พระศาสดาเมื่อประทับอยู่    พระเวฬุวันวิหาร  ทรงปรารภ

พระเจ้าอชาตศัตรู  จึงตรัสพระธรรมเทศนานี้  มีคำเริ่มต้นว่า  วิทิตํ

ถุสํ  ดังนี้

       ได้ยินว่า  เมื่อพระเจ้าอชาตศัตรูนั้นอยู่ในพระครรภ์ของพระ-

มารดานั้น  พระมารดาของเธอผู้เป็นพระราชธิดาของพระเจ้าโกศล

เกิดแพ้พระครรภ์  อยากดื่มพระโลหิตในพระชาณุข้างขวาของพระ-

เจ้าพิมพิสาร  เป็นอาการแรงกล้า.  พระนางถูกนางสนมผู้รับใช้ทูลถาม

จึงบอกความนั้นแก่นางสนมเหล่านั้น.  ฝ่ายพระราชาได้ทรงสดับแล้ว

รับสั่งให้เรียกโหรผู้ทำนายนิมิตมาแล้วตรัสถามว่า  เขาว่าพระเทวีทรง

เกิดการแพ้พระครรภ์เห็นปานนี้  ความสำเร็จของพระนางจะเป็น

อย่างไร?  พวกโหรผู้ทำนายนิมิตกราบทูลว่า  สัตว์ผู้อุบัติในพระครรภ์

ของพระเทวี  จักปลงพระชนม์พระองค์แล้วยึดราชสมบัติ.  พระราชา

ตรัสว่า  บุตรของเราจักฆ่าเราแล้วยึดราชสมบัติ  ในข้อนั้น  จะมีโทษ

อะไร  แล้วทรงเฉือนพระชานุข้างขวาด้วยพระแสงมีด  เอาจานทอง

รองรับพระโลหิตแล้วประทานให้พระเทวีดื่ม  พระเทวีนั้นทรงดำริว่า

ถ้าโอรสผู้เกิดในครรภ์ของเราจักปลงพระชนม์พระบิดาไซร้  เราจะ

ประโยชน์อะไรด้วยพระโอรสนั้น  พระนางจึงให้รีดพระครรภ์  เพื่อ

ให้ครรภ์ตกไป.  พระราชาทรงทราบจึงรับสั่งให้เรียกพระเทวีนั้นมา

แล้วตรัสว่า  นางผู้เจริญ  นัยว่าบุตรของเราจักฆ่าเราแล้วยึดราชสมบัติ

ก็เราจะไม่แก่ไม่ตายก็หามิได้  เธอจงให้เราเห็นหน้าลูกเถิด  จำเดิมแต่

นี้ไป  เธออย่าได้กระทำกรรมเห็นปานนี้.  จำเดิมแต่นั้น  พระเทวีเสด็จ

ไปพระราชอุทยานแล้วให้รีดครรภ์.  พระราชาได้ทรงทราบ  จึงทรง

ห้ามเสด็จไปพระราชอุทยาน  จำเดิมแต่กาลนั้น.  พระเทวีทรงมีพระ-

ครรภ์ครบบริบูรณ์แล้วประสูติพระโอรส.  ก็ในวันขนานนามพระโอรส

นั้น  เขาขนานพระนามว่า  อชาตศัตรูกุมาร  เพราะเป็นศัตรูต่อพระ-

บิดาตั้งแต่ยังไม่ประสูติ.เมื่ออชาตศัตรูกุมารนั้นทรงเจริญเติบโตอยู่ด้วย

กุมารบริหาร  วันหนึ่ง  พระศาสดาแวดล้อมด้วยภิกษ ุ  ๕๐๐  เสด็จไป

นิเวศน์ของพระราชาแล้วประทับนั่งอยู่.  พระราชาทรงอังคาสภิกษุ

สงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประธาน  ด้วยของเคี้ยวและของฉันอันประณีต

