พระศาสดาเมื่อประทับอยู่    พระวิหารเชตวัน  ทรงปรารภ

โภชนะแห่งผู้คุ้นเคยกัน  จึงตรัสพระธรรมเทศนานี้  มีคำเริ่มต้นว่า

มนุสฺสินฺทํ  ชหิตฺวาน  ดังนี้.

          ได้ยินว่า  ในเรือนของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี  มีภัตตาหาร

ไว้ถวายภิกษุ ๕๐๐   รูปเป็นประจำ  เรือนของท่านเศรษฐีจึงเป็นเสมือน

บ่อน้ำของภิกษุสงฆ์อยู่เป็นนิตยกาล  เรืองรองด้วยผ้ากาสาวพัสตร์

คลาคล่ำด้วยหมู่ฤาษีผู้แสวงบุญ.  อยู่มาวันหนึ่ง  พระราชาทรงกระทำ

ประทักษิณพระนคร   ทอดพระเนตรเห็นภิกษุสงฆ์ในนิเวศน์ของ

เศรษฐี  ทรงดำริว่า  แม้เราก็จักถวายภิกษาหารเป็นประจำแก่ภิกษุ  ๕๐๐

รูป  จึงเสด็จไปวิหาร  ทรงนมัสการพระศาสดา  แล้วทรงเริ่มตั้ง

ภิกษาหารแก่ภิกษุ  ๕๐๐  รูปเป็นประจำ  นับแต่นั้นมา  ก็ทรงถวาย

ภิกษาหารในพระราชนิเวศน์เป็นประจำ.  โภชนะแห่งข้าวสาลีมีกลิ่น

หอมซึ่งเก็บไว้ถึง    ปี  เป็นของประณีต.  ผู้ถวายด้วยมือของตน  ด้วย

ความคุ้นเคยก็ดี  ด้วยความสิเนหาก็ดี  มิได้มี.  พวกข้าหลวงย่อมจัดให้

ถวาย.  ภิกษุทั้งหลายไม่ปรารถนาที่จะนั่งฉัน.  รับเอาภัตตาหารมีรส

เลิศต่างๆ  แล้ว  ไปยังตระกูลอุปัฏฐากของตนๆ  ให้ภัตตาหารแก่พวก

อุปัฏฐากเหล่านั้นแล้ว  พากันฉันภัตตาหารที่อุปัฏฐากเหล่านั้นถวาย

ไม่ว่าจะเศร้าหมองหรือประณีต.  อยู่มาวันหนึ่ง  เขานำผลาผลเป็นอัน

มากมาถวายพระราชา.  ท้าวเธอรับสั่งว่า  พวกท่านจงถวายแด่ภิกษุสงฆ์

คนทั้งหลายจึงพากันไปยังโรงภัตตาหาร  ไม่เห็นภิกษุสักรูปเดียว  จึง

กราบทูลแก่พระราชาว่า  แม้ภิกษุรูปเดียวก็ไม่มี  พระเจ้าข้า.  พระ

ราชาตรัสว่า  ยังไม่ถึงเวลากระมัง.  คนทั้งหลายกราบทูลว่า  ถึงเวลา

แล้ว  พระเจ้าข้า  แต่ภิกษุทั้งหลายรับภัตตาหารในวังของพระองค์แล้ว

ไปในเรือนแห่งอุปัฏฐากผู้คุ้นเคยของตนๆ  ให้ภัตตาหารนั้นแก่อุปัฏ-

ฐากเหล่านั้น  แล้วฉันภัตตาหารที่อุปัฏฐากเหล่านั้นถวาย  จะเศร้า-

หมองหรือประณีตก็ตาม.  พระราชาทรงดำริว่า  ภัตตาหารของเรา

ประณีต  เพราะเหตุไรหนอ  ภิกษุทั้งหลายจึงไม่ฉันภัตตาหารนั้น  พา

กันฉันภัตตาหารอื่น  เราจักทูลถามพระศาสดา  จึงเสด็จไปพระวิหาร

ทรงนมัสการ  แล้วจึงทูลถาม.  พระศาสดาตรัสว่า  มหาบพิตรธรรมดา

การบริโภคโภชนะมีความคุ้นเคยกันสำคัญยิ่ง  เพราะในพระราชวัง

ของพระองค์ไม่มีผู้เข้าไปตั้งความคุ้นเคย  แล้วให้ด้วยความสนิทสนม

ภิกษุทั้งหลายจึงรับภัตตาหารแล้วฉันในที่แห่งคนผู้มีความคุ้นเคยแก่

