมิ่นสักน้อยหนึ่งเลย ใจของหม่อมฉันยินดีแล้วในธรรม.
[๑๕๘๓] กองพลช้าง กองพลม้า กองพลรถ และกองพลเดินเท้า หม่อมฉันไม่ ตัดเบี้ยเลี้ยงและบำเหน็จบำนาญของจาตุรงคเสนาเหล่านั้นให้ลดน้อยลง.
[๑๕๘๔] อำมาตย์ผู้ใหญ่ และข้าราชการผู้มีปรีชาของหม่อมฉันมีอยู่ ช่วยกันบำรุง พระนครพาราณสีให้มีเนื้อมาก มีน้ำดี.
[๑๕๘๕] อนึ่ง พวกพ่อค้าผู้มั่งคั่งมาแล้วจากรัฐต่างๆ หม่อมฉันช่วยจัดอารักขาให้ พ่อค้าเหล่านั้น ขอได้โปรดทราบอย่างนี้เถิด เจ้าพี่อุโบสถ.
[๑๕๘๖] ข้าแต่พระเจ้าสังวรราช ได้ยินว่า พระองค์ทรงครอบครองราชสมบัติแห่ง หมู่พระญาติโดยธรรม พระองค์เป็นผู้มีพระปรีชาด้วย เป็นบัณฑิตด้วย ทั้งทรงเกื้อกูลพระประยูรญาติด้วย.
[๑๕๘๗] ศัตรูทั้งหลายย่อมไม่เบียดเบียนพระองค์ผู้แวดล้อมไปด้วยพระประยูรญาติ มองมูลด้วยรัตนะต่างๆ เหมือนจอมอสูร ไม่เบียดเบียนพระอินทร์ ฉะนั้น.

จบ สังวรชาดกที่ ๘.

๙. สุปปารกชาดก ว่าด้วยทะเล ๖ ประการ


[๑๕๘๘] พวกมนุษย์จมูกแหลมดำผุดดำว่ายอยู่ พวกข้าพเจ้าขอถามท่านสุปปารกะ ทะเลนี้ชื่ออะไร?
[๑๕๘๙] เมื่อท่านทั้งหลาย ผู้เป็นพ่อค้าแสวงหาทรัพย์ออกจากท่าชื่อภรุกัจฉะ ครั้น เรือแล่นไปผิดทางมาถึงทะเลตอนนี้เขาเรียกกันว่า ขุรมาลี.
[๑๕๙๐] ทะเลนี้ ปรากฏเหมือนกองไฟและพระอาทิตย์ ข้าพเจ้าขอถามท่าน สุปปารกะ ทะเลนี้ชื่ออะไร?
[๑๕๙๑] เมื่อท่านทั้งหลาย ผู้เป็นพ่อค้าแสวงหาทรัพย์ ออกจากท่าชื่อภรุกัจฉะ ครั้นเรือแล่นไปผิดทางมาถึงทะเลตอนนี้เขาเรียกว่า อัคคิมาลี.
[๑๕๙๒] ทะเลนี้ปรากฏเหมือนนมส้มและนมสด พวกข้าพเจ้าขอถามท่าน สุปปารกะ ทะเลนี้ชื่ออะไร?
[๑๕๙๓] เมื่อท่านทั้งหลาย ผู้เป็นพ่อค้าแสวงหาทรัพย์ ออกจากท่าชื่อภรุกัจฉะ ครั้น เรือแล่นไปผิดทางมาถึงทะเลตอนนี้เขาเรียกกันว่า ทธิมาลี.
[๑๕๙๔] ทะเลนี้ปรากฏเหมือนหญ้าคาและข้าวกล้า พวกข้าพเจ้าขอถามท่าน สุปปารกะ ทะเลนี้ชื่ออะไร?
[๑๕๙๕] เมื่อท่านทั้งหลาย ผู้เป็นพ่อค้าแสวงหาทรัพย์ ออกจากท่าชื่อภรุกัจฉะ ครั้น เรือแล่นไปผิดทางมาถึงทะเลตอนนี้เขาเรียกกันว่า กุสมาลี.
[๑๕๙๖] ทะเลนี้ปรากฏเหมือนไม้อ้อ และไม้ไผ่ พวกข้าพเจ้าขอถามท่านสุปปารกะ ทะเลนี้ชื่ออะไร?
[๑๕๙๗] เมื่อท่านทั้งหลาย ผู้เป็นพ่อค้าแสวงหาทรัพย์ ออกจากท่าชื่อภรุกัจฉะ ครั้น เรือแล่นไปผิดทางมาถึงทะเลตอนนี้เขาเรียกกันว่า นฬมาลี.
[๑๕๙๘] เสียงน่ากลัวมาก น่าสยดสยอง ฟังเหมือนเสียงอมนุษย์ และทะเลนี้ ปรากฏเหมือนบึงและเหว พวกข้าพเจ้าขอถามท่านสุปปารกะ ทะเลนี้ ชื่ออะไร?
[๑๕๙๙] เมื่อท่านทั้งหลายผู้เป็นพ่อค้าแสวงหาทรัพย์ ออกจากท่าชื่อภรุกัจฉะ ครั้น เรือแล่นไปผิดทางมาถึงทะเลตอนนี้เขาเรียกกันว่า พลวามุขี.
[๑๖๐๐] ตั้งแต่ข้าพเจ้าระลึกถึงตนได้ ถึงความเป็นผู้รู้เดียงสา ข้าพเจ้าไม่เคยรู้สึก แกล้งเบียดเบียนสัตว์แม้สักตัวหนึ่งเลย ด้วยสัจจวาจานี้ ขอเรือจงกลับ ได้โดยสวัสดี.

จบ สุปปารกชาดกที่ ๙.

______________ รวมชาดกที่มีในวรรคนี้ คือ ๑. มาตุโปสกชาดก ๒. ชุณหชาดก ๓. ธรรมเทวปุตตกชาดก ๔. อุทยชาดก ๕. ปานียชาดก ๖. ยุธัญชยชาดก ๗. ทสรถชาดก ๘. สังวรชาดก ๙. สุปปารกชาดก. จบ เอกาทสกนิบาต _________________

ทวาทสนิบาตชาดก

๑. จุลลกุณาลชาดก ว่าด้วยสิ่ง ๕ อย่างรู้ได้ยาก


[๑๖๐๑] บุรุษผู้ไม่ถูกผีสิง ย่อมไม่ควรจะเชื่อหญิงผู้หยาบช้า ใจเบาไม่รู้จักคุณคน มักประทุษร้ายมิตร.
[๑๖๐๒] หญิงเหล่านั้นย่อมไม่รู้จักกิจที่ทำแล้วและกิจที่ยังไม่ได้ทำ ไม่รู้จักมารดา บิดา หรือพี่น้อง ไม่ใช่อารยชน ก้าวล่วงธรรมเสียแล้ว ย่อมไปตาม อำนาจจิตของตนถ่ายเดียว.
[๑๖๐๓] เมื่อมีอันตราย และเมื่อกิจเกิดขึ้น หญิงย่อมละทิ้งสามีนั้นแม้อยู่ร่วมกัน มานาน เป็นที่รัก เป็นที่พอใจ เป็นผู้อนุเคราะห์แม้เสมอด้วยชีวิต เพราะเหตุนั้น เราจึงไม่ไว้วางใจหญิงทั้งหลาย.
[๑๖๐๔] ความจริง จิตของหญิงเหมือนกับจิตของลิง ลุ่มๆ ดอนๆ เหมือนกับ เงาต้นไม้ หัวใจของหญิงทั้งหลายไหวไปมาเหมือนล้อรถที่กำลังหมุนไป ฉะนั้น.
[๑๖๐๕] คราวใด หญิงมองเห็นทรัพย์ของบุรุษที่ควรจะถือเอาได้ คราวนั้น ย่อม ใช้วาจาอ่อนหวานนำพาเอาบุรุษนั้นไป เหมือนชาวกัมโพชใช้สาหร่าย ล่อม้าไปได้ฉะนั้น.
[๑๖๐๖] คราวใด ไม่มองเห็นทรัพย์ของบุรุษที่ควรจะถือเอาได้ คราวนั้น ย่อมละ ทิ้งบุรุษนั้นไปเสีย เหมือนบุคคลข้ามฟากถึงฝั่งโน้นแล้ว ก็ทิ้งแพไป เสีย ฉะนั้น.
[๑๖๐๗] หญิงเปรียบเหมือนยางรัก กินไม่เลือกเหมือนเปลวไฟ มีมายาแรงกล้า เหมือนแม่น้ำอันมีกระแสเชี่ยว ย่อมคบหาบุรุษทั้งที่น่ารักและไม่น่ารัก เหมือนเรือจอดไม่เลือกว่าฝั่งข้างนี้ หรือข้างโน้น ฉะนั้น.
[๑๖๐๘] หญิงไม่ใช่ของบุรุษคนเดียว หรือสองคน ย่อมต้อนรับทั่วไป เหมือนร้าน ตลาด ผู้ใดสำคัญซึ่งหญิงเหล่านั้น ว่าของเราก็เท่ากับดักลมด้วยตาข่าย ฉะนั้น.
[๑๖๐๙] แม่น้ำ หนทาง ร้านขายเหล้า สภา และบ่อน้ำ มีอุปมาฉันใด หญิง ในโลกก็มีอุปไมยฉันนั้น เขตแดนของหญิงเหล่านั้นไม่มีเลย.
[๑๖๑๐] หญิงเหล่านั้นเสมอด้วยไฟกินเปรียง เปรียบด้วยหัวงูเห่า เลือกหยิบเอา แต่ที่อร่อยๆ เหมือนโคเลือกกินหญ้าในภายนอก ฉะนั้น.
[๑๖๑๑] ไฟกินเปรียง ๑ ช้างสาร ๑ งูเห่า ๑ พระเจ้าแผ่นดินผู้ได้มูรธาภิเษก ๑ หญิงทุกคน ๑ ทั้ง ๕ นี้ คนพึงคบหาด้วยความระมัดระวังเป็นนิตย์ เพราะว่าสิ่งทั้ง ๕ นั้นมีอัธยาศัยที่รู้ได้ยาก.
[๑๖๑๒] หญิงที่งามเกินไป ๑ หญิงที่ชายเป็นอันมากไม่รักใคร่ ๑ (หญิงแพศยา) หญิงที่เหมือนมือขวา ๑ (ชำนาญการฟ้อนการขับ) หญิงที่เป็นภรรยาของ คนอื่น ๑ หญิงที่เห็นแก่ทรัพย์ ๑ หญิง ๕ จำพวกนี้ก็ไม่ควรคบหา.

จบจุลลกุณาลชาดกที่ ๑.

๒. ภัททสาลชาดก ว่าด้วยการบำเพ็ญประโยชน์แก่ญาติ


[๑๖๑๓] ท่านเป็นใคร มีผ้าอันสะอาดหมดจด มายืนอยู่บนอากาศ เพราะเหตุไร น้ำตาของท่านจึงไหล ภัยมาถึงท่านแต่ที่ไหน?
[๑๖๑๔] ข้าแต่พระองค์ผู้สมมติเทพ เมื่อหม่อมฉันได้รับการบูชาอยู่ ๖๐,๐๐๐ ปี ชนทั้งหลาย รู้จักหม่อมฉันว่า ภัททสาละ ในแว่นแคว้นของพระองค์นี้แล.
[๑๖๑๕] ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นใหญ่ในทิศ พระราชาพระองค์ก่อนๆ เมื่อสร้าง พระนคร อาคาร และปราสาทต่างๆ พระราชาเหล่านั้นมิได้ดูหมิ่น หม่อมฉันเลย พระราชาเหล่านั้นบูชาหม่อมฉัน ฉันใด แม้พระองค์ ก็จงบูชาหม่อมฉัน ฉันนั้นเถิด.
[๑๖๑๖] ก็ข้าพเจ้ามิได้เห็นต้นไม้อื่นที่จะใหญ่โตเหมือนท่าน โดยประมาณท่าน เป็นไม้งามแต่กำเนิดด้วยย่านและปริมณฑล.
[๑๖๑๗] ข้าพเจ้าจะให้นายช่างทำปราสาทมีเสาเดียว เป็นที่รื่นรมย์ใจ ข้าพเจ้าจะ เชื้อเชิญท่านมาอยู่ที่ปราสาทนั้น ดูกรเทวดา ชีวิตของท่านจักยั่งยืน.
[๑๖๑๘] ถ้าพระองค์ทรงดำริอย่างนี้ ก็จำต้องพลัดพรากจากต้นรังอันเป็นร่างกาย ของหม่อมฉัน พระองค์จงตัดหม่อมฉันทำเป็นท่อนๆ ให้มากเถิด.
[๑๖๑๙] พระองค์จงตัดปลายก่อนแล้วจงตัดท่อนกลาง ภายหลังจึงตัดที่โคน เมื่อหม่อมฉันถูกตัดอย่างนี้ ถึงจะตายลงก็ไม่มีทุกข์.
[๑๖๒๐] ราชบุรุษตัดมือและเท้า ตัดหูและจมูก ภายหลังจึงตัดศีรษะของโจรผู้เป็น อยู่ ความตายนั้นชื่อว่าตายเป็นทุกข์.
[๑๖๒๑] ดูกรต้นรังผู้เป็นเจ้าแห่งป่า เขาตัดเป็นท่อนๆ เป็นสุขหรือหนอ ท่าน มีเหตุอะไร มั่นใจอย่างไร จึงปรารถนาให้ตัดเป็นท่อนๆ ?
[๑๖๒๒] ข้าแต่มหาราช หม่อมฉันยึดมั่นเหตุอันใด อันเป็นเหตุประกอบด้วยธรรม ปรารถนาให้ตัดเป็นท่อนๆ ขอพระองค์จงทรงสดับเหตุอันนั้น.
[๑๖๒๓] หมู่ญาตของหม่อมฉัน เจริญอยู่ด้วยความสุข เกิดแล้วใกล้ต้นรังข้าง หม่อมฉัน หม่อมฉันพึงเข้าไปเบียดเบียนหมู่ญาติเหล่านั้น เมื่อเป็น เช่นนี้ หม่อมฉันชื่อว่าเข้าไปสั่งสมสิ่งที่มิใช่ความสุขให้แก่คนเหล่าอื่น เหตุนั้นหม่อมฉันจึงปรารถนาให้ตัดเป็นท่อนๆ .
[๑๖๒๔] ดูกรต้นรังผู้เป็นเจ้าแห่งป่า ท่านย่อมคิดสิ่งที่ควรคิด ท่านเป็นผู้ปรารถนา ประโยชน์แก่หมู่ญาติ ดูกรสหาย ข้าพเจ้าให้อภัยแก่ท่าน.

จบภัททสาลชาดกที่ ๒.

๓. สมุททวาณิชชาดก ว่าด้วยพ่อค้าทางสมุทร


[๑๖๒๕] ชนทั้งหลายพากันไถ พากันหว่าน เป็นมนุษย์ผู้ต้องเลี้ยงชีพด้วยผลการ งาน ไม่ถึงส่วนหนึ่งแห่งเกาะอันนี้ เกาะของเรานี้แหละดีกว่าชมพูทวีป.
[๑๖๒๖] ในวันพระจันทร์เพ็ญ ทะเลจักมีคลื่นจัด จะท่วมเกาะใหญ่นี้ให้จมลง คลื่นทะเลอย่าฆ่าท่านทั้งหลายเสียเลย ท่านทั้งหลายจงพากันไปหาที่พึ่ง อาศัยที่อื่นเถิด.
[๑๖๒๗] คลื่นทะเลจะไม่เกิดท่วมเกาะใหญ่นี้ เหตุอันนั้นเราเห็นแล้วด้วยนิมิตเป็น อันมาก ท่านทั้งหลายอย่ากลัวเลย จะเศร้าโศกทำไม จงเบิกบานใจเถิด.
[๑๖๒๘] ท่านทั้งหลายจงอยู่ยึดครองเกาะใหญ่นี้ อันมีอาหารเพียงพอ มีข้าวและ น้ำมากมาย เป็นที่อยู่อาศัยเถิด เราไม่มองเห็นภัยอันใดอันหนึ่ง ซึ่งจะเกิด มีแก่ท่านทั้งหลายเลย ท่านทั้งหลายจงเบิกบานใจอยู่ด้วยบุตรหลานเถิด.
[๑๖๒๙] เทพบุตรในทิศทักษิณนี้ ย่อมคัดค้านความเกษมสำราญ ถ้อยคำของเทพ บุตรนั้นเป็นคำจริง เทพบุตรในทิศอุดรไม่รู้แจ้งภัย หรือมิใช่ภัย ท่าน ทั้งหลายอย่ากลัวเลย จะเศร้าโศกไปทำไม จงเบิกบานใจเถิด.
[๑๖๓๐] เทวดาเหล่านี้ย่อมกล่าวผิดกันอย่างไร เทวดาตนหนึ่งกล่าวว่าจะมีภัย ตนหนึ่งกล่าวว่าปลอดภัย ดังเราขอเตือน ท่านทั้งหลายจงฟังถ้อยคำของ เราเถิด เราทั้งหมดอย่าฉิบหายเสียเร็วพลันเลย.
[๑๖๓๑] เราทั้งปวง จงมาช่วยกันทำเรือใหญ่ให้มั่นคงติดเครื่องยนต์ไว้พร้อมสรรพ ถ้าเทพบุตรในทิศทักษิณพูดจริง เทพบุตรในทิศอุดรก็พูดค้านเปล่าๆ .
[๑๖๓๒] เมื่ออันตรายเกิดมีขึ้น เรือของพวกเรานั้นก็จักไม่เสียหาย อนึ่ง เราจะไม่ ละทิ้งเกาะนี้ ถ้าหากเทพบุตรในทิศอุดรพูดจริง เทพบุตรในทิศทักษิณก็ พูดค้านเปล่าๆ .
[๑๖๓๓] เราทุกคนพึงขึ้นสู่เรือนั้นทันที ข้ามไปถึงฝั่งโน้นโดยสวัสดีอย่างนี้ พวก เราไม่พึงเชื่อถือง่ายๆ ว่าคำจริงโดยคำแรก ไม่พึงเชื่อถือง่ายๆ ซึ่งถ้อยคำ ที่เทพบุตรกล่าวแล้วในภายหลังว่าเป็นจริง นรชนใดในโลกนี้เลือกถือ เอาส่วนกลางไว้ได้ นรชนนั้นย่อมเข้าถึงซึ่งฐานะอันประเสริฐ.
[๑๖๓๔] กุลบุตรผู้มีปัญญากว้างขวาง แทงตลอดประโยชน์ในอนาคตแล้ว ย่อมไม่ ให้ประโยชน์นั้นผ่านพ้นไปแม้แต่น้อย เหมือนพวกพ่อค้าเหล่านั้น พา กันไปในท่ามกลางทะเลโดยสวัสดีด้วยกรรมของตน.
[๑๖๓๕] ส่วนพวกคนพาลมัวหมกมุ่นอยู่ในรสด้วยโมหะ ไม่แทงตลอดประโยชน์ อันเป็นอนาคต เมื่อความต้องการเกิดขึ้น เฉพาะหน้าย่อมพากันล่มจม เหมือนมนุษย์เหล่านั้นพากันล่มจมในท่ามกลางทะเล ฉะนั้น.
[๑๖๓๖] ชนผู้เป็นบัณฑิตพึงรีบทำกิจที่ควรทำก่อนเสียทีเดียว อย่าให้กิจที่ต้องทำ เบียดเบียนตัวได้ในเวลาที่ต้องการ กิจนั้นไม่เบียดเบียนบุคคลผู้รีบทำ กิจที่ควรทำเช่นนั้น ในเวลาที่ต้องการ.

จบสมุททวาณิชชาดก ที่ ๓.

๔. กามชาดก ว่าด้วยกามและโทษของกาม


[๑๖๓๗] เมื่อบุคคลปรารถนากาม ถ้าสิ่งที่ปรารถนาของบุคคลนั้นย่อมสำเร็จได้ สัตว์ปรารถนาสิ่งใดได้สิ่งนั้นแล้ว ย่อมมีใจอิ่มเอิบแท้.
[๑๖๓๘] เมื่อบุคคลปรารถนากาม ถ้าสิ่งที่ปรารถนาของบุคคลนั้นย่อมสำเร็จได้ ครั้นสิ่งที่ปรารถนานั้นสำเร็จ บุคคลยังปรารถนาต่อไปอีก ก็ย่อมได้ประ สบกามตัณหา เหมือนบุคคลที่ถูกลมแดดแผดเผาในฤดูร้อน ย่อมเกิด ความกระหายใคร่จะดื่มน้ำ ฉะนั้น.
[๑๖๓๙] ตัณหาก็ดี ความกระหายก็ดี ของคนพาลมีปัญญาน้อย ไม่รู้อะไร ย่อม เจริญยิ่งขึ้นทุกที เหมือนเขาโคย่อมเจริญขึ้นตามตัว ฉะนั้น.
[๑๖๔๐] แม้จะให้ทรัพย์สมบัติ ข้าวสาลี ข้าวเหนียว โค ม้า ข้าทาสหญิงชาย ทั้งแผ่นดิน ก็ยังไม่พอแก่คนๆ เดียว รู้อย่างนี้แล้วพึงประพฤติธรรมสม่ำ เสมอ.
[๑๖๔๑] พระราชาทรงปราบปรามชนะทั่วแผ่นดิน ทรงครอบครองแผ่นดินใหญ่ มีมหาสมุทรเป็นขอบเขต ทรงครอบครองมหาสมุทรฝั่งนี้แล้ว มีพระทัย ไม่อิ่ม ยังปรารถนาแม้มหาสมุทรฝั่งโน้นต่อไปอีก.
[๑๖๔๒] เมื่อยังระลึกถึงกามอยู่ตราบใด ก็ไม่ได้ความอิ่มด้วยใจตราบนั้น ชนเหล่า ใดบริบูรณ์ด้วยปัญญา มีกายและใจหลีกเว้นจากกามทั้งหลาย เห็นโทษ ด้วยญาณ ชนเหล่านั้นแลชื่อว่าเป็นผู้อิ่ม.
[๑๖๔๓] บรรดาความอิ่มทั้งหลาย ความอิ่มด้วยปัญญาประเสริฐ เพราะผู้อิ่มด้วย ปัญญานั้น ย่อมไม่เดือดร้อนด้วยกามทั้งหลาย คนผู้อิ่มด้วยปัญญา ตัณหาย่อมกระทำให้อยู่ในอำนาจไม่ได้.
[๑๖๔๔] ไม่พึงสั่งสมกามทั้งหลาย พึงเป็นผู้มีความปรารถนาน้อย ไม่มีความละโมภ บุรุษผู้มีปัญญาเปรียบด้วยมหาสมุทร ย่อมไม่เดือดร้อนด้วยกามทั้งหลาย.
[๑๖๔๕] ช่างทำรองเท้าหนังเลี้ยงชีพ เมื่อประกอบรองเท้า ส่วนใดควรเว้นก็เว้น เลือบเอาแต่ส่วนที่ดีๆ มาทำรองเท้าขายได้ราคาแล้ว ย่อมมีความสุข เรา ก็ฉันนั้นเหมือนกัน พิจารณาด้วยปัญญาแล้ว ละทิ้งส่วนแห่งกามเสีย ย่อมถึงความสุข ถ้าพึงปรารถนาความสุขทั้งปวง ก็พึงละกามทั้งปวงเสีย.
[๑๖๔๖] คาถาทั้งหมด ๘ คาถา ที่ท่านกล่าวแล้วขอท่านจงรับเอาทรัพย์ ๘ พันนี้ เถิด คำที่ท่านกล่าวนี้ เป็นคำยังประโยชน์ให้สำเร็จ.
[๑๖๔๗] ข้าพระบาทไม่ต้องการด้วยทรัพย์ร้อย ทรัพย์พัน หรือทรัพย์หมื่น เมื่อ ข้าพระบาทกล่าวคาถาสุดท้าย ใจของข้าพระบาทไม่ยินดีในกาม.
[๑๖๔๘] มาณพใดเป็นบัณฑิต กำหนดรู้ตัณหาอันยังความทุกข์ให้เกิดแล้ว นำออก ได้ มาณพนี้เป็นคนดี เป็นมุนีผู้รู้แจ้งโลกทั้งปวง.

จบกามชาดกที่ ๔.

๕. ชนสันธชาดก เหตุที่ทำจิตให้เดือดร้อน


[๑๖๔๙] พระเจ้าชนสันธะได้ตรัสอย่างนี้ว่า เหตุที่จะทำให้จิตเดือดร้อนนั้นมีอยู่ ๑๐ ประการ บุคคลไม่กระทำเสียในกาลก่อนแล้ว ย่อมเดือดร้อนในภายหลัง.
[๑๖๕๐] บุคคลเมื่อยังเป็นหนุ่ม ไม่ทำความพยายามยังทรัพย์ให้เกิดขึ้น ครั้นแก่ลง หาทรัพย์ไม่ได้ ย่อมเดือดร้อนภายหลังว่า เมื่อก่อนเราไม่ได้แสวงหา ทรัพย์ไว้.
[๑๖๕๑] ศิลปที่สมควรแก่ตน บุคคลใดไม่ได้ศึกษาไว้ในกาลก่อน บุคคลนั้นย่อม เดือดร้อนในภายหลังว่า เราไม่ได้ศึกษาศิลปไว้ก่อน ผู้ไม่มีศิลปย่อมเลี้ยง ชีพลำบาก.
[๑๖๕๒] ผู้ใดเป็นคนโกง ผู้นั้นย่อมเดือดร้อนในภายหลังว่า เราเป็นคนโกง ส่อเสียด กินสินบน ดุร้าย หยาบคาย ในกาลก่อน.
[๑๖๕๓] ผู้ใดเป็นคนฆ่าสัตว์ ผู้นั้นย่อมเดือดร้อนในภายหลังว่า เราเป็นคนฆ่า สัตว์ หยาบช้า ทุศีล ประพฤติต่ำช้า ปราศจากขันติ เมตตาและเอ็นดู สัตว์ในกาลก่อน.
[๑๖๕๔] ผู้ใดคบชู้ในภรรยาผู้อื่น ย่อมเดือดร้อนในภายหลังว่า หญิงที่ไม่มีใคร หวงแหนมีอยู่เป็นอันมาก ไม่ควรที่เราจะคบหาภรรยาผู้อื่นเลย.
[๑๖๕๕] คนตระหนี่ ย่อมเดือดร้อนในภายหลังว่า เมื่อก่อน ข้าวและน้ำของเรามี อยู่มากมาย เราก็มิได้ให้ทานเลย.
[๑๖๕๖] ผู้ไม่เลี้ยงดูมารดาบิดา ย่อมเดือดร้อนในภายหลังว่า เราสามารถพอที่จะ เลี้ยงดูมารดาและบิดาผู้แก่เฒ่าชราได้ ก็มิได้เลี้ยงดูท่าน.
[๑๖๕๗] ผู้ไม่ทำตามโอวาทบิดา ย่อมเดือดร้อนในภายหลังว่า เราได้ดูหมิ่นบิดา ผู้เป็นอาจารย์สั่งสอน ผู้นำรสที่ต้องการทุกอย่างมาเลี้ยงดู.
[๑๖๕๘] ผู้ไม่เข้าใกล้สมณพราหมณ์ ย่อมเดือดร้อนในภายหลังว่า เมื่อก่อน เรา มิได้ไปมาหาสู่สมณพราหมณ์ทั้งหลาย ผู้มีศีล เป็นพหูสูตเลย.
[๑๖๕๙] ผู้ใดไม่มีประพฤติสุจริตธรรม ไม่เข้าไปนั่งใกล้สัตบุรุษ ย่อมเดือดร้อน ในภายหลังว่า สุจริตธรรมที่ประพฤติแล้ว และสัตบุรุษอันเราไปมาหาสู่ แล้ว ย่อมเป็นความดี แต่เมื่อก่อนนี้ เราไม่ได้ประพฤติสุจริตธรรมไว้เลย.
[๑๖๖๐] ผู้ใดย่อมปฏิบัติเหตุเหล่านี้โดยอุบายอันแยบคาย ผู้นั้นเมื่อกระทำกิจที่บุรุษ ควรทำ ย่อมไม่เดือดร้อนใจในภายหลังเลย.

