พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ในพระเชตวันวิหาร ทรงปรารภการประพฤติ ประโยชน์แก่พระญาติ จึงตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำเริ่มต้นว่า เย กุกฺกุรา ดังนี้ การประพฤติประโยชน์แก่พระญาตินั้น จักมีแจ้งในภัททสาลชาดก ทวาทสนิบาต. ก็พระศาสดาทรงตั้งเรื่องนี้แล้วทรงนำอดีตนิทานมา ดังต่อไปนี้.

ในอดีตกาล เมื่อพระเจ้าพรหมทัตครองราชสมบัติในนครพาราณสี พระโพธิสัตว์ทรงอาศัยกรรมเห็นปานนั้น บังเกิดในกำเนิดสุนัข ห้อมล้อมด้วย สุนัขมิใช่น้อยอยู่ในสุสานใหญ่. อยู่มาวันหนึ่ง พระราชาเสด็จขึ้นทรงรถเทียม ม้าสินธพขาว ประดับด้วยเครื่องประดับทั้งปวง เสด็จไปยังพระอุทยาน ทรงเล่นในพระอุทยานนั้นตลอดส่วนภาคกลางวัน เมื่อพระอาทิตย์อัสดง จึง เสด็จเข้าพระนคร ราชบุรุษทั้งหลายวางสายเชือกหนังรถนั้นตามที่ผูกไว้นั้น แหละที่พระลานหลวง เมื่อฝนตกตอนกลางคืน รถนั้นก็เปียกฝน. พวกสุนัข ที่เลี้ยงไว้ในราชตระกูลลงจากปราสาทชั้นบน กัดกินหนังและชะเนาะาของรถนั้น.

วันรุ่งขึ้น พวกราชบุรุษจึงกราบทูลพระราชาว่า ข้าแต่สมมติเทพ สุนัขทั้งหลาย เข้าไปทางท่อนํ้า กัดกินหนังและชะเนาะของรถนั้น พระเจ้าข้า. พระราชาทรง กริ้วสุนัข จึงตรัสว่า พวกท่านจงฆ่าพวกสุนัขในที่ที่ได้เห็นแล้ว ๆ.

ตั้งแต่นั้นมา ความพินาศใหญ่หลวงจึงเกิดขึ้นแก่พวกสุนัข. สุนัขเหล่านั้นเมื่อถูกฆ่าในที่ที่พบ เห็นจึงหนีไปป่าช้า ได้พากันไปยังสำนักของพระโพธิสัตว์. พระโพธิสัตว์ถาม ว่า ท่านทั้งหลายเป็นอันมากพากันมาประชุม เหตุอะไรหนอ ? สุนัขเหล่านั้น กล่าวว่า พระราชาทรงกริ้วว่า นัยว่า สุนัขกินหนังและชะเนาะของรถภายใน พระราชวัง จึงทรงสั่งให้ฆ่าสุนัข สุนัขเป็นอันมากพินาศ มหาภัยเกิดขึ้นแล้ว.

พระโพธิสัตว์คิดว่า ในที่ที่มีการอารักขา สุนัขทั้งหลายในภายนอก ย่อมไม่ มีโอกาส กรรมนี้จักเป็นกรรมของพวกสุนัขเลี้ยงในภายในพระราชนิเวศน์นั่น เอง ก็ภัยอะไร ๆ ย่อมไม่มีแก่พวกโจร ส่วนพวกที่ไม่ใช่โจรกลับได้ความตาย ถ้ากระไร เราจะแสดงพวกโจรแก่พระราชาแล้วให้ทานชีวิตแก่หมู่ญาติ. พระโพธิสัตว์นั้น ปลอบโยนญาติทั้งหลายให้เบาใจแล้วกล่าวว่า ท่านทั้งหลายอย่า กลัว เราจักนำความไม่มีภัยมาให้แก่ท่านทั้งหลาย พวกท่านจงอยู่ที่นี้แหละจน กว่าเราจะได้เฝ้าพระราชา แล้วรำพึงถึงบารมี กระทำเมตตาภาวนาให้เป็น ปุเรจาริกไปในเบื้องหน้าแล้วอธิษฐานว่า ใคร ๆ อย่าได้สามารถขว้างก้อนดิน หรือไม้ค้อนเบื้องบน เรา ผู้เดียวเท่านั้นเข้าไปภายในพระนคร.