ทรงนมัสการแล้วประทับนั่งสดับธรรมอยู่.  ขณะนั้น  พระพี่เลี้ยงแต่ง

องค์พระกุมารแล้วได้ถวายพระราชา.  พระราชาทรงรับพระโอรสด้วย

พระสิเนหาเป็นกำลัง  ให้นั่งบนพระเพลาทรงปลาบปลื้มอยู่เฉพาะพระ-

โอรส  ด้วยความรักในพระโอรส  มิได้ทรงสดับพระธรรม.  พระศาสดา

ทรงทราบความประมาทของพระราชา  จึงตรัสว่า  มหาบพิตร  พระ-

ราชาทั้งหลายในครั้งก่อน  ทรงระแวงพระโอรสทั้งหลาย  ถึงกับให้

กระทำไว้ในที่อันมิดชิดให้ขัง  แล้วตรัสสั่งไว้ว่า  เมื่อเราล่วงไป

แล้ว  ท่านทั้งหลายจงนำออกมาให้ดำรงอยู่ในราชสมบัติ  อันพระราชา

ทูลอาราธนาแล้ว  จึงทรงนำเอาเรื่องในอดีตมาสาธก  ดังต่อไปนี้:-

       ในอดีตกาล  เมื่อพระเจ้าพรหมทัตครองราชสมบัติในนคร

พาราณสี  พระโพธิสัตว์เป็นอาจารย์ทิศาปาโมกข์ในเมืองตักกศิลาสอน

ศิลปะ  พวกราชกุมารและพราหมณกุมารเป็นจำนวนมาก.  พระโอรส

ของพระราชาในนครพาราณสี  เสด็จไปยังสำนักของพระโพธิสัตว์นั้น

ในเวลาพระองค์มีพระชนมายุ  ๑๖  พรรษาเรียนไตรเพท  และศิลปะ

ทุกอย่าง  เป็นผู้มีศิลปะครบบริบูรณ์แล้ว  จึงตรัสลาอาจารย์.  อาจารย์

จึงตรวจดูพระราชกุมารนั้น  ด้วยวิชาดูอวัยวะ  แล้วคิดว่า  อันตราย

เพราะอาศัยพระโอรสจะปรากฎมีแก่พระราชกุมารนี้  เราจะปัดเป่าอัน-

ตรายนั้นไปเสียด้วยอานุภาพของตน  จึงได้ผูกคาถาขึ้น    คาถาถวาย

แก่พระราชกุมาร  ก็แหละเมื่อให้คาถาอย่างนี้แล้ว  จึงกำชับพระราช-

กุมารนั้นว่า  ดูก่อนพ่อ  เจ้าดำรงอยู่ในราชสมบัติแล้ว  ในเวลาโอรส

ของเจ้ามีชนมายุ  ๑๖  พรรษา  เมื่อจะเสวยพระกระยาหาร  พึงกล่าว

คาถาที่หนึ่ง  ในเวลามีการเข้าเฝ้าเป็นการใหญ่  พึงกล่าวคาถาที่    เมื่อ

เสด็จขึ้นปราสาทประทับยืนที่หัวบันได  พึงกล่าวคาถาที่     เมื่อเสด็จ

เข้าห้องบรรทมประทับยืนที่ธรณีประตู  พึงกล่าวคาถาที่    พระราช

กุมารนั้นรับคำ  จึงไหว้อาจารย์แล้วไป  ได้ดำรงอยู่ในตำแหน่งอุปราช

เมื่อพระบิดาล่วงไปจึงดำรงอยู่ในราชสมบัติ.  พระโอรสของท้าวเธอ

ในเวลามีพระชนม์ได้  ๑๖  พรรษา  ได้เห็นสิริสมบัติของพระราชาผู้

เสด็จออกเพื่อประโยชน์แก่กิจมีกีฬาในพระราชอุทยานเป็นต้น  มี

ความประสงค์จะปลงพระชนม์พระบิดาแล้ว  ยึดครองราชสมบัติจึง

ตรัสแก่พวกผู้ปฏิบัติบำรุงของพระองค์.  พวกผู้ปฏิบัติบำรุงเหล่านั้น

พากันทูลว่า  ดีแล้ว  ขอเดชะ  ประโยชน์อะไรด้วยความเป็นใหญ่ที่ได้

