อรรถกถาวานรชาดกที่ 

       พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ  พระเวฬุวันวิหาร  ทรงปรารภ

พระเทวทัตตะเกียกตะกายเพื่อจะฆ่าพระองค์  จึงตรัสพระธรรมเทศนา

นี้  มีคำเริ่มต้นว่า  อสกฺขึ  วต  อตฺตานํ  ดังนี้.  เรื่องปัจจุบันได้

ให้พิสดารไว้แล้วทีเดียว.

       ส่วนเรื่องในอดีตกาล  เมื่อพระเจ้าพรหมทัตครองราชสมบัติ

ในนครพาราณสี  พระโพธิสัตว์บังเกิดในกำเนิดกระบี่  ในหิมวันต-

ประเทศ  เจริญวัยแล้วอยู่    ที่ฝั่งแม่น้ำคงคา.  ครั้งนั้น  นางจระเข้

ตัวหนึ่งในแม่น้ำคงคา  เกิดแพ้ท้อง  อยากกินเนื้อหัวใจของพระ-

โพธิสัตว์  จึงบอกแก่จระเข้สามี.  จระเข้สามีนั้นคิดว่า  เราจักให้กระบี่

นั้นดำลงในน้ำแล้วฆ่าเสีย  ให้เนื้อหัวใจแก่นางจระเข้ผู้ภรรยา  จึงกล่าว

กะพระมหาสัตว์ว่า  มาเถิดเพื่อน  พวกเราจะไปกินผลมะม่วงที่ระหว่าง

เกาะด้วยกัน.  พระมหาสัตว์กล่าวว่า  เราจักไปได้อย่างไร.  จระเข้

กล่าวว่า  เราจักให้ท่านนั่งบนหลังเรานำไป.  พระมหาสัตว์นั้นไม่รู้

ความคิดของจระเข้นั้น  จึงโดดไปนั่งบนหลัง.  จระเข้ไปได้หน่อยหนึ่ง

จึงเริ่มจะดำน้ำ  ลำดับนั้น  วานรจึงกล่าวกะจระเข้นั้นว่า  ท่านผู้เจริญ

ท่านจะให้เราดำลงในน้ำทำไม.  จระเข้กล่าวว่าเราจักฆ่าท่านแล้วให้เนื้อ

หัวใจแก่ภรรยาของเรา.  วานรกล่าวว่า  ช้าก่อน  ท่านเข้าใจว่าเนื้อ

หัวใจของเราอยู่ที่อกหรือ.  จระเข้กล่าวว่า  เมื่อเป็นเช่นนั้น  เนื้อหัวใจ

ของท่านตั้งอยู่ที่ไหน.  วานรกล่าวว่า  ท่านไม่เห็นเนื้อหัวใจนั่น  ซึ่ง

ห้อยอยู่ที่ต้นมะเดื่อหรือ.  จระเข้กล่าวว่า  เห็นแต่ท่านจักให้เราหรือ.

วานรกล่าวว่า  เออจักให้.  เพราะความโง่เขลา  จระเข้จึงพาวานรนั้น

ไปยังโคนต้นมะเดื่อ  ที่ริมแม่น้ำ.  พระโพธิสัตว์จึงโดดจากหลังของ

จระเข้นั้นไปนั่งบนต้นมะเดื่อ  แล้วได้กล่าวคาถาเหล่านี้ว่า:-

              ดูก่อนจระเข้เราสามารถยกตนขึ้นจาก

       น้ำสู่บกได้  บัดนี้  เราจักไม่ตกอยู่ในอำนาจ

       ของท่านอีกต่อไป.

              เราไม่ต้องการด้วยผลมะม่วง  ผลหว้า

       และผลขนุนทั้งหลายที่จะต้องข้ามแม่น้ำไป

       บริโภค  ผลมะเดื่อของเราดีกว่า.

              ผู้ใดไม่รู้เท่าทันเหตุการณ์อันเกิดขึ้น

       โดยฉับพลัน  ผู้นั้นจะต้องตกอยู่ในอำนาจ

       ของศัตรู  และต้องเดือดร้อนในภายหลัง.

              ส่วนผู้ใดรู้เท่าทันเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น

       โดยฉับพลัน  ผู้นั้นย่อมพ้นจากวงล้อมของ

       ศัตรูและไม่ต้องเดือดร้อนภายหลัง.

       บรรดาบทเหล่านั้น  บทว่า  อสกฺขึ  วต  ความว่า  ได้เป็น

ผู้สามารถหนอ.  บทว่า  อุฏฺ€าตุํ  ได้แก่  เพื่อยกขึ้น.  วานรเรียกจระเข้

ว่า  วาริชะ.  บทว่า  ยานิ  ปารํ  สมุทฺทสฺส  ความว่า  วานรเมื่อจะ

เรียกแม่น้ำคงคาโดยชื่อว่าสมุทร  จึงกล่าวว่า  พอกันทีด้วยผลไม้ที่เรา

จะต้องข้ามฝั่งแม่น้ำไปกิน.  บทว่า  ปจฺฉา จ  อนุตปฺปติ  ความว่า

บุคคลผู้ไม่รู้เรื่องที่เกิดขึ้นโดยฉับพลัน  ย่อมไปสู่อำนาจของศัตรู  และ

ย่อมต้องเดือดร้อนภายหลัง.

       วานรนั้นกล่าวเหตุอันเป็นเครื่องให้สำเร็จกิจฝ่ายโลกิยะ  ด้วย

คาถาทั้ง    ด้วยประการฉะนี้แล้ว  ก็ไปสู่ชัฏป่าทีเดียว.

       พระศาสดาครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว  จึงทรง

ประชุมชาดกว่า  จระเข้ในครั้งนั้น  ได้เป็นพระเทวทัต  ส่วนวานร

ในครั้งนั้น  ได้เป็นเราตถาคต  ฉะนี้แล.

                     จบ  อรรถกถาวานรชาดกที่