จบ ชนสันธชาดกที่ ๕.

๖. มหากัณหชาดก ว่าด้วยคราวที่สุนัขดำกินคน


[๑๖๖๑] ดูกรท่านผู้มีความเพียร สุนัขตัวนี้ดำจริง ดุร้าย มีเขี้ยวขาว มีความร้อน พุ่งออกจากเขี้ยวท่านผูกไว้ด้วยเชือกถึง ๕ เส้น สุนัขของท่านจะทำอะไร?
[๑๖๖๒] ดูกรพระเจ้าอุสินนระ สุนัขนี้มิได้มาเพื่อต้องการกินเนื้อ แต่มาเพื่อจะ กินมนุษย์ทั้งหลาย เมื่อใด จักมีมนุษย์ทำความพินาศให้แก่มนุษย์ทั้งหลาย เมื่อนั้น สุนัขดำตัวนี้ก็จะหลุดไปกินมนุษย์.
[๑๖๖๓] เมื่อใด คนทั้งหลายผู้ปฏิญาณตนว่า เป็นสมณะมีบาตรในมือ ศีรษะโล้น คลุมผ้าสังฆาฏิ จักทำไร่ไถนาเลี้ยงชีพ เมื่อนั้น สุนัขดำตัวนี้ก็จะหลุด ไปกินคนเหล่านั้น.
[๑๖๖๔] เมื่อใด จักมีหญิงผู้ปฏิญาณตนว่า มีตบะ บวชมีศีรษะโล้น คลุมผ้าสังฆาฏิ เที่ยวบริโภคกามคุณอยู่ เมื่อนั้น สุนัขดำตัวนี้จะหลุดไปกินหญิงเหล่านั้น.
[๑๖๖๕] เมื่อใด ชฎิลทั้งหลายมีหนวดอันยาว มีฟันเขลอะ มีศีรษะเกลือกกลั้ว ด้วยธุลี เที่ยวภิกขาจาร รวบรวมทรัพย์ไว้ให้เขากู้ ชื่นชมยินดีด้วย ดอกเบี้ยเลี้ยงชีพ เมื่อนั้น สุนัขดำตัวนี้จะหลุดไปกินชฎิลเหล่านั้น.
[๑๖๖๖] เมื่อใด พราหมณ์ทั้งหลายเรียนเวทคือสาวิตติศาสตร์ ยัญญวิธี และ ยัญญสูตรแล้วรับจ้างบูชายัญ เมื่อนั้น สุนัขดำตัวนี้จะหลุดไปกินพราหมณ์ เหล่านั้น.
[๑๖๖๗] เมื่อใด ผู้มีกำลังสามารถจะเลี้ยงดูมารดาบิดาได้ แต่ไม่เลี้ยงดูมารดาบิดา ผู้แก่เฒ่าชรา เมื่อนั้น สุนัขดำตัวนี้จะหลุดไปกินคนเหล่านั้น.
[๑๖๖๘] อนึ่ง เมื่อใด ชนทั้งหลายจักกล่าวดูหมิ่นมารดาบิดาผู้แก่เฒ่าชราว่า เป็น คนโง่เง่า เมื่อนั้น สุนัขดำตัวนี้จะหลุดไปกินคนเหล่านั้น.
[๑๖๖๙] อนึ่ง เมื่อใด คนในโลกจักคบหาภรรยาของอาจารย์ ภรรยาเพื่อน ป้า และน้าเป็นภรรยา เมื่อนั้น สุนัขดำตัวนี้จะหลุดไปกินคนเหล่านั้น.
[๑๖๗๐] เมื่อใด พวกพราหมณ์จักถือโล่ห์และดาบเหน็บกระบี่ คอยดักอยู่ที่ทาง ฆ่าคนชิงเอาทรัพย์ เมื่อนั้น สุนัขดำตัวนี้จะหลุดไปกินพราหมณ์เหล่านั้น.
[๑๖๗๑] เมื่อใด นักเลงหญิงทั้งหลาย ขัดสีผิวกายบำรุงร่างกายให้อ้วนพี ไม่รู้ จักหาทรัพย์ ร่วมสังวาสกับหญิงหม้ายที่มีทรัพย์ ครั้นใช้สอยทรัพย์ของ หญิงหม้ายนั้นหมดแล้ว ก็ทำลายมิตรภาพไปหาหญิงอื่นต่อไป เมื่อนั้น สุนัขดำตัวนี้จะหลุดไปกินนักเลงหญิงเหล่านั้น.
[๑๖๗๒] เมื่อใด คนผู้มีมารยา ปกปิดโทษตน เปิดเผยโทษผู้อื่น คิดให้ทุกข์ ผู้อื่น มีอยู่ในโลก เมื่อนั้น สุนัขดำตัวนี้จะหลุดไปกินคนเหล่านั้น.

จบ มหากัณหชาดกที่ ๖.

๗. โกสิยชาดก ว่าด้วยโกสิยเศรษฐีขี้ตระหนี่


[๑๖๗๓] ข้าพเจ้าไม่ซื้อไม่ขายเลย อนึ่ง ความสั่งสมของข้าพเจ้าก็มิได้มีในที่นี้เลย ภัตนี้นิดหน่อยหาได้ยากเหลือเกิน ข้าวสุกแล่งหนึ่งหาพอเพียงแก่เรา ทั้งสองคนไม่
[๑๖๗๔] บุคคลควรแบ่งของน้อยให้ตามน้อย ควรแบ่งของปานกลางให้ตามของ ปานกลาง ควรแบ่งของมากให้ตามมาก การไม่ให้เสียเลย ย่อมไม่สม ควร. ดูกรโกสิยเศรษฐี เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าจึงกล่าวกะท่าน ท่านจงขึ้น สู่ทางแห่งพระอริยะ จงให้ทานด้วย จงบริโภคด้วย ผู้บริโภคคนเดียว ย่อมไม่ได้ความสุข.
[๑๖๗๕] ผู้ใด เมื่อแขกนั่งแล้ว บริโภคโภชนะแต่ผู้เดียว พลีกรรมของผู้นั้น ย่อมไร้ผล ทั้งความเพียรที่จะหาทรัพย์ก็ไร้ประโยชน์. ดูกรโกสิยเศรษฐี เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าจึงกล่าวกะท่าน ท่านจงขึ้นสู่หนทางแห่งพระอริยะ จงให้ทานด้วย จงบริโภคด้วย ผู้บริโภคคนเดียว ย่อมไม่ได้ความสุข.
[๑๖๗๖] ผู้ใด เมื่อแขกนั่งแล้ว ไม่บริโภคโภชนะแต่ผู้เดียว พลีกรรมผู้นั้นย่อมมี ผลจริง ทั้งความเพียรที่จะหาทรัพย์ก็ย่อมมีประโยชน์ด้วย. ดูกรโกสิย เศรษฐี เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าจึงกล่าวกะท่าน ท่านจงขึ้นสู่ทางแห่ง พระอริยะ จงให้ทานด้วย จงบริโภคด้วย ผู้บริโภคคนเดียว ย่อมไม่ได้ ความสุข.
[๑๖๗๗] ก็บุรุษเข้าไปสู่สระแล้ว บูชาที่แม่น้ำพหุกาก็ดี ที่แม่น้ำคยาก็ดี ทีท่า โทณะก็ดี ทีท่าติมพรุก็ดี ที่ห้วงน้ำใหญ่มีกระแสอันเชี่ยวก็ดี. พลีกรรม ของผู้นั้นในที่นั้นๆ ย่อมมีผล ทั้งความเพียรที่จะหาทรัพย์ของผู้นั้นในที่ นั้นๆ ก็ย่อมมีประโยชน์ ผู้ใด เมื่อแขกนั่งแล้ว ไม่บริโภคโภชนะแต่ผู้ เดียว. ผู้นั้นย่อมได้ความสุข ดูกรโกสิยเศรษฐี เพราะเหตุนี้ ข้าพเจ้า จึงกล่าวกะท่าน ท่านจงขึ้นสู่หนทางแห่งพระอริยเจ้า จงให้ทานด้วย จง บริโภคด้วย ผู้บริโภคแต่ผู้เดียว ย่อมไม่ได้ความสุข.
[๑๖๗๘] ผู้ใด เมื่อแขกนั่งแล้ว บริโภคโภชนะแต่ผู้เดียว ผู้นั้นชื่อว่ากลืนกิน เบ็ดอันมีสายยาวพร้อมทั้งเหยื่อ. ดูกรโกสิยเศรษฐี เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าจึงกล่าวกะท่าน ท่านจงขึ้นสู่หนทางแห่งพระอริยะ จงให้ทาน ด้วย จงบริโภคด้วย ผู้บริโภคคนเดียว ย่อมไม่ได้ความสุข.
[๑๖๗๙] พราหมณ์เหล่านี้มีผิวพรรณงามจริงหนอ แต่เหตุอะไร สุนัขของท่านนี้ จึงเปล่งรัศมีมีวรรณะต่างๆ ได้ ท่านทั้งหลายผู้เป็นพราหมณ์ ใครหนอ จะบอกข้าพเจ้าได้?
[๑๖๘๐] ผู้นี้ คือ จันทเทพบุตร ผู้นี้ คือ สุริยเทพบุตร ผู้นี้ คือ มาตลีเทพ สารภี มาแล้วในที่นี้ เรา คือ ท้าวสักกะ ผู้เป็นจอมแห่งเทวดาชาวไตรทศ ส่วนสุนัขนี้แล เราเรียกว่า ปัญจสิขเทพบุตร.
[๑๖๘๑] ฉิ่ง ตะโพน และเปิงมางทั้งหลาย ย่อมปลุกเทพบุตรผู้หลับให้ตื่น และผู้ตื่นอยู่แล้วย่อมเพลิดเพลินใจ.
[๑๖๘๒] คนตระหนี่เหนียวแน่น มักบริภาษสมณพราหมณ์ ทอดทิ้งร่างกายไว้ใน โลกนี้ ตายแล้วย่อมไปสู่นรก.
[๑๖๘๓] ชนเหล่าใด หวังสุคติ ตั้งอยู่แล้วในธรรม คือ ความสำรวมและการ จำแนกแจกทาน ทอดทิ้งร่างกายไว้ในโลกนี้ ตายแล้วย่อมไปสู่สุคติ.
[๑๖๘๔] ท่านนั้นชื่อโกสิยะ มีความตระหนี่ มีธรรมลามก เป็นญาติของเรา ทั้งหลายในชาติก่อน เราทั้งหลายมาในที่นี้ เพื่อประโยชน์แก่ท่านคนเดียว ด้วยคิดว่า โกสิยเศรษฐีนี้ อย่ามีธรรมอันลามกไปนรกเสียเลย.
[๑๖๘๕] ท่านเหล่านั้น เป็นผู้ปรารถนาประโยชน์เกื้อกูลแก่ข้าพเจ้าโดยแท้ เพราะ เหตุที่มาตามพร่ำสอนข้าพเจ้าอยู่เนืองๆ ข้าพเจ้าจักทำตามที่ท่านผู้แสวง หาประโยชน์ทั้งหลาย กล่าวสอนทุกอย่าง. ข้าพเจ้าจะงดเว้นความ ตระหนี่เสียในวันนี้ทีเดียว อนึ่ง ข้าพเจ้าจะไม่พึงทำบาปอะไรๆ อนึ่ง ขึ้นชื่อว่าการไม่ให้อะไรๆ จะไม่มีแก่ข้าพเจ้า อนึ่ง ข้าพเจ้ายังไม่ได้ ให้แล้ว จะไม่ดื่มน้ำ. ข้าแต่ท้าววาสวะ ก็เมื่อข้าพเจ้าให้อยู่อย่างนี้ ตลอดกาลทุกเมื่อ จนโภคะทั้งหลายจะหมดสิ้นไปในที่นี้ ข้าแต่ท้าวสักกะ ต่อแต่นั้น ข้าพเจ้าจักละกามทั้งหลายตามที่มีอยู่อย่างไรแล้วจักออกบวช.

จบ โกสิยชาดกที่ ๗.

๘. เมณฑกปัญหาชาดก ว่าด้วยเมณฑกปัญหา


[๑๖๘๖] ความที่สัตว์เหล่าใดในโลกนี้ เป็นสหายกันแม้จะไปด้วยกันเพียง ๗ ก้าว มิได้เคยมีมาในกาลไหนๆ เลย สัตว์ทั้ง ๒ นั้นซึ่งเป็นศัตรูกันกลับเป็น สหายกัน ย่อมประพฤติเพื่อความคุ้นเคยกันเพราะเหตุอะไร?
[๑๖๘๗] ในเวลาอาหารเช้าวันนี้ ถ้าท่านทั้งหลายไม่สามารถจะแก้ปัญหานี้ของเรา ได้ เราจักขับไล่ท่านทุกคนให้ออกไปจากแว่นแคว้นของเรา เพราะเรา ไม่ต้องการคนโง่เขลา.
[๑๖๘๘] เมื่อสมาคมแห่งมหาชนอึกทึก เมื่อชุมนุมชนเกิดโกลาหลอยู่ ข้าพระองค์ ทั้งหลายมีใจฟุ้งซ่าน จิตไม่แน่วแน่ ก็ไม่สามารถจะพยากรณ์ปัญหา นั้นได้.
[๑๖๘๙] ข้าแต่พระจอมประชาชน นักปราชญ์ทั้งหลายมีจิตมีอารมณ์อันเดียวเทียว คนหนึ่งๆ อยู่ในที่ลับ คิดเนื้อความทั้งหลาย พิจารณาอยู่ในสถานที่ เงียบสงัด ภายหลังจึงจักกราบทูลแก้เนื้อความข้อนั้น พระเจ้าข้า.
[๑๖๙๐] เนื้อแพะ เป็นที่รักเป็นที่พอใจแห่งบุตรอำมาตย์และราชโอรสทั้งหลาย ชนเหล่านั้นย่อมไม่บริโภคเนื้อสุนัข ครั้งนี้ มิตรธรรมแห่งแพะกับสุนัขมี ต่อกัน.
[๑๖๙๑] ชนทั้งหลายย่อมใช้หนังแพะเป็นเครื่องลาดบนหลังม้า เพราะเหตุแห่ง ความสุข แต่ไม่ใช้หนังสุนัขเป็นเครื่องลาดบนหลังม้า ครั้งนี้ มิตรธรรม แห่งแพะกับสุนัขมีต่อกัน.
[๑๖๙๒] แพะมีเขาอันโค้งจริง แต่สุนัขไม่มีเขาเลย แพะกินหญ้า สุนัขกินเนื้อ ครั้งนี้ มิตรธรรมแห่งแพะกับสุนัขมีต่อกัน.
[๑๖๙๓] แพะกินหญ้า กินใบไม้ ส่วนสุนัขไม่กินหญ้า ไม่กินใบไม้ สุนัขจับ กระต่าย หรือแมวกิน ครั้งนี้ มิตรธรรมแห่งแพะกับสุนัขมีต่อกัน.
[๑๖๙๔] แพะมี ๔ เท้า ๘ กีบ มีกายไม่ปรากฏ สุนัขนี้นำหญ้ามาเพื่อแพะนี้ แพะนี้ก็นำเนื้อมาเพื่อสุนัขโน้น.
[๑๖๙๕] นัยว่า พระผู้เป็นจอมประชานิกรผู้ประเสริฐกว่าชาววิเทหรัฐ ประทับอยู่ บนปราสาทอันประเสริฐ ได้ทอดพระเนตรเห็นการนำอาหารมาแลกกัน กินโดยประจักษ์ และได้ทอดพระเนตรเห็นมิตรธรรมแห่งสุนัขกับแพะ ด้วยพระองค์เอง.
[๑๖๙๖] เป็นลาภของเราไม่ใช่น้อยเลย ที่มีบัณฑิตเช่นนี้อยู่ในราชสกุล เพราะว่า นักปราชญ์ทั้งหลายย่อมแทงตลอด ซึ่งเนื้อความแห่งปัญหาอันลึกซึ้ง ละเอียด ด้วยคำสุภาษิต.
[๑๖๙๗] เรามีความพอใจเป็นอย่างยิ่งด้วยคำสุภาษิต จะให้รถเทียมด้วยม้าอัสดร คนละหนึ่งคัน และบ้านส่วยอันเจริญคนละหนึ่งบ้าน แก่ท่านทั้งหลาย ผู้เป็นบัณฑิตทุกคน.

จบ เมณฑกปัญหาชาดกที่ ๘.

๙. มหาปทุมชาดก ว่าด้วยมหาปทุมกุมาร


[๑๖๙๘] พระราชาผู้เป็นใหญ่ในแผ่นดิน ไม่เห็นโทษของผู้อื่นว่าน้อยหรือมาก โดยประการทั้งปวง ไม่พิจารณาด้วยพระองค์เองก่อนแล้ว ไม่พึงลง อาชญา.
[๑๖๙๙] กษัตริย์พระองค์ใด ยังไม่ทันพิจารณาแล้วทรงลงพระราชอาชญา กษัตริย์ พระองค์นั้นชื่อว่า ย่อมกลืนกินพระกระยาหารพร้อมด้วยหนาม เหมือน คนตาบอดกลืนกินอาหารพร้อมด้วยแมลงวัน ฉะนั้น.
[๑๗๐๐] กษัตริย์พระองค์ใด ทรงลงพระราชอาชญากับผู้ไม่ควรจะลงพระราชอาชญา ไม่ทรงลงพระราชอาชญากับผู้ที่ควรลงพระราชอาญา กษัตริย์พระองค์นั้น เป็นเหมือนคนเดินทางไม่ราบเรียบ ไม่รู้ว่าทางเรียบหรือไม่เรียบ.
[๑๗๐๑] กษัตริย์พระองค์ใด ทรงเห็นเหตุที่ควรลงพระราชอาชญา และไม่ควร ลงพระราชอาชญา และทรงเห็นเหตุนั้น โดยประการทั้งปวงเป็นอย่างดี แล้ว ทรงปกครองบ้านเมือง กษัตริย์พระองค์นั้น สมควรปกครองราช สมบัติ.
[๑๗๐๒] กษัตริย์ผู้มีพระทัยอ่อนโยนโดยส่วนเดียว หรือมีพระทัยกล้าโดยส่วน เดียว ก็ไม่อาจที่จะดำรงพระองค์ไว้ในอิสริยยศที่สูงใหญ่ได้ เพราะเหตุ นั้น กษัตริย์ไม่พึงประพฤติเหตุทั้งสอง คือ พระทัยอ่อนเกินไป และกล้า เกินไป.
[๑๗๐๓] กษัตริย์ผู้มีพระทัยอ่อน ก็ถูกประชาราษฎร์ดูหมิ่น กษัตริย์ผู้มีพระทัย แข็งนักก็มีเวร กษัตริย์ควรทราบเหตุทั้งสองอย่างแล้ว ประพฤติเป็น กลางๆ .
[๑๗๐๔] ข้าแต่พระราชา คนมีราคะย่อมพูดมาก แม้คนมีโทสะก็พูดมาก พระองค์ ไม่ควรจะให้ปลงพระชนม์พระราชโอรส เพราะเหตุแห่งหญิงเลย.
[๑๗๐๕] ด้วยเหตุใด ประชาชนทั้งหมดจึงร่วมกันเป็นพวกพ้องของเจ้าปทุมกุมาร ส่วนพระมเหสีนี้พระองค์เดียวเท่านั้นไม่มีพวกพ้อง ด้วยเหตุนั้น เราจัก ปฏิบัติตามคำของพระมเหสี ท่านทั้งหลายจงไป จงโยนเจ้าปทุมกุมารลง ไปในเหวทีเดียว.
[๑๗๐๖] ท่านเป็นผู้อันเราให้โยนลงในเหวอันลึกหลายชั่วลำตาล เหมือนนรกยากที่ จะขึ้นได้ เหตุไร ท่านจึงไม่ตายอยู่ในเหวนั้น?
[๑๗๐๗] พญานาคผู้มีกำลังเรี่ยวแรงเกิดที่ข้างภูเขา รับอาตมภาพในที่นั้นด้วย ขนดหาง เพราะเหตุนั้น อาตมภาพจึงมิได้ตายในที่นั้น.
[๑๗๐๘] ดูกรพระราชบุตร มาเถิด เราจักนำเจ้ากลับไปสู่พระราชวัง จะให้เจ้า ครอบครองราชสมบัติ ขอความเจริญจงมีแก่เจ้าเถิด เจ้าจักมาทำอะไร อยู่ในป่าเล่า?
[๑๗๐๙] บุรุษกลืนกินเบ็ดแล้วปลดเบ็ดที่เปื้อนโลหิตออกได้ แล้วพึงมีความสุข ฉันใด อาตมภาพมองเห็นด้วยตนเอง ฉันนั้น.
[๑๗๑๐] เจ้ากล่าวอะไรหนอว่าเป็นเบ็ด เจ้ากล่าวอะไรหนอว่าเบ็ดเปื้อนโลหิต เจ้ากล่าวอะไรหนอว่าปลดออกได้ เราถามแล้ว ขอเจ้าจงบอกความข้อนั้น แก่เรา?
[๑๗๑๑] ดูกรมหาบพิตร อาตมภาพกล่าวกามคุณว่าเป็นเบ็ด กล่าวช้างและม้าว่า เบ็ดเปื้อนโลหิต กล่าวถึงการสละได้ว่าปลดออกได้ ขอมหาบพิตรจงทรง ทราบอย่างนี้เถิด.
[๑๗๑๒] พระราชมารดาของเรา คือ นางจิญจมานวิกา พระราชบิดาของเรา คือ พระเทวทัต พญานาค คือ พระอานนท์บัณฑิต และเทวดา คือ พระสารีบุตร พระราชบุตรในกาลนั้น คือ เราตถาคต ท่านทั้งหลาย จงจำชาดกไว้อย่างนี้เถิด.

จบ มหาปทุมชาดกที่ ๙.

๑๐. มิตตามิตตชาดก อาการ ๑๖ ของผู้เป็นมิตรและมิใช่มิตร


[๑๗๑๓] บุรุษผู้เป็นบัณฑิตมีปัญญา ได้เห็น และได้ฟังซึ่งบุคคลผู้ทำกรรมอย่างไร จึงจะรู้ได้ว่า ผู้นี้ไม่ใช่มิตร วิญญูชนจะพึงพยายามอย่างไร เพื่อจะรู้ได้ว่า ผู้นี้ไม่ใช่มิตร?
[๑๗๑๔] บุคคลผู้มิใช่มิตรเห็นเพื่อนๆ แล้ว ไม่ยิ้มแย้มแจ่มใส ไม่ร่าเริงต้อนรับ เพื่อน ไม่แลดูเพื่อน กล่าวคำย้อนเพื่อน.
[๑๗๑๕] บุคคลผู้มิใช่มิตร คบหาศัตรูของเพื่อน ไม่คบหามิตรของเพื่อน ห้ามผู้ที่ กล่าวสรรเสริญเพื่อน สรรเสริญผู้ที่ด่าเพื่อน.
[๑๗๑๖] บุคคลผู้มิใช่มิตร ไม่บอกความลับแก่เพื่อน ไม่ช่วยปกปิดความลับของ เพื่อน ไม่สรรเสริญการงานของเพื่อน ไม่สรรเสริญปัญญาของเพื่อน.
[๑๗๑๗] บุคคลผู้มิใช่มิตร ยินดีในความฉิบหายของเพื่อน ไม่ยินดีในความเจริญ ของเพื่อน ได้อาหารที่ดีมีรสอร่อยมาแล้ว ก็มิได้นึกถึงเพื่อน ไม่ยินดี อนุเคราะห์เพื่อนว่า อย่างไรหนอ เพื่อนของเราพึงได้ลาภจากที่นี้บ้าง.
[๑๗๑๘] บัณฑิตได้เห็น และได้ฟังแล้วพึงรู้ว่า ไม่ใช่มิตรด้วยอาการเหล่าใด อาการดังกล่าวมา ๑๖ ประการนี้ มีอยู่ในบุคคลผู้มิใช่มิตร.
[๑๗๑๙] บัณฑิตมีปัญญา ได้เห็น และได้ฟังบุคคลผู้กระทำกรรมอย่างไร จึงจะ รู้ได้ว่า ผู้นี้เป็นมิตร วิญญูชนจะพึงพยายามอย่างไร เพื่อจะรู้ได้ว่า ผู้นี้ เป็นมิตร?
[๑๗๒๐] บุคคลผู้เป็นมิตรนั้น ย่อมระลึกถึงเพื่อนผู้อยู่ห่างไกล ย่อมยินดีต้อนรับ เพื่อนผู้มาหา ถือว่า เป็นเพื่อนของเราจริง รักใคร่จริง ทักทายปราศรัย ด้วยวาจาอันไพเราะ.
[๑๗๒๑] คนที่เป็นมิตร ย่อมคบหาผู้ที่เป็นมิตรของเพื่อน ไม่คบหาผู้ที่ไม่ใช่มิตร ของเพื่อน ห้ามปรามผู้ที่ด่าติเตียนเพื่อน สรรเสริญผู้ที่พรรณนาคุณความ ดีของเพื่อน.
[๑๗๒๒] คนที่เป็นมิตร ย่อมบอกความลับแก่เพื่อน ปิดความลับของเพื่อน สรรเสริญการงานของเพื่อน สรรเสริญปัญญาของเพื่อน.
[๑๗๒๓] คนที่เป็นมิตร ย่อมยินดีในความเจริญของเพื่อน ไม่ยินดีในความเสื่อม ของเพื่อน ได้อาหารมีรสอร่อยมาย่อมระลึกถึงเพื่อน ยินดีอนุเคราะห์ เพื่อนว่า อย่างไรหนอ เพื่อนของเราจะพึงได้ลาภจากที่นี้บ้าง.
[๑๗๒๔] บัณฑิตได้เห็นแล้ว ได้ฟังแล้ว พึงรู้ว่า เป็นมิตรด้วยอาการเหล่าใด อาการดังกล่าวมา ๑๖ ประการนี้ มีอยู่ในบุคคลผู้เป็นมิตร.