ในตอนแก่  ควรจะปลงพระชนม์พระราชาเสียด้วยอุบายอย่างใดอย่าง

หนึ่งแล้วยึดครองราชสมบัติ.  พระกุมารคิดว่า  เราจะให้พระราชบิดา

เสวยยาพิษสวรรคต  เมื่อจะเสวยพระกระยาหารเย็นกับพระราชบิดา

จึงถือยาพิษประทับนั่งอยู่   เมื่อพระกระยาหารในภาชนะกระยาหารยัง

ไม่มีใครถูกต้องเลย  พระราชาได้ตรัสคาถาที่    ว่า  :-

              แกลบปรากฎโดยความเป็นแกลบแก่

       หนูทั้งหลาย  และข้าวสารก็ปรากฎโดยความ

       เป็นข้าวสารแก่พวกมัน   แม้ในที่มืด  พวก

       มันก็เว้นแกลบเสียกินแต่ข้าวสาร.

       บรรดาบทเหล่านั้น  บทว่า  วิทิตํ  ความว่า  ในที่มืดแม้มีฝนดำ

แกลบก็แจ่มแจ้งปรากฎโดยความเป็นแกลบ  ข้าวสารก็แจ่มแจ้งปรากฎ

โดยความเป็นข้าวสาร  แก่หนูทั้งหลาย.  แต่ในที่นี้ท่านกล่าวโดยเป็น

ลิงควิปลาส  (ลิงค์เคลื่อนคลาดตามหลักไวยากรณ์)  ว่า   ถุสํ  ตณฺฑุลํ

บทว่า  ขาทเร  ความว่า  หนูทั้งหลายเว้นแกลบกินแต่ข้าวสารเท่านั้น.

ท่านกล่าวอธิบายต่อไปว่า  ลำดับนั้น  พระกุมารคิดว่า  แม้ในที่มืด

แกลบก็ปรากฎโดยความเป็นแกลบ  ข้าวสารปรากฎโดยความเป็นข้าว

สาร  แก่หนูทั้งหลาย  พวกมันเว้นแกลบกินแต่ข้าวสาร  ฉันใด  ความ

ที่เรานั่งกุมยาพิษร้ายก็ปรากฎ  ฉันนั้นเหมือนกัน.

       พระกุมารดำริว่า  พระบิดารู้เราแล้ว  จึงทรงกลัว  ไม่อาจใส่

ยาพิษในภาชนะพระกระยาหาร  ลุกขึ้นถวายบังคมพระราชาแล้วเสด็จ

ไป.  พระกุมารจึงไปบอกเรื่องนั้นแก่พวกผู้ปฏิบัติบำรุงของพระองค์

แล้วตรัสถามว่า  วันนี้  พระราชบิดารู้เราเสียก่อน  บัดนี้  พวกเรา

จักปลงพระชนม์อย่างไร  ?  ตั้งแต่นั้น  พวกผู้ปฏิบัติบำรุงเหล่านั้นจึง

หลบซ่อนอยู่ในพระราชอุทยานกระซิบหารือกัน  ตกลงว่า  มีอุบาย

อย่างหนึ่ง  จึงกำหนดลงว่า  ในเวลาเสด็จไปสู่ที่เฝ้าครั้งใหญ่ๆ  ผูกสอด

พระแสงขรรค์ประสงค์ประทับยืนในระหว่างพวกอำมาตย์  พอรู้ว่า

พระราชาเผลอ  จึงเอาพระแสงขรรค์ประหารให้สิ้นพระชนม์  ย่อม

ควร.  พระกุมารรับว่าได้  แล้วผูกสอดพระแสงขรรค์แล้วเสด็จไป

คอยมองหาโอกาสที่จะประหารพระราชาอยู่รอบด้าน.  ขณะนั้น  พระ-

ราชาได้ตรัสคาถาที่    ว่า  :-

              การปรึกษากันในป่าก็ดี  การพูดกระซิบ

       กันในบ้านก็ดี  และการคิดหาโอกาสฆ่าเรา

       ในบัดนี้ก็ดี  เรารู้หมดแล้ว.

