อรรถกถาพาเวรุรัฐชาดกที่ 

       พระศาสดาเมื่อประทับอยู่    พระวิหารเชตวัน  ทรงปรารภ

เถียรถีย์ทั้งหลายผู้เสื่อมลาภสักการะ  จึงตรัสพระธรรมเทศนานี้  มี

คำเริ่มต้นว่า  อทสฺสเนน  โมรสฺส  ดังนี้.

       ได้ยินว่า  พวกเดียรถีย์ทั้งหลาย  เมื่อพระพุทธเจ้ายังไม่เสด็จ

อุบัติ  ได้เป็นผู้มีลาภ  แต่เมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จอุบัติขึ้นแล้ว  เป็นผู้

เสื่อมลาภสักการะ  เป็นเสมือนหิ่งห้อยในเวลาพระอาทิตย์ขึ้น.  ภิกษุ

ทั้งหลายปรารถเรื่องราวนั้นของเดียรถีย์เหล่านั้น  จึงประชุมสนทนา

กันในโรงธรรมสภา.  พระศาสดาเสด็จมาแล้วตรัสถามว่า  ภิกษุทั้งหลาย

บัดนี้  พวกเธอนั่งสนทนากันด้วยเรื่องอะไร  เมื่อภิกษุทั้งหลายกราบ-

ทูลว่า  เรื่องนี้  พระเจ้าข้า.  จึงตรัสว่า  มิใช่บัดนี้เท่านั้นน่ะภิกษุทั้งหลาย

แม้ในกาลก่อน  พวกผู้ที่ไร้คุณได้เป็นผู้ถึงความเลิศด้วยลาภและยศ

ตราบเท่าที่ผู้มีคุณยังไม่อุบัติขึ้น  เมื่อผู้มีคุณทั้งหลายอุบัติขึ้นแล้ว  พวก

ผู้ที่ไร้คุณก็เป็นผู้เสื่อมลาภสักการะไป  แล้วทรงนำเอาเรื่องในอดีตมา

สาธก  ดังต่อไปนี้  :-

       ในอดีตกาล  เมื่อพระเจ้าพรหมทัตครองราชสมบัติอยู่ในนคร-

พาราณสี  พระโพธิสัตว์ได้บังเกิดในกำเนิดนกยูง  อาศัยความเจริญ

เติบโต  ถึงความเป็นผู้เลิศด้วยความงดงาม  ท่องเที่ยวไปในป่า.  ใน

กาลนั้น  พ่อค้าพวกหนึ่งพากาสำหรับบอกทิศไปยังพาเวรุรัฐโดยทาง

เรือ.  ได้ยินว่าในกาลนั้นเท่านั้น  ขึ้นชื่อว่านกทั้งหลายย่อมไม่มีใน

พาเวรุรัฐ.  พวกชาวแว่นแคว้นที่ผ่านไป ๆ  เห็นกานั้นซึ่งจับอยู่ในกรง

จึงสรรเสริญกานั้นนั่นแหละว่า  จงดูผิวพรรณนกตัวนี้  จะงอยปากอยู่

สุดปลายคอ  นัยน์ตาเหมือนก้อนแก้วมณี  แล้วกล่าวกะพ่อค้าเหล่านั้น

ว่า  ข้าแต่เจ้านายทั้งหลาย  ท่านจงให้นกตัวนี้แก่พวกเรา  แม้พวกเรา

ก็มีความต้องการนกตัวนี้  ท่านทั้งหลายจักได้นกตัวอื่นในแว่นแคว้น

ของตน.  พวกพ่อค้ากล่าวว่า  ถ้าอย่างนั้นท่านทั้งหลายจงถือเอาด้วย

ราคา.  ชาวพาเวรุรัฐกล่าวว่า  โปรดให้แก่พวกเราด้วยราคาห้ากหาปณะ

พวกพ่อค้าตอบว่า  ให้ไม่ได้  เมื่อชาวพาเวรุรัฐประมูลราคาขึ้น  โดย

ลำดับกล่าวว่า  โปรดให้ด้วยราคาหนึ่งร้อย.  พวกพ่อค้าจึงพูดว่า  นกนี้

มีอุปการะแก่พวกเราเป็นอันมาก  แต่จะขอเป็นไมตรีกับพวกท่าน  จึง

ได้ถือเอาร้อยกหาปณะแล้วให้นกไป.  ชาวพาเวรุรัฐเหล่านั้นนำนกนั้น

ไปใส่ไว้ในกรงทอง  ปรนนิบัติด้วยปลา  เนื้อ  และผลไม้น้อยใหญ่มี

ประการต่าง ๆ.  ในที่ที่นกอื่น ๆ  ไม่มี  กาผู้ประกอบด้วยอสัทธรรม ๑๐

ประการ  ได้เป็นผู้ถึงความเลิศด้วยลาภสักการะ.  อีกครั้งหนึ่ง  พ่อค้า

เหล่านั้นจับพระยานกยูงได้ตัวหนึ่ง  ให้สำเนียกโดยร้องด้วยเสียงดีด

นิ้วมือ  และฟ้อนด้วยเสียงปรบมือ  แล้วได้ไปยังพาเวรุรัฐ.  พระยา

นกยูงนั้น  เมื่อมหาชนประชุมกัน  จึงยืนที่แอกเรือกางปีกออกแล้ว

เปล่งเสียงอันไพเราะฟ้อนอยู่  คนทั้งหลายเห็นดังนั้นเกิดความโสมนัส

