อรรถกถาชัมพุกชาดกที่        

       พระศาสดาเมื่อประทับอยู่    พระเวฬุวันวิหาร  ทรงปรารภ    

เหตุที่พระเทวทัตทำท่าทางอย่างพระสุคตเจ้า  จึงตรัสพระธรรมเทศนา

นี้  มีคำเริ่มต้นว่า  พฺรหา  ปวฑฺฒกาโย  ดังนี้.

       เรื่องปัจจุบันได้ให้พิสดารแล้วในหนหลังแล.  ส่วนในชาดกนี้

มีความย่อดังต่อไปนี้  :-  พระศาสดาตรัสถามว่า  สารีบุตร  พระเทวทัต

เห็นพวกเธอแล้วกระทำอย่างไร  พระเถระจึงกราบทูลว่า  ข้าแต่พระองค์

ผู้เจริญ  พระเทวทัตนั้นเมื่อจะกระทำตามพระองค์  ให้พัดในมือ

ข้าพระองค์แล้วนอน  ที่นั้น  พระโกกาลิกะจึงเอาเข่าประหารพระเทวทัต

นั้นที่อก  พระเทวทัตนั้นกระทำตามพระองค์  ได้เสวยทุกข์เห็นปานนี้.

พระศาสดาทรงสดับดังนั้นจึงตรัสว่า  สารีบุตร  เทวทัตกระทำตาม

กิริยาท่าทางของเรา  จึงเสวยความทุกข์  มิใช่ในบัดนี้เท่านั้น  แม้ใน

กาลก่อน  ก็ได้เสวยมาแล้วเหมือนกัน  อันพระเถระทูลอาราธนาแล้ว

จึงทรงนำเอาเรื่องในอดีตมาสาธก  ดังต่อไปนี้  :-

       ในอดีตกาล  เมื่อพระเจ้าพรหมทัตครองราชสมบัติในนคร

พาราณสี  พระโพธิสัตว์บังเกิดในกำเนิดราชสีห์  อยู่ในถ้ำ    หิมวันต-

ประเทศ  วันหนึ่ง  ฆ่ากระบือแล้วกินเนื้อ  ดื่มน้ำ  แล้วกลับมายังถ้ำ

สุนัขจิ้งจอกตัวหนึ่งพบราชสีห์นั้น  เมื่อไม่อาจหลบหนี  จึงนอนหมอบ

เมื่อราชสีห์กล่าวว่า  อะไรกัน  สุนัขจิ้งจอก  มันจึงกล่าวว่า  ท่านผู้เจริญ

ข้าพเจ้าจักอุปัฏฐากท่าน.  ราชสีห์กล่าวว่า  ถ้าอย่างนั้น  เจ้าจงมา  แล้ว

นำสุนัขจิ้งจอกนั้นไปยังสถานที่อยู่ของตน  แล้วนำเนื้อมาเลี้ยงดูมัน

ทุกวันๆ  เมื่อสุนัขจิ้งจอกนั้นมีร่างกายอ้วนพีเพราะกินเดนของราชสีห์

วันหนึ่ง  เกิดมานะขึ้นมาก  มันจึงเข้าไปหาราชสีห์แล้วกล่าวว่า  ข้าแต่

นาย  ข้าพเจ้าเป็นกังวลสำหรับท่านมาตลอดกาลนาน  ท่านนำเนื้อมา

เลี้ยงข้าพเจ้าเป็นนิจ  วันนี้  ท่านจงอยู่ที่นี้แหละ  ข้าพเจ้าจักฆ่าช้าง

เชือกหนึ่งกินเนื้อมันแล้วจักนำมาเผื่อท่านด้วย.  ราชสีห์กล่าวว่า  สุนัข

จิ้งจอกเจ้าอย่าพอใจเรื่องฆ่าช้างนี้เลย  เพราะเจ้ามิได้เกิดในกำเนิด

สัตว์ที่ฆ่าช้างกินเนื้อ  เราจักฆ่าช้างให้แก่เจ้า  ธรรมดาช้างทั้งหลาย

ตัวใหญ่ร่างกายสูง  เจ้าอย่าสวนหน้าจับ  เจ้าจงทำตามคำของเรา

แล้วกล่าวคาถาที่    ว่า  :-

              ดูก่อนสุนัขจิ้งจอก  ช้างนั้นตัวใหญ่

       ร่างกายสูง  งาก็ยาว  ตัวเจ้าไม่ได้เกิดในตระกูล

       สัตว์ที่จะจับช้างได้.

