อรรถกถาอนนุโสจิยชาดกที่ 

          พระศาสดาเมื่อประทับอยู่    พระวิหารเชตวัน  ทรงปรารภ

กฎุมพีคนหนึ่งผู้มีภรรยาตาย  จึงตรัสพระธรรมเทศนานี้  มีคำเริ่มต้น

ว่า  พหูนํ  วิชฺชติ  โภติ  ดังนี้

          ได้ยินว่า  กฎุมพีนั้น  เมื่อภรรยาตายแล้วไม่อาบน้ำ  ไม่รับ

ประทานข้าว  ไม่ประกอบการงาน.  ถูกความโศกครอบงำ  ไปป่าช้า

เที่ยวปริเทวนาการอยู่อย่างเดียว.  แต่อุปนิสัยแห่งโสดาปัตติมรรค

โพลงอยู่ในภายในของกฎุมพีนั้น  เหมือนประทีปโพลงอยู่ในหม้อ

ฉะนั้น.  ในเวลาใกล้รุ่ง  พระศาสดาทรงตรวจดูโลก  ได้ทอดพระเนตร

เห็นกฎุมพีนั้น  ทรงพระดำริว่าเว้นเราเสีย  ใครๆ  อื่นผู้จะนำความโศก

ออกแล้วให้โสดาปัตติมรรค  แก่กฎุมพีนี้  ย่อมไม่มี  เราจักเป็นที่พึง

อาศัยของกฎุมพีนั้น  จึงเสด็จกลับจากบิณฑบาต  ภายหลังภัต  ทรงพา

ปัจฉาสมณะไปยังประตูเรือนของกฎุมพีนั้น  กฎุมพีได้สดับการเสด็จ

มา  ทรงมีสักการะมีการลุกรับเป็นต้นอันกฎุมพีกระทำแล้ว  ประทับนั่ง

บนอาสนะที่เขาปูลาด  แล้วตรัสถามกฎุมพีผู้มานั่งอยู่    ส่วนข้างหนึ่ง

ว่า  อุบาสก  ท่านคิดอะไรหรือ  ?  เมื่อกฎุมพีนั้นกราบทูลว่า  พระเจ้าข้า

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ  ภรรยาของข้าพระองค์ตาย  ข้าพระองค์เศร้าโศก 

ถึงเขาจึงคิดอยู่.  จึงตรัสว่า  อุบาสก  ขึ้นชื่อว่าสิ่งที่มีการแตกเป็นธรรมดา

ย่อมแตกไป  เมื่อมันแตกไปจึงไม่ควรคิด  แม้โบราณกบัณฑิตทั้งหลาย

เมื่อภรรยาตายแล้วก็ยังไม่คิดว่า  สิ่งที่มีการแตกเป็นธรรมดาได้แตกไป

แล้ว  อันกฎุมพีนั้นทูลอาราธนา  จึงทรงนำเอาเรื่องในอดีตมาสาธก

ดังต่อไปนี้.  เรื่องในอดีตจักมีแจ้งในจุลลโพธิชาดก  ในทสกนิบาต

ส่วนในที่นี้มีความสังเขปดังต่อไปนี้  :- 

          ในอดีตกาล  เมื่อพระเจ้าพรหมทัตครองราชสมบัติอยู่ในนคร-

พาราณสี  พระโพธิสัตว์บังเกิดในตระกูลพราหมณ์  เจริญวัยแล้ว

เล่าเรียนศิลปะทั้งปวงในเมืองตักกศิลา  แล้วได้กลับไปยังสำนักของ

บิดามารดา.  ในชาดกนี้  พระโพธิสัตว์ได้เป็นพรหมจารีแต่ยังเป็นกุมาร.

