พระศาสดาเมื่อประทับอยู่    พระวิหารเชตวัน  ทรงปรารภ

พระเถระผู้เฝ้ามะม่วงรูปหนึ่ง  จึงตรัสพระธรรมเทศนานี้  มีคำเริ่มต้นว่า

โย  นีลิยํ มณฺฑยติ  ดังนี้.

          ได้ยินว่า  พระเถระนั้นบวชเมื่อภายแก่ สร้างบรรณศาลาอยู่

ในสวนมะม่วงท้ายพระเชตวัน  ดูแลรักษามะม่วง  เคี้ยวกินมะม่วงสุก

ที่หล่นอยู่.  ย่อมให้เฉพาะคนที่เกี่ยวข้องกับตน.  เมื่อพระเถระนั้น

เข้าไปภิกขาจาร  คนลักมะม่วง  ทำผลมะม่วงให้หล่นแล้วกินและถือ

เอาไป.  ขณะนั้น ธิดาของเศรษฐี ๔  คน  อาบน้ำในแม่น้ำอจิรวดี

แล้วเที่ยวไป  จึงเข้าไปยังสวนมะม่วงนั้น.  พระแก่มาเห็นธิดาเศรษฐี

เหล่านั้นจึงกล่าวว่า  พวกเจ้ากินมะม่วงของเรา.  ธิดาเศรษฐีเหล่านั้น

กล่าวว่า  ท่านผู้เจริญ  พวกดิฉันเพิ่งมา  ไม่ได้กินมะม่วงของท่าน.