       บรรดาบทเหล่านั้น  บทว่า  พฺรหา  แปลว่า  ใหญ่.  บทว่า

ปวฑฺฒกาโย  ได้แก่  มีร่างกายสูงตระหง่าน.  บทว่า  ทีฆทาโฒ

ความว่า  ช้างนั้นมีงายาว  มันจะเอางาประหารผู้เช่นเจ้าให้ถึงความสิ้น

ชีวิต.  บทว่า  ยตฺถ  ความว่า  เจ้ามิได้เกิดในตระกูลราชสีห์ที่จะจับ

ช้างซับมันตัวประเสริฐ.  อธิบายว่า  ก็เจ้าเกิดในตระกูลสุนัขจิ้งจอก.

       สุนัขจิ้งจอก  เมื่อราชสีห์ห้ามอยู่  ก็ขืนออกจากถ้ำ  บันลืออย่าง

สุนัขจิ้งจอก    ครั้งว่า  ฮก ๆ ๆ  แล้วยืนบนยอดเขา  แลดูที่เชิงเขาเห็น

ช้างดำเชือกหนึ่งกำลังเดินไปตามเชิงเขา  จึงโดดไปหมายว่าจักตกลง

บนกระพองของช้างนั้น  แต่พลาดตกไปที่ใกล้เท้า.  ช้างยกเท้าหน้า

เหยียบลงบนกระหม่อมของสุนัขจิ้งจอกนั้น  ศีรษะแตกแหลกละเอียด

เป็นจุรณวิจุรณไป.  สุนัขจิ้งจอกนั้นนอนทอดถอนใจอยู่    ที่นั้นเอง.

ช้างส่งเสียงโกญจนาทแปร๋นแปร๋นหลีกไป.  พระโพธิสัตว์ไปยืนอยู่บน

ยอดเขา  เห็นสุนัขจิ้งจอกนั้นถึงความพินาศ  จึงกล่าวว่า  สุนัขจิ้งจอกได้

รับความฉิบหาย  เพราะอาศัยมานะของตน  แล้วกล่าวคาถา    คาถาว่า  :-

              ผู้ใดมิใช่ราชสีห์  ยกตนเพราะสำคัญว่า

       เป็นราชสีห์ผู้นั้นย่อมเป็นเหมือนสุนัขจิ้งจอก

       ถูกช้างเหยียบนอนหายใจแขม่วอยู่บนแผ่น

       ดิน.

              ผู้ใดไม่รู้จักกำลังกาย  กำลังความคิด

       และชาติสกุลของผู้มียศ  เป็นคนชั้นสูง  มี

       ข้อลำล่ำสัน  มีกำลังมาก  ผู้นั้นย่อมเป็นเหมือน

       สุนัขจิ้งจอก  ถูกช้างเหยียบนอนตายอยู่นี้.

              ส่วนผู้ใดใคร่ครวญก่อนแล้ว  จึงทำการ

       งาน  รู้จักกำลังกายและกำลังความคิดของตน

       ด้วยการเล่าเรียนด้วยความคิด  และด้วยคำ

       สุภาษิต  ผู้นั้นย่อมมีชัยอย่างไพบูลย์.