ตน  มหาบพิตร  ชื่อว่ารสอื่นเช่นกับความคุ้นเคย  ย่อมไม่มี  แม้ของ

อร่อย    อย่างที่คนผู้ไม่คุ้นเคยให้  ย่อมไม่ถึงค่าสักว่าเปรียงที่คนผู้

คุ้นเคยให้  แม้โบราณกบัณฑิตทั้งหลาย  ครั้นเมื่อโรคเกิดขึ้น  เมื่อ

พระราชาแม้ทรงพาหมอทั้ง    ตระกูลไปให้กระทำยา  เมื่อโรค

ไม่สงบ  ได้ไปยังสำนักของคนผู้คุ้นเคยกัน  บริโภคยาคูอันทำด้วยข้าว

ฟ่างและลูกเดือยซึ่งไม่เค็ม  และผักซึ่งลาดด้วยสักแต่ว่าน้ำเปล่า  ไม่มี

รสเค็ม  ก็หายโรคอันพระราชานั้นทูลอาราธนาแล้ว  จึงทรงนำเอา

เรื่องในอดีตมาสาธก  ดังต่อไปนี้  :-

          ในอดีตกาล  เมื่อพระเจ้าพรหมทัตครองราชสมบัติอยู่ในนคร-

พาราณสี  พระโพธิสัตว์ได้บังเกิดในตระกูลพราหมณ์    กาสิกรัฐ

บิดามารดาตั้งชื่อกุมารนั้นว่า  กัปปกุมาร.  กัปปกุมารนั้นเจริญวัยแล้ว

เรียนศิลปะทุกอย่างในเมืองตักกศิลา  ภายหลังต่อมา  ได้บวชเป็นฤาษี.

ครั้งนั้น  เกสวดาบสห้อมล้อมด้วยดาบส  ๕๐๐  รูป  เป็นครูของคณะ

อยู่ในหิมวันตประเทศ.  พระโพธิสัตว์ได้ไปยังสำนักของเกสวดาบสนั้น

อยู่เป็นอันเตวาสิกผู้ใหญ่แห่งอันเตวาสิก  ๕๐๐  รูป.  แท้จริง  อัธยาศัย

ใจคอของพระโพธิสัตว์นั้น  ได้มีความสนิทสนมต่อเกสวดาบส.  ดาบส

เหล่านั้นได้เป็นผู้คุ้นเคยกันและกันยิ่งนัก  จำเนียรกาลนานมา  เกสว-

ดาบสได้พาดาบสเหล่านั้นไปยังถิ่นมนุษย์  เพื่อต้องการเสพรสเค็มและ

รสเปรี้ยว  ถึงนครพาราณสีแล้วอยู่ในพระราชอุทยาน  วันรุ่งขึ้น

เข้าไปสู่พระนครเพื่อภิกขาจาร  ได้ไปถึงประตูพระราชวัง.  พระราชา

ทรงเห็นหมู่ฤาษีจึงให้ไปนิมนต์มาแล้วให้ฉันในภายในพระราชนิเวศน์

ทรงถือเอาปฏิญญาแล้ว  ให้พักอยู่ในพระราชอุทยาน.  ครั้นเมื่อล่วง

กาลฤดูฝนแล้ว  เกสวดาบสได้ทูลอำลาพระราชา.  พระราชาตรัสว่า

ท่านผู้เจริญ  ท่านทั้งหลายเป็นผู้แก่เฒ่า  จงอาศัยข้าพเจ้าอยู่ก่อน  ส่ง

แต่ดาบสหนุ่มๆ  ไปยังหิมวันตประเทศเถิด.  เกสวดาบสรับว่าดีละ

แล้วส่งดาบสเหล่านั้นพร้อมกับอันเตวาสิกผู้ใหญ่ไปยังหิมวันตประเทศ

ตนเองผู้เดียวยับยั้งอยู่.

          ฝ่ายกัปปดาบสก็ไปยังหิมวันตประเทศอยู่กับดาบสทั้งหลาย.

เกสวดาบสเมื่ออยู่เหินห่างกัปปดาบสก็รำคาญใจ  เป็นผู้ใคร่จะเห็น

กัปปดาบสนั้นไม่เป็นอันได้หลับนอน.  เมื่อเกวสดาบสนั้นนอนไม่หลับ

อาหารก็ไม่ย่อยไปด้วยดี  โรคลงโลหิตก็ได้เกิดมีขึ้น  ทุกขเวทนาเป็น

ไปอย่างแรงกล้า.  พระราชาทรงพาแพทย์    สกุลมาปรนนิบัติ

พระดาบส.  โรคก็ไม่สงบ.  เกสวดาบสทูลพระราชาว่า  มหาบพิตร

พระองค์ปรารถนาให้อาตมภาพตาย หรือปรารถนาให้หายโรค.