ครั้งนั้น แม้ สัตว์ตัวหนึ่งเห็นพระโพธิสัตว์แล้วชื่อว่า โกรธแล้วแลดู มิได้มี. ฝ่ายพระราชา ทรงสั่งฆ่าสุนัขแล้วประทับนั่งในที่วินิจฉัยด้วยพระองค์เอง พระโพธิสัตว์ไปใน ที่วินิจฉัยนั้นนั่นแล แล้ววิ่งเข้าไปภายใต้อาสน์ของพระราชา.

ลำดับนั้น พวก ราชบุรุษเริ่มเพื่อจะนำพระโพธิสัตว์นั้นออกมา แต่พระราชาทรงห้ามไว้ พระโพธิสัตว์นั้นพักอยู่หน่อยหนึ่งแล้วออกจากภายใต้อาสน์ ถวายบังคมพระ ราชาแล้วทูลถามว่า ได้ยินว่า พระองค์ทรงให้ฆ่าสุนัขจริงหรือพระเจ้าข้า. พระราชาตรัสว่า เออ เราให้ฆ่า พระโพธิสัตว์ทูลถามว่า ข้าแต่พระจอมคน สุนัขเหล่านั้นมีความผิดอะไร ? พระราชาตรัสว่า สุนัขทั้งหลายมันกินหนังหุ้ม และชะเนาะแห่งรถของเรา พระโพธิสัตว์ทูลถามว่า พระองค์ทรงรู้จักสุนัขตัว ที่กินแล้วหรือ. พระราชาตรัสว่า ไม่รู้ พระโพธิสัตว์ทูลว่า ข้าแต่สมมติเทพ การไม่ทรงทราบโดยถ่องแท้ว่า โจรที่กินหนังชื่อนี้ แล้วทรงให้ฆ่าในที่ที่ได้พบ เห็นทันที ไม่สมควร พระเจ้าข้า. พระราชาตรัสว่า เพราะพวกสุนัขมักกัดกิน หนังหุ้มรถ เราจึงสั่งฆ่าสุนัขว่า พวกท่านจงฆ่าสุนัขที่ได้พบเห็นทั้งหมดเลย. พระโพธิสัตว์ทูลว่า ก็มนุษย์ทั้งหลายเหล่านั้นฆ่าสุนัขทั้งหมดทีเดียวหรือ หรือว่า สุนัขแม้ไม่ได้ความตายก็มีอยู่. พระราชาตรัสว่ามี. สุนัขเลี้ยงในตำหนักของเรา ไม่ได้การถูกฆ่าตาย. พระมหาสัตว์ทูลว่า ข้าแต่มหาราช พระองค์ได้ตรัสในบัดนี้ ทีเดียวว่า เพราะพวกสุนัขมักกัดกินหนังหุ้มรถ เราจึงสั่งฆ่าสุนัขว่า พวกท่าน จงฆ่าสุนัขทุกตัวที่ได้พบเห็น แต่บัดนี้พระองค์ตรัสว่า สุนัขเลี้ยงในตำหนัก ของเราไม่ได้การถูกฆ่าตาย เมื่อเป็นอย่างนั้น พระองค์ย่อมลุอคติเช่นฉันทาคติ เป็นต้น. ก็ชื่อว่าการลุอคติไม่สมควร และไม่เป็น (ทศพิธ) ราชธรรม ธรรมดา พระราชาผู้แสวงหาเหตุและมิใช่เหตุ เป็นเช่นกับตาชั่งจึงจะควร. บัดนี้ สุนัขเลี้ยงในราชสกุลไม่ได้การตาย สุนัขที่ทุรพลเท่านั้นจึงจะได้ เมื่อเป็นเช่น นั้น อันนี้ไม่เป็นการฆ่าสุนัขทุกตัว แต่อันนี้ชื่อว่าเป็นการฆ่าสุนัขที่ทุรพล ก็แหละครั้นทูลอย่างนี้แล้ว จึงเปล่งเสียงอันไพเราะกราบทูลว่า ข้าแต่มหาราช สิ่งที่พระองค์ทรงกระทำนั้นไม่เป็นธรรม เมื่อจะแสดงธรรมแก่พระราชา จึง กล่าวคาถานี้ว่า สุนัขเหล่าใดอันบุคคลเลี้ยงไว้ในราชสกุลเจริญ ในราชสกุล สมบูรณ์ด้วยสีสันและกำลัง สุนัขเหล่านี้ นั้นไม่ถูกฆ่า พวกเรากลับถูกฆ่าโดยไม่แปลกกัน หา มิได้ กลับชื่อว่าการฆ่าแต่สุนัขทั้งหลายที่ทุรพล.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เย กุกฺกุรา ได้แก่ สุนัขเหล่าใด. เหมือนอย่างว่า ปัสสาวะแม้ยังมีนํ้าอุ่นก็เรียกว่ามูตรเน่า สุนัขจิ้งจอกแม้เกิดใน วันนั้นก็เรียกว่า สุนัขจิ้งจอกแก่ เถาหัวด้วนแม้ยังอ่อนก็เรียกว่าเถาหัวเน่า กาย แม้จะมีสีเหมือนทองก็เรียกว่ากายเปื่อยเน่า ฉันใด สุนัขแม้มีอายุ ๑๐๐ ปี ก็ เรียกว่า กุกกุระ ลูกสุนัข ฉันนั้นเหมือนกัน. เพราะฉะนั้น สุนัขเหล่านั้น แก่แต่สมบูรณ์ด้วยกำลังกาย ก็เรียกว่า กุกกุระเหมือนกัน. บทว่า วฑฺฒา แปลว่า เจริญเติบโต. บทว่า โกเลยฺยกา ได้แก่ เกิดแล้ว มีแล้ว เจริญ แล้วในราชสกุล. บทว่า วณฺณพลูปปนฺนา ได้แก่ สมบูรณ์ด้วยสีร่างกาย และกำลังกาย. บทว่า เตเม น วชฺฌา ความว่า สุนัขเหล่านี้นั้นมีเจ้าของ มีการอารักขา จึงไม่ถูกฆ่า. บทว่า มยมสฺส วชฺฌา ความว่า เราทั้งหลาย ไม่มีเจ้าของไม่มีการอารักขา เป็นสุนัขที่ถูกฆ่า. บทว่า นายํ สฆจฺจา ความ ว่า เมื่อเป็นอย่างนั้น อันนี้ย่อมไม่ชื่อว่ามีการฆ่าโดยไม่แปลกกัน. บทว่า ทุพฺพลฆาติกายํ ความว่า ส่วนอันนี้ย่อมชื่อว่าเป็นการฆ่าอันทุรพล เพราะ ฆ่าเฉพาะสุนัขทุรพลทั้งหลาย. อธิบายว่า