พระแก่กล่าวว่า  ถ้าอย่างนั้นพวกเจ้าจงสบถ.  ธิดาเศรษฐีเหล่านั้น

รับคำว่าจะกระทำสบถ  เจ้าข้า  แล้วพากันกระทำสบถ.   พระแก่ให้

ธิดาเศรษฐีเหล่านั้นทำสบถให้ได้อาย  แล้วจึงปล่อยตัวไป.  ภิกษุ

ทั้งหลายได้ฟังการกระทำนั้นของพระแก่รูปนั้น  จึงสนทนากันใน

โรงธรรมสภาว่า  อาวุโสทั้งหลาย  ได้ยินว่าพระแก่รูปโน้น  ให้ธิดา

เศรษฐีผู้เข้าไปยังสวนมะม่วงอันเป็นที่อยู่ของตนกระทำสบถ  ทำให้ได้

อายแล้วปล่อยไป.  พระศาสดาเสด็จมาแล้วตรัสถามว่า  ภิกษุทั้งหลาย

บัดนี้  พวกเธอนั่งสนทนากันเรื่องอะไร ?  เมื่อภิกษุทั้งหลายกราบทูล

ให้ทรงทราบแล้ว  จึงตรัสว่า  ภิกษุทั้งหลาย  มิใช่ชาตินี้เท่านั้น

แม้ชาติก่อน  พระแก่นี้ได้เป็นผู้เฝ้ามะม่วง  ยังธิดาเศรษฐีเหล่านี้ให้

ทำการสบถ  ทำให้ได้อายแล้วปล่อยไป  แล้วทรงนำเอาเรื่องในอดีต

มาสาธก  ดังต่อไปนี้:-

          ในอดีตกาล  เมื่อพระเจ้าพรหมทัตครองราชสมบัติอยู่ในนคร-

พาราณสี  พระโพธิสัตว์ทรงครองความเป็นท้าวสักกเทวราช.  ใน

กาลนั้น  ชฎิลโกงผู้หนึ่งเข้าไปอาศัยนครพาราณสี  สร้างบรรณศาลา

ในสวนมะม่วง    ที่ใกล้ฝั่งแม่น้ำ  รักษามะม่วงอยู่  กินผลมะม่วงสุก

ที่หล่น  ให้เฉพาะแก่คนที่เกี่ยวข้องกัน  เลี้ยงชีวิตด้วยมิจฉาชีพ

มีประการต่าง ๆ อยู่.  ในกาลนั้น  ท้าวสักกเทวราชทรงดำริว่า  ใคร-

หนอบำรุงบิดามารดา  ใครหนอประพฤติอ่อนน้อมต่อผู้เจริญที่สุดใน

สกุล  ใครให้ทานรักษาศีล  กระทำอุโบสถกรรม  ใครบวชแล้ว

ขวนขวายในสมณธรรมอยู่  ใครประพฤติอนาจาร  จึงทรงตรวจดู

ชาวโลก  ทรงเห็นชฎิลโกงผู้เฝ้ามะม่วงผู้นี้ไม่มีอาจาระ  จึงทรงดำริว่า

ชฎิลโกงผู้นี้ละทิ้งสมณธรรมของตนมีบริกรรมกสิณเป็นต้น  รักษา

สวนมะม่วงอยู่  เราจักทำเขาให้สังเวชสลดใจ  จึงในเวลาที่ชฎิลโกงนั้น

เข้าไปภิกขาจารยังบ้านจึงบันดาลมะม่วงทั้งหลายให้ล้มลงด้วยอานุภาพ

ของพระองค์  ทรงทำให้เสมือนหนึ่งถูกพวกโจรปล้น.  ในคราวนั้น

ธิดาเศรษฐี ๔  คน  จากนครพาราณสี  เข้าไปยังสวนมะม่วงนั้น.

ชฎิลโกงเห็นธิดาเศรษฐีเหล่านั้นจึงอ้างเอาว่า  พวกท่านบริโภคมะม่วง

ของเรา.  ธิดาเศรษฐีเหล่านั้นกล่าวว่า  ท่านผู้เจริญ  พวกฉันเพิ่งมา

เดี๋ยวนี้เอง  พวกดิฉันไม่ได้กินมะม่วงของท่าน.  ชฎิลโกงพูดว่า

ถ้าอย่างนั้น  พวกท่านจงสบถ.  ธิดาเศรษฐีเหล่านั้นถามว่า  ก็พวก

ดิฉันสบถแล้วจักไปได้กระมัง ?  ชฎิลโกงกล่าวว่า   เออ  สบถแล้ว

จักได้ไป.  ธิดาเศรษฐีเหล่านั้นพากันรับคำว่า  ดีแล้ว  ท่านผู้เจริญ

เมื่อธิดาเศรษฐีคนใหญ่จะสบถ  จึงกล่าวคาถาที่    ว่า:-

                   หญิงใดลักมะม่วงของท่าน  หญิงนั้น

          จงตกอยู่ในอำนาจของชายผู้ย้อมผมให้ดำ

          และผู้เดือดร้อนเพราะ  ต้องถอนผมหงอก

          ด้วยแหนบ.

          คำที่เป็นคาถานั้นมีใจความว่า  ชายใดแต่งให้ผมดำซึ่งเอาผลไม้

สีเขียวเป็นต้นมาประกอบทำ  เพื่อต้องการจะทำผมหงอกให้มีสีดำ  และ

ผู้ถอนผมหงอกซึ่งแซมอยู่กับผมดำ  ชื่อว่าเดือดร้อน  คือลำบากเพราะ

แหนบ  หญิงผู้ลักมะม่วงของท่านจงตกอยู่ในอำนาจของชายแก่เห็น

ปานนั้น  คือจงได้ผัวเห็นปานนั้น.

          ดาบสกล่าวว่า  เจ้าจงยืนอยู่ในส่วนข้างหนึ่ง  แล้วให้ธิดาเศรษฐี

คนที่สองกระทำการสบถ.  ธิดาเศรษฐีคนที่สองนั้น  เมื่อจะสบถ

จึงกล่าวคาถาที่ ๒  ว่า:-

                   หญิงใดลักมะม่วงของท่าน  หญิงนั้น

          ถึงจะมีอายุตั้ง ๒๐  ปี  ๒๕  ปี  หรือไม่ถึง

          ๓๐  ปี  โดยกำเนิด  แม้เป็นผู้มีวัยแก่เช่น

          นั้นก็อย่าได้ผัวเลย.

