อรรถกถาสีลวีมังสชาดกที่  ๑๐

       พระศาสดาเมื่อประทับอยู่    พระวิหารเชตวัน  ทรงปรารภ

พราหมณ์ผู้ทดลองศีล  จึงตรัสพระธรรมเทศนานี้  มีคำเริ่มต้นว่า

สีลํ  กิเรว  กลฺยาณํ  ดังนี้.

       เรื่องปัจจุบันนิทานแม้ทั้งสองเรื่อง  ได้กล่าวไว้แล้วในหนหลัง

ทีเดียว.  ส่วนในชาดกนี้  พระโพธิสัตว์ได้เป็นปุโรหิตของพระเจ้า

พาราณสี  เมื่อพระโพธิสัตว์นั้นจะทดลองศีลของตน  จึงถือเอา

กหาปณะจากแผ่นกระดานสำหรับนับเงินไป    วัน  ราชบุรุษทั้งหลาย

จึงแสดงพระโพธิสัตว์นั้นแก่พระราชาว่าเป็นโจร.  พระโพธิสัตว์นั้น

ยืนอยู่ในสำนักของพระราชา  พรรณนาศีลด้วยคาถาที่    นี้ว่า  :-

              ได้ยินว่า  ศีลแลเป็นความงาม  ศีล

       เป็นเยี่ยมในโลก  ขอพระองค์จงทอดพระ-

       เนตรงูใหญ่มีพิษร้าย  ย่อมไม่เบียดเบียนผู้อื่น

       ด้วยมารู้สึกตัวว่า  เป็นผู้มีศีล.

       แล้วทูลขอให้พระราชาทรงอนุญาตบรรพชาแล้วไปบรรพชา.

       ครั้งนั้น  เหยี่ยวเฉี่ยวเอาชิ้นเนื้อในร้านขายเนื้อสัตว์แห่งหนึ่ง

แล้วบินไปทางอากาศ  นกทั้งหลายอื่นจึงล้อมจิกตีมันด้วยเล็บเท้าและ

จะงอยปากเป็นต้น.  เหยี่ยวนั้นไม่สามารถอดทนความทุกข์นั้นได้  จึง

ทิ้งชิ้นเนื้อ  นกตัวอื่นก็คาบเอาไป.  แม้นกตัวนั้นเมื่อถูกเบียดเบียน

อย่างนั้นเข้าก็ทิ้งชิ้นเนื้อนั้น.  ทีนั้น  นกตัวอื่น ๆ   ก็คาบเอาไป  รวม

ความว่า  นกใด ๆ  คาบเอาไป  นกทั้งหลายก็ติดตามนกนั้น ๆ ไป.

นกใด  ๆ ทิ้ง  นกนั้น ๆ  ก็มีความสบาย.  พระโพธิสัตว์เห็นดังนั้นจึง

คิดว่า  ขึ้นชื่อว่ากามทั้งหลายนี้เปรียบด้วยชิ้นเนื้อ  เมื่อเป็นอย่างนั้น

คนที่ยึดไว้เหล่านั้นเท่านั้นจึงเป็นทุกข์  เมื่อสละเสียได้ก็เป็นสุข  แล้ว

กล่าวคาถาที่ ๒  ว่า  :-

              ชิ้นเนื้อหน่อยหนึ่งยังมีอยู่แก่เหยี่ยว

       นั้นเพียงใด  นกตะกรุมทั้งหลายในโลกก็

       พากันล้อมจิกอยู่เพียงนั้น  หาได้เบียดเบียน

       นกที่ไม่มีความกังวลไม่.

       คำที่เป็นคาถานั้นมีอธิบายว่า  ชิ้นเนื้อหน่อยหนึ่งที่เอาปาก

คาบอยู่ได้มีอยู่แก่เหยี่ยวนั้นเพียงใด  นกตะกรุมทั้งหลายในโลกนี้

ก็พากันรุมจิกเหยี่ยวนั้นอยู่เพียงนั้น  แต่เมื่อมันปล่อยชิ้นเนื้อนั้นเสีย

นกที่เหลือก็ย่อมไม่เบียดเบียนนกนั้นผู้ไม่มีความกังวล  คือไม่มีปลิโพธ

เครื่องกังวล.