ธรรมดาพระราชาทั้งหลายควรข่ม พวกโจร พวกที่ไม่เป็นโจรไม่ควรข่ม แต่ในเหตุการณ์นี้ โทษอะไร ๆ ไม่มี แก่พวกโจร พวกที่ไม่ใช่โจรกลับได้ความตาย โอ ! ในโลกนี้ สิ่งที่ไม่ควร ย่อมเป็นไป โอ ! อธรรมย่อมเป็นไป. พระราชาได้ทรงสดับคำของพระโพธิสัตว์แล้วจึงตรัสว่า ดูก่อนบัณฑิต ก็ท่านรู้หรือว่า สุนัขชื่อโน้นกินหนังหุ้มรถ. พระโพธิสัตว์กล่าวว่า รู้พระเจ้าข้า. พระราชาตรัสว่า สุนัขพวกไหนกิน. พระโพธิสัตว์ทูลว่า พวกสุนัขเลี้ยงที่อยู่ ในตำหนักของพระองค์กิน พระเจ้าข้า. พระราชาตรัสว่า ท่านต้อง (พิสูจน์) รู้ว่า สุนัขเหล่านั้นกินอย่างไร. พระโพธิสัตว์ทูลว่า ข้าพระบาทจักแสดงความที่ สุนัขเหล่านั้นกิน. พระราชาตรัสว่า จงแสดงเถิด บัณฑิต. พระโพธิสัตว์ทูลว่า พระองค์จงให้นำพวกสุนัขเลี้ยงในตำหนักของพระองค์มา แล้วให้นำเปรียง และหญ้าแพรกมาหน่อยหนึ่ง. พระราชาได้ทรงกระทำอย่างนั้น.

ลำดับนั้น พระโพธิสัตว์ให้ขยำหญ้ากับเปรียงแล้วทูลกะพระราชานั้นว่า ขอพระองค์จงให้สุนัข เหล่านี้ดื่ม พระราชาทรงให้ทำอย่างนั้นแล้วให้ดื่ม สุนัขทั้งหลายที่ดื่มแล้ว ๆ ก็ ถ่ายออกมาพร้อมกับหนังทั้งหลาย พระราชาทรงดีพระทัยว่าเหมือนพยากรณ์ ของพระสัพพัญญูพุทธเจ้า จึงได้ทรงทำการบูชาพระโพธิสัตว์ด้วยเศวตฉัตร พระโพธิสัตว์จึงแสดงธรรมแก่พระราชา ด้วยคาถาว่าด้วยการประพฤติธรรม ๑๐ ประการ อันมาในเตสกุณชาดก มีอาทิว่า ข้าแต่มหาราชผู้บรมกษัตริย์ พระองค์จงประพฤติธรรมในพระชนกและชนนี ดังนี้ แล้วทูลว่า ข้าแต่มหาราช จำเดิมแต่นี้ไป พระองค์จงเป็นผู้ไม่ประมาท แล้วให้พระราชาดำรงอยู่ในศีล ๕ จึงได้ถวายคืนเศวตฉัตรแด่พระราชา.

พระราชาได้ทรงสดับธรรมกถาของพระมหาสัตว์แล้วทรงให้อภัยแก่สัตว์ทั้งปวง ทรงเริ่มตั้งนิตยภัตเช่นกับโภชนะของ พระองค์แก่สุนัขทั้งปวงมีพระโพธิสัตว์เป็นต้น ทรงตั้งอยู่ในโอวาทของพระโพธิสัตว์ทรงกระทำบุญมีทานเป็นต้นตลอดชั่วพระชนมายุ สวรรคตแล้วเสด็จอุบัติ ในเทวโลก กุกกุโรวาทได้ดำเนินไปถึงหมื่นปี ฝ่ายพระโพธิสัตว์ดำรงอยู่ ตราบชั่วอายุแล้วได้ไปตามยถากรรม.

พระศาสดาตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตถาคตประพฤติประโยชน์ แก่พระญาติทั้งหลาย ในบัดนี้เท่านั้น ก็หามิได้ แม้ในกาลก่อนก็ได้ประพฤติ แล้วเหมือนกัน ครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาสืบต่ออนุสนธิแล้ว จึงทรง ประชุมชาดกว่า พระราชาในกาลนั้น ได้เป็นพระอานนท์ บริษัทที่ เหลือนอกนี้ ได้เป็นพุทธบริษัท ส่วนกุกกุรบัณฑิตคือเราแล.

จบกุกกุรชาดกที่ ๒

กลับที่เดิม