พระราชาตรัสว่า  ปรารถนาให้หายโรคชิท่านผู้เจริญ.  เกสวดาบสทูลว่า

ถ้าอย่างนั้น  พระองค์จึงส่งอาตมภาพไปยังหิมวันตประเทศ.  พระราชา

ตรัสว่า  ดีละ  ท่านผู้เจริญ  แล้วทรงส่งนารทอำมาตย์ไปด้วยพระดำรัส

ว่า  ท่านจงพาท่านผู้เจริญไปหิมวันตประเทศพร้อมกับพวกพรานป่า-

นารทอำมาตย์นำเกสวดาบสนั้นไปหิมวันตประเทศแล้วกลับมา.  ฝ่าย

เกสวดาบส  เมื่อพอได้เห็นกัปปดาบสเท่านั้น โรคทางใจก็สงบ  ความ

กระสันรำคาญใจก็ระงับไป.  ลำดับนั้น กัปปดาบสได้ให้ยาคูที่หุงด้วย

ข้าวฟ่างและลูกเดือยพร้อมกับผักที่ลาดรดด้วยน้ำเปล่าซึ่งไม่เค็มไม่ได้

อบแก่เกสวดาบสนั้น  โรคลงโลหิตของเกสวดาบสนั้นก็สงบระงับลงใน

ขณะนั้นเอง.  พระราชาทรงส่งนารทอำมาตย์นั้นไปอีก  ด้วยรับสั่งว่า

เธอจงไปฟังข่าวคราวของเกสวดาบสดูทีเถิด.  นารทอำมาตย์นั้นไปแล้ว

ได้เห็นเกสวดาบสนั้นหายโรคแล้ว  จึงกล่าวว่า  ท่านผู้เจริญ  พระเจ้า

พาราณสีทรงพาแพทย์    ตระกูลมาปรนนิบัติ  ไม่อาจทำท่านให้หาย

โรค  กัปปดาบสปรนนิบัติท่านอย่างไร  ?  แล้วกล่าวคาถาที่    ว่า  :-

                   เป็นอย่างไรหนอ  เกสวดาบสผู้มีโชค

          จึงละพระเจ้าพาราณสีผู้เป็นจอมมนุษย์  ผู้ทำ

          ความประสงค์ทั้งปวงให้สำเร็จได้  มายินดีอยู่

          ในอาศรมของกัปปดาบส.

          บรรดาบทเหล่านั้น  บทว่า  มนุสฺสินฺทํ  ได้แก่  พระเจ้า

พาราณสีผู้เป็นจอมแห่งมนุษย์.  บทว่า  กถํ  นุ  ภควา  เกสี  ความว่า

เพราะอุบายอะไรหนอ  เกสวดาบสผู้มีโชคของพวกเรารูปนี้  จึงยินดี

อยู่ในอาศรมของกัปปดาบส.  นารทอำมาตย์ทำทีเสมือนเจรจากับคน

อื่น  ถามถึงเหตุในความยินดียิ่งของเกสวดาบส  ด้วยประการอย่างนี้.

          เกสวดาบสได้ฟังดังนั้น  จึงกล่าวคาถาที่    ว่า  :-

                   ดูก่อนนารทอำมาตย์  สิ่งอันน่ารื่นรมย์

          ใจซึ่งยังประโยชน์ให้สำเร็จมีอยู่  หมู่ไม้อัน

          ทำใจให้รื่นรมย์มีอยู่  แต่ถ้อยคำอันเป็น

          สุภาษิตของกัปปดาบส  ย่อมทำให้เราอภิรมย์

          ยินดี.

          บรรดาบทเหล่านั้น  บทว่า  วกฺขา  ได้แก่  ต้นไม้.  แต่ใน

บาลีเขียนไว้ว่า  รุกฺขา.  บทว่า  สุภาสิตานิ  ความว่า  ถ้อยคำสุภาษิต

ที่กัปปดาบสกล่าว  ย่อมทำเราให้อภิรมย์ยินดี.