จบ มิตตามิตตชาดกที่ ๑๐.

_________________ รวมชาดกที่มีในวรรคนี้ คือ ๑. จุลลกุณาลชาดก ๒. ภัททสาลชาดก ๓. สมุททวาณิชชาดก ๔. กามชาดก ๕. ชนสันธชาดก ๖. มหากัณหชาดก ๗. โกสิยชาดก๘. เมณฑกปัญหาชาดก ๙. มหาปทุมชาดก ๑๐. มิตตามิตตชาดก จบ ทวาทสนิบาตชาดก. _________________

เตรสนิบาตชาดก

๑. อัมพชาดก มนต์เสื่อมเพราะลบหลู่ครูอาจารย์


[๑๗๒๕] ดูกรท่านผู้ประพฤติพรหมจรรย์ แต่ก่อน ท่านได้นำเอาผลมะม่วงทั้งเล็ก ทั้งใหญ่มาให้เรา ดูกรพราหมณ์ บัดนี้ ผลไม้ทั้งหลายย่อมไม่ปรากฏ ด้วยมนต์เหล่านั้นของท่านเลย.
[๑๗๒๖] ข้าพระบาทกำลังคำนวณคลองแห่งนักขัตฤกษ์ จนเห็นขณะและครู่ด้วย มนต์ก่อน ครั้นได้ฤกษ์และยามดีแล้ว จักนำผลมะม่วงเป็นอันมากมา ถวายพระองค์เป็นแน่.
[๑๗๒๗] แต่ก่อน ท่านไม่ได้พูดถึงคลองแห่งนักขัตฤกษ์ ไม่ได้เอ่ยถึงขณะและ ครู่ ทันใดนั้น ท่านก็นำเอาผลมะม่วงเป็นอันมาก อันประกอบด้วยสี กลิ่น และรสมาให้เราได้.
[๑๗๒๘] ดูกรพราหมณ์ แม้เมื่อก่อน ผลไม้ทั้งหลายย่อมปรากฏด้วยการร่ายมนต์ ของท่าน วันนี้ แม้ท่านจะร่ายมนต์ก็ไม่อาจให้สำเร็จได้ วันนี้ สภาพของ ท่านเป็นอย่างไร?
[๑๗๒๙] บุตรแห่งคนจัณฑาล ได้บอกมนต์ให้แก่ข้าพระบาทโดยธรรม และได้ สั่งกำชับข้าพระบาทว่า ถ้ามีใครมาถามถึงชื่อ และโคตรของเราแล้ว เจ้าอย่าปกปิด มนต์ทั้งหลายก็จะไม่ละเจ้า.
[๑๗๓๐] ข้าพระบาทนั้น ครั้นพระองค์ผู้เป็นจอมแห่งประชาชนถามถึงอาจารย์ อันความลบหลู่ครอบงำแล้ว ได้กราบทูลเท็จว่า มนต์เหล่านี้เป็นของ พราหมณ์ ข้าพระบาทจึงเป็นผู้เสื่อมมนต์ เป็นเหมือนคนกำพร้า ร้องไห้ อยู่.
[๑๗๓๑] บุรุษต้องการน้ำหวาน จะพึงได้น้ำหวานจากต้นไม้ใด จะเป็นต้นละหุ่ง ก็ตาม ต้นสะเดาก็ตาม ต้นทองหลางก็ตาม ต้นไม้นั้นแล เป็นต้นไม้ สูงสุดของบุรุษนั้น.
[๑๗๓๒] บุรุษพึงรู้แจ้งธรรมจากผู้ใด เป็นกษัตริย์ก็ตาม เป็นพราหมณ์ก็ตาม เป็น แพศย์ก็ตาม เป็นศูทรก็ตาม เป็นคนจัณฑาลก็ตาม คนเทหยากเยื่อ ก็ตาม ผู้นั้นก็จัดเป็นคนสูงสุดของบุรุษนั้น.
[๑๗๓๓] ท่านทั้งหลายจงลงอาชญา และเฆี่ยนตีมาณพผู้นี้ แล้วจับมาณพลามกผู้นี้ ไสคอออกไปเสีย มาณพใด ได้ประโยชน์อย่างสูงสุดด้วยความยากเข็ญ ท่านทั้งหลายจงยังมาณพนั้นให้พินาศเพราะความเย่อหยิ่งจองหอง.
[๑๗๓๔] บุคคลผู้สำคัญว่า ที่เสมอ พึงตกบ่อ ถ้ำ เหว หรือหลุมที่มีรากไม้ผุ ฉันใด อนึ่ง บุคคลตาบอด เมื่อสำคัญว่า เชือก พึงเหยียบงูเห่า พึง เหยียบไฟ ฉันใด ข้าแต่ท่านผู้มีปัญญา ท่านทราบว่า ข้าพเจ้าพลาดไป แล้ว ก็ฉันนั้น ขอจงให้มนต์แก่ข้าพเจ้าผู้มีมนต์อันเสื่อมแล้วอีกสักครั้ง หนึ่งเถิด.
[๑๗๓๕] เราได้ให้มนต์แก่ท่านโดยธรรม ฝ่ายท่านก็ได้เรียนมนต์โดยธรรม หากว่า ท่านมีใจดีรักษาปกติไว้ มนต์ก็จะไม่พึงละทิ้งท่านผู้ตั้งอยู่ในธรรม.
[๑๗๓๖] ดูกรคนพาล มนต์อันใด ที่จะพึงได้ในมนุษยโลก มนต์อันนั้น ท่านก็จะ ได้ในวันนี้โดยลำบาก ท่านผู้ไม่มีปัญญากล่าวคำเท็จ ทำมนต์อันมีค่าเสมอ ด้วยชีวิต ที่ได้กันโดยยากให้เสื่อมเสียแล้ว.
[๑๗๓๗] เราจะไม่ให้มนต์เช่นนั้นแก่เจ้าผู้เป็นพาล หลงงมงาย อกตัญญู พูดเท็จ ไม่มีความสำรวม มนต์ที่ไหน ไปเสียเถิด เราไม่พอใจ.

จบ อัมพชาดกที่ ๑.

๒. ผันทนชาดก การผูกเวรของหมีและไม้ตะคร้อ


[๑๗๓๘] ท่านเป็นบุรุษถือขวานมาสู่ป่า ยืนอยู่ ดูกรสหาย เราถามท่าน ท่าน จงบอกแก่เรา ท่านต้องการจะตัดไม้หรือ.
[๑๗๓๙] เจ้าเป็นหมี เที่ยวอยู่ทั่วไปทั้งที่ทึบ และที่โปร่ง ดูกรสหาย เราถามเจ้า ขอเจ้าจงบอกแก่เรา ไม้อะไรที่จะทำเป็นกงรถได้มั่นคงดี?
[๑๗๔๐] ไม้รังก็ไม่มั่นคง ไม้ตะเคียนก็ไม่มั่นคง ไม้หูกวางจะมั่นคงที่ไหนเล่า แต่ว่า ต้นไม้ชื่อว่าต้นตะคร้อนั่นแหละ ทำเป็นกงรถมั่นคงดีนัก.
[๑๗๔๑] ต้นตะคร้อนั้นใบเป็นอย่างไร อนึ่ง ลำต้นเป็นอย่างไร ดูกรสหาย เรา ถามเจ้า ขอเจ้าจงบอกแก่เรา เราจะรู้จักไม้ตะคร้อได้อย่างไร?
[๑๗๔๒] กิ่งทั้งหลายแห่งต้นไม้ใด ย่อมห้อยลงด้วย ย่อมน้อมลงด้วย แต่ไม่หัก ต้นไม้นั้นชื่อว่าต้นตะคร้อ ที่เรายืนอยู่ใกล้โคนต้นนี่.
[๑๗๔๓] ต้นไม้นี้แหละชื่อว่าต้นตะคร้อ เป็นต้นไม้ควรแก่การงานของท่านทุก อย่าง คือ ควรแก่กำ ล้อ ดุม งอน และกงรถ.
[๑๗๔๔] เทวดาผู้สิงอยู่ที่ต้นตะคร้อได้กล่าวดังนี้ว่า ดูกรภารทวาชะ แม้ถ้อยคำ ของเรามีอยู่ เชิญท่านฟังถ้อยคำของเราบ้าง.
[๑๗๔๕] ท่านจงลอกหนังประมาณ ๔ นิ้ว จากคอแห่งหมีตัวนี้ แล้วจงเอาหนัง หุ้มกงรถ เมื่อทำได้อย่างนั้น กงรถของท่านก็จะพึงเป็นของมั่นคง.
[๑๗๔๖] เทวดาผู้สิงอยู่ต้นตะคร้อ จองเวรได้สำเร็จ นำความทุกข์มาให้แก่หมี ทั้งหลาย ที่เกิดแล้ว และยังไม่เกิด ด้วยประการฉะนี้.
[๑๗๔๗] ไม้ตะคร้อฆ่าหมี และหมีก็ฆ่าไม้ตะคร้อ ต่างก็ฆ่ากันและกัน ด้วยการ วิวาทกัน ด้วยประการฉะนี้.
[๑๗๔๘] ในหมู่มนุษย์ ความวิวาทเกิดขึ้น ณ ที่ใด มนุษย์ทั้งหลายในที่นั้น ย่อม ฟ้อนรำดังนกยูงรำแพนหาง เหมือนหมีและไม้ตะคร้อ ฉะนั้น.
[๑๗๔๙] เพราะเหตุนั้น อาตมภาพขอถวายพระพรแก่บพิตรทั้งหลาย ขอความ เจริญจงมีแก่บพิตรทั้งหลาย เท่าที่มาประชุมกันอยู่ ณ ที่นี้ ขอบพิตร ทั้งหลายจงร่วมบันเทิงใจ อย่าวิวาทกัน อย่าเป็นดังหมีและไม้ตะคร้อเลย.
[๑๗๕๐] ขอบพิตรทั้งหลายจงศึกษาความสามัคคี ความสามัคคีนั้นแหละ พระ พุทธเจ้าทั้งหลายทรงสรรเสริญแล้ว บุคคลผู้ยินดีในสามัคคีธรรม ตั้งอยู่ ในธรรม ย่อมไม่คลาดจากธรรม อันเป็นแดนเกษมจากโยคะ.

จบ ผันทนชาดกที่ ๒.

๓. ชวนหังสชาดก รักกันอยู่ไกลก็เหมือนอยู่ใกล้


[๑๗๕๑] ดูกรหงส์ เชิญเกาะที่ตั่งทองนี้เถิด การได้เห็นท่านชื่นใจฉันจริง ท่าน เป็นอิสระในสถานที่นี้ ท่านมาถึงแล้ว รังเกียจสิ่งใดที่มีอยู่ในนิเวศน์นี้ จงบอกสิ่งนั้นให้ทราบเถิด.
[๑๗๕๒] คนบางพวก ย่อมเป็นที่รักของบุคคลบางพวกเพราะได้ฟัง อนึ่ง ความรัก ของบุคคลบางพวก ย่อมหมดสิ้นไปเพราะได้เห็น คนบางพวกย่อมเป็น ที่รักเพราะได้เห็น และเพราะได้ฟัง ท่านรักใคร่ฉันเพราะได้เห็นบ้าง ไหม?
[๑๗๕๓] ท่านเป็นที่รักของฉันเพราะได้ฟัง และเป็นที่รักของฉันยิ่งนัก เพราะ อาศัยการเห็น ดูกรพญาหงส์ ท่านน่ารักน่าดูอย่างนี้ เชิญอยู่ใน สำนักของฉันเถิด.
[๑๗๕๔] ข้าพระองค์ทั้งหลายได้รับการสักการบูชาแล้วเป็นนิตย์ พึงอยู่ในพระ ราชนิเวศน์ของพระองค์ แต่บางครั้ง พระองค์ทรงเมาน้ำจัณฑ์แล้ว จะพึง ตรัสสั่งว่า จงย่างพญาหงส์ให้ฉันที.
[๑๗๕๕] การดื่มน้ำเมา ซึ่งเป็นที่รักของฉันยิ่งกว่าท่าน ฉันติเตียนการดื่มน้ำเมานั้น เอาเถอะ ตลอดเวลาที่ท่านยังอยู่ในนิเวศน์ของฉัน ฉันจักไม่ดื่มน้ำเมา เลย.
[๑๗๕๖] ข้าแต่พระราชา เสียงของสุนัขจิ้งจอกทั้งหลายก็ดี ของนกทั้งหลายก็ดี รู้ได้ง่าย แต่เสียงของมนุษย์รู้ได้ยากกว่านั้น.
[๑๗๕๗] อนึ่ง ผู้ใด เมื่อก่อน เป็นผู้ใจดี คนทั้งหลายนับถือว่า เป็นญาติเป็นมิตร หรือเป็นสหาย ภายหลัง ผู้นั้นกลับกลายเป็นศัตรูไปก็ได้ ใจของมนุษย์ รู้ได้ยากอย่างนี้.
[๑๗๕๘] ใจจดจ่ออยู่ในบุคคลใด แม้บุคคลนั้นจะอยู่ไกลก็เหมือนกับอยู่ใกล้ ใจ เหินห่างจากบุคคลใด แม้บุคคลนั้นจะอยู่ใกล้ก็เหมือนกับอยู่ไกล.
[๑๗๕๙] ถ้ามีจิตเลื่อมใสรักใคร่กัน ถึงแม้จะอยู่คนละฝั่งสมุทร ก็เหมือนอยู่ ใกล้ชิดกัน ถ้ามีจิตคิดประทุษร้ายกัน ถึงแม้จะอยู่ใกล้ชิดกัน ก็เหมือน กับอยู่กันคนละฝั่งสมุทร.
[๑๗๖๐] ข้าแต่พระองค์ผู้ประเสริฐ คนที่เป็นศัตรูกันถึงจะอยู่ร่วมกัน ก็เหมือนกับ อยู่ห่างไกลกัน ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นมิ่งขวัญแห่งรัฐ คนที่รักกันถึงแม้ จะอยู่ห่างไกลกัน ก็เหมือนกับอยู่ร่วมกันด้วยหัวใจ.
[๑๗๖๑] ด้วยการอยู่ร่วมกันนานเกินควร คนรักกันย่อมกลายเป็นคนไม่รักกันก็ได้ ข้าพระองค์ขอทูลลาพระองค์ไป ก่อนที่ข้าพระองค์จะกลายเป็นผู้ไม่เป็น ที่รักของพระองค์.
[๑๗๖๒] เมื่อเราวิงวอนอยู่อย่างนี้ ถ้าท่านมิได้รู้ถึงความนับถือของเรา ท่านก็มิได้ ทำตามคำวิงวอนของเรา ซึ่งจะเป็นผู้ปรนนิบัติท่าน เมื่อเป็นอย่างนี้ เรา ขอวิงวอนท่านว่า ท่านพึงหมั่นมาที่นี่บ่อยๆ นะ.
[๑๗๖๓] ข้าแต่พระมหาราชผู้เป็นมิ่งขวัญแห่งรัฐ ถ้าเรายังอยู่กันเป็นปกติอย่างนี้ อันตรายจักยังไม่มีทั้งแก่พระองค์และแก่ข้าพระองค์ เป็นอันแน่นอนว่า เราทั้งสองคงได้พบเห็นกัน ในเมื่อวันคืนผ่านไปเป็นแน่.

จบ ชวนหังสชาดกที่ ๓.

๔. จุลลนารทกัสสปชาดก ว่าด้วยพิษเหวเปือกตมและอสรพิษ


[๑๗๖๔] ฟืนเจ้าก็มิได้หัก น้ำเจ้าก็มิได้ตักเอามา แม้กองไฟเจ้าก็มิได้ก่อให้ ลุกโพลง เหตุไรหนอเจ้าจึงเป็นเหมือนคนโง่เขลานอนซบเซาอยู่?
[๑๗๖๕] ข้าแต่คุณพ่อกัสสปะ ผมอดทนอยู่ในป่าลำบาก ผมจะขอลาคุณพ่อไป การอยู่ในป่าลำบาก ผมปรารถนาจะไปสู่บ้านเมือง.
[๑๗๖๖] ข้าแต่คุณพ่อผู้เป็นดุจพรหม ผู้ออกจากป่านี้ไปอยู่ ณ ชนบทใดๆ จะพึงศึกษาขนบธรรมเนียมที่ชาวชนบทเขาประพฤติกันอย่างไร ขอ คุณพ่อจงพร่ำสอนขนบธรรมเนียมนั้นแก่ผมด้วยเถิด?
[๑๗๖๗] ถ้าเจ้าละป่า เหง้ามันและผลไม้ในป่า พึงพอใจอยู่ในบ้านเมือง เจ้าจง สำเหนียกจารีตของชนบทนั้นของเราไว้.
[๑๗๖๘] เจ้าจงอย่าเสพของมีพิษ จงเว้นเหวโดยเด็ดขาด อย่าจมอยู่ในเปือกตม ในที่ใกล้อสรพิษ จงเตรียมตัวให้พร้อม.
[๑๗๖๙] ผมขอถาม คุณพ่อกล่าวอะไรว่าเป็นพิษ เป็นเหว เป็นเปือกตม เป็นอสรพิษของพรหมจรรย์ ผมถามแล้ว ขอคุณพ่อโปรดบอกความ ข้อนั้นแก่ผมเถิด?
[๑๗๗๐] ดูกรพ่อนารทะ น้ำดองในโลกเขาเรียกชื่อว่าสุรา สุรานั้นทำใจให้ฮึกเหิม มีกลิ่นหอม ทำให้พูดมาก มีรสหวานแหลมปานน้ำผึ้ง พระอริยะ ทั้งหลายกล่าวสุรานั้นว่า เป็นพิษของพรหมจรรย์.
[๑๗๗๑] ดูกรพ่อนารทะ หญิงในโลกย่อมย่ำยีบุรุษผู้ประมาทแล้ว หญิงเหล่านั้น ย่อมจูงจิตของบุรุษไป เหมือนลมพัดปุยนุ่นที่หล่นจากต้นไป ฉะนั้น นี่บัณฑิตกล่าวว่า เป็นเหวของพรหมจรรย์.
[๑๗๗๒] ดูกรพ่อนารทะ ลาภ สรรเสริญ สักการะ และการบูชาในตระกูล อื่นๆ นี่บัณฑิตกล่าวว่า เป็นเปือกตมของพรหมจรรย์.
[๑๗๗๓] ดูกรพ่อนารทะ พระราชาผู้เป็นใหญ่ครอบครองแผ่นดินนี้ เจ้าอย่าเข้าไป ใกล้พระราชาผู้เป็นใหญ่ เป็นจอมมนุษย์เช่นนั้น.
[๑๗๗๔] ดูกรพ่อนารทะ เจ้าอย่าเที่ยวไปใกล้บาทมูลแห่งพระราชาทั้งหลาย ผู้เป็น อิสระและเป็นอธิบดีเหล่านั้น พระราชนั้น บัณฑิตกล่าวว่า เป็นอสรพิษของ พรหมจรรย์.
[๑๗๗๕] บุคคลผู้ต้องการอาหารในเวลาอาหาร พึงเข้าไปใกล้เรือนใด พึงรู้กุศล คือ อโคจร ๕ ที่ควรเว้นในสกุลนั้น แล้วพึงเที่ยวแสวงหาอาหารใน เรือนนั้น. บุคคลเข้าไปสู่ตระกูลอื่นเพื่อปานะ หรือโภชนะแล้ว พึงรู้จัก ประมาณบริโภคแต่พอควร และไม่พึงใส่ใจในรูปหญิง.
[๑๗๗๖] เจ้าจงเว้นให้ห่างไกลซึ่งการตั้งคอกโค ร้านขายสุรา คนเกเร ที่ประชุม และขุมทรัพย์ทั้งหลาย เหมือนบุคคลผู้ไปด้วยยาน เว้นหนทางอันไม่ ราบเรียบ ฉะนั้น.

จบ จุลลนารทกัสสปชาดกที่ ๔.

๕. ทูตชาดก ว่าด้วยการบอกความทุกข์แก่ผู้ที่ควรบอก


[๑๗๗๗] ดูกรพราหมณ์ เราส่งทูตทั้งหลายเพื่อท่านผู้เพ่งอยู่ ณ ฝั่งแม่น้ำคงคา ทูตเหล่านั้นถามท่าน ท่านก็มิได้บอกให้แจ่มแจ้ง ความทุกข์ที่เกิดขึ้นแก่ ท่านนั้น เป็นความตายของท่านมิใช่หรือ?
[๑๗๗๘] ข้าแต่พระองค์ผู้ทรงบำรุงรัฐกาสีให้เจริญ ถ้าความทุกข์เกิดขึ้นแก่พระองค์ ผู้ใดไม่พึงเปลื้องพระองค์จากทุกข์ได้ พระองค์อย่าได้ตรัสบอกความทุกข์ นั้นแก่ผู้นั้น.
[๑๗๗๙] ผู้ใดพึงเปลื้องทุกข์ของบุคคลผู้เกิดทุกข์ได้ส่วนเดียวโดยธรรม พึงบอก เล่าแก่ผู้นั้นได้โดยแท้.
[๑๗๘๐] ข้าแต่พระราชา เสียงของสุนัขจิ้งจอกก็ดี ของนกก็ดี รู้ได้ง่าย เสียงของมนุษย์รู้ได้ยากยิ่งกว่านั้น.
[๑๗๘๑] อนึ่ง ผู้ใด เมื่อก่อน เป็นผู้ใจดี คนทั้งหลายนับถือว่า เป็นญาติเป็นมิตร หรือเป็นสหาย ภายหลัง ผู้นั้นกลับกลายเป็ฯศัตรูไปก็ได้ ใจของมนุษย์ รู้ได้ยากอย่างนี้.
[๑๗๘๒] ผู้ใดถูกถามเนืองๆ ถึงทุกข์ของตน ย่อมบอกในกาลอันไม่ควร ผู้นั้น ย่อมมีแต่มิตรผู้แสวงหาประโยชน์ แต่ไม่ยินดีร่วมทุกข์ด้วย.
[๑๗๘๓] บุคคลรู้กาลอันควร และรู้จักบิณฑิต ผู้มีปัญญาว่า มีใจร่วมกันแล้ว พึงบอกความทุกข์ทั้งหลายแก่บุคคลผู้เช่นนั้น นักปราชญ์พึงบอกความ ทุกข์ร้อนแก่ผู้อื่น พึงเปล่งวาจาอ่อนหวานมีประโยชน์.
[๑๗๘๔] อนึ่ง ถ้าบุคคลอดกลั้นความทุกข์ของตนไม่ได้ก็พึงรู้ว่า ประเพณีของ โลกนี้ จะมีเพื่อถึงความสุขสำหรับเราผู้เดียวไม่ได้ นักปราชญ์เมื่อเพ่งเล็ง หิริและโอตตัปปะอันเป็นของจริง พึงอดกลั้นความทุกข์ร้อนไว้ผู้เดียว เท่านั้น.
[๑๗๘๕] ข้าแต่พระมหาราชา ข้าพระองค์ต้องการจะหาทรัพย์ให้อาจารย์ จึงเที่ยวไป ทั่วแว่นแคว้น นิคม และราชธานีทั้งหลาย.
[๑๗๘๖] ขอกะคฤหบดี ราชบุรุษ และพราหมณ์มหาศาลได้ทองคำ ๗ ลิ่ม ทองคำ ๗ ลิ่มของข้าพระองค์นั้นหายเสียแล้ว เพราะเหตุนั้น ข้าพระองค์จึง เศร้าโศกมาก.
[๑๗๘๗] ข้าแต่พระมหาราชา บุรุษผู้เป็นทูตของพระองค์เหล่านั้น ข้าพระองค์คิดรู้ ด้วยใจว่า ไม่สามารถจะปลดเปลื้อง ข้าพระองค์จากทุกข์ได้ เพราะ เหตุนั้น ข้าพระองค์จึงไม่บอกแก่บุรุษเหล่านั้น.
[๑๗๘๘] ข้าแต่พระมหาราชา ส่วนพระองค์ ข้าพระองค์คิดรู้ด้วยใจว่า พระองค์ สามารถจะปลดเปลื้องข้าพระองค์จากทุกข์ได้ เพราะเหตุนั้น ข้าพระองค์ จึงกราบทูลให้พระองค์ทรงทราบ.
[๑๗๘๙] พระราชาผู้บำรุงรัฐกาสีให้เจริญ มีพระฤหทัยเลื่อมใส ได้พระราชทาน ทองคำ ๑๔ แท่ง แก่พระโพธิสัตว์นั้น.

จบ ทูตชาดกที่ ๕.

