อรรถกถากาฬพาหุชาดกที่ ๙

          พระศาสดาเมื่อประทับอยู่    พระเวฬุวันวิหาร  ทรงปรารภ

พระเทวทัตผู้เสื่อมลาภสักการะ  จึงตรัสพระธรรมเทศนานี้  มีคำเริ่มต้น

ว่า  ยํ  อนฺนปานสฺส  ดังนี้.

          แท้จริง  เมื่อพระเทวทัตผูกความโกรธอันไม่บังควรในพระ-

ตถาคต  แล้วประกอบนายขมังธนู  โทษผิดของพระเทวทัตนั้น  ได้

ปรากฏเพราะปล่อยช้างนาฬาคิรี.  ลำดับนั้น  คนทั้งหลายจึงพากัน

เลิกธุวภัตเป็นต้นที่เริ่มตั้งไว้แก่เธอเสีย.  แม้พระราชาก็ไม่ทรงเหลียว

แลพระเทวทัตนั้น.  พระเทวทัตนั้นเสื่อมลาภสักการะจึงเที่ยวขอใน

สกุลทั้งหลายบริโภคอยู่.  ภิกษุทั้งหลายจึงนั่งสนทนากันในโรงธรรม-

สภาว่า  อาวุโสทั้งหลาย  พระเทวทัตคิดว่า  จักยังลาภสักการะให้เกิดขึ้น

แม้แต่ลาภสักการะที่เกิดขึ้นแล้ว  ก็ไม่อาจทำให้มั่นคง.  พระศาสดา

เสด็จมาแล้วตรัสถามว่า  ภิกษุทั้งหลาย  บัดนี้  พวกเธอนั่งสนทนากัน-

ด้วย  เรื่องอะไร  เมื่อภิกษุทั้งหลายกราบทูลให้ทรงทราบแล้ว  จึงตรัสว่า

มิใช่บัดนี้เท่านั้นน่ะภิกษุทั้งหลาย  แม้ในกาลก่อน  เทวทัตนี้ก็ได้เป็นผู้

เสื่อมลาภสักการะ  แล้วทรงนำเอาเรื่องในอดีตมาสาธก  ดังต่อไปนี้  :-

          ในอดีตกาล  เมื่อพระเจ้าธนัญชัยครองราชสมบัติในนครพา-

ราณสี  พระโพธิสัตว์ได้เป็นวานรเผือกชื่อราธะ  มีบริวารมาก  มี

ร่างกายบริบูรณ์  ส่วนวานรน้องชายของพระโพธิสัตว์นั้น  ชื่อโปฏฐ-

ปาทะ.  พรานผู้หนึ่งจับวานรพี่น้องทั้งสองนั้นได้  จึงนำไปถวายพระ-

เจ้าพาราณสี.  พระราชาโปรดให้ใส่วานรทั้งสองนั้นไว้ในกรงทอง  ให้

บริโภคข้าวตอกคลุกน้ำผึ้ง  ให้ดื่มน้ำเจือด้วยน้ำตาลกรวดปรนนิบัติ

เลี้ยงดูอยู่  สักการะได้มีอย่างมากมาย.    วานรทั้งสองนั้นได้เป็นผู้ถึง

ความเป็นผู้เลิศด้วยลาภและยศ.  ต่อมา  พรานป่าคนหนึ่ง  ได้นำเอา

วานรดำใหญ่ตัวหนึ่ง  ชื่อกาฬพาหุมาถวายพระราชา  วานรกาฬพาหุ

นั้นมาทีหลัง  จึงได้มีลาภสักการะมากกว่า  ลาภสักการะของวานรเผือก

ทั้งสองก็เสื่อมถอยไป.  พระโพธิสัตว์มิได้พูดอะไรเลย  เพราะประกอบ

ด้วยลักษณะแห่งผู้คงที่แต่วานรน้องชาย  เพราะไม่มีลักษณะแห่งผู้คงที่

จึงทนดูสักการะของกาฬพาหุวานรไม่ได้  ได้พูดกะพี่ชายว่า  ข้าแต่พี่

เมื่อก่อน  ในราชสกุลนี้  ย่อมให้ของกินมีรสดีเป็นต้นแก่พวกเรา  แต่

บัดนี้พวกเราไม่ได้  เขานำไปให้เจ้าลิงกาฬพาหุเท่านั้น  พวกเราเมื่อ

ไม่ได้ลาภสักการะจากสำนักของพระเจ้าธนัญชัย  จักทำอะไรอยู่ 

สถานที่นี้  มาเถิดพี่  พวกเราไปอยู่ป่าเถิด  เมื่อจะเจรจากับวานรพี่ชาย

นั้น  จึงกล่าวคาถาที่    ว่า  :-

                   เมื่อก่อน  เราได้ข้าวและน้ำอันใดจาก

          สำนักพระราชา  มาบัดนี้  ข้าวและน้ำนั้น

          มาขึ้นอยู่กับสาขมฤคหมด  ข้าแต่พี่ราธะ

          บัดนี้  เราเป็นผู้อันพระเจ้าธนัญชัยไม่สักการะ

          แล้ว  พากันกลับไปป่าตามเดิมเถิด.