ลำดับนั้น  บิดามารดาของพระโพธิสัตว์นั้นบอกว่า  เราจักจัดการแสวง

หาภรรยาให้แก่เจ้า.  พระโพธิสัตว์กล่าวว่า  ลูกไม่มีความต้องการครอง

เรือน  เมื่อท่านทั้งหลายล่วงไปแล้ว  ลูกจักบวช  ถูกบิดามารดานั้น

รบเร้าอยู่บ่อยๆ  จึงให้ช่างทำรูปทองคำรูปหนึ่ง  แล้วพูดว่า  ลูกได้

กุมาริกาเห็นปานนี้  จึงจักรับครองเรือน.  บิดามารดาของพระโพธิ-

สัตว์นั้นจึงให้ยกรูปทองคำนั้นขึ้นบนยานอันมิดชิด  แล้วส่งคนทั้งหลาย

พร้อมทั้งบริวารเป็นอันมากไปโดยสั่งว่า  พวกท่านจงไป  จงเที่ยวไป

ยังพื้นชมพูทวีป  เห็นกุมาริกาผู้เป็นพราหมณ์ซึ่งงามเห็นปานนี้ในที่ใด

ท่านทั้งหลายจงให้รูปทองคำนี้ในที่นั้น  แล้วนำนางพราหมณกุมาริกา

นั้นมา  ก็ในกาลนั้น  สัตว์ผู้มีบุญคนหนึ่งจุติจากพรหมโลก  บังเกิด

เป็นกุมาริกาในเรือนพราหมณ์ผู้มีสมบัติ  ๘๐  โกฏิ  ในนิคมคามแคว้น

กาสีนั่นเอง  บิดามารดาได้ขนานนามกุมาริกานั้นว่า  สัมมิลลหา-

สินี.  กุมาริกานั้น  ในเวลามีอายุ  ๑๖  ปี  เป็นผู้มีรูปงามชวนชม  เปรียบ

ด้วยนางเทพอัปสร  สมบูรณ์ทั่วสารพางก์กาย.  ชื่อว่าความคิดด้วย

อำนาจกิเลสไม่เคยเกิดขึ้นแก่นางเลย  นางได้เป็นสาวพรหมจารินีโดย

แท้จริง.  ชนทั้งหลายพารูปทองคำนั้นเที่ยวไปถึงบ้านนั้น.  คนทั้งหลาย

ในบ้านนั้น  เห็นรูปทองคำนั้นแล้วพากันกล่าวว่า  เพราะเหตุไรนาง

สัมมิลลหาสินี  ธิดาของพราหมณ์ชื่อโน้น  จึงมายืนอยู่ที่นี้.  มนุษย์

ทั้งหลายได้ฟังดังนั้นจึงไปยังตระกูลพราหมณ์สู่ขอนางสัมมิลลหาสินี

นั้น.  นางจึงส่งข่าวแก่บิดามารดาว่า  เมื่อท่านทั้งสองล่วงลับไปแล้ว

ดิฉันจักบวช  ดิฉันไม่ต้องการครองเรือน.  บิดามารดานั้นจึงกล่าวว่า

กุมาริกาเจ้าจะทำอะไรได้  แล้วรับเอารูปทองคำส่งนางไปด้วยบริวาร

เป็นอันมาก.  เมื่อพระโพธิสัตว์และนางสัมมิลลหาสินี  ทั้งสองคน  ไม่

ปรารถนาเลย  บิดามารดาก็ทำการมงคล  สมรสให้.  คนทั้งสอง

นั้นอยู่ในห้องเดียวกัน  แม้จะนอนอยู่บนที่นอนเดียวกัน  ก็ไม่ได้แล

ดูกันและกันด้วยอำนาจกิเลส  อยู่ในสถานที่เดียวกัน  เหมือนภิกษุ    รูป

และเหมือนพรหม    องค์  อยู่ในที่เดียวกันฉะนั้น.  จำเนียรกาลล่วง

มา  บิดามารดาของพระโพธิสัตว์ได้ทำกาลกิริยาตายลง  พระโพธิสัตว์

นั้นกระทำการฌาปนกิจสรีระของบิดามารดาแล้ว  เรียกนางสัม-

มิลลหาสินีมากล่าวว่า  นางผู้เจริญ  เธอจงถือเอาทรัพย์นี้  มีประมาณ

เท่านี้  คือทรัพย์  ๘๐  โกฏิอันเป็นของตระกูลพี่  และทรัพย์  ๘๐  โกฏิ

อันเป็นของตระกูลเธอ  แล้วปกครองทรัพย์สมบัตินี้เถิด  พี่จักบวช.