๖. กาลิงคโพธิชาดก ว่าด้วยการพยากรณ์ที่อันเป็นชัยภูมิ


[๑๗๙๐] พระเจ้าจักพรรดิทรงพระนามว่ากาลิงคะ ได้ทรงสั่งสอนมนุษย์ทั่วแผ่นดิน โดยธรรม ได้เสด็จไปสู่ที่ใกล้ต้นโพธิ์ด้วยช้าง ทรงมีอานุภาพมาก.
[๑๗๙๑] ภารทวาชปุโรหิตชาวกาลิงครัฐ พิจารณา ดูภูมิภาคแล้ว จึงประคอง อัญชลีกราบทูลพระเจ้าจักรพรรดิผู้เป็นบุตรแห่งดาบส ชื่อกาลิงคะว่า.
[๑๗๙๒] ข้าแต่พระมหาราชา ขอเชิญพระองค์เสด็จลงเถิด ภูมิภาคนี้อันพระพุทธเจ้า ผู้เป็นสมณะทรงสรรเสริญแล้ว พระพุทธเจ้าทั้งหลายผู้ตรัสรู้โดยยิ่ง มีพระคุณหาประมาณมิได้ ย่อมไพโรจน์ ณ ภูมิภาคนี้.
[๑๗๙๓] หญ้าและเครือเถาทั้งหลายในภูมิภาคส่วนนี้ ม้วนเวียนโดยทักษิณาวัตร ภูมิภาคส่วนนี้ เป็นที่ไม่หวั่นไหวแห่งแผ่นดิน (เมื่อกัลป์จะตั้งขึ้นก็ตั้ง ขึ้นก่อน เมื่อกัลป์พินาศก็พินาศภายหลัง) ข้าแต่พระมหาราชา ข้าพระองค์ ได้สดับมาอย่างนี้.
[๑๗๙๔] ภูมิภาคส่วนนี้ เป็นมณฑลแห่งแผ่นดินอันทรงไว้ซึ่งภูตทั้งปวง มีสาคร เป็นขอบเขต ขอเชิญพระองค์เสด็จลง แล้วทรงกระทำการนอบน้อมเถิด พระเจ้าข้า.
[๑๗๙๕] ช้างกุญชรตัวประเสริฐ เกิดในตระกูลอุโบสถ ย่อมไม่เข้าไปใกล้ประเทศ นั้นเลย ด้วยเหตุมีประมาณเท่านี้.
[๑๗๙๖] ช้างตัวประเสริฐนี้ เป็นช้างเกิดแล้วในตระกูลอุโบสถโดยแท้ ถึงกระนั้น ก็ไม่อาจจะเข้าไปใกล้ประเทศมีประมาณเท่านี้ได้ ถ้าพระองค์ยังทรงสงสัย อยู่ ก็จงทรงไสช้างพระที่นั่งไปเถิด.
[๑๗๙๗] พระเจ้ากาลิงคะทรงสดับคำนั้นแล้ว จึงทรงใคร่ครวญถ้อยคำของปุโรหิต ผู้ชำนาญการพยากรณ์ว่า เราจักรู้ถ้อยคำของปุโรหิตนี้ว่า จริงหรือไม่จริง นี้แล้ว ทรงไสช้างพระที่นั่งไป.
[๑๗๙๘] ฝ่ายช้างพระที่นั่งนั้น ถูกพระราชาทรงไสไปแล้ว ก็เปล่งเสียงดุจนก กระเรียนแล้วถอยหลังทรุดคุกลง ดังอดทนภาระหนักไม่ได้.
[๑๗๙๙] ปุโรหิตภารทราชะชาวกาลิงครัฐ รู้ว่า ช้างพระที่นั่งสิ้นอายุแล้ว จึงรีบ กราบทูลพระเจ้ากาลิงคะว่า ข้าแต่พระมหาราชา ขอเชิญเสด็จไปทรงช้าง พระที่นั่งเชือกอื่นเถิด ช้างพระที่นั่งเชือกนี้สิ้นอายุแล้ว พระเจ้าข้า.
[๑๘๐๐] พระเจ้ากาลิงคะทรงสดับคำนั้นแล้ว จึงรีบเสด็จไปทรงช้างพระที่นั่ง เชือกใหม่ เมื่อพระราชาเสด็จก้าวไปพ้นแล้ว ช้างพระที่นั่งที่ตายแล้ว ก็ล้มลง ณ พื้นดินที่นั้นเอง ถ้อยคำของปุโรหิต ผู้ชำนาญการพยากรณ์ เป็นอย่างใด ช้างพระที่นั่งเป็นอย่างนั้น.
[๑๘๐๑] พระเจ้ากาลิงคะได้ตรัสกะพราหมณ์ภารทวาชะชาวกาลิงครัฐอย่างนี้ว่า ท่านเป็นสัมพุทธะ รู้เห็นเหตุทั้งปวงโดยแท้.
[๑๘๐๒] กาลิงคพราหมณ์ เมื่อไม่รับคำสรรเสริญนั้นจึงได้กราบทูลว่า ข้าแต่ พระมหาราชา ข้าพระองค์เป็นผู้ชำนาญการพยากรณ์ ชื่อว่าพุทธะ ผู้รู้เหตุ ทั้งปวงก็จริง.
[๑๘๐๓] แต่พระพุทธเจ้าทั้งหลายเป็นพระสัพพัญญูด้วย เป็นพระสัพพวิทูด้วย ย่อมรู้เหตุทั้งปวงด้วยพระญาณเป็นเครื่องกำหนด ข้าพระองค์รู้เหตุ ทั้งปวงได้ เพราะกำลังแห่งอาคม พระพุทธเจ้าทั้งหลาย รู้เหตุทั้งปวงได้ ด้วยพระสัพพัญญุตญาณ.
[๑๘๐๔] พระเจ้ากาลิงคะ ทรงนำเอามาลาและเครื่องลูบไล้พร้อมด้วยดนตรีต่างๆ ไปบูชาพระมหาโพธิ์แล้ว รับสั่งให้กระทำกำแพงแวดล้อม.
[๑๘๐๕] รับสั่งให้เก็บดอกไม้ประมาณหกหมื่นเล่มเกวียนมาบูชาโพธิมณฑลอันเป็น อนุตริยะ แล้วเสด็จกลับ.

จบ กาลิงคโพธิชาดกที่ ๖.

๗. อกิตติชาดก อกิตติดาบสขอพรท้าวสักกะ


[๑๘๐๖] ท้าวสักกะผู้เป็นใหญ่แห่งภูต ทรงเห็นอกิตติดาบสผู้ยับยั้งอยู่ จึงได้ตรัส ถามว่า ดูกรพราหมณ์ ท่านปรารถนาสมบัติอะไร ถึงยับยั้งอยู่ผู้เดียว ในถิ่นอันแห้งแล้ง?
[๑๘๐๗] ดูกรท้าวสักกะ การเกิดบ่อยๆ เป็นทุกข์ อนึ่ง ความแตกทำลายแห่ง ร่างกาย และความตายอย่างหลงใหล ก็เป็นทุกข์ เพราะเหตุนั้น อาตมภาพจึงยับยั้งอยู่ ณ ที่นี้.
[๑๘๐๘] ข้าแต่ท่านกัสสปะ เพราะถ้อยคำที่พระคุณเจ้ากล่าวนี้ เป็นถ้อยคำสมควร เป็นสุภาษิต โยมขอถวายพรแก่ท่านตามที่ท่านมีใจปรารถนา.
[๑๘๐๙] ดูกรท้าวสักกะผู้เป็นใหญ่แห่งภูตทั้งปวง ถ้ามหาบพิตรจะทรงประทานพร แก่อาตมภาพ ชนทั้งหลายได้บุตร ภรรยา ทรัพย์ ข้าวเปลือก และ สิ่งของอันเป็นที่รักทั้งหลาย แล้วยังไม่อิ่มด้วยความโลภใด ความโลภนั้น อย่าพึงมีในอาตมภาพเลย.
[๑๘๑๐] ข้าแต่ท่านกัสสปะ เพราะถ้อยคำที่พระคุณเจ้ากล่าวนี้ เป็นถ้อยคำสมควร เป็นสุภาษิต โยมขอถวายพรแก่ท่านตามที่ท่านมีใจปรารถนา.
[๑๘๑๑] ดูกรท้าวสักกะผู้เป็นใหญ่แห่งภูตทั้งปวง ถ้ามหาบพิตรจะทรงประทานพร แก่อาตมภาพ นา ที่ดิน เงิน โค ม้า ทาส กรรมกร ย่อมเสื่อม สิ้นไปด้วยโทสะใด โทสะนั้นอย่าพึงมีในอาตมภาพเลย.
[๑๘๑๒] ข้าแต่ท่านกัสสปะ เพราะถ้อยคำที่พระคุณเจ้ากล่าวนี้ เป็นถ้อยคำสมควร เป็นสุภาษิต โยมขอถวายพรแก่ท่านตามที่ท่านมีใจปรารถนา.
[๑๘๑๓] ดูกรท้าวสักกะผู้เป็นใหญ่แห่งภูตทั้งปวง ถ้ามหาบพิตรจะทรงประทานพร แก่อาตมภาพ อาตมภาพไม่พึงเห็น ไม่พึงได้ฟังคนพาล ไม่พึงอยู่ร่วม กับคนพาล ไม่ขอกระทำ และไม่ขอชอบใจการเจรจาปราศรัยกับคนพาล.
[๑๘๑๔] ข้าแต่ท่านกัสสปะ คนพาลได้กระทำอะไรให้แก่ท่านหรือ ขอท่านจงบอก เหตุนั้นแก่โยม เพราะเหตุไร ท่านจึงไม่ปรารถนาเห็นคนพาล?
[๑๘๑๕] คนพาลผู้มีปัญญาทราม ย่อมแนะนำสิ่งที่ไม่ควรจะแนะนำ ย่อมชักชวนใน สิ่งที่ไม่ใช่ธุระ การแนะนำชั่วเป็นความดีของเขา คนพาลนั้นถึงจะ พูดดีก็โกรธ เขามิได้รู้วินัย การไม่เห็นคนพาลนั้นเป็นความดี.
[๑๘๑๖] ข้าแต่ท่านกัสสปะ เพราะถ้อยคำที่พระคุณเจ้ากล่าวนี้ เป็นถ้อยคำสมควร เป็นสุภาษิต โยมขอถวายพรแก่ท่านตามที่ท่านมีใจปรารถนา.
[๑๘๑๗] ดูกรท้าวสักกะผู้เป็นใหญ่แห่งภูตทั้งปวง ถ้ามหาบพิตรจะทรงประทานพร แก่อาตมภาพ อาตมภาพพึงขอเห็น ขอฟังนักปราชญ์ ขออยู่ร่วมกัน กับนักปราชญ์ ขอกระทำ และขอชอบใจการเจรจาปราศรัยกับนักปราชญ์.
[๑๘๑๘] ข้าแต่ท่านกัสสปะ นักปราชญ์ได้กระทำอะไรให้แก่ท่านหรือ ขอท่านจง บอกเหตุนั้นแก่โยม เพราะเหตุไร ท่านจึงปรารถนาเห็นนักปราชญ์?
[๑๘๑๙] นักปราชญ์ย่อมแนะนำสิ่งที่ควรแนะนำ ย่อมไม่ชักชวนในสิ่งที่ไม่ใช่ธุระ การแนะนำดีเป็นความดีของนักปราชญ์นั้น นักปราชญ์นั้น ผู้อื่น กล่าวชอบก็ไม่โกรธ ย่อมรู้จักวินัย การสมาคมคบหากันกับนักปราชญ์ นั้นเป็นความดี.
[๑๘๒๐] ข้าแต่ท่านกัสสปะ เพราะถ้อยคำที่พระคุณเจ้ากล่าวนี้ เป็นถ้อยคำสมควร เป็นสุภาษิต โยมขอถวายพรแก่ท่านตามที่ท่านมีใจปรารถนา.
[๑๘๒๑] ดูกรท้าวสักกะผู้เป็นใหญ่แห่งภูตทั้งปวง ถ้ามหาบพิตรจะทรงประทานพร แก่อาตมภาพ เมื่อราตรีสว่างแจ้ง พระอาทิตย์อุทัยขึ้นแล้ว ขออาหาร อันเป็นทิพย์ และยาจกผู้มีศีล พึงปรากฏขึ้น เมื่ออาตมภาพให้ทานอยู่ ขอให้ศรัทธาของอาตมภาพไม่พึงเสื่อมสิ้นไป ครั้นให้ทานแล้วขอให้ อาตมภาพไม่พึงเดือดร้อนในภายหลัง เมื่อกำลังให้อยู่ ก็ขอให้อาตมภาพ พึงยังจิตให้เลื่อมใส ดูกรท้าวสักกะ ขอมหาบพิตรทรงประทานพรนี้ แก่อาตมภาพเถิด.
[๑๘๒๒] ข้าแต่ท่านกัสสปะ เพราะถ้อยคำที่พระคุณเจ้ากล่าวนี้ เป็นถ้อยคำสมควร เป็นสุภาษิต โยมขอถวายพรแก่ท่านตามที่ท่านมีใจปรารถนา.
[๑๘๒๓] ดูกรท้าวสักกะผู้เป็นใหญ่แห่งภูตทั้งปวง ถ้ามหาบพิตรจะทรงประทานพร แก่อาตมภาพ มหาบพิตรอย่าพึงเข้ามาใกล้อาตมภาพอีกเลย ดูกรท้าว สักกะ ขอมหาบพิตรทรงประทานพรนี้แก่อาตมภาพเถิด.
[๑๘๒๔] นรชาติหญิงชายทั้งหลาย ย่อมปรารถนาจะเห็นโยมด้วยวัตรจริยาเป็น อันมาก เพราะเหตุไรหนอ การเห็นโยมจึงเป็นภัยแก่ท่าน?
[๑๘๒๕] อาตมภาพเห็นเพศเทวดาเช่นพระองค์ ผู้สำเร็จด้วยสิ่งที่ต้องประสงค์ ทุกอย่างแล้ว ก็จะพึงประมาท ทำความเพียรปรารถนาตำแหน่งท้าวสักกะ การเห็นมหาบพิตรจึงเป็นภัยแก่อาตมภาพ.

จบ อกิตติชาดกที่ ๗.

๘. ตักการิยชาดก การพูดดีเป็นศรีแก่ตัว


[๑๘๒๖] ดูกรพ่อตักการิยะ ฉันเองเป็นคนโง่เขลา กล่าวคำชั่วช้าเหมือนกบในป่า ร้องเรียกงูมาให้กินตน ฉะนั้น ฉันน่าจะตกลงไปในหลุมนี้ ได้ยินมาว่า บุคคลที่พูดล่วงเลยขอบเขตไม่ดีเลย.
[๑๘๒๗] บุคคลที่พูดล่วงเลยขอบเขต ย่อมได้ประสบการจองจำ การถูกฆ่า ความเศร้าโศกและความร่ำไห้ ข้าแต่ท่านอาจารย์ ชนทั้งหลายจะฝังท่าน ลงในหลุม เพราะเหตุใด ท่านต้องติเตียนตัวท่านเอง เพราะเหตุนั้น.
[๑๘๒๘] เราจะซักถามตุณฑิละ เพื่อประโยชน์อะไรเล่า นางกาลีซิควรทำกะ น้องชายของเขาเอง เราถูกแย่งผ้าจนเป็นคนเปลือยกาย แม้เรื่องนี้ ก็เหมือนกับเรื่องของท่านเป็นอันมาก?
[๑๘๒๙] นกกะลิงตัวใด มิได้ชนกับเขาด้วย เข้าไปจับอยู่ในระหว่างศีรษะแพะ ทั้งสองผู้กำลังชนกันอยู่ นกกะลิงตัวนั้น ก็ถูกศีรษะแพะบดขยี้แล้ว ณ ที่นั้นเอง แม้เรื่องนี้ ก็เหมือนกับเรื่องของท่านเป็นอันมาก.
[๑๘๓๐] คน ๔ คนจะป้องกันคนคนเดียว ช่วยกันจับชายผ้าไว้คนละชาย คน ทั้งหมดนั้นก็พากันหัวแตกนอนตายแล้ว แม้เรื่องนี้ ก็เหมือนกับเรื่อง ของท่านเป็นอันมาก.
[๑๘๓๑] นางแพะที่ถูกโจรทั้งหลายผูกไว้ในพุ่มกอไผ่ คึกคะนอง เอาเท้าหลังดีดไป กระทบมีดตกลงมา พวกโจรก็เอามีดนั้นเองเชือดคอนางแพะฉันใด แม้เรื่องนี้ ก็เหมือนกับเรื่องของท่านเป็นอันมาก.
[๑๘๓๒] พวกนี้มิใช่เทวดา มิใช่บุตรคนธรรพ์ พวกนี้เป็นเนื้อ พวกนี้ถูกนำมา ด้วยอำนาจประโยชน์ เจ้าทั้งหลายจงย่างมันตัวหนึ่ง สำหรับอาหารมื้อเย็น อีกตัวหนึ่งสำหรับอาหารมื้อเช้า.
[๑๘๓๓] คำทุพภาษิตตั้งแสนคำ ก็ไม่ถึงแม้ส่วนเสี้ยวของคำสุภาษิต กินนรรังเกียจ คำทุพภาษิตจึงเศร้าหมอง เพราะเหตุนั้น กินนรจึงนิ่งเฉยเสีย ไม่ใช่ นิ่งเฉยเพราะความโง่เขลา.
[๑๘๓๔] กินนรีตัวนี้กล่าวแก้เราได้แล้ว เจ้าทั้งหลาย จงปล่อยกินนรีตัวนั้นไป อนึ่ง จงนำไปส่งให้ถึงเขาหิมพานต์ ส่วนกินนรตัวนี้ เจ้าทั้งหลาย จงส่งไปให้โรงครัวใหญ่ จงย่างมันสำหรับอาหารเช้า แต่เช้าทีเดียว.
[๑๘๓๕] ข้าแต่พระมหาราชา ปศุสัตว์ทั้งหลายพึ่งฝน ประชาชนนี้ก็พึ่งปศุสัตว์ พระองค์เป็นที่พึ่งของข้าพระบาท ภรรยาของข้าพระบาท ก็พึ่งข้าพระบาท ในระหว่างข้าพระบาททั้งสอง ตัวหนึ่งรู้ว่าอีกตัวหนึ่งตายแล้ว ตนเอง พ้นแล้วจากความตาย จึงจะไปสู่บรรพต.
[๑๘๓๖] ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นจอมแห่งชน ความนินทาทั้งหลายมิใช่จะหลีกเลี่ยง ให้พ้นไปโดยง่ายเลย ชนทั้งหลายมีฉันทะต่างๆ กัน ซึ่งควรจะซ่อง เสพ คนหนึ่งได้รับการสรรเสริญด้วยคุณธรรมข้อใด คนอื่นได้คน นินทา ด้วยคุณธรรมข้อนั้นเอง.
[๑๘๓๗] โลกทั้งปวงมีจิตยิ่งด้วยจิตของคนอื่น โลกทั้งปวงชื่อว่ามีจิตในจิตของตน สัตว์ทั้งปวง ที่เป็นปุถุชน ต่างก็มีจิตใจต่างกัน สัตว์ทั้งหลายในโลกนี้ ไม่พึงเป็นไปในอำนาจแห่งจิตของใคร.
[๑๘๓๘] กินนรพร้อมด้วยกินนรีผู้ภรรยา เป็นผู้นิ่งไม่พูด เป็นผู้กลัวภัย ได้กล่าว แก้แล้วในบัดนี้ กินนรนั้นชื่อว่า พ้นแล้วในบัดนี้ เป็นผู้มีความสุข หาโรคมิได้ เพราะว่าการเปล่งวาจาดี นำมาซึ่งประโยชน์แก่นรชน ทั้งหลาย.

จบ ตักการิยชาดกที่ ๘.

๙. รุรุมิคชาดก ว่าด้วยน้ำใจของพญาเนื้อรุรุ


[๑๘๓๙] ใครบอกมฤค ผู้สูงสุดกว่ามฤคทั้งหลายนั้นแก่เราได้ เราจะให้บ้านส่วย และหญิงที่ประดับประดาแล้วแก่ผู้นั้น.
[๑๘๔๐] ขอได้โปรดพระราชทานบ้านส่วย และหญิงที่ประดับประดาแล้วแก่ ข้าพระองค์เถิด ข้าพระองค์ จะกราบทูลมฤคผู้สูงสุดกว่ามฤคทั้งหลายแก่ พระองค์.
[๑๘๔๑] ณ ไพรสณฑ์นั้น มีต้นมะม่วง และต้นรังทั้งหลาย ดอกบานสะพรั่ง พื้นที่แห่งไพรสณฑ์นั้น ดารดาษไปด้วยติณชาติ มีสีเหมือนแมลงค่อม ทอง มฤคตัวนั้นอยู่ที่ไพรสณฑ์นั้น.
[๑๘๔๒] พระเจ้าพาราณสี ทรงโก่งธนูสอดใส่ลูกศรไว้ เสด็จเข้าไปแล้ว ส่วน มฤคเห็นพระราชาแล้ว ได้ร้องกราบทูลไปแต่ไกลว่า ข้าแต่พระ มหาราชาผู้ประเสริฐ โปรดทรงรอก่อน อย่าเพิ่งทรงยิงข้าพระบาทเสีย เลย ใครหนอได้กราบทูลความเรื่องแก่พระองค์ว่า มฤคตัวนี้อยู่ ณ ไพรสณฑ์นี้.
[๑๘๔๓] ดูกรสหาย บุรุษผู้มีมารยาทอันเลวทราม ยืนอยู่ห่างๆ นั่น บุรุษคนนั้น แหละ ได้บอกความเรื่องนี้แก่เราว่า มฤคตัวนี้อยู่ ณ ไพรสณฑ์นี้.
[๑๘๔๔] ได้ยินว่า คนบางพวกในโลกนี้ กล่าวความจริงไว้อย่างนี้ว่า ไม้ลอยน้ำยัง ดีกว่า คนบางคนไม่ดีเลย.
[๑๘๔๕] ดูกรพญามฤค เธอติเตียนพวกไหนแน่ ติเตียนพวกมฤค พวกนก หรือพวกมนุษย์ เรามีความกลัวไม่น้อย เพราะได้ฟังเจ้าพูดภาษา มนุษย์ได้.
[๑๘๔๖] ข้าพระองค์ช่วยยกขึ้นซึ่งบุรุษคนใด ผู้ลอยไปในห้วงน้ำคงคา มีน้ำมาก ไหลเชี่ยว ภัยมาถึงข้าพระองค์แล้ว เพราะบุรุษผู้นั้นเป็นเหตุ ข้าแต่ พระมหาราชา การสมาคมกับอสัตบุรุษทั้งหลาย นำทุกข์มาให้โดยแท้.
[๑๘๔๗] เรานั้นจะปล่อยลูกศร ๔ ปีกนี้แหวกไปในอากาศ ให้ไปตัดตรงหัวใจ เราจักฆ่ามันผู้ประทุษร้ายมิตร ผู้ไม่ทำกิจที่ควรทำ ไม่รู้จักผู้กระทำคุณ ให้เช่นท่าน.
[๑๘๔๘] ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นจอมแห่งประชาชน สัตบุรุษทั้งหลายไม่สรรเสริญ การฆ่าบัณฑิต และคนพาลเลย คนผู้มีธรรมอันลามก จงกลับไปสู่ เรือนของเขาตามปรารถนาเถิด อนึ่ง ขอได้โปรดพระราชทานค่าจ้าง ตาม ที่พระองค์ตรัสไว้แก่เขาด้วยเถิด อนึ่ง ข้าพระองค์ ขอทำความปรารถนา ของพระองค์.
[๑๘๔๙] ดูกรพญามฤค ท่านผู้ไม่ประทุษร้ายต่อมนุษย์ผู้ประทุษร้าย นับเป็นผู้หนึ่ง ในจำนวนสัตบุรุษทั้งหลายเป็นแน่ คนผู้มีธรรมอันลามก จงกลับไปสู่ เรือนของตนตามความปรารถนา อนึ่ง เราจะให้ค่าจ้างที่เราพูดไว้แก่เขา และเราขอให้บ้านส่วยแก่ท่าน.
[๑๘๕๐] ข้าแต่พระราชา เสียงของสุนัขจิ้งจอกก็ดี ของนกก็ดี รู้ได้ง่าย เสียง ของมนุษย์รู้ได้ยาก ยิ่งกว่านั้น อนึ่ง ผู้ใดเมื่อก่อน เป็นคนใจดี คน ทั้งหลายนับถือว่า เป็นญาติเป็นมิตร หรือเป็นสหาย ภายหลัง ผู้นั้น กลับกลายเป็นศัตรูไปก็ได้ ใจของมนุษย์รู้ได้ยากอย่างนี้.
[๑๘๕๑] ชาวชนบท และชาวนิคมทั้งหลายมาประชุมพร้อมกันร้องทุกข์ว่า ฝูง เนื้อพากันมากินข้าว ขอพระองค์จงตรัสห้ามฝูงเนื้อนั้นเสียบ้าง พระ เจ้าข้า.
[๑๘๕๒] ชนบทอย่าได้มี แม้แว่นแคว้นจะพินาศไป ก็ตามทีเถิด เราให้อภัย แก่ฝูงเนื้อและนกยูงแล้ว ไม่ขอประทุษร้ายพญาเนื้อรุรุเป็นอันขาด.
[๑๘๕๓] ชาวชนบทของเราจะไม่มีก็ตาม ชาวชนบทจะไม่พูดกะเราก็ตาม เราได้ ให้พรแก่พญาเนื้อไว้แล้ว จะไม่พูดเท็จเป็นอันขาด.

จบ รุรุมิคชาดกที่ ๙.