          บรรดาบทเหล่านั้น  บทว่า  ยํ  อนฺนปานสฺส  ความว่า  ข้าว

และน้ำใด  จากสำนักของพระราชานั้น.  อีกอย่างหนึ่ง  บทว่า  อนฺน-

ปานสฺส  เป็นฉัฏฐีวิภัตติลงในอรรถของทุยาวิภัตติ.  บทว่า  ธนญฺ

ชยาย  เป็นจตุตถีวิภัตติ  ลงในอรรถของตติยาวิภัตติ.  อธิบายว่า 

พวกเราเป็นผู้อันพระเจ้าธนัญชัยไม่สักการะเอื้อเฟื้อแล้ว  และไม่ได้

ข้าวและน้ำ  คือเป็นผู้อันพระเจ้าธนัญชัยนี้แล  ไม่ทรงเอื้อเฟื้อแล้ว.

          วานรราธะได้ฟังดังนั้น  จึงกล่าวคาถาที่    ว่า  :-

                   ดูก่อนน้องโปฏฐปาทะ  ธรรมในหมู่

          มนุษย์เหล่านี้  คือ  ลาภ  ความเสื่อมลาภ  ยศ

          ความเสื่อมยศ  นินทา  สรรเสริญ  สุขและ

          ทุกข์  เป็นของไม่เที่ยง  เจ้าอย่าเศร้าโศกเลย

          จะเศร้าโศกไปทำไม.

          บรรดาบทเหล่านั้น  บทว่า  ยโส  ได้แก่  อิสริยยศ  และปริ-

วารยศ.  บทว่า  อยโส  ได้แก่  ความไม่มีอิสริยยศและปริวารยศนั้น.

บทว่า  เอเต  ความว่า  โลกธรรม    ประการเหล่านี้เป็นของไม่เที่ยง

ในหมู่มนุษย์  แม้เป็นผู้ถึงความเป็นผู้เลิศด้วยลาภและยศ  สมัยต่อมา

ย่อมเป็นผู้มีลาภน้อย  สักการะน้อย  ชื่อว่าผู้จะมีลาภเป็นนิจเสมอไป

ย่อมไม่มี.  แม้ในยศเป็นต้น  ก็นัยนี้เหมือนกัน.

          วานรโปฏฐปาทะได้ฟังดังนั้น  เมื่อไม่อาจทำความริษยาในลิง

กาฬพาหุให้หายไปได้  จึงกล่าวคาถาที่    ว่า  :-

                   ข้าแต่พี่ราธะ  พี่เป็นบัณฑิตแท้  ย่อมรู้

          ถึงผลประโยชน์อันยังมาไม่ถึง  ทำอย่างไรหนอ

          เราจะได้เห็นเจ้าสาขมฤคผู้ลามก  ถูกเขาขับ

          ไล่ออกจากราชสกุล.

          บรรดาบทเหล่านั้น  บทว่า  กถํ  นุ  โข  ได้แก่  ด้วยอุบาย

อะไรหนอ.  บทว่า  ทกฺขาม  แปลว่า  จักเห็น.  บทว่า  นิทฺธาปิตํ

ได้แก่  ถูกฉุดออกไป  คือถูกลากออกไป.  บทว่า  ชมฺมํ  แปลว่า  ผู้

ลามก.

          วานรราธะได้ฟังดังนั้น  จึงกล่าวคาถาที่    ว่า  :-

                   ลิงกาฬพาหุ  กระดิกหูและกลอกหน้า

          กลอกตา  ทำให้พระราชกุมารทรงหวาดเสียว

          พระทัยอยู่บ่อย ๆ  มันจักทำตัวของมันเองให้

          จำต้องห่างไกลจากข้าวและน้ำ.

          บรรดาบทเหล่านั้น  บทว่า  ภายเต  กุมาเร  ความว่า  ย่อม

ทำพระราชกุมารให้หวาดเสียว.  บทว่า  เยนารกา  €สฺสติ  ความว่า

ตัวมันเองจักทำเหตุให้จำต้องอยู่ห่างไกลจากข้าวและน้ำนี้.  เจ้าอย่าคิด

ริษยาต่อมันเลย.

       ฝ่ายลิงกาฬพาหุ  พอล่วงไป  ๒-๓  วันเท่านั้น  ก็ทำกระดิกหู

เป็นต้นต่อหน้าพระราชกุมารทั้งหลาย  ทำให้พระราชกุมารทั้งหลาย

กลัว.  พระราชกุมารทั้งหลายเหล่านั้นตระหนกตกพระทัยกลัว  ต่าง

ทรงส่งเสียงร้อง.  พระราชาตรัสถามว่า  นี่อะไรกัน  ?  ได้ทรงสดับ

เรื่องราวนั้นแล้วรับสั่งว่า  จงไล่มันออกไป  แล้วให้ไล่ลิงกาฬพาหุนั้น

ออกไป.  ลาภสักการะของวานรขาวทั้งสองก็ได้เป็นปกติตามเดิมอีก.

       พระศาสดาครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว  ทรงประ-

ชุมชาดกว่า  ลิงกาฬพาหุในครั้งนั้น  ได้เป็นพระเทวทัต  วานร

โปฏฐปาทะในครั้งนั้น  ได้เป็นพระอานนท์  ส่วนวานรราธะในครั้งนั้น

ได้เป็นเราตถาคต  ฉะนี้แล

                           จบ  อรรถกถากาฬพาหุชาดกที่ ๙