นางสัมมิลลหาสินีกล่าวว่า  ข้าแต่ลูกเจ้า  เมื่อท่านบวชดิฉันก็จักบวช

ดิฉันไม่อาจทอดทิ้งท่านได้.  คนทั้งสองนั้นจึงสละทรัพย์ทั้งหมดในทาง

ทาน  ละทิ้งสมบัติเหมือนก้อนเขฬะ  เข้าไปยังหิมวันตประเทศทั้ง

สองคน  บวชเป็นฤาษี  มีรากไม้และผลไม้ในป่าเป็นอาหาร  อยู่ในหิม-

วันตประเทศนั้นช้านาน  เพื่อต้องการจะเสพรสเค็มและรสเปรี้ยว  จึง

ลงจากหิมวันตประเทศ  ถึงเมืองพาราณสีโดยลำดับ  แล้วอยู่ในพระ-

ราชอุทยาน.  เมื่อดาบสและดาบสินีทั้งสองนั้นอยู่ในพระราชอุทยานนั้น

เมื่อปริพาชิกาผู้สุขุมาลชาติบริโภคภัตอันเจือปนปราศจากโอชะ  ก็เกิด

อาพาธลงโลหิต.  นางเมื่อไม่ได้เภสัชอันเป็นสัปปายะก็ได้อ่อนกำลังลง

ในเวลาภิกขาจาร  พระโพธิสัตว์ได้พยุงนางนำไปยังประตูพระนคร

แล้วให้นอนบนแผ่นกระดาน    ศาลาหลังหนึ่ง  ส่วนตนเข้าไปภิกขา-

จาร.  นาง  เมื่อพระโพธิสัตว์นั้นยังไม่กลับออกมาเลย  ก็ได้ทำกาล

กิริยาตายไป.  มหาชนเห็นรูปสมบัติของปริพาชิกา  พากันห้อมล้อม

ร้องไห้ร่ำไร.  พระโพธิสัตว์เที่ยวภิกขาแล้วกลับมารู้ว่านางตายแล้ว

ดำริว่า  สิ่งที่มีอันจะแตกไปเป็นธรรมดา  ย่อมแตกไป  สังขารทั้งปวง

ไม่เที่ยงหนอ  มีคติอย่างนี้เอง  แล้วนั่งบนแผ่นกระดานที่นางนอนอยู่

นั่นแหละ  บริโภคโภชนะอันระคนกันแล้วบ้วนปาก.  มหาชนที่ยืน

ห้อมล้อมถามว่า  ท่านผู้เจริญ  ปริพาชิกานี้เป็นอะไรกับท่าน  ?  พระ

โพธิสัตว์กล่าวว่า  เมื่อเวลาเป็นคฤหัสถ์  นางเป็นบาทบริจาริกาของเรา.

มหาชนกล่าวว่า  ท่านผู้เจริญ  พวกเรายังอดทนไม่ได้ก่อน  พากันร้องไห้

ร่ำไร  เพราะเหตุไร  ?  ท่านจึงไม่ร้องไห้.  พระโพธิสัตว์กล่าวว่า  นาง

ปริพาชิกานี้  เมื่อยังมีชีวิตอยู่ย่อมเป็นอะไรๆ  กับเรา  บัดนี้  ไม่เป็น

อะไรๆ  กัน  เพราะนางเป็นผู้สมัครสมานกับปรโลก  ไปสู่อำนาจของ

คนอื่นแล้ว  เราจะร้องไห้เพราะอะไร  เมื่อจะแสดงธรรมแก่มหาชน

จึงได้กล่าวคาถาเหล่านี้ว่า  :-

                   นางสัมมิลลหาสินีผู้เจริญ  ได้ไปอยู่ใน

          ระหว่างพวกสัตว์ที่ตายไปแล้วเป็นจำนวนมาก

          เมื่อนางไปอยู่กับพวกสัตว์เหล่านั้น  จักชื่อว่า

          เป็นอะไรกับเรา  เพราะฉะนั้นเราจึงมิได้เศร้า

          โศกถึงนางสัมมิลลหาสินีผู้เป็นที่รักนี้.