๑๐. สรภชาดก ว่าด้วยละมั่งทำคุณแก่พระราชา


[๑๘๕๔] บุรุษพึงหวังไว้ทีเดียว บัณฑิตไม่พึงเบื่อหน่าย เราเห็นตนอยู่ว่า ปรารถนา อย่างใด ได้เป็นอย่างนั้น.
[๑๘๕๕] บุรุษพึงหวังไว้ทีเดียว บัณฑิตไม่พึงเบื่อหน่าย เราเห็นตนอยู่ว่า ได้ รับความช่วยเหลือให้ขึ้นจากน้ำสู่บกได้.
[๑๘๕๖] บุรุษพึงพยายามไว้ทีเดียว บัณฑิตไม่พึงเบื่อหน่าย เราเห็นตนอยู่ว่า ปรารถนาอย่างใด ได้เป็นอย่างนั้น.
[๑๘๕๗] บุรุษพึงพยายามร่ำไป บัณฑิตไม่พึงเบื่อหน่าย เราเห็นตนอยู่ว่า ได้รับ ความช่วยเหลือให้ขึ้นจากน้ำสู่บกได้.
[๑๘๕๘] นรชนผู้มีปัญญา แม้ตกอยู่ในกองทุกข์ ก็ไม่ควรตัดความหวังในอันจะ มาสู่ความสุข เพราะว่าผัสสะอันไม่เกื้อกูลและเกื้อกูลมีมาก คนที่ไม่ใฝ่ ฝันถึงเลยก็ต้องเข้าถึงความตาย.
[๑๘๕๙] สิ่งที่ไม่ได้คิดไว้ย่อมมีได้บ้าง สิ่งที่คิดไว้ย่อมพินาศไปบ้าง โภคะ ทั้งหลายของสตรี หรือบุรุษ จะสำเร็จได้ด้วยความคิดนึกไม่มีเลย.
[๑๘๖๐] เมื่อก่อนพระองค์เสด็จติดตามละมั่งตัวใดไปตกเหวที่ซอกเขา พระองค์ ทรงพระชนม์สืบมาได้ ด้วยความบากบั่นของละมั่งตัวนั้น ผู้มีจิตไม่ ท้อแท้.
[๑๘๖๑] ละมั่งตัวใดพยายามเอาก้อนหินถมเหว ช่วยพระองค์ขึ้นจากเหวลึกยาก ที่จะขึ้น ปลดเปลื้องพระองค์ ผู้เข้าถึงกองทุกข์เสียจากปากมฤตยู พระองค์กำลังตรัสถึงละมั่งตัวนั้น ผู้มีจิตไม่ท้อแท้.
[๑๘๖๒] ดูกรพราหมณ์ เมื่อคราวนั้น ท่านได้อยู่ในที่นั้นด้วยหรือ หรือว่าใครได้ บอกเรื่องนี้แก่ท่าน ท่านเป็นผู้เปิดเผยข้อที่เคลือบคลุม เห็นเรื่องได้ทั้ง ปวงละสิหนอ ความรู้ของท่านมีกำลัง เห็นปรุโปร่งหรืออย่างไร?
[๑๘๖๓] ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นจอมประชาชน เมื่อคราวนั้น ข้าพระองค์หาได้อยู่ ในที่นั้นไม่ และใครก็มิได้บอกเรื่องนั้นแก่ข้าพระองค์เลย แต่ว่านัก ปราชญ์ทั้งหลาย ย่อมนำเนื้อความแห่งบทคาถาที่พระองค์ทรงภาษิตแล้ว มาใคร่ครวญดู.
[๑๘๖๔] ข้าแต่พระองค์ผู้ทรงพระปรีชาอันประเสริฐ พระองค์ทรงสอดลูกศรอันมี ปีก อันจะกำจัดความแกล้วกล้าของปรปักษ์ได้เข้าในแล่งแล้ว จะทรง ลังเลอะไรอยู่อีกเล่า ลูกศรที่ทรงยิงไปแล้วต้องฆ่าละมั่งได้ทันที ละมั่งนี้ คงเป็นพระกระยาหารของพระราชาได้โดยแท้.
[๑๘๖๕] ดูกรพราหมณ์ แม้เราจะรู้แจ้งชัดความข้อนี้ว่า เนื้อเป็นอาหารของ กษัตริย์ ก็แต่ว่า เราจะบูชาคุณที่ละมั่งนี้ได้ทำไว้แก่เรา ในครั้งก่อน เพราะเหตุนั้น เราจึงไม่ฆ่าละมั่งนี้.
[๑๘๖๖] ข้าแต่พระมหาราชาผู้เป็นใหญ่แห่งทิศ นั่นมิใช่เนื้อ นั่นคือท้าวสักกะ ผู้เป็นใหญ่กว่าอสูร ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นจอมมนุษย์ พระองค์จงทรงฆ่า ท้าวสักกะเทวราชนั้นเสีย แล้วจะได้เป็นใหญ่ในหมู่อมรเทพ.
[๑๘๖๗] ข้าแต่พระราชาผู้องอาจ ประเสริฐกว่านรชน ถ้าว่าพระองค์ยังทรงลังเล ที่จะฆ่าละมั่งผู้เป็นพระสหาย พระองค์พร้อมด้วยพระราชโอรส และ พระราชชายา จักต้องไปยังเวตรณีนรกของพญายม.
[๑๘๖๘] เรา ชาวชนบททั้งหมด ลูก เมียและหมู่สหาย จะพากันไปยังเวตรณีนรก ของพญายมนั้นก็ตาม ถึงกระนั้น เราจะไม่ฆ่าผู้ที่ให้ชีวิตเรา เป็น อันขาด.
[๑๘๖๙] ดูกรมหาพราหมณ์ ละมั่งตัวนี้ ทำคุณแก่เราเมื่อคราวถึงความยาก ตัว คนเดียวในป่าเปลี่ยวแสนร้าย เราระลึกได้อยู่ถึงบุรพกิจเช่นนั้น ที่ ละมั่งตัวนี้กระทำแก่เรา รู้คุณอยู่จะพึงฆ่าอย่างไรได้เล่า.
[๑๘๗๐] ขอพระองค์ผู้ทรงโปรดปรานมิตรยิ่งนัก จงทรงพระชนม์ชีพอยู่ยืนนาน เถิด พระองค์จงทรงปกครองราชสมบัติในคุณธรรมเถิด จงทรงมีหมู่ นารีบำรุงบำเรอ จงทรงบันเทิงพระหฤทัยในแว่นแคว้น เหมือนท้าว วาสวะบันเทิงอยู่ในไตรทิพย์ ฉะนั้น.
[๑๘๗๑] ขอพระองค์ไม่ทรงพระพิโรธ จงมีพระหฤทัยผ่องใสอยู่เป็นนิตย์ ทรง กระทำสมณพราหมณ์ ผู้ตั้งอยู่ในธรรมทั้งปวง ให้เป็นแขกควรต้อนรับ ครั้นทรงบำเพ็ญทาน และเสวยบ้างตามอานุภาพแล้ว ชาวโลกไม่ ติเตียนพระองค์ได้ จงเสด็จเข้าถึงสัคคสถานเถิด.

จบ สรภชาดกที่ ๑๐.

_________________ รวมชาดกที่มีในวรรคนี้ คือ ๑. อัมพชาดก๒. ผันทนชาดก ๓. ชวนหังสชาดก ๔. จุลลนารทกัสสปชาดก ๕. ทูตชาดก ๖. กาลิงคโพธิชาดก ๗. อกิตติชาดก ๘. ตักการิยชาดก ๙. รุรุมิคชาดก๑๐. สรภชาดก. จบ เตรสนิบาตชาดก _________________

ปกิณณกนิบาตชาดก

๑. สาลิเกทารชาดก ว่าด้วยนกแขกเต้าเลี้ยงพ่อแม่


[๑๘๗๒] ข้าแต่ท่านโกสิยะ นาข้าวสาลีบริบูรณ์ดี แต่นกแขกเต้าทั้งหลายพากัน มากินเสีย ข้าพเจ้าขอคืนนานั้นให้แก่ท่าน เพราะข้าพเจ้าไม่อาจจะห้าม นกแขกเต้าเหล่านั้นได้ ก็ในนกแขกเต้าเหล่านั้น มีนกแขกเต้าตัวหนึ่ง งามกว่าทุกๆ ตัว กินข้าวสาลีตามต้องการแล้วยังคาบเอาไปด้วยจะงอย ปากอีก.
[๑๘๗๓] เจ้าจงดักบ่วงพอที่จะให้นกนั้นติดได้ แล้วจงจับนกนั้นทั้งยังเป็นมาให้ เราเถิด.
[๑๘๗๔] ฝูงนกเหล่านั้นกิน และดื่มแล้ว ย่อมพากันบินไป เราผู้เดียวติดบ่วง เราทำบาปอะไรไว้?
[๑๘๗๕] ดูกรนกแขกเต้า ท้องของเจ้าเห็นจะใหญ่กว่าท้องของนกเหล่าอื่นเป็น แน่ เจ้ากินข้าวสาลีตามต้องการแล้ว ยังคาบเอาไปด้วยจะงอยปากอีก? ดูกรนกแขกเต้า เจ้าจะบรรจุฉางในป่าไม้งิ้วนั้นให้เต็มหรือ หรือว่า เจ้ากับเรามีเวรกันมา สหายเอ๋ย เราถามเจ้าแล้ว ขอเจ้าจงบอกแก่เรา เถิด เจ้าฝังข้าวสาลีไว้ที่ไหน?
[๑๘๗๖] ข้าพเจ้ากับท่านมิได้มีเวรกัน ฉางของข้าพเจ้าก็ไม่มี ข้าพเจ้านำเอาข้าว สาลีของท่านไปถึงยอดงิ้วแล้ว ก็เปลื้องหนี้เก่า ให้เขากู้หนี้ใหม่ และ ฝังขุมทรัพย์ไว้ที่ป่างิ้วนั้น ข้าแต่ท่านโกสิยะ ขอท่านจงทราบอย่างนี้ เถิด.
[๑๘๗๗] การให้กู้หนี้ของท่านเป็นเช่นไร และการเปลื้องหนี้ของท่านเป็นเช่นไร ท่านจงบอกวิธีฝังขุมทรัพย์ แล้วท่านจะหลุดพ้นจากบ่วงได้?
[๑๘๗๘] ข้าแต่ท่านโกสิยะ บุตรน้อยทั้งหลายของข้าพเจ้ายังอ่อน ขนปีกยังไม่ ขึ้น บุตรเหล่านั้นข้าพเจ้าเลี้ยงมาแล้ว เขาจักเลี้ยงข้าพเจ้าบ้าง เพราะ เหตุนั้น ข้าพเจ้าจึงชื่อว่าให้บุตรเหล่านั้นกู้หนี้ มารดาและบิดาของ ข้าพเจ้าแก่เฒ่าล่วงกาลผ่านวัยไปแล้ว ข้าพเจ้าคาบเอาข้าวสาลีไปด้วย จะงอยปาก เพื่อท่านเหล่านั้น ชื่อว่าเปลื้องหนี้ที่ท่านทำไว้ก่อน อนึ่ง นกเหล่าอื่นที่ป่าไม้งิ้วนั้น มีขนปีกอันหลุดหมดแล้ว เป็นนกทุพพล ภาพ ข้าพเจ้าต้องการบุญ จึงได้ให้ข้าวสาลีแก่นกเหล่านั้น บัณฑิต ทั้งหลายกล่าวการทำบุญนั้นว่า เป็นขุมทรัพย์. การให้กู้หนี้ของข้าพเจ้า เป็นเช่นนี้ การเปลื้องหนี้ของข้าพเจ้าเป็นเช่นนี้ ข้าพเจ้าบอกการฝัง ขุมทรัพย์ไว้เช่นนี้ ข้าแต่ท่านโกสิยะ ขอท่านจงทราบอย่างนี้เถิด.
[๑๘๗๙] นกตัวนี้ดีจริงหนอ เป็นนกมีธรรมชั้นเยี่ยม ในมนุษย์บางพวกยังไม่มี ธรรมเช่นนี้เลย. เจ้าพร้อมด้วยญาติทั้งมวล จงกินข้าวสาลีตามความ ต้องการเถิด ดูกรนกแขกเต้า เราขอเห็นเจ้าแม้อีกต่อไป การที่ได้เห็น เจ้าเป็นที่พอใจของเรา.
[๑๘๘๐] ข้าแต่ท่านโกสิยะ ข้าพเจ้าได้กิน และดื่มแล้วในที่อยู่ของท่าน ท่าน เป็นที่พึ่งพำนักของพวกเราทุกวันคืน ขอท่านจงให้ทานในท่านที่มีอาชญา อันวางแล้ว และจงเลี้ยงดูมารดาบิดาผู้แก่เฒ่าแล้วด้วย.
[๑๘๘๑] วันนี้ สง่าราศรีเกิดขึ้นแก่เราแล้วหนอ ที่เราได้เห็นท่านผู้เป็นยอดแห่ง ฝูงนก เพราะได้ฟังคำสุภาษิตของนกแขกเต้า เราจักทำบุญให้มาก.
[๑๘๘๒] โกสิยพราหมณ์นั้น มีใจเบิกบานร่าเริงผ่องใส จัดแจงข้าวและน้ำไว้ แล้ว เลี้ยงดูสมณะและพราหมณ์ทั้งหลาย ให้อิ่มหนำสำราญด้วยข้าว และน้ำ.

จบ สาลิเกทารชาดกที่ ๑.

๒. จันทกินนรชาดก ว่าด้วยนางจันทกินนรี


[๑๘๘๓] ดูกรนางจันทา ชีวิตของพี่ใกล้จะขาดอยู่แล้ว พี่กำลังเมาเลือด จันทาเอ๋ย พี่เห็นจะละชีวิตไปแม้ในวันนี้ ลมปราณของพี่กำลังจะดับ. ชีวิตของพี่ กำลังจะจม ความทุกข์กำลังเผาผลาญหัวใจพี่ พี่ลำบากยิ่งนัก ความโศก ของพี่ครั้งนี้เป็นความโศกยิ่งใหญ่กว่าความโศกเหล่าอื่น เพราะเหตุแห่ง เจ้าจันทาผู้จะเศร้าโศกถึงพี่โดยแท้. พี่จะเหี่ยวแห้ง เหมือนต้นหญ้า ที่ถูกทิ้งไว้บนแผ่นหินร้อน เหมือนต้นไม้มีรากอันขาด พี่จะเหือดหาย เหมือนแม่น้ำที่ขาดห้วง ความโศกของพี่ครั้งนี้เป็นความโศกยิ่งใหญ่ กว่าความโศกเหล่าอื่น เพราะเหตุแห่งเจ้าจันทาผู้จะเศร้าโศกถึงพี่โดยแท้. น้ำตาของพี่ไหลออกเรื่อยเหมือนน้ำฝนที่ตกลงที่เชิงบรรพต ไหลไปไม่ ขาดสาย ฉะนั้น ความโศกของพี่ครั้งนี้เป็นความโศกยิ่งใหญ่กว่าความ โศกเหล่าอื่น เพราะเหตุแห่งเจ้าจันทาผู้จะเศร้าโศกถึงพี่โดยแท้.
[๑๘๘๔] พระราชบุตรใด ยิงสามีผู้เป็นที่ปรารถนาของเรา เพื่อให้เป็นหม้ายที่ ชายป่า พระราชบุตรนั้นเป็นคนเลวทรามแท้ สามีของเรานั้นถูกยิงแล้ว นอนอยู่บนพื้นดิน. พระราชบุตรเอ๋ย มารดาของท่านจงได้รับสนอง ความโศกในดวงหทัยของข้าผู้เพ่งมองดูกินนรผู้สามีนี้. ชายาของท่านจง ได้รับสนองความโศกในดวงหทัยของข้าผู้เพ่งมองดูกินนรผู้สามีนี้. พระ ราชบุตรเอ๋ย ท่านได้ฆ่ากินนรผู้ไม่ประทุษร้าย เพราะความรักใคร่ในเรา ขอมารดาของท่านอย่าได้พบเห็นบุตร และสามีเลย. ท่านได้ฆ่ากินนรผู้ ไม่ประทุษร้าย เพราะความรักใคร่ในเรา ขอชายาของท่านจงอย่าได้พบ เห็นบุตร และสามีเลย.
[๑๘๘๕] ดูกรนางจันทา ผู้มีนัยน์ตาบานดังดอกไม้ในป่า เธออย่าร้องไห้ อย่า เศร้าโศกเลย เธอจักได้เป็นอัครมเหสีของฉัน มีเหล่านารีในราชสกุล บูชา.
[๑๘๘๖] พระราชบุตร ถึงแม้ว่าเราจักต้องตาย แต่เราจักไม่ขอยอมเป็นของท่าน ผู้ฆ่ากินนรสามีของเราผู้มิได้ประทุษร้าย เพราะความรักใคร่ในเรา.
[๑๘๘๗] แนะนางกินนรีผู้ขี้ขลาด มีความรักใคร่ต่อชีวิต เจ้าจงไปสู่ป่าหิมพานต์ เถิด มฤคอื่นๆ ผู้บริโภคกฤษณาและกะลำพัก จักยังรักใคร่ยินดีต่อเจ้า.
[๑๘๘๘] ข้าแต่กินนร ภูเขาเหล่านั้น ซอกเขาเหล่านั้น และถ้ำเหล่านั้นตั้งอยู่ ณ ที่นั้น ฉันไม่เห็นท่านในที่นั้นๆ จะกระทำอย่างไร? ข้าแต่กินนร เมื่อ ฉันไม่เห็นท่านที่เทือกเขา ซึ่งเราเคยร่วมอภิรมย์กัน จะกระทำอย่างไร ข้าแต่กินนร เมื่อฉันไม่เห็นท่านที่แผ่นผาอันลาดด้วยใบไม้เป็นที่น่า รื่นรมย์ พวกมฤคร้ายไม่กล้ำกลาย จะทำอย่างไร? ข้าแต่กินนร เมื่อ ฉันไม่เห็นท่านที่แผ่นผาอันลาดด้วยดอกไม้ เป็นที่น่ารื่นรมย์ พวก มฤคร้ายไม่กล้ำกลาย จะทำอย่างไร? ข้าแต่กินนร เมื่อฉันไม่เห็นท่าน ที่ลำธารอันมีน้ำใสไหลอยู่เรื่อยๆ มีกระแสเกลื่อนกล่นไปด้วยดอก โกสุม จะกระทำอย่างไร? ข้าแต่กินนร เมื่อฉันไม่เห็นท่านที่ยอดเขา หิมพานต์อันมีสีเขียว น่าดูน่าชม จะกระทำอย่างไร? ข้าแต่กินนร ฉันไม่เห็นท่านที่ยอดเขาหิมพานต์มีสีเหลืองอร่าม น่าดูน่าชม จะกระทำ อย่างไร? ข้าแต่กินนร เมื่อฉันไม่เห็นท่านที่ยอดเขาหิมพานต์อันมีสีแดง น่าดูน่าชม จะกระทำอย่างไร? ข้าแต่กินนร เมื่อฉันไม่เห็นท่านที่ยอด เขาหิมพานต์อันสูงตระหง่าน น่าดูน่าชม จะกระทำอย่างไร? ข้าแต่ กินนร เมื่อฉันไม่เห็นท่านที่ยอดเขาหิมพานต์อันมีสีขาว น่าดูน่าชม จะกระทำอย่างไร? ข้าแต่กินนร เมื่อฉันไม่เห็นท่านที่ยอดเขาหิมพานต์ อันงามวิจิตร น่าดูน่าชม จะกระทำอย่างไร? ข้าแต่กินนร เมื่อฉันไม่ เห็นท่านที่เขาคันธมาทน์อันดารดาษไปด้วยยาต่างๆ เป็นถิ่นที่อยู่ของ หมู่เทพเจ้า จะกระทำอย่างไร? ข้าแต่กินนร เมื่อฉันไม่เห็นท่านที่ภูเขา คันธมาทน์อันดารดาษไปด้วยโอสถทั้งหลาย จะกระทำอย่างไร?
[๑๘๘๙] ข้าแต่ท่านพราหมณ์ผู้เป็นเจ้า ฉันขอไหว้เท้าทั้งสองของท่าน ผู้มีความ เอ็นดู มารดาสามีผู้ที่ดิฉันซึ่งเป็นกำพร้าปรารถนายิ่งนักด้วยน้ำอมฤต ดิฉัน ได้ชื่อว่า เป็นผู้พร้อมเพรียงด้วยสามีผู้เป็นที่รักยิ่งแล้ว.
[๑๘๙๐] บัดนี้ เราทั้งสองจักไปเที่ยวสู่ลำธาร อันมีกระแสสินธุ์อันเกลื่อนกล่น ด้วยดอกโกสุม ดารดาษไปด้วยบุปผชาติต่างๆ เราทั้งสองจะกล่าววาจา เป็นที่รักแก่กันและกัน.

จบ จันทกินนรชาดกที่ ๒.

๓. มหาอุกกุสชาดก ว่าด้วยสัตว์ ๔ สหาย


[๑๘๙๑] พวกพรานชาวชนบท พากันมัดคบเพลิงอยู่บนเกาะ ปรารถนาจะกินลูก น้อยของเรา ข้าแต่พญาเหยี่ยว ท่านจงบอกมิตรและสหาย จงแจ้ง ความพินาศแห่งหมู่ญาติของเรา.
[๑๘๙๒] ข้าแต่พญานกออก ท่านเป็นนกผู้ประเสริฐกว่านกทั้งหลาย ข้าพเจ้าขอ ยึดท่านเป็นที่พึ่ง พวกพรานชาวชนบทปรารถนาจะกินลูกน้อยของ ข้าพเจ้า ขอท่านจงช่วยให้ข้าพเจ้าได้รับความสุขเถิด.
[๑๘๙๓] บัณฑิตทั้งหลาย ผู้แสวงหาความสุขทั้งในกาลและมิใช่กาล ย่อมทำบุคคล ให้เป็นมิตรสหาย ดูกรเหยี่ยว ฉันจะกระทำประโยชน์อันนี้แก่ท่านจง ได้ ที่จริงอริยชนย่อมกระทำกิจให้แก่อริยชน.
[๑๘๙๔] กิจอันใด ที่อริยชนผู้มีความอนุเคราะห์จะพึงกระทำแก่อริยชน กิจอันนั้น ชื่อว่า อันท่านกระทำแล้ว ขอท่านจงรักษาตัวเถิด อย่ารีบร้อนไปนัก เลย เมื่อท่านยังมีชีวิตอยู่ เราก็จะได้ลูกคืนมาเป็นแน่.
[๑๘๙๕] ฉันกระทำการรักษาป้องกันนั้น แม้ถึงตัวจะตายก็มิได้สะดุ้งเลย แท้จริง สหายทั้งหลายผู้ยอมสละชีวิต กระทำเพื่อสหายทั้งหลาย นี่เป็นธรรมดา ของสัตบุรุษทั้งหลาย.
[๑๘๙๖] นกออกตัวนี้ซึ่งเป็นอัณฑชะ ได้กระทำกรรมที่ทำได้แสนยาก เพื่อ ประโยชน์แก่ลูกเหยี่ยว ตั้งแต่ยามครึ่งจนถึงเที่ยงคืนไม่หยุดหย่อน.
[๑๘๙๗] แท้จริง คนบางพวก ถึงจะเคลื่อนคลาดพลาดพลั้งจากการงานของตน ก็ยังตั้งตัวได้ด้วยความอนุเคราะห์ของมิตรทั้งหลาย พวกลูกทั้งหลาย ของข้าพเจ้าเดือดร้อน ข้าพเจ้าจึงรีบมาหาท่านเพื่อขอให้เป็นที่พึ่งอาศัย ดูกรเต่าผู้เป็นสหาย ขอท่านช่วยบำเพ็ญประโยชน์แก่ข้าพเจ้าเถิด.
[๑๘๙๘] บัณฑิตทั้งหลาย ย่อมทำบุคคลให้เป็นมิตรสหายด้วยทรัพย์ ข้าวเปลือก และด้วยตน ดูกรเหยี่ยว ข้าพเจ้าจะกระทำประโยชน์นี้แก่ท่านให้จงได้ เพราะอริยชนย่อมทำกิจแก่อริยชน.
[๑๘๙๙] คุณพ่อครับ ขอคุณพ่อจงมีความขวนขวายน้อยอยู่เฉยๆ เถิด บุตรย่อม บำเพ็ญสิ่งที่เป็นประโยชน์เพื่อบิดา ผมเองจักป้องกันลูกทั้งหลายของ พญาเหยี่ยว จักบำเพ็ญประโยชน์เพื่อคุณพ่อ.
[๑๙๐๐] ลูกเอ๋ย บุตรพึงบำเพ็ญสิ่งที่เป็นประโยชน์เพื่อบิดา นี่เป็นธรรมของ สัตบุรุษทั้งหลายโดยแท้แล พวกพรานทั้งหลายแลเห็นพ่อผู้มีกายอันใหญ่ โต ที่ไหนเลยจะเบียดเบียนลูกทั้งหลายของพญาเหยี่ยวได้.
[๑๙๐๑] ข้าแต่พญาราชสีห์ผู้ประเสริฐด้วยความแกล้วกล้า สัตว์และมนุษย์เมื่อ ตกอยู่ในภัยแล้ว ย่อมเข้าไปหาผู้ประเสริฐ พวกบุตรของข้าพเจ้าเดือด ร้อน ข้าพเจ้าจึงรีบมาหาท่านเพื่อขอให้ท่านเป็นที่พึ่งอาศัย ท่านเป็น เจ้านายของข้าพเจ้า ขอท่านได้โปรดช่วยให้ข้าพเจ้าได้รับความสุขด้วย เถิด.
[๑๙๐๒] ดูกรพญาเหยี่ยวผู้สหาย ฉันจะบำเพ็ญประโยชน์นี้เพื่อท่านให้จงได้ เรา มาไปด้วยกัน เพื่อกำจัดหมู่ศัตรูของท่านนั้นเสีย วิญญูชนรู้ว่าภัยเกิดขึ้น แก่มิตร จะไม่พยายามเพื่อคุ้มครองมิตรอย่างไรได้.
[๑๙๐๓] บุคคลพึงคบมิตรสหายและเจ้านายไว้ เพื่อได้รับความสุข เรากำจัดศัตรู ได้ด้วยกำลังแห่งมิตร เป็นผู้พร้อมเพรียงด้วยบุตรทั้งหลาย บันเทิงอยู่ เหมือนเกราะที่บุคคลสวมแล้ว ป้องกันลูกศรทั้งหลายได้ ฉะนั้น.
[๑๙๐๔] ลูกน้อยทั้งหลายของเรา เปล่งเสียงอันจับใจร้องรับเราผู้ร้องหาอยู่ ด้วย การกระทำของพญาเนื้อผู้เป็นมิตรสหายของตน ซึ่งมิได้หนีไป.
[๑๙๐๕] แนะเธอผู้ต้องการสิ่งที่น่าปรารถนา บัณฑิตได้มิตรสหายแล้ว ย่อม ปกปักรักษาบุตร ปศุสัตว์ และทรัพย์ไว้ได้ ฉัน บุตร และสามีของ ฉันด้วย เป็นผู้พร้อมเพรียงกัน เพราะความอนุเคราะห์ของมิตรทั้งหลาย. บุคคลผู้มีพระราชาและมีมิตรผู้กล้าหาญ สามารถจะบรรลุถึงประโยชน์ ได้เพราะสหายเหล่านี้ ย่อมมีแก่ผู้มีมิตรธรรมอันบริบูรณ์ บุคคลผู้มีมิตร สหาย มียศ มีตนอันสูงส่ง ย่อมบันเทิงใจอยู่ในโลกนี้ด้วย.
[๑๙๐๖] ข้าแต่พญาเหยี่ยว มิตรธรรมทั้งหลายแม้ผู้ที่ยากจนก็ควรทำ ดูซิท่าน เราพร้อมด้วยหมู่ญาติเป็นผู้พร้อมเพรียงกัน ด้วยความอนุเคราะห์ของ มิตร นกตัวใด ผูกมิตรไว้กับผู้กล้าหาญมีกำลัง นกตัวนั้น ย่อมมีความสุข เหมือนฉันกับเธอ ฉะนั้น.

