อรรถกถาพันธนาคารชาดกที่ ๑
            พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร ทรง ปรารภเรือนจำ ตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำเริ่มต้นว่า น ตํ ทฬฺหํ พนฺธนมาหุ ธีรา.
            ได้ยินว่าในครั้งนั้น พวกราชบุรุษได้จับพวกโจร ผู้ตัดช่องย่องเบา ฆ่าผู้คนในหนทาง ฆ่าชาวบ้านเป็นอันมาก นำ เข้าถวายพระเจ้าโกศล. พระราชารับสั่งให้จองจำพวกโจรเหล่า นั้น ด้วยเครื่องจำ คือ ขื่อคา เชือก และโซ่. ภิกษุชาวชนบท ประมาณ ๓๐ รูป ประสงค์จะเฝ้าพระศาสดา จึงพากันมาเฝ้า ถวายบังคม รุ่งเช้าออกบิณฑบาตผ่านเรือนจำเห็นพวกโจร เหล่านั้น กลับจากบิณฑบาต เวลาเย็นเข้าเฝ้าพระตถาคต ทูล ถามว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ วันนี้พวกข้าพระพุทธเจ้าออกบิณฑบาต ได้เห็นพวกโจรมากมายที่เรือนจำ ถูกจองจำด้วยขื่อคา และ เชือกเป็นต้น ต่างก็เสวยทุกข์ใหญ่หลวง พวกโจรเหล่านั้น ไม่ สามารถจะตัดเครื่องจองจำเหล่านั้นหนีไปได้ ยังมีเครื่องจองจำ อย่างอื่นที่มั่นคงกว่าเครื่องจองจำเหล่านั้นอีกหรือไม่ พระเจ้าข้า. พระศาสดาตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เครื่องจองจำเหล่านั้น จะชื่อว่า เครื่องจองจำอะไรกัน ส่วนเครื่องจองจำ คือกิเลสได้แก่ ตัณหาในทรัพย์ ในข้าวเปลือก ในบุตรภรรยาเป็นต้น นี่แหละ มั่นคงยิ่งกว่าเครื่องจองจำเหล่านั้นตั้งร้อยเท่าพันเท่า แต่เครื่อง จองจำนี้แม้ใหญ่หลวง ตัดได้ยากอย่างนี้ บัณฑิตแต่ก่อนยังตัดได้ แล้วเขาไปหิมวันตประเทศ ออกบวชแล้วทรงนำเรื่องอดีตมา ตรัสเล่า.
            ในอดีตกาลครั้งพระเจ้าพรหมทัตเสวยราชสมบัติอยู่ใน กรุงพาราณสี พระโพธิสัตว์อุบัติในตระกูลคหบดียากจนตระกูล หนึ่ง. ครั้นเจริญวัยแล้วบิดาได้ถึงแก่กรรม. พระโพธิสัตว์ได้ทำ การรับจ้างเลี้ยงมารดา. ครั้งนั้นมารดาจึงได้ไปสู่ขอธิดาตระกูล หนึ่งมาไว้ในเรือนให้พระโพธิสัตว์ทั้ง ๆ ที่ไม่ต้องการ แล้วนาง ก็ถึงแก่กรรม.
            ฝ่ายภรรยาของพระโพธิสัตว์ก็ตั้งครรภ์. พระโพธิสัตว์ ไม่รู้ว่านางตั้งครรภ์จึงบอกว่า ดูก่อนนาง เจ้าจงรับจ้างเขา เลี้ยงชีวิตเถิด ฉันจักบวชละ. นางจึงกล่าวว่า ฉันตั้งครรภ์ เมื่อ ฉันคลอดแล้ว พี่เห็นเด็กแล้วก็บวชเถิด. พระโพธิสัตว์ก็รับคำ พอนางคลอด จึงบอกกล่าวว่า น้องคลอดเรียบร้อยแล้ว พี่จักบวช ละ. นางจึงกล่าวว่า จงรอให้ลูกอย่านมเสียก่อนเถิด แล้วก็ตั้ง ครรภ์อีก. พระโพธิสัตว์ดำริว่า เราไม่อาจให้นางยินยอมแล้ว ไปได้ เราจะไม่บอกกล่าวนาง จะหนีไปบวชละ. พระโพธิสัตว์ มิได้บอกกล่าวนาง พอตกกลางคืนก็ลุกหนีไป. ครั้งนั้นเจ้าหน้าที่ ผู้ดูแลพระนครได้จับพระโพธิสัตว์นั้นไว้. พระโพธิสัตว์จึงบอกว่า เจ้านาย ข้าพเจ้าเป็นผู้เลี้ยงมารดา โปรดปล่อยข้าพเจ้าเถิด ครั้นให้เขาปล่อยแล้วก็ไปอาศัยในที่แห่งหนึ่ง ออกทางประตูใหญ่ นั้นเอง เข้าป่าหิมพานต์ บวชเป็นฤาษียังอภิญญาและสมาบัติ ให้เกิด เพลิดเพลินอยู่ด้วยฌาน. พระโพธิสัตว์เมื่ออยู่ ณ ที่นั้น เมื่อจะเปล่งอุทานว่า เราได้ตัดเครื่องจองจำ คือบุตรภรรยา เครื่องจองจำ คือกิเลสที่ตัดได้ยากเห็นปานนี้แล้ว ได้กล่าวคาถา เหล่านี้ว่า :-
            เครื่องผูกอันใด ที่ทำด้วยเหล็กก็ดี ทำด้วย ไม้ก็ดี ทำด้วยหญ้าปล้องก็ดี นักปราชญ์ไม่กล่าว เครื่องผูกนั้นว่า เป็นเครื่องผูกอันมั่นคง ความ กำหนัดยินดีในแก้วมณี และกุณฑลก็ดี ความ ห่วงใยในบุตรและภรรยาก็ดี.