                   ถ้าบุคคลจะเศร้าโศก  ถึงสิ่งที่ไม่มีแก่

          สัตว์ผู้เศร้าโศกนั้น  พึงเศร้าโศกถึงตนซึ่งตก

          อยู่ในอำนาจของมัจจุราชอยู่ทุกเวลา.

                   อายุสังขารใช่ว่าจะติดตามเฉพาะสัตว์ผู้

          ยืน  นั่ง  นอน  หรือเดินอยู่เท่านั้นก็หาไม่

          แม้ในเวลาชั่วลืมตา*หลับตาวัยก็เสื่อมไปแล้ว.

*แปลตามบาลี  พม่า.

                   ในตนซึ่งเป็นทางอันตรายนั้นหนอ  ต้อง

          มีความพลัดพรากจากกันโดยไม่ต้องสงสัย

          หมู่สัตว์ที่ยังอยู่ควรเอ็นดูกัน  ส่วนที่ตายไป

          แล้วไม่ควรเศร้าโศกถึง.

          บรรดาบทเหล่านั้น  บทว่า  พหูนํ  วิชฺชติ  ความว่า  นางผู้เจริญ

นี้ทิ้งเราแล้ว  บัดนี้  มีอยู่คือเกิดในระหว่างเหล่าสัตว์ที่ตายแล้วเหล่าอื่น

เป็นอันมาก.  บทว่า  เตหิ  เม  กึ  ภวิสฺสติ  ความว่า  เดี๋ยวนี้  นาง

เป็นไปกับพวกสัตว์ที่ตายแล้วนั้น  จักเป็นอะไรกับเรา  หรือว่านางจัก

เป็นอะไรแก่เรา  ด้วยอำนาจความเกี่ยวพันเกินสัตว์เหล่านั้น  คือ  นาง

จักเป็นใคร  จะเป็นภรรยาหรือน้องสาว.  บาลีว่า  เตหิ  เมกํ  ดังนี้

ก็มี.  อธิบายบาลีนั้นว่า  กเลวระหว่างกายของเราแม้นี้  จักเป็นอัน

เดียวกันกับสัตว์ที่ตายแล้วเหล่านั้น.  บทว่า  ตสฺมา  ความว่า  เพราะ

เหตุที่นางสัมมิลลหาสินีนี้ตายแล้ว  สมาคมกับคนตายแล้วจะเป็นอะไร

แก่เรา  เพราะฉะนั้น  เราจึงไม่เศร้าโศกถึงนางสัมมิลลหาสินีนี้.  บทว่า

ยํ  ยํ  ตสฺส  ความว่า  สิ่งใดๆ  ย่อมไม่มีแก่สัตว์ผู้เศร้าโศกนั้น  ได้แก่

ความตายคือความดับ  ถ้าจะเศร้าโศกถึงสิ่งนั้นๆ  บาลีว่า  ยสฺส  ดังนี้

ก็มี.  ความของบาลีนั้นว่า  สิ่งใดๆ  ย่อมมีแก่ผู้ใด  ถ้าผู้นั้นจะเศร้าโศก

ถึงสิ่งนั้นๆ  บทว่า  มจฺจุวสมฺปตฺตํ  ความว่า  เมื่อเป็นอย่างนั้น  บุคคล

ควรเศร้าโศกถึงเฉพาะตนผู้ถึงคือผู้จะไปสู่อำนาจของมัจจุราชเป็นนิจที

เดียว  เพราะเหตุนั้น  บุคคลนั้นจะไม่มีเวลาเศร้าโศกเลย.