จบ มหาอุกกุสชาดกที่ ๓.

๔. อุททาลกชาดก ว่าด้วยจรณธรรม


[๑๙๐๗] ชฎิลเหล่าใดครองหนังเสือพร้อมทั้งเล็บ ฟันเขลอะ รูปร่างเลอะเทอะ ร่ายมนต์อยู่ ชฎิลเหล่านั้นเป็นผู้รู้การประพฤติตบะ และการสาธยาย มนต์นี้ ในความเพียรที่มนุษย์จะพึงทำกัน จะพ้นจากอบายได้ละหรือ?
[๑๙๐๘] ข้าแต่พระราชา ถ้าบุคคลเป็นพหูสูต ไม่ประพฤติธรรม ก็จะพึงกระทำ กรรมอันลามกทั้งหลายได้ แม้จะมีเวทตั้งพัน อาศัยแต่ความเป็นพหูสูต ยังไม่บรรลุจรณธรรม จะพ้นจากทุกข์ไปไม่ได้เลย.
[๑๙๐๙] แม้บุคคลผู้มีเวทตั้งพัน อาศัยแต่ความเป็นพหูสูตนั้น ยังไม่บรรลุ จรณธรรมแล้ว จะพ้นจากทุกข์ไปไม่ได้ อาตมภาพย่อมสำคัญว่า เวท ทั้งหลายก็ย่อมไม่มีผล จรณธรรมอันมีความสำรวมเท่านั้นเป็นความจริง.
[๑๙๑๐] เวททั้งหลายจะไม่มีผลก็หามิได้ จรณธรรมอันมีความสำรวมนั่นแลเป็น ความจริง แต่บุคคลเรียนเวททั้งหลายแล้ว ย่อมได้รับเกียรติคุณ ท่าน ผู้ฝึกฝนตนด้วยจรณธรรมแล้วย่อมบรรลุถึงสันติ.
[๑๙๑๑] บุตรที่เกิดแต่มารดา บิดา และเผ่าพันธุ์ใด อันบุตรจะต้องเลี้ยงดู อาตมภาพเป็นคนๆ นั้นแหละ มีชื่อว่าอุททาลกะ เป็นเชื้อสายของ วงศ์ตระกูลโสตถิยะแห่งท่านผู้เจริญ.
[๑๙๑๒] ดูกรท่านผู้เจริญ บุคคลเป็นพราหมณ์ได้อย่างไร เป็นพราหมณ์เต็มที่ ได้อย่างไร ความดับรอบจะมีได้อย่างไร ผู้ที่ตั้งอยู่ในธรรม บัณฑิตเรียก ว่ากระไร?
[๑๙๑๓] บุคคลเป็นพราหมณ์ ต้องบูชาไฟเป็นนิตย์ ต้องรดน้ำ เมื่อบูชายัญต้อง ยกเสาเจว็ด ผู้กระทำอย่างนี้จึงเป็นพราหมณ์ผู้เกษม ด้วยเหตุนั้น ชนทั้งหลายจึงได้พากันสรรเสริญว่า เป็นผู้ตั้งอยู่ในธรรม.
[๑๙๑๔] ความหมดจด ย่อมไม่มีด้วยการรดน้ำ อนึ่ง พราหมณ์จะเป็นพราหมณ์ เต็มที่ด้วยการรดน้ำก็หาไม่ ขันติและโสรัจจะย่อมมีไม่ได้ ทั้งผู้นั้นจะ เป็นผู้ดับรอบก็หามิได้.
[๑๙๑๕] ดูกรท่านผู้เจริญ บุคคลเป็นพราหมณ์ได้อย่างไร และเป็นพราหมณ์เต็มที่ ได้อย่างไร ความดับรอบจะมีได้อย่างไร ผู้ที่ตั้งอยู่ในธรรม บัณฑิตเรียก ว่ากระไร?
[๑๙๑๖] บุคคลผู้ไม่มีไร่นา ไม่มีพวกพ้อง ไม่ถือว่าเป็นของเรา ไม่มีความหวัง ไม่มีบาปคือความโลภ สิ้นความละโมบในภพแล้ว ผู้กระทำอย่างนี้ ชื่อว่า เป็นพราหมณ์ผู้เกษม เพราะเหตุนั้น ชนทั้งหลายจึงได้พากันสรรเสริญ ว่า ผู้ตั้งอยู่ในธรรม.
[๑๙๑๗] กษัตริย์ พราหมณ์ แพศย์ ศูทร คนจัณฑาล คนเทหยากเยื่อทั้งปวง เป็นผู้สงบเสงี่ยม ฝึกฝนตนแล้ว ย่อมดับรอบได้ทั้งหมด เมื่อคนทุกๆ คนเป็นผู้เย็นแล้ว ยังจะมีคนดี คนเลวอีกหรือไม่?
[๑๙๑๘] กษัตริย์ พราหมณ์ แพศย์ ศูทร คนจัณฑาล คนเทหยากเยื่อทั้งปวง เป็นผู้สงบเสงี่ยม ฝึกฝนตนแล้ว ย่อมดับรอบได้ทั้งหมด เมื่อคนทุกๆ คนเป็นผู้เย็นแล้ว ย่อมไม่มีคนดี คนเลวเลย.
[๑๙๑๙] กษัตริย์ พราหมณ์ แพศย์ ศูทร คนจัณฑาล คนเทหยากเยื่อทั้งปวง เป็นผู้สงบเสงี่ยม ฝึกฝนตนแล้ว ย่อมดับรอบได้ทั้งหมด เมื่อคนทุกๆ คนเป็นผู้เย็นแล้ว ย่อมไม่มีคนดี คนเลวเลย เมื่อเป็นอย่างนี้ ท่านชื่อ ว่า ทำลาย ความเป็นเชื้อสายแห่งตระกูลโสตถิยะ จะประพฤติเพศ พราหมณ์ที่เขาสรรเสริญกันอยู่ทำไม.
[๑๙๒๐] วิมานที่เขาคลุมด้วยผ้ามีสีต่างๆ กัน เงาแห่งผ้าเหล่านั้นย่อมเป็นสีเดียว กันหมด สีที่ย้อมนั้นย่อมไม่เกิดเป็นสี ฉันใด ในมนุษย์ทั้งหลาย ก็ฉันนั้น เมื่อใด มาณพบริสุทธิ์ เมื่อนั้น มาณพเหล่านั้นเป็นผู้มีวัตรดี เพราะรู้ ทั่วถึงธรรม ย่อมละชาติของตนได้.

จบ อุททาลกชาดกที่ ๔.

๕. ภิสชาดก ว่าด้วยผู้ลักเอาเหง้ามัน


[๑๙๒๑] ข้าแต่ท่านพราหมณ์ ผู้ใดลักเอาเหง้ามันของท่านไป ขอให้ผู้นั้นจงได้ม้า วัว เงิน ทอง และภรรยาที่น่าชอบใจ จงพร้อมพรั่งด้วยบุตรและภรรยา มากมายเถิด.
[๑๙๒๒] ข้าแต่ท่านพราหมณ์ ผู้ใดลักเอาเหง้ามันของท่านไป ขอให้ผู้นั้นจงได้ทัด ทรงระเบียบ ดอกไม้ ลูบไล้กระแจะจันทน์ แคว้นกาสี จงเป็นผู้ มากไปด้วยบุตร จงกระทำความเพ่งเล็งอย่างแรงกล้าในกามทั้งหลายเถิด.
[๑๙๒๓] ข้าแต่ท่านพราหมณ์ ผู้ใดลักเอาเหง้ามันของท่านไป ขอให้ผู้นั้นจงเป็น คฤหัสถ์มีธัญชาติมากมาย สมบูรณ์ด้วยเครื่องกสิกรรม มียศ จงได้บุตร ทั้งหลาย มั่งมีทรัพย์ ได้กามคุณทุกอย่าง จงอยู่ครองเรือนอย่างไม่เห็น ความเสื่อมเลย.
[๑๙๒๔] ข้าแต่ท่านพราหมณ์ ผู้ใดลักเอาเหง้ามันของท่านไป ขอให้ผู้นั้นจง ปราบดาภิเษกเป็นกษัตริย์บรมราชาธิราช มีกำลัง มียศศักดิ์ จงครอบ ครองแผ่นดินมีมหาสมุทรทั้ง ๔ เป็นขอบเขตเถิด.
[๑๙๒๕] ข้าแต่ท่านพราหมณ์ ผู้ใดลักเอาเหง้ามันของท่านไป ขอให้ผู้นั้นจงเป็น พราหมณ์มัวประกอบในทางทำนายฤกษ์ยาม อย่าได้คลายความยินดีใน ตำแหน่ง ท่านผู้เป็นเจ้าแคว้น ผู้มียศ จงบูชาผู้นั้นไว้เถิด.
[๑๙๒๖] ข้าแต่ท่านพราหมณ์ ผู้ใดลักเอาเหง้ามันของท่านไป ขอชาวโลกทั้งมวล จงสำคัญผู้นั้นว่า เป็นผู้เชี่ยวชาญเวทมนต์ทั้งปวง ผู้เรืองตบะ ชาว ชนบททั้งหลายทราบดีแล้ว จงบูชาผู้นั้นเถิด.
[๑๙๒๗] ข้าแต่ท่านพราหมณ์ ผู้ใดลักเอาเหง้ามันของท่านไป ขอให้ผู้นั้นจงครอบ ครองบ้านส่วย อันพระราชาทรงประทานให้ เป็นบ้านที่มั่งคั่ง สมบูรณ์ ด้วยเหตุ ๔ ประการ ดุจท้าววาสวะพระราชทานให้ อย่าได้คลายความ ยินดีจนกระทั่งถึงความตายเถิด.
[๑๙๒๘] ข้าแต่ท่านพราหมณ์ ผู้ใดลักเอาเหง้ามันของท่านไป ขอให้ผู้นั้นจงเป็น นายบ้าน บันเทิงอยู่ด้วยการฟ้อนรำขับร้องในท่ามกลางสหาย อย่าได้ รับความพินาศอย่างใดอย่างหนึ่งจากพระราชาเลย.
[๑๙๒๙] ข้าแต่ท่านพราหมณ์ หญิงใดลักเอาเหง้ามันของท่านไป ขอให้พระมหา กษัตริย์ผู้ทรงเป็นเอกราช ทรงปราบปรามศัตรูได้ทั่วพื้นปฐพี ทรงสถาปนา ให้หญิงนั้นเป็นยอดสตรีจำนวนพัน ขอหญิงนั้นจงเป็นมเหสีผู้ประเสริฐ กว่านางสนมทั้งหลายเถิด.
[๑๙๓๐] ข้าแต่ท่านพราหมณ์ หญิงใดลักเอาเหง้ามันของท่านไป ขอให้หญิงนั้น จงเป็นทาสีไม่สะดุ้งสะเทือน กินของดีๆ ในท่ามกลางคนทั้งปวงที่มา ประชุมกันอยู่ จงเที่ยวโอ้อวดลาภอยู่เถิด.
[๑๙๓๑] ข้าแต่ท่านพราหมณ์ ผู้ใดลักเอาเหง้ามันของท่านไป ขอให้ผู้นั้นจงได้ เป็นเจ้าอาวาสในวัดใหญ่ๆ จงเป็นผู้ประกอบนวกรรมในเมืองกชังคละ จงกระทำหน้าต่างตลอดวันเถิด.
[๑๙๓๒] ข้าแต่ท่านพราหมณ์ ช้างเชือกใดลักเอาเหง้ามันของท่านไป ขอให้ช้าง เชือกนั้น จงถูกคล้องด้วยบ่วงบาศตั้งร้อย จงถูกนำออกจากป่าอันน่า รื่นรมย์มายังราชธานี จงถูกทิ่มแทงด้วยประตักและสับด้วยขอเถิด.
[๑๙๓๓] ข้าแต่ท่านพราหมณ์ ลิงตัวใดลักเอาเหง้ามันของท่านไป ขอให้ลิงตัว นั้นมีพวงดอกไม้สวมคอ ถูกเจาะหูด้วยดีบุก ถูกเฆี่ยนด้วยไม้เรียว เมื่อฝึกหัดให้เล่นงู เข้าไปใกล้ปากงู ถูกมัดตระเวนเที่ยวไปตามตรอก เถิด.
[๑๙๓๔] ท่านผู้เจริญทั้งหลาย ผู้ใดแกล้งกล่าวถึงของที่ไม่หายว่าหายก็ดี หรือผู้ใด สงสัยคนใดคนหนึ่งก็ดี ขอให้ผู้นั้นจงได้บริโภคกามทั้งหลาย จงเข้าถึง ความตายอยู่ในท่ามกลางเรือนเถิด.
[๑๙๓๕] สัตว์ทั้งหลายในโลก ย่อมพากันเที่ยวแสวงหากามใด เป็นสิ่งที่น่า ปรารถนา น่าใคร่ น่ารัก น่าฟูใจของสัตว์เป็นอันมาก ในชีวโลกนี้ เพราะเหตุไร ฤาษีทั้งหลายจึงไม่สรรเสริญกามเลย.
[๑๙๓๖] ดูกรท่านผู้เป็นจอมภูต เพราะกามนั่นแล สัตว์ทั้งหลายจึงถูกประหาร ถูกจองจำ เพราะกามทั้งหลาย ทุกข์และภัยจึงเกิดเพราะกามทั้งหลาย สัตว์ทั้งหลายจึงประมาทลุ่มหลงกระทำกรรมอันเป็นบาป สัตว์เหล่านั้น มีบาป จึงประสบบาปกรรม เมื่อตายไปแล้วย่อมไปสู่นรก เพราะเห็น โทษในกามคุณดังนี้ ฤาษีทั้งหลายจึงไม่สรรเสริญกาม.
[๑๙๓๗] ข้าแต่ท่านผู้ประพฤติพรหมจรรย์ ข้าพเจ้าจะทดลองดูว่า ฤาษีเหล่านี้ยัง น้อมไปในกามหรือไม่ จึงถือเอาเหง้ามันที่ฝั่งน้ำไปฝังไว้บนบก ฤาษี ทั้งหลายเป็นผู้บริสุทธิ์ ไม่มีบาป นี้เหง้ามันของท่าน.
[๑๙๓๘] ดูกรท้าวสหัสนัยน์เทวราช ฤาษีเหล่านั้นมิใช่นักฟ้อนของท่าน และมิใช่ ผู้ที่ท่านจะพึงล้อเล่น ไม่ใช่พวกพ้องและสหายของท่าน เพราะเหตุไร ท่านจึงมาดูหมิ่นล้อเล่นกับฤาษีทั้งหลาย?
[๑๙๓๙] ข้าแต่ท่านผู้ประพฤติพรหมจรรย์ ผู้มีปัญญากว้าง ท่านเป็นอาจารย์และ เป็นบิดาของข้าพเจ้า ขอเงาเท้าของท่านจงเป็นที่พึ่งของข้าพเจ้าผู้พลั้ง พลาด ขอได้โปรดอดโทษครั้งหนึ่งเถิด บัณฑิตทั้งหลายย่อมไม่มีความ โกรธเป็นกำลัง.
[๑๙๔๐] การที่พวกเราได้เห็นท้าววาสวะผู้เป็นจอมภูต นับเป็นราตรีเอกของพวก เราเหล่าฤาษีซึ่งอยู่กันด้วยดี ท่านผู้เจริญ ทุกคนจงพากันดีใจเถิด เพราะ ท่านพราหมณ์ได้เหง้ามันคืนแล้ว.
[๑๙๔๑] เราตถาคต สารีบุตร โมคคัลลานะ กัสสปะ อนุรุทธะ ปุณณะและ อานนท์ เป็น ๗ พี่น้อง ในครั้งนั้น อุบลวรรณาเป็นน้องสาว ขุชชุตตรา เป็นทาสี จิตตคฤหบดีเป็นทาส สาตาคีระเป็นเทวดา ปาลิเลยยกะเป็น ช้าง มธุทะผู้ประเสริฐเป็นวานร กาฬุทายีเป็นท้าวสักกะ ท่านทั้งหลาย จงทรงชาดกไว้ ด้วยประการฉะนี้แล.

จบ ภิสชาดกที่ ๕.

๖. สุรุจิชาดก ว่าด้วยพระเจ้าสุรุจิ


[๑๙๔๒] ดิฉันถูกเชิญมาเป็นพระอัครมเหสีคนแรกของพระเจ้าสุรุจิตลอดเวลาหมื่น ปี พระเจ้าสุรุจินำดิฉันมาผู้เดียว ข้าแต่ท่านพราหมณ์ ดิฉันนั้นมิได้ รู้สึกเลยว่า ได้ล่วงเกินพระเจ้าสุรุจิผู้เป็นจอมประชาชนชาววิเทหรัฐ ครองพระนครมิถิลา ด้วยกาย วาจา หรือใจ ทั้งในที่แจ้งหรือในที่ลับ เลย ข้าแต่พระฤาษี ด้วยการกล่าวคำสัตย์จริงนี้ ขอบุตรจงเกิดเถิด เมื่อดิฉัน กล่าวคำเท็จ ขอศีรษะของดิฉันจงแตก ๗ เสี่ยง.
[๑๙๔๓] ข้าแต่ท่านพราหมณ์ ดิฉันเป็นที่พอใจของพระภัสดา พระชนนี และ พระชนกของพระภัสดาก็เป็นที่รักของดิฉัน พระองค์ท่านเหล่านั้นทรง แนะนำดิฉัน ตลอดเวลาที่พระองค์ท่านยังทรงพระชนม์ชีพอยู่ ดิฉันนั้น ยินดีในความไม่เบียดเบียน มีปกติประพฤติธรรมโดยส่วนเดียว มุ่ง บำเรอพระองค์ท่านเหล่านั้นโดยเคารพ ไม่เกียจคร้านทั้งกลางคืนกลางวัน ข้าแต่พระฤาษี ด้วยการกล่าวคำสัตย์จริงนี้ ขอบุตรจงเกิดเถิด เมื่อดิฉัน กล่าวคำเท็จ ขอศีรษะของดิฉันจงแตก ๗ เสี่ยง.
[๑๙๔๔] ข้าแต่ท่านพราหมณ์ ความริษยาหรือความโกรธ ในสตรีผู้เป็นพระราช เทวีร่วมกัน ๑๖,๐๐๐ คน มิได้มีแก่ดิฉันในกาลไหนๆ เลย ดิฉันชื่นชม ด้วยความเกื้อกูลแก่พระราชเทวีเหล่านั้น และคนไหนที่จะไม่เป็นที่รัก ของดิฉันไม่มีเลย ดิฉันอนุเคราะห์หญิงผู้ร่วมพระสามีทั่วกันทุกคน ใน กาลทุกเมื่อ เหมือนอนุเคราะห์ตน ฉะนั้น ข้าแต่พระฤาษี ด้วยการกล่าว คำสัตย์จริงนี้ ขอบุตรจงเกิดเถิด เมื่อดิฉันกล่าวคำเท็จ ขอศีรษะของ ดิฉันจงแตก ๗ เสี่ยง.
[๑๙๔๕] ดิฉันเลี้ยงดูทาสกรรมกร ซึ่งจะต้องเลี้ยงดูและชนเหล่าอื่นผู้อาศัยเลี้ยง ชีวิต โดยเหมาะสมกับหน้าที่ ดิฉันมีอินทรีย์อันเบิกบานในกาลทุกเมื่อ ข้าแต่พระฤาษี ด้วยการกล่าวคำสัตย์จริงนี้ ขอบุตรจงเกิดเถิด เมื่อดิฉัน กล่าวคำเท็จ ขอศีรษะของดิฉันจงแตก ๗ เสี่ยง.
[๑๙๔๖] ดิฉันมีฝ่ามืออันชุ่ม เลี้ยงดูสมณพราหมณ์ และแม้วณิพกเหล่าอื่น ให้อิ่ม หนำสำราญด้วยข้าวและน้ำทุกเมื่อ ข้าแต่พระฤาษี ด้วยการกล่าวคำสัตย์ จริงนี้ ขอบุตรจงเกิดเถิด เมื่อดิฉันกล่าวคำเท็จ ขอศีรษะของดิฉันจง แตก ๗ เสี่ยง.
[๑๙๔๗] ดิฉันเข้าอยู่ประจำอุโบสถ อันประกอบด้วยองค์ ๘ ประการ ตลอดดิถี ที่ ๑๔,๑๕ และดิถีที่ ๘ แห่งปักษ์ และตลอดปาฏิหาริยปักษ์ ดิฉัน สำรวมแล้วในศีลทุกเมื่อ ข้าแต่พระฤาษี ด้วยการกล่าวคำสัตย์จริงนี้ ขอบุตรจงเกิดเถิด เมื่อดิฉันกล่าวคำเท็จ ขอศีรษะของดิฉันจงแตก ๗ เสี่ยง.
[๑๙๔๘] ดูกรพระราชบุตรีผู้เรืองยศงดงาม คุณอันเป็นธรรมเหล่าใด ในพระองค์ ที่พระองค์แสดงแล้ว คุณอันเป็นธรรมเหล่านั้นมีทุกอย่าง พระราชโอรส ผู้เป็นกษัตริย์ สมบูรณ์ด้วยพระชาติ เป็นอภิชาตบุตร เรืองพระยศ เป็น พระธรรมราชาแห่งชนชาววิเทหะ จงอุบัติแก่พระนาง.
[๑๙๔๙] ท่านผู้มีดวงตาน่ายินดี ทรงผ้าคลุกธุลี สถิตอยู่บนเวหาอันไม่มีสิ่งใดกั้น ได้กล่าววาจาเป็นที่พอใจจับใจของดิฉัน ท่านเป็นเทวดามาจากสวรรค์ เป็นฤาษีผู้มีฤทธิ์มาก หรือว่าเป็นใครมาถึงที่นี้ ขอท่านจงกล่าวความจริง ให้ดิฉันทราบด้วย.
[๑๙๕๐] หมู่เทวดามาประชุมกันที่สุธรรมาสภา ย่อมกราบไหว้ท้าวสักกะองค์ใด ข้าพเจ้าเป็นท้าวสักกะองค์นั้น มีดวงตาพันหนึ่ง มายังสำนักของท่าน หญิงเหล่าใดในเทวโลก เป็นผู้มีปกติประพฤติสม่ำเสมอ มีปัญญา มีศีล มี พ่อผัวแม่ผัวเป็นเทวดา ยำเกรงสามี เทวดาทั้งหลายผู้มิใช่มนุษย์ มาเยี่ยม หญิงเช่นนั้น ผู้มีปัญญา มีกรรมอันสะอาด เป็นหญิงมนุษย์ ดูกรนางผู้ เจริญ ท่านเกิดในราชสกุลนี้ พรั่งพร้อมไปด้วยสิ่งที่น่าปรารถนาทุกอย่าง ด้วยสุจริตธรรมที่ท่านประพฤติดีแล้วในปางก่อน ดูกรพระราชบุตรี ก็ แหละ ข้อนี้เป็นชัยชนะในโลกทั้งสองของท่าน คือ การอุบัติในเทวโลก และเกียรติในชีวิตนี้ ดูกรพระนางสุเมธา ขอให้พระนางจงมีสุข ยั่งยืน นาน จงรักษาธรรมไว้ในตนให้ยั่งยืนเถิด ข้าพเจ้านี้ ขอลาไปสู่ไตรทิพย์ การพบเห็นท่าน เป็นการพบเห็นที่ดูดดื่มใจของข้าพเจ้ายิ่งนัก.

จบ สุรุจิชาดกที่ ๖.

๗. ปัญจุโปสถิกชาดก ว่าด้วยนกพิราบ


[๑๙๕๑] ดูกรนกพิราบ เพราะเหตุไร บัดนี้ เจ้าจึงมีความขวนขวายน้อย ไม่ต้อง การอาหาร อดกลั้นความหิวกระหายมารักษาอุโบสถ.
[๑๙๕๒] แต่ก่อนนี้ข้าพเจ้าบินไปกับนางนกพิราบ เราทั้ง ๒ ชื่นชมยินดีกันอยู่ใน ป่าประเทศนั้น ทันใดนั้น เหยี่ยวได้โฉบเอานางนกพิราบไปเสีย ข้าพเจ้าไม่ปรารถนาจะพลัดพรากจากนางไป แต่จำต้องพลัดพรากจากนาง เพราะพลัดพลากจากนาง ข้าพเจ้าได้เสวยเวทนาทางใจ เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าจึงรักษาอุโบสถ ด้วยคิดว่า ความรักอย่าได้กลับมาหาเราอีกเลย.
[๑๙๕๓] ดูกรงูผู้ไปไม่ตรง เลื้อยไปด้วยอก มีลิ้น ๒ ลิ้น เจ้ามีเขี้ยวเป็นอาวุธ มีพิษร้ายแรง เพราะเหตุไร เจ้าจึงอดกลั้นความหิวกระหายมารักษา อุโบสถ.
[๑๙๕๔] โคของนายอำเภอ กำลังเปลี่ยว มีหนอกกระเพื่อม มีลักษณะงาม มีกำลัง มันได้เหยียบข้าพเจ้า ข้าพเจ้าโกรธจึงได้กัดมัน มันก็ถูกทุกขเวทนา ครอบงำ ถึงความตาย ณ ที่นั้นเอง ลำดับนั้น ชนทั้งหลายก็พากันออก มาจากบ้าน ร้องไห้คร่ำครวญ หาได้พากันหลบหลีกไปไม่ เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าจึงรักษาอุโบสถ ด้วยคิดว่า ความโกรธอย่าได้มาถึงเราอีกเลย.
[๑๙๕๕] ดูกรสุนัขจิ้งจอก เนื้อของคนที่ตายแล้ว มีอยู่ในป่าช้าเป็นอันมาก อาหารชนิดนี้เป็นที่พอใจของเจ้า เพราะเหตุไร เจ้าจึงอดกลั้นความหิว กระหายมารักษาอุโบสถ.
[๑๙๕๖] ข้าพเจ้าได้เข้าไปสู่ท้องช้างตัวใหญ่ ยินดีในซากศพ ติดใจในเนื้อช้าง ลมร้อนและแสงแดดอันกล้า ได้แผดเผาทวารหนักของช้างนั้นให้แห้ง ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งผอม ทั้งเหลือง ไม่มีทางจะออกได้ ต่อมา มีฝนห่าใหญ่ตกลงมาโดยพลัน ชะทวารหนักของช้างตัวนั้นให้เปียกชุ่ม ดูกรท่านผู้เจริญ ทีนั้น ข้าพเจ้าจึงออกมาได้ ดังดวงจันทร์ พ้นจาก ปากแห่งราหูฉะนั้น เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าจึงรักษาอุโบสถ ด้วยคิดว่า ความโลภอย่ามาถึงเราอีกเลย.
[๑๙๕๗] ดูกรหมี แต่ก่อนนี้ เจ้าขย้ำกินตัวปลวกในจอมปลวก เพราะเหตุไร เจ้าจึงอดกลั้นความหิวกระหายมารักษาอุโบสถเล่า.
[๑๙๕๘] ข้าพเจ้าดูหมิ่นถิ่นที่เคยอยู่ของตน ได้ไปยังปัจจันตคามแคว้นมลรัฐ เพราะความเป็นผู้อยากมากเกินไป ครั้งนั้น ชนทั้งหลายก็พากันออก จากบ้าน รุมตีข้าพเจ้าด้วยคันธนู ข้าพเจ้าศีรษะแตกเลือดอาบ ได้กลับ มาสู่ถิ่นที่เคยอยู่อาศัยของตน เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าจึงรักษาอุโบสถ ด้วยคิดว่า ความอยากมากเกินไปอย่าได้มาถึงเราอีกเลย.
[๑๙๕๙] ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ข้อความอันใด ท่านก็ได้ถามพวกข้าพเจ้าแล้ว ข้าพเจ้า ทั้งหมดก็ได้พยากรณ์ข้อความอันนั้นตามที่ได้รู้เห็นมา ข้าแต่ท่านผู้เป็น วงศ์พรหมผู้เจริญ พวกข้าพเจ้าจะขอถามท่านบ้างละ เพราะเหตุไร ท่าน จึงรักษาอุโบสถเล่า.
[๑๙๖๐] พระปัจเจกพุทธะรูปหนึ่ง ผู้ไม่แปดเปื้อนด้วยกิเลส นั่งอยู่ในอาศรมของ ฉันครู่หนึ่ง ท่านได้บอกให้ฉันทราบถึงที่ไปที่มา นามโคตรและจรณะทุก อย่าง ถึงอย่างนั้น ฉันก็มิได้กราบไหว้เท้าทั้ง ๒ ของท่าน อนึ่ง ฉันก็มิได้ ถามถึงนามและโคตรของท่านเลย เพราะเหตุนั้น ฉันจึงรักษาอุโบสถ ด้วยคิดว่า มานะอย่าได้มาถึงฉันอีกเลย.