            นักปราชญ์กล่าวเครื่องผูกนั้นว่า เป็น เครื่องผูกอันมั่นคง ทำให้สัตว์ตกต่ำ ย่อหย่อน แก้ได้ยาก แม้เครื่องผูกนั้นนักปราชญ์ก็ตัดได้ ไม่มีความห่วงใย ละกามสุข หลีกออกไปได้.
            ในบทเหล่านั้น บทว่า ธีรา ความว่า ชื่อว่า ธีรา เพราะมี ปัญญา เพราะปราศจากบาป. อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า ธีรา เพราะ เป็นผู้ประกอบด้วยปัญญานั้น ได้แก่ พระพุทธเจ้า พระปัจเจก- พุทธเจ้า พระสาวกของพระพุทธเจ้า และพระโพธิสัตว์. พึงทราบ วินิจฉัยในบทว่า ยทายสํ เป็นต้น นักปราชญ์ทั้งหลายย่อมไม่ กล่าวเครื่องจองจำที่ทำด้วยเหล็กอันได้แก่ โซ่ เครื่องจองจำ ทำด้วยไม้อันได้แก่ ขื่อคา เครื่องจองจำทำด้วยเชือกที่ขวั้นเป็น เชือกด้วยหญ้ามุงกระต่ายหรือด้วยอย่างอื่นมี ปอ เป็นต้น ว่า เป็นเครื่องจองจำอันมั่นคง แน่นหนา. บทว่า สารตฺตรตฺตา ได้แก่ ความกำหนัดยินดี คือ ยินดีด้วยความกำหนัดจัด. บทว่า มณิ- กุณฺฑเลสุ ได้แก่ ในแก้วมณีและแก้วกุณฑล หรือในแก้วกุณฑล ประกอบด้วยแก้วมณี. บทว่า เอตํ ทฬฺหํ ความว่า นักปราชญ์ ทั้งหลายกล่าวว่า เครื่องจองจำอันเป็นกิเลสของผู้ที่กำหนัด ยินดีในแก้วมณีและแก้วกุณฑล และของผู้ที่ห่วงใยในบุตรและ ภรรยาว่า เป็นเครื่องจองจำอันมั่นคงแน่นหนา. บทว่า โอหารินํ ความว่า ชื่อว่า เครื่องจองจำทำให้ตกต่ำ เพราะชักนำลงใน เบื้องต่ำ โดยฉุดให้ตกลงในอบาย ๔. บทว่า สิถิลํ ความว่า ชื่อว่าเครื่องจองจำย่อหย่อน เพราะไม่ตัดผิวหนังและเนื้อ ไม่ทำ ให้เลือดออกตรงที่ผูก ไม่ให้รู้สึกว่าเป็นเครื่องจองจำด้วย ยอม ให้ทำการงานทั้งทางบกและทางน้ำเป็นต้น. บทว่า ทุปฺปมุญฺจํ ความว่า ชื่อว่าเครื่องจองจำแก้ได้ยาก เพราะเครื่องจองจำ คือ กิเลสเกิดขึ้นแม้คราวเดียว ด้วยอำนาจตัณหาและโลภะ ย่อม แก้หลุดได้ยาก เหมือนเต่าหลุดจากที่ผูกได้ยาก. บทว่า เอตมฺปิ เฉตฺวาน ความว่านักปราชญ์ทั้งหลาย ตัดเครื่องจองจำ คือกิเลสนั้น แม้มั่นคงอย่างนี้ ด้วยพระขรรค์ คือญาณ ตัดห่วงเหล็กดุจช้าง ตกมัน ดุจราชสีห์หนุ่มทำลายซี่กรง รังเกียจวัตถุกามและกิเลส กาม ดุจพื้นที่เทหยากเยื่อ ไม่มีความห่วงใย ละกามสุขหลีกออก ไป ก็และครั้นหลีกออกไปแล้ว เข้าป่าหิมพานต์บวชเป็นฤๅษี ยังกาลเวลาให้ล่วงไปด้วยสุขเกิดแต่ฌาน.
            พระโพธิสัตว์ครั้นทรงเปล่งอุทานนี้อย่างนี้แล้ว มีฌาน ไม่เสื่อม มีพรหมโลกเป็นที่ไปในเบื้องหน้า.
            พระศาสดาทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ทรงประกาศ สัจธรรม. เมื่อจบสัจธรรม ภิกษุบางพวกได้เป็นพระโสดาบัน บางพวกได้เป็นพระสกทาคามี บางพวกได้เป็นพระอนาคามี บางพวกได้เป็นพระอรหันต์. มารดาในครั้งนั้นได้เป็นพระนาง มหามายาในครั้งนี้ บิดาได้เป็นพระเจ้าสุทโธทนมหาราช ภรรยา ได้เป็นมารดาพระราหุล ส่วนบุรุษผู้ละบุตรและภรรยาออกบวช คือ เราตถาคตนี้แล.
            จบ อรรถกถาพันธนาคารชาดกที่ ๑