       บรรดาบทเหล่านั้น  บทว่า  วิกุพฺพติ  ได้แก่  ย่อมยังตนให้

แปรเปลี่ยนไป.  บทว่า  กุฏฺฐุว  แปลว่า  เหมือนสุนัขจิ้งจอก.  บทว่า

อนุตฺถุนํ  แปลว่า  ทอดถอนใจอยู่.  ท่านกล่าวคำอธิบาย นี้ไว้ว่า  สุนัข

จิ้งจอกนี้ได้รับทุกขเวทนาอย่างมหันต์  นอนถอนใจอยู่บนภาคพื้น

ฉันใด  แม้คนอื่นที่ด้วยกำลังทำการทะเลาะกับผู้มีกำลังก็ฉันนั้น  ย่อม

เป็นผู้เห็นปานสุนัขจิ้งจอกนั้นทีเดียว.  บทว่า  ยสสฺสิโน  ได้แก่  ผู้มี

ความเป็นใหญ่.  บทว่า  อุตฺตมปุคฺคลสฺส   ได้แก่  บุคคลผู้สูงสุดด้วย

กำลังกายและกำลังญาณ.  บทว่า  สญฺชาตกฺขนฺธสฺส  ได้แก่  มีข้อ

ลำใหญ่ตั้งอยู่เรียบร้อย.  บทว่า  มหพฺพลสฺส  ได้แก่  ผู้มีเรี่ยวแรงมาก.

บทว่า  ถามพลูปปตฺตึ  ความว่า  ไม่รู้กำลัง  คือเรี่ยวแรง และการ

อุปบัติคือชาติกำเนิดเป็นราชสีห์  ของราชสีห์เห็นปานนี้  ใจความดังนี้

ก็มีว่า  สุนัขจิ้งจอกไม่รู้แรงกาย  กำลังญาณและการอุปบัติเป็นราชสีห์.

บทว่า    เสติ  ความว่า  สุนัขจิ้งจอกนี้นั้นสำคัญแม้ตนว่าเป็นเช่น

ราชสีห์นั้น  จึงถูกช้างฆ่านอนตายอยู่.  บทว่า  ปมาย  ได้แก่  ใคร่ครวญ

คือ  พิจารณา.  บาลีว่า  ปมาณา  ดังนี้ก็มี  อธิบายว่า  ผู้ใดถือประมาณ

ของตนแล้วกระทำโดยประมาณของตน.  บทว่า.  ถามพลํ  ได้แก่  กำลัง

   คือเรี่ยวแรง.  อธิบายว่า  เรี่ยวแรงทางกายและกำลังญาณดังนี้บ้างก็ได้.

บทว่า  ชปฺเปน  ได้แก่  ด้วยการเล่าเรียน  คือการศึกษา  บทว่า  มนฺเตน

ได้แก่  ด้วยการปรึกษากับบัณฑิตทั้งหลายอื่นแล้วจึงกระทำ.  บทว่า 

สุภาสิเตน  ได้แก่  ด้วยคำพูดอันไม่มีโทษ  ประกอบด้วยคุณมีสัจจะ

เป็นต้น.  บทว่า  ปริกฺขวา  ได้แก่  ถึงพร้อมด้วยการกำหนด.  บทว่า

โส  วิปุลํ  ชินาติ  บุคคลใดย่อมเป็นผู้เห็นปานนั้น  คือ  เมื่อจะทำ

การงานอย่างใดอย่างหนึ่ง  รู้เรี่ยวแรงกาย  และกำลังความรู้ของตน

แล้วกำหนดด้วยอำนาจการศึกษาเล่าเรียนและการปรึกษาหารือ  พูดแต่

คำเป็นสุภาษิตจึงกระทำ  บุคคลนั้นย่อมชนะคือไม่เสื่อมประโยชน์อัน

ไพบูลย์และมากมาย.

       พระโพธิสัตว์กล่าวกรรมที่ควรกระทำในโลกนี้ด้วยคาถา    คาถา

เหล่านี้  ด้วยประการฉะนี้แล.

       พระศาสดาครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว  จึงทรง

ประชุมชาดกว่า  สุนัขจิ้งจอกในครั้งนั้น  ได้เป็นเทวทัตในบัดนี้  ส่วน

ราชสีห์ในครั้งนั้น  ได้เป็นเราตถาคต  ฉะนี้แล.

                           จบ  อรรถกถาชัมพุกชาดกที่