จบ ปัญจุโปสถิกชาดกที่ ๗.

๘. มหาโมรชาดก ว่าด้วยพญานกยูงพ้นจากบ่วง


[๑๙๖๑] ดูกรสหาย ก็ถ้าแหละท่านจับข้าพเจ้าเพราะเหตุแห่งทรัพย์แล้ว ท่าน อย่าฆ่าข้าพเจ้าเลย จงจับเป็นนำข้าพเจ้าไปถวายพระราชาเถิด เข้าใจว่า ท่านจะได้ทรัพย์ไม่ใช่น้อยเลย.
[๑๙๖๒] เราผูกสอดลูกธนูใส่เข้าในแล่ง มิได้หมายมั่นว่าจะฆ่าท่านในวันนี้เลย แต่เราจักตัดบ่วงที่ผูกรัดเท้าท่าน พญานกยูงจงไปตามสบายเถิด.
[๑๙๖๓] เหตุไร ท่านจึงเพียรดักข้าพเจ้ามาถึง ๗ ปี สู้อดกลั้นความหิวกระหาย ทั้งกลางคืนและกลางวัน เมื่อเป็นเช่นนั้น ท่านปรารถนาจะปลดปล่อย ข้าพเจ้า ผู้ติดบ่วงเสียจากบ่วงเพื่ออะไร วันนี้ ท่านงดเว้นจากปาณาติบาต หรือ หรือว่าท่านให้อภัยในสัตว์ทั้งปวง เหตุไรท่านจึงปรารถนาจะปลด ปล่อยข้าพเจ้าผู้ติดบ่วง ออกจากบ่วงเสียเล่า.
[๑๙๖๔] ดูกรพญานกยูง ขอท่านจงบอกว่า ผู้ใดเป็นผู้งดเว้นจากปาณาติบาต และ ให้อภัยในสัตว์ทั้งปวง ข้าพเจ้าขอถามความข้อนั้นกะท่าน ผู้นั้นจุติจาก โลกนี้แล้วจะได้ความสุขอะไร?
[๑๙๖๕] ข้าพเจ้าขอบอกว่า ผู้ใดเป็นผู้งดเว้นจากปาณาติบาต และให้อภัยในสัตว์ ทั้งปวง ผู้นั้นย่อมได้รับความสรรเสริญในปัจจุบัน และเมื่อตายไปย่อม ไปสู่สวรรค์.
[๑๙๖๖] สมณพราหมณ์พวกหนึ่งกล่าวว่า เทวดาทั้งหลายไม่มี ชีพย่อมเข้าถึงความ เป็นต่างๆ กันในโลกนี้ ผลของกรรมดีและกรรมชั่วก็เหมือนกัน และ กล่าวว่า ทานอันคนโง่บัญญัติไว้ ข้าพเจ้าเชื่อถ้อยคำของพระอรหันต์ เหล่านั้น ฉะนั้น จึงเบียดเบียนนกทั้งหลาย.
[๑๙๖๗] ดวงจันทร์ดวงอาทิตย์ทั้ง ๒ เห็นกันได้ง่ายๆ ส่องสว่างไปในอากาศ ดวงจันทร์ดวงอาทิตย์ทั้ง ๒ นั้น อยู่ในโลกนี้หรือในโลกอื่น สมณ พราหมณ์เหล่านั้น กล่าวถึงดวงจันทร์ดวงอาทิตย์ในมนุษยโลกอย่างไร หรือ?
[๑๙๖๘] ดวงจันทร์ดวงอาทิตย์ทั้ง ๒ เห็นกันได้ง่ายๆ ส่องสว่างไปในอากาศ ดวงจันทร์ดวงอาทิตย์ทั้ง ๒ นั้น มีอยู่ในโลกอื่น ไม่มีในโลกนี้ สมณ พราหมณ์เหล่านั้น กล่าวถึงดวงจันทร์ดวงอาทิตย์ว่า เป็นเทวดาในมนุษย โลก.
[๑๙๖๙] สมณพราหมณ์เหล่าใด มีวาทะว่าหาเหตุมิได้ ไม่กล่าวถึงกรรม ไม่กล่าว ถึงผลแห่งกรรมดี กรรมชั่ว และกล่าวถึงทานว่าคนโง่บัญญัติไว้ สมณ พราหมณ์เหล่านั้น เป็นผู้มีวาทะเลวทราม ถูกท่านกำจัดเสียแล้ว เพราะ การพยากรณ์นี้แหละ.
[๑๙๗๐] คำของท่านนี้เป็นคำจริงแท้ทีเดียว ไฉนทานจะไม่พึงมีผลเล่า ผลของ กรรมดีกรรมชั่ว ก็เหมือนกัน ไฉนจะไม่มีผล อนึ่ง ทานนี้จะว่าคนโง่ บัญญัติขึ้นอย่างไรได้ ดูกรพญานกยูง ข้าพเจ้าจะทำอย่างไร จะทำอะไร ประพฤติอะไร เสพสมาคมอะไร ด้วยตบะคุณอะไร อย่างไรจึงจะไม่ ต้องไปตกนรก ขอท่านจงบอกเนื้อความนี้แก่ข้าพเจ้าเถิด?
[๑๙๗๑] มีสมณะเหล่าใดเหล่าหนึ่ง นุ่งห่มผ้าย้อมด้วยน้ำฝาด ประพฤติเป็นผู้ไม่มี เรือน เที่ยวไปบิณฑบาตในเวลาเช้าในกาล เว้นจากการเที่ยวไปในเวลา วิกาล ผู้สงบระงับ มีอยู่ในแผ่นดินนี้แน่. ท่านจงเข้าไปหาสมณะเหล่า นั้นในเวลาอันควร ณ ที่นั้น แล้วจงถามข้อความตามความพอใจของ ท่าน สมณะเหล่านั้นก็จะชี้แจงประโยชน์โลกนี้และโลกหน้าให้แก่ท่าน ตามความรู้ความเห็น.
[๑๙๗๒] ความเป็นพรานนี้ เราละได้แล้ว เหมือนงูลอกคราบเก่าของตน หรือ เหมือนต้นไม้ อันเขียวชะอุ่ม ผลัดใบเหลืองทิ้งฉะนั้น วันนี้เราละความ ความเป็นพรานได้.
[๑๙๗๓] อนึ่ง มีนกเหล่าใดที่เราขังไว้ในนิเวศน์ประมาณหลายร้อย วันนี้เราให้ ชีวิตแก่นกเหล่านั้น ขอนกเหล่านั้นจงพ้นจากการกักขัง ไปสู่สถานที่อยู่ เดิมของตนเถิด.
[๑๙๗๔] นายพรานถือบ่วงเที่ยวไปในราวป่า เพื่อดักพญานกยูงตัวเรืองยศ ครั้น ดักพญานกยูงตัวเรืองยศได้แล้ว ก็ได้พ้นจากทุกข์เหมือนเราพ้นแล้ว ฉะนั้น.

จบ มหาโมรชาดกที่ ๘.

๙. ตัจฉกสูกรชาดก ว่าด้วยหมูพร้อมใจกันสู้เสือ


[๑๙๗๕] ข้าพเจ้าเที่ยวแสวงหาหมู่ญาติใด ตามภูเขา และราวป่าทั้งหลาย ค้นหา หมู่ญาติมากมาย หมู่ญาตินั้นเราพบแล้ว. รากไม้และผลไม้นี้ ก็มีมาก มาย อนึ่ง ภักษาหารนี้ก็มิใช่น้อย ทั้งห้วยละหานนี้ก็น่ารื่นรมย์ คง เป็นที่อยู่สุขสบาย. ข้าพเจ้าจักขออยู่กับญาติทั้งมวล ในที่นี้แหละ จักเป็นผู้ขวนขวายน้อย ไม่มีความระแวงภัย ไม่มีความเศร้าโศก ไม่มี ภัยแต่ที่ไหนๆ.
[๑๙๗๖] ดูกรตัจฉกะ เจ้าจงไปหาที่ซ่อนเร้นแห่งอื่นเถิด ในที่นี้ศัตรูของพวกเรา มีอยู่ มันมาในที่นี้แล้ว ก็ฆ่าหมูแต่ล้วนตัวที่อ้วนพีเสีย.
[๑๙๗๗] ใครหนอเป็นศัตรูของเราในที่นี้ ใครมากำจัดญาติทั้งหลายผู้พร้อมเพรียง กัน ซึ่งยากที่จะกำจัดได้ เราถามท่านแล้วขอจงบอกความข้อนั้นแก่เรา เถิด
[๑๙๗๘] ดูกรตัจฉกะ พญาเนื้อตัวหนึ่งลายพาดขึ้น เป็นเนื้อกำลังมีเขี้ยวเป็น อาวุธ มันมาในที่นี้แล้ว ก็ฆ่าหมูแต่ล้วนตัวที่อ้วนพีเสีย.
[๑๙๗๙] พวกเราไม่มีเขี้ยวหรือ กำลังกายไม่พรั่งพร้อมหรือ พวกเราทั้งหมดพร้อม ใจกันแล้ว ก็จะจับมันตัวเดียวเท่านั้นให้อยู่ในอำนาจได้.
[๑๙๘๐] ดูกรตัจฉกะ ท่านกล่าววาจาจับอกจับใจ เพราะหมู แม้ตัวใดหนีไปเวลา รบ พวกเราจักฆ่ามันเสียในภายหลัง.
[๑๙๘๑] ดูกรพญาเนื้อผู้เก่งกล้า วันนี้เจ้าคงจะงดเว้นจากการฆ่าสัตว์ละซิหนอ ท่านให้อภัยในสัตว์ทั้งปวงเสียแล้วหรือ หรือเขี้ยวของเจ้าคงไม่มี เจ้า มาถึงกลางฝูงสุกรแล้ว จึงซบเซาอยู่ดังคนกำพร้า ฉะนั้น?
[๑๙๘๒] มิใช่ว่าเขี้ยวของข้าพเจ้าไม่มี กำลังกายของข้าพเจ้าก็มีอยู่พรั่งพร้อม แต่ ข้าพเจ้าเห็นสุกรทั้งหลายผู้เป็นญาติกัน ร่วมใจเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน เหตุฉะนั้น ข้าพเจ้าจึงซบเซาอยู่แต่ผู้เดียวในป่า. เมื่อก่อนสุกรเหล่านี้ พอข้าพเจ้าลืมตาแลดูเท่านั้น ต่างก็กลัวตายหาที่หลบซ่อนวิ่งกระเจิด กระเจิงไปตามทิศานุทิศ บัดนี้ พวกมันมาประชุมพร้อมเป็นอันหนึ่งอัน เดียวกัน ในภูมิภาคที่พวกมันยืนอยู่นั้น ข้าพเจ้าข่มพวกมันได้ยากใน วันนี้ พวกมันคงมีขุนพล จึงพรักพร้อมกัน คงเป็นเสียงเดียวกัน คง ร่วมมือร่วมใจกันเบียดเบียนข้าพเจ้า เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าจึงไม่ ปรารถนาสุกรเหล่านั้น.
[๑๙๘๓] พระอินทร์องค์เดียวเท่านั้น ยังเอาชนะอสูรทั้งหลายได้ เหยี่ยวตัวเดียว เท่านั้น ย่อมข่มฆ่านกทั้งหลายได้ เสือโคร่งตัวเดียวเหมือนกัน ไปถึง ท่ามกลางฝูงสุกรแล้ว ก็ย่อมฆ่าสุกรตัวพีๆ ได้ เพราะกำลังของมันเป็น เช่นนั้น.
[๑๙๘๔] จะเป็นพระอินทร์ จะเป็นเหยี่ยว แม้จะเป็นเสือโคร่งผู้เป็นใหญ่กว่า เนื้อ ก็ทำญาติผู้พร้อมเพรียงกันมั่นคง ซึ่งเป็นเช่นเดียวกับเสือโคร่ง ไว้ในอำนาจไม่ได้ทั้งนั้นแหละ.
[๑๙๘๕] ฝูงนกตัวน้อยๆ มีชื่อกุมภิลกะ เป็นนกมีพวก เที่ยวไปเป็นหมวดหมู่ ร่าเริงบันเทิงใจ โผผินบินร่อนไปเป็นกลุ่มๆ. ก็เหมือนฝูงนกเหล่านั้น บินไป บรรดานกเหล่านั้น คงมีสักตัวหนึ่งที่แตกฝูงไป เหยี่ยวย่อม โฉบจับนกตัวนั้นได้ นี่เป็นคติของเสือโคร่งทั้งหลายโดยแท้.
[๑๙๘๖] เสือโคร่งเป็นสัตว์มีเขี้ยว ถูกชฎิลผู้หยาบช้า เห็นแก่อามิสปลุกใจให้ ฮึกเหิม สำคัญว่าจะทำได้เหมือนเมื่อครั้งก่อน จึงวิ่งเข้าไปในฝูงสุกรผู้มี เขี้ยว.
[๑๙๘๗] ญาติทั้งหลายมีมากด้วยกัน ย่อมยังประโยชน์ให้สำเร็จ ถึงต้นไม้ทั้งหลาย ที่เกิดในป่า ก็เหมือนกัน สุกรทั้งหลายพร้อมเพรียงกันเข้า ฆ่าเสือโคร่ง เสียได้ เพราะประพฤติร่วมใจเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน.
[๑๙๘๘] สุกรทั้งหลายช่วยกันฆ่าพราหมณ์ และเสือโคร่ง ทั้ง ๒ ได้แล้ว ต่าง ร่าเริงบันเทิงใจ พากันบันลือสัททสำเนียงเสียงสนั่น.
[๑๙๘๙] สุกรเหล่านั้นมาประชุมพร้อมกันที่โคนต้นมะเดื่อ อภิเษกตัจฉกสุกรด้วย คำว่า ท่านเป็นราชา เป็นเจ้าเป็นใหญ่ของพวกเรา.

จบ ตัจฉกสุกรชาดกที่ ๙.

๑๐. มหาวาณิชชาดก โลภมากจนตัวตาย


[๑๙๙๐] พวกพ่อค้าพากันนาจากรัฐต่างๆ กระทำการประชุมกันในเมืองพาราณสี ตั้งพ่อค้าคนหนึ่งให้เป็นหัวหน้า แล้วพากันขนเอาทรัพย์กลับไป. พ่อค้า เหล่านั้นมาถึงแดนกันดาร ไม่มีอาหาร ไม่มีน้ำ ได้เห็นต้นไทรใหญ่มี ร่มเงาเย็นสบาย น่ารื่นรมย์ใจ. ก็พากันเข้าไปนั่งพักที่ร่มต้นไทรนั้น พ่อค้าทั้งหลายเป็นคนโง่เขลา ถูกโมหะครอบงำ คิดร่วมกันว่าไม้ต้นนี้ บางทีจะมีน้ำไหลซึมอยู่ เชิญพวกเราเหล่าพ่อค้ามาช่วยกันตัดกิ่งข้างทิศ ตะวันออกแห่งต้นไม้นั้นดูทีเถิด. พอกิ่งนั้นถูกตัดขาดออก น้ำใสไม่ขุ่น มัวไหลออกมา พ่อค้าเหล่านั้นก็พากันอาบและดื่ม ที่สายน้ำนั้นจนสม ปรารถนา. พ่อค้าทั้งหลาย ผู้โง่เขลา ถูกโมหะครอบงำ ร่วมคิดกัน เป็นครั้งที่ ๒ ว่า ขอให้พวกเราช่วยกันตัดกิ่ง ข้างทิศใต้แห่งต้นไม้นั้น อีกเถิด. พอกิ่งนั้นถูกตัดขาดออก ข้าวสาลี เนื้อสุก ขนมถั่ว ซึ่งมีสี เหมือนข้าวปายาสปราศจากน้ำ แกงอ่อมปลาดุก ก็ไหลออกมามากมาย พ่อค้าเหล่านั้นพากันบริโภคเคี้ยวกินจนสมปรารถนา. พ่อค้าทั้งหลายผู้โง่ เขลา ถูกโมหะครอบงำ ร่วมคิดกันเป็นครั้งที่ ๓ ว่า ขอให้พวกเรา ช่วยกันตัดกิ่งข้างทิศตะวันตกแห่งต้นไม้นั้นอีกเถิด. พอกิ่งนั้นถูกตัดขาด ออก เหล่านางนารีแต่งตัวงามสมส่วน มีผ้าและเครื่องอาภรณ์อันวิจิตร ใส่ต่างหูแก้วมณี พากันออกมา. นารีทั้งหลายต่างแยกกันบำเรอพ่อค้า นางคนละคน นารี ๒๕ นางต่างก็แวดล้อมพ่อค้า ผู้เป็นหัวหน้าอยู่โดย รอบ ที่ร่มแห่งต้นไทรนั้น พ่อค้าเหล่านั้นแวดล้อมด้วยนารีเหล่านั้นจน สมปรารถนา. พ่อค้าทั้งหลายผู้โง่เขลา ถูกโมหะครอบงำ ร่วมคิดเป็น ครั้งที่ ๔ ว่า ขอให้พวกเราช่วยกันตัดกิ่งทางทิศเหนือแห่งต้นไม้อีกเถิด. พอกิ่งนั้นถูกตัดขาดออก แก้วมุกดา แก้วไพฑูรย์ เงิน ทอง เครื่อง ประดับมือ เครื่องปูลาด ผ้ากาสิกพัสตร์และผ้ากัมพล ชื่ออุทธิยะ ก็พรั่งพรู ออกมาเป็นอันมาก พ่อค้าเหล่านั้นพากันขนบรรทุกใส่ในเกวียนเหล่านั้น จนสมปรารถนา. พ่อค้าเหล่านั้น เป็นคนโง่เขลา ถูกโมหะครอบงำ ร่วมกันคิดเป็นครั้งที่ ๕ ว่า ขอให้พวกเราช่วยกันตัดโคนต้นไม้นั้นเสียที เดียว บางทีจะได้ของมากไปกว่านี้อีก. ทันใดนั้นนายกองเกวียนจึงลุก ขึ้น ประคองอัญชลีร้องขอว่า ดูกรพ่อค้าทั้งหลาย ต้นไทรทำผิดอะไร หรือ (จึงพากันทำร้าย) ขอให้ท่านจงมีความเจริญเถิด. ดูกรพ่อค้าทั้ง หลาย กิ่งทางทิศตะวันออกก็ให้น้ำ กิ่งทางทิศใต้ก็ให้ข้าวและน้ำ กิ่ง ทางทิศตะวันตก ก็ให้นางนารี และกิ่งทางทิศเหนือก็ให้สิ่งที่ปรารถนา ทุกอย่าง ต้นไทรทำผิดอะไรหรือ (จึงพากันจะทำร้าย) ขอให้ท่านจงมี ความเจริญเถิด. บุคคลพึงนั่งหรือนอนที่ร่มเงาแห่งต้นไม้ใด ก็ไม่ควร หักรานก้านแห่งต้นไทรนั้น เพราะผู้ประทุษร้ายมิตรเป็นคนเลวทราม แต่พ่อค้าเหล่านั้นมากด้วยกัน ไม่เชื่อถือถ้อยคำนายกองเกวียนผู้เดียว ต่างก็ถือขวานที่ลับแล้ว พากันเข้าไปหมายจะตัดต้นไทรนั้นที่โคน.
[๑๙๙๑] ทันใดนั้น นาคทั้งหลายก็พากันออกไป พวกสวมเกราะ ๒๕ พวกถือ ธนู ๓๐๐ พวกถือโล่ห์ ๖,๐๐๐.
[๑๙๙๒] ท่านทั้งหลายจงจับพวกนี้มัดฆ่าเสีย อย่าไว้ชีวิตเลย เว้นไว้แต่นายกอง เกวียนเท่านั้น นอกนั้นจงสังหารมันทุกคนให้เป็นภัสมธุลีไป.
[๑๙๙๓] เพราะเหตุนี้แหละ บุรุษผู้เป็นบัณฑิต เมื่อพิจารณาถึงประโยชน์ของตน ไม่ควรลุอำนาจแห่งความโลภ พึงกำจัดใจอันประกอบด้วยความโลภเสีย ภิกษุรู้โทษอย่างนี้ และรู้ตัณหาว่า เป็นแดนเกิดแห่งทุกข์ พึงเป็นผู้ปราศ จากตัณหา ไม่มีความถือมั่น พึงเป็นผู้มีสติละเว้นโดยรอบเถิด.

จบ มหาวาณิชชาดกที่ ๑๐.

