พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระวิหารเวฬุวัน ทรงปรารภภิกษุผู้คบหาฝ่ายผิดรูปหนึ่ง ตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำเริ่มต้นว่า น ปาปชนสํเสวี ดังนี้. เรื่องปัจจุบัน ก็เช่นเดียวกับเรื่องที่กล่าวแล้วใน มหิฬามุข๑ ชาดก นั้นแล.
            ในอดีตกาล ครั้งพระเจ้าพรหมทัตเสวยราชสมบัติอยู่ใน พระนครพาราณสี พระโพธิสัตว์ถือปฏิสนธิในกำเนิดเหี้ย ครั้น เติบใหญ่แล้ว มีเหี้ยหลายร้อยเป็นบริวาร พำนักอยู่ในโพรงใหญ่ ใกล้ฝั่งแม่น้ำ
            บุตรของพระโพธิสัตว์นั้น ชื่อว่าโคธปิลลิกะ ทำ ความสนิทสนมเป็นเพื่อนเกลอกันกับกิ้งก่า (ป่อมข่าง) ตัวหนึ่ง เย้าหยอกกันกับมัน ขึ้นทับมันไว้ด้วยคิดว่า เราจักกอดกิ้งก่า ฝูงเหี้ยพากันบอกความสนิทสนม ระหว่างโคธปิลลิกะกับกิ้งก่า นั้น ให้พญาเหี้ยทราบ พญาเหี้ยจึงเรียกบุตรมาหา กล่าวว่า ลูกเอ๋ย เจ้าทำความสนิทสนมกันในที่ไม่บังควรเลย ธรรมดา กิ้งก่าทั้งหลาย มีกำเนิดต่ำ ไม่ควรทำความสนิทสนมกับมัน ถ้า เจ้าขืนทำความสนิทสนมกับมัน สกุลเหี้ยแม้ทั้งหมด จักต้อง พินาศเพราะอาศัยมันแน่นอน ต่อแต่นี้ไปเจ้าอย่าได้ทำความ สนิทสนมกับมันเลย โคธปิลลิกะ ก็คงยังทำอยู่เช่นนั้น แม้ถึง พระโพธิสัตว์จะพูดอยู่บ่อย ๆ ก็ไม่สามารถจะห้ามความสนิทสนม ระหว่างเขากับมันได้ จึงดำริว่า อาศัยกิ้งก่าตัวหนึ่ง ภัยต้อง บังเกิดแก่พวกเราเป็นแน่ ควรจัดเตรียมทางหนีไว้ ในเมื่อภัยนั้น บังเกิด แล้วให้ทำปล่องลมไว้ข้างหนึ่ง
            ฝ่ายบุตรของพญาเหี้ยนั้น ก็มีร่างกายใหญ่โตขึ้นโดยลำดับ ส่วนกิ้งก่าคงตัวเท่าเดิม โคธปิลลิกะ คิดว่าจักสวมกอดกิ้งก่า (เวลาใด) ก็โถมทับอยู่เรื่อย ๆ (เวลานั้น) เวลาที่โคธปิลลิกะโถมทับกิ้งก่า เป็นเหมือนเวลาที่ ถูกยอดเขาทับฉะนั้น เมื่อกิ้งก่าได้รับความลำบาก จึงคิด ว่า ถ้าเหี้ยตัวนี้ กอดเราอย่างนี้สัก สอง-สามวันติดต่อกัน เราเป็น ตายแน่ เราจักร่วมมือกับพรานคนหนึ่ง ล้างตระกูลเหี้ยนี้เสีย ให้จงได้.
            ครั้นวันหนึ่งในฤดูแล้ง เมื่อฝนตกแล้ว ฝูงแมลงเม่าพากัน บินออกจากจอมปลวก ฝูงเหี้ยพากันออกจากที่นั้น ๆ กินฝูง แมลงเม่า พรานเหี้ยผู้หนึ่งถือจอบไปป่ากับฝูงหมา เพื่อขุด โพรงเหี้ย กิ้งก่าเห็นเขาแล้ว คิดว่า วันนี้ความหวังของเราสำเร็จ แน่ ดังนี้แล้วเข้าไปหาเขา หมอบอยู่ในที่ไม่ห่าง ถามว่า ท่าน ผู้เจริญ ท่านเที่ยวไปในป่าทำไม ?