          คำที่เป็นคาถานั้นมีใจความว่า  ธรรมดานารีทั้งหลาย  ย่อม

เป็นที่รักของพวกบุรุษ  ในคราวมีอายุประมาณ  ๑๕-๑๖  ปี  แต่

หญิงผู้ลักมะม่วงของท่าน  อย่าได้สามีในคราวเป็นสาวเห็นปานนั้น

พอถึงอายุ  ๒๐   ปี  หรือ  ๒๕  ปี  หรือชื่อว่าหย่อน  ๓๐  ปี  เพราะ

หย่อนหนึ่งปี  สองปีโดยชาติกำเนิด  แม้จะเป็นผู้เช่นนั้น  คือเป็น

ผู้มีวัยแก่แล้ว  ก็อย่าได้สามี.

          เมื่อธิดาเศรษฐีคนที่สองแม้นั้นสบถแล้ว  ยืนอยู่ ณ  ส่วนข้าง

หนึ่ง  ธิดาเศรษฐีคนที่สาม  จึงกล่าวคาถาที่    ว่า :-

                   หญิงใดลักมะม่วงของท่าน  หญิงนั้น

          ถึงจะกระเสือกกระสนเที่ยวหาผัว  เดินทาง

          ไกลแสนไกลลำพังผู้เดียว  ถึงจะได้นัดแนะ

          กันไว้แล้ว  ขออย่าได้พบได้เห็นผัวเลย.

          คำที่เป็นคาถานั้นมีใจความว่า  หญิงใดลักมะม่วงของท่าน  หญิง

นั้นเมื่อปรารถนาผัว  ชื่อว่าเป็นผู้กระเสือกกระสน  เพราะรนไปใน.

สำนักของผัวนั้น  ลำพังผู้เดียว  คือไม่มีเพื่อน  เดินทางไกลแสนไกล

ประมาณ    คาวุต    คาวุต  และแม้ครั้นไปถึงแล้วทำการนัดหมาย

กันว่า  ท่านพึงมายังที่ชื่อโน้น  ก็อย่าได้พบเห็นผัวนั้นเลย.

          เมื่อธิดาเศรษฐีคนที่สามแม้นั้นสบถแล้วยืน    ส่วนข้างหนึ่ง

ธิดาเศรษฐีคนที่สี่  จึงกล่าวคาถาที่    ว่า:-

                   หญิงใดลักมะม่วงของท่าน  หญิงนั้น

          ถึงจะมีที่อยู่สะอาด  ตกแต่งร่างกาย  ทัดทรง

          ดอกไม้ลูบไล้ด้วยกระแจะจันทน์  ก็จงนอน

          อยู่บนที่นอนแต่เพียงคนเดียวเถิด.

          คาถานั้น  มีเนื้อความง่ายทั้งนั้น.

          ดาบสโกงกล่าวว่า  ท่านทั้งหลายทำการสบถแข็งแรงมาก  คน

เหล่าอื่นคงจักกินมะม่วงของเรา  บัดนี้พวกท่านไปได้  แล้วส่งธิดา

เศรษฐีเหล่านั้นไป.  ท้าวสักกะจึงทรงแสดงรูปารมณ์อันน่ากลัว  ทำ

ดาบสโกงให้หนีไปจากที่นั้น.

          พระศาสดา  ครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว  จึงทรง

ประชุมชาดกว่า  ชฎิลโกงในครั้งนั้น  ได้เป็นพระแก่เฝ้ามะม่วงรูปนี้

ธิดาเศรษฐี    คนในครั้งนั้น  ได้เป็นธิดาเศรษฐีเหล่านี้แหละ  ส่วน

ท้าวสักกเทวราชในครั้งนั้น  ได้เป็นเราตถาคต  ฉะนี้แล

                                      จบ  อรรถกถาอัมพชาดกที่