๑๑. สาธินราชชาดก พระเจ้าวิเทหราชประพาสดาวดึงส์


[๑๙๙๔] อัศจรรย์จริงหนอ ขนพองสยองเกล้าเกิดขึ้นแล้วในโลก รถทิพย์ได้ ปรากฏแก่พระเจ้าวิเทหราชผู้เรืองยศ.
[๑๙๙๕] มาตลีเทพบุตรเทพสารถีผู้มีฤทธิ์มาก ได้เชื้อเชิญพระเจ้าวิเทหราชผู้ครอง มิถิลานครว่า ข้าแต่พระราชาผู้ทรงพระคุณอันประเสริฐ ผู้เป็นใหญ่ทั่ว ทิศ ขอเชิญพระองค์เสด็จขึ้นทรงรถนี้เถิด ด้วยว่า ทวยเทพชั้นดาวดึงส์ พร้อมด้วยสมเด็จอมรินทราธิราช ใคร่จะเห็นพระองค์ ทวยเทพเหล่า นั้น ประชุมพร้อมกันอยู่ ณ สุธรรมาเทวสภา. ลำดับนั้นแล พระเจ้า วิเทหราชพระนามว่าสาธินะ ผู้ครองมิถิลานคร เสด็จทรงรถอันเทียม ด้วยม้าพันหนึ่ง เสด็จไปยังสำนักของเทวดาทั้งหลาย (พระมหาราชาทรง ประทับยืนบนทิพยาน อันเทียมด้วยม้าพันหนึ่ง ซึ่งม้าพาลากไป เสด็จ ไปอยู่ ได้ทอดพระเนตรเห็นเทวสภานี้) ทวยเทพเห็นพระราชาเสด็จมา ดังนั้น ก็พากันชื่นชม ยินดี กระทำปฏิสัณฐารเชื้อเชิญว่า ข้าแต่พระมหา ราชา พระองค์เสด็จมาดีแล้ว อนึ่ง ชื่อว่าพระองค์มิได้เสด็จมาร้าย ข้าแต่ พระราชาผู้แสวงหาคุณอันใหญ่ ขอพระองค์ทรงประทับใกล้ๆ กับ ท้าวเทวราชเสียแต่บัดนี้เถิด. ฝ่ายท้าววาสวสักกเทวราชทรงชื่นชม ยินดี เชื้อเชิญพระเจ้าสาธินราชผู้ครองมิถิลานครด้วยทิพยกามารมณ์ และ อาสนะว่า ข้าแต่พระราชฤาษี เป็นการดีแล้วที่พระองค์เสด็จมาถึงที่อยู่ ของทวยเทพ ผู้บันดาลให้เป็นไปในอำนาจได้ ขอเชิญพระองค์ประทับ อยู่ในหมู่ทวยเทพผู้ให้สำเร็จทิพยกามารมณ์ทุกอย่าง ขอเชิญพระองค์ทรง เสวยกามคุณอันมิใช่ของมนุษย์ ในหมู่ทวยเทพชาวดาวดึงส์เถิด.
[๑๙๙๖] ข้าแต่พระองค์ผู้ประเสริฐกว่าจอมเทพ เมื่อก่อนหม่อมฉันมาถึงสวรรค์ แล้ว ย่อมยินดีด้วยการฟ้อนรำขับร้องและเครื่องประโคมทั้งหลาย บัดนี้ หม่อมฉันไม่ยินดีอยู่ในสวรรค์เลย จะหมดอายุ หรือใกล้จะตาย หรือว่า หม่อมฉันหลงใหลไป?
[๑๙๙๗] ข้าแต่พระองค์ผู้แกล้วกล้ากว่านรชน ผู้ประเสริฐ พระชนมายุของ พระองค์ยังไม่หมดสิ้น ความสิ้นพระชนม์ก็ยังห่างไกล อนึ่ง พระองค์ จะได้ทรงหลงใหลไปก็หาไม่ แต่ว่าวิบากแห่งบุญกุศลของพระองค์ ที่ ได้ทรงเสวยในเทวโลกนี้มีน้อยไป ข้าแต่พระราชาผู้ประเสริฐ ผู้เป็น ใหญ่ทั่วทิศ ขอเชิญพระองค์ประทับอยู่ เสวยกามคุณอันมิใช่ของมนุษย์ ในหมู่ทวยเทพชาวดาวดึงส์ ด้วยเทวานุภาพต่อไปเถิด.
[๑๙๙๘] ขอยืมยานเขามาขับ ขอยืมทรัพย์เขามาใช้ ฉันใด การที่ได้เสวยความสุข เป็นความสุขที่ผู้อื่นยื่นให้ ก็เปรียบกันได้ ฉันนั้นแล ก็แลการได้เสวย ความสุข โดยเป็นความสุขที่ผู้อื่นยื่นให้ หม่อมฉันไม่ปรารถนาเลย บุญทั้งหลายอันหม่อมฉันทำเองแล้วนั้น ย่อมเป็นทรัพย์อันอาจติดตาม หม่อมฉันไปได้ หม่อมฉันไปในมนุษยโลกแล้ว จักได้ทำกุศลให้มาก ที่บุคคลทำแล้วได้รับความสุข และไม่ต้องเดือดร้อนในภายหลัง ด้วย ทาน ด้วยการประพฤติสม่ำเสมอ ด้วยการสำรวม ด้วยการฝึกตน.
[๑๙๙๙] ที่ตรงนี้เป็นไร่นา ที่ตรงนี้ตรงร่องน้ำตรงดี ที่ตรงนี้เป็นภูมิภาคมีหญ้า แพรกเขียวสะพรั่ง ที่ตรงนี้เป็นแม่น้ำไหลอยู่ไม่ขาดสาย ที่ตรงนี้เป็น สระโบกขรณีอันน่ารื่นรมย์ มีฝูงนกจักพรากขันอยู่ระงม เปี่ยมไปด้วย น้ำใสสะอาด ดารดาษไปด้วยดอกปทุมและดอกอุบล พวกข้าเฝ้าและ นักสนมพากันยึดถือสถานเหล่านี้ว่าเป็นของเรา เขาเหล่านั้นพากันไป เสียทิศทางใดหนอ? ดูกรพ่อนารทะ ไร่นาเหล่านั้น ภูมิภาคตรงนั้น และอุปจารแห่งสวนและป่าไม้ยังคงมีอยู่ดังเดิม เมื่อเราไม่เห็นหมู่ชน เหล่านั้น ทิศทั้งหลายก็ปรากฏว่า ว่างเปล่าแก่เรา.
[๒๐๐๐] วิมานทั้งหลายยันโอภาสทั่วทั้งสี่ทิศ ฉันได้เห็นแล้วเฉพาะพระพักตร์ ของท้าวสักกเทวราช และเฉพาะหน้าของทวยเทพชาวไตรทศ ภพที่ ฉันอยู่ก็เป็นทิพย์ กามทั้งหลายอันมิใช่ของมนุษย์ฉันได้บริโภคแล้ว ใน ทวยเทพชาวดาวดึงส์ ผู้ให้สำเร็จสิ่งที่น่าปรารถนาทุกอย่าง. ฉันนั้น ละสมบัติเช่นนั้นเสียแล้วมาในมนุษยโลกนี้ เพื่อต้องการทำบุญเท่านั้น ฉันจักประพฤติแต่ธรรมเท่านั้น ฉันไม่มีความต้องการด้วยราชสมบัติ. ฉันจักดำเนินไปตามทางที่ท่านผู้ไม่มีอาชญาพากันท่องเที่ยวไป อันพระ สัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงไว้ ซึ่งเป็นทางสำหรับไปของท่านผู้มีวัตรงาม ทั้งหลาย.

จบ สาธินราชชาดกที่ ๑๑.

๑๒. ทสพราหมณชาดก ว่าด้วยชาติพราหมณ์ ๑๐ ชาติ


[๒๐๐๑] พระเจ้ายุธิฏฐิละผู้ทรงฝักใฝ่ในธรรม ได้ตรัสกะวิธูระอำมาตย์ว่า ดูกร วิธูระ ท่านจงแสวงหาพราหมณ์ทั้งหลายผู้มีศีล เป็นพหูสูต งดเว้นจาก เมถุนธรรม ซึ่งสมควรจะบริโภคโภชนาหารของฉัน ดูกรสหาย ฉันจะ ให้ทักษิณาในพวกพราหมณ์ที่ให้ทานแล้วจักมีผลมาก.
[๒๐๐๒] ข้าแต่พระองค์ผู้สมมติเทพ พราหมณ์ทั้งหลายผู้มีศีล เป็นพหูสูต งด เว้นจากเมถุนถรรม ที่สมควรจะบริโภคโภชนาหารของพระองค์นั้นหาได้ ยาก ข้าแต่พระมหาราชา ข้าพระพุทธเจ้าได้สดับมาว่า ชาติพราหมณ์ มี ๑๐ ชาติ ขอพระองค์จงทรงสดับการจำแนกแจกแจงชาติพราหมณ์เหล่า นั้น ของข้าพระองค์. ชนทั้งหลายถือเอาร่วมยาอันเต็มไปด้วยรากไม้ ปิดเรียบร้อย ปิดสลากบอกสรรพคุณยาไว้ รดน้ำมนต์และร่ายมนต์. ข้าแต่พระราชา ชนเหล่านั้นแม้จะเป็นเหมือนกับหมอ ก็ยังเรียกกันว่า เป็นพราหมณ์ ข้าแต่พระมหาราชา ข้าพระพุทธเจ้ากราบทูลถึงพราหมณ์ พวกนั้นแก่พระองค์แล้ว เราจะต้องการพราหมณ์เช่นนั้นหรือหาไม่ พระเจ้าข้า?
[๒๐๐๓] (พระเจ้าโกรพยะตรัสดังนี้ว่า) ดูกรวิธูระ ชนเหล่านั้นปราศจากคุณเครื่อง ความเป็นพราหมณ์ จะเรียกว่า เป็นพราหมณ์ไม่ได้ ท่านจงแสวงหา พราหมณ์เหล่าอื่นผู้มีศีล เป็นพหูสูต งดเว้นจากเมถุนธรรม ซึ่งสม ควรบริโภคโภชนาหารของฉัน ดูกรสหาย ฉันจักให้ทักษิณาในพวก พราหมณ์ที่ให้ทานแล้วจักมีผลมาก.
[๒๐๐๔] ชนทั้งหลายถือกระดิ่งตีประกาศไปข้างหน้าบ้าง คอยรับใช้บ้าง ศึกษา ในการขับรถบ้าง ข้าแต่พระราชา ชนเหล่านั้นแม้จะเหมือนกับคนบำเรอ ก็ยังเรียกกันว่า เป็นพราหมณ์ ข้าพระพุทธเจ้ากราบทูลถึงพราหมณ์ พวกนั้นแก่ข้าพระองค์แล้ว เราจะต้องการพราหมณ์เช่นนั้นหรือหาไม่ พระเจ้าข้า?
[๒๐๐๕] (พระเจ้าโกรพยะตรัสดังนี้ว่า) ดูกรวิธูระ ชนเหล่านั้นปราศจากคุณเครื่อง ความเป็นพราหมณ์ จะเรียกว่า เป็นพราหมณ์ไม่ได้ ท่านจงแสวงหา พราหมณ์เหล่าอื่นผู้มีศีล เป็นพหูสูต งดเว้นจากเมถุนธรรม ซึ่งสม ควรบริโภคโภชนาหารของฉัน ดูกรสหาย ฉันจะให้ทักษิณาในพวก พราหมณ์ที่ให้ทานแล้วจักมีผลมาก.
[๒๐๐๖] พวกพราหมณ์ ถือเต้าน้ำ และไม้สีฟัน คอยเข้าใกล้พระราชาทั้งหลาย ในบ้าน และนิคมด้วยตั้งใจว่า เมื่อคนทั้งหลาย ในบ้าน หรือนิคมไม่ ให้อะไรๆ พวกเราจักไม่ลุกขึ้น ข้าแต่พระราชา ชนเหล่านั้นแม้จะ เหมือนกับผู้กดขี่ข่มเหง ก็ยังเรียกกันว่า เป็นพราหมณ์ ข้าพระพุทธเจ้า กราบทูลถึงพราหมณ์พวกนั้นแก่พระองค์แล้ว เราจักต้องการพราหมณ์ เช่นนั้นหรือหาไม่ พระเจ้าข้า?
[๒๐๐๗] (พระเจ้าโกรพยะตรัสดังนี้ว่า) ดูกรวิธูระ ชนเหล่านั้นปราศจากคุณ เครื่องความเป็นพราหมณ์ จะเรียกว่า เป็นพราหมณืไม่ได้ ท่านจงแสวง หาพราหมณ์เหล่าอื่นผู้มีศีล เป็นพหูสูต งดเว้นจากเมถุนธรรม ซึ่งสม ควรบริโภคโภชนาหารของฉัน ดูกรสหาย ฉันจักให้ทักษิณาในพวก พราหมณ์ที่ให้ทานแล้วจักมีผลมาก.
[๒๐๐๘] ชนทั้งหลายมีเล็บ และขนรักแร้งอกยาว ฟันเขลอะ มีธุลีบนศีรษะเกรอะ กรังด้วยฝุ่นละออง เป็นพวกยาจกท่องเที่ยวไป ข้าแต่พระราชา ชนพวก นั้นแม้จะเหมือนกับมนุษย์ขุดตอ ก็ยังเรียกกันว่า เป็นพราหมณ์ ข้าแต่ พระมหาราชา ข้าพระพุทธเจ้ากราบทูลถึงพราหมณ์พวกนั้นแก่พระองค์ แล้ว เราจะต้องการพราหมณ์เช่นนั้นหรือหาไม่ พระเจ้าข้า?
[๒๐๐๙] (พระเจ้าโกรพยะตรัสดังนี้ว่า) ดูกรวิธูระ ชนเหล่านั้นปราศจากคุณเครื่อง ความเป็นพราหมณ์ จะเรียกว่า เป็นพราหมณ์ไม่ได้ ท่านจงแสวงหา พราหมณ์เหล่าอื่นผู้มีศีล เป็นพหูสูต งดเว้นจากเมถุนธรรม ซึ่งสม ควรบริโภคโภชนาหารของฉัน ดูกรสหาย ฉันจักให้ทักษิณาในพวก พราหมณ์ที่ให้ทานแล้วจักมีผลมาก.
[๒๐๑๐] ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นอธิบดีแห่งประชาชน ชนทั้งหลายขายสิ่งของเครื่อง ชำ คือ ผลสมอ ผลมะขามป้อม มะม่วง ชมพู่ สมอพิเภก ขนุนสำมะลอ ไม้สีฟัน มะตูม พุทรา ผลเกด อ้อย และงบน้ำอ้อย เครื่องโบกควัน น้ำผึ้ง และยาหยอดตา ข้าแต่พระราชา ชนเหล่านั้นแม้ จะเหมือนกับพ่อค้า ก็ยังเรียกกันว่า เป็นพราหมณ์ ข้าแต่พระมหาราชา ข้าพระองค์กราบทูลถึงพราหมณ์พวกนั้นแก่พระองค์แล้ว เราจะต้องการ พราหมณ์เช่นนั้นหรือหาไม่ พระเจ้าข้า?
[๒๐๑๑] (พระเจ้าโกรพยะตรัสดังนี้ว่า) ดูกรวิธูระ ชนเหล่านั้นปราศจากคุณเครื่อง ความเป็นพราหมณ์ จะเรียกว่า เป็นพราหมณืไม่ได้ ท่านจงแสวงหา พราหมณ์เหล่าอื่นผู้มีศีล เป็นพหูสูต งดเว้นจากเมถุนธรรม ซึ่งสมควร บริโภคโภชนาหารของฉัน ดูกรสหาย ฉันจักให้ทักษิณาในพวกพราหมณ์ ที่ให้ทานแล้วจักมีผลมาก.
[๒๐๑๒] ชนทั้งหลาย ใช้คนให้ทำการไถ และการค้า ใช้ให้เลี้ยงแพะ เลี้ยงแกะ สู่ขอนางกุมารีทำการวิวาหมงคลและอาวาหมงคล ชนเหล่านั้นแม้จะ เหมือนกับกุฏมพีและคฤหบดี ก็ยังเรียกกันว่า เป็นพราหมณ์ ข้าแต่พระ มหาราชา ข้าพระพุทธเจ้ากราบทูลถึงชนพวกนั้นแก่พระองค์แล้ว เราจะ ต้องการพราหมณ์เช่นนั้นหรือหาไม่ พระเจ้าข้า?
[๒๐๑๓] (พระเจ้าโกรพยะตรัสดังนี้ว่า) ดูกรวิธูระ ชนเหล่านั้นปราศจากคุณเครื่อง ความเป็นพราหมณ์ จะเรียกว่าเป็นพราหมณ์ไม่ได้ ท่านจงแสวงหา พราหมณ์เหล่าอื่นผู้มีศีล เป็นพหูสูต งดเว้นจากเมถุนธรรม ซึ่งสมควร บริโภคโภชนาหารของฉัน ดูกรสหาย ฉันจักให้ทักษิณาในพวก พราหมณ์ที่ให้ทานแล้วจักมีผลมาก.
[๒๐๑๔] ยังอีกพวกหนึ่งเล่า เป็นปุโรหิตในบ้าน บริโภคภิกษาที่เก็บไว้ ชนเป็น อันมากพากันถามปุโรหิตบ้านเหล่านั้น พวกเหล่านั้นจักรับจ้างตอนสัตว์ แม้ปศุสัตว์ คือ กระบือ สุกร แพะ ถูกฆ่าเพราะปุโรหิตชาวบ้าน เหล่านั้น ข้าแต่พระราชา คนเหล่านั้นแม้จะเหมือนกับคนฆ่าโค ก็ยัง เรียกกันว่า เป็นพราหมณ์ ข้าแต่พระมหาราชา ข้าพระพุทธเจ้ากราบ ทูลถึงชนพวกนั้นแก่พระองค์แล้ว เราจักต้องการพราหมณ์เช่นนั้นหรือ หาไม่ พระเจ้าข้า?
[๒๐๑๕] (พระเจ้าโกรพยะตรัสดังนี้ว่า) ดูกรวิธูระ ชนเหล่านั้นปราศจากคุณเครื่อง ความเป็นพราหมณ์ จะเรียกว่า เป็นพราหมณ์ไม่ได้ ท่านจงแสวงหา พราหมณ์เหล่าอื่นผู้มีศีล เป็นพหูสูต งดเว้นจากเมถุนธรรม ซึ่งสมควร บริโภคโภชนาหารของฉัน ดูกรสหาย ฉันจักให้ทักษิณาในพวกพราหมณ์ ที่ให้ทานแล้วจักมีผลมาก.
[๒๐๑๖] อีกพวกหนึ่ง เป็นพราหมณ์ถือดาบและโล่ห์เหน็บกระบี่ ยืนเฝ้าอยู่ที่ย่าน พ่อค้าบ้าง รับคุ้มครองขบวนเกวียนบ้าง ชนเหล่านั้นแม้จะเหมือนกับ คนเลี้ยงโคและนายพราน ก็ยังเรียกกันว่า เป็นพราหมณ์ ข้าแต่พระมหา ราชา ข้าพระพุทธเจ้ากราบทูลถึงพราหมณ์พวกนั้นแก่พระองค์แล้ว เราจะ ต้องการพราหมณ์เช่นนั้นหรือหาไม่ พระเจ้าข้า?
[๒๐๑๗] (พระเจ้าโกรพยะตรัสว่าดังนี้) ดูกรวิธูระ ชนเหล่านั้นปราศจากคุณเครื่อง ความเป็นพราหมณ์ จะเรียกว่า เป็นพราหมณ์ไม่ได้ ท่านจงแสวงหา พราหมณ์เหล่าอื่นผู้มีศีล เป็นพหูสูต งดเว้นจากเมถุนธรรม ซึ่ง สมควรบริโภคโภชนาหารของฉัน ดูกรสหาย ฉันจักให้ทักษิณาในพวก พราหมณ์ที่ให้ทานแล้วจักมีผลมาก.
[๒๐๑๘] ชนทั้งหลายปลูกกระท่อมไว้ในป่า ทำเครื่องดักสัตว์ เบียดเบียนกระต่าย และเสือปลาตลอดถึงเหี้ย ทั้งปลาและเต่า ข้าแต่พระราชา ชนทั้งหลาย แม้จะเป็นผู้เสมอกับนายพราน เขาก็เรียกกันว่า พราหมณ์ ข้าแต่พระมหา ราชา ข้าพระพุทธเจ้ากราบทูลถึงพราหมณ์พวกนั้นแก่พระองค์แล้ว เรา จะต้องการพราหมณ์เช่นนั้นหรือหาไม่ พระเจ้าข้า?
[๒๐๑๙] (พระเจ้าโกรพยะตรัสดังนี้ว่า) ดูกรวิธูระ ชนเหล่านั้นปราศจากคุณเครื่อง ความเป็นพราหมณ์ จะเรียกว่า เป็นพราหมณ์ไม่ได้ ท่านจงแสวงหา พราหมณ์เหล่าอื่นผู้มีศีล เป็นพหูสูต งดเว้นจากเมถุนธรรม ซึ่งสมควร บริโภคโภชนาหารของฉัน ดูกรสหาย ฉันจักให้ทักษิณาในพวกพราหมณ์ ที่ให้ทานแล้วจักมีผลมาก.
[๒๐๒๐] อีกพวกหนึ่ง ย่อมนอนใต้เตียง เพราะปรารถนาทรัพย์ พระราชาทั้งหลาย สรงสนานอยู่ข้างบนในคราวมีพิธีโสมยาคะ ข้าแต่พระราชา ชนพวกนั้น แม้จะเหมือนกับคนกวาดมลทิน ก็ยังเรียกกันว่า เป็นพราหมณ์ ข้าแต่ พระมหาราชา ข้าพระพุทธเจ้ากราบทูลถึงพราหมณ์พวกนั้นแก่พระองค์ แล้ว เราจะต้องการพราหมณ์เช่นนั้นหรือหาไม่ พระเจ้าข้า?
[๒๐๒๑] (พระเจ้าโกรพยะตรัสดังนี้ว่า) ดูกรวิธูระ ชนเหล่านั้นปราศจากคุณเครื่อง ความเป็นพราหมณ์ จะเรียกว่า เป็นพราหมณ์ก็ไม่ได้ ท่านจงแสวงหา พราหมณ์เหล่าอื่นผู้มีศีล เป็นพหูสูต งดเว้นจากเมถุนธรรม ซึ่งสมควร จะบริโภคโภชนาหารของฉัน ดูกรสหาย ฉันจักให้ทักษิณาในพวก พราหมณ์ที่ให้ทานแล้วจักมีผลมาก
[๒๐๒๒] ข้าแต่พระองค์ผู้สมมติเทพ พราหมณ์ทั้งหลายผู้มีศีล เป็นพหูสูต งด เว้นจากเมถุนธรรม ซึ่งสมควรบริโภคโภชนาหารของพระองค์ มีอยู่แล พราหมณ์เหล่านั้นบริโภคภัตตาหารหนเดียว และไม่ดื่มน้ำเมา ข้าแต่ พระมหาราชา ข้าพระพุทธเจ้ากราบทูลถึงพราหมณ์เหล่านั้นแก่พระองค์ แล้ว พวกเราคงต้องการพราหมณ์เช่นนั้นสิ พระเจ้าข้า.
[๒๐๒๓] ดูกรวิธูระ พราหมณ์เหล่านั้นแหละเป็นผู้มีศีล เป็นพหูสูต ดูกรวิธูระ ท่านจงแสวงหาพราหมณ์พวกนั้น และจงเชิญพราหมณ์พวกนั้นมาโดยเร็ว ด้วยเถิด.

จบ ทสพราหมณชาดกที่ ๑๒.

๑๓. ภิกขาปรัมปรชาดก ว่าด้วยการให้ทานในท่านใด มีผลมาก


[๒๐๒๔] ข้าพระพุทธเจ้าได้เห็นพระองค์ผู้ทรงเป็นสุขุมาลชาติ เคยประทับใน พระตำหนักอันประเสริฐ ทรงบรรทมเหนือพระยี่ภู่อันใหญ่โต เสด็จจาก แว่นแคว้นมาสู่ดง จึงได้ทูลถวายข้าวสุกอย่างดีแห่งข้าวสาลี เป็นภัต อันวิจิตร มีแกงเนื้ออันสะอาดด้วยความรักต่อพระองค์ พระองค์ทรงรับ ภัตนั้นแล้ว มิได้เสวยด้วยพระองค์เอง ได้พระราชทานแก่พราหมณ์ ข้าพระพุทธเจ้าขอถวายบังคมพระองค์ ข้อนี้เป็นธรรมอะไรของพระองค์?
[๒๐๒๕] พราหมณ์เป็นอาจารย์ของฉัน เป็นผู้ขวนขวายในกิจน้อยกิจใหญ่ ทั้งเป็น ครู และเป็นผู้คอยตักเตือน ฉันควรให้โภชนะ.
[๒๐๒๖] บัดนี้ ข้าพเจ้าขอถามท่านพราหมณ์ผู้โคดมอันพระราชาทรงบูชา พระราชา ทรงพระราชทานภัต อันมีแกงเนื้ออย่างสะอาดแก่ท่าน ท่านรับภัตนั้น แล้วได้ถวายโภชนะแก่ฤาษี ชะรอยท่านจะรู้ว่า ตนมิได้เป็นเขตแห่งท่าน ข้าพเจ้าขอนอบน้อมแก่ท่าน ธรรมข้อนี้เป็นธรรมอะไรของท่าน?
[๒๐๒๗] ข้าพเจ้ายังกำหนัดอยู่ในเรือนทั้งหลาย ต้องเลี้ยงบุตรและภรรยา ถวาย อนุศาสน์แก่พระราชา เชิญให้เสวยกามอันเป็นของมนุษย์ ข้าพเจ้าควร ถวายโภชนะแก่ฤาษี ผู้อยู่ในป่าสิ้นกาลนาน ผู้เรืองตบะ เป็นวุฒบุคคล อบรมตนแล้ว.
[๒๐๒๘] บัดนี้ ข้าพเจ้าขอถามท่านฤาษีผู้ซูบผอม สะพรั่งไปด้วยเส้นเอ็น มีเล็บ และขนรักแร้งอกยาว ฟันเขลอะ มีธุลีบนศีรษะ ท่านอยู่ในป่าผู้เดียว ไม่ห่วงใยชีวิต ภิกษุที่ท่านถวายโภชนะนั้นดีกว่าท่านด้วยคุณข้อไหน?
[๒๐๒๙] อาตมภาพยังขุดเผือก มันมือเสือ มันนก ยังเก็บข้าวฟ่างและลูกเดือย มาตากตำ เที่ยวหาฝักบัว เหง้าบัว น้ำผึ้ง เนื้อสัตว์ พุทราและมะขาม ป้อมมาบริโภค ความยึดถือนั้นของอาตมายังมีอยู่ เมื่ออาตมายังหุงต้ม ก็ควรถวายโภชนะแก่ท่านผู้ไม่หุงต้ม ยังมีกังวลก็ควรถวายโภชนะแก่ ผู้ไม่มีความห่วงใย ยังมีความถือมั่น ก็ควรถวายโภชนะแก่ท่านผู้ไม่มี ความถือมั่น.
[๒๐๓๐] บัดนี้ กระผมขอถามท่าน ภิกษุผู้นั่งนิ่ง มีวัตรอันดี พระฤาษีถวาย ภัตตาหารอันปรุงด้วยเนื้อสะอาดแก่ท่านดังนั้น ท่านรับภัตตาหารนั้นแล้ว นั่งนิ่ง ฉันอยู่องค์เดียว ไม่เชื้อเชิญใครๆ อื่น กระผมขอนมัสการแด่ พระคุณท่าน นี้เป็นธรรมอะไรของพระคุณท่าน?
[๒๐๓๑] อาตมาไม่ได้หุงต้มเอง ไม่ได้ให้ใครหุงต้ม ไม่ได้ตัดเอง ไม่ได้ให้ใคร ตัด ฤาษีรู้ว่าอาตมาไม่มีความกังวล เป็นผู้ห่างไกลจากบาปทั้งปวง จึง ถือภิกษาหารด้วยมือซ้าย ถือเต้าน้ำด้วยมือขวา ถวายภัตตาหารอันปรุง ด้วยเนื้อสะอาดแก่อาตมา. บุคคลเหล่านี้ยังมีความห่วงใย ยังมีความยึด ถือ จึงสมควรจะให้ทาน อาตมาเข้าใจเอาว่า การที่บุคคลเชื้อเชิญผู้ให้ นั้นเป็นการผิด
[๒๐๓๒] วันนี้ พระราชาผู้ประเสริฐเสด็จมา ณ ที่นี้เพื่อประโยชน์แก่ข้าพระ พุทธเจ้าหนอ ข้าพระพุทธเจ้าเพิ่งทราบชัดวันนี้เองว่าทานที่ให้ในท่าน ผู้ใดจะมีผลมาก. พระราชาทั้งหลายทรงกังวลอยู่ในแว่นแคว้น พราหมณ์ ทั้งหลายกังวลอยู่ในกิจน้อยกิจใหญ่ ฤาษีกังวลอยู่ในเหง้ามันและผลไม้ ส่วนพวกภิกษุหลุดพ้นได้แล้ว

จบ ภิกขาปรัมปรชาดกที่ ๑๓.

รวมชาดกที่มีในวรรคนี้ คือ ๑. สาลิเกทารชาดก ๒. จันทกินนรชาดก ๓. มหาอุกกุสชาดก ๔. อุททาลกชาดก ๕. ภิสชาดก ๖. สุรุจิชาดก ๗. ปัญจุโปสถิกชาดก ๘. มหาโมรชาดก ๙. ตัจฉกสูกรชาดก ๑๐. มหาวาณิชชาดก ๑๑. สาธินราชชาดก ๑๒. ทสพราหมณ์ชาดก ๑๓. ภิกขาปรัมปรชาดก. จบ ปกิณณกนิบาตชาดก _________________

กลับที่เดิม