พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ในพระวิหารเชตวัน ทรงปรารภการประเล้า ประโลมของภรรยาเก่า จึงตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำเริ่มต้นว่า น มํ สีตํ น มํ อุณฺหํ ดังนี้. ความพิศดารว่า ในกาลนั้น พระศาสดาตรัสถามภิกษุนั้นว่า ดูก่อน ภิกษุ ได้ยินว่าเธอเป็นผู้กระสันจะสึกจริงหรือ ? ภิกษุนั้นกราบทูลว่า ข้าแต่ พระผู้มีพระภาคเจ้า จริง พระเจ้าข้า. พระศาสดาตรัสถามว่า เพราะเหตุไร เธอจึงเป็นผู้กระสันจะสึก ? ภิกษุนั้นกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภรรยา เก่าของข้าพระองค์เป็นผู้มีรสมืออร่อย ข้าพระองค์ไม่อาจละนาง พระเจ้าข้า. ลำดับนั้น พระศาสดาได้ตรัสกะภิกษุนั้นว่า ดูก่อนภิกษุ หญิงนั่นเป็นผู้กระทำ ความฉิบหายแก่เธอ แม้ในกาลก่อน เธอเมื่อจะถึงความตายก็เพราะอาศัยหญิง นั่น แต่พ้นจากความตายเพราะอาศัยเรา แล้วทรงนำเรื่องอดีตนิทานมา ดัง ต่อไปนี้

ในอดีตกาล เมื่อพระเจ้าพรหมทัตครองราชสมบัติในนครพาราณสี พระโพธิสัตว์ได้เป็นปุโรหิตของพระเจ้าพรหมทัตนั้น ในกาลนั้น พวกชาว ประมงได้ทอดแหอยู่ในแม่นํ้า ครั้งนั้น มีปลาใหญ่ตัวหนึ่งมาเล่นอยู่กับนางปลา ของตนด้วยความยินดี. นางปลานั้นว่ายไปข้างหน้าของปลาใหญ่นั้น ได้กลิ่น แห จึงเลี่ยงแหไป. ส่วนปลาใหญ่นั้นติดในกามเป็นปลาโลเล ได้เข้าไปยัง ท้องแหนั่นเอง. พวกชาวประมงรู้ว่าปลาใหญ่นั้นเข้าไปติดแห จึงยกแหขึ้นจับ เอาปลา ไม่ฆ่า โยนไปบนหลังทราย คิดว่าจักปิ้งปลานั้นกิน จึงก่อไฟถ่าน เสี้ยมไม้แหลม ปลาครํ่าครวญอยู่ว่า การย่างบนถ่านไฟหรือการเสียบด้วยไม้ แหลมนั้น ก็หรือทุกข้ออย่างอื่น จะไม่ทำให้เราลำบาก แต่ข้อที่นางปลานั้น ถึงความโทมนัสในเราว่า ปลาใหญ่นั้นได้ไปหานางปลาตัวอื่นด้วยความยินดี เป็นแน่นั้นเท่านั้น เบียดเบียนเรา จึงกล่าวคาถานี้ว่า ความเย็น ความร้อน และการติดอยู่ในแห ไม่ได้เบียดเบียนเราให้ได้รับทุกข์เลย แต่ข้อที่นางปลา สำคัญว่า เราไปหลงนางปลาตัวอื่นนั่นแหละ เบียดเบียนเราให้ได้รับทุกข์.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า น มํ สีตํ น มํ อุณฺหํ ความว่า ปลาทั้งหลายย่อมมีความหนาว ในเวลาถูกนำออกไปจากนํ้า เมื่อความหนาวนั้น ปราศจากไป ความร้อนย่อมมี. ปลาหมายเอาความหนาวและความร้อนแม้ทั้ง สองนั้น จึงครํ่าครวญว่า ความหนาว ความร้อน ย่อมไม่เบียดเบียนเรา. ปลาหมายเอาความทุกข์ซึ่งมีการปิ้งบนถ่านไฟที่จักมีขึ้นแม้นั้น จึงครํ่าครวญว่า ความร้อนจะไม่เบียดเบียนเรา. ด้วยบทว่า น มํ ชาลสฺมิ พาธนํ นี้ ปลา ย่อมครํ่าครวญว่า การที่ได้ติดอยู่ในแหแม้นั้น ก็ไม่เบียดเบียนเรา. ในบทว่า ยญฺจ มํ ดังนี้เป็นต้นไป มีประมวลความดังต่อไปนี้:- นางปลานั้นไม่รู้ว่า เราผู้ติดอยู่ในแหถูกพวกประมงเหล่านี้จับเอาไป เมื่อไม่เห็นเราก็จะคิดว่า บัดนี้ ปลาใหญ่นั้นจักติดนางปลาตัวอื่นด้วยความยินดีในกาม การที่นางปลานั้นผู้ถึง ความโทมนัสคิดดังนั้น ย่อมเบียดเบียนเรา

เพราะเหตุนั้น ปลาใหญ่นั้นจึง นอนครํ่าครวญอยู่บนหลังทราย. สมัยนั้น ปุโรหิตอันทาสแวดล้อมมายังฝั่งแม่นํ้าเพื่อจะอาบนํ้า ก็ ปุโรหิตนั้นเป็นผู้รู้เสียงร้องของสัตว์ทุกชนิด. ด้วยเหตุนั้น ปุโรหิตนั้นได้ฟังปลา ครํ่าครวญจึงคิดว่า ปลานี้ครํ่าครวญเพราะกิเลส ก็ปลานี้มีจิตกระสับกระส่าย อย่างนี้ ตายไป จักบังเกิดในนรกเท่านั้น เราจักเป็นที่พึ่งอาศัยของปลานี้. ปุโรหิตนั้นจึงไปหาพวกชาวประมงแล้วกล่าวว่า ท่านผู้เจริญทั้งหลาย พวกท่าน ไม่ให้ปลาเราเพื่อทำกับข้าว แม้สักวัน. ชาวประมงทั้งหลายกล่าวว่า นาย ท่านพูดอะไร ท่านจงเลือกเอาปลาที่ท่านชอบใจไปเถิด. ปุโรหิตกล่าวว่า เรา ไม่มีการงานกับผู้อื่น พวกท่านจงให้เฉพาะปลาตัวนี้เท่านั้น. พวกชาวประมง กล่าวว่า เอาไปเถอะนาย. พระโพธิสัตว์เอามือทั้งสองจับปลานั้นไปนั่งที่ฝั่ง แม่นํ้ากล่าวสอนว่า ปลาผู้เจริญ วันนี้ ถ้าเราไม่เห็นเจ้า เจ้าจะต้องถึงแก่ความ ตาย ตั้งแต่บัดนี้ไป เจ้าอย่าได้ตกอยู่ในอำนาจของกิเลสเลย แล้วปล่อยไปใน นํ้า ตนเองเข้าไปยังนคร.

พระศาสดาครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ทรงประกาศสัจจะ ทั้งหลาย. ในเวลาจบสัจจะ ภิกษุผู้กระสันจะสึกตั้งอยู่ในโสดาปัตติผล. ฝ่าย พระศาสดาได้ทรงสืบอนุสนธิประชุมชาดกว่า นางปลาในครั้งนั้น ได้เป็น ภรรยาเก่าในบัดนี้ ปลาในครั้งนั้น ได้เป็นภิกษุผู้กระสันในบัดนี้ ส่วนปุโรหิตในครั้งนั้น ได้เป็นเราเองแล.

จบมัจฉชาดกที่ ๔

กลับที่เดิม