       บรรดาบทเหล่านั้น  บทว่า  อรญฺสฺมึ  ได้แก่  ในพระราช-

อุทยาน.  บทว่า  นิกณฺณิกา  ได้แก่  ปรึกษากันใกล้ๆ   หู.  บทว่า

ฺเจตํ  อิติ  จินฺตี จ  ได้แ  ก่  การแสวงหาโอกาสฆ่าเราในบัดนี้นั้น

ก็ดี.  ท่านกล่าวอธิบายไว้ว่า  ดูก่อนพ่อกุมาร  การที่ท่านกระซิบกระ-

ซาบปรึกษากันทั้งในอุทยานและในบ้าน  และเหตุแห่งความคิดว่าเพื่อ

ต้องการฆ่าเราในบัดนี้นั้นก็ดี  เรารู้หมดแล้ว.

       พระกุมารคิดว่า  พระบิดารู้ว่าเราเป็นศัตรู  จึงหนีไปบอกแก่

พวกปฏิบัติบำรุงๆ  ทำเวลาให้ผ่านพ้น  ๗-๘  วัน  จึงทูลว่า   ข้าแต่

พระกุมาร  พระบิดาย่อมไม่รู้ว่าพระองค์เป็นศัตรู  พระองค์ได้สำคัญ

ไปอย่างนั้น  เพราะการคิดคาดคะเนเอา  พระองค์จงปลงพระชนม์

พระบิดานั้นเถิด.  วันหนึ่ง  พระกุมารนั้นถือพระแสงขรรค์แล้วได้ยืน

อยู่ที่ประตูห้อง  ใกล้หัวบันได.  ครั้งนั้น  พระราชาประทับยืนอยู่ที่

หัวบันได  ตรัสคาถาที่๓  :-

              ได้ยินว่า  ลิงตัวที่เป็นพ่อเอาฟันกัดผล

       คือภาวะแห่งบุรุษของลูกที่เกิดตามสภาวะ

       เสียแต่ยังเยาว์ทีเดียว.

       บรรดาบทเหล่านั้น  บทว่า  ธมฺเมน  ได้แก่ ตามสภาวะ.  บทว่า

ปุตฺตสฺส  ปิตา  ได้แก่  ลิงตัวที่เป็นพ่อของลูก  คือลูกลิง.  ท่าน

กล่าวคำอธิบายนี้ไว้ว่า  ลิงที่เกิดในป่ารังเกียจการบริหารฝูงของตน

เอาฟันกัดผลของลูกลิงเฉพาะตัวที่เป็นหนุ่ม  ทำปุริสภาวะให้พินาศไป

ฉันใดเราเพิกถอนผลเป็นต้นแม้ของท่าน   ผู้ประสงค์ราชสมบัติเกินไป

จักทำปุริสภาวะให้พินาศไปฉันนั้น.

       พระกุมารคิดว่า  พระบิดาประสงค์จะให้จับเรา  จึงตกพระทัย

กลัวเสด็จหนีไปบอกแก่พวกผู้ปฏิบัติบำรุงว่า  พระบิดาทรงคุกคามเรา.