พากันกล่าวว่า  ข้าแต่เจ้านาย  ท่านทั้งหลายจงให้พระยานกนี้ที่ถึง

ความเลิศด้วยความงาม  ซึ่งฝึกมาดีแล้ว  แก่พวกข้าพเจ้าเถิด.  พวก

พ่อค้าตอบว่า  ครั้งแรก  พวกเรานำกามาท่านทั้งหลายก็เอากานั้นเสีย

คราวนี้  เรานำพระยานกยูงตัวหนึ่งมา  ก็ขอนกยูงตัวนี้อีก  ชื่อว่านก

ในแว่นแคว้นของท่านทั้งหลาย  พวกเราไม่อาจจับเอามา.  ชาวพา

เวรุรัฐกล่าวว่า  เอาเถิดเจ้านาย  ท่านทั้งหลายจักได้นกแม้ตัวอื่นในแคว้น

ของตน  จงให้นกยูงตัวนี้แก่พวกเราเถิด  แล้วประมูลราคาซื้อเอาไว้

ด้วยทรัพย์หนึ่งพัน.  ทีนั้น  ก็จัดให้นกยูงนั้นอยู่ในกรงอันวิจิตรตระ-

การ  ด้วยรัตนะ    ปรนนิบัติด้วยปลา  เนื้อ  ผลไม้น้อยใหญ่  และ

ข้าวตอกเคล้าน้ำผึ้งกับน้ำดื่มเจือด้วยน้ำตาลกรวดเป็นต้น  พระยานก-

ยูงถึงความเลิศด้วยลาภและเลิศด้วยยศ.  จำเดิมแต่กาลที่พระยานกยูง

นั้นมาแล้ว  ลาภและสักการะของกาก็เสื่อมถอยไป.  ใคร ๆ  ไม่ปรารถนา

แม้จะดูมัน.  กาเมื่อไม่ได้ขาทนียโภชนียาหาร  จึงร้อง  กา   กา  บิน

ไปลงที่พื้นกองหยากเยื่อ.

       พระศาสดาครั้นทรงสืบต่อเรื่องทั้งสองเรื่องแล้ว  ทรงเป็นผู้

ตรัสรู้ยิ่งเอง  ได้ตรัสพระคาถาเหล่านี้ว่า  :-

              เพราะยังไม่เห็นนกยูงซึ่งเป็นนกมีหงอน

       มีเสียงไพเราะ  ชนทั้งหลายในพาเวรุรัฐนั้น

       จึงพากันบูชากา  ด้วยเนื้อและผลไม้.

       แต่เมื่อใด  นกยูงผู้สมบูรณ์ไปด้วยเสียง

       มายังพาเวรุรัฐ  เมื่อนั้น  ลาภและสักการะ

       ของกาก็เสื่อมไป. 

              พระพุทธเจ้าผู้เป็นพระธรรมราชา  ผู้ส่อง

       แสงสว่างไสว  ยังไม่เสด็จอุบัติขึ้น  เพียงใด

       ชนทั้งหลายก็พากันบูชาสมณพราหมณ์  เหล่า

       อื่นอยู่เป็นอันมาก  เพียงนั้น.

              แต่เมื่อใด  พระพุทธเจ้าผู้มีพระสุรเสียง

       อันไพเราะ  ได้ทรงแสดงธรรมแล้ว  เมื่อนั้น

       ลาภและสักการะของพวกเดียรถีย์ก็เสื่อมไป.

       บรรดาบทเหล่านั้น  บทว่า  สิขิโน  ได้แก่  ผู้ประกอบด้วย

หงอน.  บทว่า  มญฺชุภาณิโน  แปลว่า  ผู้มีเสียงเพราะ.  บทว่า

อปูเชสุํ  แปลว่า  ได้บูชาแล้ว.  บทว่า  ผเลน    ได้แก่  ผลไม้

น้อยใหญ่มีประการต่าง ๆ.  บทว่า  พาเวรุมาคโต  แปลว่า  มายัง

พาเวรุรัฐ.  บาลีเป็น  ปาเวรุํ  ดังนี้ก็มี.  บทว่า  อหายถ  ได้แก่

เสื่อมไปแล้ว.  บทว่า  ธมฺมราชา  ความว่า  ที่ชื่อว่าธรรมราชา  เพราะ

ยังบริษัทให้ยินดีด้วยโลกุตตรธรรม  ๙.  บทว่า  ปภงฺกโร  ความว่า

ชื่อว่าผู้ส่องแสงสว่างไสว  เพราะส่องแสงสว่างไปในสัตวโลก  โอกาส

โลก  และสังขารโลก.  บทว่า  สรสมฺปนฺโน  ได้แก่  ผู้ประกอบด้วย

เสียงประดุจเสียงพรหม.  บทว่า  ธมฺมํ  อเทสยิ  ได้แก่  ทรงประกาศ

สัจจธรรมทั้ง  ๔.

       พระศาสดาครั้นตรัสพระคาถา    คาถานี้ด้วยประการดังนี้แล้ว

จึงทรงประชุมชาดกว่า  กาในครั้งนั้น  ได้เป็นนิครนถ์นาฏบุตรในบัดนี้

ส่วนพระยานกยูงในครั้งนั้น  ได้เป็นเราตถาคต  ฉะนี้แล.

                           จบ  อรรถกถาพาเวรุรัฐชาดกที่