          ก็แหละ  เกสวดาบสครั้นกล่าวอย่างนี้แล้ว  จึงกล่าวว่า  กัปป-

ดาบสทำเราให้ยินดีอยู่อย่างนี้  จึงให้เราดื่มยาคูที่หุงด้วยข้าวฟ่างและ

ลูกเดือยอันระคนด้วยผักที่ลาดด้วยน้ำ  ซึ่งไม่เค็มและไม่ได้อบกลิ่น

พยาธิในร่างกายของเราสงบระงับเพราะข้าวยาคูนั้น  เราเป็นผู้หาย

โรคแล้ว.  นารทอำมาตย์ได้ฟังดังนั้น  จึงกล่าวคาถาที่    ว่า  :-

                   พระคุณเจ้าบริโภคข้าวสุกแห่งข้าวสาลี

          ที่ปรุงด้วยเนื้อสะอาดมาแล้ว  ไฉนข้าวฟ่าง

          และลูกเดือยอันหารสมิได้  จึงทำให้พระคุณ-

          เจ้ายินดีได้เล่า.

          บรรดาบทเหล่านั้น  บทว่า  ภุญฺเช  แปลว่า  บริโภคแล้ว.

อีกอย่างหนึ่ง  บาลีก็อย่างนี้เหมือนกัน.  บทว่า  นาทยนฺติ  ได้แก่

ให้ยินดี  คือให้อิ่มเอิบชอบใจ  ก็เพื่อสะดวกในการประพันธ์คาถา  ท่าน

จึงลงนิคหิต.  ท่านกล่าวคำอธิบายไว้ว่า  ไฉนข้าวฟ่างและลูกเดือย

อันหารสเค็มมิได้นี้  จึงทำท่านผู้บริโภคภัตแห่งข้าวสาลีอันปรุงด้วย

มังสะที่สะอาด  สมควรแก่พระราชาในราชสกุล  ให้อิ่มเอิบ  ยินดีได้

คือว่า  ไฉนท่านจึงชอบใจอย่างนี้.

          เกสวดาบสได้ฟังดังนั้น  จึงกล่าวคาถาที่    ว่า  :-

                   ของบริโภคจะดีหรือไม่ดีก็ตาม  จะน้อย

          หรือมากก็ตาม  บุคคลผู้คุ้นเคยกันแล้ว

          บริโภคในที่ใด  การบริโภคในที่นั้นแหละดี

          เพราะรสทั้งหลายมีความคุ้นเคยเป็นเยี่ยม.

          บรรดาบทเหล่านั้น  บทว่า  ยทิวาสาธุํ  ตัดเป็น  ยทิวา

อสาธุํ  แปลว่า  ไม่มีก็ตาม.  บทว่า  วิสฺสฏฺโ€  ความว่า  เป็นผู้ปราศจาก

ความรังเกียจ  ถึงความคุ้นเคยกัน.  บทว่า  ยตฺถ  ภุญฺเชยฺย  ความว่า

พึงบริโภคอย่างนี้ในนิเวศน์ใด  โภชนะชนิดใดชนิดหนึ่งซึ่งบริโภค

แล้วอย่างนี้ในนิเวศน์นั้น  เป็นดีทั้งนั้น.  เพราะเหตุไร  ?  เพราะรส

ทั้งหลายมีความคุ้นเคยกันเป็นยอดเยี่ยม  อธิบายว่า  รสทั้งหลายชื่อว่า

มีความคุ้นเคยเป็นเยี่ยม  เพราะความคุ้นเคยเป็นยอดเยี่ยม  คือสูงสุด

แห่งรสทั้งหลายเหล่านี้.  เพราะขึ้นชื่อว่ารสจะเสมอกับรสคือความ

คุ้นเคยกันย่อมไม่มี  เหตุนั้นโภชนาหารแม้มีรสอร่อย    อย่างที่คนผู้

ไม่คุ้นเคยจัดให้  ย่อมไม่ถึงค่าน้ำส้มและน้ำข้าวที่คนผู้คุ้นเคยกันจัดให้

แล้ว.

       นารทอำมาตย์ได้ฟังคำของเกสวดาบสนั้นแล้ว  จึงไปยังราช-

สำนักกราบทูลว่า  เกสวดาบสกล่าวคำชื่อนี้.

       พระศาสดา  ครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแสดงแล้ว  จึง

ทรงประชุมชาดกว่า  พระราชาในครั้งนั้น  ได้เป็นพระอานนท์  นารท-

อำมาตย์ในครั้งนั้น  ได้เป็นพระสารีบุตร  เกสวดาบสในครั้งนั้น  ได้

เป็นพกมหาพรหม  ส่วนกัปปดาบส  คือเราตถาคต  ฉะนี้แล.

                           จบ  อรรถกถาเกสวชาดกที่