คนเหล่านั้น  เมื่อล่วงเวลาไปประมาณกึ่งเดือน  จึงทูลว่า  ข้าแต่

พระกุมาร  ถ้าพระราชาพึงทรงทราบเหตุการณ์นั้น  จะไม่พึงอดกลั้น

อยู่ตลอดกาลมีประมาณเท่านี้  พระองค์ตรัสโดยการคิดคาดคะเน

เอา  พระองค์จงปลงพระชนม์พระราชานั้นเสียเถิด.  วันหนึ่งพระกุมาร

นั้นถือพระขรรค์เสด็จเข้าไปยังพระที่สิริไสยาส  ในปราสาทชั้นบน

แล้วนอนอยู่ในใต้บังลังก์  ด้วยหวังใจว่า  จักประหารพระราชบิดา

เมื่อเสด็จมาถึงทันที.  พระราชาเสวยพระกระยาหารเย็นแล้วส่งชน

บริวารกลับไป    ทรงดำริว่าจักบรรทมจึงเสด็จเข้าห้องบรรทมอันประ-

กอบด้วยสิริ  ประทับยืนที่ธรณีประตูแล้วตรัสคาถาที่ ๔  ว่า:-

              การที่เจ้าดิ้นรนอยู่เหมือนแพะตาบอด

       ในไร่ผักกาดก็ดี  นอนอยู่ภายใต้นี้ก็ดี  เรารู้หมดสิ้นแล้ว.

       บรรดาบทเหล่านั้น  บทว่า  ปริสปฺปสิ  ได้แก่ ได้อยู่ทางโน้น

ทางนี้  เพราะกลัว.  บทว่า  สาสเป  แปลว่า  ในไร่ผักกาด.  บทว่า

โยปายํ  ตัดเป็น  โยปิ  อยํ.  ท่านกล่าวคำอธิบายนี้ไว้ว่า  เจ้าดิ้นรน

ไปทางโน้นทางนี้  เพราะความกลัว  เหมือนแพะตาบอดที่เข้าไปยังดง

ผักกาด  คือ  ครั้งที่ ๑   เจ้าถือเอายาพิษมา  ครั้งที่ ๒   ประสงค์จะประหาร

ด้วยพระขรรค์จึงมา  ครั้งที่    ได้ถือพระขรรค์มายืนที่หัวบันได  และ

บัดนี้  เจ้าคิดว่าจักประหารพระราชานั้น  จึงมานอนอยู่ใต้ที่นอน

ทั้งหมดนั้น  เรารู้อยู่บัดนี้จะไม่ละเจ้าไว้  จักจับเจ้าลงราชอาญา  พระ-

ราชานั้นถึงจะไม่ทรงทราบอย่างนั้น  แต่คาถานั้น ๆ  ก็ส่องความนั้นๆ.

       พระกุมารคิดว่า  พระราชบิดาทรงทราบเราแล้ว  บัดนี้  จัก

ทรงทำเราให้พินาศ  จึงตกพระทัยกลัว  จึงออกมาจากใต้พระที่บรรทม

ทิ้งพระขรรค์    ที่ใกล้พระบาทพระราชานั่นเอง  หมอบลงที่ใกล้

บาทมูลกราบทูลขอโทษว่า  ขอเดชะๆ  พระราชบิดาโปรดงดโทษแก่

หม่อมฉันเถิด.  พระราชาทรงขู่พระกุมารนั้นว่า  เจ้าคิดว่า  ใครๆ

จะไม่รู้การกระทำของเรา  แล้วรับสั่งให้จองจำด้วยเครื่องจองจำคือโซ่

ตรวน  แล้วให้ส่งเข้าเรือนจำตั้งการอารักขาไว้.  ในกาลนั้น  พระราชา

ทรงสำนึกได้ถึงคุณงามความดีของพระโพธิสัตว์.  ต่อมา  พระราชานั้น

เสด็จสวรรคต  พวกอำมาตย์ราชเสวกกระทำการถวายพระเพลิงพระศพ

ของท้าวเธอแล้ว  จึงนำพระกุมารออกจากเรือนจำ  ให้ดำรงอยู่ใน

ราชสมบัติ

       พระศาสดา  ครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว  จึงทรง

ตรัสเหตุนี้ว่า  ดูก่อนมหาบพิตร  พระราชาในครั้งก่อนทรงรังเกียจเหตุ

ที่ควรรังเกียจอย่างนี้  แม้พระองค์จะทรงตรัสอย่างนี้  พระราชาก็มิได้

ทรงกำหนดไม่รู้สึกพระองค์  พระศาสดาทรงประชุมชาดกว่า

อาจารย์ทิศาปาโมกข์ในเมืองตักกศิลาในครั้งนั้น  ได้เป็นเราตถาคต

ฉะนี้แล.

                           จบ  อรรถกถาถุสชาดกที่ ๘