            พรานตอบว่า เที่ยวหา ฝูงเหี้ย
            กิ้งก่ากล่าวว่า ฉันรู้จักที่อาศัยของเหี้ยหลายร้อยตัว ท่านจงหาไฟและฟางมาเถิด แล้วนำเขาไปที่นั้น ชี้แจงว่า ท่าน จงใส่ไฟตรงนี้แล้วจุดไฟ ทำให้เป็นควัน วางหมาล้อมไว้ ตนเอง ออกไปคอยตีฝูงเหี้ยให้ตาย แล้วเอากองไว้ครั้นบอกอย่างนี้แล้ว ก็คิดว่า วันนี้เป็นได้เห็นหลังศัตรูละ แล้วนอนผงกหัวอยู่ ณ ที่ แห่งหนึ่ง
            แม้นายพรานก็จัดการสุมไฟฟาง ควันเข้าไปในโพรง ฝูงเหี้ยพากันสำลักควัน ถูกมรณภัยคุกคาม ต่างรีบออกพากันหน ีรนราน พรานก็จ้องตีตัวที่ออกมา ๆ ให้ตาย ที่รอดพ้นมือพราน ไปได้ก็ถูกฝูงหมากัด ความพินาศอย่างใหญ่หลวงเกิดแก่ฝูงเหี้ย
            พระโพธิสัตว์รู้ว่า เพราะอาศัยกิ้งก่าภัยจึงบังเกิดขึ้น ตัวนี้แล้ว กล่าวว่า ขึ้นชื่อว่าการคลุกคลีกับคนชั่ว ไม่พึงกระทำ ขึ้นชื่อว่า ประโยชน์ย่อมไม่มีเพราะอาศัยคนชั่ว ด้วยอำนาจของกิ้งก่าชั่ว ตัวเดียว ความพินาศจึงเกิดแก่ฝูงเหี้ย มีประมาณเท่านี้ เมื่อจะหนี ไปทางช่องลม กล่าวคาถานี้ความว่า :- "ผู้คบคนชั่ว ย่อมไม่ได้ความสุข โดย ส่วนเดียว เขาย่อมทำตนให้ถึงความพินาศ เหมือนอย่างตระกูลเหี้ยให้ตนถึงความวอดวาย เพราะกิ้งก่า ฉะนั้น" ดังนี้.
            ในคาถานั้น มีความสังเขปดังนี้ บุคคลผู้สร้องเสพกับ คนชั่ว ย่อมไม่บรรลุ คือไม่ประสบ ไม่ได้รับความสุขที่ยั่งยืน คือความสุขที่ชื่อว่า สุขชั่วนิรันดร เหมือนอย่างอะไร ? เหมือน ตระกูลเหี้ยไม่ได้ความสุข เพราะกิ้งก่าฉันใด คนที่สร้องเสพ กับคนชั่ว ย่อมไม่ได้ความสุขฉันนั้น มีแต่จะพาตนให้ถึงความ วอดวายกับคนชั่ว ย่อมพาตนและคนอื่น ๆ ที่อยู่กับตน ให้ถึงความ พินาศไปถ่ายเดียวเท่านั้น แต่ในพระบาลีท่านเขียนไว้ว่า "กลึ ปาเปยฺย" พึงพาตนให้ถึงความวอดวาย พยัญชนะ (คือข้อความ) อย่างนั้น ไม่มีในอรรถกถา ทั้งเนื้อความของพยัญชนะนั้น ก็ไม่ ถูกต้อง เหตุนั้น พึงถือเอาคำตามที่กล่าวแล้วนั่นแหละ.
            พระศาสดาทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ทรงประชุม ชาดกว่า กิ้งก่าในครั้งนั้น ได้มาเป็นเทวทัต บุตรพระโพธิสัตว ์ชื่อโคธปิลลิกะผู้ไม่เชื่อโอวาท ได้มาเป็นภิกษุผู้คบหาฝ่ายผิด ส่วนพญาเหี้ย ได้มาเป็นเราตถาคต ฉะนี้แล.
            จบ อรรถกถาโคธชาดกที่ ๑