       พระโพธิสัตว์นั้นออกจากพระนครแล้ว  ในตอนเย็นได้นอน

อยู่ในเรือนของคนผู้หนึ่ง  ในบ้านนั้นในระหว่างทาง.  ก็นางทาสีใน

เรือนนั้นชื่อปิงคลา  ได้นัดแนะกับชายผู้หนึ่งว่า  พึงมาในเวลาชื่อโน้น

นางล้างเท้าของนายทั้งหลายแล้ว  เมื่อนายทั้งหลายนอนแล้ว  นั่งแลดู

การมาของชายผู้นั้นอยู่ที่ธรณีประตู  คิดว่าประเดี๋ยวเขาจักมา  ประเดี๋ยว

เขาจักมา  จนเวลาล่วงเลยไปถึงปฐมยาม  และมัชฌิมยาม.  ก็ในเวลา

ใกล้รุ่ง  นางหมดหวังว่า  เขาคงไม่มาในบัดนี้แน่  จึงนอนหลับไป.

พระโพธิสัตว์ได้เห็นเหตุการณ์นี้  จึงคิดว่า  ทาสีนี้นั่งอยู่ได้ตลอดกาล

มีประมาณเท่านี้  ด้วยความหวังว่า  ชายผู้นั้นจักมา  รู้ว่าบัดนี้เขา

ไม่มา  เป็นผู้หมดความหวัง  ย่อมนอนหลับสบาย  ขึ้นชื่อว่าความหวัง

ในกิเลสทั้งหลาย  เป็นทุกข์  ความไม่มีความหวังเท่านั้น  เป็นสุข

จึงกล่าวคาถาที่    ว่า  :-

              ผู้ไม่มีความหวังย่อมหลับเป็นสุข

       ความหวังมีผลก็เป็นสุข  นางปิงคลากระทำ

       ความหวังจนหมดหวังจึงหลับสบาย.

       บรรดาบทเหล่านั้น  บทว่า  ผลวตี  ความว่า  ความหวังที่

ได้ผลนั้น  ชื่อว่าเป็นสุข  เพราะผลนั้นเป็นสุข.  กระทำให้หมดหวัง

คือกระทำให้ไม่มีความหวัง  อธิบายว่า  ตัดเสีย  คือละเสีย.  บทว่า

ปิงฺคลา  ความว่า  บัดนี้  นางปิงคลทาสีนี้หลับเป็นสุข.

       วันรุ่งขึ้น  พระโพธิสัตว์นั้นจากบ้านนั้นเข้าไปยังป่า  เห็น

ดาบสผู้หนึ่งนั่งเข้าฌานอยู่ในป่า  จึงคิดว่า  ความสุขอันยิ่งกว่าความสุข

ในฌาน  ย่อมไม่มีในโลกนี้และในโลกหน้า  จึงกล่าวคาถาที่ ๔ ว่า :-

              ทั้งในโลกนี้และในโลกหน้า  ธรรมคือ

       ความสุขอื่นจากสมาธิ  ย่อมไม่มี  ผู้มีจิต

       ตั้งมั่น  ย่อมไม่เบียดเบียนทั้งคนอื่นและ

       ตนเอง.

       บรรดาบทเหล่านั้น  บทว่า  สมาธิปโร  ความว่า  ชื่อว่าธรรม

คือความสุขนอกเหนือ  คืออื่นจากสมาธิ  ย่อมไม่มี.

       พระโพธิสัตว์นั้น  ครั้นเข้าป่าแล้วบวชเป็นฤาษี  ทำฌานและ

อภิญญาให้เกิดขึ้น  ได้มีพรหมโลกเป็นที่ไปในเบื้องหน้า.

       พระศาสดา  ครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว  จึงทรง

ประชุมชาดกว่า  ดาบสในครั้งนั้น  ได้เป็นเราตถาคต  ฉะนี้แล.

                           จบ  อรรถกถาสีลวีมังสชาดกที่  ๑๐