          ในคาถาที่    มีวินิจฉัยต่อไปนี้.  พึงนำบาลีที่เหลือมาเชื่อม

เข้ากัน  ความว่า  อายุสังขารย่อมไปตามสัตว์ไรๆ  ก็ได้มิใช่ผู้

ยืน  นั่ง  นอน  หรือเดินเท่านั้น.  บรรดาบทเหล่านั้น  บทว่า  ปตฺถคุํ

ได้แก่  ผู้เที่ยวไปๆ  มาๆ  อธิบายว่า  สัตว์เหล่านี้ประมาณอยู่ในอิริยาบถ

ทั้ง    ส่วนอายุสังขารไม่ประมาทในอิริยาบถทั้งปวงทั้งกลางคืนและ

กลางวัน  ย่อมกระทำกรรมคือถึงความสิ้นไปของตนเท่านั้น.  บทว่า

ยาวุปฺปตฺติ  นิมิสฺสติ  ความว่า  ก็นี้เป็นโวหารเรียกกาลเวลานั้น.

ท่านอธิบายว่า  วัยของสัตว์เหล่านี้  ย่อมเสื่อมไป  แม้ชั่วเวลาหลับตา

และลืมตา  คือในเวลามีประมาณเล็กน้อยอย่างนี้  คือ  วัยที่เหลือในวัย

ทั้งสาม  ย่อมเสื่อมคือไม่เจริญ.  บทว่า  ตตฺถตฺตนิ  วตปฺปนฺเถ  ได้แก่

ในตนซึ่งเป็นทางอันตรายนั้นหนอ.  ท่านอธิบายว่า  เมื่อวัยนั้นหนอ

เสื่อมไปอย่างนี้  อัตภาพอันถึงการนับว่า  นี้เป็นอัตตา  ย่อมเป็นทางอัน-

ตราย  คือถูกผูกด้วยบ่วงเข้าไปครึ่งหนึ่งไม่เต็มบริบูรณ์  เมื่อเป็นอย่าง

นั้น  ตนที่เป็นทางอันตรายนี้นั้น  จะต้องมีความพลัดพรากจากกันแห่ง

สัตว์ทั้งหลายที่บังเกิดในภพนั้นๆ  โดยไม่ต้องสงสัย  คือหมดความสงสัย

สัตว์ที่เหลืออยู่ยังไม่ตาย  คือสัตว์ที่เหลืออยู่นั้นยังเป็นอยู่  คือมีชีวิต

อยู่  ควรเอ็นดูกัน  คือควรเมตตากัน  พึงเจริญเมตตาในสัตว์นั้นอย่าง

นี้ว่า  ขอสัตว์นี้จงอย่ามีโรค  จงอย่าเบียดเบียนกัน  ส่วนสัตว์ที่จุติเคลื่อน

ไปแล้ว  คือตายแล้วไม่ควรเศร้าโศกถึง  คือไม่ควรตามเศร้าโศกถึง.

          พระมหาสัตว์เมื่อแสดงอาการไม่เที่ยงด้วยคาถา    คาถาอย่าง

นี้  แสดงธรรมแล้ว.  มหาชนพากันกระทำฌาปนกิจสรีระของนาง

ปริพาชิกาแล้ว.  พระโพธิสัตว์เข้าไปยังหิมวันตประเทศ  ทำฌานและ

อภิญญาให้บังเกิด  ได้มีพรหมโลกเป็นที่ไปในเบื้องหน้า.

          พระศาสดาครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว  จึงทรง

ประกาศสัจจะแล้วทรงประชุมชาดก.  ในเวลาจบสัจจะ  กฎุมพีได้ดำรง

อยู่ในโสดาปัตติผล.  นางสัมมิลลหาสินีในครั้งนั้น  ได้เป็นราหุลมารดา

ส่วนดาบสในครั้งนั้น  ได้เป็นเราตถาคต  ฉะนี้แล. 

                                      จบ  อรรถกถาอนนุโสจิยชาดกที่